หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  โขง ชี มูล  :  พระธาตุนาดูน  :  พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
KCM Shop/ร้านโขงชีมูล
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 71 คน
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา : KCM Shop/ร้านโขงชีมูล

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า KCM Shop/ร้านโขงชีมูล
ชื่อเจ้าของ Dr. Weraphan Prommontre / ดร.วีรพันธ์ พรหมมนตรี (ดร.วี)
รายละเอียด Sale thai amulet as well as share information and knowledge about Thai amulet to interesting persons particularly foriegners./ให้บูชาพระเครื่องและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องในเรื่องประวิติเกจิ
เงื่อนไขการรับประกัน เก๊คืนเต็มจำนวน หากคืนพระในสภาพเดิม ภายใน 7 วัน คืน 100 % ภายในสองสัปดาห์ คืน 75 % ภายใน 1 เดือน คืน 50 % / Refund schedule with in 7 days 100 % , with in 14 days 75 % , with in 30 days 50 %
ที่อยู่ 165/91 ซ 26 หมู่บ้านสินบดี ต. พิมลราช อ บางบัวทอง จ. นนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11110
เบอร์ที่ติดต่อ KCM Shop/ร้านโขงชีมูล โชว์
E-mail eon_werapong123@hotmail.com
วันที่เปิดร้าน 01-10-2552 วันหมดอายุ 01-10-2569

โขง-ชี-มูล แม่น้ำสายอารยธรรมแห่งที่ราบสูงอีสาน  

        "อีสาน" เป็นดินแดนที่ราบสูงที่มีพื้นที่กว้างขวางที่สุดของประเทศไทย ดินแดนแห่งนี้ถูกโอบล้อมด้วยเทือกเขาสูงจากด้านทิศตะวันตก ต่อเนื่องไปยังด้านทิศใต้ และมีเทือกเขาจากตอนกลางของภูมิภาคพาดขวางอยู่ด้านทิศตะวันออก

          เหนือที่ราบสูงแห่งนี้ มีแม่น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงผืนแผ่นดินรวม 3 สาย คือ แม่น้ำมูล จากเทือกเขาด้านตะวันตก แม่น้ำชี จากตอนกลางของภูมิภาค และ แม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแม่น้ำนานาชาติที่ไหลมาจากประเทศจีน แม่น้ำสายหลักของอีสานทั้ง 3 สายนี้ ไหลมาบรรจบกันที่ตอนล่างของภูมิภาค คือที่ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า "อุบลราชธานี" เป็นเมืองแม่น้ำแห่งเดียวของที่ราบสูงอีสาน

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

โลโก้
ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี
กสิกรไทย
สำเหร่
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
032-2-93420-3
ออมทรัพย์
กรุงไทย
บางบัวทอง
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
121-0-28494-4
ออมทรัพย์





วัตถุมงคล: พระเครื่องเกจิอาจารย์สายอีสาน
เหรียญหลวงพ่อผาง รุ่นศูนย์การแพทย์อนามัย อ.ประทาย ปี 19 เนื้ออัลปาก้ากะหลั่ยทองแจกกรรมการ
17-02-2555 เข้าชม : 9083 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] เหรียญหลวงพ่อผาง รุ่นศูนย์การแพทย์อนามัย อ.ประทาย ปี 19 เนื้ออัลปาก้ากะหลั่ยทองแจกกรรมการ
[ รายละเอียด ] เหรียญหลวงพ่อผาง รุ่นศูนย์การแพทย์อนามัย อ.ประทาย จ.นครราชสีมา สร้าง 12 กุมภาพันธ์ 2519 เนื้ออัลปาก้ากะหลั่ยทองแจกกรรมการ เป็นเหรียญที่ศูนย์การแพทย์อนามัย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ขออนุญาติจัดสร้าง ขึ้นเป็นกรณีพิเศษเมื่อ 2519 เหรียญรุ่นนี้ก็มีคนตามเก็บกันมากครับ เพราะเจตนาการสร้างบริสุทธิ์และออกแบบเหรียญได้สวย ราคาก็ไม่แพงหลักร้อยแก่ๆหรือพันกว่าๆหากเป็นเหรียญสวยๆกะหลั่ยทองเต็มๆ
ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต ตำบลนางาม อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น นามเดิมของท่านชื่อ ผาง ครองยุต เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2445 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 2 ค่ำ เดือนเก้า ปีขาล ที่บ้านกุดเกษียร ตำลบกุดเกษียร อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

โยมบิดาชื่อ ทัน โยมมารดาชื่อ บับพา ครองยุต มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 3 คน คนแรกเป็นหญิงชื่อ บาง ชึ่งบวชเป็นชีอยู่ที่วัดอุดมงคงคาคีรีเขต คนที่สองชื่อ คำแสน ส่วนตัวหลวงปู่เป็นคนสุดท้อง โยมบิดาและมารดามีอาชีพทำนาเป็นหลัก

การศึกษาทางโลกของหลวงปู่มีความรู้สามัญชั้นประถมปีที่ 4 หลวงปู่มีอุปนิสัยรักความเป็นธรรม ถือความสัตย์ พูดจริงทำจริง รักธรรมชาติ ชอบความสงบ เมตตาสัตว์มีแนวความคิดสร้างสรรค์ และชอบทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม

เมื่อหลวงปู่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาตามประเพณีลูกผู้ชายชาวไทย ได้ศึกษาพระธรรมวินัยมีความรู้พอสมควร ต่อมาเมื่อออกพรรษาจึงได้ลาสิกขาจากสมณเพศมาประกอบสัมมาอาชีพ

หลังจากได้ลาสิกขาแล้ว ก็ได้สมรสกับนางจันดี ตามประเพณี ได้ครองเรือนมาด้วยกันอย่างราบรื่นเป็นเวลานานหลายปีโดยไม่มีบุตรสืบสกุล จึงได้ขอบุตรของญาติพี่น้องมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมชื่อ นางบุญปราง ครองยุต

เมื่อครั้งยังอยู่ในเพศฆราวาส หลวงปู่เป็นคนขยัน เอาจริงเอาจังกับการงานได้ประกอบสัมมาอาชีพโดยช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา บางครั้งก็เป็นพ่อค้าเรือใหญ่บรรทุกข้าวจากแม่น้ำมูลไปขายตามลำน้ำชีน้อย บางครั้งก็เป็นพ่อค้าวัว นำวัวไปขายที่เขมรต่ำหลวงปู่ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการสร้างฐานะให้แก่ครอบครัว

หลวงปู่ผางได้ใช้ชีวิตในเพศฆราวาสเป็นเวลานาน สามารถรอบรู้เหตุการณ์ที่ผ่านมาพิจารณาดูความเปลี่ยนแปลงของชีวิตและหมูสัตว์ทั้งหลายบรรดามีในโลก เมื่อเกิดมาแล้วต่างก็สับสนวุ่นวายแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นเป็นที่เดือดร้อยไม่สุดสิ้น หลวงปู่คงจะได้สั่ง สมบุญบารมีมามากทำให้ท่านมองเห็นความไม่แน่นอนและความไม่มีแก่นสารในชีวิต ทำให้จิตใจของท่านโน้มเอียงไปในทางแห่งความสงบ ท่านได้ทำทานเป็นการใหญ่ โดยได้ให้เกวียน วัว บ้าน ไร่ นา แก่ผู้อื่น สละทุกสิ่งทุกอยางจนหมดสิ้น

๏ ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

หลังจากที่หลวงปู่ในเพศฆราวาสได้บริจาคทาน วัว ควาย ไร่ นา และบ้านเรือน ให้แก่ผู้อื่นจนหมดทั้งสิ้นแล้ว ก็หมดห่วงและได้หันหน้าเข้าหาพระธรรม ดังนั้นเมื่ออายุได้ราว 43 ปี จึงได้ชวนกันกับภรรยาออกบวช ภรรยาได้บวชเป็นแม่ชี ส่วนหลวงปู่ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในฝ่ายมหานิกาย ที่วัดบ้านกุดเกษียร อำเภอเขื่อนใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีท่านพระครูศรี (วัดคูขาด) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “จตฺตคุตฺโต”

หลังอุปสมบทหลวงปู่ผางได้เข้าศึกษาอบรมพระกรรมฐานอยู่ในสำนักวัดป่าวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กับพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม (เจ้าคุณพระญาณวิศิษฏ์) และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ต่อมาหลวงปู่จึงได้รับการญัตติเป็นธรรมยุต ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 โดยมีพระมหาอ่อน เจ้าคณะอำเภอเขื่องใน เป็นพระอุปัชฌาย์, พระมหาทราย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาจันทร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อหลวงปู่ผางได้รับการญัตติเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกายแล้ว ท่านก็ยังเข้ารับการอบรมพระกรรมฐานอยู่ในสำนักท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ต่อไปอีกเป็นเวลาอันสมควร แล้วจึงได้ออกปฏิบัติพระธุดงค์กรรมฐานไปปลีกวิเวกโดยลำพัง ต่อมาจึงได้พบกับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เกิดความเลื่อมใสศรัทธาได้กราบฝากตัวเป็นลูกศิษย์ และได้เข้าอบรมอยู่กับพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าบ้านเผือกนาใน อยู่เป็นเวลาอันสมควร

คืนหนึ่งหลวงปู่ได้นิมิตไปว่า ได้ขี่ม้าขาวไปทางจังหวัดขอนแก่น ได้เห็นสนานที่ต่างๆ เลยไปจนถึงอำเภอมัญจาคีรีแล้วม้าขาวก็หยุดให้ท่านลง รุ่งเช้าขึ้นท่านจึงได้ลาพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ออกธุดงค์ไปตามนิมิตนั้นทันทีหลวงปู่ผางได้ท่องเที่ยววิเวกไปแต่ผู้เดียวในป่าเขา จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นถิ่นทุรกันดารเป็นเวลาหลายปี

ต่อมาท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบรรลังค์ศิลาทิพย์ ตำบลบ้านแท่น อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น เป็นเวลาหลายปี จากนั้นหลวงปู่ได้ธุดงค์ต่อไปยังภูเขาผาแดง อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ได้พักแรมที่บ้านแจ้งทัพม้าและบ้านโสกน้ำขุ่น ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับวัดดูน ซึ่งเป็นบริเวณที่อุดมสมบูรณ์มีบ่อน้ำซึมที่ไหลออกมาตลอดปีมิได้ขาด วัดดูนแห่งนี้เป็นโบราณสถานเก่าแก่ ชาวบ้านแถบนั้นถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยมีพระมหาสีทน กาญฺจโน ซึ่งได้ออกธุดงค์มาพบเข้าจึงได้บูรณะขึ้นเป็นวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 ต่อมาพระมหาสีทนได้เปลี่ยนชื่อจากวัดดูนเป็นวัดอุดมคงคีรีเขต

ในปี พ.ศ. 2492 หลวงปู่ผางได้ธุดงค์มายังวัดอุดมคงคาคีรีเขต อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ท่านอยู่จำพรรษาที่นี่จนตลอดชีวิตของท่าน เมื่อแรกที่หลวงปู่มาอยู่ที่วัดแห่งนี้ บริเวณนั้นยังเป็นป่าดงดิบ มีสัตว์ป่าดุร้ายมาก เช่น เสือ ช้าง หมี งู ฯลฯ มีภูตผีปีศาจดุร้าย หลวงปู่ได้แผ่เมตตาจิตต่อสู้กับสัตว์ร้ายและภูตผีปีศาจ จนชาวบ้านในละแวกนั้นหายหวาดกลัว และสัตว์ร้ายก็หลบหนีข้ามเขาภูผาแดงไปหมด หลวงปู่ยังนิมิตเห็นโครงกระดูกของท่านแต่ชาติปางก่อนฝังอยู่บริเวณนั้นด้วย หลวงปู่เล่าไว้ว่า เมื่อแรกที่ท่านธุดงค์มาอยู่ที่วัดอุดมคงคาคีรีเขตนี้ ก็จำพรรษาอยู่กับพระมหาสีทนเพียงสององค์ ได้นำพาญาติโยมสร้างกุฏิขึ้นสองหลัง ศาลาพักฉันข้าวหนึ่งหลัง ทายกทายิกาประจำวัดที่ช่วยกันสร้างในตอนนั้น ได้แก่ นายผง บ้านโสกน้ำขุ่น นายหอม บ้านดอนแก่นเฒ่า และนายสม บ้านโสกใหญ่หลังจากนั้นต่อมาอีกสี่ห้าปี พระมหาสีทนก็ขอลาออกธุดงค์ไปทางภาคเหนือไม่กลับมาอีกเลย

หลวงปู่ผางเป็นผู้มีความสามารถในการพัฒนาทั้งทางด้านวัตถุและทางด้านจิตใจหลังจากที่หลวงปู่มาอยู่ที่วัดอุดมคงคาคีรีเขตได้ไม่นานนัก ก็ได้สร้างฝายกั้นน้ำสองสามแห่ง สร้างกุฏีทั้งสิ้น 52 หลัง สร้างโบสถ์ สร้างเจดีย์กู่แก้ว เจดีย์ถ้ำกงเกวียน และเจดีย์ใหญ่ สร้างศาลาใหญ่ สร้างสะพานคอนกรีตสามแห่งภายในวัด สร้างกำแพงรอบวัด จัดทำฌาปนสถาน จัดระบบสุขาภิบาล โดยสร้างถังประปาวางท่อน้ำ และจัดทำส้วมให้เพียงพอสร้างโรงอาหาร ศาลาฉัน โรงซักผ้าย้อมผ้า โรงไฟฟ้า เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2505 ถึง พ.ศ. 2507 ได้นำชาวบ้านโดยร่วมมือกับหน่วย กรป. กลางสร้างและพัฒนาเส้นทางแยกจากทางหลวงสายอำเภอมัญจาคีรี-แก้งคร้อ ไปยังวัดอุดมคงคาคีรีเขตเป็นถนนลงหินลูกรัง กว้าง 5 เมตร ยาว 12 เมตร

ทางด้านการศึกษาหลวงปู่ได้นำราษฎรสร้างโรงเรียนระดับประถมศึกษาชื่อ โรงเรียนอุดมคงคาคีรีเขต มีสาธารณะประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่หลวงปู่ได้เข้าไปช่วยเหลือเกื้อกูล และแม้แต่วัดของท่านก็ได้รับยกย่องจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่เริ่มต้นมาดีก็สำเร็จเรียบร้อยด้วยดีในบั้นปลาย

ในสมัยก่อนชาวบ้านแถวมัญจาคีรีนับถือภูตผีมาก แต่ละหมู่บ้านก็มีตูบตาปู่ (ศาลเจ้า) ไว้ประจำหมู่บ้านเพื่อกราบไหว้ เช่นสรวงบนบานบอกกล่าวขอความคุ้มครอง หลวงปู่ผางสั่งสอนชาวบ้านให้เลิกนับถือผีหันมานับถือพระรัตนตรัย แต่ชาวบ้านเกรงกลัวผีจะมาทำร้ายทำให้เกิดความลำบากไม่อาจเลิกนับถือผีได้ หลวงปู่มีอุบายอันชาญฉลาดเพื่อที่จะให้ชาวบ้านได้เห็นว่า พระรัตนตรัยย่อมมีอานุภาพมากกว่าผี ท่านจึงให้ชาวบ้านเผาตูบตาปู่ทิ้งเมื่อชาวบ้านำไม่กล้าเผา ท่านก็ให้กำลังใจชาวบ้านและบอกว่า ถ้าเจ้าปู่ เจ้าผี เจ้าของตูบตาปู่มีจริงให้เข้ามาดับไฟเอาเอง ชาวบ้านจึงได้กล้าเผา

บางครั้งเมื่อมีคนถามหลวงปู่ว่า เชื่อว่าผีมีจริงไหม หลวงปู่ก็จะตอบว่า เชื่อมาตั้งนานแล้ว เมื่อถามว่า หลวงปู่เคยเห็นผีไหม หลวงปู่ตอบว่า เคยเห็นอยู่บ่อยๆ และเมื่อถามว่า หลวงปู่คิดกลัวผีบ้านไหม หลวงปู่ตอบว่า กลัวอยู่เหมือนกัน เพราะผีพวกนี้มันพูดยากสอนยาก แล้วก็ถามว่า ผีมีรูปร่าง หน้าตาอย่างไร ผีพูดเป็นด้วยหรือ หลวงปู่ก็ตอบว่า ก็ที่กำลังนั่ง กำลังถามอยู่นี่แหละคือผีทั้งนั้นเลย

หลวงปู่ได้เข้ารับการตรวจสุขภาพทั่วไปที่โรงพยาบาลแพทย์ปัญญา เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 อายุได้ ผลตรวจปรากฏว่า สุขภาพทั่วไปดี ความดันโลหิตและชีพจรปกติ ตาเริ่มเป็นต้อกระจกอ่อนๆ ทั้งสองข้าง ผลเอ็กซเรย์ปอด คลื่นหัวใจเป็นปกติ ผลการตรวจเลือดพบว่าหน้าที่ของไต ตับ และระดับไขมันในเลือดปกติ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 หลวงปู่ได้ไปเข้ารับการตรวจอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากมีอาการแน่นท้อง จากการเอ็กซเรย์ระบบทางทางเดินอาหาร พบว่า หลวงปู่เริ่มเป็นมะเร็งที่กระเพาะอาหาร คณะแพทย์โรงพยาบาลแพทย์ปัญญาได้ถวายคำแนะนำให้รักษาโดยการผ่าตัด แต่หลวงปู่ไม่ยินยอม

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 หลวงปู่ได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเดิมอีก ด้วยอาการอ่อนเพลียเนื่องจากมีอาการเลือดออกในทางเดินอาหารและแพทย์ยังพบว่า มีอาการของกล้ามเนื้อหัวใจตาย หลวงปู่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลสลับกับไปพักที่บ้านคุณนายเข็มทอง โอสถาพันธุ์ จนกระทั่งวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2525 ทางคณะศิษย์จึงได้นิมนต์กลับวัดอุดมคงคาคีรีเขต หลังจากหลวงปู่กลับวัดได้ไม่กี่วัน ก็มีอาการอาเจียน ฉันอาหารและน้ำไม่ได้ ปัสสาวะน้อย และได้ละทิ้งขันธ์ไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2525

ก่อนมรณภาพไม่กี่วัน สังขารร่างกายของหลวงปู่ทรุดโทรมาก บรรดาศิษย์ต่างวิตกไปตามๆ กันและปลงใจว่า หลวงปู่ไม่รอดแน่ ยิ่งได้เห็นความเหน็ดเหนื่อยเมื่อล้าความทุกขเวทนาที่หลวงปู่ได้รับอย่างแสนสาหัส ศิษย์ทุกคนกลั้นน้ำตาไว้ไม่ได้ หลวงปู่ทราบดีในเรื่องนี้ จึงได้ตั้งปัญหาถามคณะศิษย์ที่คอยเฝ้าดูอาการอาพาธอยู่โดยรอบในขณะนั้น เพื่อเป็นการเตือนสติว่า “อยากเป็นไหมล่ะ อย่างนี้” ช่างเป็นคำถามที่ประทับใจเสียจริงๆ
[ ราคา ] ฿1200
[ สถานะ ] มาใหม่
[ติดต่อเจ้าของร้านKCM Shop/ร้านโขงชีมูล] เบอร์โทรศัพท์ : KCM Shop/ร้านโขงชีมูล โชว์
 


วัตถุมงคล: พระเครื่องเกจิอาจารย์สายอีสาน
ล็อคเก็ตหลวงปู่สรวง บายติ๊กเจีย เทวดาเดินดิน หลังจีวร ตะกรุด 3 ดอก รุ่นเสาร์ 5 ปี 2540
เหรียญเจ้าพ่อพญาแล เนื้อทองแดง ปี 2530 จ.ชัยภูมิ
เหรียญหลวงพ่อรอด วัดสว่างสำราญ รุ่นแรก เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงปู่นิล วัดป่าโกศลประชานิมิตร รุ่นแรก เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่พระครูวรพรตวิธาน วัดจุมพล ปี 18 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อผาง รุ่นศูนย์การแพทย์อนามัย อ.ประทาย  ปี 19 เนื้ออัลปาก้ากะหลั่ยทองแจกกรรมการ
เหรียญหลวงปู่ทองมา ถาวโร รุ่นฉลองอายุ ๗๕ ปี  พ.ศ. 18
พระกริ่งตั๊กแตนหลวงพ่อ เที่ยง วัดพระพุทธบาทเขากระโดง รุ่น ๑ บุรีรัมย์
เหรียญหล่อหลวงปู่ดี วัดโคกหินช้าง  รุ่นแรก พิมพ์ใหญ่ อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา
หลวงปู่เจียม อติสโย  วัดอินทราสุการาม (วัดหนองยาว)  ต.กระเทียม อ.สังขะ จ.สุรินทร์
ศึกษาเหรียญหลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล รุ่นแรก ปี 2509 บล็อกนิยม
เจ้าพ่อพญาแล ปี 21 เนื้อทองแดง มีโค๊ด บล็อคเงินและนวะ
เหรียญหลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง ที่ระลึกอายุครบ ๗ รอย ปี ๒๕๒๘
หลวงปู่เครื่อง สุภัทโท วัดสระกำแพงใหญ่
เหรียญหลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง รุ่นแรก ปี 2514 เนื้ออัลปาก้า
เหรียญหลวงพ่อนิโรธ  วัดจริญสมณกิจ ปี ๒๕๑๑
เหรียญหลวงปู่เครื่อง ธมฺมจาโร  วัดเทพสิงหาร รุ่นพิเศษ ปี 2520 พิมพ์เล็ก

หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  โขง ชี มูล  พระธาตุนาดูน  พระมหาเจดีย์ชัยมงคล  ผู้ดูแล
Copyright©2024 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด