หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  โขง ชี มูล  :  พระธาตุนาดูน  :  พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
KCM Shop/ร้านโขงชีมูล
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 45 คน
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา : KCM Shop/ร้านโขงชีมูล

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า KCM Shop/ร้านโขงชีมูล
ชื่อเจ้าของ Dr. Weraphan Prommontre / ดร.วีรพันธ์ พรหมมนตรี (ดร.วี)
รายละเอียด Sale thai amulet as well as share information and knowledge about Thai amulet to interesting persons particularly foriegners./ให้บูชาพระเครื่องและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องในเรื่องประวิติเกจิ
เงื่อนไขการรับประกัน เก๊คืนเต็มจำนวน หากคืนพระในสภาพเดิม ภายใน 7 วัน คืน 100 % ภายในสองสัปดาห์ คืน 75 % ภายใน 1 เดือน คืน 50 % / Refund schedule with in 7 days 100 % , with in 14 days 75 % , with in 30 days 50 %
ที่อยู่ 165/91 ซ 26 หมู่บ้านสินบดี ต. พิมลราช อ บางบัวทอง จ. นนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11110
เบอร์ที่ติดต่อ KCM Shop/ร้านโขงชีมูล โชว์
E-mail eon_werapong123@hotmail.com
วันที่เปิดร้าน 01-10-2552 วันหมดอายุ 01-10-2569

โขง-ชี-มูล แม่น้ำสายอารยธรรมแห่งที่ราบสูงอีสาน  

        "อีสาน" เป็นดินแดนที่ราบสูงที่มีพื้นที่กว้างขวางที่สุดของประเทศไทย ดินแดนแห่งนี้ถูกโอบล้อมด้วยเทือกเขาสูงจากด้านทิศตะวันตก ต่อเนื่องไปยังด้านทิศใต้ และมีเทือกเขาจากตอนกลางของภูมิภาคพาดขวางอยู่ด้านทิศตะวันออก

          เหนือที่ราบสูงแห่งนี้ มีแม่น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงผืนแผ่นดินรวม 3 สาย คือ แม่น้ำมูล จากเทือกเขาด้านตะวันตก แม่น้ำชี จากตอนกลางของภูมิภาค และ แม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแม่น้ำนานาชาติที่ไหลมาจากประเทศจีน แม่น้ำสายหลักของอีสานทั้ง 3 สายนี้ ไหลมาบรรจบกันที่ตอนล่างของภูมิภาค คือที่ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า "อุบลราชธานี" เป็นเมืองแม่น้ำแห่งเดียวของที่ราบสูงอีสาน

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

โลโก้
ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี
กสิกรไทย
สำเหร่
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
032-2-93420-3
ออมทรัพย์
กรุงไทย
บางบัวทอง
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
121-0-28494-4
ออมทรัพย์





วัตถุมงคล: ท่องเที่ยวและทำบุญไหว้พระ
นมัสการพระธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม เริ่มงานตั้งแต่วันที่ 11-19 กุมภาพันธ์ 2554
07-01-2554 เข้าชม : 4550 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] นมัสการพระธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม เริ่มงานตั้งแต่วันที่ 11-19 กุมภาพันธ์ 2554
[ รายละเอียด ]
ประวัติพระธาตุพนม

พระธาตุพนม ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จ.นครพนม
ประวัติ เป็นเจดีย์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ในภาคอีสาน มีทำเลที่ตั้งเป็นโคกสูงกว่าบริเวณอื่น จึงเรียกว่า ภูกำพร้า ตามตำนานอุรังคธาตุ( คือ พระธาตุหัวอก) เล่าไว้ว่า พระธาตุพนมสร้างอยู่ในบริเวณภูกำพร้า ในผืนแผ่นดินของอาณาจักรโคตรบูร พระพุทธเจ้าเสด็จมาทางด้านทิศตะวันออกโดยอากาศ มาประทับที่ภูกำพร้านี้เป็นที่เกิดความสงสัยของทุกคน พระอินทร์จึงถามพระองค์ว่า เหตุใดจึงเลือกประทับที่ภูกำพร้านี่ ท่านตอบว่า เป็นประเพณีของพระพุทธ เจ้า ๓ พระองค์ในภัททกัลป์ (กกุสันธะ, โกนาคมนะ, กัสสปะ) เมื่อท่านนิพพานแล้ว สาวกจะนำพระธาตุมาประดิษฐานที่ภูกำพร้าแห่งนี้ เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว พระมหากัสปะสาวกของพระองค์ จึงนำพระธาตุหัวอกพร้อมพระอรหันต์ ๕00 องค์เดินทางมาที่นี่โดยทางอากาศ มีท้าวพญาทั้ง ๕ เป็นประธานในการก่อสร้าง ท้าวพญาทั้ง ๕ นี้ เป็นเจ้าผู้ครองนครในแคว้นต่าง ๆ คือ
๑. พญาจุลณีพรหมฑัต ครองแคว้นจุลณี เป็นผู้ก่อด้านตะวันออก
๒. พญาอินทปัตนคร ครองเมืองอินทปัตนคร หรือแคว้นกัมพูชาโบราณ เป็นผู้ก่อด้านใต้
๓. พญาคำแดง ครองเมืองหนองหานน้อย ซึ่งปัจจุบันคือ อำเภอหนองหาน อุดรธานี ก่อด้านตะวันตก
๔. พญานันทเสน ครองเมืองศรีโคตรบูร เป็นผู้ก่อด้านเหนือ
๕. พญาสุวรรณพิงคาร ผู้ครองเมืองหนองหานหลวง คือ จังหวัดสกลนครในปัจจุบัน เป็นผู้ก่อรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาละมี
ลักษณะพระธาตุองค์เดิม ใช้ดินดิบก่อขึ้นเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยม แล้วเผาให้สุกทีหลัง กว้างด้านละ ๒ วา สูง ๒ วา ข้างในเป็นโพรงมีประตูปิดทั้ง ๔ ด้าน เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้อัญเชิญ พระอุรังคธาตุ โดยยังไม่ปิดประตูองค์พระธาตุให้ปิดสนิท มาฐาปนาให้สมบูรณ์ปิดประตูกันเมื่อภายหลัง พ.ศ. ๕00 อายุของพระธาตุพนม ที่สันนิษฐานกันไว้คือ ถูกสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๑ หรือ ๑๒ สมัยทวารวดี
ประวัติการบูรณะ ก่อสร้างองค์พระธาตุพนมทำกันหลายครั้ง สรุปได้ดังนี้
ครั้งที่ ๑ ในราว พ.ศ.๕๐๐ โดยมีพญาสุมิตรธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกนคร และพระอรหันต์ ๕ องค์ เป็นพระประธานในการบูรณะ เติมยอดพระธาตุองค์เดิมขึ้นไปอีกประมาณ ๒๔ เมตร แล้วอัญเชิญพระอุรังคธาตุจากที่บรรจุไว้ในอุดมงค์เดิม ที่บรรจุไว้ตั้งแต่สมัยพระมหากัสสปะเถระนำไปประดิษฐานใหม่ที่ใจกลางพระธาตุ ชั้นที่ ๒ ซึ่งครั้งนี้ได้มีการปิดประตูองค์พระธาตุอย่างมิดชิด ถือว่าได้ฐานปนาโดยสมบูรณ์
การบูรณะครั้งที่ ๖ ใน พ.ศ.๒๔๘๓ - ๒๔๘๔ ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมี หลวงวิจิตรวาทการเป็นหัวหน้า ได้สร้างเสริมครอบพระธาตุองค์เดิมด้วยคอนกรีต เสริมเหล็กตั้งแต่ชั้นที่ ๓ ขึ้นไป และต่อยอดให้สูงขึ้นไปอีก ๑๐ เมตร รวมเป็น ๕๗ เมตร
มีฐานกว้างด้านละ ๑๖ เมตร สูงจากพื้นดินถึงบัวล่าง ๘ เมตร ตอนที่ ๑ และ ๒ คงรูปแบบเดิม คือ เป็นรูปปรางค์แบบมีซุ้มประตูโบราณ อยู่ ๔ ด้าน เป็นของเก่าโบราณแต่ดั้งเดิม ประดับด้วยแผ่นอิฐสีแดง จำหลักลายวิจิตรงดงามทั้ง ๔ ด้าน เป็นรูปของกษัตริย์โบราณเกี่ยวพันด้วยรูปสัตว์ และกนกลายก้านขดลายในผักกูดตรงกลาง ตัวระฆังเรียงรัดเป็นลักษณะขวดแก้ว ๔ เหลี่ยม และได้ยกฐานะของวัดพระธาตุพนม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร
การพังทลายของพระธาตุพนมเมื่อ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๘ ได้เกิดฝนตกพรำติดต่อกันหลายวัน ตกหนัก และมีลมแรงพัดกรรโชกด้วย จึงเป็นผลให้องค์พระธาตุพนมที่เก่าแก่ และผุพังอยู่บ้างแล้ว ได้พังทลายลงมาทั้งองค์เมื่อเวลา ๑๗.๐๐ ของวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๘ ทับวัสดุก่อสร้างบริเวณนั้นลงอย่างยับเยินเลยทีเดียว แม้จะมีการบูรณะอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ได้สร้างฐานดั้งเดิมเสียใหม่ คือ ไม่ได้สร้างฐานชั้นที่ ๑ ใหม่ ทำให้เมื่อฝนตกหนักน้ำซึมเข้าไป ฐานไม่สามารถทานน้ำหนักส่วนบนได้ จึงพังทลายลงมา
การพังทลายลงมานั้น ในสมัยรัฐบาลที่มี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี และ ได้สั่งการให้มีการบูรณะขึ้นใหม่อย่างรวดเร็ว สร้างใหม่ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์มีการสมโภชในปี พ.ศ.๒๕๒๒ สมัยที่ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นการสร้างขึ้นใหม่ทั้งองค์ โดยรักษาโครงสร้างขนาดรูปแบบ และลวดลายจำหลักต่าง ๆ ให้เหมือนองค์เดิม สร้างในที่เดิม สูงเท่าองค์เดิม คือ ๕๗ เมตร แต่ขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย
พระธาตุพนมองค์ใหม่ สร้างครอบฐานพระธาตุองค์เดิม ซึ่งยังเหลืออยู่ประมาณ ๖ เมตรเศษ คราวนี้สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ข้างในกลวงเป็นโพรงมีคานยึด ๕ แห่ง มีกรุสำหรับบรรจุพระอุรังคธาตุ ๑ กรุ และมีกรุสำหรับบรรจุสิ่งของที่พบเมื่อพระธาตุพังทลายลงมา ๘ กรุ
มีพระราชพิธีบรรจุพระอุรังคธาตุ โดยมีพิธีดังนี้ วันแรก ทำพิธีแห่พระอุรังคธาตุ วันที่สอง สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ทรงเป็นประธานในการยกฉัตรพระธาตุ วันที่สาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ เสด็จมาทรงบรรจุพระอุรังคธาตุ
งานนมัสการพระธาตุพนม ซึ่งเป็นประเพณีสืบต่อกันมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน จะจัดในวันเพ็ญ เดือน ๓ ของทุกปี โดยถือเอาวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๓ เป็นวันแรกของงาน และไปสิ้นสุดในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๓
โบราณวัตถุ คือ มรดกทางวัฒนธรรม ที่วัดธาตุพนม มีที่สำคัญ คือ เสาอินทขีล ทำจากศิลาทราย ในตำนานกล่าวไว้ว่า ท้าวพญาทั้ง ๕ ที่ริเริ่มสร้างองค์พระธาตุพนมนั้น ได้ให้คนไปนำมาจากที่ต่าง ๆ รวมกัน ๔ ต้น แล้วฝังไว้ในบริเวณรอบ ๆ พระธาตุทั้ง ๔ มุม ดังนี้
ต้นที่ ๑ นำมาจากเมืองกุสินารา ฝังไว้ที่มุมตะวันออกเฉียงเหนือ และสร้างรูปอัจจมุขี ไว้ที่โคนเสา ๑ ตัว
ต้นที่ ๒ นำมาจากเมืองพาราณสี ฝังไว้ที่มุมตะวันออกเฉียงใต้ และสร้างรูปอัจจมุขี ไว้ที่โคนเสา ๑ ตัว
ต้นที่ ๓ นำมาจากเมืองลังกา ฝังไว้ที่มุมตะวันตกเฉียงใต้ ต้นที่ ๔ นำมาจากเมืองตักศิลา ฝังไว้ที่มุมตะวันตกเฉียงเหนือ
ประติมากรรมรูปม้า ตามตำนานกล่าวาถึงม้าพลาหกและม้าอาชาไนย ที่สลักจากศิลา พบที่วัดพระธาตุพนม เวลานี้อยู่ข้างบันไดทางขึ้นวิหารหอพระแก้ว ประติมากรรมรูปสิงห์ หรืออัจจมุขี พบที่วัดธาตุพนม ที่โคนเสาอินทขีล เป็นศิลปกรรมเฉพาะถิ่น ไม่เคยพบในชุมชนโบราณแห่งอื่น ๆ
พระธาตุพนม เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีวอก และเป็นพระธาตุประจำวันเกิดของคนเกิดวันอาทิตย์
 

วันเพ็ญเดือนสาม : ศรัทธางามไหว้พระธาตุริมฝั่งโขง



วันเพ็ญ เดือนสามวันงามตามครรลองแห่งพระพุทธศาสนา วันที่ชาวพุทธร่วมทำบุญเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าในคืนวันเพ็ญ และรำลึกถึงวันที่พระองค์ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์เมื่อครั้งอดีตกาล 


 


เมือง ไทยมีการจัดงานวันมาฆะบูชาครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว โดยมีการประกอบพิธีมาฆะบูชาในพระบรมมหาราชวังก่อน ต่อมาจึงมีการขยายออกไปให้พุทธศาสนิกชนทั่วไปได้ปฏิบัติตามสืบมาจนถึง ปัจจุบัน 


 


เช่น เดียวกันกับวันมาฆะบูชาในปีนี้พุทธศาสนิกชนจากทุกสารทิศได้มานมัสการพระธาตุ พนมเพื่อเป็นการสมโภชน์องค์พระธาตุประจำปีเพื่อเป็นสิริมงคลสูงสุดแก่ชีวิต 


 


เส้นทางสายศรัทธาไหว้พระธาตุงามริมโขง


 


ผมมีโอกาสไปนมัสการพระธาตุพนมในช่วงวันเพ็ญเดือนสามที่ผ่านมา ในช่วงเวลาดังกล่าวอากาศไม่หนาวมากนัก  ซึ่งโดยปกติแล้วในช่วงงานนมัสการพระธาตุพนมมักจะมีอากาศหนาวเป็นพิเศษ วันนี้จึงมีพุทธศาสนิกชนเดินทางมานมัสการพระธาตุพนมมากเป็นพิเศษ 




เส้นทางสายดงหลวง - นาแก เส้นทางสายยุทธศาสตร์สำคัญของนักรบประชาชนในอดีต


ผม เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวใช้เวลาเดินทางออกจากบ้านพักถึงอำเภอดงหลวงใช้เวลา ประมาณ 30 นาที อำเภอดงหลวงเป็นอำเภอเล็ก ๆ ที่เงียบสงบสะท้อนให้เห็นถึงร่องรอยวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชนพื้นถิ่น อย่างชัดเจน เป็นรอยต่อของสี่จังหวัด คือ มุกดาหาร นครพนม กาฬสินธุ์ และสกลนคร ดินแดนแห่งนี้ในอดีตถือเป็นเขตงานอีสานเหนือของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง ประเทศไทย ดินแดนตำนานการต่อสู้ของนักรบประชาชน  


 


จาก อำเภอดงหลวงจะมีถนนเปรมพัฒนาเชื่อมไปสู่เส้นทางแห่งอุดมการณ์ฝากไว้เพียง อนุสรณ์สถานของนักรบประชาชน ที่ตำบลโพนนาดี อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ นับเป็นอนุสรณ์สถานแห่งแรกของนักรบประชาชนในประเทศไทย ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งจะแยกไปอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม 




อนุสรณ์สถานแห่งความสงบภูพานน้อย ตั้งอยู่บนภูพานน้อย ตำบลพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม บนถนนสายดงหลวง - นาแก


ผม ใช้เส้นทางจากอำเภอดงหลวงสู่เขตอำเภอนาแก ผ่านอนุสรณ์สถานแห่งความสงบภูพานน้อย ตั้งอยู่บนภูพานน้อย ตำบลพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม เป็นอนุสรณ์สถานที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์จากการเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ บ้านเมืองและนักรบประชาชนในเขตงานภูพานเมื่อครั้งอดีต


 


ปัจจุบันอนุสรณ์สถานแห่งความสงบภูพานน้อย ได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนม ภายใต้โครงการ “รักษ์ภูพาน” มี การตกแต่งภูมิทัศน์ ปรับปรุงศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อาคารพิพิธภัณฑ์ บ้านพัก ห้องประชุมสัมมนา เพื่อรองรับการจัดกิจกรรมของหน่วยงานในท้องถิ่น และกิจกรรมค่ายลูกเสือ เนตรนารีของสถานศึกษา นอกจากนั้นยังมีเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และแหล่งศึกษาประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองในท้องถิ่น


        


       



ภาย ในบริเวณอนุสรณ์สถานแห่งความสงบ ภูพานน้อย มีทัศนียภาพที่สวยงาม พร้อมบริการห้องพัก ห้องประชุมสัมมนา และการจัดกิจกรรมค่ายลูกเสือ - เนตรนารี


จากอนุสรณ์ สถานแห่งความสงบ ภูพานน้อยถึงทางแยกมีป้ายบอกเส้นทางไปอำเภอนาแกทางซ้ายมือ ส่วนด้านขวามือเป็นเส้นทางสู่อำเภอธาตุพนม ผมเลี้ยวขวามุ่งสู่อำเภอธาตุพนม ถึง่บนภูพานน้อย ในเขตสามแยกบ้านต้อง จะมีถนนที่เชื่อมต่อมาจากจังหวัดมุกดาหาร จึงทำให้การจราจรเริ่มติดเพียงเล็กน้อยก่อนที่จะสู่เขตอำเภอธาตุพนม ผมเลือกใช้บริการรับฝากรถบริเวณทางเข้าวัด จากนั้นจึงเข้ามาภายในบริเวณวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานขององค์พระธาตุพนม  



เส้นทางแยกไปอำเภอนาแกทางซ้ายมือ ส่วนไปอำเภอธาตุพนมด้านขวามือ



เส้นทางสู่อำเภอธาตุพนมมีร้านสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกตลอดรายทาง


งานนมัสการพระธาตุพนมในปีนี้จัดขึ้น 9 วัน 9 คืน ระหว่างวันที่ 2 – 10 กุมภาพันธ์ 2552 โดยนับเอาวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 ไปสิ้นสุดวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ในวันนี้ถือว่าเป็นวันเพ็ญขึ้น 15 เดือน 3 จึงมีพุทธศาสนิกชนจากทุกสารทิศเดินทางมานมัสการพระธาตุพนมเป็นจำนวนมาก



แห่กองบุญรอบองค์พระธาตุพนม




     


 



ศรัทธาธรรมของพุทธศาสนิกชนต่อองค์พระธาตุพนม


.


 


 


ธาตุพนมเมืองงามริมฝั่งแม่น้ำโขง 


 


ธาตุ พนมถือได้ว่าเป็นอำเภอเก่าแก่และมีความเป็นมาที่เจริญรุ่งเรืองในอดีต ตามประวัติความเป็นมาบริเวณรอบ ๆ องค์พระธาตุพนมเคยเป็นที่ตั้งของเมืองศรีโคตรบูรณ์ ต่อมาเมื่อมีการย้ายเมืองโคตรบูรณ์ไปยังท้องถิ่นอื่น จึงยังคงมีชุมชนดูแลรักษาองค์พระธาตุพนมในฐานะที่เป็นพระธาตุประจำถิ่น และเป็นที่กราบไหว้ของชนพื้นถิ่นสองฝั่งโขงตลอดมา


 


จน ลุล่วงถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองท้องถิ่นครั้งสำคัญของไทยในรัชสมัย ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดตั้งชุมชนรอบองค์พระธาตุพนมเป็นบริเวณธาตุพนม ขึ้นตรงต่อมลฑลลาวพวน ปกครองเมืองมุกดาหาร เมืองนครพนม เมืองท่าอุเทน เมืองไชยบุรี และเมืองเรณูนคร เมื่อครั้งมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองท้องถิ่น จนต่อมาในปี พ.ศ. 2440 บริเวณธาตุพนมจึงได้ขึ้นอยู่กับการปกครองของอำเภอเรณูนคร   



     


      


งานนมัสการพระธาตุพนม ประจำปี 2552


ต่อ มาในปี พ.ศ. 2499 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้เสด็จมาพักค้างคืนบริเวณข้างธาตุพระนม 1 คืน ได้เห็นและลักษณะภูมิประเทศและภูมิทัศน์รอบ ๆ องค์พระธาตุพนมมีชุมชนหนาแน่น จึงตั้งเป็นอำเภอธาตุพนมนับในปี 2550 นับแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน 


 


ธาตุพนมถือได้ว่าเป็นอำเภอชายแดนตอนใต้ของจังหวัดนครพนม มีชายแดนตามเป็นแนวยาวตามริมฝั่งแม่น้ำโขงเป็นระยะทาง 52 กิโลเมตร มีฝั่งตรงข้ามตรงกับเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แบ่งการปกครองออกเป็น 12 ตำบล 136 หมู่บ้าน มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มโดยมีลำน้ำสายสำคัญในท้องถิ่น คือ ลำน้ำก่ำ ลำน้ำแคน และลำน้ำเซือม และประชากรส่วนมากประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมเหมือนดังเช่นท้องถิ่นอีสานโดย ทั่วไป ด้านการคมนาคมขนส่งถือได้ว่าเป็นเมืองหน้าด่านสู่อินโดจีนได้สองเส้นทางทั้ง จังหวัดนครพนมและจังหวัดมุกดาหาร


 


ตำนานพระธาตุงามแห่งมิ่งขวัญเมือง 


 


พระ ธาตุพนมมีตำนานการก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่และยาวนานของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์บน แผ่นดินที่ราบสูง ปัจจุบันตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ในเขตถนนชยางกรู บ้านธาตุพนม ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม  โดยตำนานการก่อสร้างพระธาตุพนมกล่าวไว้ว่าก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 8 บริเวณภูกำพร้าของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ โดยมีท้าวพญาทั้ง 5 ผู้ครองนครในแคว้นต่าง ๆ เป็นผู้ก่อสร้าง ได้แก่ พญาจุลณีพรหมทัต แห่งแคว้นจุลมณี พญาอินทปัตถนคร แห่งเมืองอินทปัตถนคร (แคว้นกัมพูชาโบราณ)  พญาคำแดง แห่งเมืองหนองหานน้อย พญานันทเสน แห่งเมืองศรีโคตรบูรณ์ และพญาสุวรรณพิงคาร แห่งเมืองหนองหานหลวง 


     


ศาสนสถานและพระพุทธรูป ภายในบริเวณวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร


การ ก่อสร้างพระธาตุพนมองค์เดิมจะใช้ดินดิบก่อเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยมแล้วเผาให้ สุกภายหลัง มีความกว้างด้านละ 2 วา สูง 2 วา ข้างในจะเป็นโพรง มีประตูทั้ง 4 ด้าน เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จพระมหากัสสปะเถระจึงได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ หรือกระดูกหน้าอกของพระพุทธเจ้าจากประเทศอินเดียมาไว้บรรจุไว้ภายใน องค์พระธาตุจากนั้นจึงปิดประตูทั้งสี่ด้าน



พระธาตุพนมได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในยุคต่อมาโดยลำดับจนถึงปัจจุบันดังนี้


          บูรณะครั้งที่   1  ราวปี  พ.ศ. 500   โดยมีพญาสุมิตรธรรมวงศาแห่งเมืองมรุกขนครและพระอรหันต์   5   องค์   เป็นประธานในการบูรณะ โดยนำเอาอิฐซึ่งเผาให้สุกมาต่อเติมจากยอดพระธาตุองค์เดิมให้สูงขึ้นประมาณ   24   เมตร แล้วอัญเชิญพระอุรังคธาตุออกจากอุโมงค์เดิมขึ้นไปประดิษฐานที่ใจกลางพระธาตุชั้นที่สองแล้วสถาปนาไว้อย่างสมบูรณ์


           บูรณะครั้งที่ 2   เมื่อปี พ.ศ.   2157    โดยมีพระยานครหลวงพิชิตราชธานีศรีโคตรบูรณ์แห่งเมืองศรีโคตรบูรณ์เป็นประธาน ได้โบกสะทายตีนพระธาตุทั้งสี่ด้านและสร้างกำแพงรอบพระธาตุพนม   พร้อมซุ้มประตูและเจดีย์หอข้าวพระทางทิศตะวันออกพระธาตุ   1   องค์ (ภายหลัวถูกพระธาตุพังทับได้รับความเสียหาย)


           บูรณะครั้งที่   3   เมื่อปี พ.ศ. 2236 - 2245   โดยมีเจ้าราชครูหลวง  โพนสะเม็กแห่งเมืองนครเวียงจันทร์ เป็นประธาน   การบูรณะครั้งนี้ได้ใช้อิฐต่อเติมจากพระธาตุชั้นที่สองที่ทำการบูรณะในปี พ.ศ. 500 ให้สูงขึ้นอีกประมาณ   43  เมตร และปรับปรุงที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุใหม่ โดยสร้างอูบสำริดครอบเจดีย์ศิลาอันเป็นที่บรรจุบุษบกและผอบพระอุรังคธาตุไว้อย่างแน่นหนา บรรจะพระพุทธรูปเงิน ทอง แก้วมรกต และอัญมณีต่าง ๆ มากมายภายในอูบสำริดและนอกอูบสำริด โดยมีจารึกพระธาตุพนมว่า “ธาตุปะนม”


          บูรณะครั้งที่ 4   ในปี พ.ศ.   2350 – 2356   โดยเจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทร์เป็นประธาน   ได้ทำฉัตรใหม่ด้วยทองคำประดับด้วยเพชรพลอยสีต่าง ๆ   และทำพิธียกฉัตรขึ้นสู่ยอดพระเจดีย์ในปี   พ.ศ.2356   (ฉัตรนี้ได้นำลงเก็บรักษาไว้ที่วัดพระธาตุพนมใน พ.ศ. 2497)


          บูรณะครั้งที่   5   ในพ.ศ.   2444   โดยพระครูวิโรจน์รัตโนบล   วัดทุ่งศรีเมือง   จังหวัดอุบลราชธานีเป็นประธาน ได้ซ่อมแซมโบกปูนองค์พระธาตุใหม่ลงรักปิดทอง   ส่วนบนประดับแก้วติดดาวที่ระฆัง แผ่แผ่นทองคำหุ้มยอดปูลานพระธาตุ และซ่อมแซมกำแพงชั้นในและชั้นกลาง


           บูรณะครั้งที่  6 ในปี พ.ศ. 2483 – 2484 ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี เกิดกรณีพิพากระหว่างไทยกับฝรั่งเศส  กองทัพฝรั่งเศสได้นำระเบิดมาทิ้งบริเวณอำเภอธาตุพนมถึง 60 ลูก แต่ว่าองค์พระธาตุพนมไม่ได้รับความเสียหาย  


      


     


องค์พระธาตุพนมในปัจจุบัน


การ บูรณะในปี พ.ศ. 2484 โดยหลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งดำรงอธิบดีกรมศิลปากร เป็นหัวหน้าสร้างเสริมครอบพระธาตุองค์เดิมด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กตั้งแต่ชั้น ที่ 3  จากเดิม 43 เมตร เป็น 53 เมตร  ประดับลวดลายพิมข้าวบิณฑ์เป็นข้อลดหลั่นจนถึงยอด มีฉัตรทองคำสูง 4.50 เมตร ทำให้องค์พระธาตุพนมมีความสูง 57.50 เมตร



นับ แต่นั้นเป็นต้นมาได้มีการจัดงานนมัสการพระธาตุพนมในช่วงวันเพ็ญเดือน 3 ของทุกปีสืบมา จนเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2518 ได้มีฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน จนในเวลา 19.38 น. ทำให้องค์พระธาตุพนมพังทลายลงมา ทั้งนี้เพราะมีการบูรณปฎิสังขรณ์และก่อสร้างเสริมขึ้นในหลายครั้งจนไม่ สามารถทนทานน้ำหนักได้ จึงพังทะลายลงมาทับสิ่งก่อสร้างบริเวณใกล้เคียงได้รับความเสียหาย ท่ามกลางความเศร้าโศกอาดรูของผู้คนสองฝั่งโขงเป็นอย่างยิ่ง


        


การ บูรณะองค์พระธาตุพนมองค์ใหม่ดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2518- 2522 โดยมีการขุดพบพระอุรังคธาตุลักษณะมีสีขาวแวววาวคล้ายกับแก้วผลึก จำนวน 8 องค์ บรรจุอยู่ในผอบแก้ว มีฝาทองคำปิดสนิท มีน้ำมันจันทน์หล่อเลี้ยงอยู่ภายใน การบูรณะในครั้งใหม่นี้เป็นการก่อสร้างใหม่ทั้งองค์ โดยการรักษาโครงสร้างขนาดรูปแบบและลวดลายต่าง ๆ เหมือนกับองค์เดิมทุกประการ



หลังการบูรณะเสร็จมีการจัดพิธีสมโภชน์และพระราชพิธีบรรจุพระอุรังคธาตุ ในระหว่างวันที่ 21 – 23 มีนาคม 2522 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีบรรจุพระอุรังคธาตุ และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพระธาตุพนมจึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวจังหวัด นครพนมและจังหวัดใกล้เคียงในภูมิภาค รวมทั้งบ้านพี่เมืองน้องสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอีกด้วย ดังคำกล่าวว่าที่ว่าหากได้มานมัสการพระธาตุพนมครบ 7 ครั้ง จึงถือได้ว่าเป็น “ลูกพระธาตุ”  อย่างสมบูรณ์



ศาสนิกชนชาวพุทธในศาลาโรงธรรมวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร


ผมมีโอกาสได้มานมัสการองค์พระธาตุพนมในวันเพ็ญเดือนสามปีนี้  นับเป็นความศรัทธาเพื่อร่วมทำบุญสมโภชน์องค์พระธาตุ และนมัสการองค์พระอุรังคธาตุประจำปี ร่วมสืบสานพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไป เพื่อ ความเป็นสิริมงคลชีวิตสำหรับตนเองและครอบครัว และขออนุโมทนาทานเพื่อความเป็นสิริมงคลและสุขสวัสดีสำหรับชาวโอเคเนชั่น ทุก ๆ ท่านที่แวะมาเยี่ยมเยือนบล็อกหนุ่มสัญจรมา ณ โอกาสนี้ด้วย


--ข้อมูลจาก โอเคเนชั้น
[ ราคา ] โทรถาม
[ สถานะ ] โชว์พระ
[ติดต่อเจ้าของร้านKCM Shop/ร้านโขงชีมูล] เบอร์โทรศัพท์ : KCM Shop/ร้านโขงชีมูล โชว์


วัตถุมงคล: ท่องเที่ยวและทำบุญไหว้พระ
วัดเนรมิตวิปัสสนา อ.ด่านซ้าย จ.เลย
นมัสการพระธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม เริ่มงานตั้งแต่วันที่ 11-19 กุมภาพันธ์ 2554
วิดีโอ ประวัติพระวิปัสสนาจารย์
หลวงปู่เทสก์ วัดหินหมากเป้ง
วัดอรัญญบรรพต (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)

หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  โขง ชี มูล  พระธาตุนาดูน  พระมหาเจดีย์ชัยมงคล  ผู้ดูแล
Copyright©2025 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด