หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  บทความ  :  เที่ยวเมืองสองทะเล  :  คุณธรรมและจริยธรรม
ทะเลสาบพระเครื่อง
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 50 คน
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ : ทะเลสาบพระเครื่อง

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า ทะเลสาบพระเครื่อง
ชื่อเจ้าของ วีรพงศ์ พรหมมนตรี(อ้น ระโนด)
รายละเอียด พระเครื่องแบ่งให้บูชา พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน,หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า พ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน พระสายเขาอ้อพัทลุง และเกจิอาจารย์ยอดนิยมภาคใต้ (สายตรง ชุดอาจารย์ ชุม ไชยคีรี สำนักเขาไชยสน และ สายเขาอ้อ )
เงื่อนไขการรับประกัน รับประกันความแท้ 100% ออกใบรับประกันให้ หากพบว่าเป็นพระเก๊ สามารถนำมาคืนเงินได้เต็ม ภายใน 30 วัน
ที่อยู่ วีรพงศ์ พรหมมนตรี (อ้น ระโนด) 165/91 ซ 26 หมู่บ้านสินบดี ต. พิมลราช อ บางบัวทอง จ. นนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11110
เบอร์ที่ติดต่อ 081-6414009,02-9243140(อ้น ระโนด) line ID weerapong07
E-mail eon_werapong123@hotmail.com
วันที่เปิดร้าน 01-09-2552 วันหมดอายุ 01-09-2569

 

การชำระเงิน (Payment)

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี
กสิกรไทย สำเหร่
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
032-2-93420-3
ออมทรัพย์
กรุงไทย บางบัวทอง
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
121-0-28494-4
ออมทรัพย์
กรุงเทพฯ งามวงศ์วาน
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
917-004262-7
ออมทรัพย์

ทางเรายังมีบริการ

  • รับบริการติดตั้งระบบเว็บไซต์/ร้านค้าสำเร็จรูปในราคาประหยัด
  • บริการ รับฝากเวปไซต์สำหรับ ลูกค้าองค์กร หรือ บุคคล ที่กำลังมองหาพื้นที่ฝากเวปไซต์ที่มี คุณภาพดี ความเร็วสูง ใช้งานง่าย และ ราคาไม่แพง ทางเราพร้อมดูแลเวปไซต์ของท่าน และให้คำปรึกษา และเครื่องที่เราเลือกใช้นั้น เป็นเครื่องที่ทำมาสำหรับเป็นเว็บเซิรฟ์เวอร์จริง ๆ (Web Hosting)
  • รับบริการติดตั้งร้านค้าพระเครื่องด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปภายใต้ Link Zoonphra.com ในราคาประหยัดเพียงปีละ 1500 บาทเท่านั้น
  • รับบริการปรึกษางานเขียนโปรแกรม,ทำโปรเจคปริญญาตรี,วิทยานิพนธ์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาใกล้เคียง

ติดต่อเราได้ที่ วีรพงศ์ พรหมมนตรี (อ้น ระโนด)0816414009,029243140 หรือ บริษัท แทคทิแด็ล ไอที 165/91 ซ 26 หมู่บ้านสินบดี ต. พิมลราช อ บางบัวทอง จ. นนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11110 จังหวัด นนทบุรี

รับบริการติดตั้งระบบเว็บไซต์/ร้านค้าพระ Online ในราคาประหยัด






วัตถุมงคล: พระเครื่องเมืองชุมพร
เหรียญพระพุทธสวีประชานาถ วัดพะงุ้น อำเภอสวี ชุมพร
31-01-2555 เข้าชม : 7229 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] เหรียญพระพุทธสวีประชานาถ วัดพะงุ้น อำเภอสวี ชุมพร
[ รายละเอียด ] เรื่องเล่าหรือตำนานเมืองชุมพร

เรื่องเล่าหรือหรือตำนานเมืองชุมพร
๑ วัดพระธาตุสวี


เรื่อง คุณครูสุนีย์ จุนเจือ

ภาพ คุณครูกิตติพงศ์ พันธ์เมือง



อีกวันหนึ่งซึ่งยังอยู่ในช่วงที่โรงเรียนปิดภาคปลาย นายสมานกับนางพรจันทร์ รักษาพันธุ์ พ่อและแม่ของเด็กหญิงโสภี รักษาพันธุ์ ได้นำกระบะตอนครึ่งมาที่บ้านของคุณตาเกื้อบุญกับคุณยายสะอาด บานเย็น เพื่อจะชวนคุณตาและคุณยายไปนั่งรถเที่ยวดูสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในจังหวัดชุมพร ซึ่งคุณตาเกื้อบุญก็เต็มใจ จุดแรกคุณตาเกื้อบุญบอกให้นายสมานขับรถไปที่วัดพระธาตุสวี
และระหว่างที่ยังอยู่ในรถคุณตาเกื้อบุญได้บอกเล่าที่มาของคำว่า พระบรมธาตุสวี ดังนี้
“เดิมทีพระธาตุสวีชื่อพระธาตุกาวีปีก”




“วี” แทนคำว่าโบก พัด หรือกระพือ... เป็นภาษาใต้” คุณตาเกื้อบุญตอบ
“แล้วกามาจากไหนคะ ทำไมถึงมากระพือปีก?”
“มีบันทึกไว้ในหนังสือเก่า ๆ ของชุมพรว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๙๐๓ กองทัพ อโยธยา ได้กรีฑาทัพมาตีอาณาจักรไทศรีธรรมราช ในสมัยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชที่ ๘ เมื่อมาถึงเมืองกำเนิดนพคุณ ปรากฏว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชที่ ๘ ได้ยกทัพมารอรับ จึงเกิดการรบพุ่งกัน...”

“เมื่อเสร็จสงคราม พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชที่ ๘จึงยกทัพกลับ ขณะที่พักรี้พลอยู่ในเขตพระธาตุสวี เป็นที่ตั้งวัดร้าง มีเจดีย์โบราณชำรุดปรักหักพัง มีกาฝูงหนึ่งกำลังกระพือปีก และส่งเสียงร้องเซ็งแซ่ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช จึงเดินทอดพระเนตรสำรวจบริเวณนั้น พบว่ามีกาเผือกรวมอยู่ด้วยตัวหนึ่ง และเมื่อให้ทหารรื้อกองอิฐของเจดีย์ที่หักพังออก ก็พบว่าใต้ซากเจดีย์มีผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ”



“หนูสงสัยว่า แล้วคนสมัยนั้นรู้ได้อย่างไรว่า อันไหนเป็นอัฐิหรือพระธาตุของพระพุทธเจ้า หรือว่าไม่ใช่?”
“เขามีวิธีดู มีวิธีพิสูจน์ มีตำราเขียนไว้ แต่ตาดูไม่เป็นหรอกได้แต่ว่าตามเขา” คุณตาเกื้อบุญตอบ

“ลูกโสเคยอ่านตำนานการสร้างพระธาตุเมืองนครมาแล้วใช่ไหม?” นายสมานถามลูกสาว
“หนูเคยอ่าน แต่จำไม่ค่อยได้แล้วค่ะ” โสภีตอบยิ้ม ๆ
“งั้นพ่อจะบอกว่า พระนามของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช มีหลายพระองค์ เหมือนกับในกรุงศรีอยุธยา ที่มีคำว่า สมเด็จพระรามาธิบดี... แล้วต่อด้วยลำดับที่ ๑-๒- ๓ -๔...

ทีนี้ประวัติการสร้างพระธาตุที่เมืองนคร ตำนานบอกไว้ว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช แสดงว่าองค์นี้เป็นองค์แรก ที่เป็นผู้บูรณะเจดีย์พระธาตุนคร หรือพูดง่าย ๆ ก็คือว่าสร้างพระธาตุขึ้นมาใหม่ แทนของเดิมที่มีพระสงฆ์และชาวบ้านสร้างขึ้น หลังจากที่เหมชาลาและธนกุมาร ผู้นำพระธาตุหนีข้าศึกมาจากศรีลังกา ไม่สามารถจะนำพระธาตุกลับไปสู่บ้านเมืองได้ จึงได้สร้างสถูปบรรจุพระสารีริกธาตุไว้ที่หาดทรายแก้ว แล้วกลับไปแต่ตัว



