วัตถุมงคล: พระเครื่องเกจิอาจารย์ยอดนิยม
ลูกอมเนื้อตะกั่วผสมปรอท หลวงพ่อเนียม วัดน้อย จ.สุพรรณบุรี จัดสร้างราวปี ๒๔๐๐-๒๔๕๐ 30-11-2565 เข้าชม : 7721 ครั้ง |
| [ ชื่อพระ ] ลูกอมเนื้อตะกั่วผสมปรอท หลวงพ่อเนียม วัดน้อย จ.สุพรรณบุรี จัดสร้างราวปี ๒๔๐๐-๒๔๕๐ | [ รายละเอียด ] ลูกอมเนื้อตะกั่วผสมปรอท หลวงพ่อเนียม วัดน้อย จ.สุพรรณบุรี จัดสร้างราวปี ๒๔๐๐-๒๔๕๐ ลูกนี้ (แบบมีตาหายาก) เนื้อตะกั่วผสมปรอท ตามแบบฉบับพระเครื่องของท่าน มีไขขึ้นปกคลุมตามอายุกาลเวลาที่ผ่านไปร้อยกว่าปี
มหาอุด หยุดมัจจุราช ลูกอมเนื้อตะกั่วหลวงพ่อเนียม วัดน้อย อาจารย์ใหญ่เมืองสุพรรณบุรี เอาเป็นว่า ถ้าเอ่ยถึงหลวงปู่เนียม ผู้คนทั้งหลายจะต้องเรียกชื่อท่านควบกับชื่อวัดไปด้วย หรือเมื่อเอ่ยชื่อวัดน้อยนี้ก็ต้องควบชื่อท่านเข้าไปด้วยเช่นกัน เพราะในสุพรรณบุรีมีวัดที่ชื่อวัดน้อยหลายแห่งด้วยกัน แต่วัดอื่นๆ ก็ไม่ติดปากผู้คนเหมือนวัดน้อย หลวงปู่เนียม
ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดครูบาอาจารย์ เป็นอาจารย์ใหญ่ของพระเถราจารย์ของเมืองสุพรรณบุรี เพราะในวงการพระเครื่องน้อยคนนักที่จะไม่เคยรู้จัก หรือได้ยินชื่อหลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี เพราะท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เป็นสหธรรมิกกับ หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน, หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว, หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ฯลฯ และยังเป็นอาจารย์ของพระเกจิชื่อดังอีกหลายองค์ เช่น หลวงพ่ออ่ำ วัดชีปะขาว, หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน, หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ฯลฯ ท่านเป็นพระสงฆ์ ๓ แผ่นดิน เกิด พ.ศ. ๒๓๗๐ (รัชกาลที่ ๓) และมรณภาพในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ (รัชกาลที่ ๕) เชื่อกันว่าท่านเป็นลูกศิษย์ที่เรียนวิชาอาคมจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง เพราะเมื่อท่านบวชแล้วได้เข้ามาศึกษาต่อที่เมืองหลวง ในช่วงที่สมเด็จฯ โต ยังไม่ละสังขาร และครองวัดระฆังจนถึงปี ๒๔๑๕ อันเป็นปีที่ท่านมรณภาพ
สุดท้ายท่านก็ย้ายมาจำพรรษาอยู่วัดน้อย จ.สุพรรณบุรี ท่านมรณภาพในลักษณะคล้ายพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ชึ่งนับเป็นพระสงฆ์องค์แรกของประเทศไทย ที่มรณภาพในท่านี้
หลวงพ่อเนียมท่านได้สร้างพระไว้จำนวนไม่มากนัก พิมพ์ทรงแบบชาวบ้านสุดๆทั้งตื้นและไม่สวยงามนัก โดยมากสร้างด้วยเนื้อตะกั่ว และต้องถือว่าเป็นพระเครื่องเนื้อตะกั่วที่แพงที่สุด และแพงมานานแล้ว เนื่องด้วยนักสะสมรุ่นเก่าๆเค้าเชื่อในพุทธคุณของพระเครื่องที่สร้างโดยหลวงพ่อเนียม สำหรับชิ้นนี้เป็นเป็นอีกหนึ่งเครื่องรางชนิดลูกอมพระเกจิโบราณ ที่ของแท้หายากมากอีกเช่นกัน
ลูกอม หลวงพ่อเนียม วัดน้อย สุพรรณบุรี นับเป็นเครื่องรางอย่างหนึ่ง ที่มีการสร้างกันมาแต่โบราณ และเป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากมีขนาดเล็ก พกพาสะดวก มีอานุภาพเชื่อกันว่าใช้ในทางเสน่ห์ เมตตามหานิยม ก็จะทำให้ผู้คนหลงใหลได้ปลื้ม เป็นที่ชื่นชอบรักใคร่ของคนทั่วไป หรือแล้วแต่ประสงค์จะให้บังเกิดผล เช่น สะกดสิ่งชั่วร้ายอัปมงคล สะกดเคราะห์กรรมต่างๆ ที่มาเบียน, สะกดโรคร้าย โรคระบาดให้หมดไป สะกดวิญญาณ ขับไล่ภูติผีปีศาจ ฯลฯ
ท่านสร้างด้วยเนื้อตะกั่วผสมปรอท เนื้อเดียวกับพระเครื่องของท่านที่มีคุณวิเศษมากมายในด้านแคล้วคลาด คงกระพัน และเมตตามหานิยม
โดยการสร้างพระในสมัยก่อน การทำปรอทให้แข็งไม่ใช่ของง่ายนัก ว่ากันว่าต้องใช้คาถาอาคม ทั้งต้องทำในฤดูฝนฤดูเดียวเท่านั้น เพราะพืชบางอย่าง เช่น ใบแตงหนู ซึ่งขึ้นในท้องนา จะขึ้นในฤดูฝน ส่วนผสมต่างๆ มีใบสลอด, ข้าวสุก หลวงพ่อท่านเอาของสามอย่างมาโขลกปนกัน เพื่อไล่ขี้ปรอทออกให้หมด ทั้งนี้เพื่อให้ได้ปรอทขาวที่สุด การโขลกจะต้องโขลก และกวนอยู่ถึง ๗ วัน จึงจะเข้ากัน พอครบ ๗ วันเอาไปตากแดดเสร็จ แล้วนำเอาไปกวนต่อจนเข้ากันดี จึงทำการแยกชั่งเป็นส่วนๆ ส่วนละหนึ่งบาทต่อจากนั้นเอาไปใส่ครกหิน เติมกำมะถัน และจุนสีโขลกตำให้เข้ากัน โดยใช้เวลาทำตอนกลางคืนเท่านั้น ทำเช่นนั้นอยู่ ๓ คืน จึงเอาปรอทใส่ลงไปในกระปุกเหล้าเกาเหลียง ผสมกับตะกั่วเอาเข้าไฟสุมอยู่ถึง ๗ วัน บางครั้งอุณหภูมิสูงจัด กระปุกเหล้าเกาเหลียงแตกเสียหายก็มี การสุมไฟสุมเฉพาะเวลากลางวัน ส่วนเวลากลางคืน ทำพิธีปลุกเสกด้วยคาถาอาคม พอครบ ๗ ไฟ เทลงในแม่พิมพ์จึงจะได้พระตามที่ต้องการ
สำหรับลูกอมนั้น เมื่อท่านเทแผ่นตะกั่วผสมปรอทเป็นแผ่นแล้ว ท่านจะลงด้วยพระคาถาหัวใจนวหรคุณ คือ อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ และพระยันต์ต่างๆ ๑๐๘ แล้วเสกกำกับ จากนั้นจึงนำไปสุมไฟ แล้วเทรีดเป็นแผ่นอีก ทำอย่างนี้ติดต่อกัน ๗ ครั้ง หรือ ๗ ราตรี จึงจะนำมาเทลงในแม่พิมพ์ เมื่อแข็งตัวดีแล้วก็จะลงเหล็กจารกำกับอีกทีหนึ่ง นับเป็นอีกหนึ่งของดี ที่หาชมได้ยากมากในปัจจุบัน หายากน่าเก็บ น่าใช้อีกละคราฟ
***************************************************************************************************************************************************
วัดน้อยเป็นวัดเก่าอายุกว่าร้อยปี มีเนื้อที่ประมาณ ๓๐ ไร่สร้างโดยผู้ใดไม่ปรากฏ อยู่ในท้องที่ตำบลโตกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี วัดน้อยตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน
ในสมัยที่หลวงปู่ครองวัดอยู่ วัดน้อยของหลวงปู่ มีพระเณรมากกว่าวัดอื่นๆ ในละแวกใกล้เคียง และค่อนข้างจะคลาคล่ำไปด้วยผู้ศรัทธาที่มาให้ท่านช่วยรักษาความเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยยาสมุนไพร น้ำมนต์และอาคม ที่ชะงัดมากเห็นผลทันตาก็เรื่องหมาบ้าและงูพิษกัด เพียงเสกเป่าพรวดออกไปแล้วบอกว่า เอ้า ! มึงไปได้แล้ว ก็ไม่เห็นมีใครตายสักราย น้ำมนต์ของท่านเล่าลือว่าศักดิ์สิทธิ์นัก
หลวงปู่เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๒ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ท่านเป็นคนบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีโดยกำเนิด มารดาของท่านเป็นคนบ้านป่าพฤกษ์ ตำบลตะค่า อำเภอบางปลาม้า ส่วนบิดาเป็นคนบ้านส้อง ตำบลมดแดง อำเภอศรีประจันต์ แต่ได้ย้ายมาลงหลักปักฐานอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิงตามประเพณี หลวงปู่มีพี่สาวชื่อจาด ท่านเป็นคนที่สอง มีน้องชายหนึ่งคนชื่อเสียงใดไม่ปรากฏ
การศึกษาของท่านก็คงเหมือนลูกชาวบ้านทั่วไปคือ เรียนอักขรวิธีและภาษาบาลีจากพระในวัดใกล้บ้าน
เมื่อครบบวช (พ.ศ.๒๓๙๒-๒๓๙๓) ก็บวชตามประเพณี คาดว่าคงเป็นวัดป่าพฤกษ์หรือไม่ก็วัดตะค่า
เล่ากันว่าเมื่อท่านอยู่ในสมณเพศแล้วท่านก็เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย มูลกัจจายนสูตร วิปัสสนา และเวทย์มนต์คาถาจากพระเถรานุเถระสำนักต่างๆ ซึ่งไม่ทราบแน่ชัดว่าท่านมาพำนักอยู่วัดใดและเป็นศิษย์สำนักใดแน่ บ้างก็ว่าท่านมาอยู่ที่วัดพระพิเรนทร์ บ้างก็ว่าวัดโพธิ์ วัดทองธรรมชาติ และวัดระฆังโฆสิตาราม
ในสมัยนั้นเมื่อกล่าวถึงพระคณาจารย์ที่เชี่ยวชาญในเรื่องของวิปัสสนาธุระแล้ว ต้องยกให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) หลวงปู่ช่วง วัดรังสี (ขณะนี้รวมเป็นวัดเดียวกับวัดบวรฯ) หลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ หลวงปู่จันทร์ วัดพลับ
เล่ากันว่าหลวงปู่พำนักเล่าเรียนอยู่ที่เมืองบางกอกถึง ๒๐ พรรษา เมื่อร่ำเรียนจนจบกระบวนการแล้ว ท่านก็กลับมาอยู่ที่วัดที่ท่านบวชชั่วระยะหนึ่ง แล้วก็ย้ายไปอยู่ที่วัดรอเจริญ อำเภอบางปลาม้า (อยู่เยื้องลงมาทางใต้ของวัดน้อยไม่กี่ร้อยเมตร) ท่านอยู่ที่วัดรอเจริญได้ไม่นาน ชาวบ้านวัดน้อยเห็นแววของท่านก็มานิมนต์ท่านให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดน้อยที่ทรุดโทรมและกำลังจะร้าง เพราะขาดสมภารเจ้าวัด เมื่อท่านมาอยู่วัดน้อยตามศรัทธาของชาวบ้านแล้วก็ร่วมมือกับชาวบ้านสร้างหอฉัน และบูรณะโบสถ์ วิหาร จนดี มีสภาพเป็นวัดขึ้นมาอีกครั้ง วัดน้อยเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ มีพระเณรมากขึ้นทุกปี
เล่ากันว่าทุกก่อนเข้าพรรษาชาวบ้านทั้งในละแวกนิ่งและละแวกใกล้เคียงจะนำบุตรหลานมาให้ท่านบวชให้มากมาย และที่จำพรรษาที่วัดน้อยก็มีเกือบสิบรูปทุกปี
คุณมนัสกล่าวว่า ลูกศิษย์ของหลวงปู่เนียมที่ดังๆ ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศก็มีหลายรูปด้วยกัน ที่ท่านค้นคว้ามาได้มีหลวงพ่ออ่ำ แห่งวัดชีปะขาว อ.บางปลาม้า หลวงพ่อรูปนี้หลวงพ่อเนียมเป็นผู้บวชให้และมีศักดิ์เป็นหลานของท่านด้วย ที่ดังระดับประเทศก็คือ หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน อ.สองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้เป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ และอีกรูปก็คือ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ.เสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้เป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ (พระราชพรหมยาน) แห่งวัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี
ไตรภาคี ตรีเพชร เซียนพระเครื่องท่านหนึ่งได้เขียนเรื่องของหลวงปู่เนียมและหลวงพ่อโหน่งไว้ในนิตยสารพระเครื่องชื่อ พุทโธ ฉบับที่ ๖ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ ว่าหลวงปู่เนียมเป็นพระนักปฏิบัติธรรม เชี่ยวชาญทางวิปัสสนากรรมฐาน และมีวิทยาคมแก่กล้า ที่หลวงพ่อปานมาฝากตัวขอเป็นศิษย์ และได้รับการถ่ายทอดทั้งวิชาทางด้านวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมไปจนหมดสิ้น ครั้นเมื่อเรียนจบแล้วก่อนจะลากลับสู่สำนักเดิม หลวงปู่เนียมยังได้ส่งเสียว่าในวันข้างหน้าถ้าติดขัดสงสัยในเรื่องคำสอนของท่าน ขอให้ไปสอบถามหลวงพ่อโหน่ง ศิษย์รุ่นพี่ (ห่างกันหลายปีและไม่ทันเห็นกันในขณะนั้น) โดยบอกว่า ถ้าข้าตายไปแล้ว หากสงสัยอะไร ให้ไปถามท่านโหน่ง วัดคลองมะดัน เขาพอแทนข้าได้
ท่าน ใหญ่ ท่าไม้ เจ้าของนิตยสารพระเครื่องดังของเมืองไทยอีกท่านหนึ่ง ได้เขียนถึงความเป็นพระอริยสงฆ์ของหลวงปู่เนียมและหลวงพ่อโหน่งศิษย์อาวุโสของท่าน ในนิตยสารพระเครื่องชื่อ มหาโพธิ์ ฉบับพิเศษ ที่ ๑๓ ว่าหลวงปู่เนียมและหลวงพ่อโหน่งเป็นพระผู้มีอภิญญาสูง รู้เวลาตายของตนเอง เพราะทั้งสองท่านมรณภาพในท่านอนพนมมือ
***************************************************************************************************************************************************
คาถาอาราธนาลูกอม
อิติพันธะเกษามะอะอุ พันธะโลมาจะภะกะสะพันธะนักขามะนะนพะทะ พันธะทันตากระมะถะ พันธะตะ โจอิสวาสุ พันธะนังสังจิปีเสดิ พันธนะหะรูหะรูสุวิสังอะ พันธะอัฐิทุสะมะนิ พันธะอัตถิมินชังนะสังสิโม พันธะวักกังปะวะอะปะ ทิมะสังอังขุ นะมะอะอุ นะมามิหัง สิทธิเตชัง สิทธิวาจัง กายะพันธะนัง องคะพันนธะนัง สารพัดสิทธิ ภะวันตุเมฯ
คาถานี้ให้ตั้งนะโมฯ 3 จบก่อน แล้วยกลูกอมขึ้นจดเหนือหน้าผาก จึงค่อยภาวนาพระคาถาให้จบบท สูดลมหายใจเข้าให้เต็มปอดแล้วผ่อนออก และเมื่อเวลาจะคาดเข้าเอวให้ภาวะนาพระคาถานี้จนกว่าจะผูกเงื่อนเสร็จให้ภาวนาดังนี้ อิมังกะยะพันธะนังอธิษฐานมินะมะพะทะ | [ ราคา ] โทรถาม [ สถานะ ] ขายแล้ว
[ติดต่อเจ้าของร้านเกจิน้อย พระเครื่องออนไลน์ ] เบอร์โทรศัพท์ : 081-4070684 | |
|