[ รายละเอียด ] วัดเทพเจริญหรือวัดถ้ำรับร่อถือเป็นวัดสำคัญของจังหวัดชุมพร ตั้งอยู่บริเวณเขารับร่อหรือภูเขาพระ มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญในอดีต การเผยแพร่พุทธศาสนาของเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชและสงครามเก้าทัพในสมัยรัชกาลที่ 1 แต่เดิมนั้นเป็นที่ตั้งเมืองเก่าชื่อเมืองอุทุมพร ซึ่งเป็นเมืองร่วมสมัยกับเมืองนครศรีธรรมราช ตามตำนานเมืองอุทุมพร ระบุว่ามีการสร้างวัดหน้าถ้ำทะเลเซียะเมื่อ พ.ศ. 1923 ภายในบริเวณถ้ำพบพระพุทธรูปสถิตเป็นพระประธานอยู่ปากถ้ำ เรียกว่า พ่อปู่หลักเมือง คนชุมพรถือเอาพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์นี้เป็นหลักเมืองชุมพร ต่อมาพระยาไชยบุรินทร์ (คล้าย ฐิตะฐาน) เจ้าเมืองชุมพร ต้องการบูรณะขึ้นเป็นวัดประจำตระกูล จึงอุทิศที่นาสร้างศาสนสถานและบันไดทางขึ้นสู่ถ้ำ แล้วใช้ชื่อเรียกว่า วัดเทพเจริญศุภผล ล่วงถึงปัจจุบันจึงเหลือเพียงชื่อวัดเทพเจริญ หรือชาวบ้านรู้จักในชื่อวัดถ้ำรับร่อ
จุดเริ่มของพิพิธภัณฑ์วัดเทพเจริญ เกิดในปี 2532 เมื่อครั้งที่ชุมพรและวัดเทพเจริญได้รับความเสียหายจากพายุเกย์ หลังพายุ ชาวบ้านและพระได้รื้อของซ่อมกุฏิของอดีตเจ้าอาวาส พระครูเทพประสิทธาจารย์ พบวัตถุสิ่งของมากมายที่ท่านสะสมไว้โดยไม่ได้แจ้งให้ใครทราบ วางปะปนกับถ้วยชามจานกระโถนอยู่ในกุฏิ ประมาณ 300 ชิ้น คณะกรรมการวัดจึงได้หารือกันว่าทำอย่างไรให้คนได้รู้ว่ามีของอยู่และได้มาชมกัน อีกทั้งวัดเป็นโบราณสถานที่สำคัญ จึงดำริที่จะทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โดยใช้ศาลาการเปรียญหลังเก่าจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เปิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 โบราณวัตถุที่สำคัญคือรอยพระพุทธบาทแกะสลักจากหินทรายแดง ยาวประมาณ 1 เมตร สลักลวดลายคล้ายสัญลักษณ์ของราชวงศ์ปทุมวงศ์ แห่งเมืองนครศรีธรรมราช
หลังจากเปิดเป็นทางการแล้ว ชาวบ้านจะนำของมาบริจาคอยู่เรื่อยๆ เช่น ของใช้เจ้าเมืองเก่า ต้นสกุลเก่าบ้าง ดาบจำลองของพระยานคร อายุ 700-800 ปี ปัจจุบันมีของเป็นจำนวนมาก เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร จ.ชุมพร ได้มาช่วยทำทะเบียนให้บางส่วน แต่ทำได้ไม่เต็มที่เพราะสถานที่คับแคบไม่สะดวก ขณะนี้อยู่ระหว่างการของบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดมาสร้างอาคารใหม่ ซึ่งทางวัดคาดหวังไว้ว่าจะทำให้เป็นระบบมากขึ้น พระวิลาสธรรมภูษิต เจ้าอาวาสกล่าวว่า "เมื่อได้ไปชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชุมพรแล้ว ก็มาดูของจริงกันที่นี้" อีกทั้งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานสถานศึกษาต่างๆ ทั้งในชุมพรและจังหวัดใกล้เคียงก็มาให้คำแนะนำในด้านต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช การช่างเทคนิคชุมพร นอกจากนี้ทางวัดได้จัดตั้งศูนย์ศิลปวัฒนธรรม เปิดสอนดนตรีไทยให้กับเยาวชนในวันอาทิตย์ โดยครูภูมิปัญญาพื้นบ้าน มีกิจกรรมแกะหนังตะลุง และมีกิจกรรมทางวัฒนธรรมท้องถิ่นอยู่เป็นประจำ โดยมุ่งหวังให้เป็นศูนย์ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมพร เพื่อให้เยาวชนได้เข้าถึงประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีมา ถ้ำรับร่อ
วัดเทพเจริญ ตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าข้าม จากสี่แยกปฐมพรไปประมาณ 23 กิโลเมตร แยกซ้ายไปตามเส้นทางสาย 3181 อีกประมาณ 3 กิโลเมตร จะถึงที่ว่าการอำเภอท่าแซะจากนั้นไปทางทิศตะวันตกอีก 15 กิโลเมตร เป็นทางดินลูกรังผ่านหมู่บ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้ามไปยังวัดเทพเจริญ หรือวัดถ้ำรับร่อ ถึงบริเวณวัดมีถ้ำต่างๆ ทั้งหมด 8 ถ้ำ เป็นถ้ำที่ตั้งบนเนินเขา กล่าวกันว่ามีปริศนาลายแทงขุมทรัพย์อยู่ในถ้ำถึง 2 แห่ง คือ ถ้ำต้นทาง (ชื่อถ้ำเอเต) และถ้ำตอนที่ลึกเข้าไปอีก ซึ่งมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยคือพระปู่หลักเมือง ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ 3.5 เมตร สันนิษฐานว่าสร้างในราวปี พ.ศ. 548 โดยมีประวัติเล่าว่าสร้างครั้งเมื่อสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชกษัตริย์อินเดีย ซึ่งแล่นเรือออกแสวงหาที่ประดิษฐาน พระพุทธศาสนาในทุกหนทุกแห่ง และเมื่อพบที่ตั้งวัดรับร่อซึ่งมีถ้ำสวยงาม จึงบัญชาให้สร้างพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ภายในถ้ำ
วัดเทพเจริญ (ถ้ำรับร่อ) ได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อปี 2479 วัดตั้งอยู่เชิงเขารับร่อ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณอุทุมพร อันเป็นเมืองท่ารักษาด่านทางข้ามคอคอดมลายู มีการสร้างพระพุทธรูปหลวงปู่หลักเมืองไว้ในถ้ำ และพระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย 577 องค์ ถัดมาคือถ้ำอ้ายเตย์ สภาพภายในถูกดัดแปลงเพื่อใช้เป็นสถานที่ปัสสนากรรมฐาน มีภาพเขียนสีพระพุทธรูปปางไสยาสน์อยู่บนผนังถ้ำ คาดว่าเป็นศิลปะสมัยอยุธยา แต่ยังวาดไม่เสร็จ และมีถ้ำไทร ซึ่งเดิมเป็นที่พำนักของเจ้านายชั้นผู้ใหญ่คราวสร้างศาลหลักเมือง งดงามด้วยหินงอกหินย้อย
บริเวณศาลาราษฎร์สามัคคีเป็นที่ตั้งสังขารของหลวงปู่ไสย ซึ่งมรณภาพแล้วแต่ร่างกายไม่เน่าเปื่อย และมีรอยพระพุทธบาทหินทรายสลักภาพลายมงคล 108 ประการ ขอบสลักภาพการตั้งถิ่นฐานของชนกลุ่มน้อย นอกจากนั้นยังมีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่รวบรวมโบราณวัตถุที่พบในบริเวณวัด และมีการแกะตัวหนังตะลุงลวดลายงดงามโดยฝีมือคุณลุงเว้น จิตต์ธารา
เหรียญของท่านที่นิยมกันมีด้วยกัน 2 รุ่น รุ่นแรกและรุ่นสอง เหรียญรุ่นแรกของท่าน สร้างเมื่อ ประมาณ ปี 2518 สภาพสวยๆ เดิมๆ พื้นที่ นิยมกันมากพอสมควร แต่ยังหาของไม่ค่อยจะได้ ก็นับว่าเป็นเหรียญประสบการณ์มากเอาเรื่องเหมือนกันและตอนนี้ก็ได้รับความนิยมกันมาก ราคาก็ค่อยๆ แพงขึ้นเลื่อยๆ หลวงพ่อใสท่านนี้เมื่อมรณภาพศพของท่านนอกจากไม่เน่าแล้ว ก็ยังแข็งกลายเป็นหินด้วย กรณีแบบนี้เราจะพบเห็นได้ก็แต่พระอริยสงฆ์เท่านั้น จึงไม่แปลกที่ว่าเหรียญของท่านแม้แต่คนมาเลเซียก็ยังนิยมเก็บสะสมกัน
การสร้างวัตถุมงคล เมื่อประมาณปี พ.ศ.2518 ทางคณะศิษย์เห็นว่า หลวงพ่อใส มีอายุย่างเข้าสู่ปัจฉิมวัยแล้วจึงขออนุญาตสร้างเหรียญครั้งแรก ชนิดของเหรียญเป็นเนื้อทองแดงรูปไข่หูในตัวมีขนาดกว้าง 2.5 ซม. สูงขนาด 4 ซม. เป็นเหรียญที่แกะใบหน้าของหลวงพ่อใสหน้าตรง ครึ่งองค์แค่หน้าอก ห่มจีวรคลุมไหล่ทั้งสองข้าง รององค์ (ตัว) ของหลวงพ่อใส ชั้นในเป็นเส้นลวดคล้ายเหรียญสองรอบ ชั้นนอกหรือขอบเหรียญด้านนอกยกขึ้นจากขอบเหรียญเล็กน้อย ระหว่างเหรียญชั้นใน เส้นลวดและของเหรียญจะเว้นช่องว่างพอจารึกข้อความเป็นอักษรไทยว่า พระครูเทพสิทธาจารย์ วัดเทพเจริญ ของช่วงขอบเหรียญด้านบน กึ่งกลางเหรียญเสมอ ไหล่ของหลวงพ่อใส ซ้าย ชาว ทำเป็นรูปดอกจัน และมีหนังสือจารึกไว้ขอบเหรียญเบื้องล่างว่า หลวงพ่อใส สิริสุวัฒนเถระ ด้านหลังของเหรียญ ลักษณะเหมือนด้านหน้าทุกประการ ช่องของขอบเหรียญด้านบนมีหนังสือขอมว่า นะโม พุทธา ยะ หรือ ยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ ตามตำรายันต์หรือนักเล่นวิชาอาคมกล่าวกันว่า พระเจ้าห้าพระองค์นั้นใช้ได้ทุกทาง หรือพูดง่าย ๆ ก็ดีครอบจักรวาลนั้นเอง และยันต์นี้มีอานุภาพสูงมากด้านล่างขอบเหรียญมียันต์ว่า อุทธัง ธัดโต ซึ่งเป็นยันต์มหาอุตม์ที่เข้มขลังตามความเชื่อมาแต่โบราณ ตรงกลางเหรียญเป็นยันต์โสฬสมงคล 12 ช่อง ซึ่งลงเป็นตัวเลขแทนตัวหนังสือยันต์นี้ถือว่าเป็นนัยต์ในทางเมตตามหานิยมและโชคลาภ เหนือยันต์โสฬสมงคลเป็นยันต์ใบพัด อ่านได้ความว่า มะ อะ อุ เป็นยันต์หัวใจพระไตรปิฎกและรับรองยันต์โสฬสมงคลเป็นยันต์ใบพัดเช่นกันอ่านว่า นะ มะ |