[ รายละเอียด ] หลวง พ่อพลอย อโนโม วัดห้วยโก พระสุปะติปันโณแห่งอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ในอดีต ที่เป็นที่เคารพศรัทธาของในอำเภอและจังหวัดแม้แต่พ่อท่านคล้าย ก็ยังให้ความยกย่องและเคารพนับถือ
มูลเหตุแห่งการสร้างพระในปี2512เกิดจากความร่วมมือร่วมใจกันขึ้นที่จะสร้าง รูปพ่อท่านพลอย อโนโม ไว้ประดิษฐ์สถานเพื่อเป็นที่เคารพศรัทธาและเป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้านในสมัย นั้นด้วย จึงได้ดำเนินการที่จะจัดสร้างพระเครื่องรูปเหมือนพ่อท่านพลอยไว้เป็นสิริ มงคลและป้องกันอันตรายด้วยเนื่องจากเกิดความขัดแย้ง(ในด้านความคิดและนำไป สู้ปัญหาในด้านการเมือง)ซึ่งในพื้นที่ส่วนต่างๆของภาคใต้นั้นเอง และเมื่อดำเนินการในขั้นตอนต่างๆเป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงจัดพิธีพุทธาภิเศก ในปี2512นั้นเอง โดยนิมนต์เกจิอาจารย์ในจังหวัดต่างๆในนครศรี สุราษฎร์ และพัทลุง โดยมีรายนาม
พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา พัทลุง
พระอาจารย์คง วัดบ้านสวน พัทลุง
พระครูวิรัชพิทยาทร วัดกะเปา สุราษฎร์ธานี
หลวงพ่อแดง วัดหาดสูง นครศรี
หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก นครศรี
หลวงพ่อทอง วัดหน้าเขา นครศรี
และเกจิอาจารย์อีกหลายท่านในสมัยนั้น
โดยมี อ. จวง จันทร์ประเสริฐ เป็นเจ้าประกอบพิธีพราหมณ์
จัดพิธีพุทธาภิเศกขึ้นในพระอุโบสถวัดหลังเก่าวัดห้วยโกในสมัยนั้น ท่ามกลางเหตุต่างๆหลายเหตุไม่ว่าจากคำบันทึกไว้ของผู้ที่ร่วมในพิธีเกี่ยว กับวัดในสมัยนั้นอยู่ใกล้ค่ายที่ทำการของกลุ่มคอมมิวนิวส์ จึงได้ยกกองกำลังลงมาใกล้บริเวณที่ทำการพิธีพุทธาภิเศกสร้างความตกใจให้ชาว บ้านที่มาร่วมในพิธีและเมื่อได้ทราบความจริงแล้วว่ากลุ่มคอมมิวนิสต์ที่ยก กองกำลังเป็นเพียงเพื่อมาอารักขาและคุ้มกันหาใช่มาสร้างความตื่นตกใจ จึงจัดพิธีพุทธาภิเศกไปได้ด้วยดีตลอดคืน ครั้นเมื่อพิธีพุทธาใกล้จะเสร็จสิ้นลง ก็มีการทดสอบพุทธนุภาพของพระเครื่องจากกลุ่มคอมมิวนิสต์ที่ยกมาอารัก จึงเกิดความวุ่นวายขึ้นพอสมควรเนื่องจากพระเครื่องที่สร้างในครั้งนั้นคือ พระรูปหล่อโบราณหลวงพ่อที่ประกอบขึ้นจากตะกรุดเงินอันเป็นที่ทราบกันว่าหา ยากยิ่งหนักและเป็นที่ต้องการเสาะแสหวงหาของคนในพื้นอย่างมากจึงเหมือนกับจะ เป็นตำนานไปแล้วตอนนั้นได้มีการทดสอบพระรูปโบราณตามที่กล่าวขั้นต้นจึงทำให้ พระที่ยังไม่ทันบรรจุกริ่งหมดไปภายในพิธีในพริบตาเพราะทั้งชาวบ้านและกอง กำลังกลุ่มคอมมิวนิสต์ที่เห็นชัดในอนุภาพของพระเครื่องหลังจากทำการปลุกเสก เสร็จไปยังไม่ทันจะได้บรรจุกริ่ง อนึ่งสำหรับพระเครื่องวัตถุมงคลต่างจะขอแบ่งเป็น ที่สร้าง(หล่อ)ขึ้นที่วัดและที่สั่งจากโรงงาน 2กลุ่ม 1.พระรูปบูชาพ่อท่านพลอย จัดสร้างและเททองหล่อพร้อมกันกับพระรูปเหมือนองค์จริงที่ประดิษฐสถานไว้ที่วัดห้วยโก
จำนวนการสร้างนั้นไม่ถึง100องค์ มีขนาดหน้าตัก5นิ้ว 2.ระ รูปหล่อโบราณพ่อท่านพลอย เนื้อโลหะผสมกระแสพรายเงินทำการหล่อที่วัดพร้อมกับพระรูปเหมือนเท่าองค์และ รูปบูชาขนาด5นิ้วนั้นเองแต่จะใช้เนื้อที่เป็นส่วนประกอบหลักคือตะกรุดเงินตะกรุดที่หายากมากที่สุด ของพพ่อท่านพลอยที่ทางวัดเก็บรักษาไว้และโลหะศักดิ์สิทธิ์อีกหลายอย่างรวม ทั้งเงินทองของชาวบ้านที่มีจิตศรัทธาในตัวพ่อท่านพลอย ฐานใต้มีการจุรูไว้เพื่อจะเป็นการบรรจุกริ่งแต่เนื่องพระได้ถูกเยื่อเเย่งไป ในเวลาในพริบตาจึงไม่ได้บรรจุกริ่งตามที่ตั้งใจไว้ ลักษณะขนาดจะมีขนาด เคื่องๆกว่าพ่อท่านคล้ายก้นอุสักนิดนึงจำนวนการสร้าง ไม่เกิน100องค์ โดยประมาณบางท่านอาจยังไม่เคยพบเห็นลักษณะเนื้อจะออกโทนๆพ่อท่านยุ้งครับ เพราะน่าจะเป็นการใช้นายช่างหล่อคนเดียวกัน 3.วนในประเภทที่ดำเนินการมาจากทางโรงงานมี2อย่างคือ พระรูปปั้ม และเหรียญ เหมือนของนายหัววุฒิ เหรียญนั้นถ้าจำไม่ผิดพลาด น่าจะมี3เนื้อ เนื้ออัลปาก้า เนื้อทองเหลือง(ออกฝาบาตร) เนื้อทองแดง.......................................... |