มากล่าวกันถึงความหมาย และความสำคัญของยันต์โสฬสมงคล
ยันต์โสฬสมงคลนี้ เป็นมหายันต์ที่เกิดจากการนำเอายันต์ ๓ ชนิดมารวมกันไว้ โดยใช้ตัวเลขแทนด้วยความหมายคงคลต่างๆ จากภาพ ตรงกลางช่องเล็ก ๙ ช่อง คือ ยันต์ จตุโร ถัดมาวงกลาง เป็นยันต์สูตรตรีนิสิงเห และด้านนอกสุด เป็น ยันต์ อริยสัจโสฬส จากนั้นอักขระด้านนอกที่ล้อมยันต์อยู่ คือ พระคาถาบารมี ๓๐ ทัศ พระยันต์นี้มิได้มีบังคับการลงยันต์ด้านหลังไว้ ฉะนั้นในการลงยันต์ด้านหลังตะกรุดก็แล้วแต่พระเถราจารย์ท่านจะลง ในสายวัดสะพานสูง จากตำราที่เพิ่งสืบค้นมากล่าวไว้ว่า ท่าได้ลงไตรสรณคมไว้ ซึ่งไตรสรณคมนี้ เข้าใจว่าคงลงแบบย่อที่เราท่องกันโดยทั่วไป ว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ฯ แต่หากเป็นตำราเล่มอื่นแล้ว จะเป้นกานำเอาบทอิติปิโส ๓ ห้อง มาผูกลงในตารางกระดูกยันต์ ซึ่งถือเป็นยันต์ใหญ่และลงยาก ก็ตามแต่พระเภราจารย์ท่านนั้นจะได้ศึกษามา
มาดูกันถึงยันต์แต่ละอย่างที่ใช้ลงกัน
๑. ยันต์จตุโร ที่อยู่ตรงกลางยันต์โสฬส เป็นการลงด้วยตัวเลข ๙ ตัว คือ ๔, ๙, ๒, ๓, ๕, ๗, ๘, ๑, ๖ ตามลำดับ ยันต์นี้ เมื่อลงแล้วจะทำให้เกิดลาภ และคุ้มภัยทั้งปวง นิยมลงยันต์นี้เดี่ยวๆ ในการตั้งเสาเอกด้วย นอกจากนั้นแล้วในตำรายังกล่าวว่าให้ใช้คู่กับตรีนิสิงเห และอริยสัจโสฬส จะลงในอาวุธ หอกดาบ ยามเข้ารบข้าศึก จะแคล้วคลาดทั้งปวง เขียนไว้ในสิ่งของ ขโมยจะลักมิได้เลย แช่น้ำกินปราศจากโรคภัย ถ้อยความอันตรายทั้งปวง เขียนใส่แผ่นเหล็กฝังในที่ปลวกชุม ปลวกก็หนีไปสิ้น ในที่ๆ เลือดชุม เลือดก็หายหมดไป ฝังไว้ที่นา นกมิลงกินข้าวเลย ฝังไว้ไร่นา กันปูหนูทุประการ
ถ้าจะปลูกต้นไม้ให้มีผลงอกงาม เขียนใส่แผ่นหินฝังรองไว้ ต้นไม้นั้นงอกงามแล เขียนใส่ผ้าปักไว้หลังคาเรือน ไฟมิไหม้เรือนแล ลงปิดประตูหน้าต่างกันโจร คลอดลูกยาก แช่น้ำกิน คลอดลูกง่าย ฯลฯ ยังมีคาถาที่ใช้อาราธนาต่างๆ เฉพาะยันต์จตุโรนี้ด้วย แต่คงจะมิกล่าวถึงในที่นี้ ไว้มีโอกาสน่ะครับ
๒. ยันต์ตรีนิสิงเห จะเเป็นยันต์แถวที่สองนับจากด้านนอก เวลาลงจะลง ๓ ๗ เอา ๕ คั่น ๔ ๖ เอา ๕ คั่น ๑ ๙ เอา ๕ คั่น ไปจนครบรอบ จะสังเกตเห็นว่า พอลงเลขรวมกันได้ ๑๐ ก็จะคั่นด้วย ๕ เสมอ พระยันต์นี้ใช้ลงผ้า หรือกระดาษ ปิดเสาเรือน หรือแขวน ๘ ทิศ ก็ได้ ป้องกันภัยอันตราย ภูติผีปิศาจ ใช้ได้สารพัดแล หากนำยันต์นี้ลงคู่กับจตุโร ก็จะได้เป็นยันต์ ตรีนิสิงเหใหญ่ พุทธคุณก็เอาของ ๒ พระยันต์นี้มารวมกัน
๓. ยันต์อริยสัจจ์โสฬส มีกล่าวไว้ว่า พระคาถานี้บรรจุอยู่ในพระมหาเจย์ ที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสว้างเอาไว้ ภายหลังนักปราชญ์ท่านผู้รู้ทั้งหลายจึงผูกเป็นยันต์อริยสัจจ์โสฬสมงคลขึ้นฯ พระยันต์นี้มีคุณานุภาพมาก อาจป้องกันบำบัดเสัยซึ่งอุปัทอันตรายทั้งปวง ก่อให้เกิดลาภสการมงคล คุ้มครองป้องกันให้ได้รับควาสุขสวัสดี เป็นมหาวิเศษนักแล เป็นทั้งทางอยู่คง แลเป็นเมตตาด้วย ทำให้เกิดโภคทรัพย์เงินทอง ตามแต่จะใช้เถิด ยันต์นี้ใช้ได้ทุกประการ เวลาหล่อพระพุทธรูปสักการะบูชา ควรลงพระยันต์นี้ใส่แผ่นทอง หลอมหล่อไปด้วย เพราะเป็นยอดมหายันต์ที่ศักดิ์สิทธิ์นักแล
จากนั้นจึงล้อมรอบด้วยพระคาถาบารมี ๓๐ ทัศ
ข้อสังเกต ที่ตะกรุดบางดอก หรือบางที่ก็ตามแต่ ตรงกลางยันที่เป็นเลข ๕ ของยันต์จตุโร อาจมีการถอดอักขระออกมา เป็นยันต์องค์พระ ล้อมรอบด้วยคาถาพระเจ้า ๕ พระอง นะโมพุทธายะ แต่ก็คือพระยันต์เดียวกัน
พระครูสิริวัฒนการ (พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร)
ท่านมีนามเดิมว่า ศรีเงิน นามสกุล ชูศรี
เป็นบุตรนายสุด โยมมาารดาชื่อ นางเฟือง ชูศรี
เป็นชาวควนขนุนโดยกำเนิด
เติบโตที่บ้านไผ่รอบ หมู่ที่ ๗ ต.ปันเต อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๒
บรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ ๔ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
ตรงกับวันอังคาร แรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีขาล ณ วัดดอนศาลา
โดยมีพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพุทธิธรรมธาดา
อดีตรองเจ้าคณะจังหวัดพัทลุงและเจ้าอาวาสวัดสุวรรณวิชัย
อ. ควนขนุน เป็นพระอุปัชฌาย์ให้
มีพระครูกรุณานุรักษ์ อดีตเจ้าคณะอำเภอควนขนุน
และเจ้าอาวาสวัดสุวรรณวิชัย เป็นพระกรรมวาจาจารย์
และมีพระครูกาชาด (บุญทอง) อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนศาลา
เป็นพระอนุสาสนาจารย์
ท่านศึกษาเล่าเรียนวิชชาเขาอ้อด้านพุทธาคมกับพระอาจารย์ปาล
ปาลธัมโม และด้านการแพทย์แผนโบราณกับพระครูพิพัฒน์สิริธร
(พระอาจารย์คง สิริมโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านสวน
และศึกษากับอาจารย์ทางฝ่ายฆราวาสของเขาอ้อ คือ อาจารย์นำ
แก้วจันทร์ อาจารย์เปรม นาคสิทธิ์ อาจารย์แจ้ง เพชรรัตน์
วิชชาเขาอ้อ นับได้ว่าท่านพระอาจารย์ศรีเงิน ได้รับการถ่ายทอดจากพระอาจารย์ปาลมากที่สุด ส่วนด้านวิปัสสนาธรรมนั้นท่านได้ศึกษาจากพระอาจารย์เล็ก ปุญฺญโก วัดประดู่เรียง
เมื่อพระอาจารย์นำมาอุปสมบทอยู่ที่วัดดอนศาลาในวัยชรา ระหว่างนั้นพระอาจารย์ศรีเงินได้รับถ่ายทอดวิชาสำคัญ ๆ อีกหลายอย่างจากพระอาจารย์นำ
พระอาจารย์ศรีเงินเป็นศิษย์สายเขาอ้อรูปหนึ่งที่ได้รวบรวมวิชาดีทั้งหลายไว้มากมายที่สุด เพราะได้รับถ่ายทอดมาจากศิษย์เก่ง ๆ ของสำนักเขาอ้อหลายรูปหลายแขนง ท่านพระอาจารย์คล้อย ยกย่องท่านอาจารย์ศรีมาก ยกให้เป็นรุ่นพี่ ทั้งๆ ที่เป็นเพื่อนร่วมรุ่นเดียวกันมาตั้งแต่เด็ก และพระอาจารย์พรหม ยกย่องท่านมากในฐานะรุ่นพี่ แต่ยกให้เป็นอาจารย์
ท่านพระอาจารย์ศรีเงินจึงได้ทำหน้าที่เสมือนประธานศิษย์เขาอ้อสายบรรพชิต เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมสำคัญ ๆ ควบคู่กับอาจารย์ประจวบ คงเหลือ ศิษย์สายฆราวาสคนหนึ่งของสำนักเขาอ้อ
พระอาจารย์ศรีเงิน ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ "พระครูสิริวัฒนาการ"
ดำรงตำแหน่งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดดอนศาลา
มรณภาพ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๓
รวมสิริอายุได้ ๗๒ ปี ๕๑ พรรษา
การสร้างอิทธิวัตถุมงคล
๑. พระกลีบบัวรุ่นแรก 2524 เนื้อผงผสมว่าน 108
และผงมหาว่าน ดำ-ขาว
๒. เหรียญหล่อพระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ
-เนื้อทองมหาสัตตโลหะ (เนื้อทองกายสิทธิ์เล่นแร่แปรธาตุ
สูตรลับของสำนักเขาอ้ออันเกรียงไกร จำนวนสร้างเพียง 19 เหรียญ)
-เนื้อนวโลหะผสมแผ่นชนวนจากพระเกจิอาจารย์ดังทั่วประเทศ 142
อาจารย์ พร้อมทั้งผสมโลหะบ้าน เชียงอันศักดิ์สิทธิ์
(สร้างเพียง 996 องค์)
๓. พระสมเด็จพิมพ์เล็กเนื้อนวโลหะผสมโลหะบ้านเชียง สร้างปี 2525
มีลักษณะคล้ายกับพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ด้านหลังช่วงบนมี
อักขระว่า "นะอะระหัง" ด้านล่างเป็นอักษรว่า "วัดดอนศาลา"
(สร้างเพียง 2231 องค์)
๔. เหรียญรุ่นแรกเนื้อเงิน, เนื้อทองแดง
๖. พระปิดตามหาลาภหล่อพิมพ์ 4 เหลี่ยม รุ่นแรกเนื้อเงิน,
เนื้อนวโลหะผสมชนวนเนื้อทองมหาสัตตโลหะและชนวนโลหะจ้าว
น้ำเงิน, เนื้อผงผสมมหาว่าน
๗. พระผงสิริวัฒน์พิมพ์ 5 เหลี่ยม รุ่นแรกผสมว่าน 108 รุ่นนี้สร้างแจก คราวฉลองสัญญาบัตร
๘. ตะกรุดฝนแสนห่าพิชิตมาร เนื้อตะกั่ว
๙. ตะกรุดเกราะเพชรพุทธเจ้า เนื้อตะกั่ว
๑๐. แหวนพิรอด
๑๑. พระปิดตามหามงคล
๑๒. พระกริ่งนะมหามงคล มีลักษณะคล้ายคลึงกับพระกริ่งบาเก็ง
ส่วนบริเวณฐานด้านหลังปรากฏอักขระหล่อจมลงในเนื้อว่า
"นะมหามงคล"
๑๓. พระสังกัจจายน์ลอยองค์
๑๔. พระกริ่งศรีเพชรรัตน์มหามงคล โดยถอดพิมพ์มาจากพระกริ่งจีน
จำนวนสร้าง 309 องค์ เนื้อโลหะที่ใช้ในการสร้าง เป็นชนวนโลหะที่
เหลือจากการสร้างวัตถุมงคลชุดมหามงคลและได้ผสมแผ่นทองลง
จารอักขระของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทั่วประเทศ และแผ่นจารอักขระ
อีก 108 แผ่น แผ่นจารนะ 29 นะ ของพระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร
ลงไปผสมด้วย
พระ ปิดตามหามงคลและแหวนพิรอด ได้เข้าพิธีปลุกเสกครั้งแรก
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2524 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 15 ค่ำ เวลา 19.29 น. ณ อุโบสถ วัดดอนศาลา โดยพระเกจิอาจารย์สายสำนักวัดเขาอ้อ มีพระครูกาชาด (บุญทอง) วัดดอนศาลา เป็นประธานในพิธี
เสร็จพิธีแล้ว พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร ได้เก็บไว้ในกุฏิปลุกเสกเดี่ยว
จนถึงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2524 จึงได้นำไปปลุกเสกใหญ่อีกครั้งหนึ่งร่วมกับพระกริ่งนะมหามงคล
พระเกจิอาจารย์ที่ปลุกเสก ประกอบด้วย
1. พระครูกาชาด (บุญทอง) วัดดอนศาลา จังหวัดพัทลุง
2. พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร วัดดอนศาลา จังหวัดพัทลุง
3. พ่อท่านคล้อย วัดภูเขาทอง จังหวัดพัทลุง
4. พระอาจารย์แก้ว วัดโคกโดน จังหวัดพัทลุง
5. พ่อท่านหมุน วัดเขาแดงตะวันออก จังหวัดพัทลุง
6. พระอาจารย์เล็ก วัดประดู่เรียง จังหวัดพัทลุง
7. พระอาจารย์จับ วัดท่าลิพงศ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
8. พระอาจารย์หนูจันทร์ วัดพัทธสีมา จังหวัดนครศรีธรรมราช
9. พระอาจารย์ทอง พระธุดงค์มาจากจังหวัดสงขลา
๑๕. เหรียญรุ่นช่วยชาติ
๑๖. ผ้ายันต์
๑๗. สีผึ้ง
ฯลฯ และอิทธิวัตถุมงคลอีกมากมายที่สร้างในนามวัดดอนศาลา