“ตามประวัติว่า พระธาตุนครยุคแรก ๆ มีลักษณะเป็นเหมือนสถูปหรือมูลดิน พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช จึงทรงสร้างเจดีย์ใหม่ครอบของเดิมให้เป็นเจดีย์ยอดแหลม มีฐานเป็นรูประฆังคว่ำ ข้างบนเป็นปล้อง ๆ มีปลียอดเป็นทองคำ อย่างที่เห็นในปัจจุบัน นี่เป็นผลงานของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชองค์ที่ ๑ แล้วองค์ต่อ ๆ มาก็ช่วยกันดูแลจนมาถึงองค์ที่ ๘ ที่สร้างพระธาตุสวี”

พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชที่ ๘ จึงสั่งให้ระดมกำลังทหาร ทำอิฐเผาบูรณะเจดีย์จนเสร็จเรียบร้อย จึงนำพระบรมสารีริกธาตุเข้าบรรจุไว้ แล้วจัดงานฉลองสมโภช และประทานนามเจดีย์นั้นว่า “พระบรมธาตุกาวีปีก” ต่อมาคำว่า ปีก ถูกตัดหายไป จึงเรียกว่า “พระธาตุกาวี” ต่อมาอีกประมาณปี พ.ศ.๒๓๗๕ ได้มีเมืองตั้งขึ้นใหม่ชื่อเมืองสวี ขึ้นต่อเมืองชุมพร จึงได้เรียกชื่อพระธาตุแห่งนี้ตามชื่อเมือง เป็นพระบรมธาตุสวี”


๒ บ้านพะงุ้น

ที่อำเภอสวีมีวัดชื่อแปลก ๆ เช่น
“วัดพะงุ้น เป็นวัดเก่าแก่ดั้งเดิมของอำเภอสวี เดิมเรียกว่า วัดกะหงุ่น ตามชื่อของลำคลองกะหงุ่น เหตุที่เรียกว่า กะหงุ่น เพราะมีกะหงุ่นอยู่ตามลำคลอง”



“กะหงุ่นคืออะไรคะ?”โสภีถาม
“กะหงุ่นมีลักษณะคล้ายจอมปลวก ดินเป็นสีขาว ผุดโผล่ขึ้นพ้นน้ำเวลาน้ำลด ชาวบ้านถือว่าเป็นขอ ง กายสิทธิ์ และเชื่อกันว่ามีขุมทรัพย์อยู่ มีลายแทงกล่าวเป็นปริศนาไว้ คำว่า พะงุ้น เป็นคำที่เรียกกันตอนหลัง”
“ที่สวียังมีเรื่องเล่าแบบตำนานอีกเรื่อง คือเรื่องชื่อบ้านหินสามก้อน อยู่ที่ตำบลท่าหิน อำเภอสวี ที่ปากบ่อมีหินอยู่สามก้อน ว่ากันว่าที่ก้นบ่อไม่ลึกนักมีไหกระเทียมใส่ทองคำวางอยู่ ปากไหใช้ผ้าผูกไว้ มีเรื่องเล่าว่า ถ้าใครขุดบ่อเพื่อจะเอาไหทอง ผ้าที่ผูกไหจะกลายเป็นปลิง ทำให้ไม่มีใครกล้าไปขุดบ่อน้ำนี้ แม้ถึงหน้าแล้งที่บ่อน้ำอื่น ๆ แห้งหมด แต่บ่อน้ำนี้จะไม่แห้ง”




๓. บ้านเขาวอ




“เอ่อ คำว่า “เขาวอ” มันมีที่มาอย่างไรครับ?” นายสมานพ่อของโสภีถาม
“อ๋อ บ้านเขาวอ อยู่ในตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน สมัยโบราณการเดินทางใช้สัตว์เป็นพาหนะและต้องเดินทางผ่านป่าเป็นส่วนใหญ่ ครั้งหนึ่งได้มีพระมหากษัตริย์เสด็จผ่านมา พร้อมด้วยไพร่พลมากมาย การเสด็จนี้พวกไพร่พลต้องขนทองคำไปด้วย การเสด็จและการขนทองคำในครั้งนั้น ใช้วอซึ่งเป็นที่ประทับ และเป็นที่ใส่ทองคำรวมสามหลัง เมื่อเสด็จผ่านหมู่บ้านแห่งหนึ่งเกิดอาเพท วอทั้งสามเล่มร้าว ยอดวอหัก แล้วก็มาพบถ้ำโพรงถ้ำที่ภูเขาลูกหนึ่ง พระราชาจึห้ทหารเอาวอและทองคำไปฝังไว้ในถ้ำนั้น ขณะเดียวกันเสบียงอาหารก็หมดลง ไพร่พลอดอาหารเสียชีวิต แล้วยังเกิดมีหินก้อนใหญ่เล็กตกลงมาปิดปากถ้ำจนแน่นสนิท และไม่มีผู้ใดสามารถขุดหาเอาทองคำเหล่านั้นได้ จนถึงปัจจุบันเขาลูกนั้นต่อมาจึงได้ชื่อว่า เขาวอ”



๔ วนอุทยานเขาพาง
นายสมานพ่อของโสภีมาจอดรถที่ วนอุทยานเขาพาง ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของตำบลหาดพันไกร อยู่บริเวณรอยต่อระหว่างอำเภอเมืองชุมพรกับอำเภอท่าแซะ ห่างจากตัวเมืองชุมพร ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร
นายสมานจอดรถใต้ร่มไม้ โสภีสีมา และนางพรจันทร์ ออกเดินเที่ยวชมบริเวณอุทยานเขาพาง ภายในวนอุทยานร่มรื่นไปด้วยต้นไม้นานาพรรณ นกหลายชนิด และสัตว์ป่าขนาดเล็กจำนวนมาก ด้านหน้ามีสิ่งก่อสร้างเป็นซุ้มประตูวนอุทยาน
บนภูเขาพางมีลานกว้างสำหรับให้พวกนักกีฬาร่มร่อน มาใช้เล่นร่มร่อนในฤดูร้อน กับเป็นที่ตั้งของสถานีถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ ช่อง ๗ มีถนนให้คนเดิน รถจักรยานยนต์วิบากและรถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อขึ้นไปได้




๕. บ้านรับร่อ


“วัดที่เรากำลังไป เป็นวัดสำคัญของจังหวัดชุมพร มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญในอดีต คือการเผยแพร่พุทธศาสนาของเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช และสงครามเก้าทัพในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นที่ตั้งของเมืองเก่าชื่อเมืองอุทุมพร ซึ่งเป็นเมืองร่วมสมัยกับเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ. ๑๙๒๓ ภายในบริเวณถ้ำพมีพระพุทธรูป เป็นพระประธานอยู่ปากถ้ำ เรียกว่า พ่อปู่หลักเมือง”ตามตำนานและนิทานพื้นบ้าน เชื่อกันว่า บริเวณรอบๆ เขารับร่อเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ ชื่อเมืองอุทุมพร ร่วมสมัยกับเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งสร้างโดยพระเจ้าศรีธรรมโศกราช
“คนชุมพร เรียกว่า “พ่อปู่หลักเมือง” และวัดชื่อว่า วัดเทพเจริญศุภผล ปัจจุบันจึงเหลือเพียงชื่อ “วัดเทพเจริญ” หรือชาวบ้านเรียก “วัดถ้ำรับร่อ”



“เขาว่าในถ้ำรับร่อมีทรัพย์สมบัติซ่อนอยู่จริงหรือ?” นายสมานถามคุณตาเกื้อบุญ
“ถ้าให้ตาออกความเห็นตาค่อนข้างเชื่อว่า หลายจังหวัดทางภาคใต้ มีสมบัติล้ำค่าสมัยโบราณซุกซ่อนอยู่ ไม่ว่าสงขลา นครศรธรรมราช ภูเก็ต และชุมพร เพียงแต่เรายังค้นหาไม่พบเท่านั้น สมบัติพวกนี้บางส่วนเป็นของพวกโจรสลัด บางส่วนเป็นของพ่อค้าชาวต่างชาติ และบางส่วนเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน ต่างบ้านต่างเมือง ที่ถ้ำรับร่อก็มีตำนานว่าอยู่ในถ้ำพระและถ้ำไอ้เต”

ข้อมูลจาก: การสำรวจเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548



“ถ้ำพระนี้บางทีชาวบ้านเรียกว่าถ้ำทะเลเซียะ ตามชื่อคลองทะเลเซียะที่ไหลผ่านหน้าภูเขาทาง
ทิศใต้ โดยไหลไปรวมกับคลองรับร่อและคลองรับร่อจะไหลลงไปบรรจบกันกับคลองท่าแซะตรงบ้านปากแรกปัจจุบัน มีเรื่องเล่าว่า …
“เมื่อเสร็จจากการสร้างพระพุทธรูปหลักเมืองแล้ว มีทรัพย์สินเงินทองที่ชาวบ้านนำมาร่วม
สร้างคงเหลืออีกมากมาย จึงนำไปฝังไว้ที่ถ้ำอีกถ้ำหนึ่งที่อยู่ใกล้เคียงกัน แล้วเขียนรูปพระพุทธทางทิศใต้ของภูเขาไสยาสน์ลงสีไว้ที่ผนังถ้ำ ชาวบ้านเล่าลือต่อมาว่า ภาพปริศนานั้นสร้างไว้เพื่อจะได้เฝ้าสมบัติ ซึ่งเรียกกันว่า "ไอ้เต" จะลบเท่าใดก็ไม่หมด หลายต่อหลายครั้งมีผู้รู้เท่าไม่ถึงการ เอาผ้าชุบน้ำมาทดลองลบสี นอกจากนี้ยังมีคำเป็นปริศนาลายแทงว่า



"ไอ้เต ไอ้เต เอาลูกใส่เปล เอาตีนคาใน น้ำมันสองขวด ค่อยนวดค่อยไป ผู้ใดคิดได้ อยู่ในไอ้เต"
“มีผู้เชื่อตามลายแทงมาขุดหาสมบัติในถ้ำหลายครั้ง ปรากฏว่ายังไม่มีผู้ใดได้ไป เพราะเมื่อมาขโมยขุดก็มักจะเกิดเหตุอัศจรรย์ โดยถูกงูขาวใหญ่ไล่กัดบ้าง ถูกเสียงลึกลับไล่ตะเพิดบ้าง เมืองอุทุมพรที่ท่าแซะสมัยนั้นจึงน่าจะเป็นเมืองชุมพร หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดในปัจจุบันพบว่าแหล่งโบราณคดีเขารับร่อ มีมนุษย์อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้พบเครื่องมือขวานหินขัดและเศษภาชนะดินเผาในถ้ำต่างๆ ภายในภูเขารับร่อ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้มีมนุษย์อยู่อาศัยมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒,๐๐๐ ปี
“แล้วคำว่า “รับร่อ” ละคะ มีที่มาอย่างไร?” โสภีถาม




“คือ เมื่อตอนพม่ายกกองทัพเข้ามาทำสงครามกับไทย ฝ่ายพม่าต้องการเข้าไปในถ้ำพระปู่หลักเมือง พม่าได้ขุดหาทองใต้ฐานพระ แต่จะด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ทหารพม่าเกิดเจ็บไข้ล้มตายไปมาก จากนั้นทหารพม่าก็เดินทางมารอทัพที่ภูเขาไม่ไกลจากที่นี่ และใช้ใบตะลังตังช้าง ปูนอน เกิดอาการคันอย่างรุนแรง จึงคิดว่าไทยมีของศักดิ์สิทธิ์ที่น่าเกรงขาม ตอนที่ทหารพม่าเข้ามา มาทางปากน้ำชุมพร มารอทัพอยู่ที่หมู่บ้านนี้ จึงเรียกว่า “บ้านทัพรอ” ต่อมาได้เพี้ยนไปเป็นบ้านรับร่อ”



๖. วัดเขาถล่ม
“ตอนเราออกจากชุมพรทางตำบลวังไผ่เมื่อเช้า ผมมองเห็นป้ายชื่อวัดและโรงเรียนวัดเขาถล่ม คำว่า “เขาถล่ม” หมายถึงภูเขาพังลงมาใช่ไหมครับ
“ใช่ ในอดีตภูเขาเคยถล่มลงมา มีเรื่องเล่าว่า มีงูใหญ่ ๒ ตัวเฝ้าถ้ำวัดเขาถล่มอยู่ ในถ้ำเคยมีหลวงปู่แดงอาศัยอยู่ด้วย วันใดหลวงปู่แดงออกไปบิณฑบาต ท่านจะสั่งให้งูใหญ่ทั้งสองเฝ้าถ้ำไว้จนกว่าท่านจะกลับ วันหนึ่ง ท่านลืมสั่ง งูใหญ่ทั้งสองจึงได้ออกจากถ้ำไปอาละวาดกับราษฎร เมื่องูใหญ่เลื้อยออกจากถ้ำ ทำให้ถ้ำบางส่วนทรุดถล่มลงมา เมื่อหลวงปู่แดงกลับมาพบ ท่านจึงสั่งให้งูใหญ่ทั้งสองเข้าไปอยู่ในถ้ำ อย่าออกไปไหนอีก
“วัดเขาถล่ม อยู่ในเขตตำบลวังไผ่ อำเภอเมืองชุมพร ปัจจุบันที่หน้าถ้ำมีรูปงูใหญ่ที่เป็นหินเฝ้าอยู่ ส่วนหลวงปู่แดงก็จำศีลภาวนาต่อมาจนเป็นหินอยู่ด้วย”

๗. วัดคูขุด(วัดสุวรรณนที)
“ยังมีอีกวัดครับที่ผมสงสัย คือวัดคูขุด หรือวัดสุวรรณนที ทำไมจึงได้ชื่อวัดคูขุดละครับ” นายสมานถามต่อ


“คุณตาเกื้อบุญเล่าว่า “สมัยเมื่อพม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาได้เข้ามาประชุมทัพอยู่ที่เมืองชุมพร เกิดรบกับชาวชุมพรและพม่าเป็นฝ่ายชนะ จึงได้จับชาวชุมพรมัดมือมัดเท้า พร้อมกันนั้นก็ขุดคลอง ก่อนจับชาวชุมพรจะเอาไปเผาทั้งเป็น แต่เกิดปรากฎการณ์ประหลาดคือ เกิดพายุและฝนตกหนักที่เกาะจำเหียง บนเกาะมีถ้ำแห่งหนึ่ง ปากถ้ำอยู่ใกล้ระดับน้ำ เมื่อฝนตกและมีพายุ ทำให้น้ำเกิดเป็นคลื่นกระทบเข้าไปในถ้ำ ทำให้เกิดเสียงดังคล้ายเสียงปืนใหญ่ยิงมา ทัพพม่าคิดว่าทางเมืองหลวงส่งกำลังมาช่วย ก็พากันหนีกลับไป โดยไม่ทันได้เผาชาวชุมพร คลองที่พม่าขุดไว้จึงได้ชื่อว่า คูขุด และเมื่อสร้างวัดขึ้น ณ ที่นั้นจึงให้ชื่อว่า วัดคูขุด”

๘. บ้านสลุยและบ้านวังครก
“ผมสงสัยชื่อ “บ้านสลุยและบ้านวังครก”




“บ้านสลุย อยู่ติดต่อกับเขตแดนพม่า มีช่องทางเดินถึงกันได้เรียกว่า ช่องทัพต้นไทร เป็นที่พักแรมของทหารไทยที่ไปรักษาเขตแดน มีการเตรียมเสบียงอาหาร และตั้งฉางข้าวไว้ระหว่างทาง และได้จัดเกณฑ์ชาวบ้านมาตำกับข้าวไว้เลี้ยงทหารไทย ชาวบ้านได้นำครกตำข้าว ที่ทำด้วยไม้เป็นจำนวนมากมาช่วยตำข้าว วันหนึ่งขณะที่ตำข้าวอยู่นั้น กองรักษาด่านทัพต้นไทรบอกมาว่า มีทหารพม่าจำนวนมากยกทัพมา ชาวบ้านตกใจพากันวิ่งหนีไป ทิ้งสากตำข้าวจำนวนมากไว้ที่บริเวณนั้น ภาษาชาวบ้านเรียกสากที่มีจำนวนมาก ๆ ว่า “สากลุย” หมายถึงมีสากทิ้งอยู่เยอะ และพื้นที่ดังกล่าวต่อมาได้ตั้งเป็นหมู่บ้านเรียกว่า “หมู่บ้านสากลุย” ต่อมาเพี้ยนเป็นสลุย จนทุกวันนี้
ส่วนครกตำข้าว เห็นว่าถ้าทิ้งไว้จะเป็นประโยชน์แก่ข้าศึก ชาวบ้านจึงช่วยกันนำครกทั้งหมดไปทิ้งในคลองท่าแซะ ครกลอยไปตามลำคลองจนถึงวังน้ำวน ก็ลอยวนอยู่ในวังน้ำนั้น ไม่ไปไหน หมู่บ้านที่ครกมาลอยวนอยู่ก็กลายเป็นบ้านวังครกในปัจจุบัน”

“วันนี้เรารบกวนคุณตามามาก คุณตาคงจะเหนื่อยแย่แล้ว งั้นเอาไว้โอกาสหน้าผมจะมาพาคุณตาไปทางบ้านหาดทรายรี พอดีโสภีเขาอยากจะไปดูอนุสาวรีย์ยุวชนทหารที่บ้านท่านางสังข์ ที่เกิดขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และฟังตำนานบ้านท่านางสังข์”
[ ราคา ] ฿800
[ สถานะ ] มาใหม่
[ติดต่อเจ้าของร้านทะเลสาบพระเครื่อง] เบอร์โทรศัพท์ : 081-6414009,02-9243140(อ้น ระโนด) line ID weerapong07
 


วัตถุมงคล: พระเครื่องเมืองชุมพร
เหรียญหลวงพ่อแดง วัดดอนเมือง จ.ชุมพร เนื้อทองแดง ปี 2522
เหรียญหลวงพ่อเขียว วัดผุสดีภูผาราม
เหรียญหลวงพ่อเขียน วัดโพธิ์ อ.หลังสวน รุ่นแรก เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญพระพุทธประธานในโบสถ์ หลังอาจารย์คง ยโสธโร เนื้อทองแดง
เหรียญปรกใบมะขามหลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน รุ่นแรก ปี ๒๕๓๗ เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อมุม วัดนาสัก จ.ชุมพร  รุ่น 2  ปี 2520 เนื้อทองแดง สภาพสวยมาก
เหรียญหลวงพ่อคล้อยหลังหลวงพ่อแดง วัดถ้ำเขาเงิน ปี 34 เนื้อทองแดงผิวไฟ
รูปหล่อหลวงพ่อขำ วัดประสาทนิกร
เหรียญหลวงพ่อขืน วัดแหลมยาง จ.ชุมพร รุ่นสร้างโบสถ์ เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อจร วัดท่ายาง ชุมพร รุ่น 2  เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อตาบ วัดแหลมโตนด รุ่นแรก ปี 2519 เนื้อทองแดง
เหรียญพระครูอาทรธรรมวัตร วัดประสาทนิกร หลังสวน ชุมพร ปี 2524
เหรียญหลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน ปี 36 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน รุ่นหลังยันต์นะสำเร็จ  ปี 38
เล่าสู่กันฟังตอน เหรียญหลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน ปี ๒๕๐๘ เนื้อทองแดงกะหลั่ยทอง
ศึกษาเหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อมูม วัดนาสัก ปี 2519 เนื้อนวโลหะ ออกวัดบ้านนา
เหรียญพระพุทธสวีประชานาถ วัดพะงุ้น อำเภอสวี ชุมพร
พระสมเด็จสีชมพูหลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน หลังสวน จ. ชุมพร
เหรียญหลวงพ่อใส วัดเทพเจริญ รุ่น 2 ปี 20 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อใส วัดเทพเจริญ รุ่นแรกเนื้อทองแดง สวยมาก
เหรียญหลวงพ่อใส วัดเทพเจริญ รุ่นแรก เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อจีด วัดถ้ำเขาพลู รุ่นสอง  ปี ๒๔๙๗  เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อมุม วัดนาสัก รุ่นแรก กะไหล่เงิน
เหรียญหลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน รุ่นแรก สวยมาก

หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  บทความ  เที่ยวเมืองสองทะเล  คุณธรรมและจริยธรรม  ผู้ดูแล
Copyright©2025 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด