วัตถุมงคล: พระเคื่องเมืองกระบี่,ภูเก็ต
รูปเหมือนหลวงปู่สิงข์ วัดแก้วโกรวาราม จ.กระบี่ รุ่นแรก ปี 25 30-08-2554 เข้าชม : 12095 ครั้ง |
| [ ชื่อพระ ] รูปเหมือนหลวงปู่สิงข์ วัดแก้วโกรวาราม จ.กระบี่ รุ่นแรก ปี 25 | [ รายละเอียด ] รูปเหมือนหลวงปู่สิงข์ จ. กระบี่ รุ่นแรก ปี 25 สภาพสวยมากสร้างน้อยหายาก
ประวัติพระราชสุตกวี (สิงห์ จนทาโก)
นามเดิม สิงห์ นามสกุล นบนอบ เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 12 มีนาคม 2436 ณ บ้านทูขนาน หมู่ที่ 2 ตำบลปกาสัย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ บุตรของนางพริ้ม นายชู มีพี่น้องรวม 4 คน ถึงแก่กรรมหมดแล้ว คือ 1.นายเผือ นบนอบ 2.พระราชสุตกวี 3.นายแปลก 4.ผู้หญิงจำชื่อไม่ได้ เพราะเสียชีวิตเมื่ออายุได้ประมาณ 1 ขวบ เนื่องจากโยมบิดาเป็นผู้ใหญ่บ้านที่คงแก่เรียนและลุงของท่านเป็นปราชญ์ภาษาขอมได้เปิดสอนหนังสือไทยแก่คนในหมู่บ้านเป็นประจำท่านจึงคลุกคลีอยู่กับการเรียนการสอนหนังสือไทยตั้งแต่อายุ 3-4 ขวบ เมื่ออายุได้ 7 ขวบจึงเริ่มเรียนหนังสือไทย อายุได้ 11-12 ขวบ ท่านสามารถอ่านเขียนภาษาไทยและคิดเลขบวกลบได้ ต่อมาทางราชการเปิดโรงเรียนประชาบาลขึ้นที่บ่อพอ (วัดธรรมาวุธสรณาราม) ตำบลปกาสัย โยมบิดาได้ให้ท่านเข้าเรียนโดยต้องเดินทางเท้าเปล่าไปกลับวันละ 14 กม. เศษ เรียนอยู่ 4 ปี สอบไล่ได้ชั้นสูงสุดของโรงเรียน (ป.3) เมื่ออายุ 18 ปี ได้คะแนนเป็นที่หนึ่งของจังหวัดที่โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล ต่อมาทางราชการได้บรรจุให้ท่านเป็นครูช่วยสอนที่สถานศึกษา เดิมของท่านคือที่โรงเรียนวัดบ่อพอ อยู่ 2 ปี จึงลาออกบรรพชา เมื่ออายุ 19 ปี (พ.ศ.2455) วัดบ่อพอ ตำบลปกาสัย โดยมีพระสมุห์กิ่ม พุทฺธรกฺขิโต วัดแก้วฯ เป็นพระอุปัชฌาย์บวชสามเณรแล้ว พระอุปัชฌาย์ได้ขอให้ไปอยู่วัดแก้วฯ เพื่อช่วยเขียน (คัด) จดหมายการคณะสงฆ์ (งานเลขานุการ) ขณะเดียวกันท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมและสมัครเข้าเรียนชั้น ม.1 ในโรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดแก้วฯด้วย เรียนอยู่ได้ปีเศษสมัครสอบไล่ แต่สอบตกเนื่องจากภาระกิจของท่านมากไม่มีเวลาเรียน ในปีนั้นประชาชนบ้านปกาสัยได้นิมนต์สามเณรสิงห์กลับไปอยู่ปกาสัยอีก ท่านจึงกลับไปสอนหนังสือไทยแก่ประชาชนที่วัดปกาสัยอยู่ 2 ปี จึงอุปสมบท เมื่อวันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม 2457 ณ วัดบ่อพอ ได้ฉายาว่า "จนฺทาโภ" โดยมีพระครูธรรมวุธวิศิษฐ์ (กิ่ม) เจ้าคณะจังหวัดกระบี่เป็นพระอุปัชฌาย์เมื่ออุปสมบทแล้วพระอธิการหอมแก้ว เจ้าอาวาสวัดปกาสัยขอให้ท่านไปอยู่ปฏิบัติศาสนกิจและสอนหนังสือไทย ที่วัดปกาสัยต่อไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากที่โรงเรียนวัดบ่อพอมีนักเรียนเพิ่มขึ้น ขาดครูสอน ทางราชการจึงขอให้ท่านไปสอนหนังสือเนื่องจากท่านต้องเดินทางวันละ 14-15 กม. ระหว่างวัดปกาสัยกับโรงเรียน ท่านจึงขออนุญาตเจ้าอาวาสปกาสัยไปอยู่วัดบ่อพออีกครั้ง ต่อมาโยมมารดาบิดาญาติผู้ใหญ่และพระเถระให้ความเห็นว่าถ้าไม่ลาสิกขาออกไปรับราชการ ก็น่าจะไปศึกษาพระปริยัติธรรมเพิ่มเติมเพื่อจะได้อยู่เป็นหลักพุทธศาสนาต่อไป ท่านจึงกลับไปอยู่วัดแก้วฯอีกครั้งเมื่อพ.ศ.2460 ในปีแรกที่ไปอยู่ท่านศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้เป็นที่ 1 ของสนามสอบคณะจังหวัด (เนื่องจากหลักสูตรและการสอบธรรมสนามหลวงยังไปไม่ถึงจังหวัดกระบี่ในขณะนั้น) พระอุปัชฌาย์เห็นแววว่าในอนาคต ท่านจะเป็นกำลังหลักของพระศาสนาในจังหวัดกระบี่ จึงส่งท่านไปศึกษาที่กรุงเทพฯอยู่วัดวิเศษการ อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรีได้ 3 ปี แล้วย้ายไปอยู่วัดดุสิตารามอีก 10 ปี ในระยะเวลาที่อยู่กรุงเทพฯ ท่านเข้าศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักวัดมหาธาตุ จังหวัดพระนคร สามารถสอบเปรียญธรรม 6 ประโยคได้ เมื่อพ.ศ.2469 และสอบนักธรรมเอกได้ เมื่อ พ.ศ.2472 ท่านคงมุมานะศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป แต่พระครูธรรมาวุธวิศิษฐ์เจ้าคณะจังหวัดกระบี่ และพระยาอิศราธิชัย (หมี ณ ถลาง) เจ้าเมืองกระบี่ได้ขอให้ท่านกลับไปปฏิบัติศาสนกิจที่จังหวัดกระบี่ ท่านจึงเดินทางกลับจังหวัดกระบี่ เมื่อ พ.ศ.2473 หน้าที่การงาน ด้านการปกครอง 28 พฤษภาคม 2474 เป็นผู้รั้งตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดกระบี่ 15 กรกฎาคม 2477 เป็นพระอุปัชฌาย์ 17 กรกฎาคม 2477 เป็นเจ้าคณะจังหวัดกระบี่ 6 พฤศจิกายน 2477 เป็นเจ้าอาวาสวัดแก้วโกรวาราม 1 พฤษภาคม 2485 เป็นหัวหน้าพระวินัยธร ภาค 8 จนตลอดอายุการใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ 2484 ด้านการศึกษา พระราชสุตกวี เป็นพระผู้ฝักใฝ่ในการเรียนการสอนมาตั้งแต่เยาว์วัย เช่นเคยเป็นครูมาก่อนบรรพชา ดังนั้นเมื่อได้เป็นผู้บริหารการคณะสงฆ์จังหวัดกระบี่ ท่านจึงพัฒนาการศึกษาพระปริยัติธรรมทันที เช่นเปิดสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลีขึ้นที่วัดธรรมาวุธสรณาราม (วัดบ่อพอ) เมื่อ พ.ศ.2483 แต่เนื่องจากจังหวัดกระบี่เป็นถิ่นทุรกันดารจึงหาครูสอนได้ยากยิ่ง แม้ท่านเองก็มีงานด้านอื่นๆที่ต้องรับผิดชอบอีกมาก การศึกษาบาลีจึงหายไป ท่านมีตำแหน่งทางด้านการศึกษา ดังนี้ พ.ศ.2467 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและบาลีวัดดุสิตาราม จังหวัดธนบุรี พ.ศ.2474 เป็นกรรมการสอบ/ตรวจธรรมสนามหลวง พ.ศ.2474 เป็นเจ้าสำนักเรียน วัดแก้วโกรวาราม งานด้านเผยแผ่ เมื่อครั้งเป็นสามเณร ท่านได้เทศนาอยู่เป็นประจำทุก ๆ วันพระท่านจะเทศน์ทำนองเรียบ ๆ โดยพยายามรักษาแบบแผนและอักขรวิธี แต่ที่จัดว่าเป็นยอดนักเผยแผ่คือท่านปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างในฐานะผู้เผยแผ่อย่างดีเยี่ยม จึงเป็นที่เลื่อมใสและยอมรับแก่ผู้พบเห็นทุกคน ตั้งแต่ พ.ศ.2475-2515 รวม 40 ปี ตลอดเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคมหรือก่อนเข้าพรรษา 45 วัน ท่านจะจาริกไปเป็นพระอุปัชฌาย์ในท้องที่จังหวัดกระบี่ โดยไปค้างแรมอยู่วัดละ 1-2 วัน ท่านใช้โอกาสนี้เทศนาสั่งสอนประชาชนโดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยการเดินทางไปแต่ละท้องที่ต้องเดินเท้าไประยะทางถึง 20-30 กม. หรือวันละ 6-7 ชั่วโมงสำหรับที่วัดแก้วฯ นั้นท่านจะแสดงพระธรรมเทศนาในวันธรรมสวนะเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละ 1-2 ครั้งจนมรณภาพ กรมการศาสนาได้ยกวัดแก้วฯ ขึ้นเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างระดับจังหวัดเมื่อ พ.ศ.2509 และได้รับเกียรติบัตรและพัดพัฒนาดีเด่นด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติดีเด่นเมื่อ พ.ศ.2526 การจัดผลประโยชน์ในที่ดินวัดแก้วฯ เนื่องจากวัดตั้งอยู่ใจกลางเมืองกระบี่พื้นที่ด้านตะวันออกประมาณ 71 ไร่ เดิมวัดอนุญาตให้ประชาชนเช่าที่ปลูกบ้านเข้าอยู่อาศัยประมาณ 50 ครัวเรือนหรือประมาณ 250 คน ส่วนใหญ่เป็นคนยากจน การปลูกบ้านเรือนอยู่บางจุดกลายเป็นแหล่งเสื่อมโทรม (สลัม) ต่อมาเมื่อทางราชการได้ยกฐานะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ทางวัดได้นำปัญหาราษฎรเช่าที่วัดอยู่อาศัยขณะนั้น (พ.ศ.2515-2520) มีรายได้เดือน 700 บาทเศษ ซึ่งไม่คุ้มกับสภาพแหล่งเสื่อมโทรม ที่ขยายตัวออกไปในพื้นที่ของวัดทุก ๆปี พระราชสุตกวีจึงเสนอแผนผังวัดและขออนุมัติกันเขตต่อกรมการศาสนาเมื่อได้รับอนุมัติโครงการ และสัญญาจากกรมการศาสนาแล้วท่านจึงเริ่มดำเนินการพัฒนาวัดโดยเฉพาะพื้นที่เสื่อมโทรมโดยประกาศหาผู้ลงทุนอยู่ปีเศษในที่สุด นายชวน ภูเก้าล้วน บริษัทศรีผ่องพาณิชย์จำกัด เป็นผู้ขันอาสาเข้ามาดำเนินการพัฒนาที่ดินด้วยความเมตตากรุณาต่อประชาชนตามแผนของพระราชสุตกวี การอพยพผู้คนออกจากที่จึงเป็นไปอย่างสันติ ทั้งนี้ด้วยเมตตาบารมีแห่งพระราชสุตกวีโดยแท้ เพราะการให้ราษฎรออกจากที่ดินที่ตนอยู่อาศัยไปอยู่ที่แห่งใหม่นั้น เป็นงานที่ทำได้ยาก แม้ระดับรัฐบาลก็ทำสำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้าง