หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  โขง ชี มูล  :  พระธาตุนาดูน  :  พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
KCM Shop/ร้านโขงชีมูล
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 152 คน
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา : KCM Shop/ร้านโขงชีมูล

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า KCM Shop/ร้านโขงชีมูล
ชื่อเจ้าของ Dr. Weraphan Prommontre / ดร.วีรพันธ์ พรหมมนตรี (ดร.วี)
รายละเอียด Sale thai amulet as well as share information and knowledge about Thai amulet to interesting persons particularly foriegners./ให้บูชาพระเครื่องและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องในเรื่องประวิติเกจิ
เงื่อนไขการรับประกัน เก๊คืนเต็มจำนวน หากคืนพระในสภาพเดิม ภายใน 7 วัน คืน 100 % ภายในสองสัปดาห์ คืน 75 % ภายใน 1 เดือน คืน 50 % / Refund schedule with in 7 days 100 % , with in 14 days 75 % , with in 30 days 50 %
ที่อยู่ 165/91 ซ 26 หมู่บ้านสินบดี ต. พิมลราช อ บางบัวทอง จ. นนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11110
เบอร์ที่ติดต่อ KCM Shop/ร้านโขงชีมูล โชว์
E-mail eon_werapong123@hotmail.com
วันที่เปิดร้าน 01-10-2552 วันหมดอายุ 01-10-2569

โขง-ชี-มูล แม่น้ำสายอารยธรรมแห่งที่ราบสูงอีสาน  

        "อีสาน" เป็นดินแดนที่ราบสูงที่มีพื้นที่กว้างขวางที่สุดของประเทศไทย ดินแดนแห่งนี้ถูกโอบล้อมด้วยเทือกเขาสูงจากด้านทิศตะวันตก ต่อเนื่องไปยังด้านทิศใต้ และมีเทือกเขาจากตอนกลางของภูมิภาคพาดขวางอยู่ด้านทิศตะวันออก

          เหนือที่ราบสูงแห่งนี้ มีแม่น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงผืนแผ่นดินรวม 3 สาย คือ แม่น้ำมูล จากเทือกเขาด้านตะวันตก แม่น้ำชี จากตอนกลางของภูมิภาค และ แม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแม่น้ำนานาชาติที่ไหลมาจากประเทศจีน แม่น้ำสายหลักของอีสานทั้ง 3 สายนี้ ไหลมาบรรจบกันที่ตอนล่างของภูมิภาค คือที่ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า "อุบลราชธานี" เป็นเมืองแม่น้ำแห่งเดียวของที่ราบสูงอีสาน

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

โลโก้
ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี
กสิกรไทย
สำเหร่
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
032-2-93420-3
ออมทรัพย์
กรุงไทย
บางบัวทอง
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
121-0-28494-4
ออมทรัพย์





วัตถุมงคล: พระเครื่องยอดนิยมทั่วไป
เหรียญพระชัยหลังช้าง ภ.ป.ร. ปี 2530
24-10-2555 เข้าชม : 60236 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] เหรียญพระชัยหลังช้าง ภ.ป.ร. ปี 2530
[ รายละเอียด ] ประวัติความเป็นมาของพระชัยที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบ ย้อนหลังไปถึงสมัยอยุธยา พระเดชพระคุณพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม) แห่งวัดอัมพวัน เล่าไว้ถึงที่มาของพระพุทธชัยมงคลคาถา พาหุงฯ ๘ บท และพระชยปริตร มหาการุณิโกฯ ควบคู่กับพระราชประเพณีอัญเชิญพระชัยหลังช้างไปในราชการสงคราม ว่ามีมาตั้งแต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยจะทรงอัญเชิญพระชัยไปในราชการสงคราม กู้บ้านกู้เมืองเป็นปกติ หากเสด็จทางสถลมารคก็จะอัญเชิญพระชัยขึ้นประดิษฐานบนหลังช้าง จึงได้ชื่อว่าพระชัยหลังช้าง

