ประวัติความเป็นมาของพุทธมณฑลอีสาน พระธาตุนาดูน
..........ในปีพุทธศักราช 2522 กรมศิลปากรและราษฎร์ในตำบลนาดูนได้ขุดพบพระบรมสารีริกธาตุจากเนินดินที่เป็นซากโบราณสถาน ในบริเวณที่นาของราษฎร์ ท้องที่หมู่ที่ 1 ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม พระบรมสารีริกธาตุมีสัณฐานดังเกล็ดแก้วประดิษฐ์สถานในผอบ 3 ชั้น ชั้นในเป็นทองคำ ชั้นกลาวงเป็นเงิน ชั้นนอกเป็นสำริด สวดซ้อนกันเรียงตามลำดับ และบรรจุอยู่ในสถูปจำลองอีกชั้นหนึ่ง เป็นสถูปโลหะ ทรงกลมสูง 24.4 เซนติเมตร ถอดออกเป็น 2 ส่วน ส่วนยอดสูง 12.3 เซนติเมตร ส่วนองค์สถูปสูง 12.1 เซนติเมตร
.ชาวจังหวัดมหาสารคาม ดำริว่า อุบัติการณ์ของพระบรมสารีริกธาตุครั้งนี้นับเป็นนิมิตหมายอันดี แก่ชาวจังหวัดมหาสารคามอย่างยิ่ง สมควรสร้างพระสถูปเจดีย์ประดิษฐาน ไว้ให้ถาวรมั่นคง เป็น ปูชนียสถานและสิริมงคลแก่ภูมิภาคนี้ต่อไป และเพื่อสืบทอดพระบวรศาสนาตามแนวทางแห่งบรรพชน จึงจัดสร้างโครงการพุทธมณฑลอีสานขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ พุทธศักราช 2525-2529 ประกอบด้วยสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์พระธาตุนาดูนที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ศูนย์พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมจำปาศรี เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับ อานาจักร จัมปาศรี นครโบราณของบริเวณนี้ซึ่งอยู่ในสมัยทวารวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-16 ประกอบด้วย วัด ส่วนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ศาลาพัก แหล่งน้ำ และถนน กำหนดพื้นที่ก่อสร้าง ณ โคกดงเค็ง มีปริมณฑล 902 ไร่เศษ เจดีย์พระธาตุนาดูน มีลักษณะประยุกต์จากสถูปจำลองที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ กับลักษณะศิลปากร แบบทวารวดีออกแบบและดำเนินการสร้างโดยกรมศิลปากรสูง 50.50 เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 35.70 เมตร พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีได้ประกอบ พิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2528 ก่อสร้างสำเร็จบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2529 สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 7,580,000 บาท (เจ็ดล้านห้าแสนแปดหมื่นบาทถ้วน) ครั้นวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 พระบาทสมด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมงกุฏราชกุมารเสด็จพรัราชดำเนินแทนพระองค์มาทรงประกอบพิธีอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุเข้าบรรจุ ในองค์ เจดีย์พระธาตุนาดูนนี้ กรุพระธาตุนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
......แผ่นดินอีสาน มีลักษณะสูงขึ้นไปทางทิศตะวันตกและทิศใต้ของภาค มีแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาดงพญาเย็นอยู่ทางทิศตะวักตก และมีเทือกเขาสันกำแพง เทือกเขาพนมดงรักอยู่ทางทิศใต้ของภาคจึงเป็นเหตุให้พื้นที่ของภาคอีสานจึงค่อยๆ ลาดลงสู่ตอนกลางของภาค ซึ่งจะสังเกตุการไหลลงของแม่น้ำต่างๆ จะไหลลงไปทางทิศตะวันออกเพื่อไปสู่ลุ่มแม่น้ำโขง
......วัฒนธรรม ทวาราวดี ที่มีรากฐานมาจากพุทธศาสนาจาก อินเดีย ได้ส่งอิทธิพลเข้ามาสู่ภาคอีสานในราวพุทธศตวรรษที่ 12 โดยได้เข้ามาทาง ลุ่มแม่น้ำมูล และ แม่น้ำชี ในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างอย่างแพร่หลาย จนกระทั้งถึงปลายพุทธศตวรรษที่15
......จังหวัดมหาสารคามได้พบร่องรอยหลักฐานของ วัฒนธรรมทวาราวดี สมัยประวัติศาสตร์ระยะแรกเริ่มกระจายอยู่ตาม บริเวณชุมชนสังคมเกษตรกรรมดั้งเดิมหลายแห่งด้วยกัน เช่น อำเภอกันทรวิชัย และ อำเภอนาดูน
......อำเภอนาดูน คือ นครจำปาศรี ในอดีต ตัวเมืองเป็นรูปไข่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 600 เมตร และมีเชิงเทินดิน สูงประมาณ 3 เมตร กว้างประมาณ 6 เมตร และมีคูอยู่กลาง กว้างประมาณ 20 เมตร เพื่อชักน้ำเข้ามาใช้ประโยชน์ในการบริโภค และเพื่อใช้ป้องกันข้าศึกศัตรู ภายในตัวเมือง นครจำปาศรี ได้มีการขุดพบโบราณวัตถุโดยกรมศิลปากรที่ 7 จังหวัดขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2522 ที่สำคัญ คือสถูปสัมฤทธิ์ 3 ชั้น ซึ่งมีความสูงรวมจากฐานถึงยอด 24.4 เซนติเมตร เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สถูปชั้นนอกทำด้วยทองสัมฤทธิ์ ชั้นกลางทำด้วยเงิน และชั้นในทำด้วยทองคำ ภายในสถูปมีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่องค์หนึ่ง มีลักษณะเป็นสีขาวขุ่น ขนาดเท่าปลายเม็ดข้าวสารหัก หล่อเลี้ยงไว้ด้วย น้ำมันจันทน์ เมื่อเปิดออกจะได้กลิ่นหอมอบอวล ซึ่งเป็นที่อัศจรรย์ใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็นยิ่งนัก และต่อมาในปี พ.ศ.2525 2529 จึงมีการสร้างพระสถูปเจดีย์จำลอง ซึ่งมีลักษณะแบบ ทาวราวดี ดำเนินการสร้างโดย กรมศิลปากร สูง 50.50 เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 35.70 เมตร เพื่อเป็นปูชนียสถานและสิริมงคลแก่ภูมิภาค และเพื่อเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา และศิลปะวัฒนธรรมอีสาน หรือที่ทุกคนรู้จักกันดีว่านี่คือ พุทธมณฑลอีสาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของ ชาวจังหวัดมหาสารคาม
......โบราณวัตถุอีกประเภทหนึ่ง คือ พระพิมพ์ดินเผา ซึ่งจัดว่าเป็น พระกรุที่เก่าแก่ที่สุด อีกกรุหนึ่งของประเทศไทย ประมาณ 1,500 ปี เป็นพระกรุที่มีจำนวนมากที่สุด และมีจำนวนพิมพ์มากกว่า 40 พิมพ์ และพระพิมพ์ดินเผากรุนาดูนก็ขึ้นอยูกับความแตกต่างในรายละเอียดของพระแต่ละองค์ และความแตกต่างก็บ่งบอกถึงความหมายอยู่ในตัวอีกทั้งยังบอกถึงคติความเชื่อ ลัทธิศาสนา รวมถึงแสดง พุทธิปรัชญาที่แฝงอยู่ด้วย
......ค่านิยม พระพิมพ์ดินเผากรุนาดูนที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบันมี 2 แบบ คือ พิมพ์เล็กห้อยคอ และ พิมพ์พระบูชา สำหรับพิมพ์เล็กขนาดขึ้นคอที่จัดว่ามีราคาสูงที่สุด ก็คือ ปางลีลา หรือ ปางตริภังค์ สาเหตุเนื่องจากเป็นพิมพ์ที่ขุดพบน้อยมาก หายาก และมีความอ่อนซ้อย สวยงาม เหมาะสำหรับขึ้นคอ รองลงมาคือ พิมพ์นาคปรกคู่ ส่วน พระพิมพ์บูชา เรียงความนิยมตามลำดับ คือ ปางนั่งเมือง ปางประทานพร ปางปาฏิหารย์ ปางเสด็จดาวดึงส์ ปางปรกโพธิ์ และ พระแผง ชนิดต่างๆ และสุดท้ายต้องขอขอบคุณ อาจารย์ทรงเดช แสงนิล จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมาหาสารคาม ที่ได้เอื้อเฟื้อข้อมูล เกี่ยวกับเมืองนครจำปาศรี เพื่อเป็นวิทยาทานตามแนวทางแห่งบรรพชนไว้ ณ ที่นี้ ชาวบ้านแห่ขุด "พระกรุนาดูน" พิสูจน์แล้วเป็นพระแท้แน่นอน
พระกรุพระธาตุนาดูน จ.มหาสารคาม แตกกรุครั้งแรกเมื่อประมาณปี ๒๕๒๒ บริเวณที่นาของนายทองดี ปะวะภูตา ราษฎรบ้านนาดูน ต.นาดูน อ.นาดูน จ.มหาสารคาม ในครั้งนั้นมีการขุดพบโบราณวัตถุสมัยทวารวดี พบสถูปที่ใช้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ มี ๒ ส่วน คือ ๒.ส่วนยอด มีลักษณะเป็นปล้องไฉน จำนวน ๒ ปล้อง ส่วนบนสุดเป็นปลียอดกลม ๒.ตัวสถูปทำด้วยทองสัมฤทธิ์ ลักษณะคล้ายระฆัง หรือโอ่งคว่ำ ส่วนยอดของตัวสถูปจะรับเข้ากับส่วนล่างสุดพอดี พร้อมกันมีการขุดพบพระเนื้อดินเผาพิมพ์ต่างๆ หลายสิบกระสอบ
พระเนื้อดินเผา กรุพระธาตุนาดูน จัดว่าเป็นพระกรุเก่าแก่ที่สุดอีกกรุหนึ่งของเมืองไทย อายุประมาณ ๑,๕๐๐ ปี นับเป็นกรุที่มีพระจำนวนมากที่สุด และมีจำนวนพิมพ์มากกว่า ๔๐ พิมพ์ โดยมีความแตกต่างในพิมพ์ทรงองค์พระ ซึ่งล้วนแต่ออกแบบได้งดงามอลังการยิ่ง แต่ละพิมพ์บ่งบอกถึงความหมายอยู่ในตัว รวมทั้งยังบ่งบอกถึงคติความเชื่อ และความศรัทธาเลื่อมใสของบรรพชน
ค่านิยมพระกรุนาดูน ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบันมี ๒ แบบ คือ พิมพ์เล็กสำหรับห้อยคอ และพิมพ์พระบูชา หรือพระแผง พระพิมพ์เล็กขนาดห้อยคอที่จัดว่ามีราคาสูงสุด คือพระปางลีลา หรือปางตริภังค์ เป็นพิมพ์ที่ขุดพบน้อยมาก จึงหายาก รองลงมาคือพระนาคปรกเดี่ยว พิมพ์เล็ก พระนาคปรกเดี่ยว พิมพ์ใหญ่ ส่วนพระแผงขนาดบูชา จะเป็นปางนั่งเมือง ปางเสด็จจากดาวดึงส์ ปางประทานพร ปางปาฏิหาริย์ ปางปรกโพธิ์ และพิมพ์ต่างๆ อีกหลายพิมพ์
ในครั้งนั้น มีชาวบ้านจากทุกทั่วสารทิศแห่มาขุดหาพระกันอย่างมากมายเพื่อครอบครองเป็นสิริมงคล บ้างก็เอาไว้ขายต่อ เพราะได้ราคาดี โดยมีบรรดาเซียนพระมารับซื้อถึงปากหลุม ปัจจุบันพระกรุนาดูนเป็นที่ยอมรับ และเป็นที่ต้องการของเซียนพระเป็นอย่างมาก
ต่อมาจังหวัดส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายร้อยนายกันชาวบ้านออกจากบริเวณดังกล่าว เพื่อให้เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรที่ ๗ ขอนแก่น เข้าไปสำรวจตรวจสอบโบราณวัตถุ เพื่อเก็บสิ่งของที่พบเข้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่นต่อไป
กว่า ๒๗ ปีที่ผ่านมา ความนิยมในพระกรุนาดูนได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ราคาแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเริ่มหายากขึ้นทุกวัน
จนล่าสุด หลัง งานนมัสการพระธาตุนาดูน เมื่อต้นปีที่ผ่านมา มีชาวบ้านบางคนทยอยมาขุดหาพระในบริเวณที่เคยขุดพบเมื่อปี ๒๕๒๒ อีกครั้งหนึ่ง จนมีข่าวแพร่สะพัดออกไปว่ามีการขุดพบพระกรุนาดูน ทำให้เมื่อ ๒-๓ สัปดาห์ที่ผ่านมาชาวบ้านแห่กันมาขุดหาพระกันเป็นจำนวนมากติดต่อกันทุกวัน ไม่เว้นแม้กระทั่งเวลากลางคืน
นายทองแดง ภาระโก อายุ ๓๗ ปี ชาวบ้านหนองโง้ง ต.นาดูน กล่าวว่า เมื่อประมาณ ๓ อาทิตย์ที่ผ่านมามีชาวบ้าน ๑๐๐-๒๐๐ คน รวมกลุ่มกันมาประมาณกลุ่มละ ๑๐-๒๐ คน จับจองที่เพื่อขุดหาพระกันเป็นจำนวนมาก บางคนก็ได้ บางคนก็ไม่ได้ แต่ที่ผ่านมามีการขุดพบพระดินเผาพิมพ์ต่างๆ จำนวนหลายร้อยองค์
โดยผู้มาขุดหาพระ จะขุดดินเปิดปากหลุมความกว้างประมาณ ๕x๕ เมตร ลึกประมาณ ๕ เมตร พอลึกจนพบตาน้ำ ก็จะสูบน้ำออก แล้วลงมือค้นหาพระด้วยมือเปล่า แล้วแต่ดวงใครจะเจอก่อน ซึ่งตามข้อตกลง หากมีการพบพระก็จะตกลงกันว่าจะขายกันที่ปากหลุม แล้วเอาเงินมาแบ่งเท่าๆ กัน แต่ส่วนใหญ่เมื่อขุดพบพระ จะยังไม่มีการขายที่ปากหลุม ชาวบ้านจะเก็บไว้ประเมินราคาก่อนที่จะขายในวันต่อไป ทำให้เซียนพระต่างพากันไปซื้อพระอย่างเนืองแน่น เพราะพิสูจน์กันอย่างแน่ชัดแล้วว่าพระที่ขุดพบในครั้งนี้เป็นพระแท้แน่นอน จึงทุ่มเงินซื้อกันอย่างไม่อั้น
"พระที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพระแผง มีทั้งสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ ส่วนพระพิมพ์เล็กจะไม่ค่อยพบ ราคาพระตรงปากหลุมจะขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ และพิมพ์ที่พบเห็นส่วนใหญ่จะมีราคาประมาณ ๑ หมื่น-๕ แสนบาท โดยจะมีเซียนพระหรือผู้สนใจมาเฝ้ารอซื้อต่อที่ปากหลุมหลายคน ส่วนผู้ที่มาขุดหาพระ ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านละแวกใกล้เคียง แต่เชื่อว่า เมื่อมีข่าวแพร่กระจายออกไป จะมีชาวบ้านจากที่อื่นๆ แห่มาขุดเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน" นายทองแดง กล่าว
ขณะที่ นายทรงเดช แสงนิล อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ผู้ติดตามศึกษาเรื่องพระกรุนาดูน กล่าวว่า กรุนาดูนเป็นหนึ่งใน ๓๒ กรุ ในนครจำปาศรีเดิม หรือเมืองนาดูนในอดีต พระพิมพ์ต่างๆ ที่พบเห็นส่วนใหญ่จะมีลักษณะเหมือนกัน เนื่องจากอยู่ในยุคเดียวกัน คือยุคทวารวดี ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนยุคขอมจะเรืองอำนาจเสียอีก
จากอายุที่เก่าแก่และค่านิยมของบรรดาเซียนพระ ส่งผลให้พระกรุนาดูนได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ ของวงการพระเมืองไทย โดยส่วนใหญ่พระที่พบจะมีอยู่ด้วยกัน ๗ เนื้อ คือ เนื้อหิน เนื้อมะขามเปียก เนื้อมันปู เนื้อแดง เนื้อทราย เนื้อส้ม และเนื้อหม้อใหม่ โดยเนื้อหินและเนื้อมะขามเปียกจะจัดอยู่ในเนื้อเกรดเอ ได้รับความนิยมสูง และเป็นเนื้อที่หายากมาก
"วัฒนธรรมการดูพระ เกิดจากค่านิยม และกระแสต่างๆ ในสังคม เมื่อมีคนสนใจมาก ของมีน้อย ความต้องการของคนยิ่งสูงขึ้น และค่าบูชาพระกรุนาดูนก็สูงขึ้นตามไปด้วย จึงเชื่อว่าหลังมีข่าวแพร่สะพัดออกไปแล้ว อีกไม่นานกรมศิลปากร หรือเทศบาลตำบลนาดูน ซึ่งเป็นเจ้าของที่ คงจะเข้ามาสั่งห้ามชาวบ้านให้ยุติการขุดหาพระอย่างแน่นอน" นายทรงเดช กล่าว
ขณะที่ นายรัตนคุณ พงษ์จันทร์เพ็ญ เซียนพระเมืองมหาสารคาม กล่าวว่า ข่าวการขุดหาพระกรุนาดูนเริ่มได้รับความสนใจจากเซียนพระในตัวเมืองมหาสารคาม และจังหวัดใกล้เคียงบ้างแล้ว ที่ผ่านมาก็มีเซียนพระจากต่างถิ่นเดินทางไปที่ อ.นาดูน เป็นจำนวนมาก เพื่อไปรับซื้อพระที่ปากหลุม ขณะนี้ทราบว่าพระกรุที่ขุดพบครั้งนี้เป็นที่นิยมมากกว่าครั้งที่กรุแตกเมื่อปี ๒๕๒๒ ด้วยซ้ำ และจากความนิยมดังกล่าว ส่งผลให้พระกรุนาดูนมีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม นายประสาทพร สีกงพลี นายกเทศมนตรีตำบลนาดูน กล่าวว่า ล่าสุดเทศบาลได้รับคำสั่งจากจังหวัด ให้ห้ามชาวบ้านระงับการขุดหาพระแล้ว โดยเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม สั่งให้ชาวบ้านเลิกขุดหาพระที่บริเวณดังกล่าว และให้นำรถฝังกลบหลุมดินทั้งหมด พร้อมกับจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะเกรงว่าจะสูญเสียวัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์
"นอกจากนี้ เพื่อเป็นการป้องกันระยะยาว จังหวัดมีแผนในการทำศูนย์เรียนรู้ทางประวัติศาสตร์นครจำปาศรี ในบริเวณที่กำลังมีการขุดค้นหาพระ เพื่อสร้างเป็นแหล่งเรียนรู้ของบรรพชนรุ่นหลัง ให้รู้จักนครจำปาศรี หรือเมืองนาดูนในอดีต โดยช่วงนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาหาข้อมูลอยู่" นายประสาทพร กล่าว
พระกรุ"นาดูน"แตกอีก-ชาวบ้านแห่ขุดขายเพียบ พระกรุ"นาดูน"มหาสารคามแตก ชาวบ้านแห่ขุดนับ 100 เซียนจากทุกสารทิศบุกบูชาถึงปากหลุม ให้ราคาสูงหลายหมื่นบาท เงินสะพัดหลายล้านบาท
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ชาวบ้านได้แตกตื่นไปขุดพระนาดูน เนื่องจากทราบข่าวว่า กรุพระนาดูนได้แตก มีชาวบ้านขุดพบหลายองค์ ชาวบ้านที่ทราบข่าวต่างชวนญาติ ๆ ไปขุดหาพระนาดูน ทำให้บางคนมีรายได้นับหมื่นบาทต่อวัน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ในปัจจุบันพระกรุนาดูนมีราคาสูงถึงองค์ละเรือนแสน ถ้าองค์สมบูรณ์ๆ
ต่อมาผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังบริเวณทุ่งนา บ้านดงน้อย ต.พระธาตุ อ.นาดูน จ.มหาสารคาม ที่มีการขุดพบพระนาดูน อยู่ห่างจากถนนใหญ่ประมาณ 800 เมตร ซึ่งจากการสอบถามชาวบ้าน จึงทราบว่าที่นาดังกล่าวเป็นที่นาของนายประเสริฐ พวงสีเคน อายุ 68 ปี อยู่บ้านเลขที่ 57 บ้านดงน้อย ต.พระธาตุ อ.นาดูน จ.มหาสารคาม โดยที่นาดังกล่าวมีรอยการขุดโดยชาวบ้าน และการขุดของรถแทรกเตอร์ที่เตรียมปรับดินเพื่อทำไร่มันสำปะหลัง
นายสายทอง เหลาสา อายุ 50 ปี ผู้พบกรุพระแตก เล่าว่า ในวันที่กรุพระแตก ตนได้ออกจากบ้านไปแต่เช้า เพื่อไปหาฟืนเพื่อนำมาเผาถ่าน ขณะเดินอยู่ก็ผ่านกองดิน ที่มีรอยรถแทรกเตอร์ขุดดินไว้ประมาณ 2-3 วัน และมีฝนตกตลอด จากนั้นก็เดินเข้าไปดู ปรากฏว่า พบพระเนื้อดินเผาอยู่รวมปนกับดินที่ขุด จึงเข้าไปดูใกล้ๆ แล้วนำพระขึ้นมาดู ปรากฏว่า เป็นพระที่หักครึ่ง จึงเรียกเพื่อนบ้านที่ไปด้วยช่วยกันมาขุด จึงพบพระอีกหลายองค์ จากนั้นชาวบ้านอีกประมาณ 50 คน ได้เดินทางไปที่บริเวณดังกล่าว พร้อมกับช่วยกันขุด ซึ่งบางรายก็ได้บางรายก็ไม่ได้
ส่วนตนได้ประมาณ 8 องค์ ให้ลูกๆไป 4 องค์ ที่เหลือก็ขาย ได้เงิน 56,000 บาท แต่เจ้าของที่ดินเขาไม่ยอม จึงต้องให้เงินเจ้าของที่ ไป 25,000 บาท ส่วนรายอื่นๆ ได้พระคนละหลายองค์ แต่ไม่มีใครบอกว่าได้กี่องค์ เพราะกลัวถูกเจ้าของที่เอาพระคืน
ต่อมาได้มีเซียนพระจาก จ.มหาสารคาม และจังหวัดใกล้เคียง และจากกรุงเทพฯ ซึ่งทราบข่าวว่ามีกรุพระแตก จึงได้เดินทางมาขอซื้อถึงที่ โดยให้ราคาสูงถึงองค์ละ 20,000-30,000 บาท สำหรับพระที่ขุดได้จะมีดินติดอยู่มาก บางองค์ก็สมบูรณ์บางองค์ก็หัก ส่วนพิมพ์ที่ตนพบเป็นพิมพ์ปรกเดี่ยวใหญ่ ดูพระแล้วเป็นของเก่า และเนื้อมีลักษณะเป็นหินก็มี
สำหรับพระกรุนาดูน ที่ขุดพบนั้น ได้แก่พิมพ์ปางนั่งเมือง ปางยมกปฏิหาริย์ ปางเสด็จดาวดึงส์ ซุ้มโพธิ์เล็ก ปางนาคปรกเดี่ยวใหญ่ ปางลีลา (นางรำ หรือบั้มพ์) ส่วนราคาในท้องตลาดบรรดานักนิยมพระกรุ ให้ราคาไว้สูง ถ้าสวยๆสมบูรณ์ เนื้อหิน ราคาหลักแสนขึ้น เช่นพิมพ์นั่งเมือง ถ้าใครมีไว้บูชาก็จะได้เป็นใหญ่เป็นโต ได้นั่งเมืองครองเมืองมีข้าทาสบริวาร ส่วนพิมพ์ที่หายากที่สุด เห็นจะเป็นพิมพ์ปางลีลา หรือเรียกว่าพิมพ์บั้ม และพิมพ์ปรกเดี่ยวใหญ่
นายสุโชติ บุญชู ประธานชมรมพระเครื่องมหาสารคาม กรรมการประกวดพระนาดูนในสนามต่างๆ ผู้ศึกษาค้นคว้าพระนาดูนมานาน กล่าวว่า พระกรุนาดูน เป็นพระที่เก่าแก่มากมีอายุ ประมาณ 1,300 ปี มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ซึ่งพระกรุนาดูนนี้ มีพุทธคุณสูง เนื่องจากบริเวณที่ขุดพบนั้น เป็นสถานที่ที่ขุดพบพระบรมสารีริกธาตุด้วย
การพบครั้งแรกยังไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก แต่ปัจจุบัน บรรดาข้าราชการระดับบริหาร นักสะสม และนักการเมือง กำลังแสวงหากันมาก ส่วนราคาพุ่งไปถึงองค์ละประมาณ 100,000 ขึ้นไป ตามสภาพของพระ ส่วนพระกรุนาดูนที่แตกนั้นเมื่อดูเนื้อแล้วมีความเก่าตามอายุ ซึ่งผู้ที่เป็นเซียนสายนี้จะทราบดี
สำหรับประวัติพระกรุนาดูนนั้น อยู่ที่ ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า นครจัมปาศรี จ.มหาสารคาม โดยเมื่อปี พ.ศ. 2511 ทหารเรือจากรุงเทพฯ ได้เดินทางไปขุดค้นหาวัตถุโบราณที่ริมฝั่งห้วยนาดูน ซึ่งอยู่ห่างที่ว่าการอำเภอนาดูนประมาณ 2 ก.ม.ปรากฏว่า ขุดได้พระพิมพ์ดินเผา และวัตถุโบราณจำนวนมาก ต่อมาในปี 2513 ชาวบ้านใน อ.นำดูน ขุดพบโบราณสถานอยู่ทางทิศเหนือของโรงเรียนชุมชนบ้านกู่โนนเมืองพบพระพิมพ์ปางนาคปรกเดี่ยวสีขาวจำนวนมาก
จากนั้นก็มีการขุดพบพระเนื้อดินตามพื้นที่ต่างๆในเขต ต.นาดูนมาโดยตลอด ทั้งๆที่ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น และ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะห้ามขุดก็ตามที ซึ่งพระที่ขุดพบมีหลายพิมพ์ด้วยกัน ซึ่งนักโบราณคดีได้กล่าวไว้ว่า พระพิมพ์เผากรุพระธาตุนาดูนที่ขุดพบในปี 2522 นั้น เป็นพระพิมพ์ดินเผาฝีมือช่างประจำสำนัก เป็นการสร้างไว้เพื่อเป็นพุทธบูชา มีพุทธศิลป์ลวดลายลีลาอ่อนช้อยสวยงามและเป็นศิลปทราวดี มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 หรือประมาณ 1300 ปี เนื้อพระพิมพ์จะแข็งแกร่งมาก บางองค์กลายเป็นเนื้อหิน สีเนื้อพระพิมพ์มี 5 สี ในพระพิมพ์บางองค์ทุกพิมพ์จะมีรูปเจดีย์และสถูปจำลองปรากฏอยู่
ต่อมาได้มีคุณโสมสุดา รัตนิน แห่งมหาวิทยาลัยโอตาโก ประเทศนิวซีแลนด์ ได้นำเนื้อองค์พระไปวิเคราะห์ พบว่าส่วนผสมหลักของเนื้อพระมี ศิลาแลง ดินเหนียว แกลบข้าว ทราย กรวด บางตัวอย่างมีเมล็ดข้าวผสมอยู่ ซึ่งเมื่อทำการเผาแล้วจะทำให้เนื้อแกร่งมาก
รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อประมาณปี 2549 ที่ผ่านมา เคยเกิดเหตุการณ์กรุพระแตกมาแล้ว ซึ่งสร้างความฮือฮาให้กับเซียนพระในครั้งนั้นเป็นอย่างมา
แบบพระพิมพ์ดินเผากรุพระนาดูน
พระพิมพ์ดินเผากรุพระนาดูนที่ขุดพบเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ นั้น เป็นพระ
พิมพ์ดินเผาฝีมือช่างประจำราชสำนัก โดยในกอมระตาญง์พร้อมด้วยพระสหายได้ร่วมกัน
สร้างไว้เพื่อเป็นพุทธบูชาสืบต่อพระพุทธศาสนา พระพิมพ์ดินเผากรุพระนาดูน มีพุทธศิลป์
ลวดลายลีลาอ่อนช้อยสวยงามและเป็นศิลปะสมัยทวาราวดีมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่
๑๒๑๖ (หรือประมาณ ๑,๓๐๐ ปี)เนื้อพระพิมพ์แข็งแกร่งมาก พระพิมพ์บางองค์กลายเป็น
เนื้อหิน สีเนื้อพระพิมพ์มี ๕ สี คือสีหิน(น้ำตาลแก่) สีเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองมันปู สี
ชมพู สีแดงหินทราย และสีขาวนวล (สีเท่าอ่อน) ในพระพิมพ์เกือบทุกพิมพ์จะมี
รูปเจดีย์ และสถูปจำลองปรากฎอยู่เสมอ และเป็นพระพิมพ์เล่าเรื่องพุทธประวัติที่มีความ
หมายอยู่ในตัว พระพิมพ์ดินเผากรุพระนาดูนที่ขุดพบได้นำตัวอย่างไปวิเคราะห์หาส่วนผสม
โดยคุณโสดา รัตนิน แห่งมหาวิทยาลัยโอตาโก ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งขณะนั้นได้ปฏิบัติงาน
อยู่ที่โครงการโบราณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จาการวิเคราะห์ปรากฎว่า ส่วนผสมหลัก
ได้แก่ ศิลาแลง ดินเหนียว แกลบข้าว ทราย กรวด ในตัวอย่างบางชิ้นมีเมล็ดข้าวผสมอยู่
ด้วยส่วนผสมที่ใช้มากได้แก่ ทราย ซึ่งเมื่อเผาแล้วจะทำให้เนื้อดินมีความแกร่งมาก
ลักษณะการเผาจะเผาแบบกลางแจ้งอุณหภูมิไม่คงที่ จึงทำให้สีของพระพิมพ์ดินเผาแตกต่าง
กัน รูปลักษณะของพระพิมพ์ดินเผากรุพระนาดูน สามารถแบ่งออกได้เป็น ๖ รูปลักษณะ คือ
|