หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  โขง ชี มูล  :  พระธาตุนาดูน  :  พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
KCM Shop/ร้านโขงชีมูล
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 77 คน
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา : KCM Shop/ร้านโขงชีมูล

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า KCM Shop/ร้านโขงชีมูล
ชื่อเจ้าของ Dr. Weraphan Prommontre / ดร.วีรพันธ์ พรหมมนตรี (ดร.วี)
รายละเอียด Sale thai amulet as well as share information and knowledge about Thai amulet to interesting persons particularly foriegners./ให้บูชาพระเครื่องและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องในเรื่องประวิติเกจิ
เงื่อนไขการรับประกัน เก๊คืนเต็มจำนวน หากคืนพระในสภาพเดิม ภายใน 7 วัน คืน 100 % ภายในสองสัปดาห์ คืน 75 % ภายใน 1 เดือน คืน 50 % / Refund schedule with in 7 days 100 % , with in 14 days 75 % , with in 30 days 50 %
ที่อยู่ 165/91 ซ 26 หมู่บ้านสินบดี ต. พิมลราช อ บางบัวทอง จ. นนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11110
เบอร์ที่ติดต่อ KCM Shop/ร้านโขงชีมูล โชว์
E-mail eon_werapong123@hotmail.com
วันที่เปิดร้าน 01-10-2552 วันหมดอายุ 01-10-2569

โขง-ชี-มูล แม่น้ำสายอารยธรรมแห่งที่ราบสูงอีสาน  

        "อีสาน" เป็นดินแดนที่ราบสูงที่มีพื้นที่กว้างขวางที่สุดของประเทศไทย ดินแดนแห่งนี้ถูกโอบล้อมด้วยเทือกเขาสูงจากด้านทิศตะวันตก ต่อเนื่องไปยังด้านทิศใต้ และมีเทือกเขาจากตอนกลางของภูมิภาคพาดขวางอยู่ด้านทิศตะวันออก

          เหนือที่ราบสูงแห่งนี้ มีแม่น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงผืนแผ่นดินรวม 3 สาย คือ แม่น้ำมูล จากเทือกเขาด้านตะวันตก แม่น้ำชี จากตอนกลางของภูมิภาค และ แม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแม่น้ำนานาชาติที่ไหลมาจากประเทศจีน แม่น้ำสายหลักของอีสานทั้ง 3 สายนี้ ไหลมาบรรจบกันที่ตอนล่างของภูมิภาค คือที่ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า "อุบลราชธานี" เป็นเมืองแม่น้ำแห่งเดียวของที่ราบสูงอีสาน

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

โลโก้
ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี
กสิกรไทย
สำเหร่
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
032-2-93420-3
ออมทรัพย์
กรุงไทย
บางบัวทอง
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
121-0-28494-4
ออมทรัพย์





วัตถุมงคล: พระเครื่องเกจิอาจารย์สายอีสาน
เหรียญหลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง รุ่นแรก ปี 2514 เนื้ออัลปาก้า
04-01-2554 เข้าชม : 22310 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] เหรียญหลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง รุ่นแรก ปี 2514 เนื้ออัลปาก้า
[ รายละเอียด ]

หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร

วัดถ้ำผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

พระคุณเจ้าหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร เป็นศิษย์สำคัญยิ่งทุกด้านของพระคุณเจ้าท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ผู้เป็นบูรพาจารย์ เป็นบิดาแห่งวงศ์พระกรรมฐานในสมัยปัจจุบัน ศิษย์สำคัญระดับพระเถราจารย์ใหญ่ที่เป็นที่เคารพบูชา มีชื่อเสียงขจรขจาย เป็นที่คุ้นเคยนามของมหาชนทั่วประเทศ ถือเป็นรุ่นใกล้เคียงกับหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ทั้งสิ้น เช่น พระคุณเจ้าหลวงปู่เทสก์ เทสรํสี หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่ชอบฐานสโม หลวงปู่ขาว อนาลโย และหลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นต้น พระคุณเจ้าหลวงปู่ต่างมีอายุ และอุปสมบทญัตติเป็นธรรมยุตใกล้เคียงกันก่อนหลังดังนี้

 

 

เกิด

ญัตติเป็นธรรมยุต

หลวงปู่หลุย

11 กุมภาพันธ์ 2444

14 พฤษภาคม 2468

หลวงปู่ขาว

26 เมษายน 2434

14 พฤษภาคม 2468

หลวงปู่เทสก์

26 เมษายน 2445

16 พฤษภาคม 2466

หลวงปู่อ่อน

3 มิถุนายน 2445

25 มกราคม 2467

หลวงปู่ชอบ

12 กุมภาพันธ์ 2444

21 มกราคม 2467

หลวงปู่ฝั้น

20 สิงหาคม 2442

21 พฤษภาคม 2468

          ดังนั้นหลวงปู่หลุยจึงญัตติเป็นธรรมยุตก่อนหลวงปู่ฝั้น อาจาโร 7 วันแต่ ญัตติเป็นธรรมยุต วันเดียวกันกับหลวงปู่ขาว ต่างก็เป็นคู่นาคซ้ายขวา ซึ่งกันและกัน แม้จะมีอายุน้อยกว่าหลวงปู่ขาวนับ 10 ปี หลวงปู่อ่อนและหลวงปู่ชอบต่างก็มีอายุอ่อนกว่าหลวงปู่หลุย แต่หลวงปู่เทสก์ อุปสมบท ก่อนท่าน 2 พรรษา ส่วนหลวงปู่อ่อนและหลวงปู่ชอบอุปสมบทก่อน 2-3 เดือน แต่นับพรรษาเท่ากันด้วยระยะนับวันขึ้นปีใหม่ส่งถึงวันที่ 1 เมษายน หลวงปู่หลุยจึงเป็นแม่ทัพนายกองใหญ่และเป็นแม่ทัพหน้ารุ่นเริ่มยุคปฏิบัติธรรมของบูรพาจารย์หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น

          หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร เป็นบุตรของคุณพ่อคำฝอย วรบุตร ลูกชายเจ้าเมืองแก่นท้าว แขวงไชยบุรี ประเทศลาว และเจ้าแม่นางกวย (สุวรรณภา) วรบุตร ธิดาของผู้มีอันจะกินเขตเมืองเลย กำเนิดเมื่อวันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2444 เวลาอรุณรุ่งจวนสว่างมีพี่สาวต่างบิดา 1 คน และน้องชายร่วมบิดา มารดาอีก 1 คน

          เมื่ออายุ 7 ขวบ บิดาได้ถึงแก่กรรมทำให้มารดาท่านเป็นทุกข์จากการพลัดพรากของรักทั้งจากเป็นและจากตาย จึงอุทิศวิถีชีวิตส่วนใหญ่ ต่อพุทธศาสนา หลวงปู่ซึ่งเคยรื่นเริงสนุกสนาน พาเด็กในละแวกบ้านสนุกกระโดดน้ำ ปีนป่ายต้นไม้จนพลัดตก ซนไปต่างๆ นานา ก็แทบหมดสนุก ด้วยการสูญเสียร่มโพธิ์ร่มไทรของครอบครัว หลวงปู่จึงมักปลีกตัวไปดูสายน้ำ แม่น้ำเลยหลังบ้าน แล้วเปรียบเทียบกับชีวิตมนุษย์เหมือนกับกระแสน้ำ ไปแล้วไม่ยอมกลับ ท่านได้แต่คิด…คิดเพ่งดูน้ำ ดูกระแสน้ำ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของความคิดทางธรรม ภาวนาโดยอาศัยน้ำเป็นอารมณ์ คิดเรื่องชีวิตจนหมกมุ่นเกินวัย จนกระทั่งอายุ 9 ขวบ จิตตกภวังค์จมลง เกิดนิมิตแสงสว่างสีสรรคล้ายสีรุ้ง และในใจก็รู้สึกมาว่า ต่อไปจะต้องบวช และบวชแบบ กัมมัฏฐาน ทั้งที่ขณะนั้นยังเด็กไม่รู้จักกัมมัฏฐานมาก่อน

          เดิมบิดามารดาตั้งชื่อบุตรชายคนโตนี้ว่า “วอ” แต่เมื่อเข้าโรงเรียน ความมีนิสัยช่างซักช่างเจรจา ช่างออกความเห็นเหมือน “ครูบา” จึงถูกเรียกว่า “บา” จนกลายเป็นชื่อใหม่ของท่าน เด็กชายบาจึงมีโอกาสศึกษาที่โรงเรียนวัดศรีสะอาดจนจบชั้นประถมปีที่ 3 ซึ่งขณะนั้นถือว่าเป็นการศึกษาที่สูงมาก สำหรับเมืองชายแดน หลวงปู่ตั้งใจจะไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ ด้วยประสงค์จะรับราชการเป็นขุนหลวง พระ อย่างเพื่อนของบิดา และอยู่ในฐานะที่ มารดาส่งเรียนได้แต่มารดาเป็นห่วงจึงไม่อนุญาตหลวงปู่จึงเสียใจมากที่ไม่ได้ศึกษาต่อ

          ต่อมาหลวงปู่ได้ทำงานเป็นเสมียนกับพี่เขยที่เป็นสมุห์บัญชีสรรพากร อำเภอเชียงคาน ปี 2464 ได้ย้ายไปทำงานที่อำเภอแซงบาดาล (ธวัชบุรี) และที่ห้องอัยการภาคจังหวัดร้อยเอ็ด ด้วยการอุปถัมภ์ของอัยการภาคร้อยเอ็ด

          ขณะที่อยู่ที่เชียงคานด้วยหนุ่มคะนอง และชอบสวดมนต์ ประกอบกับอยากแกล้งมารดาและมีการติดต่อกับฝรั่งทางลาว หลวงปู่จึงรู้จักการเสิร์ฟ และผสมสุราอย่างฝรั่งเศส แล้วนับถือศาสนาคริสต์ จนคุณพระเชียงคาน ลุงของท่านเรียกชื่อว่า “เซนต์หลุย” ท่านจึงมีชื่อเรียกใหม่ว่าหลุยแต่บัดนั้นมา ซึ่งไม่ใช่ความหมายของคำว่า ”หลุย” ในภาษาอีสาน ซึ่งหมายถึง ไม่ถูกเป้าพลาดเป้าไป ไม่ถูกจุด

          การคลุกลคลีอยู่กับการจัดอาหารเลี้ยงบ่อยๆ ทำให้ท่านได้เห็นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ทั้งไก่ หมู วัว ควาย ซึ่งบังเกิดความสังเวชสลดใจ จึงออกจาก คริสต์ศาสนาหลังจากนับถือมา 5 ปี

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรมและปฏิปทา

          การทำราชการของหลวงปู่ไม่สู้จะราบรื่นนัก ด้วยผู้บังคับบัญชาเกิดแคลงใจในตัวท่านจึงรู้สึกอึดอัดใจในชีวิตฆราวาสอย่างยิ่ง ที่เคยรักใคร่เอ็นดู กลับเปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับภาพสัตว์ที่ถูกเชือดในงานเลี้ยง ยังตามมารบกวนความรู้สึกอยู่ในมโนภาพ ท่านเคนได้ทราบว่า การบวชจะแผ่ บุญกุศลไปให้สรรพสัตว์ที่ตายไปแล้วได้ จึงเป็นเหตุให้ท่านตัดสินใจจะละโลกฆราวาส ลาออกจากราชการแล้วเข้าสู่พิธีอุปสมบท เป็นพระมหานิกาย ณ อำเภอแซงบาดาล ร้อยเอ็ด เมื่อปี พ.ศ. 2466 โดยมีอัยการภาคเป็นเจ้าภาพบวชให้ ระหว่างพรรษาแรกที่ธวัชบุรี หลวงปู่ได้พยายามศึกษา พระธรรมวินัยทั้งปริยัติธรรมและปฏิบัติ เมื่อออกพรรษาท่านจึงลาพระอุปัชฌาย์กลับเพื่อไปเตรียมเกณฑ์ทหารที่จังหวัดเลย หลวงปู่ได้เดินทาง ไปทางจังหวัดนครพนมเพื่อนมัสการพระธาตุพนม ระหว่างทางได้พบพระธุดงค์กัมมัฎฐานรูปหนึ่ง มาจากอำเภอโพนทอง สนทนาชอบอัธยาศัย ซึ่งกันและกัน และทราบความมุ่งมั่นของหลวงปู่ที่อธิษฐานปวารณาตัวเพื่อพุทธศาสนา ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความหมดไป ท่านอนุโมทนา จึงมอบกลดและมุ้งให้หลวงปู่ ท่านรู้สึกในพระคุณเป็นที่สุด ได้ใช้ในการภาวนา จนซ่อมแซมปะชุนไม่ได้ และเป็นปัจจัยให้ท่านทำกลด แจกจ่ายพระเณร มาตลอดเวลา หลวงปู่ได้ถวายภาวนาเป็นพุทธบูชา ณ ลานพระธาตุพนมตลอดคืน บังเกิดความอัศจรรย์ กายลหุตา จิตลหุตา กายเบา จิตเบา จึงตั้งสัจจาอธิษฐานว่าจะบวชกัมมัฎฐานตลอดชีวิต

          ระหว่างทางสู่จังหวัดเลย เมื่อมาถึงบ้านหนองวัวซอ ได้ทราบกิตติศัพท์ว่ามีพระกัมมัฎฐานจากจังหวัดอุบลราชธานีก็สนใจจึงแวะไปดู ได้เห็นศีลาจารานุวัตรและข้อปฏิบัติ ได้ฟังธรรมเทศนาของท่านพระอาจารย์บุญ ปญญาวโร เลื่อมใสมากจึงขอถวายตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์ได้ แนะนำให้ขอญัตติเป็นธรรมยุติ ที่จังหวัดเลยหลังจากเกณฑ์ทหารแล้ว หลวงปู่จึงขอญัตติจตุตถกรรมใหม่เป็นพระธรรมยุติที่วัดศรีสะอาด อำเภอเมือง จังหวัดเลย

          เมื่อหลวงปู่กลับมาอยู่กับพระอาจารย์บุญที่วัดหนองวัวซอ ได้ติดตามพระอาจารย์บุญไปวัดพระพุทธบาทบัวบก ที่นี่เองทำให้ท่านได้พบ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล อยู่ปฏิบัติรับฟังโอวาทจากท่านพระอาจารย์เสาร์โดยมีพระอาจารย์บุญเป็นพระพี่เลี้ยง จากนั้นพระอาจารย์บุญ ก็ได้พาหมู่คณะศิษย์ พร้อมหลวงปู่ ไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต มหาเถระที่ท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ได้อยู่อบรมรับฟังโอวาท และฝึกปฏิบัติจากท่านอาจารย์มั่น จนจวบเข้าพรรษาจึงย้อนกลับมาจำพรรษากับหลวงปู่เสาร์ที่วัดพระพุทธบาทบัวบก ในพรรษานี้ การภาวนาของหลวงปู่ จิตรวมแล้วเกิดอาการสะดุ้ง พระอาจารย์บุญจึงให้ญัตติจตุตถกรรมใหม่ ที่วัดโพธิสมพรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2468 โดยมีท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) แต่เมื่อครั้งเป็นพระครูสังฆวุฒิกรเป็นพระอุปัชฌาย์ และท่านพระอาจารย์บุญ ปญญาวโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่จึงบวช 3 ครั้ง คือ ปี 2466, 2467 และ 2468 หากนับตั้งแต่ครั้งแรกหลวงปู่จะมีพรรษาเท่ากับหลวงปู่เทสก์ หลวงปู่ได้ออกธุดงค์จาริกแสวงหาโมกขธรรมตลอดชีวิตของท่านดังนี้

 

พรรษาที่ 1-6

พ.ศ. 2468-2473

จำพรรษาอยู่กับท่านพระอาจารย์บุญ ปญญวโร

พ.ศ. 2468

จำพรรษา ณ วัดพระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

พ.ศ. 2469-2473

จำพรรษา ณ วัดป่าหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันมีชื่อว่า วัดบุญญานุสรณ์ และในปี

พ.ศ. 2473

ได้จำพรรษาอยู่ร่วมกับกัลยาณมิตรหลวงปู่ขาว อนาลโย และหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ในปีนี้พระอาจารย์บุญ ปญญาวโร ได้มรณภาพ

พรรษาที่ 7-8 พ.ศ. 2474-2475 ในกองทัพธรรม

พ.ศ. 2474

จำพรรษาวัดป่าบ้านเหล่างา (ปัจจุบันวัดป่าวิเวกธรรม) หลังวิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับ พระอาจารย์สิงห์ ขน.ตยาคโม พระอาจารย์มหาปิ่น ปญญาพโล หลวงปู่อ่อน ฌานสิริ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม และหลวงปู่ฝั้น อาจาโร

พ.ศ. 2475

ได้ร่วมกับคณะไปส่งสตรีกัมมัฏฐานที่นครราชสีมาร่วมสร้างวัดป่าสาลวัน แต่ไปจำพรรษาที่วัดป่าศรัทธา รวมกับ พระอาจารย์มหาปิ่น พระอาจารย์ภูมี จิตฺตธมฺโม พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ พระอาจารย์คำดี ปภาโส

พรรษาที่ 9-16

พ.ศ. 2476-2477

 เดินธุดงค์กับท่านพระอาจารย์เสาร์และได้วิชาม้างกาย จำพรรษา ณ ถ้ำบ้านโพนงาน-หนองสะไน ตำบลผักคำภู อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร

พ.ศ. 2478

สร้างวัดหนองป่าผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร หรือวัดภูริทัตตถิราวาส และได้ออกอุบาย แนะชาวบ้านอาราธนานิมนต์ท่านอาจารย์ฝั้น มาจำพรรษาที่นี่ยาวนานที่สุด 5 ปี มากกว่าที่ใด (2487-2492)

พ.ศ. 2479

อยู่ด้วยท่านพระอาจารย์เสาร์ จำพรรษา ณ วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

พ.ศ. 2480-2481

กลับมาสู่แผ่นดินถิ่นเกิดจำพรรษา ณ ป่าช้าหนองหลางฝาง ถ้ำผาปู่ ตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย และถ้ำผาบิ้ง อำเภอสะพุง จังหวัดเลย

พ.ศ. 2482

ธุดงค์แสวงหาที่ว่างปฏิบัติธรรมในเขตป่าดงเถื่อนถ้ำ จังหวัดเลย จำพรรษา ณ ถ้ำผาปู่ อำเภอนาอ้อ จังหวัดเลย และพักเจริญธรรมที่บ้านหนองบง

พ.ศ. 2483

เกิดอัศจรรย์ในดวงจิต จำพรรษา ณ โพนสว่าง อำเภอกุดบาก สกลนคร (โพนงาม, หนองสะไน) ได้โสรจสรงอมฤตธรรม ออกพรรษาได้ไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่น ที่วัดป่าโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งท่านจากหมู่ศิษย์ไปภาคเหนือ ตั้งแต่ปี 2475

พรรษาที่ 17-19 พ.ศ. 2484-2486 ในรัศมีบารมีบูรพาขณะที่หลวงปู่มั่นจำพรรษาที่โนนนิเวศน์

พ.ศ. 2484

จำพรรษาที่ห้วยหีบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร

พ.ศ. 2485-2486

จำพรรษาบ้านอุ่นโคกและป่าใกล้วัดป่าบ้านนามน ขณะที่หลวงปู่มั่นจำพรรษาที่บ้านโคกบ้านนามน จังหวัดสกลนคร

พรรษาที่ 20-25 พ.ศ. 2487-2492 ดุจนายทวารแห่งบ้านหนองผือ

พ.ศ. 2487-2488

จำพรรษา ณ บ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

พ.ศ. 2489-2490

จำพรรษา ณ บ้านอุ่นดง จังหวัดสกลนคร

พ.ศ. 2491

จำพรรษา ณ บ้านโคกมะนาว จังหวัดสกลนคร

พ.ศ. 2492

จำพรรษา ณ บ้านห้วยปุ่น ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ขณะที่หลวงปู่มั่นจำพรรษาช่วงปลายของชีวิต ณ วัดป่าหนองผือ ท่านจึงอยู่พรรษากับบูรพาจารย์ใหญ่ในปี 2487 และ 2488 โดยเฉพาะในปีนี้มีพระอาจารย์มหาบัว ญาณสม.ปน.โน พระอาจารย์มนู พระอาจารย์อ่อนสา พระอาจารย์เนตร ตนฺติสีโล พระอาจารย์วัน อุตฺตโม ร่วมจำพรรษาด้วย

พรรษาที่ 26-31 พ.ศ. 2493-2498 ออกธุดงค์เรื่อยไป

พ.ศ. 2493

หลังจากประทีปแก้วของพระกัมมัฎฐานได้ดับลงที่วัดป่าสุทธาวาส เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 และได้ถวายเพลิง ในต้นปี 2493 หลังจากงานศพท่านหลวงปู่มั่น ท่านได้ออกธุดงค์เรื่อยไปจำพรรษาที่วัดศรีพนมมาศ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

พ.ศ. 2494

 จำพรรษาถ้ำพระนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนนคร

พ.ศ. 2495

จำพรรษาวัดป่าเขาสวนกวาง อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น กับเจ้าคุณอริยคณาธาร

พ.ศ. 2496

จำพรรษาวัดดอนเลยหลง อำเภอเมือง จังหวัดเลย ถ้ำผาปู่

พ.ศ. 2497

จำพรรษาบ้านไร่ม่วง (วัดป่าอัมพวัน) หลวงปู่ชา อจุตฺโต มาท่าแพ อำเภอเมือง จังหวัดเลย ที่เคยร่วมธุดงค์กันหลายครั้ง

พ.ศ. 2498

จำพรรษาสวนพ่อหนูจันทร์ บ้านฝากเลย จังหวัดเลย

พรรษาที่ 32

พ.ศ. 2499

อยู่บ้านกกกอกและผจญพญานาคที่ภูบักบิด จำพรรษาที่บ้านกกกอก ตำบลหนองงิ้ว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ปัจจุบันคือ วัดปริตตบรรพต

พรรษาที่ 33-35 จำพรรษาร่วมกับกัลยาณมิตร

พ.ศ. 2500

จำพรรษา ณ วัดป่าแก้วชุมพลสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ร่วมกับหลวงปู่ขาว อนาลโย

พ.ศ. 2501-2502

จำพรรษาร่วมกันอีกที่ถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู รวม 3 พรรษาติดต่อกัน ซึ่งเป็นระยะแรกที่หลวงปู่ขาว มาสร้างวัดถ้ำกลองเพล

พรรษาที่ 36-52

พ.ศ. 2503

จำพรรษา ณ ถ้ำมโหฬาร ตำบลหนองหิน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย และเขตป่าเขาถ้ำเถื่อนในเขตจังหวัดเลย

พ.ศ. 2504

 จำพรรษา ณ วัดแก้งยาว บ้านโคกแฝก ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ได้พบงูใหญ่มาอยู่ใต้แคร่

พ.ศ. 2505

 จำพรรษาที่เขาสวนกวาง อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น

พ.ศ. 2506

 ได้อุบายธรรมจากกัลยาณมิตร จำพรรษา ณ ถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู กับหลวงปู่ขาว อนาลโย

พ.ศ. 2507

 จำพรรษาบ้านกกกอก ตำบลหนองงิ้ว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

พ.ศ. 2508-2509

 เสวยสุขจำพรรษา ณ วัดป่าถ้ำแก้งยาว บ้านโคกแฝก ตำบลพาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

พ.ศ. 2510-2515

 จำพรรษา ณ ถ้ำผาบิ้ง บ้านนาแก ตำบลผาบิ้ง อำเภอวังสะพุงจังหวัดเลย สร้างวัดถ้ำผาบิ้ง และเริ่มรับนิมนต์ โปรดพุทธชนภาคอื่น ๆ เมื่ออายุกว่า 70 ปีแล้ว

พ.ศ. 2516-2517

กลับไปบูรณะบ้านหนองผือ และถ้ำเจ้าผู้ข้า อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

พ.ศ. 2518

จำพรรษา ณ สวนบ้านอ่าง อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี เพื่อโปรดชาวภาคตะวันออก

 พ.ศ. 2519

เดินทางไปโปรดชาวภาคใต้ และจำพรรษา ณ วัดกุม๓ร์บรรพต นิคมควนกาหลง จังหวัดสตูล วัดควนเจดีย์ จังหวัดสงขลา

พรรษาที่ 53-57 โปรยปรายสายธรรม

พ.ศ. 2520

สวนปทุมธานี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

พ.ศ. 2521

วัดป่าหนองแซง อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี

พ.ศ. 2522

โรงนายาแดง คลอง 16 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก

พ.ศ. 2523

วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ

พ.ศ. 2524

 ที่พักสงฆ์บ้านคุณประเสริฐ โพธิ์วิเชียร อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

พรรษาที่ 58 พิจารณาธาตุขันธ์จะแตกดับ

พ.ศ. 2525

ถ้ำเจ้าผู้ข้า อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

พรรษาที่ 59-65 (พ.ศ. 2526-2532) แสงตะวันลำสุดท้าย

พ.ศ. 2526

 จำพรรษาวัดเจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก) กิ่งอำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย

พ.ศ. 2527

 จำพรรษาที่พักสงฆ์ ก.ม. 27 ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

พ.ศ. 2528

จำพรรษาวัดเจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก) กิ่งอำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย

พ.ศ. 2529-2531

จำพรรษาที่พักสงฆ์เย็นสุดใจ อำเภอท่าหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

พ.ศ. 2532

จำพรรษาที่พักสงฆ์ ก.ม. 27 ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ในบรรดาศิษย์หลวงปู่มั่น เป็นผู้ที่สันโดษ มักน้อย ประหยัด มัธยัสถ์ที่สุด ท่านเป็นผู้ละเอียดละออมาก ท่านพบใคร ท่านจะบันทึกถึงประวัติ และโวหารธรรมที่ได้ฟังมาทุกองค์ ท่านจึงเป็นนักจดบันทึก ทำให้กิจประโยชน์ ต่อการศึกษาประวัติ และธรรมของบูรพาจารย์ และกองทัพธรรมทั้งมวล บันทึกของหลวงปู่หลายสิบเล่ม มีสภาพและขนาดต่าง ๆ กัน ทั้งสมุดฉีก สมุดนักเรียน เศษกระดาษที่นำมาตัดเย็บ ให้ได้ขนาดเท่ากัน แล้วทำเป็นเล่มทากาวทำปกเรียบร้อย ท่านว่าทุกอย่างมีราคาสูงต้องใช้ให้คุ้มค่า บันทึกของท่านก็ใช้ระบบประหยัด มีเขียน แทรกบรรทัด จริยาวัตรของหลวงปู่จะเปลี่ยนที่จำพรรษาไม่ซ้ำปี พรรษาในสถานที่เดิมบ่อยนัก ในช่วงตอนปลายชีวิต ระหว่างออกพรรษา ท่านมักพา ลูกศิษย์ไปกราบเยี่ยมนมัสการพระเถราจารย์ผู้ใหญ่ตามที่ต่าง ๆ เช่น หลวงปู่ขาว หลวงปู่ชอบ หลวงปู่คำดี ปภาโส หลวงปู่ชามา อัจฺจโต แม้ท่านจะอายุเกือบ 80 ปี แล้ว ยังไปคล่องมาคล่อง หลวงปู่เมตตาไปเยี่ยมลูกศิษย์ได้วันละ 5-6 บ้าน ท่านมีเมตตาแผ่มาโดยไม่มีประมาณ การเดินทางของหลวงปู่มาเร็วไปเร็ว และไปได้ง่าย ท่านเที่ยวโปรดสัตว์เรื่อย ๆ ไป หลวงปู่มีเมตตาโปรดไปทั่ว โปรยปรายสายธรรมไม่เฉพาะ ชาวอีสานถิ่นกำเนิดเท่านั้น ทั้งภาคกลาง ตะวันออก เหนือ ใต้ โดยเฉพาะชาวพระนครซึ่งท่านเห็นว่าสืบสานพระศาสนา วัดมาทำบุญที่อีสานมากมาย หลวงปู่จึงอยู่เมตตา เป็นศูนย์กลางอบรมสั่งสอนเผยแพร่ธรรมของหลวงปู่ตั้งแต่ถ้ำผาบิ้ง หลวงปู่จึงเป็นที่เคารพบูชาของสาธุชนชาวไทย และต่างประเทศ

ธรรมโอวาท

          ธรรมเทศนาของหลวงปู่มีมากมายหลายร้อยหลายพันกัณฑ์ เพราะหลวงปู่ได้เทศน์โปรดญาติโยม ลูกศิษย์มากว่าครึ่งศตวรรษแล้ว ยิ่งในระยะหลังที่ท่านออกไปเยี่ยมลูกศิษย์ตามบ้านต่างๆ หลังจากที่ปฏิสันถารถามทุกข์สุขของลูกศิษย์ด้วยความเมตตาแล้ว ท่านจะอบรมสั่งสอนด้วย ทุกครั้ง เป็นประจำมิได้ขาด…ทุกเช้า…ก่อนฉันขังหัน ทุกค่ำ…หลังทำวัตรเย็น… ท่านจะเทศนาสั่งสอนเสมอ บางครั้งขณะที่ท่านกำลังเทศน์อยู่นั้น มีกลุ่มคนที่เพิ่งมาใหม่ และมิได้ฟังเทศน์ของท่านแต่ต้น หลวงปู่ก็มีเมตตาย้อนกลับไปตั้งต้นเทศน์ใหม่อีก กลายเป็นเทศน์กัณฑ์ใหม่ขึ้นอีก

          การเทศนาสั่งสอนอบรมเช่นนี้หลวงปู่ได้กระทำมาจนถึงคืนสุดท้ายของท่าน เพียงหนึ่งชั่วโมงก่อนมรณภาพ ท่านก็ยังอบรมสั่งสอนลูกศิษย์อยู่…!

(ที่นำเสนอนี้เป็นเพียงธรรมโอวาทบางประการและส่วนน้อยเท่านั้น)

          การรักษาศีล โดยเฉพาะในวันอาทิตย์ ท่านจะเน้นให้บรรดาศิษย์รักษาศีลเพิ่มขึ้นจากศีล 5 เป็นศีล 8 โดยท่านให้เหตุผลว่า สำหรับวันพระ ซึ่งควรเป็นวันรักษาอุโบสถนั้น ส่วนใหญ่พวกเราต้องทำราชการติดการงานต่างๆ ไม่ได้มีโอกาสมาวัดเลย เมื่อได้มาก็มาเฉพาะวันหยุดคือวันอาทิตย์ ก็ควรจะต้องรักษาให้ได้ใช้วันอาทิตย์เป็นวันพระแทน

          ท่านได้อธิบายอานิสงส์ของศีลให้ฟังว่า “ศีล 5 นี่ พระพุทธเจ้าท่านมีเมตตาต่อผู้ครองเรือน ให้รักษาศีล 5 อย่าดูถูกศีล 5 นะ เพราะผู้รักษาศีล 5 ย่อมสำเร็จโสดาบันได้สำหรับศีล 8 ก็จะสำเร็จถึงอนาคามีได้ …” ท่านจะไม่บังคับว่าใครควรจะรักษาศีล 5 ใครควรจะรักษาศีล 8 โดยท่านจะกล่าวนำ เริ่มต้นจากศีล 5 ซึ่งทุกคนจะต้องกล่าวตาม จากนั้นก่อนที่จะกล่าวนำศีลข้อ 6-8 ท่านจะแนะนำให้ผู้ที่รักษาศีล 5 กราบแล้วนั่งอยู่ ไม่ต้องกล่าวตาม เฉพาะผู้ที่จะรักษาศีล 8 ให้กล่าวตามคำที่ท่านกล่าวนำต่อไป

“…เพื่อจะรักษาให้ดีให้บริบูรณ์ สิ้นวันหนึ่งกับคืนหนึ่งด้วยอำนาจกุศลนี้ ขอจงเป็นบุพนิสัยเพื่อจะกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน”

          ต่อจากนั้นท่านจะเทศนาอบรมก่อนแล้วจึงให้พร พระธรรมเทศนาที่หลวงปู่มักจะหยิบยกขึ้นมาย้ำเตือนเสมอได้แก่ เรื่องการบริจาคทาน การรักษาศีลและการเจริญภาวนา

          ท่านมักจะเน้นเรื่องศีลอยู่เสมอ เพราะศีลแปลว่า ความปกติ เป็นการรักษาใจให้ปกติ ศีลเป็นบาทเบื้องต้นของการภาวนาด้วย ถ้าเรารักษาศีล ให้บริสุทธิ์แล้ว การภาวนาก็จะเจริญงอกงามไปอย่างรวดเร็ว ผู้ที่มีศีลย่อมต้องมีจิตใจผ่องใส เป็นที่รักของญาติพี่น้องเพื่อนฝูง และในสังคมที่เราอยู่ด้วย ถ้าทุกคนรักษาศีลอยู่ได้ เพียงแค่ศีล 5 บ้านเมืองก็จะสงบราบรื่น ปราศจากขโมยลักเล็กขโมยน้อย ไม่มีการฆ่าฟันกัน อิจฉาริษยา เกลียดชังกัน เพราะอานุภาพแห่งศีลย่อมรักษาตัวผู้รักษาศีล และสังคมโดยรอบได้

          ส่วนด้านการภาวนา ท่านก็จะนำภาวนาในตอนกลางคืน โดยท่านเทศนาให้ฟัง แล้วให้ศิษย์ภาวนาไปด้วย ระหว่างฟังเทศน์ท่านถือว่า ก่อนจะเริ่มภาวนา เราต้องแต่งตัวให้เรียบร้อย อาบน้ำชำระจิตใจให้สะอาด ฟอกจิตของเราด้วยการรักษาศีล การบำเพ็ญทานนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่จะทำให้จิตใจโน้มน้าว ตัดความตระหนี่ให้มีใจเอื้อเฟื้อถึงกัน ศีลก็มี ทานก็มี แล้วยิ่งมีการภาวนาด้วย ก็จะยิ่งต่อไปได้ไกล

          เรื่องจิตภาวนานั้น ท่านเน้นมากว่าถ้าไม่หัดไว้ก็แสนจะลำบาก ท่านมักจะกล่าวบ่อยๆ ว่า การภาวนานั้นมีอานิสงค์มาก อย่างแค่ช้างฟัดหู งูแลบลิ้น ก็ยังมีอานิสงค์มหาศาลถ้าได้มากกว่านั้นก็จะยิ่งดีขึ้น ท่านเคยพูดว่า

“…จิตติดที่ไหน ย่อมไปเกิด ณ ที่นั้น จิตติดเรือนก็อาจจะมาเกิดเป็นจิ้งจกตุ๊กแกได้ แม้แต่พระภิกษุติดจีวรยังไปเกิดเป็นเล็น น่าหวาดกลัวนัก แล้วกิเลสมีร้อยแปดประตู พุทโธมีประตูเดียว เพราะฉะนั้น ให้ฝึกปฏิบัติให้คุ้นเคย วาระที่เราจะเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติจะเข้าจิตได้ทันหรือเปล่า…”

          ท่านละเอียดพิถีพิถันมากในการที่จะนำศิษย์ให้รู้จักศีล ทาน ภาวนา การไหว้พระสวดมนต์ แม้แต่การ “กราบ” ซึ่งทุกคนรู้สึกว่า เป็นเรื่อง หญ้าปากคอก หลวงปู่ก็จะหัดให้ศิษย์บางคนแสดงท่ากราบให้ดู สุภาพสตรีผู้มีบรรดาศักดิ์ได้รับพระราชทานตราจุลจอมเกล้า มีคำนำหน้าเป็น คุณหญิงหลายท่าน จึงออกตกใจเมื่อมากราบนมัสการท่านแล้วจู่ๆ ท่านก็สั่งว่า “ไหนลองกราบให้ดูซิ” แล้วเมื่อเธอท่านนั้นได้กราบด้วยท่าทางที่เก้งก้าง ตามวิสัยชาวกรุงเทพฯ ซึ่งทำอะไรก็มักจะรีบร้อน ลุกลน ถือเสียว่าการกราบเพียงสักแต่ว่าให้เสร็จเรื่อง ท่านจะทำการกราบให้ดู โดยท่านจะแสดง ท่านั่งกระหย่ง พร้อมกับอบรมว่า กราบอย่างนี้เรียกว่า “กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์” ท่านอธิบายว่า “นอกจากเข่าทั้งสอง มือทั้งสอง ศอกจรดพื้น หน้าผากต้องแตะถึงพื้นด้วย ถึงจะเป็นท่ากราบที่งองาม” แล้วก็ไม่ใช่ท่าที่รีบร้อนจะไปไหน ในขณะที่กราบก็ต้องค่อยๆ กราบลงไป พร้อมกับจิตน้อม ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า นั่นเป็นครั้งที่หนึ่ง ครั้งที่สองนึกถึงพระธรรม คำสั่งสอนของท่าน

          ที่สืบต่อพระศาสนามาจนทุกวันนี้ กราบครั้งที่สามระลึกถึงคุณพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธองค์ ซึ่งเป็นสมมติสงฆ์ แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สืบพระศาสนาจนทุกวันนี้ พร้อมกับการกราบทุกๆ ครั้ง ต้องน้อมจิตให้ระลึกไปด้วยเสมอ จิตจะเอิบอาบในบุญ จิตจะเป็นจิตที่อ่อนน้อม ควรแก่การงาน เมื่อฝึกอยู่เช่นนี้ก็จะเข้าใจดีขึ้น จะเป็นผู้ที่นอบน้อมถ่อมตน น่ารัก ท่านเคยพูดเล่นๆ ว่า มองดูแค่การกราบ ก็สามารถบอกได้ทันทีเลยว่า เป็นลูกศิษย์มีครูหรือไม่

          จะสังเกตได้ว่า ในภายหลังผู้ที่ผ่านการอบรมจากหลวงปู่จะกราบได้อย่างงดงามทั้งหญิง ทั้งชาย ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ เวลาเมื่อกราบพร้อมๆ กัน จะดูงดงามยิ่งนัก เป็นระเบียบที่น่าชม

          การฟังคำเทศนาสั่งสอนของท่านก็ดี การอบรมของท่านในระหว่างกลางคืนหรือตอนเช้าก็ดี นั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่สิ่งที่จะได้จากท่าน นอกเหนือไปกว่านั้นคือ ให้รู้ในสิ่งที่ท่านทำ ทำตามที่ท่านสอนก็จะได้ประโยชน์มหาศาล ปฏิปทาของท่าน กิริยาอาการของท่าน ทุกอย่างมีความหมาย เป็นเนติ เป็นแบบอย่างให้ศึกษา ให้ปฏิบัติตามต่อไปทั้งนั้น พระเณรใดที่ได้ปฏิบัติใกล้ชิดครูบาอาจารย์ ก็เท่ากับว่าผ่านการฝึกปรืออย่างหนักแล้ว ส่วนใหญ่จึงพยายามหันเข้าหาครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่

- ให้ดูจิตของตัวเอง ภาวนาจิตใจให้สงบ มัธยัสถ์ปัจจุบัน ม้างกายให้มาก เพราะกรุงเทพฯมีสีสันมาก ม้างกายจะช่วยให้หมดความกำหนด

- อานิสงค์ของการช่วยชีวิตสัตว์ที่เขาจะนำไปฆ่า … ทำให้อายุยืนหนึ่ง … ไม่ติดคุกติดตารางหนึ่ง … ถึงแม้จะตกทุกข์ได้ยากก็มีคนช่วยเหลือ

- เมื่อมีศิษย์นิมนต์หลวงปู่ให้อยู่ถึงร้อยปี ท่านกลับให้โอวาทว่า…

“ไม่ได้หรอก ฝืนสังขารไม่ได้หรอก ข้างนอกมันดี แต่ข้างในมันเสียหมด เหมือนกับเกวียนไม้ไผ่ที่ใช้มานานแล้ว ย่อมชำรุดเป็นธรรมดา…”

และ

“…กำหนดดูธาตุขันธ์เนื้อหนังมันทำงาน…มันดิ้น…มันเต้น หัวใจมันทำงาน เห็นมันเต้น ตุ๊บ…ตุ๊บ ธาตุขันธ์จะเอาไม่ไหวแล้ว ต้องกำหนดจิตอย่างเดียว ตอนเมื่อกี้ กำหนดจิตถึงคืนมา ม้างกายจนมันสว่างโร่ขึ้น หายเหมือนปลิดทิ้ง…”

- ท่านนำ ”กาย” ของท่านมา “ม้าง” เป็นตัวอย่าง ดังนี้ …

“สังขารของเราตอนนี้มันเหมือนเนื้อที่ถูกเขาฆ่าแล้วนำไปแขวนบนตระขอแต่เนื้อมันยังไม่ตายมันยังดิ้นทรมานอยู่ ก้อนเนื้อที่มันดิ้น มันเต้นนั้น เหมือนเนื้อวัวที่เขาปาดออกมาใหม่ๆ มันเต้น ตุ๊บ…ตุ๊บ ยังไงยังงั้น”

และ

“สังขารเราขณะนี้เหมือนพระจักขุบาล บำเพ็ญความเพียรมาตลอดสามเดือน…เราเหมือนกับล้อเกวียนทำด้วยไม้ไผ่ที่ใช้มานานแล้วจะต้องผุพังลง…”

- การภาวนา หรือทำจิตใจ ให้ดูอาการของจิต ก่อนตาย อย่าไปตามดูอาการของเวทนา ให้ดูจิตอย่างเดียว เวลาธาตุจะตีลังกาเปลี่ยนภพ จิตจะออกจากร่าง พิจารณาตามจิต จะเห็นว่า จิตจะออกจากร่างอย่างไร ไปอย่างไร จิตจะเข้าๆ ออกๆ อย่างไร…มืดๆ สว่างๆ อย่างไร จิตจะเข้าๆ ออกๆ อย่างไร…มืดๆ สว่างๆ อย่างนั้น เหนื่อยหอบมาก กำหนดตามจิตคืน เห็นอาการของจิตชัด ถ้าไม่ทันก็ไปเลย ท่านย้ำโอวาทที่ว่า

“อย่าไปตามดูอาการของเวทนา ให้ดูจิตอย่างเดียว”

- ขอให้เร่งทำความเพียร ทุกๆ คนที่อยู่ร่วมกัน สามัคคีกัน กลมเกลียวกัน

ปัจฉิมบท

          จากพรรษา 59 ถึงพรรษา 65 จัดได้ว่าเป็นช่วงปัจฉิมกาลของหลวงปู่จริงๆ ท่านมีอายุยืนยาวมาถึงกว่า 80 ปี อายุ 65-67 พรรษา เมื่อสมเด็จพระบรมครู สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปลงพระชนมายุสังขาร เสด็จเข้าสู่มหาปรินิพพานนั้นก็มีพระชนม์เพียง 83 พรรษาเท่านั้น หรือแม้แต่ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์ของท่านก็ละสังขารไปเมื่ออายุ 80 ปีพอดี องค์ท่านมีอายุเกินกว่า 80 มาหลายปีแล้ว แต่หลวงปู่ก็ยังเมตตา นำพระ เณร อุบาสก อุบาสิกา สวดมนต์ทำวัตรเช้า-ทำวัตรเย็น ตลอดจนเทศนาอบรมสั่งสอนและนำภาวนามิได้ขาด โดยการสวดมนต์ทำวัตรเช้าและเย็น หลวงปู่ได้มีแบบฉบับของหลวงปู่เอง ดังที่เคยกล่าวมาแล้ว โดยหลวงปู่จะน้อมนำให้ระลึกถึง คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างน่าซาบซึ้งก่อนแล้วจึงสวดบทบาลีต่อไป

          ถึงแม้ว่าหลวงปู่จะเจริญด้วยวัยอันสูงยิ่ง และมีสภาพสังขารดังที่หลวงปู่บันทึกไว้ว่า “…คำนวณชีวิตเห็นจะไม่ยั่งยืน ร่างกายบอกมาเช่นนั้น ทำให้เวียนศีรษะเรื่อยๆ แต่มีสติระวังอย่าให้ล้มมีคนอื่นพยุงเสมอ…” และ “…ธาตุขันธ์ทำให้วิงเวียนอยู่เรื่อยๆ คอยแต่จะล้ม ต้องระวังหน้าระวังหลัง…” ท่านก็ยังมีเมตตาไปโปรดเยี่ยมลูกศิษย์ตามที่ต่างๆบ่อยครั้ง โดยทุกครั้งจะไปวันละหลายๆ บ้าน และทุกๆ บ้านท่านมักจะอบรมณ์เทศน์เป็นเวลาครึ่งชั่วโมงเป็นอย่างน้อย

นึกถึงวัย นึกถึงสังขาร ผู้ที่มีอายุปานนั้นแล้ว ควรจะพักผ่อนได้แล้ว แต่กลับมาเหน็ดเหนื่อยอย่างยิ่ง ท่านไม่น่าจะปฏิบัติภารกิจเช่นนี้ได้ไหว แต่หลวงปู่ก็ยังคงมีเมตตาอยู่เช่นนั้นเสมอมาบำเพ็ญตยดุจเหล็จไหล ไปมาคล่องแคล่วว่องไวแทนที่ลูกศิษย์จะเป็นฝ่ายมากราบนมัสการเยี่ยมท่าน ท่านกลับไปเยี่ยมลูกศิษย์เสียเอง…!

          เมื่อดูจากภายนอก ท่านเป็นเสมือนบุรุษเหล็ก แต่จากบันทึกที่ค้นพบ ปรากฏว่า องค์ท่านเองกลับเหน็ดเหฯอยยิ่งนัก ดังที่ว่า

“…เราสละชีวิตให้ญาติโยมมาดูดกินเลือดเนื้อของเรา…”

          มีอยู่หลายครั้งที่ท่านสารภาพว่า การเทศน์ก็ดี การอบรมก็ดี ดูดกินกำลังของท่านไปหมดจนแน่นหน้าอกแทบหายใจไม่ออก แต่ท่านก็อดทนทำ ด้วยว่าเป็นกิจของศาสนา…ตามที่ท่านว่า

          ในวันที่ 7 ตุลาคม 2532 ท่านรำพึงไว้ระหว่างที่พักอยู่ ณ ที่พักสงฆ์ ก.ม. 27 ดอนเมือง ความว่า

“แก่ ชรา มานานเท่าไร พึงภาวนาให้คุ้นเคยกับความตาย เพราะจะต้องตายอยู่แล้ว เตรียมตัวไว้ก่อนตาย รอรถ รอเรือ ที่จะต้องขึ้นไปสวรรค์พระนิพพาน หูยิ่งหนวกหนักเข้าทุกวัน ตายิ่งไม่เห็นทน ตีนเท้าอ่อนเพลีย หันไปหาความตายเสมอไป ถือภาวนาในไตรลักษณ์ ทุกข อนิจจ อนตตา มีเกิดแล้วย่อมมีตาย เพราะโลกไม่เที่ยงอยู่แล้ว แปรปรวนไปต่างๅ สังขารเราบอกเช่นนั้น เที่ยงแต่พระนิพพานอย่างเดียว”

“สมถะกับวิปัสสนา เป็นธรรมมีอุปการะแก่พระเถระ และพระขีนาสพเจ้า แต่ต้นจนวาระสุดท้ายแห่งขันธ์ ต้องอาศัยสมถะและวิปัสสนา เป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่ระหว่างขันธ์และจิตที่อาศัยกันอยู่จนกว่าขันธ์อันเป็นสมมติ และจิตอันวิสุธิและวิมุตติจะเลิกลาจากกัน…” ซึ่ง “ขันธ์” และ “จิต” ของหลวงปู่ก็ใกล้จะเลิกลาจากกันไปจริงๆ … !

           ดูงดงามยิ่งนัก บารมีธรรมในระยะเวลาช่วงหลังๆ นี้ของหลวงปู่ ก็เห็นประดุจ “แสงตะวันลำสุดท้าย” ที่ใกล้จะอัสดงเช่นกัน ให้ความอบอุ่นทางจิตใจ ให้แสงสว่างในทางธรรมแก่บรรดาพุทธศาสนิกชนทุกถ้วนหน้าด้วยเมตตาธรรมอันสูงส่งของท่านอย่างมิมีประมาณ

          เช้าวันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม 2532 หลวงปู่ยังคงเดินจงกรมตามปกติ หลังจากนั้นได้เรียกพระเณรมาขอนิสัยใหม่ แล้วหลวงปู่ได้อบรมธรรมะ โดให้พระเณรนั้นภาวนาดูจิตตนเอง ภาวนาให้จิตสงบ ม้างกายให้มาก หลวงปู่มาอารมณ์ร่าเริงแจ่มใส ทักทายญาติโยมที่มาถวายจังหัน อย่างอารมณ์ดี แต่ปรารภถึงความตายบ่อยครั้ง หลวงปู่ยังบอกลาด้วยว่า ท่านคงจะอยู่กับลูกศิษย์ไม่ได้นาน ท่านตอบว่า ไม่ได้สังขารมันไม่เที่ยง เอาแน่ไม่ได้ หลวงปู่ยังเมตตาตอบคำถามการปฏิบัติภาวนาที่ญาติโยมถาม เวลา 11.00 น. หลวงปู่เดินจงกรมสลับกลับเข้าห้องพักเป็นช่วงๆ หลายครั้ง จนเวลา 13.00 น. ท่านเรียกพระอุปัฏฐากขึ้นไปพบและปรารภให้ฟังว่า ท่านไม่ได้พักเลย รู้สึกแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก รู้สึกว่าลมมันตีขึ้นเบื้องบน แล้วบอกให้ช่วยนวดขา อาการดีขึ้นท่านจึงพูดกับญาติโยมที่เพิ่งมาถึงว่า “ดูหน้าหลวงปู่ไว้นะ และก็จำไว้จะไม่ได้เห็นอีกแล้ว” ญาติโยมจึงขอนิมนต์ให้หลวงปู่อยู่ถึง 100 ปี ท่านตอบว่าไม่ได้หรอก ฝืนสังขารไม่ได้ ข้างนอกมันดี แต่ข้างในเสียหมด จนกระทั่งเวลาประมาณ 15.00 น. หลวงปู่ปรารภกับพระอุปัฏฐากว่าวันนี้เป็นอย่างไรไม่ทราบ นอนไม่ได้เลย นั่งพิงหรือเดินจงกรมค่อยยังชั่วหน่อย เวลา 16.00 น. อาการก็กำเริบอีกหลวงปู่หายใจไม่ออก จึงให้พระเณรช่วยนวด พระอาจารย์อุทัย สิริธโรและลูกศิษย์ขอนิมนต์ท่านไปโรงพยาบาล ท่านบอกว่า “หมอก็ช่วยไม่ได้ ขอตายที่หัวหินไม่เข้ากรุงเทพฯหรอก สถานที่ไม่สงบเลย เราจะเข้าจิตไม่ทัน” ลูกศิษย์จึงต้องไปตามแพทย์มาดูอาการของท่าน หมอบอกว่าโรคหัวใจกำเริบและอาหารไม่ย่อย ซึ่งตรงกับที่หลวงปู่บอกลูกศิษย์ก่อนที่หมอจะมา อาการของท่านกำเริบขึ้นอีกหลายครั้ง ท่านปรารภอาการให้พระเณรฟังว่า แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกเลย ทำไมถึงเป็นแบบนี้ แปลกจัง ถ้าตายตอนนี้ก็ดีนะ ท่านพูดเสียงดังใบหน้ายิ้มแย้ม ท่านบอกว่าธาตุขันธ์จะไปไม่ไหวแล้ว ท่านขอแสดงอาบัติและบอกบริสุทธิ์แจ่มใสยิ่งนัก ท่านกล่าวต่อว่า ตายตอนนี้ก็ดีใจได้ตายท่ามกลางสงฆ์ พระอาจารย์อุทัย สิริธโร กราบเรียนท่านว่า หลวงปู่ไม่ตายหรอก จิตหลวงปู่ไม่ตาย ที่มันตายน่ะธาตุขันธ์ หลวงปู่พยักหน้ายิ้มแล้วแสดงธรรมอบรมธรรม ปฏิญานปลงอายุสังขารแล้วปรารภปัจฉิมเทศนาในเรื่องการทำกิจ การภาวนา การดูอาการของจิตก่อนตาย อย่าไปตามดูอาการของเวทนา ให้ดูจิตอย่างเดียว

          เมตตาธิคุณ กรุณาธิคุณของท่านไม่มีที่ประมาณจริงๆ ไม่อ้างกาล ไม่อ้างเวลา แม้อาพาธอย่างหนักครั้งสุดท้าย ช่วงเวลา 23.30 น. อาการของท่านกำเริบอีกและอาการหนักยิ่งขึ้นท่านจึงออกจากห้องพักมาบอกว่าแน่นหน้าอกหายใจไม่ออกอีกแล้วเห็นจะประคองธาตุขันธ์ต่อไปไม่ไหวคงจะปล่อยวางแล้วขอเอาจิตอย่างเดียว ท่านขอบใจพระเณรที่ช่วยอุปัฏฐากหากได้ล่วงเกินซึ่งกันและกัน ก็ขอให้อโหสิกรรมกันและกันด้วย หลวงปู่ได้กล่าวคำสุดท้ายว่า “เอาขันธ์ไว้ไม่ไหวแล้ว” เวลานั้นเป็นเวลา 00.43 น. ของคืนวันที่ 24 ธันวาคม ซึ่งล่วงเข้าสู่วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2532 มาแล้ว 43 นาที รวมอายุ 88 ปี 65-67 พรรษา

พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จน.ทสาโร ได้มรณภาพแล้ว

ผ่าน… ปัจฉิมวาร… วันสุดท้าย

สู่… ปัจฉิมกาล… เวลาสุดท้าย

โดยให้… ปัจฉิมโอวาท… โอวาทคำรบสุดท้าย และ

เปล่ง… ปัจฉิมวาจา… วาจาครั้งสุดท้าย…

ท่านผู้เป็นประดุจดวงประทีป

ซึ่งโปรยปรายสายธรรมให้แก่มหาชนทั่วประเทศมาช้านาน กว่าหกสิบห้าวัสสา

…ไม่แต่ภาคอีสาน ไม่แต่ภาคกลาง

…ไม่แต่ภาคเหนือ ไม่ภาคใต้

…ไม่แต่ภาคตะวันออก ไม่แต่ภาคตะวันตก

ท่านธุดงค์โปรดไปเรื่อยๆ

บัดนี้ ท่านได้ลาลับดับขันธ์ไปแล้ว

ตะวันลา…ลับไปแล้ว

[ ราคา ] โทรถาม
[ สถานะ ] โชว์พระ
[ติดต่อเจ้าของร้านKCM Shop/ร้านโขงชีมูล] เบอร์โทรศัพท์ : KCM Shop/ร้านโขงชีมูล โชว์


วัตถุมงคล: พระเครื่องเกจิอาจารย์สายอีสาน
ล็อคเก็ตหลวงปู่สรวง บายติ๊กเจีย เทวดาเดินดิน หลังจีวร ตะกรุด 3 ดอก รุ่นเสาร์ 5 ปี 2540
เหรียญเจ้าพ่อพญาแล เนื้อทองแดง ปี 2530 จ.ชัยภูมิ
เหรียญหลวงพ่อรอด วัดสว่างสำราญ รุ่นแรก เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงปู่นิล วัดป่าโกศลประชานิมิตร รุ่นแรก เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่พระครูวรพรตวิธาน วัดจุมพล ปี 18 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อผาง รุ่นศูนย์การแพทย์อนามัย อ.ประทาย  ปี 19 เนื้ออัลปาก้ากะหลั่ยทองแจกกรรมการ
เหรียญหลวงปู่ทองมา ถาวโร รุ่นฉลองอายุ ๗๕ ปี  พ.ศ. 18
พระกริ่งตั๊กแตนหลวงพ่อ เที่ยง วัดพระพุทธบาทเขากระโดง รุ่น ๑ บุรีรัมย์
เหรียญหล่อหลวงปู่ดี วัดโคกหินช้าง  รุ่นแรก พิมพ์ใหญ่ อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา
หลวงปู่เจียม อติสโย  วัดอินทราสุการาม (วัดหนองยาว)  ต.กระเทียม อ.สังขะ จ.สุรินทร์
ศึกษาเหรียญหลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล รุ่นแรก ปี 2509 บล็อกนิยม
เจ้าพ่อพญาแล ปี 21 เนื้อทองแดง มีโค๊ด บล็อคเงินและนวะ
เหรียญหลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง ที่ระลึกอายุครบ ๗ รอย ปี ๒๕๒๘
หลวงปู่เครื่อง สุภัทโท วัดสระกำแพงใหญ่
เหรียญหลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง รุ่นแรก ปี 2514 เนื้ออัลปาก้า
เหรียญหลวงพ่อนิโรธ  วัดจริญสมณกิจ ปี ๒๕๑๑
เหรียญหลวงปู่เครื่อง ธมฺมจาโร  วัดเทพสิงหาร รุ่นพิเศษ ปี 2520 พิมพ์เล็ก

หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  โขง ชี มูล  พระธาตุนาดูน  พระมหาเจดีย์ชัยมงคล  ผู้ดูแล
Copyright©2024 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด