วัตถุมงคล: รวมวัตถุมงคล อ.ศรีเงิน วัดดอนศาลา ทั้งหมด
พระสมเด็จนะมหามงคล อ.ศรีเงิน วัดดอนศาลา รุ่นแรกปี2524( สร้าง122องค์)เลี่ยมเงิน 23-01-2562 เข้าชม : 1637 ครั้ง |
| [ ชื่อพระ ] พระสมเด็จนะมหามงคล อ.ศรีเงิน วัดดอนศาลา รุ่นแรกปี2524( สร้าง122องค์)เลี่ยมเงิน | [ รายละเอียด ] พระสมเด็จนะมหามงคล อ.ศรีเงิน วัดดอนศาลา รุ่นแรกปี2524(สร้าง122องค์) เนื้อนวะโลหะเต็มสูตรเขาอ้อ สูตรตำหรับเขาอ้อ สูตรลับหรือเนื้อนวะพิเศษที่เต็มสูตรและเข้มข้น ที่ไม่เหมือนใคร พระสมเด็จนะมหามงคล ปี2524นั้น มีแค่พิมพ์ใหญ่พิมพ์เดียวเท่านั้น จำนวนสร้างแค่122องค์เท่านั้น บางคนอาจจะสับสนกับพิมพ์เล็ก ซึ่งพิมพ์เล็กนั้นได้สร้างในปี2525 ในปี25นั้นก็มีพิมพ์เดียวคือพิมพ์เล็กที่เป็นเนื้อนวะและได้ตอกโค๊ตไว้ด้านหลังองค์พระ พระสมเด็จพิมพ์เล็ก ในปี2525นั้นสร้างจำนวน2231 องค์ พระชุดนะมหามงคลปัจจุบันมีผู้ศรัทธาแสวงหากันมากเกินกว่าจำนวนพระที่มีการสร้าง จึงทำไห้พระในชุดนะมหามงคล ปี24 และชุดปี2525นั้น นั้นมีราคาสูงมากเพราะสร้างน้อยมากๆ ถ้าเป็นเนื้อพิเศษในปี2525นั้น เนื้อทองมหาสัตตะโลหะและเนื้อโลหะจ้าวน้ำเงินนั้น ราคาจะสูงกว่าหลายเท่าเพราะ สร้างจำนวนหลักสิบองค์พิมพ์ละหลักสิบองค์ ปัจจุบันของเลียนแบบก็มีออกมาเยอะมาก แต่ว่าพระเก๊จะทำเลียนแบบเนื้อหาไม่เหมือนครับ ทำยังไงก็ไม่เหมือน เสน่ห์ของพระหล่อโบราณเนื้อนวะโลหะสูตรเขาอ้อนั้น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวครับ พระสมเด็จนะมหามงคลรุ่นแรก ของท่าน เป็น1ในพระสร้างน้อยและหายาก ในรุ่นนะมหามงคล พระกริ่งนะมหามงคลสร้าง79องค์ พระสมเด็จนะมหามงคลสร้าง122องค์ แหวนพิรอดสร้าง400วง พระปิดตานะมหามงคล พิมพ์ใหญ่สร้าง1000องค์ พระปิดตาพิมพ์เล็กสร้าง1000องค์เเป็นที่นิยมของผู้ศรัทธามาตั้งแต่ยุคต้นๆเลยครับ ปัจจุบัน พระสมเด็จกับพระกริ่ง รุ่นนะมหามงคลนี้ไม่ค่อยมีไห้เห็น ส่วนใหญ่จะออกไปอยุ่ต่างประเทศเป็นจำนวนมากครับ รุ่นนี้เป็นวัตถุมงคลมีมีประวัติการสร้างที่ชัดเจนและเจตนาการสร้างที่ดีและมีวัตถุประสงค์ที่ดี สร้างตามฤกษ์ผานาที หมดฤกษ์ก็หยุดทันที ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น ไม่เน้นปริมาณและความสวย จะเน้นตามสูตรโบราณแบบฉบับเขาอ้อและ เน้นคุณภาพในเนื้อหาขององค์พระไห้มีคุณวิเศษ ตามที่ตำราเขาอ้อ ได้พรรณนาไว้
***อารัมภบทพระเครื่องชุดนะมหามงคล ปี2524..พระปลัดศรีเงิน อาภาธโร หรือที่ชาวบ้านเรียกท่านว่า ท่านศรี แต่ปัจจุบัน เรียกท่านว่า อาจารย์ศรีเงิน อย่างสนิทปาก. สมัยที่ท่านอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา และ อาจารย์คง วัดบ้านสวน ยังมีชีวีตอยู่ อาจารย์ศรีเงิน มักได้รับนิมนต์ไปร่วมปลุกเสกในที่ต่างๆด้วยกันเสมอแม้ว่ายังหนุ่มก็ตาม และก่อนที่ท่านจะเป็นศิษย์ของอาจารย์นำ ท่านได้มอบตัวเป็นศิษย์ของอาจารย์ปาล ปาลธัมฺโม วัดเขาอ้อ ได้รับการถ่ายทอดวิชาไว้อย่างมากมาย อาจารย์ศรีเงิน ท่านถือปฏิบัติเคร่งครัดแบบเดียวกับพระอาจารย์เอียด พูดน้อย ถ่อมตนไม่โอ้อวด. พระอาจารย์ศรีเงิน ได้อนุญาติให้ลูกศิษย์สร้างพระครั้งแรก เพื่อหาทุนทรัพย์ในการสร้างเมรุและกำแพงวัด ซึ่งท่านแน่ใจแล้วว่าคณะศิษย์มีความตั้งใจจริงที่จะสร้างความเจริญให้กับวัดจริงๆ ท่านจึงอนุญาติให้สร้างได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ได้ตั้งไว้สำหรับการสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้ว่า 1. เนื้อพระ ให้เป็นเนื้อนวโลหะตามสูตรของสำนักวัดเขาอ้อ, 2. การหล่อ ให้หล่อเบ้าดินแบบโบราณทั้งหมด, 3. แผ่นยันต์ชนวนทุกแผ่น จะต้องผสมในเนื้อทั้งหมด, 4. ต้องมีอาจารย์หรือศิษย์ของอาจารย์ที่ได้รับมอบหมายควบคุมไปตามขั้นตอน และต้องทำภายใน กำหนดฤกษ์เท่านั้น ถ้าไม่ทันฤกษ์ต้องหาฤกษ์ใหม่, 5. ห้ามผู้หญิงเกี่ยวข้องพิธี นับแต่ปั้นหุ่นทำเบ้า จนเสร็จสิ้นพิธีการหล่อ และตัดชนวน ผู้หญิงจะเข้าในบริเวณพิธีหล่อ หรือแตะต้องพระไม่ได้ จนกว่าพิธีปลุกเสกพระใหญ่จะผ่านพ้นไปแล้ว. ท่านอาจารย์ศรีเงิน ได้อนุญาติให้สร้าง พระปิดตาพิมพ์ใหญ่1000องค์,พระปิดตาพิมพ์เล็ก1000องค์,แหวนพิรอด500วง กำหนดให้มีอักขระ นะมหามางคล ที่ด้านหลังพระทุกองค์ ท่านอาจารย์ศรีเงินบอกว่าท่านอาจารย์ทองมานิมิตแนะนำให้ใช้. เมื่อท่านอาจารย์ได้อนุญาติศิษย์ให้สร้างได้แล้ว ท่านได้เรียกศิษย์ของท่านที่ดำเนินการสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้มาอบรม แนะนำพิธีการต่างๆ พระคาถาหลายบทและให้ทบทวนหลายๆครั้ง เป็นเวลา 3 เดือนจนท่านมั่นใจว่าไม่มีการผิดพลาด และตลอดระยะเวลา 3 เดือนนั้น พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร ได้ลงแผ่นพระยันต์ต่างๆ และนะต่างๆ การลงยันต์แต่ละครั้งต้องกำหนดฤกษ์ดี วันดี อย่างเคร่งครัด จนครบจำนวนตามสูตรเขาอ้อแล้ว จึงมอบให้ศิษย์เพื่อนำไปเป็นชนวนในการสร้างวุตถุมงคลชุดนี้ต่อไป ทางคณะศิษย์ได้ติดต่อโรงงานหล่อพระหลายแห่ง โดยกำหนดเงื่อนไข5ข้อตามคำสั่งของอาจารย์ แต่ทุกโรงงานปฏิเสธ ทำเอาคณะศิษย์แทบหมดกำลังใจและคิดไปต่างๆนาๆว่า คงต้องหล่อกันเองที่วัดเสียแล้ว แต่ด้วยแรงศรัทธาที่จะสร้างพระชุดนี้ถวายอาจารย์ให้ได้ จึงเกิดมานะขึ้นในใจ สอบถามหาคนที่จะรับจ้างหล่อพระให้ได้ตามข้อตกลงของอาจารย์ และได้มีคนแนะนำให้ไปหานายช่าง สุเทพ โสธรประธาน เป็นช่างหล่อพระอยู่ที่โรงงานหนองแขม บ้านอยู่ ต.ลำพะยา จ.นครปฐม ในที่สุดก็ตกลงกันได้และมอบหมายให้นายช่างปั้นหุ่นปิดตาใหญ่-เล็ก และ แหวนพิรอด ตามแบบที่ต้องการ โดยศิษย์ของอาจารย์เป็นผู้เลือกและติชม ให้แก้ไขจนเป็นที่พอใจ. 19 มิ.ย 2524 เริ่มทำหุ่นขี้ผึ้งพิมพ์เล็ก 1031 องค์ พิมพ์ใหญ่ 1000 องค์ แหวน 524 วง ทำหุ่นขี้ผึ้งเสร็จ 17 ก.ค ระหว่าง 17-20 ก.ค เริ่มเผาเบ้าหุ่นขี้ผึ้งจนเสร็จเรียบร้อย เป็นเบ้าที่สมบูรณ์ ใช้ช่างผู้ชาย 3 คน ศิษย์ของอาจารย์ 1 คน ช่วยกันทำโดยตลอด ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 31 วัน นับเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาฤกษ์ให้บรรจุลงเบ้า ที่มีเพียงแค่ 4 นาที เท่านั้น(สำหรับการบรรจุเบ้าพระปิดตาทั้ง2พิมพ์). ฤกษ์บรรจุลงเบ้าตามที่ท่านอาจารย์ได้กำหนดเอาไว้คือ วันที่ 21 ก.ค 2524 เวลา 04.20 น. ถึง 04.24 น. เกิดอุปสรรคพอสมควรในวันนั้น กำหนดสถานที่หล่อไว้กลางแจ้ง ผนเริ่มตกตั้งแต่บ่าย 3 โมง ถึง 3 ทุ่ม และยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ศิษย์เลยจุดธูปอธิษฐานต่อ อาจารย์ทองเฒ่า และ อาจารย์เอียด ขอให้ช่วยบันดาลให้ฝนหยุดตกตั้งแต่เที่ยงคืน หากช้าเกินไปจะไม่สามารถหล่อหลอมโลหะได้ทันเวลา อัศจรรย์พอถึงเวลา 24.00 น.ฝนหยุดตกท้องฟ้าเริ่มสว่าง ช่างไดเริ่มจุดไฟหล่อโลหะและแผ่นชนวน โลหะที่นำมาหล่อหลอมอันนอกเหนือจากโลหะ 9 ชนิด (นวะโลหะแท้)อันประกอบไปด้วยคือ ทองคำ เงิน ทองแดง พลวง สังกะสี ดีบุก เหล็กละลายตัว เจ้าน้ำเงิน บริสุทธิ์ แล้วยังมีชนวนต่างๆ ประกอบด้วย โลหะจากบ้านเชียง ตะกรุดทองคำของพระอาจารย์เขาอ้อรูปก่อนๆ ส่วนแผ่นยันต์นะ และแผ่นยันต์ที่พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร ได้ลงไว้บนแผ่นทองคำ เงิน ทองแดง นาก เพื่อหลอมรวมเป็นเนื้อโลหะสร้างวัตถุมงคลนี้ ประกอบแผ่นนะ 29 นะ แผ่นยันต์ 108 ดวง ซึ่งอาจารย์ศรีเงิน มีความตั้งใจทำให้เป็นกรณีพิเศษ เนื่องจาก มีพิธีการและขั้นตอน ซึ่งประกอบไปด้วยพระคาถากำกับ ในบางครั้งความรู้สึกของนายช่าง ซึ่งไม่เคยพบพิธีการที่ยุ่งยากอย่างนี้มาก่อน ถึงกับบ่นออกมาว่า ยุ่งฉิบหาย ก็เลยเกิดความยุ่งยากขึ้นมาจริงๆคือ แผ่นตะกรุดทองคำและแผ่นพระยันต์ของพระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร เกิดหลอมไม่ละลาย แม้เชือกที่ถักตะกรุดก็ยังไม่ไหม้ เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ทั้งๆที่โลหะชนิดอื่นได้ละลายหมดแล้ว เอาเหล็กมากดเพื่อให้แผ่นชนวนจมลงไป พอเอาเหล็กขึ้นมาก็ลอยอย่างเดิม ทำเอานายช่างตกใจ เพราะใกล้เวลาฤกษ์เทบรรจุเบ้าเต็มทีแล้ว ช่างทั้ง 3 พร้อมใจกันจุดธูปเทียนขอขมาอาจารย์ แล้วบนบานที่จะสร้างพระพุทธรูปสุโขทัยถวาย 1 องค์ ถ้าหากแผ่นชนวนต่างๆนี้ละลาย ปรากฏว่าแผ่นชนวนและตะกรุดทองคำหลอมละลายหมดทันเวลาฤกษ์พอดี เป็นที่โล่งใจของทุกคน เพราะถ้าไม่ทันฤกษ์ ก็เป็นอันว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เตรียมการไว้ ต้องยกเลิกและต้องหาฤกษ์ใหม่ ในที่สุดพระปิดตาชุดแรกซึ่งประกอบด้วย พิมพ์ใหญ่ 1000 องค์ พิมพ์เล็ก 1031 องค์ ก็สำเร็จเรียบร้อยติดพิมพ์ดีทุกองค์ และเป็นที่น่าอัศจรรย์ มีอยู่องค์หนึ่ง ไม่มีแกนชนวนติด หลุดออกมาเลยตอนทุบเบ้า เป็นพระปิดตาพิมพ์ใหญ่ ขณะทีทุกคนกำลังดูพระองค์ที่หลุดออกมาไม่มีแกนชนวนติดด้วยความประหลาดใจ ช่างก็เริ่มตัดชนวนทีละองค์ เริ่มตัดพิมพ์เล็กเป็นองค์แรก หลุดจากแกนชนวนหล่นตกลงที่พื้น ต่างคนต่างมองเห็นองค์พระตั้งอยู่บนพื้น แต่เมื่อเอื้อมมือทีจะไปหยิบขึ้นมา องค์พระปิดตาได้หายไปเสียแล้ว คงอาจจะไม่อยากให้พระตกลงไปในที่สกปรกเป็นแน่แท้. สำหรับแหวนพิรอด ได้หล่อกันในวันรุ่งขึ้น โดยใช้ชนวนที่เหลือจากพระปิดตาผสมเนื้อปืนใหญ่โบราณเข้าอีกจำนวนหนึ่งและเพิ่มแผ่นพระยันต์อีก3แผ่น เพื่อบรรจุลงในเนื้อแหวนพิรอดโดยเฉพาะ เป็นการหล่อที่ต่อเนื่องจากพระปิดตาเพราะเพียงราไฟเอาไว้ ปรากฏว่าเบ้าระเบิดไปบางส่วน นับได้แหวนที่ใช้ได้เพียง400วง เท่านั้น พระปิดตาและแหวน เสร็จเรียบร้อยด้วยความเหนื่อยยากยิ่งของทุกคน หลายๆคนซึ่งในช่วงแรกๆมองศิษย์ของอาจารย์ด้วยความไม่แน่ใจ เพราะว่าอายุน้อยเหลือเกิน แต่พอร่วมงานไปจนถึงนาทีสุดท้านแล้ว เกิดความศรัทธาถึงกับขอจองพระปิดตาและแหวนกันทุกคน ต่างก็ยอมรับว่า ไม่เคยพบพิธีการและความมหัศจรรย์ทีเกิดขึ้นต่อหน้า นับตั้งแต่สร้างพระให้วัดต่างๆมาก็มาก ไม่เคยที่จะใช้พระที่ตนเองหล่อเลย เพิ่งมีครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่อยากจะบูชามีไว้ติดตัว ***พิธีปลุกเสกครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2524 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 15 ค่ำ เวลา 19.29 น. ณ อุโบสถ วัดดอนศาลา โดยพระเกจิอาจารย์สายสำนักวัดเขาอ้อ มีพระครูกาชาด (บุญทอง) วัดดอนศาลา เป็นประธานในพิธี เสร็จพิธีแล้ว พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร ได้เก็บไว้ในกุฏิปลุกเสกเดี่ยวทุกวันจนกว่าจะถึงพิธีปลุกเสกใหญ่อีกครั้งในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2524 การสร้างพระสมเด็จและพระกริ่ง เนื่องจากมีชนวนเหลือจากการสร้างพระปิดตาและแหวนจำนวนมาก คณะศิษย์จึงได้ขออนุญาติสร้างพระสมเด็จและพระกริ่ง เพื่อสมนาคุณแก่คณะศิษย์ ซึ่งได้ช่วยเหลือสมทบทุนในการสร้างพระปิดตาและแหวน ซึ่งใช้ทุนมากไม่ใช่น้อย ท่านอาจารย์เลยอนุญาติให้สร้างอีกครั้ง เพราะเห็นใจคณะศิษย์เป็นอย่างมากจึงได้ผสมเนื้อนวะโลหะ และแผ่นพระยันต์ 108 และ นะ 24 เท่ากับพระปิดตา การหล่อองค์พระยังคงใช้แบบโบราณเหมือนเดิมทุกอย่าง กำหนดฤกษ์บรรจุเบ้าพระสมเด็จ วันที่ 24 ส.ค 2524 เวลา 04.19 น. ถึง 04.26 น. ช่วงเวลาแค่7 นาทีเท่านั้น พิธีการต่างๆเหมือนเมื่อครั้งสร้างพระปิดตา วันที่ 18 ส.ค 2524 ได้เริ่มทาหุ่นพระสมเด็จด้านหลังมีอักขระยันต์นะมหามงคลและนะอะระหัง นูนออกมา ขณะปั้นหุ่นองค์แรกต้องภาวนาคาถาเรียกสูตรนะกำกับขณะติดอักขระแต่ละตัว โดยเฉพาะพระกริ่ง ซึ่งมีอักขระนะมหามงคล จมลงในองค์พระด้านหลัง ศิษย์ผู้ควบคุมพิธีจาร นะมหามงคล ทีละองค์ และภาวนาคาถาเรียกสูตรนะกำกับทุกองค์ทีละองค์เช่นเดียวกัน ทำหุ่นเสร็จในวันที่ 24 ส.ค 2524 และเผาเบ้าหุ่นเสร็จเรียบร้อยในวันเดียวกัน เหมือนดั่งมีอาถรรพณ์ ฝนแล้งอยู่ดีๆ พอถึงวันที่24 ส.ค 2524 ซึ่งเป็นวันบรรจุเบ้าพระสมเด็จและพระกริ่ง ฝนดันตกลงมาไม่หยุด เลยต้องจุดธูปบอกอาจารย์ให้ช่วย คราวนี้ฝนเลยหอบไปตกในตัวเมืองเสียห่าใหญ่ ส่วนบริเวณที่ทำพิธีหลอมโลหะ ฝนแล้งเป็นปลิดทิ้ง พอเริ่มจุดไฟหลอมโลหะ ศิษย์ได้จุดธูปและหันหน้าไปทางวัดเขาอ้อ อัญเชิญพระอาจารย์สำนักเขาอ้อมาร่วมพิธีหลอมโลหะและประสิทธิ์ประสาทพรในการบรรจุเบ้าพระสมเด็จและพระกริ่งครั้งนี้ ใกล้เวลากำหนดฤกษ์ ก่อนตี4เล็กน้อย ขณะที่ช่างทุกคนรอที่จะทำพิธีบรรจุเบ้า ก็มีเสียงสวดพุทธมนต์ดังแว่วๆมา เป็นจังหวะคล้ายๆลอยมาจากที่ไกล แต่ฟังชัดเหมือนอยู่ใกล้ตัว ไม่เพียงแต่ช่างทุกคนที่ได้ยิน คนแทบทุกบ้านในหมู่บ้านลำพะยา หมู่4 ก็ได้ยินกันทั่ว ต่างมุ่งหน้ามากันที่แสงไฟ เพราะได้ยินเสียงสวดมนต์ดังมาจากบริเวณที่กำลังหลอมโลหะ และในวันนั้นที่หมู่บ้านลำพะยา ไม่มีพิธีการทางศาสนาและที่ใกล้เคียงก็ไม่มีวัด ต่างก็รับรู้ได้ด้วยจิตสัมผัสว่า การหล่อหลอมบรรจุลงเบ้าพระในวันนี้ ครูบาอาจารย์ท่านมาประสิทธิ์ประสาทพรให้เป็นแน่แล้ว มีคหบดีชาวสวนผักท่านหนึ่ง ที่หมู่บ้านลำพะยา ได้ยินเสียงสวดมนต์ และได้ติดตามมาดูพิธีการหล่อพระด้วย เกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้า ปลดสร้อยทองคำหนัก5บาท ออกจากคอใส่ลงในเตาหลอมขอร่วมบริจาค โดยขอสมเด็จรุ่นนี้2องค์เป็นการตอบแทน เพียง7นาทีพิธีการบรรจุเบ้าพระสมเด็จก็ผ่านไปอย่างเรียบร้อย ในตอนเช้าหลังจากตัดชนวนพระสมเด็จแล้ว ก็เริ่มบรรจุเบ้าพระกริ่ง โดยเพิ่มส่วนผสมเป็นจ้าวน้ำเงินล้วนๆลงไปอีกน้ำหนักหลายบาท (จ้าวน้ำเงิน นี้ไม่ใช่เงิน แต่เป็นโลหะผสมจากโลหะ2ชนิด โดยมีว่านบางอย่างเป็นตัวประสาน ซึ่งเป็นสูตรสำเร็จจากสำนักเขาอ้อโดยเฉพาะ เนื้อพระกริ่งจึงแปลกออกไปจากพระสมเด็จคือมีเงาวาวไปทั้งองค์) ความมหัศจรรย์ ที่เกิดขึ้นทั้ง2ครั้ง2คราในการบรรจุเบ้า นับตั้งแต่ครั้งพระปิดตามาถึงพระสมเด็จ ยิ่งทำให้มีผู้ศรัทธาทั่วหมู่บ้านลำพะยา ถึงกับขอจองพระสมเด็จและพระปิดตารวมทั้งพระกริ่งและแหวนกันอย่างมากมาย เรียกว่า ทุกชนิดที่สร้างในคราวนี้ ศิษย์ของอาจารย์ก็เลยสัญญาว่า จะนำมาให้ทุกคนหลังจากออกพรรษาแล้ว(จำนวนพระสมเด็จที่สร้างทั้งหมด 122 องค์ พระกริ่งหล่อออกมาชำรุดไปหลายองค์ นับจำนวนที่ใช้ได้เพียง 77 องค์) ***พิธีการปลุกเสกใหญ่ครั้งสำคัญที่วัดดอนศาลา ในวันที่ 3 ต.ค 2524 ณ.พระอุโบสถวัดดอนศาลา โดยนิมนต์พระคณาจารย์มาร่วมพิธีปลุกเสกครั้งนี้9องค์ ด้วยกันคือ1. พระครูกาชาด (บุญทอง) วัดดอนศาลา จังหวัดพัทลุง 2. พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร วัดดอนศาลา จังหวัดพัทลุง 3. พ่อท่านคล้อย วัดภูเขาทอง จังหวัดพัทลุง 4. พระอาจารย์แก้ว วัดโคกโดน จังหวัดพัทลุง 5. พ่อท่านหมุน วัดเขาแดงตะวันออก จังหวัดพัทลุง 6. พระอาจารย์เล็ก วัดประดู่เรียง จังหวัดพัทลุง 7. พระอาจารย์จับ วัดท่าลิพงศ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช 8. พระอาจารย์หนูจันทร์ วัดพัทธสีมา จังหวัดนครศรีธรรมราช 9. พระอาจารย์ทอง พระธุดงค์มาจากจังหวัดสงขลา วัตถุมงคลรุ่นนี้ถึงแม้ว่าจะมีอายุการสร้างไม่นานนักแต่ปัจจุบันกลับมีค่านิยมสูงและหายาก เป็นที่ต้องการของลูกศิษย์และผู้คนทั่วไป เพราะมีประสบการณ์โดดเด่นในด้านเมตตามหานิยม ค้าขายและโชคลาภ ความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน อีกทั้งแคล้วคลาดเป็นเลิศครับ.......................(คัดลอกบทความจากหนังสือลานโพธิ์ โดย.....นิพัฒน์ | [ ราคา ] ฿9999999999 [ สถานะ ] ยังอยู่
[ติดต่อเจ้าของร้านเดียว ทะเลน้อย] เบอร์โทรศัพท์ : 086-2850216 หรือติดต่อทางไลท์ IDไล diawsolo | |
|