ผลการตัดสินใจของท่านในครั้งนั้น ทำให้ที่ดินวัดบริเวณนั้นในอดีตกลายเป็นย่านธุรกิจการค้าที่เชิดหน้าชูตาจังหวัดกระบี่อยู่ทุกวันนี้ งานอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า นับตั้งแต่ท่าปกครองวัดเป็นต้นมางานสำคัญอย่างหนึ่งคืองานอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า ดังนั้นวัดแม้จะอยู่ใจกลางเมืองจึงยังคงมีป่าไม้เบญจพรรณอยู่อีกไม่น้อยกว่า 80 ไร่ สัตว์ป่า เช่นตะกวด, กระรอก, อีเห็น, กระจงและนานาชนิด ยังคงได้อาศัยป่าวัดอยู่อย่างสุขสบาย ด้วยเหตุนี้ กรมการศาสนาจึงถวายเกียรติบัตรและพัดพัฒนาดีเด่นด้านอนุรักษ์ธรรมชาติแด่พระราชสุตกวีเมื่อพ.ศ.2526 สมณศักดิ์ 6 พฤศจิกายน 2477 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระสุตาวุธกวี 5 ธันวาคม 2502 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระราชสุตกวี การสาธารณสงเคราะห์ โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูลหรือโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดเริ่มก่อตั้งขึ้นในวัดแก้วฯ จนถึง พ.ศ. 2485 หรือประมาณ 20 จึงย้ายออกไปจากวัดในช่วงระยะที่โรงเรียนอยู่ในวัดได้รับความอนุเคราะห์อย่างดียิ่งจากพระราชสุตกวี ระหว่าง พ.ศ.2475-2510 หรือประมาณ 30-35 ปี จังหวัดกระบี่มีโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดอยู่แห่งเดียวคือโรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล เด็กต่างอำเภอที่เรียนมัธยมได้อาศัยวัดแก้วฯเป็นที่พำนัก ทุกคนได้รับความอนุเคราะห์จากท่านอย่างดี ศิษย์วัดแก้วฯในช่วงนั้นจึงมีปีละประมาณ 50-70 คน เนื่องในวาระจังหวัดกระบี่มีอายุครบ 100 ปี เมื่อ พ.ศ.2515 ท่านได้อนุญาตให้ทางราชการจัดทำเหรียญ (รูปเหมือนของท่านและพระครูธรรมาวุธวิศิษฐ์) จำนวนสองเหมือนเหรียญเพื่อให้ประชาชนเช่าบุชาเหรียญละ 20 บาท โดยทางราชการนำรายได้ส่วนหนึ่งไปจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ขนาดโตกว่าองค์จริง 1 เท่าครึ่งประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางให้ประชาชนได้เคารพบูชาจนถึงทุกวันนี้ และอีกส่วนหนึ่งมอบให้วัดแก้วฯ นำไปใช้จ่ายในพิธีพระราชเพลิงศพพระครูธรรมาวุธวิศิษฐ์อดีตเจ้าคณะจังหวัดกระบี่ มรณภาพ ท่านอาพาธด้วยโรคเนื้องงอกในกระเพาะปัสสาวะได้เข้าผ่าตัดและฉายรังสีที่โรงพยาบาลสงฆ์กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ.2519 โดยการอภิบาลอย่างดียิ่งของนายแพทย์สมบูรณ์ ลีนานนท์ อาการปัสสาวะขัดหรืออาการปัสสาวะไม่ออกหายไปสุขภาพของท่านดีเป็นปกติ จนถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2528 ท่านรู้สึกเหนื่อยหอบ และอ่อนเพลียมาก คณะศิษย์จึงนำส่งโรงพยาบาลสงฆ์ กรุงเทพฯ เข้าพักห้องพิเศษตึกอาพาธ 4 จนถึงวันที่ 23 กันยายน 2528 เช้าวันนั้น ท่านตื่นเวลา 05.00 น. เศษแล้วออกไปเดินตามระเบียงตึกอย่างที่เคยปฏิบัติเป็นประจำทุก ๆ วันแล้วกลับเข้ามาฉันเภสัชและอาหารเช้าตามปกติ เวลาประมาณ 08.00 น. เศษ ท่านเอนกายจำวัดในท่าตะแคงขวาใช้มือขวารับศีรษะ แขนซ้ายทอดไปตามร่างกายแล้วจะลุกขึ้นนั่งเพื่อรอแพทย์ พยาบาลที่จะเข้ามาถวายโอสถและรับญาติโยมที่นำภัตตาหารไปถวายจนกระทั่งเวลา 10.00 น.เศษ พระครูสมุห์สันติ สุเมโธ ผู้อุปัฏฐากเห็นว่าท่านพักเลยเวลาพอสมควรประกอบกับมีดยมมารอถวายภัตตาหารอยู่ ได้เข้าไปปลุกจึได้ทราบว่าท่านได้มรณภาพไปแล้วในช่วงเวลา 09.00-10.00 น. ของวันที่ 23 กันยายน 2528 นั่นเองโดยที่พระและฆราวาสที่อุปักฐากอยู่ในห้องตลอดเวลาไม่ได้เห็นอาการผิดปกติ (จากท่าจำวัด) ในการมรณภาพเลย ท่านถือกำเนิดจากตระกูลพุทธมามกะผู้คงแก่เรียนจึงส่งผลให้ท่านเป็นผู้เคร่งครัดพระวินัย ใฝ่ศึกษา อดทนและเมตตาตระหนักในคารวธรรม มาตั้งแต่เยาว์วัยท่านใช้ชีวิตปฐมวัยด้วยการศึกษาเล่าเรียนและอุทิศเวลาส่วนหนึ่งสอนภาษาไทยให้กับผู้อื่นด้วยความเมตตากรุณา เมื่ออุปสมบทได้ 5 พรรษา ท่านสามารถตัดสินใจมอบกายถวายชีวิตแด่พระรัตนตรัย จึงศึกษาพระปริยัติด้วยอิทธิบาทและขันติธรรม สัมฤทธิผลเป็นพระเปรียญธรรมรูปแรกของจังหวัดกระบี่ แต่การศึกษายังมิได้ทันถึงขั้นสูงสุด ด้วยความกตัญญูต่อพระอุปัชฌาย์และมาตุภูมิ ท่านจึงต้องกลับไปรับภาระธุระพระศาสนา ที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นถิ่นทุรกันดารด้อยพัฒนาแห่งหนึ่งในยุคนั้น 55 ปีแห่งการบริหารการคณะสงฆ์ จังหวัดกระบี่ท่านมีหลักในการทำงานคือ งานทุกอย่างต้องไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย แม้เพียงเล็กน้อย มุ่งทำงานเพื่องาน ส่วนลาภยศสรรเสริญสุขเป็นผลพลอยได้ทั้งนั้น ต้องสันโดษอดทนตระหนักในคารวธรรมและเมตตากรุณา ด้วยเหตุผลนี้จึงยังผลงานการพระศาสนาท้งด้านรูปธรรมนามธรรมให้เกิดแก่ชาวกระบี่อย่างมากมหาศาล นับเป็นการสนองพระบรมราชโองการแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ที่ปรากฎในสัญญาบัตรในการสถาปนาพระราชาคณะชั้นราชแด่พระรชสุตกวีเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2502 ตอนหนึ่งว่า"......ขอพระคุณจงรับธุระพระพุทธศาสนา เป็นภาระสั่งสอนช่วยระงับอธิกรณ์และอนุเคราะห์พระภิกษุสามเณรในอารามโดยสมควร. | [ ราคา ] ฿2,500 [ สถานะ ] ขายแล้ว
[ติดต่อเจ้าของร้านทะเลสาบพระเครื่อง] เบอร์โทรศัพท์ : 081-6414009,02-9243140(อ้น ระโนด) line ID weerapong07 | |
|
วัตถุมงคล: พระเคื่องเมืองกระบี่,ภูเก็ต |
| |
|