[ รายละเอียด ] พระร่วง รางปืน เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง
ในอิริยาบถยืนบนแท่น ภายในซุ้มเรือนแก้ว พระหัตถ์ขวายกขึ้นระดับพระอุระ
พระกรซ้ายทอดลงขนาดกับลำพระองค์
แบหงายฝ่าพระหัตถ์ออกด้านหน้าเป็นกิริยาประทานพร
ครองเครื่องจีวรห่มคลุมบางแนบพระวรกาย ปรากฏเส้นขอบจีวร
บริเวณรอบพระศอและมีชายจีวรเป็นเส้นพลิ้วบางขนานกับพระองค์ตกลงมาเบื้องล่าง
รายละเอียดของพระพักตร์ชัดเจน สีพระพักตร์ค่อนข้างเคร่งขรึม สวมศิราภรณ์
ได้แก่ กระบังหน้าและมงกุฎรูปกรวยหรือที่เรียกกันว่า หมวกชีโบ นุ่งสบง
คาดด้วยรัดประคดที่มีการตกแต่งลวดลายที่ปรากฏในศิลปะเขมร แบบบายน ที่มี ชื่อเรียกว่า " พระร่วงรางปืน"
หรือ " พระ ร่วงหลังรางปืน"
เนื่องจากด้านหลังขององค์พระมีลักษณะเป็นร่องลึกยาวนับเป็นพระพิมพ์ที่นิยม
เล่นหากันมาเป็นเวลานานทั้งยังได้รับการยกย่องให้เป็นจักรพรรดิ
แห่งพระเนื้อชิน
พระร่วง รางปืนจัดเป็นพระ
พิมพ์สกุลช่างสกุลสุโขทัย ที่ได้รับอิทธพลจากศิลปะเขมรสมัยบายน
หรือศิลปะแบบลพบุรีอายุราวพุทธศตวรรษ ที่ ๑๘
เป็นพระพิมพ์เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง เดิมจึงเรียกว่าพระสนิมแดง
สันนิษฐาน
กันว่าคำเรียดขานพระพิมพ์ที่มีพุทธลักษณะเช่นนี้ว่า พระร่วง
มีที่มาจากพระร่วงโรจนฤทธิ์ศรอินทราทิตย์ธรรมโมภาสมหาวชิราวุธปูชนียบพิตร
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นจากพระพุทธ
รูปที่ชำรุดเหลือเพียงพระเศียร พระหัตถ์
และพระบาทที่ทรงได้มาจากเมืองศรีสัชนาลัย
และนำมาประดิษฐานไว้ที่วิหารด้านทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์
เนื่องจากนักสะสมเห็นว่ามีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกับพระสนิมแดง
พิธีมหา
พุทธาภิเษกพระพุทธสิหิงค์จำลอง 9 เมษายน 2515 ณ วัดพระธาตุดอยสุเทพ
จังหวัดเชียงใหม่ โดยพระเกจิคณาจารย์ 108 รูป ร่วมปลุกเสกในพิธี อาทิ 1. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี 2. หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม 3. หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง 4. หลวงพ่อเกษม เขมโก 5. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม 6. ครูบาคำแสน อินทจักรโก วัดสวนดอก 7. ครูบาคำแสน คุณาลังกาโร วัดป่าดอนมูล 8. ครูบาชุ่ม โพธิโก 9. อาจารย์นำ แก้วจันทร์ และ อาจารย์ชุม ไชยคีรี ( ฝ่ายฆราวาส) ฯลฯ
สมเด็จ ย่า และสมเด็จพระนางเจ้าฯเสด็จเป็นประธาน ขนาดองค์พระ ประมาณ 5.3cm x1.5cm พิธีดีมาก ครับพุทธคุณสูง สภาพสวย องค์นี้เป็น เนื้อเหลือง พิมพ์เจดีย์นูนนิยมครับ |