ในขณะที่ในพระชัยในยุครัตนโกสินทร์มีที่มาจากพระราชจริยาวัตรในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงบูชาพระพุทธรูปประจำพระองค์นี้มาตั้งแต่ยังทรงเป็นสามัญชน ครั้นขึ้นป็นแม่ทัพก็จะอาราธนาพระชัยขึ้นหลังช้างโดยเสด็จราชการสงครามกู้แผ่นดินเป็นปกติเช่นกัน กลายมาเป็นพระราชประเพณีสร้างพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลสืบมา

ด้วยประวัติความเป็นมาดังกล่าวย่อมเป็นที่น่าศรัทธาน่าสักการะพระชัยเพื่ออานิสงส์แห่งความมีชัยชนะนัก หากแต่เดิมประชาชนทั่วไปยากที่จะเข้าถึงเข้าสักการะบูชาพระชัยได้ ด้วยพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลทุกองค์จะประดิษฐานอยู่ ณ หอพระสุราลัยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง

"เหรียญพระชัยหลังช้าง" เหรียญดังพิธีดีอีกเหรียญหนึ่งที่หยิบยกมากล่าวถึง เป็นเหรียญที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ แห่งวัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร ในนามคณะสงฆ์ได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้น สืบเนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ในปี พ.ศ.2530

เป็นเหรียญปั๊มด้านหน้าเป็นรูปพระชัยวัฒน์ที่เรียกกันว่า "พระชัยหลังช้าง" ด้านหลังเป็นพระปรมาภิไธยย่อ "ภปร." มีอักษรปรากฏบนเหรียญว่า "5 ธันวาคม 2530" และ "คณะสงฆ์สร้างในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ"

"เหรียญพระชัยหลังช้าง" เป็นเหรียญดีเพราะพิธีการจัดสร้างเปี่ยมด้วยความศักดิ์สิทธิ์ ทั้งเจตนาการจัดสร้างเพื่อนำรายได้จากการบริจาคบูชานั้น ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2530 ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร มีพระเกจิอาจารย์ดังปลุกเสกมากมาย ประการสำคัญยิ่ง เหรียญพระชัยหลังช้าง มีสมเด็จพระสังฆราชถึง 2 พระองค์ ปลุกเสก นั้นคือ สมเด็จพระสังฆราช (วาส) วัดราชบพิธฯ และสมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ที่ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ.2532

และ"เหรียญพระชัยหลังช้าง"มีสมเด็จพระราชาคณะที่ร่วมปลุกเสกอีก คือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา สมเด็จพระวันรัต วัดโสมนัสวิหาร สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปทุมคงคา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศ เมื่อครั้งยังเป็นที่พระพรหมคุณาภรณ์

แล้วยังมีพระเกจิอาจารย์ดังแห่งยุคนั้น อาทิ หลวงพ่อแพ แห่งวัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี พระมหาวีระ ถาวโร (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) วัดท่าซุง หลวงพ่อชื้น วัดญาณเสน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง พระอุดมสังวรเถร (อุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม จังหวัดกาญจนบุรี พระครูฐาปนกิจสุนทร (เปิ่น) วัดบางพระ จังหวัดนครปฐม หลวงปู่ม่น วัดเนินตาหมาก จังหวัดชลบุรี พระครูเกษมธรรมนันท์ (แช่ม) วัดดอนยายหอม พระครูปริมานุรักษ์ (พูล) วัดไผ่ล้อม จังหวัดนครปฐม

ที่สำคัญ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง ท่านเคยกล่าวไว้กับลูกศิษย์ของท่านว่า เหรียญพระชัยหลังช้างนี้เป็นเหรียญที่มีพุทธานุภาพดีมากๆ

กล่าวสำหรับพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์รัชกาลปัจจุบันนี้ มีความเป็นมาสืบเนื่องจากราชประเพณีหล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล เริ่มเมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีพระราชดำริว่า พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำพระองค์ที่เชิญไปในราชการศึกสงคราม ซึ่งเรียกกันว่า "พระชัยหลังช้าง" นั้น ได้เชิญไปประดิษฐานหน้าพุทธบัลลังก์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เพราะเป็นพระพุทธรูปคู่บารมีมาด้วยกัน จึงขาดพระพุทธปฏิมาสำหรับถวายสักการะ ณ พระราชมณเฑียร จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ขึ้นแทน ถวายพระนามว่า พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล

ในรัชกาลต่อมา เมื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ถือเป็นราชประเพณีที่จะต้องหล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์สืบมาทุกรัชกาล

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493 ยังไม่ได้สร้างพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล ในการพระราชพิธีจึงต้องเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช เป็นพระพุทธรูปประธานในงานพระราชพิธี ครั้น พ.ศ.2495 เสด็จพระราชดำเนินกลับจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มาประทับพระนคร พ.ศ.2506 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาลตามราชประเพณี และโปรดเกล้าฯ ให้ นายพิมาน มูลประมุข เป็นช่างปั้นหุ่นพระพุทธรูป

พระเครื่องและเหรียญที่ระลึกที่มีพระปรมาภิไธยย่อ "ภปร" ประดิษฐานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้า หรือด้านหลัง ถือว่าเป็นสิ่งมงคลที่น่าเก็บสะสมบูชาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเหรียญพระพุทธรูปของ วัดต่างๆ ที่มีตรา ภปร.ประดิษฐานอยู่ด้านหลังนั้นมีอยู่จำนวนมากเช่นกัน

หลายๆ รุ่นมีพิธีการสร้างที่เข้มขลัง และมีพุทธศิลป์ที่งดงามอย่างยิ่ง ดั่งเช่นเหรียญพระพุทธ หรือเหรียญพุทธคุณ พระปรมาภิไธยย่อ ภปร.ที่เรียกขานกันว่า "เหรียญพระชัยหลังช้าง" สร้างโดยคณะสงฆ์ทั้ง 2 นิกายในปีมหามงคลเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 5 ธ.ค.2530 "เหรียญพระชัยหลังช้าง" มีเนื้อทองคำ, เนื้อเงิน, เนื้อกะไหล่ทอง

มูลเหตุที่นำรูป พระชัยหลังช้างมาจัดสร้างเพื่อเทิดพระเกียรติล้นเกล้าทั้งสอง พระองค์ ด้วยเห็นว่าพระชัย (หลังช้าง) เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง คู่บุญญาบารมีของปฐมกษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ ควรที่ประชาชนจะมีไว้สักการบูชา เพราะเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในพระองค์

ดังเช่น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น) อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา กรุงเทพฯ ได้ลิขิตไว้ว่า"เหรียญพระชัยหลังช้าง" "หากอยู่กับบ้านก็คุ้มบ้าน หากอยู่กับตัวก็คุ้มตัว" และเพื่อเป็นการยืนยันคำพูดดังกล่าว ท่านจึงได้จัดพิมพ์หนังสือเรื่อง "ปรากฏการณ์อันน่าพิศวงเกี่ยวด้วยเหรียญพระชัย (หลังช้าง)" ขึ้น โดยรวบรวมเรื่องราวจากผู้ที่ได้รับประสบการณ์จากเหรียญนี้มากมายหลายท่าน

เหรียญพระชัยหลังช้าง ความเป็นมาของ "พระชัยวัฒน์" เดิมมีพระนามว่า "พระชัย" หรือ "พระไชย" ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ออกพระนามเพิ่มว่า "พระไชยวัฒน์" และได้เปลี่ยนพระนามมาเป็น "พระชัยวัฒน์" ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ รัชกาลปัจจุบัน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร มีฉัตรปรุ 5 ชั้นปักกั้น หน้าตักกว้าง 7 นิ้ว สูงจากทับเกษตรถึงยอดพระรัศมี 9 นิ้ว มีพัดแฉกหล่อด้วยเงินปักข้างหน้า ที่ฐานมีคำจารึก ซึ่งเป็นต้นแบบในการนำมาสร้าง เหรียญพระชัยหลังช้าง

ผู้ใดมีเหรียญนี้รุ่นใดรุ่นหนึ่งอยู่แล้ว ก็ขอให้รับรู้ถึงความพิเศษยิ่งของพระชัยหลังช้าง ขออย่าลืมเลือนในคุณค่าสุดวิเศษยิ่งในมือ ขอจงสักการะบูชาให้ซึ้งถึงดวงใจอย่างภาคภูมิ สมดังพระราชปณิธานแห่งองค์สมเด็จพระปฐมบรมมหากษัตริยาธิราชเจ้า จอมบดินทร์ปิ่นสยาม มหาราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่สะท้อนกู่ก้องประดุจสีหนาทบันลือด้วยตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์ นิราศท่าดินแดงว่า

....ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา
ป้องกันขอบขันธสีมา รักษาประชาชนและมนตรี...

หมายเหตุ

     เหรียญพระชัยหลังช้างหลวงปู่ศรีปลุกเสกปี 2530 (ปลุกเสกหมู่พิธีใหญ่ที่วัดพระแก้ว) วันนั้นครูบาอาจารย์ท่านมากันเยอะมากหลวงปู่ศรีท่านเป็นพระที่นอบน้อมถ่อมตนท่านเลยไม่กล้าปล่อยพลังไปเยอะเกรงว่าจะเป็นการข้ามหน้าข้ามตาครูบาอาจารย์ท่านอื่น(จากคำบอกเล่าของพระลูกศิษย์ใกล้ชิด) ด้วยความรู้สึกที่ว่ายังไม่เต็มที่และไม่เป็นที่น่าพอใจ ท่านจึงได้ขอบูชามาจากวัดพระแก้วจำนวน 1,000 เหรียญ และนำมาปลุกเสกเดี่ยวใหม่อีกครั้งที่วัดป่ากุงปลุกเสกนานถึง 2 ชั่วโมงเต็มๆ พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร บูชาไปแจกทหาร 200 เหรียญปรากฎว่ามีประสบการณ์กับทหารหาญมากมายพระชัยหลังช้างของหลวงปู่ 1 องค์คุ้มครองทหารได้ถึง 6 คน เป็นที่รู้กันดีและต้องการในกลุ่มลูกศิษย์ลูกหาเป็นอย่างมาก ***แต่ข้อเสียคือเหมือนกับที่แจกวัดพระแก้วมิได้ตอกโค๊ตเพิ่มหรือทำให้แตกต่างเลยยากต่อการแยกแยะ หากท่านได้พระชัยหลังช้างที่ออกจากวัดป่ากุงจริงจะมีพุทธคุณสูงส่งมากๆ ครับ ***

[ ราคา ] ฿350
[ สถานะ ] มาใหม่
[ติดต่อเจ้าของร้านKCM Shop/ร้านโขงชีมูล] เบอร์โทรศัพท์ : KCM Shop/ร้านโขงชีมูล โชว์
 


วัตถุมงคล: พระเครื่องยอดนิยมทั่วไป
เหรียญหลวงพ่อคง วัดป่าขาด รุ่นแรก เนื้อทองแดง
พระสมเด็จ วัดผ่องนภาราม จ.พิษณุโลก เนื้อผงน้ำมัน
พระร่วงหลัง รางปืน วัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม ปี 15 เนื้อเหลือง พิมพ์เจดีย์นูนนิยม
เหรียญพระชัยหลังช้าง ภ.ป.ร. ปี 2530
เหรียญในหลวง 3 รอบ ปี ๒๕๐๖ อนุสรณ์มหาราช. เนื้ออัลปาก้า
พระกริ่งพุทธทักษิณมิ่งมงคล วัดเขากง รุ่นแรก พ.ศ.2511 เนื้อเงิน
พระพุทธชินราช ใบเสมา เนื้อผง รุ่น พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก สร้างปี 2515
พระสมเด็จวัดประสาท ปี 06 พิมพ์พระครูลมูล เนื้อนิยม
สมเด็จปรกโพธิ์ วัดประสาท ปี 06
ตำหนิจุดชี้ขาด เหรียญพระพุทธชินราช อินโดจีน 2485 พิมพ์สระอะจุด
พระกริ่งโสฬส มปร. ปี15 วัดราชประดิษฐ์ เนื้อทองเหลืองรมดำ
พระกริ่งโสฬส มปร. วัดราชประดิษฐ์  ปี 15 เนื้อทองเหลืองรมดำ
พระกริ่งโสฬส มปร. วัดราชประดิษฐ์ ปี 2515 กรรมการ
เหรียญโล่ห์ใหญ่ เสาร์ ๕ พ.ศ. 2516 หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค

หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  โขง ชี มูล  พระธาตุนาดูน  พระมหาเจดีย์ชัยมงคล  ผู้ดูแล
Copyright©2024 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด