[ รายละเอียด ] พระครูสุนทร วัดดินดอน นอกจากจะมีความรู้ทางด้านพระปริยัติธรรมและการบริหารการปกครอง ท่านยังรอบรู้ในวิทยาคมและเชี่ยวชาญวิปัสสนากรรมฐานท่านหนึ่งของเมืองนครศรี ธรรมราชในยุคนั้น ท่านได้จัดสร้างวัตถุมงคลมาตั้งแต่ก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และก็สร้างมาเรื่อย ๆ ตามแต่จะมีโอกาสจนกระทั่งมรณภาพ วัตถุมงคลของท่านมีหลายชนิด เช่น รูปเหมือน พระเครื่องเนื้อดินเผา เครื่องรางของขลัง ตะกรุด ผ้ายันต์ และลูกอมเป็นต้น แต่ที่สร้างชื่อเสียงให้กับท่านมากที่สุดก็คือ......เครื่องรางของขลังเชือกคาดเอวพระครูสุนทร วัดดินดอน พระครูสุนทรเรียนวิชาสร้างเชือกคาดเอวมาจากพระครูกาแก้ว(ศรี) ผู้เป็นบิดา ส่วนพระครูกาแก้ว (ศรี) นั้นก็เรียนวิชาการสร้างเชือกคาดเอวมาจากเจ้าอาวาสวัดบางกล้วย จังหวัดสุราษฏร์ธานี เชือกคาดเอวของพระครูสุนทรลักษณะจะไม่เหมือนเชือกคาดเอวของพระเกจิอาจารย์ ภาคใต้ยุคหลัง ๆ อย่างเชือกคาดเอวของพ่อท่านเขียว วัดหรงบน พ่อท่านแก่น วัดทุ่งหล่อ พ่อท่านสังข์ วัดดอนตรอ และพระเกจิอาจารย์สายใต้ท่านอื่น ๆ ที่เอาผ้ามาลงอักขระแล้วถักหุ้มกับเชือกเป็นเส้นยาว แต่เชือกคาดเอวของพระครูสุนทรท่านจัดเอาผ้ามาฉีกเป็นริ้วยาวๆ หลายเส้น แล้วลงอักขระไปตามแนวยาวของริ้วผ้า เวลาถักก็จะขมวดส่วนหัวก่อน จากนั้นก็ถักเป็นเกลียวไปจนตลอดถึงส่วนหางก็ขมวดปมอีกปมหนึ่ง เวลาถักเชือกก็จะบริการรมคาถาไปพร้อม ๆ กันเมื่อขมวดส่นปมของหางเสร็จก็จะให้พร้อมกับภาวนาคาถาจบพอดี เชือกคาดเอวพระครูสุนทรท่านทำแจกมาตั้งแต่ยังจำพรรษาที่วัดหน้าพระบรมธาตุ เมื่อท่านย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดดินดอนแล้วก็มีชาวบ้านมาขอเชือกคาดเอวกับ ท่านเรื่อย ๆ เมื่อปี พ.ศ. 2483 ครั้งที่เกิดสงครามอินโดจีน จอมพล ป. พิบูลสงครามนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ทำหนังสือขอพระเครื่องไปยังวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อนำมาแจกทหารที่ไปรบสงครามครั้งนั้นได้มีวัดต่างๆ นำพระเครื่องเก่าๆ ที่บรรจุกรุออกมามอบให้กับรัฐบาลกันหลายวัด ส่วนวัดที่ไม่มีพระเครื่องไทยเก่า ๆ เก็บเอาไว้ ก็จะทำพิธีปลุกเสกพระเครื่องขึ้นมาเพื่อแจกทหารไปรบโดยเฉพาะส่วนพระครูสุนทรท่านได้ทำเชือกคาดเองขึ้นมาจำนวนหลายเส้น แล้วก็มอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อนำไปมอบให้กับรัฐบาลและส่งให้ทหารที่ไปรบในสงครามต่อไป ซึ่งเชือกคาดเอวของพระครูสุนทรก็มีประสปการณ์ในสงครามครั้งนั้นมาก ปากต่อปากก็เล่าต่อ ๆ กันไป จนทุกวันนี้เชือกคาดเอวของท่านก็ยังเป็นที่เสาะหาของคนเมืองนครกันอย่างยิ่ง และก็หาไม่ได้ง่าย ๆ เลย ประวัติท่านพระครูสุนทรดิตถคณี (นาค โชติพโล) ท่านเกิด วันเสาร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม 2420 ปีฉลู ท่านอุปสมบทกับท่านกาแก้ว (บุญศรี) ผู้เป็นบิดาของท่านเอง (บิดาท่านบวชตั้งแต่ท่านอายุ 5 ขวบ) มีมารดาชื่ออำแดงพุ่ม เป็นลูกสาวของขุนลัคณ์จันทร์ ซึ่งเป็นพราหมณ์พิธีของพระยานคร ท่านจำพรรษาเป็นพระอาวุโสสูงสุด ของวัดหน้าพระบรมธาตุ สละให้ท่านกาแก้ว (หมุ่น อิสรเถร) เป็นเจ้าอาวาส ท่านเป็นพระลูกวัด อนหลังท่านกลับไปจำพรรษาที่วัดบ้านเกิดคือ วัดดินดอน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ.2473 อิทธิมงคลวัตถุของท่านมีมาก ทั้งตะกรุด ผ้าประเจียด พระพิมพ์ดินเผา รูปลอยองค์ปั๊ม และที่มีชื่อเสียงกว้างขวางคือ สายคาดเอว ซึ่งเคยทำส่งไปยังกองบัญชาการทหารสูงสุดสมัยจอมพล ป. ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นที่ประจักษ์แก่วงการทหารยิ่งนัก แต่เป็นของที่ทำได้ยาก ท่านมรณภาพเมื่อ วันพฤหัสบดี ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2512 เวลา 15.00 น. อายุได้ 93 ปี หลังจากมรณภาพแล้ว มีการเก็บศพไว้ที่กุฏิของท่านเป็นเวลา 13 ปี จึงได้พระราชทานเพลิงศพเมื่อ 26 เมษายน พ.ศ.2526 สายคาดเอว กรรมวิธีในการสร้างท่านจะใช้ผ้าขาวลงอักขระแล้วจุ่มบิดให้แห้ง กับน้ำฝนที่ท่านเก็บไว้ทุกวันเพ็ญครบ 12 ครั้ง หากปีไหนรับน้ำฝนได้ไม่ครบ 12 วันเพ็ญ ก็ไม่ได้สร้าง ถือว่าเป็นพิธีกรรมที่ยาวนาน และต้องรอคอยอย่างมาก ทำแต่ละครั้งท่านจะถักด้วยตัวท่านเอง ซึ่งการสร้างแต่ละคราวจะได้จำนวนน้อย การใช้งานต้องมีคาถากำกับ เขาเรียกผูกไพเราะตัวผู้ และผูกไพเราะตัวเมีย
]ลิงค์เกี่ยวประวัติพระครูสุนทร วัดดินดอน[
http://www.tumsrivichai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538970203&Ntype=5
เชือกคาดเอวพระครูสุนทร วัดดินดอนเป็นเครื่องรางที่ท่านอาจารย์ขุนพันธ์รักษ์ ราชเดช บูชาติดตัวในการปฎิบัติหน้าที่ในอดีตด้วยความเชื่อมั่นและศรัทธาในตัวท่านอาจารย์ครูสุนทร!!!
และด้วยจากที่เคยเห็นคนรุ่นเก่าบูชาติดตัวอย่างหวงแหน!!!โดยส่วนตัวเองจากการที่ได้สัมผัสบูชาติดตัว จึงเก็บรักษาใส่ห่อผ้าเพื่อมิให้ชำรุดเสียหายไปไหนมาไหนไม่เคยลืมที่จะนำติดตัวไปด้วยสักครั้งครับ!!!
|