...พระรูปหล่อพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน พิมพ์ก้นอุ ก้นอุ ๙ มหามงคล ...ยอดสุดของพระหล่อพ่อท่านคล้าย เทวดาแดนใต้ มาแบบล่ำ หล่อเต็ม ขี้เบ้า คีม เดิมเดิม น้ำทองประปรายไปทั่ว ครบสูตรครับ สภาพนี้แบบนี้ ขอโชว์ครับ ** พระเครื่องเมืองใต้ นอกจาก หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ที่โด่งดังมาเป็นอันดับหนึ่งแล้วก็ยังมี พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งมีหลายรุ่นหลายพิมพ์ที่วงการพระนิยมกันมาก โดยเฉพาะ รูปหล่อโบราณ พิมพ์ก้นอุ ซึ่งได้รับการยกย่องเป็นรูปหล่อโบราณอันดับหนึ่งของเมืองใต้ สนนราคาเช่าหาอยู่ที่หลักแสนขึ้นไป ราคาค่านิยมขึ้นกับความสวยสมบูรณ์ขององค์พระเป็นสำคัญ จุดสังเกตของ พระแท้ และ เก๊ ของพระชุดนี้ คือพิมพ์ทรงถูกต้อง และธรรมชาติของเนื้อ ซึ่งเป็นทองเหลืองผสม สภาพความเก่าตามธรรมชาติของเนื้อโลหะต้องปรากฏ นอกจากนี้ยังมีจุดสำคัญที่ควรจดจำ คือธรรมชาติผิวองค์พระต้องมี รูพรุนของอากาศ และมี ดินเบ้าอุดในร่องของตัว อุ รวมทั้งตามซอกขององค์พระ ไม่มากก็น้อย เนื่องจากเป็นพระที่หล่อด้วยกรรมวิธีแบบโบราณ จะมีรูเข็มตรงส่วนฐานด้านข้างซ้ายมือองค์พระ และร่องรอยคีมปากกาจับ เพื่อตกแต่งองค์พระ ซึ่งมีลักษณะคล้ายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดที่ดูเป็นธรรมชาติ (แต่บางองค์อาจมองไม่ชัด) พระพิมพ์นี้มีข้อมูลประวัติการสร้างที่ยอมรับกันในทุกวันนี้ คือพระพิมพ์นี้สร้างเมื่อปี ๒๕๐๗ ออกที่ วัดกรูด อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี และส่วนหนึ่ง พ่อท่านคล้าย ได้เอามาแจกที่วัดสวนขันในภายหลัง ปัจจุบันองค์ที่หล่อได้คมชัด สภาพสวยสมบูรณ์ มีราคาค่านิยมเกินกว่าหลักแสนแล้ว...(เหรียญรุ่นแรก ๒ ขอบ พ่อท่านคล้าย มีค่านิยมเทียบเคียงกับ เหรียญหลวงพ่อทวด ยอดนิยมหลายรุ่น)
(ข้อมูลจากคมเลนส์ส่องพระ9กันยายน2555)
รูปเหมือนหล่อโบราณ พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน พิมพ์ใต้ฐาน อุ ปี ๒๕๐๗ เป็นพระรูปเหมือนหล่อยอดนิยมอันดับต้นๆ ของภาคใต้...มี ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์ต้อ (นิยม) และพิมพ์ชะลูด สร้างเมื่อปี ๒๕๐๗ ออกที่ วัดกรูด อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี และอีกส่วนหนึ่ง พ่อท่านคล้าย ได้นำไปแจกที่วัดสวนขัน ในภายหลัง ปัจจุบันองค์ที่หล่อได้คมชัด สภาพสวยสมบูรณ์ มีค่านิยมอยู่ที่หลักแสนบาทขึ้นไป...นับเป็นครั้งแรกที่ รูปเหมือนหล่อโบราณ พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน พิมพ์ใต้ฐาน อุ รุ่นนี้ได้รับการจัดอันดับเข้าสู่ชุด เบญจภาคีพระรูปเหมือนยอดนิยม แทนตำแหน่งเดิมของ หลวงปู่สุข วัดโพธิ์ทรายทอง จ.บุรีรัมย์
(ข้อมูลจาก คมเลนส์ส่องพระวันอาทิตย์ที่27ก.ค.2557:แล่ม จันท์พิศาโล)
จากการสอบถามข้อมูลและเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวข้องกับประวัติพ่อท่านคล้ายจากพ่อท่านวงศ์ เจ้าอาวาสวัดประชาวงศาราม(กรูด) โดยมีใจความดังนี้ วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างวัตถุมงคลทั้งหมดในครั้งนั้น(พ.ศ.๒๕๐๗) พ่อท่านวงศ์เล่าว่าเนื่องจากต้องการหาปัจจัยในการวางรากฐานเพื่อทำการก่อตั้งวัดกรูด ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเพียงที่พักสงฆ์บ้านกรูด
โดยเมื่อครั้งเหตุการณ์วาตภัยจากลมพายุโซนร้อนแฮเรียตพัดถล่มพื้นที่ต่างๆในหลายจังหวัดทางภาคใต้ เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๐๕ นั้น พายุได้ขึ้นฝั่งจากทะเลอันดามันของประเทศไทยที่จังหวัดกระบี่ และเคลื่อนที่พาดผ่านสร้างความหายนะให้แก่หลายจังหวัดทีพายุเคลื่อนที่พัดผ่าน จนกระทั่งพายุได้ไปลงทะเลที่แหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช หรือที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกกันติดปากว่า วาตภัยแหลมตะลุมพุก
สำหรับภัยพิบัติในครั้งนั้น ได้สร้างผลกระทบเกิดความเสียหายอย่างหนักให้แก่ที่พักสงฆ์บ้านกรูดเช่นกัน พ่อท่านวงศ์ซึ่งมีสายสัมพันธ์ที่ดีโดยเป็นสหายเกลอกับหลวงพ่อครื้น โสภโณ (พระอุปัฏฐากของพ่อท่านคล้าย) ท่านจึงได้เดินทางไปขอพึ่งบารมีธรรมแห่งองค์พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ ซึ่งขณะนั้นพ่อท่านจำวัดประจำอยู่ที่สถานที่ก่อสร้างพระเจดีย์พระธาตุน้อย จันดี โดยติดต่อผ่านทางท่านใบฎีกาครื้น โดยพ่อท่านคล้ายได้เมตตาช่วยจัดหาปัจจัยต่างๆและจัดการทอดกฐินสมโภชขึ้นที่พักสงฆ์บ้านกรูด ราวเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๕ ซึ่งพ่อท่านคล้ายเดินทางมาเป็นองค์ประธานด้วยตนเอง สำหรับการมานั้นพ่อท่านคล้ายและคณะได้เดินทางโดยสารด้วยเรือยนต์หางยาวตามลำน้ำตาปีของนายซ้วน จากอำเภอฉวาง ผ่านอำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอพระแสง อำเภอเคียนซา มาขึ้นฝั่งที่ท่าน้ำบ้านแม่แขก แล้วคณะลูกศิษย์ที่ติดตามพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน ได้จัดให้พ่อท่านนั่งมาบนแคร่ไม้ที่ผูกติดกับคานหาม แล้วทำการหามพ่อท่านคล้ายมายังที่พักสงฆ์บ้านกรูด โดยพ่อท่านคล้ายได้พักจำวัดที่กุฏิไม้เก่าใต้ถุนยกสูง
ในตอนกลางวัน ก่อนทำการทอดกฐิน พ่อท่านวงศ์ได้นำพานดอกไม้พร้อมด้วยธูปเทียน ไปกราบพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ เป็นการส่วนตัว แล้วได้กล่าวถวายที่พักสงฆ์บ้านกรูดแห่งนี้ ให้แก่พ่อท่านคล้าย ซึ่งพ่อท่านคล้ายตอบกลับมาว่า เอาต่ะฉานจะรับเป็นวัดของฉัน แต่คุณวงศ์ต้องอยู่ที่นี้อย่าไปไหน เพราะต่อไปข้างหน้าวัดนี้ จะเจริญพัฒนาก้าวหน้ามาก กลายเป็นวัดที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานีด้วย พ่อท่านวงศ์ยังได้กล่าวขออนุญาตจากพ่อท่านคล้าย ในการขอสร้างพระรูปหล่อรูปเหมือนพ่อท่านคล้าย เพื่อจะหาปัจจัยในการสร้างวัด พ่อท่านคล้ายท่านอนุญาตว่า ให้ทำพระรูปหล่อได้ (พ่อท่านวงศ์เล่าว่า อนุญาตให้หล่อเป็นครั้งแรก) และพ่อท่านคล้ายพูดว่า ทำให้เหมือนฉันนะ
แต่พ่อท่านวงศ์ยังไม่ได้สร้างเนื่องจากช่วงเวลานั้นท่านยังไม่มีทุน ในระหว่างนั้นพ่อท่านวงศ์ได้จัดหาแผ่นทองแดงและแผ่นทองเหลืองนำไปให้ พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน, พ่อท่านแดง วัดภูเขาหลัก , หลวงพ่อพัว (พระครูสถิตสันตคุณ), หลวงพ่อแดง วัดวิหาร, พระครูวิรัชพิริยาทร วัดโกศาวาส, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จังหวัดนครปฐม, หลวงพ่อบุญธรรม วัดพระปฐมเจดีย์, หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) รวมทั้งหมด ๙ รูป ลงอักขระให้รูปละ ๙ แผ่น ส่วนหลวงพ่อวงศ์เองลงอักขระแผ่นยันต์เป็นจำนวนมากมาย(ท่านว่านับไม่ถ้วน) จนล่วงเลยถึงปีพ.ศ.๒๕๐๗ มีผู้ใจบุญคือ นายวิรัตน์ เศรษฐภักดี เจ้าของโรงภาพยนตร์ที่ตลาดบ้านดอน(สุราษฎร์ธานี) ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของพ่อท่านวงศ์ รับอาสาออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด จึงได้จัดสร้างพระรูปหล่อรูปเหมือนพ่อท่านคล้ายฐานอุสำเร็จจำนวน ๒,๐๐๐ องค์ เริ่มจากพ่อท่านวงศ์ได้นำแผ่นชนวนทั้งหมดขึ้นรถไฟเข้ากรุงเทพมหานคร โดยทำการว่าจ้างให้นายช่างพิมพ์ แห่งบ้านช่างหล่อ ทำการหล่อพระทั้งหมดในวัดสีหไกรสร(ช่องลม) บ้านช่องหล่อ อ.บางกอกน้อย กรุงเทพฯในสมัยนั้น (เขตบางกอกน้อยในปัจจุบัน)
เมื่อช่างหล่อเสร็จ พ่อท่านวงศ์รีบนำพระทั้งหมดที่ยังไม่ได้ตัดกิ่งออกจากองค์พระใส่ลัง นำขึ้นรถไฟที่สถานีบางกอกน้อย กลับมายังสถานที่ที่กำลังก่อสร้างพระธาตุเจดีย์น้อยที่จันดี อ.ฉวาง ในสมัยนั้น โดยมีพระอริยะสงฆ์ ๔ รูป ทำการปลุกเสกพระในครั้งนั้น ได้แก่ พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน, พ่อท่านแดง วัดภูเขาหลัก, พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง และหลวงพ่อคล้าย วัดละอายใน (ท่านย้ำดังๆว่ามีพระ ๒ รูปชื่อว่าคล้ายที่ปลุกเสกพระให้ฉัน) ในการนี้ท่านได้นำพระผงรูปเหมือน พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ เนื้อว่าน จำนวน ๒๐,๐๐๐ องค์ มี ๒ พิมพ์ คือแบบหลังยันต์พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ในภัทรกัปป์ และแบบหลังรูปพระเจดีย์ พระเนื้อว่านทั้งหมดนี้ได้กดพิมพ์เป็นองค์พระเสร็จปีพ.ศ.๒๕๐๖ และได้เข้าพิธีปลุกเสกพร้อมกันกับพระรูปหล่อฐานอุ สถานที่ปลุกเสกคือวัดพระธาตุน้อยในปัจจุบัน
พระอริยะสงฆ์ชื่อดังทั้ง ๔ รูปได้ร่วมกันปลุกเสกพระเครื่องให้นานกว่า ๒ ชั่วโมง จนกระทั่งเมื่อพ่อท่านคล้ายบอกว่า ใช้ได้แล้วคุณเหอ เป็นอันว่าเสร็จสิ้นพิธีการปลุกเสก พระเนื้อว่านทั้งหมดหลวงพ่อวงศ์ได้มอบให้กับ พระใบฎีกาครื้น โสภโณ เพื่อช่วยหาทุนในการสร้างพระเจดีย์น้อยของพ่อท่านคล้าย พ่อท่านวงศ์บอกว่า แลกกัน ฉานเอาเฉพาะพระรูปหล่อโบราณตันใต้ฐานยันต์อุจำนวน ๒,๐๐๐ องค์ ส่วนเนื้อว่าน ๒๐,๐๐๐ องค์นั้น ได้มอบให้วัดพระธาตุน้อย พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ ตามวัตถุประสงค์ที่กล่าวมา
พ่อท่านวงศ์เองนั้นท่านต้องการสร้างโบสถ์เป็นอันดับแรก เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว พ่อท่านวงศ์นำพระรูปหล่อทั้งหมดขึ้นรถไฟ กลับมาตัดกิ่งออก ณ ที่พักสงฆ์บ้านกรูด ทั้ง ๒,๐๐๐ องค์ พ่อท่านวงศ์ยังบอกต่อว่าต้นทุนในการสร้างพระนั้นองค์ละประมาณ ๒๐ บาท ท่านให้ชาวบ้านเช่าไปบูชาองค์ละ ๔๐ บาท (ในสมัย พ.ศ.๒๕๐๗) พ่อท่านวงศ์แจกพระในคราวสร้างพระอุโบสถ และคราวสร้างพระพุทธไสยาสน์วัดกรูด หลังจากนั้นต่อมา ท่านได้นำพระรูปหล่อจำนวน ๒๐๐ องค์ กลับไปถวายกลับให้พ่อท่านคล้าย ในระหว่างก่อสร้างเจดีย์ เพื่อแจกจ่ายแก่ผู้บริจาคปัจจัยสร้างพระธาตุน้อย โดยมีพระใบฎีกาครื้น โสภโณ เป็นผู้รับมอบ ผู้เขียนและคณะถามถึงเหตุผลว่าทำไมที่ฐานพระรูปหล่อโบราณนี้ จึงต้องมีอักขระยันต์อุกำกับใต้ฐาน พ่อท่านวงศ์บอกว่าท่านต้องการเน้นพุทธคุณให้มีอำนาจทางด้านมหาอุตต์
(พ่อท่านวงศ์พูดเสียงดังชัดเจนมาก)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.พ่อท่านคล้าย.com
ติดต่อ((ดิว พุนพิน))087-8888-761 ไอดีไลน์ dew222 |