หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  บทความ
เจ้าพระยาพระเครื่อง
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 131 คน
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ : เจ้าพระยาพระเครื่อง

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า เจ้าพระยาพระเครื่อง
ชื่อเจ้าของ Weerapong prommontree/วีรพงศ์ พรหมมนตรี(อ้น ระโนด)
รายละเอียด Sale thai amulet as well as share information and knowledge about Thai amulet to interesting persons particularly foriegners./ให้บูชาพระเครื่องและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องในเรื่องประวิติเกจิ
เงื่อนไขการรับประกัน เก๊คืนเต็มจำนวน หากคืนพระในสภาพเดิม ภายใน 7 วัน คืน 100 % ภายในสองสัปดาห์ คืน 75 % ภายใน 1 เดือน คืน 50 % / Refund schedule with in 7 days 100 % , with in 14 days 75 % , with in 30 days 50 %
ที่อยู่ Weerapong prommontree 165/91 Senbordee Pimolrach Bangboutong, Nontaburi 11110/วีรพงศ์ พรหมมนตรี 165/91 ซ 26 หมู่บ้านสินบดี ต. พิมลราช อ บางบัวทอง จ. นนทบุรี 11110
เบอร์ที่ติดต่อ 081-6414009,029243140 ( อ้น ระโนด ) line ID weerapong07
E-mail eon_werapong123@hotmail.com
วันที่เปิดร้าน 01-01-2554 วันหมดอายุ 01-01-2568

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี
กสิกรไทย สำเหร่
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
032-2-93420-3
ออมทรัพย์
กรุงไทย บางบัวทอง
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
121-0-28494-4
ออมทรัพย์
กรุงเทพฯ งามวงศ์วาน
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
917-004262-7
ออมทรัพย์

วัตถุมงคล: พระเครื่องเกจิอาจารย์ภาคอีสาน
พระผงรูปเหมือน หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง รุ่นรับทรัพย์ ปี 2550 เนื้อแดงปัดทองทั้งองค์
17-02-2565 เข้าชม : 1369 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] พระผงรูปเหมือน หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง รุ่นรับทรัพย์ ปี 2550 เนื้อแดงปัดทองทั้งองค์
[ รายละเอียด ] พระผงรูปเหมือนเต็มองค์ หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง รุ่นรับทรัพย์ ครบรอบอายุ 91 ปี ปี 2550 จ.ร้อยเอ็ด เนื้อแดงปัดทองทั้งองค์ สำหรับกรรมการ สร้างน้อยหายาก หลวงปู่ศรี มหาวีโร พระผู้มากล้นด้วยบุญบารมี วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ในวาระอันเป็นมหามงคลสิริอายุครบ ๙๐ ปี ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๙ คณะศิษย์ขอน้อมกตัญญูกตเวทิคุณถวายบูชา ตอนที่ ๘ พรรษาที่ ๒๐-๔๒ ปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ - ๒๕๓๐ จำพรรษาที่ วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) บ้านศรีสมเด็จ ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ดั่งตะวันโผล่เหนือขอบฟ้า นับเป็นเวลาถึง ๘ ปี ที่หลวงปู่ศรี ท่านได้ไปเที่ยววิเวกภาวนาและจำพรรษาในถิ่นอื่น การย้อนกลับมาถิ่นเดิมของท่าน ช่างเป็นความจริงอย่างที่หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ ได้บอกไว้ว่า “ท่านศรี ท่านจะหนีจากเมืองร้อยเอ็ดไปไหนไม่ได้ดอก” ก็เป็นความจริงจนถึงทุกวันนี้อย่างที่ใคร ๆ ไม่อาจปฏิเสธได้ การกลับมาของท่านในคราวนี้ ดั่งลำแสงแห่งตะวันโผล่ขึ้นมาเหนือขอบฟ้าของจังหวัดร้อยเอ็ด ส่องแสงสว่างจ้ามาแต่ไกล ย่อมยังความมืดมิดให้ปลาสนาการหายไป ยังความหลับใหลของบุคคลผู้หลงให้ตื่นจากความงมงาย กลายเป็นคนผู้รู้ตื่นเบิกบาน ในเช้าวันนั้นเมื่อชาวบ้านเป็นท่านกลับมาเดินเที่ยวรับภิกขาจารบิณฑบาตอย่างเมื่อหลายปีก่อน ต่างคนก็ต่างดีอกดีใจวิ่งบอกข่าวแก่กันและกัน รอยยิ้มแววตาและจิตใจที่ชื่นบานแผ่ปกคลุมไปโดยทั่ว กระแสลำแสงแห่งธรรมภายในของหลวงปู่ศรี เจิดจ้ายิ่งกว่าแสงพระอาทิตย์ในยามเช้าวันนั้นเสียอีก เสี้ยนหนามคือกิเลสชั่วหยาบ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ตัณหา อวิชชา อุปาทาน ที่มีอยู่ดาษดื่นเที่ยวทิ่มแทงดวงจิตของมนุษย์และสัตว์เป็นจำนวนมาก คราวนี้มีหวังถูกบ่งออกได้ด้วยธรรมของท่านผู้ทรงธรรมเป็นอริยสงฆ์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่มีคนและพระใจบาปอีกจำนวนไม่น้อยในเขตอำเภอเมือง (ปัจจุบันอำเภอศรีสมเด็จ) ที่อิจฉาริษยาในการกลับมาของท่าน ถึงขนาดเที่ยวป่าวประกาศว่า “คอมมิวนิสต์กลับมาบ้านแล้ว” คนเหล่านี้เที่ยวขัดขวาง แสดงอำนาจบาตรใหญ่ ข่มขู่เบียดเบียนทุกวิถีทาง ไม่ให้ท่านสร้างวัดและสร้างความเจริญทางด้านศีลธรรมและวัตถุธรรม ดังข้อความตอนหนึ่งที่ท่านบันทึกไว้ในสมุดบันทึกของท่านว่า.. จดหมายจากที่ทำการเจ้าคณะตำบลขอนแก่น จังหวัดร้อยเอ็ด ส่งมาถึงพระอาจารย์ศรีเพื่อระงับการสร้างวัดว่า "การตั้งวัดป่ากุง ผู้ใหญ่บ้านทายกทายิกาทั้งหลาย มีบ้านบาก บ้านหนองสองห้อง บ้านหนองแวง บ้านเหล่าล้อ บ้านก่อ ทางเจ้าคณะผู้ปกครองได้ทราบว่า ญาติโยมทั้งหลายมีวัดประจำหมู่บ้านดังกล่าวแล้ว จะคิดหรือปลูกสร้างสำนักขึ้นที่วัดร้างบ้านกุงเก่า เรื่องนี้หากจะสร้างจริง ? ให้ญาติโยมเสนอรายงานไปยังเจ้าคณะปกครองเสียก่อนจึงสร้างได้ มิฉะนั้นผิดระเบียบ ให้งดเสียก่อนดีกว่ามันจะยุ่งไปใหญ่” ลงชื่อ พระปลัดพรหม เจ้าคณะตำบลขอนแก่น และอีกฉบับหนึ่งเพื่อระงับการขยายเขตวัด จดหมายจากที่ทำการกำนัน ตำบลขอนแก่น จังหวัดร้อยเอ็ด ส่งมาถึงพระอาจารย์ศรีว่า “ที่ดินจะปลูกวัดนั้น ขอให้ท่านอาจารย์เอาแค่เขตเดิมของวัด (๔ ไร่) เก่า แต่ส่วนนอกนั้นผมจะให้ราษฎรครอบครองเป็นที่ทำมาหากิน เพราะแผ่นดินมันกำลังกันดารมาก และประชาชนก็มาก การตั้งวัดแล้ว ราษฎรก็เข้าครองประโยชน์อีกมิได้ เพราะทางการไม่พึงประสงค์จะอนุญาตให้ได้ ฉะนั้นท่านอาจารย์จงเอาแต่เขตวัดเดิม” ลงชื่อ นายยาว ชุงชิต กำนันตำบลขอนแก่น วัดประชาคมวนาราม แต่ไม่มีใครอาจรู้ได้ว่า การกลับมาของท่านในคราวนี้ ท่านได้ครองวิมุตติสุข เหล่าเทวดาอารักษ์มาแสดงความยินดีอนุโมทนาในธรรมวิเศษและต้อนรับท่านอย่างดาษดื่น นัยว่าจะเป็นการกลับมาเพื่อเสริมสร้างสิ่งมหัศจรรย์อันเป็นคุณประโยชน์ใหญ่ให้แก่ประเทศชาติพระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์ อย่างที่สุดจะคิดและคาดเดาได้ เมื่อท่านอยู่ได้ไม่นานนักทายกทายิกาประชาชนเห็นพ้องต้องกันว่าจะบูรณะปรับปรุงวัดป่ากุงแห่งนี้ ให้เป็นวัดวาอารามสมบูรณ์ถาวรมั่นคงสืบไป จึงได้ดำเนินการขออนุญาตจากทางราชการจัดตั้งเป็นวัดขึ้น โดยให้ชื่อตามความหมายที่ประชนร่วมกันสร้างว่า “วัดประชาคมวนาราม” (ป่ากุง) ในสังกัดคณะธรรมยุตติกนิกาย ในวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๘ โดยมีท่าน (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) เป็นเจ้าอาวาสปกครองและบูรณปฏิสังขรณ์ให้เจริญรุ่งเรืองตลอดมา ณ วัดประชาคมวนารามแห่งนี้ ท่านได้ก่อสร้างเสนาสนะไว้มากหลายสุดที่จะกล่าวได้หมด ได้ขยายอาณาเขตจากเดิมเริ่มแรก ๔ ไร่ เป็น ๒๙ ไร่ และเพิ่มเป็น ๓๑๔ ไร่ ๒ งาน เมตตาสรรพสัตว์ การขยายอาณาเขตวัดของท่านเป็นไปด้วยความเมตตาต่อสรรพสัตว์หาประมาณมิได้ วัดป่ากุงฯ นอกจากจะมีเขตพุทธาวาส สังฆาวาส เขตอุบาสิกาและแม่ชีแล้ว เขตแห่งหนึ่งซึ่งวัดอื่นนั้นไม่ค่อยมี นั้นก็คือ เขตที่อยู่ของสัตว์ธรรมชาตินานาชนิด ม้า เก้ง กวาง นกยูง กบเขียด อึ่งอ่าง ปูนา ตะกวด เป็นต้น การขยายอาณาเขตวัดนั้น ท่านดำริว่า..... “ที่อยู่ของคนมันก็มีมากแล้ว แต่ที่อยู่ของสัตว์ที่เป็นอาหารเลี้ยงผู้คนจนจะล้นโลกล้นแผ่นดิน ล้นประเทศ ล้นเมือง แทบจะไม่ค่อยมี ทุ่งนาอันเวิ้งว้างข้างบริเวณวัดนี้ ฤดูฝนกบเขียดอึ่งอ่างมันร้องระงมอย่างน่าสงสาร มีผู้คนมาจับไปกินไปขายได้คนละหลายกระสอบ บริเวณข้างวัดป่ากุงนี้อุดมไปด้วยสัตว์ตามธรรมชาติ ถ้าไม่รักษาเอาไว้ สัตว์เหล่านี้ก็จะสูญหายสูญพันธุ์ไปกับปากท้องมนุษย์ที่ไม่มีวันอิ่มเสียหมด” และท่านย้ำเป็นธรรมะตบท้ายอย่างน่าฟังว่า “ปูไม่มีหัวก็ยังเดินได้ งูไม่มีตีนก็ยังเลื้อยได้ แม่ไก่ไม่มีนมก็ยังเลี้ยงลูกได้ ฉะนั้นมนุษย์จึงไม่ควรดูหมิ่นสัตว์ ผู้มีปัญญาควรช่วยเหลือผู้ที่ต่ำต้อยกว่า ร่างกายของมนุษย์และสัตว์จะมีประโยชน์เพราะรู้จักช่วยเหลือกัน สัตว์ได้ช่วยเหลือมนุษย์ไม่ให้ตาย เพราะมนุษย์ได้เอาร่างกายชีวิตสัตว์มาเป็นอาหาร มนุษย์เมื่อมีกำลังก็ควรช่วยเหลือสัตว์ที่ตนเองเคยบริโภค” เมื่อท่านดำริเช่นนั้น คณะศิษยานุศิษย์ต่างพากันสละจตุปัจจัย ซื้อทุ่งนารอบ ๆ บริเวณวัด จนกลายเป็นวัดป่ากุงที่กว้างใหญ่ ร่มรื่นไปด้วยแมกไม้ สัตว์ไพร คุ้งน้ำ เป็นรมณียสถานอันสงบสำหรับพระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา พ่อค้าประชาชน ชาวบ้าน ผู้แสวงบุญมุ่งตรงต่อมรรค ผล พระนิพพาน และยังเป็นที่อาศัยของสัตว์น้อยใหญ่ต่างๆ ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้ก็ด้วยอาศัยร่มใบบุญของท่านนั้นเอง ไม่เพียงแต่ในอาณาบริเวณเขตวัดป่ากุงเท่านั้นที่เมตตาท่านแผ่ไป สายลมเย็นฉ่ำแห่งเมตตาของท่านยังแผ่ปกคลุมไปโรงพยาบาล โรงเรียน สถานสงเคราะห์ ฯลฯ ทั่วประเทศ ส่วนมูลค่าสาธารณกุศลสงเคราะห์ที่ผ่านจิตเมตตาของท่าน ไม่สามารถนำมาแจกแจงได้หมด ถ้าหากนำมาบันทึกหรือเขียนลงในหนังสือเล่มนี้ทั้งเล่มก็สาธยายได้ไม่หมด ผู้เขียนจึงขอยกไว้ จักขอกล่าวแต่เรื่องเกี่ยวกับจิตใจเป็นหลักใหญ่ ซึ่งเป็นจุดประสงค์ขององค์ท่านเองอย่างแท้จริง สำหรับพระธรรมเทศนาของท่าน เมื่อร่างกายท่านยังแข็งแรงดี ท่านจะแสดงธรรมโปรดญาติโยมทุกวัน ธรรมะของทานแสดงเป็นภาษาอีสานเข้าใจง่ายเป็นกันเอง บุคคลทั่วไปไม่ว่าเพศวัยใดก็ตาม เข้าหาท่านได้ง่าย ท่านไม่ถือองค์ว่ามีชื่อเสียงโด่งดัง ข้อวัตรปฏิบัติ พระภิกษุสามเณรที่เข้ามาศึกษายังสำนักวัดป่ากุงฯ หรือวัดสาขา ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ท่านตั้งไว้อย่างเคร่งครัด คือ (นำมาลงเพียงบางส่วน) เวลา ๐๓.๐๐ น. - ๐๕.๐๐ น. ตื่นนอนเตรียมทำวัตรเช้า ฟังอบรมกัมมัฏฐาน นั่งสมาธิภาวนา ทำความสะอาดศาลาและบริเวณวัดที่ได้รับมอบหมาย เวลา ๐๘.๓๐ น. - ๑๑.๐๐ น. เดินจงกรมนั่งสมาธิภาวนา ห้ามกินแล้วนอน เวลา ๑๕.๐๐ น. - ๐๖.๐๐ น. ทำความสะอาดลานวัด ลานศาลา อุโบสถ และพระเจดีย์ เวลา ๑๗.๐๐ น. – ๒๑.๐๐ น. ทำวัตรเย็น ฟังธรรมภาคปฏิบัติ ทำสมาธิภาวนา การร่วมสังฆสามัคคีในนามศิษย์หลวงปู่ศรี ที่วัดป่ากุงฯ และวัดสาขา ต้องถือเป็นข้อปฏิบัติประจำปี ปีละ ๕ ครั้ง คือ ๑. วันคล้ายวันเกิดของหลวงปู่ศรี ตรงกับวันที่ ๓ พฤษภาคม ของทุกปี ๒. วันอุปสมบทหมู่เข้าพรรษา ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๘ ของทุกปี ๓. วันปวารณาออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ ของทุกปี ๔. วันกฐินสามัคคี ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี ๕. วันมาฆบูชา ของทุกปีเป็นวันประชุมใหญ่มูลนิธิฯ และปัญหาวัดสาขา ที่ดิน วัด ฯ เรื่องการเงิน-การบัญชีของทางวัดป่ากุง (ปัจจุบัน) หลวงปู่ศรี มหาวีโร จัดให้มีคณะกรรมการบริหารงานประจำคือ ๒๕ รูป/คน โดยมีพระสงฆ์เป็นหลัก บริหารในรูปแบบของการจัดตั้งมูลนิธิ คือ ๑. มูลนิธิพระอาจารย์ศรี มหาวีโร (Pra Archarn Sri Maha Veero Foundation) เริ่มต้นจากศรัทธาวัดสาขาของท่านประมาณ ๑๔๕ วัด ตั้งเป้าไว้ให้หาทุนเข้าช่วยกัน วัดละ ๑ ล้านนาท และศรัทธาทำบุญกับหลวงปู่ศรีในแต่ละวันก็รวมเข้าในมูลนิธิพระอาจารย์ศรี มหาวีโร ปัจจุบันมีเงินอยู่ ๒๖๕,๐๐๐,๐๐๐ (สองร้อยหกสินห้าล้านบาท) วัตถุประสงค์หลักของมูลนิธิ - เพื่อเป็นสมณบริขาร พระเณร ชี อุบาสก อุบาสิกา ที่มาปฏิบัติธรรม และช่วยเหลือภิกษุผู้อาพาธ หรือค่ายานพาหนะในการธุดงควัตร หรือในการปฏิบัติกัมมัฏฐาน - ช่วยเหลือเด็กนักเรียน นักศึกษาที่ประพฤติดี แต่ยากจน - ช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรมหรืออุบัติเหตุ ในการปฏิบัติหน้าที่ทางพลเมืองดีหรือทางสังคมสงเคราะห์หรือสาธารณะประโยชน์ ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร - เพื่อช่วยเหลือกิจการศาสนา ทำนุ บำรุง ส่งเสริมซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์พระมหาเจดีย์ชัยมงคล/พระเจดีย์หิน และกิจการสาธารณะประโยชน์ บูรณะสถานพยาบาลสาธารณะ หรือช่วยเหลือกิจการสภากาชาดไทย - เพื่อช่วยเหลือบุคคลที่ยากไร้ ในการประกอบสัมมาชีพที่คณะกรรมการเห็นสมควร หรือส่งเสริมผู้ประกอบสัมมาชีพดีเด่น - เพื่อร่วมมือกับองค์การการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ ทั้งนี้โดยวัตถุประสงค์ทั้งหมดไม่เกี่ยวกับการเมือง - เพื่อช่วยเหลือกิจการป้องกัน หรือบรรเทาสาธารณภัยต่างๆ ฯลฯ ๒. มูลนิธิอนุสรณ์พระกฐินต้น เริ่มทุนมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ พระราชทานทุนทรัพย์ ๒๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อขยายที่ดิน ปัจจุบันมีเงินอยู่ ๑๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท นอกจากนี้วัดป่ากุงฯ ยังได้เป็นที่ตั้งศูนย์อบรมศีลธรรมของคณะกรรมการส่งเสริมพระพุทธศาสนาประจำหมู่บ้าน (ก.ส.ศ.ป) หลวงปู่ศรีฯ ท่านได้รับแต่งตั้งจากเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เจ้าคณะภาค ๘-๙-๑๐-๑๑ (ธ) เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ ๕ (พิเศษ) และหน่วยสงเคราะห์ พุทธมามกะผู้เยาว์ (น.พ.ก.) เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสจังหวัดร้อยเอ็ด ส่วนการศึกษาอบรม ท่านหลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านได้อบรมหนักไปในทางปฏิบัติวิปัสสนาธุระกัมมัฏฐานเป็นส่วนมาก เน้นหนักไปในทาง ศีล สมาธิ และปัญญา ที่ได้ศึกษา มาเป็นอย่างดีจากท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เป็นหลักปฏิบัติ วัดนี้มีพระเจ้าพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ไม่น้อยกว่าปีละ ๒๕ - ๓๐ รูป มีทายกทายิกาและชาวพุทธทั้งปวงมารักษาศีลฟังเทศน์และรับการอบรมศีลธรรมในวันธรรมสวนะไม่น้อยกว่าวันละ ๑๐๐ คน โดยมิได้เลือกว่ากาลในพรรษาหรือนอกพรรษา ถ้าหากเป็นวันสำคัญ ทางพระพุทธศาสนา อาทิ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชาและวันทอดกฐินสามัคคี เป็นต้น ชาวพุทธย่อมมาประชุมกัน ณ “ศาลามหาวีรธรรมสภา” มากเป็นพิเศษ แม้ศาลาจะกว้างใหญ่ไพศาลเห็นปานนี้ก็ตาม แต่ก็ดูเป็นแคบไปถนัดทีเดียว และสิ่งที่น่ายินดีและปลาบปลื้มปีติเป็นอย่างยิ่งนั้นก็คือ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา และเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ได้เสด็จมาทอดพระกฐินส่วนพระองค์ที่วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุงเก่า) ซึ่งนับว่าเป็นเกียรติประวัติแก่ชาวจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นอย่างยิ่ง ธรรมยาตรา ด้วยอุปนิสัยที่ชอบธุดงค์ธรรม เมื่อออกพรรษาแล้ว หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านจะพาสานุศิษย์ออกเที่ยวธุดงค์ธรรมยาตราไปตามหมู่บ้าน ตำบล อำเภอต่าง ๆ ที่มีป่า มีโคก มีดอน ที่ ๆ ชาวบ้านนิยมนับถือผีปู่ตา ผีป่า ผีแถน ผีฟ้า ฯลฯ ท่านมักจะไปในที่ที่ผีดุ ๆโดยเอาธรรมของจริงจาริกไปโปรดคนและผี โปรดให้ชาวบ้านเปลี่ยนจากการนับถือผีมานับถือพระพุทธเจ้าแทน โปรดผีมิจฉาทิฏฐิ เที่ยวหลอกหลอนชาวบ้านเป็นงานสนุก ให้เป็นผีที่มีความเห็นชอบ ประกอบกรรมดี ธรรมะหลักใหญ่ที่ท่านเน้นสอนชาวบ้านนั้นก็ค่อยให้เขาละเว้นสิ่งที่เป็นอบายมุข โทษของการเล่นการพนันสลากกินรวบ รู้จักเคารพในสิ่งที่ควรเคารพ บูชาในสิ่งที่ควรบูชา มีความจงรักภักดี ต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เป็นต้น ท่านปรารภว่า “ประชาชนชาวบ้านผู้มีอุปนิสัยในทางธรรม เมื่อได้สนทนาธรรม ได้ฟังธรรมจากท่านซึ่งเป็นผู้รู้แจ้งเห็นจริงแม้เพียงครั้งเดียว ก็จะได้รับประโยชน์และความสุขอันมีพระนิพพานเป็นที่สุดได้เช่นกัน” สายทางธรรมที่ท่านเที่ยวจาริกกรรมฐานโปรดชาวบ้านในยุคนั้น เริ่มแรก (ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเพียงบางส่วน ที่หลวงปู่ศรีฯ บันทึกไว้ตั้งแต่วันที่ ๑๔ มีนาคม - ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๘) ท่านไปทางอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ตำบลชุมพระ มีประชาชนที่ศรัทธาเลื่อมใส เลิกนับถือผีหันหน้าเข้าหาพระรัตนตรัยจำนวน ๗,๓๕๓ คน ตำบลบึงงาม อำเภอโพนทอง มีผู้เลิกนับถือผี ๔,๕๘๐ คน ที่บ้านโพนสว่าง มีศรัทธาถวายที่ดิน ๑๖ ไร่ เพื่อสร้างเป็นวัดป่ากรรมฐาน ตำบลขามเบี้ยมีประชาชนมาฟังพระธรรมเทศนาและเลิกนับถือผี ๕,๔๓๘ คน ตำบลอุ่มเม้า มีผู้มารับฟังพระธรรมเทศนาและเลิกนับถือผี ๑,๕๙๒ คน และมีศรัทธาถวายที่ ๔ ไร่ ๑ งาน เพื่อสร้างเป็นวัดป่ากรรมฐาน ตำบลกกโพธิ์ มีผู้มารับฟังพระธรรมเทศนาและเลิกนับถือผี ๖,๐๘๘ คน และมีศรัทธาถวายที่ ๕๔ ไร่ เพื่อสร้างเป็นวัดป่ากรรมฐาน ตำบลสว่าง มีผู้มารับฟังพระธรรมเทศนาและเลิกนับถือผี ๖,๗๘๖ คน และมีศรัทธาถวายที่ ๖ ไร่ ๑ งาน เพื่อสร้างเป็นวัดป่ากรรมฐาน ตำบลโนนไชยศรี มีผู้มารับฟังพระธรรมเทศนาและเลิกนับถือผี ๓,๖๔๐ คน ตำบลสะอาด มีผู้มารับฟังพระธรรมเทศนาและเลิกนับถือผี ๒,๔๒๓ คน ตำบลเชียงใหม่ มีผู้มารับฟังพระธรรมเทศนาและเลิกนับถือผี ๔,๓๗๐ คน ตำบลหนองใหญ่ มีผู้มารับฟังพระธรรมเทศนาและเลิกนับถือผี ๑,๗๒๖ คน ธรรมของท่านจึงแผ่ไปทั่วทุกทิศ ชาวบ้านเกิดความเลื่อมใส จากดงดอนศาลผีปู่ผีตาที่ท่านเดินธุดงค์ผ่านมาพัก ภายหลังได้กลายเป็นวัดวาอารามกรรมฐานเต็มทั่วไปหมด ในเรื่องเผยแผ่ธรรม ปราบผี สร้างวัดกรรมฐาน สอนคนชั่วให้กลับมาเป็นคนดี บารมีธรรมของท่านจึงแผ่ขยายกว้างไกล จึงทำให้ท่านเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป เรื่องท้าวสีทนกับนางมโนรา หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านออกเที่ยวสั่งสอนประชาชนในที่ต่าง ๆ มีวรรณกรรมอีสานเรื่องหนึ่งที่ท่านมักจะยกเปรียบเทียบเสมอคือเรื่องท้าวสีทนกับนางมโนรา ท่านแสดงไว้ว่า “เดี๋ยวนี้โลกของเราติดกันอยู่มุมนี้แหละ (มุมเงิน) สีทนมโนรา เป็นนิยายอันหนึ่ง เป็นบุคคลาธิษฐาน จะจริงหรือไม่จริงก็แล้วแต่ แต่เมื่อเป็นบุคคลาธิษฐานแล้ว เราน้อมมาเป็นธรรมาธิษฐานได้ ชื่อท่านก็บอกไว้แล้ว สีทน มโนรา แต่เรื่องย่อๆ ง่ายๆ ของนิทานนี้ ใครๆ ก็พอจะรู้จัก มโนรา ผู้แปลว่า จิตใจ จิตใจนี้สามารถเหาะไปถึงไหนถึงไหนก็ได้ สีทน อันนี้ก็หมายถึงร่างกายของเรานี้แหละ คือความอดทนก็ได้ ความอดทนนี้เป็นคู่ของจิต ถ้าจิตไม่มีความอดทนก็อยู่ไม่ได้ ตามเรื่องท่านว่ามโนรามีปีกก็เลยเหาะหนี จะไปเมืองภูเงินโน่น แต่พอถึงป่าดงไปพบฤๅษีเลยเอาแหวนธำมะรงค์ฝากไว้กับฤๅษี แล้วสั่งฤๅษีว่า หากผัวข้ามาให้เอาแหวนธำมะรงค์ให้เขาด้วย แล้วนางมโนราก็บินไปถึงเมืองภูเงิน กำหนดวันจะแต่งงานกับพระยาภูเงิน ท้าวสีทน ก็อดทนเดิน เดินไปอยู่อย่างนั้น ทนทุกข์ทรมาน เดินฝ่าป่าดง ป่าหวายหลึมคึมหวายหนา ก็อดทนฝ่าไป ไปพบฤๅษีๆ ให้เรียนมนต์คาถาเสกใส่มะนาว ถ้ามันฝ่าไปที่ไหนไม่ได้ ก็ให้เอามะนาวขว้างไป มันจะเจาะทางเดินไปได้ และได้มอบแหวนธำมะรงค์ให้ พอไปถึงแม่น้ำกัดเหล็กกัดทอง ทิ้งมะนาวลงไปปรากฏว่าจมน้ำไปเลย เลยข้ามน้ำไปไม่ได้ นั่งกอดเข่าร้องไห้อยู่ที่ต้นไม้ต้นหนึ่งใกล้ฝั่งแม่น้ำ ลูกนกอินทรีย์ ๓ ตัว เห็นสีทนนั่งร้องไห้อยู่ก็ลงมาถามว่า “ทำไมมาร้องไห้อยู่ที่นี่” สีทนก็เล่าให้ฟังว่า เมียหนีไปอยู่เมืองภูเงิน จะไปตามก็ข้ามน้ำไม่ได้ ลูกนกอินทรีย์กิเลยแนะนำว่า “พรุ่งนี้พ่อแม่มันจะบินไปหากินอาหารที่เมืองภูเงิน เพราะเมืองภูเงินกำลังจัดงานแต่งงานนางมโนรากับพระยาภูเงิน ฉันก็จะไปด้วยขอให้ท่านแทรกเข้าไปอยู่ในขนปีกพ่อแม่ฉันก็แล้วกัน” วันรุ่งขึ้นสีทนจึงปีนต้นไม้ขึ้นไปแทรกอยู่ในขนปีกนกอินทรีย์ พ่อแม่นกอินทรีย์ก็พาบินไปเมืองภูเงิน พอไปถึงนกบินลงต่ำๆ ส่วนก็กระโดดลง แล้วไปพบสาวใช้ในวังออกมาตักน้ำอาบ จึงฝากแหวนธำมะรงค์ไปให้นางมโนรา พอนางมโนราเห็นแหวนธำมะรงค์ ก็พูดขึ้นว่า ผัวฉันมาถึงแล้วฉันไม่แต่งงานหรอก นี่เป็นเรื่องย่อๆ ทีนี้ถ้าเราจะย้อนมาเป็นธรรมาธิษฐาน มโนรา หมายถึงมโนหรือจิตใจของเรา ท้าวสีทนหมายถึงอดทนหรือขันติ มโน (จิต) กับสีทน (ขันติ) ถ้าหนีจากกันแล้วใช้ไม่ได้ (หมายความว่า การฝึกจิตต้องอดทน) แหวนธำมะรงค์ หมายถึงธรรมะ ที่ว่าเสกมนต์ใส่มะนาว หมายถึงฤๅษีท่านมีศีล หรือสติ พอจะต่อสู้กับทุกขเวทนาต่างๆ นานาได้ การนั่งกรรมฐานมักมีเสมือนขวากหนามอยู่มากๆ คือฝั่งไปหน่อยมักจะเจ็บนั่น ปวดนี่วุ่นวาย นี่แหละคือ ฝ่าดงหนา ป่าหวายหลึมคึมหวายหนา (เดินไม่สะดวก) ต้องฝ่าให้ได้ แต่แล้วเราต้องอาศัยขันติคือ ความอดทน ท้าวสีทนต้องสู้ดึงดันเข้าไป พอได้แหวนธำมะรงค์แล้วเหมือนได้สติ เลยไม่กลัวในการสู้กับทุกขเวทนา ดันเข้าไปเลยแต่ว่าขั้นนี้ดันเข้าไปถึงแม่น้ำกัดเหล็กกัดทองแล้วไปไม่รอด (ข้ามน้ำไม่ได้) จะข้ามได้ก็ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๕ (นกอินทรีย์ ๕ ตัว) คืออินทรีย์ ๕ อันได้แก่ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา อินทรีย์ทั้ง ๕ เป็นพลังที่จะข้ามไปเมืองภูเงิน จึงจะได้เมียคืนมา ถ้าไม่เช่นนั้นเมีย (ใจ) ก็จะอยู่เมืองภูเงิน (ใจติดเงิน) เป็นอย่างนั้นใช่ไหม เห็นใครๆ ก็ยุ่งกับเงินกันทั้งนั้น เรียกว่าไปอยู่เมืองภูเงินกันหมด เจ้าตัววิ่งตามไม่ทัน มีมากใช้มาก เป็นหนี้มาก ยุ่งกันอยู่อย่างนั้นแหละ นี่แหละมโนรามันไปอยู่เมืองภูเงิน มันไปแต่งงานแล้วก็ไม่รู้ จะบินคืนมาอยู่กับตัวของตัว ก็มาไม่ได้ จิตใจมันไปยึดอยู่กับทรัพย์ภายนอก เมื่อพิจารณาเป็นธรรมาธิษฐานแล้วมันจะต้องเป็นอย่างนั้น คนเราชอบไปอยู่เมืองภูเงินหมด ส่วนธรรมะไม่อยากมาหาเลย ท้าวสีทนก็เดือดร้อนวุ่นวาย เพราะเมีย (ใจ) ไม่อยู่ด้วย ฉะนั้น คนจึงได้ทุกข์ได้ยาก ฆ่ากัน ทำลายกัน ยิงกัน คืนวานนี้ก็ได้ยินว่าแทงกันตาย หวงกันท่านั้นท่านี้ร้อยอันพันอย่าง มัน(ใจ)ไปติดอยู่ที่เงินกันทั้งนั้น อยู่แต่ร่างเปล่าๆ เลยไม่มีความอดทน โลกอันนี้ก็เลยเดือดร้อน นี่เทียบกันง่ายๆ มัชฌิมวัย ในบางคราวแม้ท่านจะอยู่ในมัชฌิมวัยย่างปัจฉิมวัยแล้ว ท่านยังนำคณะสานุศิษย์ของท่านเที่ยวกรรมฐานเหมือนกับวัยหนุ่มๆ ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย เที่ยวอบรมสั่งสอนคนที่หลงงมงาย นับถือสิ่งที่ไร้แก่นสาร หันมานับถือพระรัตนตรัย ปรากฏว่ารายทางที่ท่านผ่านไปกลิ่นธูปควันเทียน เครื่องสังเวยภูตผี ได้กลับกลายมาเป็นเครื่องบูชาสักการะพระรัตนตรัยแม้ หนทางที่ท่านก้าวเดินจะเหน็ดเหนื่อย แต่ท่านก็ไม่ย่อท้อในการสงเคราะห์โลก เพราะท่านถือว่า “ร่างกายกับคุณความดีแตกต่างกันไกลลิบลับ เพราะร่างกายสลายไปทุกขณะ ๗วนคุณความดีดำรงอยู่ชั่วกัปป์ชั่วกัลป์” อย่างเช่น ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๑๔ ท่านพาคณะศิษย์ไปทางอำเภอโพนทอง เพราะที่นั้นมีคนนับถือ “ผีฟ้า และผีปอบ” มาก เมื่อไปถึงท่านจะเทศนาสั่งสอนขัดเกลาจิตใจคนที่นับถือผีเสียก่อน ว่า “การนับถือผีไม่มีประโยชน์ ส่วนเข้านับถือพระพุทธเจ้าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ ผู้ที่นับถือพระพุทธเจ้าแล้ว ผีไม่อาจเข้ามาทำอันตรายได้” พอตกตอนค่ำท่านและคณะก็จะนอนตรงที่ว่า “ผีดุ ๆ” เมื่อตื่นเช้าขึ้นมาไม่เห็นผีกล้าสามารถทำอันตรายท่านแต่อย่างใด ผู้คนเพิ่มความศรัทธาในท่านเป็นอย่างมาก แล้วท่านก็จะแสดงธรรมย้ำว่า “ชีวิตมนุษย์ไม่ควรมีผีเป็นสรณะ เพราะผีไม่ใช่ที่พึ่งที่แน่นอน ให้หันมานับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ซึ่งเป็นที่พึ่งที่แน่นอนถาวรมั่นคง ใครที่มัวนับถือผีเป็นที่พึ่ง ถือว่าเกิดมาเสียชาติเกิด” ชนทั้งหลายเหล่านั้นเมื่อได้ฟังธรรมที่ท่านแสดงแล้ว ถึงกับนั่งร้องไห้เกือบทั้งหมู่บ้าน หันมาขึ้นต่อไตรสรณคมณ์ ท่านก็จะรดน้ำมนต์ให้ ในขณะที่ท่านรดน้ำมนต์ให้นั้นเสียงกรีดร้องโหยหวนของผีที่ลงอยู่ในร่างคนทั้งหลาย พยายามต่อสู้ กรีดร้องดังไปไกลหลายช่วงป่า และไม่นานคงเหลือแต่เสียงสะอึกสะอื้น และในที่สุดก็จะสงบลง เมื่อกลับไปบ้านก็จะปลดหิ้งบูชาผีที่ตนบูชาอยู่ในบ้านทิ้ง อย่างไม่อาลัยเสียดายและเกรงกลัวอีกต่อไป ในบางครั้งหลวงปู่ศรี ท่านก็เมตตาเล่าเรื่องผีที่ท่านสัมผัสได้ให้เฉพาะศิษย์ใกล้ชิดฟัง ท่านบอกว่า “พวกภูตผีก็เหมือนมนุษย์เรานี้แหละ มีทั้งดีและชั่วเหมือนคนเรามีทั้งชั่วทั้งดี ผีไม่ดีก็ถูกจับไปกักไว้ในคุกเหมือนโลกมนุษย์เรา บ้านเมืองผีก็ใหญ่โตเหมือนบ้านเมืองในโลกมนุษย์เรา มีหัวหน้าปกครองเหมือนกันทุกอย่าง แต่ที่แตกต่างคืออำนาจของบุญ ผีทั้งหลายจะเกรงกลัวผู้มีบุญวาสนาที่สั่งสมมาดีแล้ว และผีที่มีนิสัยทางบุญก็จะสนใจในบุญเหมือนกัน แต่ที่เป็นผีเพราะต้องมาชดใช้กรรมตามวาระเท่านั้น" หลวงปู่ศรี ท่านเล่าเรื่องผีไว้พิสดารมาก แต่ผู้เขียนได้นำมาลงเพียงเล็กน้อย เพราะเกินนิสัยมนุษย์ทั่วไปที่รับรู้เห็นอย่างท่านได้ บางคนไม่เข้าใจเรื่องบาปบุญนรกสวรรค์อาจคิดไปได้ว่าเป็นเรื่องโอ้อวดกุเรื่องขึ้นมา จึงขอพักไว้ก่อน ในการเที่ยวอบรมสั่งสอนออกธรรมยาตราของท่าน ไม่ได้ราบรื่นเสมอไป ในบางครั้งมีผู้พยายามต่อต้านด้วยวิธีการต่าง ณ บางคนนับถือผีมาตั้งแต่โคตรเหง้า หรือโคตรของโคตรเหง้า ตั้งแต่สมัยพระเจ้าเหา จนจิตใจกลายเป็นเปรตผีไปเสียทั้งหมด เที่ยวพยายามต่อต้านท่าน เห็นว่าท่านจะผ่านไปยังหมู่บ้านใดก็ไปเที่ยวโพนทะนาป่าวประกาศล่วงหน้าว่า “คอมมิวนิสต์มาแล้ว พวกมารมาแล้ว มาในคราบของพระภิกษุเป็นผู้นำ ให้ชาวบ้านพากันระวังอย่าหลงเชื่อ” เมื่อท่านเดินทางไปถึงพวกมารเหล่านี้ก็จะคอยก่อกวนด้วยวิธีการต่าง ๆ ทำให้ลูกศิษย์เดือดร้อนใจจึงเข้าไปกราบเรียน ท่านก็บอกว่า “ก็ช่างเขาเถอะ อย่าไปสนใจพวกมันเลย” และท่านก็สอนศิษย์ว่า “คนฉลาดถึงมีตาดี ก็ทำเหมือนคนตาบอด ถึงหูดี ก็ทำเหมือนคนหูหนวก ถึงมีปัญญาก็ทำเหมือนคนใบ้ ถึงมีกำลังก็ทำเหมือนคนไม่มีกำลัง เมื่อมีความจำเป็นขึ้นมา ถึงจะนอนอยู่ในเวลาใกล้ตาย ก็ยังทำประโยชน์ใหญ่ได้” ภายหลังเมื่อพวกนั้นก่อเรื่องราวมากเข้า ถือค้อนถือมีดหวังเข้ามาทำร้ายท่าน ท่านอดไม่ได้เลยพูดว่า “มีอะไร เฮ้ย!! เดี๋ยวแผ่นดินจะสูบนะ” ท่านพูดสั้น ๆ เพียงเท่านั้น พวกมันเห็นอำนาจอะไรของท่านก็ไม่ทราบ พากันวิ่ง ๆ ๆ ๆ แตกหนี ราวกะผึ้งแตกรังกระเจิดกระเจิง ทิ้งค้อน ทิ้งมีด ทิ้งขวาน วิ่งหนีเตลิดเปิดเปิง แบบไม่คิดชีวิต นี่คืออำนาจจิตของท่าน เป็นเรื่องสุดวิสัยที่เรา ๆ ท่านๆ จะอาจสามารถรู้ได้ อำนาจจิตของหลวงปู่ศรี เมื่อกล่าวถึงอำนาจจิตของท่าน มีพระอดีตผู้ใหญ่บ้านที่สละบ้านเรือนออกบวชติดตามหลวงปู่ศรี ได้เล่าด้วยความศรัทธาเลื่อมใส ในอำนาจจิตของท่านไว้ว่า..... ...ตอนที่ผมยังไม่ได้บวชและยังไม่ได้เป็นผู้ใหญ่บ้าน ผมเข้ามาวัดป่ากุงใหม่ๆ ท่านเทศนาว่า “เรามาประพฤติปฏิบัติ ให้ตั้งอกตั้งใจ” ผมก็พูดสวนท่านว่า “หมามันเห่าทางบ้าน ผมห่วงว่า จะมีโจรขโมยควาย” ท่านจึงบอกว่า “จะเอาของดีให้ ทำไมมาพูดแย้ง ไม่ใช่วิธีนะ” ผมก็ยังพูดแย้งขึ้นอีกว่า “ผู้ใหญ่บ้านเขาเปิดบ่อนการพนัน คนเล่นคนกินคนเที่ยวมันเยอะ ไม่รู้ว่าควายที่บ้านเป็นยังไง หมาตัวอยู่บ้านมันเห่า” ท่านเลยด่าเอาว่า “มาประพฤติปฏิบัติในศีลธรรมจะไปกลัวทำไมกับของแบบนั้น ถ้าหากเราประพฤติดีแล้ว ไม่มีใครมาทำอะไรเราได้หรอก ปืนก็ยิงไม่ออก ไฟไม่ไหม้ ตกน้ำไม่ตาย ไม่อย่างนั้นพระพุทธเจ้าไม่ตรัสไว้หรอก สวากขาตธรรม คนไหนประพฤติธรรม คนนั้นไม่มีอันตราย ” ผมฟังท่านแล้วผมไม่เชื่อ ผมไม่เคยเห็นว่าธรรมจะรักษาวัวควายที่บ้านผมได้ ผมก็เลยขอลาท่านกลับไปบ้าน แยกไปคนเดียว สัญญากับเพื่อนไว้หากมีเรื่องจะฉายไฟเรียก กลับไปถึงบ้านเห็นคอกควายโดนขโมยเปิดไว้หมด แต่ควายไม่ออกจากคอก ปรากฏว่า พวกขโมย มันเอาสนตะพายควายตัวผู้ ดึงควายตัวผู้ออกหนีจากหมู่พวก แต่มันไม่ยอมไป ควาย ๗ ตัวไม่ออกจากคอกซักตัว พ่อก็แก่ แม่ก็เฒ่า นัยตาก็ฝ้าฟาง มีเพียงหลานกำพร้าลูกของน้องสาว ผมจึงถามพ่อว่า “พ่อนอนต่างไหม?” (หมายถึงนอนแล้วรู้สึกมีอะไรแปลก ๆ หรือผิดปกติ หรือเปล่า ) พ่อบอกว่า “ลูกเอ้ย! ควายมันหลุดวิ่งไล่ขวิดกันอยู่ ไปผูกหน่อย” ผมก็โมโห บอกพ่อว่า “เขาจะขโมยควายเรา แต่ควายเราไม่ไป” ผมเลยฉายไฟเรียกเพื่อน เพื่อน ๑๒ คนจึงมาดูด้วยกัน ต่างคนก็ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกัน อัศจรรย์จริงอย่างท่านหลวงปู่ศรีฯ ว่า “ผู้ใดประพฤติธรรม ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม” ผมหัวเข่าทรุดลงกับพื้นดินตรงปากคอกควายหันหน้าไปทางพ่อแม่ครูอาจารย์ (ศรี) กราบขอเป็นลูกศิษย์ท่าน นี้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดขึ้นกับผมจริง ๆ หลังจากนั้นมาผมได้มากราบฟังธรรมท่านเสมอ และมีเรื่องอัศจรรย์ในคุณธรรมของท่านเสมอ จึงเกิดศรัทธาแก่กล้าสละบ้านเรือนออกมาบวชประพฤติศีลธรรม ภูมิเจ้าที่วัดป่ากุง หลวงปู่เล่าถึงภูมิเจ้าที่วัดป่ากุงตนหนึ่ง หลวงปู่เรียกว่า “อีสิ้นเหี่ยน” แปลงร่างได้ ๒ รูปแบบ ๑. เป็นงูใหญ่หางด้วน ตัวเท่าลำต้นตาล ๒. เป็นผู้หญิงแต่งชุดเปลือกไม้ปกปิดกาย อีกตนหนึ่ง เรียกว่า “บักดำใหญ่หรือบักคอลาย” ท่านทรมานสมัยอยู่ที่ วัดป่าหนองใต้ จนยอมตัว ขออยู่รับใช้ติดตามมาอยู่วัดป่ากุงกับหลวงปู่ มาเฝ้าวัดเฝ้าสระใหญ่ ใครไปจับต้อง ลักเล็กขโมยน้อยในวัด เอาของโดยไม่บอกกล่าวก่อน ต้องมีอันเจ็บไข้ได้ป่วยมีอันเป็นไปต่างๆ ถ้าอยากจะหายก็ต้องแต่งขันธ์ ๕ ขันธ์ ๘ มาขอขมาหลวงปู่ จึงหายจากอาการที่เป็น หลวงปู่บอกว่าด้วยอานิสงส์แห่งการรับใช้พระ ภูมิเจ้าที่ทั้งสองได้ไปเกิดในภพภูมิที่สูงแล้ว ต่อมาท่านก็เป็นผู้นำชาวบ้าน ปลูกป่าไม่ว่าจะเป็นส้ม มะนาว กล้วย กอไผ่ ฯลฯ ปลูกในบริเวณวัด ท่านปลูกกล้วยล้อมโบสถ์ ไม่ให้ใครแตะต้อง พอพวกโจรขโมยผ่านมาเห็นกล้วยสุกคาเครือน่ากิน ก็ชวนกันเข้าไปขโมย ไปกัน ๔ คน เอากระสอบข้าวสารไปใส่ ตัดใส่ถุงละเครือ หามกระสอบกล้วยเดินวกวนไปมาอยู่ในบริเวณวัด หาทางออกไม่ได้จนกระทั่งสว่าง นั่งเหนื่อยล้าอ่อนเพลียทอดอาลัยอยู่ที่ใต้ร่มไม้ พอตอนเช้าท่านออกไปบิณฑบาต จึงบอกพระเณรว่า “ไปเรียกพวกขโมยบ้าหามกระสอบกล้วยเดินรอบวัดทั้งคืนมานี่ซิ” เมื่อถามพวกขโมยนั้นมาท่านก็ถามว่า “เป็นไงบ้างเหนื่อยไหม? ถ้าอยากกินทำไมไม่ขอ คราวหลังก็ขอสิ เอ้า เอาไปกินซะ” เมื่อท่านอนุญาตให้ เขาก็กราบท่าน แล้วกราบเรียนท่านด้วยความตื่นเต้นตื่นกลัวว่า “เข็ดแล้วครับท่านอาจารย์ เข็ดไปจนวันตาย วัดนี้ผีเยอะเหลือเกิน พวกผมจะเดินหนีไปทางไหนก็มีผีขัดขวาง ไม่เจอผีก็เจอป่าทึบ หาทางมุดออกไม่ได้ เดี๋ยวก็เจอเสือ เดี๋ยวก็เจองูใหญ่ วิ่งหนีตายกันแทบทั้งคืน แทบจะเอาชีวิตไม่รอด เสื้อผ้าขาดวิ่นหมด” “ทีหลังอย่าพากันไปหาลักขโมย มันเป็นบาป อยากได้อะไรก็ขอเอาตรงๆ” หลวงปู่ศรีท่านกล่าวสอน อีกอันหนึ่ง ก็เป็นเรึ่องแปลกประหลาดเช่นกัน คือมีคนหนึ่งมารับจ้างขุดสระน้ำที่บ้านโสร่งแดง ห่างจากวัดป่ากุงนี่ไปก็ประมาณ ๔-๕ กม. เลยบ้านก่อไป แกเอาแทรกเตอร์ขุดตรงนั้น แทรกเตอร์ดับไม่ติดเลย ทำยังไงก็ไม่ติด มีคนแนะนำแกว่า ให้แต่งเครื่องเซ่นสังเวยผีปู่ตาสิ เดี๋ยวรถก็จะสตาร์ทติด แกทำพิธีอย่างที่แนะนำ ก็ไม่สำเร็จประโยชน์ มีอีกคนบอกว่า ลองไปขอน้ำมนต์จากหลวงปู่ศรี วัดป่ากุงสิ แกจึงมากราบหลวงปู่เล่าความเป็นไปให้ท่านฟัง ท่านจึงทำน้ำมนต์ให้ แกก็เอาไปรดพรมรถแทรกเตอร์ พรมน้ำมนต์เสร็จ รถสตาร์ทติดทันทีเลย แกก็ก้มลงกราบหลวงปู่ตรงนั้นเลย พอเสร็จงานก็เลยมาหาหลวงปู่ บอกหลวงปู่ว่า ผมอัศจรรย์ในบุญบารมีครูบาอาจารย์จริงๆ ตั้งแต่นั้นมาทางวัดป่ากุงมีกิจการงานอะไรเกี่ยวกับเรื่องขุดสระ แกมาทำถวายหมด นี้เป็นเพียงเกร็ดเล็กน้อยในอีกหลายเรื่องที่ยกมาเป็นตัวอย่าง ให้รู้ถึงอำนาจจิตและบุญญาภินิหารของหลวงปู่ศรี มหาวีโร พระอรหันต์แสดงธรรมให้ฟังที่เขาผาน้ำย้อย ในฤดูแล้งอากาศร้อนอบอ้าวของทุกปี ท่านมักจะนำคณะศิษย์ออกเที่ยววิเวกเจริญสมณธรรมตามป่าตามภูเขาลึก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ “ภูเขาเขียว” หรือ “เขาผาน้ำย้อย” หรือ อีกชื่อหนึ่งว่า “ดงมะอี่” มีพื้นที่ติดต่อ ๓ จังหวัด คือ กาฬสินธุ์ มุกดาหารและร้อยเอ็ด สถานที่แห่งนี้ถูกอัธยาศัยท่านเป็นพิเศษตั้งแต่ท่านอุปสมบทใหม่ๆ จนกระทั่งเข้าสู่วัยชรา เมื่อมีโอกาสท่านจะออกมาเที่ยวเจริญสมณธรรมบริเวณเขาเทือกนี้เสมอ ท่านเล่าว่า “การมาเจริญสมณธรรม ตามสมณวิสัย ที่เทือกเขาผาน้ำย้อย มักได้อุบายแปลกประหลาดและอัศจรรย์เสมอ ตั้งแต่คราวยังหนุ่ม ร่างกายท่านยังแข็งแรง ท่านมักมาเที่ยววิเวกเพียงองค์เดียวอยู่ในป่าลึกๆ สนุกในการเจริญวิปัสสนา การพิจารณาธรรมต่างๆ คล่องตัวไม่เป็นที่ติดขัด อากาศก็เบาสบาย สัตว์เสือช้างก็ยังมีให้เห็นดาษดื่นอยู่ สงัดกายสงัดจิตจากอุปธิสรรพกิเลสที่มาก่อกวนรุมเร้าจิตใจ บางครั้งบางคืนปรากฏว่า มีพระสาวกอรหันต์มาแสดงธรรมให้ท่านฟังตามอริยประเพณี โดยปรากฏทางสมาธินิมิต ใจความย่อสรุปได้ว่า “สมณะไปที่ใด อยู่ที่ใด ไม่ควรติดข้องอยู่กับกาลสถานที่ เวล่ำเวลา ควรตั้งจิตบำเพ็ญเพียรเพื่อความหลุดพ้นทุกลมหายใจเข้าออก ชีวิตที่กำลังก้าวผ่านไปในปัจจุบัน คือความไม่แน่นอน ที่ผลกรรมปรุงจิตแต่งขึ้นตั้งแต่อดีต ถ้าหากกรรมในปัจจุบันไม่แน่นอน ก็จะส่งผลร้ายในอนาคต การมีชีวิตอยู่กับการตายไม่มีความต่างกันในทางธรรม เพราะเป็นหลักธรรมดาที่มนุษย์ และสัตว์โลกต้องพานพบเป็นประจำนิสัย การบำเพ็ญเพียรทางจิตเพื่อความหลุดพ้นในวันนี้ หรือวันพรุ่งนี้ต่างหาก เป็นกิจที่สมณะพึงกระทำบำเพ็ญให้เกิดขึ้น สมณะที่มีความมุ่งหวังว่าจะสิ้นกิเลสได้ในวันนี้หรือพรุ่งนี้เป็นสมณะที่ไม่นิ่งนอนใจ ต้องเป็นผู้มีความเพียรแผดเผากิเลสแก่กล้า สมณะเช่นนี้แล เป็นสมณะสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแท้จริง ” เมื่อสาวกอรหันต์มาแสดงธรรมให้ท่านฟังแล้ว ก็อันตรธานจากไป ท่านก็น้อมเอาธรรมนั้นมาพิจารณาใคร่ครวญไตร่ตรองให้เกิดสติปัญญา ท่านเล่าว่า “เพลิดเพลินดื่มด่ำในพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหมือนท่องเที่ยวอยู่ในแดนอมตมหานฤพานข้ามความโศกเศร้าร้าวราน ลืมวันลืมคืน จิตใจจดจ่ออยู่กับการพิจารณาธรรมทั้งเบื้องบนเบื้องล่าง จิตออกรู้เห็นทั้งแดนนรก แดนสวรรค์ พรหมโลก ออกรู้เห็นความระทมทุกข์ของสัตว์โลก เห็นความบันเทิงสุขของเหล่าเทพในสรวงสวรรค์ เห็นความยาวนานของชีวิตในพรหมโลก เมื่อย้อนจิตกลับเข้ามาข้างในพิจารณาธาตุขันธ์ที่ถูกกรรมปั้นแต่งขึ้นมาเหมือนดินที่ถูกช่างปั้น ปั้นเป็นรูปสัตว์บุคคลต่าง ๆ ที่ถึงเวลาก็แตกสลาย แล้วก็ปั้นขึ้นมาใหม่โดยอาศัยดินเดิม เปลี่ยนรูปลักษณะไปต่าง ๆ นานา จนช่างปั้นคือจิต ไม่อาจจำผลงานคือภพชาติที่หมักหมมมานานแสนนานได้” บางครั้งถึงกับน้ำตาร่วงเมื่อพิจารณาถึงชีวิตธาตุขันธ์และภพชาติที่เวียนว่ายตายเกิดผ่านมามีแต่เรื่องแบกกองทุกข์นานัปการ หาประมาณและหาที่ยุติแทบไม่ได้ ทำให้เกิดสลดสังเวชสุดประมาณ เห็นทุกข์และเห็นโทษของทุกข์ เห็นเหตุให้เกิดทุกข์คือกิเลสตัณหา เห็นทางดับทุกข์คือมรรคมีองค์ ๘ ที่พระพุทธเจ้าทรงประทานไว้ เมื่อจิตพิจารณายับยั้งอยู่เป็นเวลานานจึงถอนออกจากสมาธิ ท่านเล่าว่า พระอรหันต์มาแสดงธรรมให้ฟังนั้น มีทั้งพระสาวกอรทันต์ในสมัยพุทธกาลและพระอรหันต์ในสมัยปัจจุบันที่นิพพานในเมืองไทย เมื่อพระอรหันต์จะนิพพานท่านก็แสดงนิมิตให้เห็นว่า เป็นผู้หมดความกังวลห่วงใย เมื่อถึงเวลาธาตุขันธ์ท่านจะแตกสลายตายลงไป ท่านก็ไม่มีความสะทกสะท้านหวั่นไหว เป็นผู้มีความคงที่สมบูรณ์ด้วยจิตวิมุตติ เหนือโลกสมมุติทั้งหลาย เทพขอฟังธรรม ท่านเล่าว่าทุกครั้งที่มาเจริญวิปัสสนาที่เขาผาน้ำน้อยยังมีพวกกายทิพย์ เทพ พรหมอันเป็นภพภูมิเบื้องบนมาปรากฏให้เห็นเสมอ บางท่านมาขอฟังธรรม บางท่านมาแสดงฤทธิ์ให้เห็นประจักษ์ถึงบุญญาภิสมภาร และบางท่านแสดงการจุติคือการอุบัติเกิดและวิบัติแห่งเทพยดา เป็นจุตินิมิต ให้ทราบล่วงหน้า เท่านั้นถึงคราวจะวิบัติ ย่อมมีเหตุอาเพศวิปริตเป็นนิมิตเตือนล่วงหน้า คือ ย่อมเห็นดอกไม้ทิพย์เครื่องประดับสำหรับองค์อันอยู่ในวิมานของตนเหี่ยวแห้งและไม่หอม ผ้าทิพย์ก็เศร้าหมอง ไม่รุ่งเรืองสดใส เมื่อถึงกาลวิบัติเทพที่เคยสุขรื่นเริงบันเทิงใจด้วยการเสวยทิพยสมบัติ แต่เมื่อถึงคราวจะพลัดพราก ก็หาความสุขทิพยสมบัติมิได้ อาสนะที่แท่นบรรทมอันแสนสุขก็ร้อนลุกเป็นไฟ ภายในกายของเทพนั้น ย่อมเที่ยวแห้งเศร้าหมองลง หารัศมีดังก่อนมิได้ ให้เหน็ดเหนื่อยเมื่อยเนื้อตัวตีนมือ มีความกระวนกระวายใจ เมื่อนิมิตปรากฏเตือน เทพที่หมดบุญที่จะเสวยดังนี้แล้ว เทพยดาทั้งหลายที่รักใคร่กัน เทพนารีที่เป็นบาทบริจาริกาสุดที่รักดังดวงใจทั้งใกล้ทั้งไกล ย่อมไปมาหาสู่ตลอดทั้ง ๗ วันให้เกิดความโศกศัลย์ทุกข์โทมนัสนักหนา ต่างร้องไห้ต่อหน้าแล้วสะอึกสะอื้นด้วยคำว่า “เมื่อท่านจุติไปแล้ว ขอจงได้กลับมาเกิดในวิมานอันแสนสำราญนี้เถิด” เมื่อเทพนั้นตายจากเทวโลกไป แม้แต่เกศาสักเส้นหนึ่งก็ไม่เหลือปรากฏ หายวับไปหมดสิ้น และจักไปอุบัติบังเกิดในถิ่นใดนั้น ก็สุดแต่บุญบาปกรรมของเทพยดานั้นจักชักนำไป นี้แสดงให้เห็นถึงความไม่แน่นอนว่าแม้ในสรวงสวรรค์วิมานชั้นฟ้าที่ผู้คนปรารถนากันนักหนานั้น ก็ตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน บางครั้งภพภูมิเบื้องต่ำมีภูตผี สัตว์นรก ชั้นนิรยภูมิเปรต อสุรกาย เป็นต้น ก็มาปรากฏให้เห็น ด้วยการแสดงผลแห่งกรรมชั่วอันเผ็ดร้อนให้ปรากฏ เสวยทุกขเวทนาอันร้ายกาจ ผ่านปีเดือนอันยาวนาน เห็นแล้วทำให้เข็ดหลาบในการทำความชั่ว อยากขยันหมั่นสร้างความดี เพราะมนุษย์มัวเมาบันเทิงสุขในโลกมนุษย์เพียงเล็กน้อย เผลอใจไปหำความชั่วนิดหน่อยเมื่อกายแตกดับ กลับไปตกนรกหมกไหม้นานแสนนาน รับนิมนต์สร้างผาน้ำย้อย บันทึกประวัติวัดผาน้ำย้อย..... ....ในปี พุทธศักราช ๒๕๑๗ ทรัพยากรป่าไม้บนเทือกเขาเขียว กำลังถูกทำลายเป็นอย่างมาก บางกลุ่มก็เข้าไปทำไม้แปรรูปขาย และบางกลุ่มก็เข้าไปทำลายป่า เพื่อใช้พื้นที่ปลูกพืชไร่ เดิมพื้นที่แห่งนี้มีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เข้าอาศัยอยู่ปฏิบัติเพื่ออุดมการณ์ เป็นเหตุให้ทางราชการได้พยายามหาวิธีการปราบปรามด้วยวิธีต่างๆ ต่อมาได้พิจารณาเห็นความสำคัญของพระพุทธศาสนา ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตรวมใจของประชาชนชาวไทยได้ โดยเฉพาะแถบจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดใกล้เคียง พระมหาเถระที่ทรงคุณธรรมเป็นที่ประจักษ์แจ้งในหมู่คนดีและคนชั่ว คือ หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านท่องเที่ยวเดินป่าเหยียบผาเขาแถบนี้ แทบที่จะเรียกได้ว่าหลับตาเดินไปได้ก็ไม่น่าจะผิด ท่านท่องเที่ยวภาวนาตามป่าเขาเทือกนี้เหนือจรดใต้ ตะวันตกจรดตะวันออก ด้วยเหตุนี้ น.อ.ประสิทธิ์ ทองใบใหญ่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ดสมัยนั้น จึงได้ไปกราบนิมนต์หลวงปู่ศรี มหาวีโร เพื่อขอให้ท่านได้พิจารณาตั้งวัดเป็นถาวรขึ้นบริเวณเขาผาน้ำย้อย เพื่อจะได้ใช้สถานที่ปฏิบัติธรรม และอบรมสั่งสอนศีลธรรมให้กับประชาชน หลวงปู่ศรี มหาวีโร เมื่อท่านพิจารณาถึงเหตุผลต่าง ๆ แล้วเห็นว่า สมควรเป็นอย่างยิ่งที่สถานที่อันเป็นมหามงคลสำหรับชีวิตรอนแรมธุดงค์ของท่านแห่งนี้ จะได้จัดตั้งเป็นวัดโดยถาวร ท่านจึงจัดสร้างวัดบริเวณเชิงเขาก่อนชื่อว่า “วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม”(ผาน้ำย้อย) ตั้งอยู่บ้านโคกกลาง ต.โคกสว่าง อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด ถนนสายหนองพอก- เลิงนกทา ห่างจากอำเภอหนองพอก ๑๓ ก.ม. ท่านได้ส่งพระมาจำพรรษา ๕ รูป โดยมีหลวงปู่บุญศรี ญาณธมฺโม เป็นหัวหน้า เริ่มแรกเนื้อที่ของวัดมีประมาณ ๕๐,๐๐๐ ไร่ (ภายหลังเพิ่มเป็น ๑๓๐,๐๐๐ ไร่) ได้ปลูกต้นไม้ขึ้นเสริมอีกบนยอดเขา ๓๐๐,๐๐๐ ต้น สมัยนั้นการขึ้นลงต้องไต่ไปตามซอกหิน ไม่มีบันได ป่าไม้อุดมสมบูรณ์มาก การเดินจากตีนเขาถึงผาน้ำย้อยใช้เวลาประมาณ ๓๐ - ๔๐ นาที การบิณฑบาต จะไปที่บ้านโคกกลาง ระยะทางไปกลับประมาณ ๖ กิโลเมตร หลวงปู่ศรี ท่านชอบมาพักอยู่ตามถ้ำบริเวณผาน้ำน้อยนี้ พระเณรก็พักอยู่ตามบริเวณเทือกผาตลอดแนวเขา อาศัยซอกหินเงื้อมหินเป็นที่พักภาวนา ในคราวนั้นท่านป่วยเป็นไข้มาเลเรียอย่างหนัก ท่านไม่ยอมทานยาหรือไปหาหมอ อาหารท่านก็ไม่ฉัน ใช้ธรรมโอสถรักษา คณะศิษย์ทั้งหลายต้องพยายามอ้อนวอนท่านไปรักษา เนื่องจากชราภาพอายุมากแล้ว ท่านยึกยื้ออยู่นาน ทนต่อการวิงวอนของคณะศิษย์ไม่ได้ ถึงจะยอมไป แม้อายุย่างเข้าสู่วัยชราแต่ความเพียรความเด็ดเดี่ยวไม่เคยย่อหย่อนลงเลย และท่านก็สอนพระเป็นธรรมกถาเตือนใจเสมอว่า “การที่คนเราจะมีบุญวาสนาได้นั้น ต้องเป็นผู้ลงมือทำดีเอง การที่เราจะหมดบุญวาสนานั้น เพราะลงมือทำชั่วเอง ความมีบุญวาสนาหรือความไม่มีบุญวาสนา ใครทำให้ใครไม่ได้ เหมือนดอกและผลของต้นไม้ ย่อมเจริญเพราะอาศัยดินดี บุญกุศลคุณงามความดี ย่อมเจริญงอกงามได้ก็เพราะคบหาคนดีและสร้างความดี ฉะนั้น ป่าเปลี่ยวเป็นที่ไปของฝูงเนื้อ กลางหาวเป็นที่ไปของฝูงนก การสิ้นความกำหนัดเป็นเป้าหมายของธรรมะ พระนิพพานเป็นที่ไปของพระอรหันต์” ท่านเป็นแบบอย่างแก่สานุศิษย์ไม่เคยท้อ ไม่เคยหวั่นในการสร้างความดีและคุณประโยชน์ทุกประเภท แม้พระพุทธรูปหินทรายมีน้ำหนักหลายตัน ที่มีศรัทธาสร้างถวาย ท่านเองนำพาญาติโยมจำนวนมากช่วยกันชักลากจากบริเวณเชิงเขา ขึ้นไปประดิษฐานบนหน้าผาน้ำน้อยอันสูงชันได้อย่างน่าอัศจรรย์ ในสมัยนั้นการก่อสร้างเสนาสนะต่างๆ มีศาลาเป็นต้น เป็นไปด้วยความยากลำบาก น้ำก็แห้งแล้ง ท่านสร้างสระน้ำใหญ่ ศาลานั้นใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ ๑ ปี โดยท่านเน้นหนักเรื่องหลังกว้างใหญ่ เพื่อรองรับน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคเป็นสำคัญ แม้นว่าท่านจะไม่เคยอยู่จำพรรษา ณ สำนักแห่งนี้ แต่ท่านก็ให้ความสำคัญสำนักแห่งนี้ไม่ด้อยไปกว่าสำนักใหญ่วัดป่ากุง สถานที่สำคัญมีดังนี้คือ ๑. ผาน้ำย้อย ซึ่งมีน้ำไหลหยดย้อยตลอดปี ๒. พระประธานที่ศาลาใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๐๑ นิ้ว ๓. ถ้ำผาน้ำย้อย ๔. น้ำตกเช่น คำช้างจก คำจ๊าก คำยู้ส้าว ๕. หน้าผาบนผาน้ำย้อย สามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล ถูกวางระเบิด/วาจาศักดิ์สิทธิ์ การสอนประชาชนญาติโยม ท่านเน้นหนักเรื่องศีล ๕ เป็นสำคัญ โดยเฉพาะประเพณีทางภาคอีสานเมื่อมีงานเทศกาลสำคัญ มักดื่มของมึนเมาเข้ามาในวัดโดยไม่เกรงกลัวต่อบาป ในกรณีนี้ท่านจะห้ามเป็นพิเศษ ท่านบอกว่าวัดนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ควรดื่มเหล้าเมายาเข้ามาในวัด เล่ากันว่า ...มีชายคนหนึ่งไม่เชื่อฟัง ดื่มเหล้าเข้ามา แล้วก็พูดจาท้าทายท่านและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ปรากฏว่าวันนั้นอากาศแห้งแล้งแดดร้อนเปรี้ยง ๆ ไม่มีเค้าฟ้าเมฆฝน ฟ้าได้ผ่าเปรี้ยง เปรี้ยง เปรี้ยง! ลงมากลางกระหม่อมของเขา เขาล้มพับดิ้นตายลงไปต่อหน้าคนทั้งหลาย ตั้งแต่นั้นมาไม่มีใครกล้าดึ่มเหล้าเข้าไปในผาน้ำย้อยอันศักดิ์สิทธิ์นั้นอีกเลย ปี พ.ศ. ๒๕๒๗-๒๕๒๘ ท่านได้เป็นประธานอำนวยการจัดสถานที่รับรองการประชุมพระสังฆาธิการ ภาค ๘-๙-๑๐ (ธรรมยุต) และท่านได้เริ่มโครงการ เทิดพระเกียรติ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ โดยร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยจะปลูกต้นไม้ที่เกี่ยวกับพุทธประวัติ ไม้เกี่ยวกับวรรณคดีไทยและไม้สมุนไพร ปลูกบนหลังเขาเขียว (ผาน้ำย้อย) รวมเป็น ๙๐๐ ไร่ เป็นที่ทราบกันดีว่า เมื่อมีคนดีก็ต้องมีคนร้าย เมื่อเป็นพระก็ต้องมีมารผจญ วันนั้นอากาศร้อนอบอ้าว ใบไม้ไร้สายลมโบกสะบัด ต่อมาอีกไม่นานนัก สายฝนก็ค่อยโปรยลงมา และโปรยลงมาอย่างหนักแทบลืมหูลืมตาไม่ขึ้น พวกพระเณร แม่ชีตลอดจนชาวบ้านเป็นจำนวนมากที่มาร่วมกันปลูกป่า ต่างวิ่งเข้าหาที่พักกำบังกันพัลวัน ในเย็นวันนั้นหลวงปู่ศรี ท่านสั่งกำชับทุกคนว่า “ให้ภาวนา อย่าพากันนอน” พระรูปหนึ่งที่เป็นลูกศิษย์ เห็นท่านสั่งกำชับเชิงเป็นห่วงเป็นใยมากกว่าวันก่อนๆ เกิดลางสังหรณ์ว่า “จะเกิดอันตราย” กราบเรียนท่านว่า “เกรงว่าจะเกิดอันตราย ขอให้ท่านเรียกตำรวจมาอารักขาด้วย เพราะว่าเรามาปลูกป่าขัดผลประโยชน์กับพวกทำลายป่า และคนพวกนี้เดิมก็เป็นคอมมิวนิสต์ มีจิตใจโหดร้ายและมีอาวุธสงคราม” ท่านก็ตอบว่า “ฮึ้อ..มันไม่เป็นอะไรหรอก” แล้วท่านก็เดินทางกลับวัดป่ากุง คืนนั้นเวลาสามทุ่ม ก็เกิดระเบิดขึ้น เสียงดังตูม ! ตูม ! เสียงดังลั่นสนั่นป่า ทุกคนต่างตกใจ จอบเสียม เครื่องใช้ไม้สอย ต้นไม้ทะลุไปหมด หลังคาที่พักปรุพรุนไปทั่ว แต่ไม่มีใครเป็นอะไรเลย เหมือนที่ท่านบอกไว้ไม่มีผิด “ไม่เป็นอะไรหรอก” พวกเจ้าหน้าที่ที่ไปถามท่านว่า “หลวงปู่ จะให้จับไหม” ท่านบอกว่า “ไม่ต้องไปจับเขาหรอก กรรมใครกรรมมัน” เขาเรียนถามท่านว่า “จะทำยังไงดี เขาจะมาระเบิดเรา” ท่านบอกว่า “เอ้า ! เขาอยากระเบิดก็ปล่อยให้เขาระเบิดไปซี ถ้ามันจะระเบิดมันก็ระเบิดเอง แต่ถ้ามันจะไม่ระเบิดมันก็ไม่ระเบิดเอง เป็นเรื่องของมัน ตอนที่มันระเบิดก็มี ตอนที่มันด้านก็มี จะไปกลัวตายทำไม ไม่ถึงคราวตายมันไม่ตายหรอกคนเรา ไม่ถึงคราวแตก มันก็ไม่แตกเหมือนกันระเบิด” พวกเจ้าหน้าที่ฟังแล้วก็หัวเราะกันใหญ่ เรื่องราวตอนที่มีคนไปขว้างระเบิดที่ผาน้ำย้อย ท่านเมตตาเล่าให้พระใกล้ชิดฟังตอนหลังว่า “จริง ๆ แล้วจะทำไม่ให้มันระเบิดก็ได้ แต่ถ้าทำไม่ให้มันระเบิด เขาจะหาว่าระเบิดด้าน เดี๋ยวเขาจะเอามาเขวี้ยงใหม่ ก็เลยปล่อยให้มันระเบิด” นี้เป็นความอัศจรรย์อย่างยิ่งสำหรับญาติโยมหรือพระเณรที่อยู่ในเหตุการณ์ ทุกคนต่างชื่นชมยกมือสาธุในบุญบารมีของท่านที่คุ้มครอง ในเรื่องวาจาสิทธิ์นี้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จมหามุนีวงศ์ วัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพฯ ท่านมักกล่าวยกย่องหลวงปู่ศรี ว่า “ศรีปากเข็ด” คือมีวาจาสิทธิ์ พูดอะไร ทำอะไร สำเร็จทุกอย่าง วัดพระมหาเจดีย์ชัยมงคล บันทึกประวัติวัดผาน้ำย้อย ได้กล่าวไว้ว่า.... “หลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้ก่อสร้างวัดผาน้ำย้อยสำเร็จตามความมุ่งหมายทุกประการ เป็นประโยชน์ใหญ่แก่คณะสงฆ์ทางภาคอีสาน ทั้งฝ่ายปริยัติและฝ่ายปฏิบัติ ...เมื่อวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีิฉลู ตรงกับวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นวันรวมกฐินสามัคคีที่วัดป่ากุง พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (ศรี มหาวีโร) ได้ปรารภกับที่ประชุมคณะศิษยานุศิษย์ว่า “ได้รับพระบรมสารีริกธาตุ จากประเทศศรีลังกาเป็นกรณีพิเศษ และมาพิจารณาเห็นว่า ครูบาอาจารย์สายอีสาน ผู้มีความรู้ระดับนักปราชญ์และปฏิบัติชอบระดับสัมมาปฏิบัติ ได้ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติและพระศาสนาเป็นจำนวนมาก สมควรสร้างถาวรวัตถุสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ อัฏฐิธาตุ รูปเหมือนของครูบาอาจารย์เหล่านั้น เพื่อเป็นศูนย์กลางแก่ผู้มาศึกษาและสักการบูชา และเห็นว่าควรสร้างที่วัดผาน้ำย้อย” หลวงปู่ศรีท่านได้ปรารภการสร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคลไว้อีกตอนหนึ่งว่า... “การสร้างเจดีย์ที่ผาน้ำย้อย ประชุมร่วมกันว่า จะมีการก่อสร้างเจดีย์ขึ้น ก็เนื่องจากหมู่คณะทั้งหมดในภาคอีสาน ๔ ภาค เจ้าคณะภาค รองเจ้าคณะภาค และเจ้าอาวาสทุกวัดจะได้ไม่ไปใช้แห่งอื่น ซึ่งมีความเห็นพร้อมให้เอาวัดผาน้ำย้อยเป็นศูนย์กลางใึนภาคอีสานพระธาตุพนมนั้นก็อยู่ใกล้เข้าไปทางฝั่งลาวนู้น ก็เลยมาเห็นดีที่ผาน้ำย้อย แต่แรกก็เกิดขึ้นด้วยอำนาจของหมู่คณะสงฆ์ใ้นภาคอีสาน คนเขาคงไม่เข้าใจกัน คงนึกว่าทางวัดสร้างเอง แต่เรานั้นสร้างในนามของหมู่คณะนะ ไม่ทำเฉพาะวัดเราวัดเดียว ทำแล้วมันก็เป็นส่วนรวม โดยเฉพาะในด้านพระพุทธศาสนาก็ทั่วกันไปหมด ใครได้สร้างประโยชน์ส่วนใหญ่ส่วนรวม จะเป็นบันไดหรือหนทางนำไปสู่ความสุขความเจริญ ผลของการกระทำทั้งหลายนี้ มันจะกลับมาสู่ตัวเราทั้งนั้น ไม่ได้หนีไปทางอื่น ทำให้คนอื่นจริงอยู่ แต่มันจะกลับมาหาเรา การกระทำทุกอย่างก็เป็นผลประโยชน์แก่ตัวของเราเองนั่นแหละ ท่านไปอยู่ให้เกิดบุญกุศลเฉย ๆ ฉะนั้นการกระทำเหล่านั้นจะเป็นบันไดที่จะเดินไปสู่ความสุขชั้นสูง” ในวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ท่านได้ประชุมคณะกรรมการก่อสร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคล โดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานฝ่ายบรรพชิตและพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานกรรมการก่อสร้างเจดีย์ ศิลปะร่วมสมัยระหว่างภาคกลางและภาคอีสาน พระมหาเจดีย์ชัยมงคล เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ความกว้าง-ความยาว ๑๐๑ เมตร ความสูง ๑๐๙ เมตร สร้างอยู่บนเขาเขียว มีเนื้อที่ ๑๐๑ ไร่ แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติที่สวยงาม บนหลังเขามีสภาพเป็นป่าดงดิบ เต็มไปด้วยป่าไม้นานาพันธุ์ รอบภูเขามีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชันคล้ายกำแพงธรรมชาติโอบล้อมไว้ จึงเสริมให้องค์พระมหาเจดีย์ชัยมงคลสูงโดดเด่นสวยสง่างาม สามารถมองเห็นได้แต่ไกลหลายกิโลเมตร สร้างความเลื่อมใสศรัทธาแก่ผู้พบเห็นสักการะ เกิดความซาบซึ้ง ทึ่งในความสวยงามยิ่งนัก องค์พระมหาเจดีย์ชัยมงคล เป็นศิลปะร่วมสมัยระหว่างภาคกลางและภาคอีสาน เป็นศิลปะกลมกลืนระหว่างพระมหาปฐมเจดีย์และพระธาตุพนม เป็นแนวศิลปะกลมกลืน ยืนบนลวดลายสีสันหลากหลายสวยงามตามแบบสมัยใหม่ครบถ้วน องค์พระมหาเจดีย์ชัยมงคลเป็นเจดีย์องค์ใหญ่สูงตระหง่านภูมิฐาน รายล้อมด้วยเจดีย์บริวารทั้ง ๘ ทิศ เรียงรายด้วยวิหารคตรอบองค์พระมหาเจดีย์ไว้อีกชั้นหนึ่ง ความยาว ๓,๕๐๐ เมตร คลุมพื้นที่ ๑๐๑ ไร่ รูปทรงพระมหาเจดีย์ชัยมงคลเป็นรูป ๘ เหลี่ยมใหญ่โตมากแบ่งเป็น ๗ ชั้นตามลำดับ เพื่อจุดมุ่งหมายต่างๆ ดังนี้ ชั้นที่ ๑ เป็นห้องโถง กว้างใหญ่ โอ่อ่า สำหรับการประชุมต่าง ๆ รอบฝาผนังด้านใน จารึกนามผู้บริจาคสมทบทุนก่อสร้าง เสา กรอบมุมประตู หน้าต่าง เพดานวิจิตรด้วยลวดลายหลากสีสวยงาม ชั้นที่ ๒ จัดเป็นห้องประชุมขนาดใหญ่สำหรับประชุมปฏิบัติธรรมพระสังฆาธิการ หรือการสัมมนาทั่วไป ฝาผนังทุกด้านติดตั้งรูปพุทธประวัติ ทศชาติศิลปวิจิตรกรรม ออกแบบลวดลายไทยทรงอีสาน กรอบขอบริม คาน เพดาน ดาดฟ้า เต็มไปด้วยความงามวิจิตรตระการตา ประดับตกแต่งด้วยสีทองทั้งทองแท้ทรงบรอนซ์ สลับสีธรรมชาติเกือบทุกสี มีสีฟ้า สีเขียว สีชมพู เหลือง กาบบัวหงายบัวคว่ำ ลายไทย รองรับโยงใยเต็มทุกซอกทุกมุม ตกแต่งอย่างงดงามทั้งสิ้น มีรูปเทวดาต่างๆ ชูตาลปัตรทรงดอกไม้ เรียงรายตามแนวต่ำจากเพดานตลอดแนว มองโดยรอบแล้วเหมือนอยู่ในวิมานแดนสวรรค์ ชั้นที่ ๓ เป็นที่ประดิษฐานพระคณาจารย์ ปราชญ์อีสานในอดีต เป็นรูปเหมือน สลักด้วยหินอ่อน และหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปันโนทั้งหมดให้ครบ ๑๐๑ องค์ วิจิตรกรรมทุกแง่ทุกมุม จากดาดฟ้าถึงพื้นล้วนแต่สวยงามทั้งสิ้น ชั้นที่ ๔ จัดไว้เป็นพิพิธภัณฑ์สถาน แสดงวัดวาอาราม ตลอดจนสถานปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานที่หลวงปู่ศรี มหาวีโร เคยบำเพ็ญมาตลอดหลายพรรษาพร้อมผลงานต่าง ๆ ของท่านโดยเฉพาะ เพื่อประกาศให้โลกรู้ซึ้งถึงบุญญาบารมีของหลวงปู่ศรี มหาวีโร บนกรอบระดับหน้าต่างใหญ่ๆ ทั้ง ๔ ด้าน จัดเป็นที่สถิตของพระพุทธเจ้าสี่ปรางค์ พระพุทธรูปทั้ง ๔ องค์ สูง ๕ เมตรครึ่ง ชั้นที่ ๕ อยู่เหนือสุดบันได ๑๑๙ ขั้น เป็นห้องโถงรูประฆังทองคำ ๘ เหลี่ยม ๘ ทิศ แต่ละมุมเหลี่ยมวางรูปลายไทยแนวตั้ง มองคล้ายด้ามกริชหรือทรงโคมไฟ ดอกบัวตูมตรงกลางเพดานเป็นศูนย์กลีบบัวคว่ำ ประดับด้วยทองคำแท้ลวดลายระยิบระยับเพื่อรองรับโคมไฟทองคำ ตรงกลางห้องเป็นเจดีย์เล็กที่มีลวดลายวิจิตรพิสดาร เพื่อเป็นที่ประดิษฐานองค์พระบรมสารีริกธาตุ องค์มิ่งมหามงคลของพระมหาเจดีย์ องค์เจดีย์เป็นรูประฆังทองหรือบัลลังก์ทอง บนฐาน (ชุกชี) ช่องลมแต่ละด้านของห้องโถง มีรูปดอกบัวตูมใหญ่มีลายไทยครอบทุกกรอบทอง ซึ่งความงดงามนี้เกินจะบรรยายเป็นอักษรศิลป์ได้ โดยเฉพาะช่วงลานผนัง ๘ ทิศ ภายในกรอบลายไทยทองคำนั้นระบายด้วยสีอ่อนๆ ทั้งสีฟ้า สีขาว เจือสีเทาจาง หากต้องด้วยแสงไฟสลัวหรือแสงแดดอ่อนๆ ตอนรุ่งอรุณ จะมองดูคล้ายท้องฟ้าโปร่งในราตรีอันมืดมิด เบื้องบนของโดมชั้น ๕ แบ่งเป็นชั้นที่ ๖-๗ แต่ไม่มีทางขึ้น เพราะป้องกันคนคิดผิดประทุษร้ายต่อทรัพย์สินอันล้ำค่า จึงสร้างเป็นเพียงองค์เจดีย์อันแข็งแรงปริมณฑล เพื่อเป็นฐานรองรับยอดเศวตฉัตรทองคำแท้หนัก ๔,๗๕๐ บาท หรือประมาณ ๗๒ กิโลกรัม มูลค่ากว่า ๒๓,๗๕๐,๐๐๐ บาท (มูลค่าในขณะนั้น) ด้วยบุญญาบารมีอันเหลือล้นของหลวงปู่ศรี มหาวีโร ทำให้การดำเนินงานทุกอย่างสำเร็จไปด้วยดี โดยมีโยมอุปถัมภ์ คือ คุณยายจินตนา ไชยกุล คุณวาสนา ธารวานิช คุณชัช ธารวานิช และคุณวรยุกต์ เจียรพันธุ์ เป็นกำลังศรัทธาใหญ่ พร้อมทั้งศรัทธาชาวพุทธทุกหมู่เหล่า ทุนการก่อสร้างทั้งหมดจะให้เสร็จสมบูรณ์จริงคงต้องใช้งบประมาณ ๒,๐๐๐ – ๓,๐๐๐ พันล้านบาท ท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ที่ยังมิได้ปลูกฝังบารมีของตนไว้ ขอเชิญร่วมทำบุญได้ตลอดเวลา หากมีโอกาสขอเชิญไปสักการบูชาพุทธปูชนียสถานแห่งใหม่ พระมหาเจดีย์ชัยมงคลที่วัดผาน้ำทิพย์ (ผาน้ำย้อย) ด้วยตัวเอง โดยสรุปแล้ว พระมหาเจดีย์ชัยมงคลแห่งนี้จะเป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจ สร้างศรัทธาในพระพุทธศาสนาของประชาชนทุกหมู่เหล่า เป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมสมถวิปัสสนากรรมฐาน เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับชาติ เป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนา ธำรงวัฒนธรรมอันดีงาม รวมทั้งเป็นแหล่งอนุรักษ์ ทรัพยากรสัตว์ ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อมของธรรมชาติ เพื่อสาธุชนรุ่นหลังได้ภาคภูมิใจในมรดกอันล้ำค่ายิ่งนี้ตราบชั่วนิรันดร์
[ ราคา ] ฿2000
[ สถานะ ] มาใหม่
[ติดต่อเจ้าของร้านเจ้าพระยาพระเครื่อง] เบอร์โทรศัพท์ : 081-6414009,029243140 ( อ้น ระโนด ) line ID weerapong07
 


วัตถุมงคล: พระเครื่องเกจิอาจารย์ภาคอีสาน
เหรียญอาจาริยบูชา ปี 2535 หลวงพ่อคูณปลุกเสก เนื้อทองแดงรมน้ำตาล
เหรียญพระราชพิศาลสุธี ปี18 มีโค๊ด เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่กินรี วัดกัณตะศิลาวาส  เนื้อทองแดงผิวไฟปี 2519
พระสมเด็จปริสุทโธ รุ่นพิทักษ์ชายแดน หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ปี ๒๕๓๕
เหรียญหลวงพ่อเสือ พระครูสุนทรธรรมาภิรักษ์ วัดตาก๋อง รุ่นสมโภชพัดยศ
พระสมเด็จ หลังตรากระทรวงมหาดไทย หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่
เหรียญรุ่น1 หลวงพ่อสุนทร วัดป่าสุนทรวนาราม ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น
เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อบุญมี โชติปาโล วัดสระประสานสุข พิมพ์ใหญ่
พระผงรูปเหมือน หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง รุ่นรับทรัพย์  ปี 2550 เนื้อแดงปัดทองทั้งองค์
พระสมเด็จวัดชัยสามหมอ รุ่นผูกพัทธสีมา จ.ชัยภูมิ
สมเด็จ สำนักสงฆ์ปุญญภาโค ชัยภูมิ รุ่น1 เนื้อผงใบลาน ปี ลึก
หลวงพ่อพระใส รุ่นแผ่บารมี ปี 58 พิมพ์ชัยวัฒน์เล็ก
พระผงซุ้มเรือนแก้ว หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโณ วัดป่าบ้านตาด ปี 53 เนื้อขาว
เหรียญพระครูโสภณปสุตคุณ วัดรัมณียาราม รุ่นแรก เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน ออกวัดวะภูแก้ว ปี 32 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่นิล วัดครบุรี ปี 20 ตอกโค๊ด
เหรียญหลวงพ่อดี สำนักสงฆ์  ภัทธิโย ภิกขุ รุ่นพิเศษ ปี 20
สมเด็จนางพญางิ้วดำ วัดใหม่บ้านดอน รุ่นพิเศษเสาร์ 5 ปี 36
พระผงรูปเหมือนหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต ปี 2539 รุ่นถวายพระพร
เหรียญพุทธคยา หลวงปู่เมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม จ.นครราชสีมา ปี 2527
เหรียญหลวงพ่อสนธิ์ เขมปัญโญ วัดอรัญญานาโพธิ์ จ.นครพนม รุ่น 38  ปี 21
สมเด็จพระอาจารย์คำสิงห์ วัดป่าถ้ำหม้อ อ.เทพสถิต จ. ชัยภูมิ
พระนาคปรก ปี 2537 เนื้อผงพุทธคุณ
พระผงรูปเหมือนหลวงปู่หงษ์ หลังพระพิฆเนศ วัดเพชรบุรี พิมพ์เล็ก
เหรียญพระอาจารย์กัน วัดป่าโพธิไพศาล สกลนคร รุ่นแรก ปี 18 เนื้อทองแดง มีโค๊ด
เหรียญหลวงปู่ทา วัดสระพังทอง ศรีสะเกษ รุ่นแรก ปี 2529 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต ปี 2519 เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญหลวงปู่ศรี วัดสโมสรประชาสามัคคี สกลนคร รุ่นบูชาครู ปี 21 กะหลั่ยทอง
เหรียญหลวงปู่เครื่อง วัดสระกำแพงใหญ่ ปี 2537 เนื้อทองแดงกะหลั่ยทอง
สมเด็จนาคปรกหลวงพ่อแพง วัดโพธิ์ร้อยต้น จ.ร้อยเอ็ด รุ่นสร้างอุโบสถ ปี 2538
เหรียญหลวงพ่อบุญเที่ยง วัดป่าพุทธทรงธรรม รุ่น ๑ ปี ๒๕๒๐ เนื้อทองแดง
เหรียญพระครูสังฆรักษ์ วัดอภิสิทธิ์ มหาสารคาม รุ่นแรก เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่บุญมา วัดแดนดงคางนาราม ชัยภูมิ รุ่น 2 ปี 37
พระผงรูปเหมือนพระครูมงคลวิริยคุณ วัดหนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
พระผงผสมชานหมากหลวงปู่หงษ์  วัดเพชรบุรี จังหวัดสุรินทร์ รุ่นแรก  ปี 2541
เหรียญพระครูศีลสุนทร ทตฺโต วัดบ้านโพนเมือง อุบลราชธานี 2521
เหรียญพระอาจารย์สนธิ์ เขมมิโย วัดอรัญญา นาโพธิ์ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม  รุ่น 3 ปี 2518
เหรียญเสมาหลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลังอัฐบริขาร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร ปี พ.ศ.2519 เนื้อทองแดงรมดำ
ปิดตาหลวงปู่เหรียญ วัดอรัญบรรพต รุ่นฉลองเจดีย์ หนองคาย ปี 39
เหรียญพระอาจารย์บุญ วัดป่าศรีสว่างแดนดิน สกลนคร  ปี 2518 รุ่น 2 เนื้อทองแดง
พระนาคปรก ปี 2537 เนื้อผงใบลาน
พระกริ่งประทายสมันต์ วัดหนองบัว จ.สุรินทร์ ปี 39
เหรียญหลวงพ่ออ่วม วัดไพรสน รุ่นแรก เนื้อทองแดง
เหรียญนั่งเต็มองค์หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ปี 2537 เนื้อทองแดง
เหรียญพระครูพิสิษฐ์สังฆภาร วัดโนนระเวียง จ.นครราชสีมา ปี 26
สมเด็จนางพญางิ้วดำ วัดใหม่บ้านดอน ปี 20 ประทานพร รุ่นพิเศษ
เหรียญหลวงพ่อสนธิ์ วัดอรัญญานาโพธิ์ รุ่น 31 ปี 2521 เนื้อทองแดง ตอกโค๊ด
เหรียญหลวงปู่เพชร  วัดสิงห์ทอง ปี 20 เนื้อทองแดง
สมเด็จหลวงปู่ฤทธิ์ วัดชลประทานราชดำริ รุ่นพิเศษ ปี 44
เหรียญหลวงพ่อยาม วัดบูรพาปะอาวเหนือ จ.อุบลราชธานี รุ่นแรก ปี 25
เหรียญหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ ปี 43 เนื้อชุบนิเกิ้ล
เหรียญ 3 พระอาจารย์ รุ่นแรก วัดประชานิมิตร จ เลย ปี 20
เหรียญหลวงพ่อสิงห์ทอง วัดสระมะค่า ปี 2523 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อจอย วัดโนนไทย รุ่น คู่บารมีเสาร์ 5 ปี 37 เนื้อทองแดงรมดำ ตอกโค๊ด นะ
สมเด็จเนื้อผงผสมอิฐพระธาตุ วัดพระธาตุพนม ปี 19 เนื้อขาวอมเหลือง
พระผงหมือนรูปหลวงปู่เวิน วัดน้ำวิ่ง งานผูกพีทธสีมา 35
สมเด็จเนื้อผงผสมอิฐพระธาตุ วัดพระธาตุพนม ปี 19 เนื้อเหลือง หนานิยม
เหรียญพระครูวิมลสีลาภรณ์ (เนย สมจิตฺโต) วัดโนนแสนคำ ๖๔ ปี 44
เหรียญหลวงปู่กาฬสิน จ.กาฬสินธุ์ ปี 2524 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญเจ้าคุณพระคัมภีรฺฺ์ธรรมาจารย์ วัดสว่างอารมย์ ร้อยเอ็ด ปี 20
เหรียญหลวงปู่แว่น ธนปาโล ออกวัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร ปี 2519 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่นาคปรก วัดป่าหนองนาโพ ปี 38 ร้อยเอ็ด
พระผงสมเด็จหลวงปู่คิ้น ปัญญาวโร
พระรูปเหมือนหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต ปี 2539 รุ่นประทาน พิมพ์สี่เหลี่ยม
พระผงรูปเหมือนห้าเหลี่ยม หลวงพ่อบุญมี โชติปาโล วัดสระประสานสุข
เหรียญหลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต รุ่นมุงหลังคาอุโบสถ วัดราษฎร์เจริญ ปี ๒๐ เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญพระครูวินัยธรธีร์ วัดสว่างอารมณ์ ปี 2524 เนื้อกะหลั่ยทอง
พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม รุ่น 3 ปี 16 บล็อคหนังสือเล็ก นิยม เนื้อทองแดง
พระนางพญางิ้วดำ วัดใหม่บ้านดอน ปี 21 พิมพ์ใหญ่ เสด็จเททอง
เหรียญหลวงพ่อเขียน วัดศิริมงคล ปี 37
สมเด็จหลวงปู่ศรี วัดหลวงสุมังคลาราม ศรีสะเกษ
พระผงหลวงปู่สัมมา ออกวัดสุทธาวาส มหาสารคาม
พระสมเด็จพระครูกันตสีลากร วัดประชาสังคม สุรินทร์ เนื้อผงใบลาน
เหรียญหลวงพ่อทอง วัดอีสาน ปี 2519 เนื้องกะหลั่ยทอง
เหรียญพระปทุมญาณมุนี ออก วัดบึง  ปี 2529
เหรียญหลวงปู่ขาว หลังพระสยามเทวาธิราช วัดถ้ำกลองเพล ปี ๒๕๒๐ เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่ผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต รุ่นสหชาติ ปี 2521 เนื้อทองแดง
เหรียญอาจารย์ขันตี วัดนาพิมาน จ.อุบลราชธานี รุ่น ๑ เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่เม้า วัดศรีมงคล จ.อุดรธานี รุ่นแรก ปี 2521 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่พรหมมา สวนหินผานางคอย อุบลราชธานี ปี 40
เหรียญหลวงปู่บุญมี วัดศรีสงคราม  ปี 37 รุ่นแรก เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ วัดเลยหลง รุ่นพิเศษ เนื้อทองแดง ปี 22
เหรียญหลวงพ่อผาง  วัดศรีษะเกษ จ.หนองคาย ปี 18 กะไหล่ทอง
เหรียญหลวงปู่สาย วัดป่าจันทร์นิมิตรสามัคคี รุ่น 1 ปี 2523 เนื้อทองแดง
เหรียญพระครูเกษตรโสมคุณ วัดกลาง รุ่นแรก ปี 2513 เนื้อทองแดง
เหรียญพระครูพุทธิ วัดชัยชนะวิหาร อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ 2531
เหรียญหลวงพ่อคูณ รุ่นสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี 38 เนื้อกะไหล่ทอง
เหรียญหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ออกวัดท่ากระทุ่ม ปี 2524 เนื้อทองแดง
พระสมเด็จปรกโพธิ์ วัดบูรพาราม  รุ่นแรก
เหรียญหลวงปู่สาย เขมธัมโม วัดป่าพรหมวิหาร อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู ปี 49
เหรียญพระครูอนุรักษ์ชลาสัย วัดหนองบัว บุรีรัมย์ ปี 23 เนื้อทองแดง
เหรียญพระครูปลัดคูณ วัดป่าบ้านเมืองน้อย ปี 43 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงตาซาดี  วัดโพธิ์ชัย รุ่นแรก ปี 48 เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญพระอธิการบุญ จันทโก วัดศิริมงคล เนื้ออัลปาก้า ชุบนิเกิ้ล
เหรียญพระอาจารย์บุญเหลี่ยม วัดป่าแสนสุข มุกดาหาร รุ่นแรก
เหรียญหลวงพ่ออำนวย วัดโคกปราสาท รุ่นแรก ปี 43 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อสมาน สุเมโธ วัดป่าแสงอรุณ ขอนแก่น ปี 51 เนื้อกะหลั่ยทอง
เหรียญหลวงปู่สมภาร วัดป่าวิเวกพัฒนาราม ปี 2560 เนื้อทองแดง มีโค๊ด
เหรียญพระครูกิติธรรมวิมล วัดท่าลาด ปี 35 เนื้อกะหลั่ยทอง
เหรียญพระธาตุวัดกู่จานหลังพระพิพิธธรรมโสภน รุ่นแรก เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่มหาโส กสสฺโป วัดป่าคีรีวัน จ.ขอนแก่น รุ่น 2 ปี 2520
เหรียญพระครูสิริพัชราภรณ์ วัดทุ่งมนศิริพลเมือง อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร ปี 2540 เนื้อทองเหลือง
เหรียญหลวงปู่นิล วัดครบุรี ปี 2521 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อบุญ วัดสะเดา จ.บุรีรัมย์ ปี 2529 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อคำคนึง วัดถ้ำคูหาสวรรค์ หลังอัฐบริบาล ปี 2537 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อผาง ออกวัดขวัญเมือง จ.กาฬสินธุ์ ปี 2521 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่เครื่อง สุภัทโท วัดสระกำแพงใหญ่ ปี 2541 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญ หลวงพ่อบุญเคน วัดสำโรงยุทธาวาส จ.อุดรธานี ปี 2519
เหรียญหลวงปู่ประเทือง วัดป่าตาดฟ้า  รุ่นแรก  ปี 2541 เนื้อทองแดง
เหรียญพระองค์แสน วัดพระธาตุเรณู จ.นครพนม ปี 2524 เนื้อทองแดง
พระผงพระประธาน วัดป่าโคกเกลา ปี 2538 เนื้อว่านยา
เหรียญหลวงพ่อถวิล สุจิณฺโณ รุ่นสัจจะบารมี ปี 2540 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อทองแดง วัดบ้านกระเบา ปี 23  เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อตู้ วัดศรีษะช้าง ปี 2522 เนื้อทองแดง นครราชสีมา
เหรียญเสมาหลวงพ่อเปลี่ยน อินทโชโต วัดบึง ปี ๒๕๑๗ เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง
เหรียญหลวงพ่อพุธ วัดป่าชินรังษี เนื้อทองแดงรมดำ
อาจารย์พรรณ วัดศรีโนนสูง
เหรียญหลวงปู่เฉย วัดศรีสันตยาราม จ.เลย รุ่นพิเศษ ปี 19 เนื้อทองแดง ตอกโค๊ด
เหรียญหลวงปู่คง วัดเฝือแฝง อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ปี 50 อายุครบ 75
เหรียญหลวงพ่อสนธิ์ เขมปัญโญ วัดอรัญญานาโพธิ์ จ.นครพนม รุ่น 30 ปี 2520
เหรียญหลวงปู่โทน กันตสีโล วัดบูรพา รุ่นอีสานเขียว เนื้อทองแดง
เหรียญเหลวงปู่บัว วัดศรีมงคล อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญหลวงปู่จิรโส จกกฺธัมโม วัดสระบัวโพนสิม กาฬสินธุ์ รุ่นแรก
เหรียญหลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ วัดธาตุมหาชัย ร่วมสร้าง ปี 35 เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญหลวงพ่อบุญ วัดศรีโนนสัง จ.อุดรธานี รุ่นแรก ปี 18 เนื้อทองแดง
พระผงรูปเหมือน หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย รุ่นหน้าไฟ
พระผงรูปเหมือน หลวงปู่นิล วัดครบุรี รุ่นเสาร์ ๕ ปี 2537 เนื้อผงพุทธคุณ ฝังตะกรุด
พระผงรูปเหมือนหลวงปู่เนย สมจิตฺโต วัดป่าโนนแสนคำ ปี 54
เหรียญพระธาตุพนม หลังพระนาคปรก วัดพันทคีรี จ.นครพนม ปี 2541 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อศิริ ญาณวีโร สำนักสงฆ์ศิริธรรมภาวนา รุ่น แรก ปี 34 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อนิล วัดครบุรี รุ่นสร้าง รพ. ครบุรี ปี 37 เนื้อทองแดง
เหรียญพระธาตุพนม หลังแผนที่ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2519 เนื้อทองแดง
เหรียญกลมใหญ่หลวงปู่มั่น ทัตโต วัดบ้านโนนเจริญ รุ่น พระไตรปิฎก อายุ ๑๐๒ ปี เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่คำพลอย วัดป่าโนนศิลาทองสามัคคี ปี 40 เนื้อทองเหลือง
พระสมเด็จ วัดธาตุคำ อ.ศรีเชียงใหม่ จ. หนองคาย
สมเด็จ หลังรัชกาลที่5 พระอาจารย์เจียม วัดเทพวิสุทธาราม กุดบาก สกลนคร
สมเด็จหลังเพิ่มบารมี เนื้อผงน้ำมัน
พระกสิณหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร ปี 2536 เนื้อผงใบลาน
เหรียญหลวงปู่คำดี ปัญโญภาโส วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร ปี 2539 เนื้อกะไหล่ทอง
พระรูปเหมือนหลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง จ.ร้อยเอ็ด เนื้อผง ปี 2551
เหรียญพระครูวินัยรสสุนทร วัดมิ่งเมือง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด รุ่นแรก ปี 2519 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อแสร์ วัดอรุโณทยาราม รุ่น ๑ ปี 2538 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่หลี วัดประสิทธิ์ไพศาล อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น รุ่นแรก
เหรียญ หลวงปู่ดี ทีปโก  วัดสร้างแก้วใต้ จ.อุบลฯ รุ่นแรก เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อคำมี วัดสามัคคีธรรม รุ่นพิเศษ ปี 18  เนื้อทองแดง
เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต ปี 2539 รุ่นครบรอบ 84 ปี
พระผงรูปเหมือนพระครูอรรถกิจพิพัฒน์ วัดหมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
พระสมเด็จหลวงพ่อดี วัดหนองจอก จ นครราชสีมา เสาร์ ๕ ปี ๓๖.
เหรียญพระครูนิมิตนวการ หลวงปู่กองสิงห์ อาภารโณ วัดสระพังทอง รุ่นแรก ปี ๒๕๓๔ เนื้อทองฝาบาตรกะไหล่ทอง
พระยอดธง คง คูณ ดี  รุ่นพิเศษ วัดกระโดน โคราช ปี 39
เหรียญหลวงปู่คำปัน วัดป่าโนนสวรรค์  รุ่นแรก เนื้อทองแดงรมดำ
พระรูปเหมือนหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต ปี 2539 รุ่นประทานพร
เหรียญนั่งพานหลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา ปี 2537 เนื้อทองแดง ตอกโค๊ด
เหรียญหลวงพ่อละ วัดแหลมรวก ครบรอบ 70 ปี เนื้อทองแดงรมดำ
สมเด็จหลวงปู่พรหมมา เขมจาโร หลังฤาษี สำนักวิปัสสนาสวนหินผานางคอย ปี 38
พระสมเด็จหลวงพ่อคูณ รุ่นคูณบารมี-กูให้ทำ ฝั่งตะกรุดเงิน 1 ดอก
เหรียญหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต ปี 2545 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญพระครูโกศลอาวาสกิจ วัดบ้านโนนสูง ศรีสะเกษ รุ่นแรก ปี ๓๘ เนื้อกะหลั่ยทอง
เหรียญหลวงพ่อทา เขมจิตฺโต วัดพุทธาราม ปี ๒๕๑๘ เนื้อทองแดง
พระผงสมเด็จนางพญางิ้วดำ วัดใหม่บ้านดอน ปี พ.ศ.2517 พิมพ์เล็กยอดนิยม เลี่ยมเก่า
เหรียญพระธาตุอุโมงค์ ปี ๒๕๔๑ เนื้อกะไหล่ทอง หลวงปู่คำพันธ์ อธิษฐานจิต
เหรียญพระเจ้าองค์หลวง วัดศรีมงคลใต้ ปี 2530 เนื้อทองแดง สมโภชน์ ๒๒๐ ปี
เหรียญหลวงพ่อเพชร วัดโพธิ์ไทร จ.นครพนม รุ่นเสาร์ ๕ ปี 2523  เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อพิมย์จันโท วัดโพธิ์ทอง จ.นครราชสีมา รุ่นเสาร์ห้า ปี 2523 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อเที่ยง วัดเลียบ รุ่นพิเศษ เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อพระอินทร์แปลง วัดพระอินทร์แปลง รุ่น 1 พ.ศ.2521 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญพระพุทธมงคลนิมิต วัดประชานิมิต จ.เลย ปี ๒๒ เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่โท วัดโพนธาราม จ.สกลนคร รุ่นแรก เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญหลวงปู่พรหม วัดเขื่อนอุบลรัตน์ เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่โส กัสสโป วัดป่าคำแคนเหนือ รุ่นมั่งมีศรีสุข ปี 36  เนื้อทองฝาบาตร
เหรียญหลวงปู่มา ญาณวโร สำนักสงฆ์สันติวิเวกบ้านโนนคำ ปี 2541 เนื้ออัลปาก้า
เหรียญพระครูพิพิธนิมานคุณ วัดตะดอบ จ.ศรีษะเกษ ปี 2522 เนื้ออัลปาก้า
เหรียญหลวงปู่เครื่อง วัดเทพสิงหาร รุ่นร่วมใจสู่ชายแดน ปี 20 เนื้อทองแดงรมดำ ตอกโค๊ด นิยม
เหรียญกลมลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนแก่น รุ่นฉลองศาลา ปี ๒๕๑๙ เนื้อทองฝาบาตรกะหลั่ยทอง สวยมาก
เหรียญหลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา ปี 2536 เนื้อทองแดง
พระปิดตาหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต ปี 2541 รุ่นเจริญพร เนื้อผงใบลาน
รูปหล่อหลวงพ่อพระใส จ.หนองคาย ปี 33 ก้นกลึง กะไหล่ทอง รุ่นประสบการณ์ พิมพ์ใหญ่
เหรียญหลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์  ปี 2521 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อประดิษฐ์ วัดพิฤกทักษิณ รุ่นแรก ปี 21 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงปู่ปาน คุตตสติ วัดกุดไผท ปี 2539 เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญหลวงพ่อบุญธรรม วัดช้างเผือก รุ่นแรก ปี 19 เนื้อทองแดงรมน้ำตาล
เหรียญหลวงพ่อมหาบุญทัน วัดป่าสามัคคีสันติธรรม รุ่นแรก ปี ๒๕๒๔ เนื้อทองแดงรมน้ำตาล
เหรียญพระครูไพโรจน์พัฒนกิจ วัดบึง ปี 2528 เนื้อทองแดงรมน้ำตาล
เหรียญพระอาจารย์เต่า วัดป่าสิริธรรม อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี รุ่นเมตตามหาเศรษฐี
หลวงพ่อสุวรรณ อุปสโม วัดสัจจะธรรม หลังหลวงพ่อใหญ่ เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่สลี วัดพระธาตุสันติธรรม รุ่น1 เนื้อทองแดง
ปรกใบมะขาม 9 มงคล หลวงปู่เหรียญ วัดอรัญบรรพต หนองคาย ปี 2540 เนื้อทองฝาบาตร
เหรียญเสมา หลวงตาพวง สุขินทริโย วัดศรีธรรมาราม จ.ยโสธร รุ่นถิ่นกำเนิด ปี 2539 เนื้อทองแดง
พระกริ่งชัยวัฒน์ปริสุทโธ หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ รุ่นปลอดภัย ปี 38 เนื้อนวะ
เหรียญหลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ รุ่นเสาร์ห้า ปี 16 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญกลมเล็ก พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงค์ ปี 18 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อเคน วัดเมืองเดช จ.อุบลราชธานี ปี 2539 เนื้อทองแดงรมดำ
พระผงรูปเหมือนหลวงพ่อหนู วัดอัมพวนาราม รุ่นแรก
เหรียญหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ รุ่นแซยิด 6 รอบ 72 ปี พ.ศ. 2537 หลังขีด นิยม
เหรียญหลวงพ่อจอย วัดโนนไทย รุ่น คู่บารมีเสาร์ 5 ปี 37 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงปู่บุญ ชินวิโส วัดป่าศรีสว่างฯ  ปี 2532 เนื้อทองแดง
พระปิดตายันต์ฺยุ่ง หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาละวัน ปี 36 เนื้อนวะ
เหรียญหลวงพ่อผุย วัดศิริมงคล ปี 2523 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย ปี 2520 เนื้อทองแดง
เหรียญพระสุธรรมคณาจารย์(แดง) ออกวัดประชานิยม จ.กาฬสินธุ์ ปี 2514
เหรียญหลวงพ่อผาง ออกวัดใหม่บ้านดอน ปี 14 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญพระครูนิมิตนวการ หลวงปู่กองสิงห์ อาภารโณ วัดสระพังทอง รุ่นแรก ปี ๒๕๓๔ เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่เครื่อง วัดเทพสิงหาร รุ่นพิเศษ ปี 19 เนื้อทองแดงรมน้ำตาล ตอกโค๊ด
เหรียญหลวงพ่อบุญมี วัดหน้าพระธาตุ ปี 35 เนื้อทองฝาบาตร
เหรียญพระพุทโธ วัดเจริญสุข จ.นครราชสีมา ปี 2520 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อสนธิ์ วัดอรัญญานาโพธิ์ รุ่น 6 ปี 2519 เนื้อกะหลั่ยทอง
เหรียญพระพุทธธัญญราชหลังหลวงปู่ญาธรรมโคตม์(ผาง) วัดธาตุนาใหญ่ รุ่น ๑ เนื้อทองฝาบาต
พระสมเด็จนางพญางิ้วดำ วัดใหม่บ้านดอน รุ่นพิเศษ ปี พ.ศ.2519 พิมพ์กลาง
เหรียญหลวงปู่เวิน วัดน้ำวิ่ง  ปี ๒๕๒๐ เนื้อทองแดง
รูปหล่อหลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ วัดเลยหลง รุ่นเพชรน้ำหนึ่ง ปี 38 เนื้อทองเหลือง
เหรียญหลวงปู่มา วัดสันติวิเวก รุ่นสร้าง อบต.บึงเกลือ ปี 49 เนื้อกะหลั่ยทอง
พระผงหลวงปู่เหรียญ วัดอรัญบรรพต ปี 2539 รุ่นศรัทธาบารมี เนื้อผงพุทธคุณ
เหรียญหลวงปู่ชอบ ฐานสโม รุ่นกู้ภัยให้ลาภ ปี 2537 มีโค๊ดหน้าหลัง เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ วัดเลยหลง รุ่นแรก เนื้อทองแดง
รูปหล่อพระญาณวิเศษ หลวงปู่ศรี วัดหลวงสุมังคลาราม รุ่น ใต้ฐาน พิมพ์ิยม ทันหลวงพ่อครับ
เหรียญพระอาจารย์สุวิทย์ อภิชาโต รุ่น๑ วัดชัยมงคลวนาราม เนื้อกะหลั่ยทองสวยมาก
เหรียญเสด็จพ่อขุนไกร หลังพระขุนไกร กะไหล่ทอง 2514
เหรียญหลวงพ่อผาง ออกวัดป่าแสงอรุณ จ.ขอนแก่น ปี 25 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อปิ่น วัดปราสาท เนื้อทองแดง รุ่น 2 เนื้อทองแดง
เหรียญพระครูวิรุฬสุตการ วัดวาริน รุ่นแรก ปี 15 เนื้อทองฝาบาตร
เหรียญหลวงปู่ชอบ วัดป่าสัมมานุสรณ์ หลัง ภปร. รุ่น ครบรอบ 81 ปี 2526 เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง มีโค้ด ช
เหรียญหลวงปู่ชอบ วัดป่าสัมมานุสรณ์ หลัง ภปร. รุ่น ครบรอบ 81 ปี 2526 เนื้อทองแดงผิวไฟ มีโค้ด ช
เหรียญหลวงพ่อองค์ดำ วัดพระธาตุบังพวน ปี 37 เนื้อทองแดง
เหรียญพระครูปทุมสรารักษ์ วัดป่าหนองบัวลาย รุ่นแรก ปี 14 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ รุ่นแซยิด 6 รอบ 72 ปี พ.ศ. 2537 หลังขีด นิยม
เหรียญพระอาจารย์จันทร์ สนฺตจิตโต วัดใน รุ่นแรก ปี 16 เนื้อทองแดงรมดำ
พระผงหลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง จ.ร้อยเอ็ด ปี 2552 เนื้อผงพุทธคุณ
พระรูปเหมือนหลวงปู่สี สิริญาโณ วัดป่าศรีมงคล ปี 54 เนื้อผงผสมเกษาหลังติดจีวร
พระผงสมเด็จนางพญางิ้วดำ วัดใหม่บ้านดอน ปี พ.ศ.2521 พิมพ์เล็ก ในหลวงเททอง หายาก
พระนิมิตมงคลชัยสีมา วัดใหม่บ้านดอน นครราชสีมา  ปี ๒๕๑๗ พิมพ์ใหญ่
เหรียญหลวงพ่อดำ วัดป่านาเจริญ ปี 37 เนื้อทองแดง
พระผงพุทธมิ่งเมืองมงคลหลังรูปเหมือนหลวงปู่ศรี วัดป่ากุง ปี 2553 เนื้อผงพุทธคุณ
พระผงรูปเหมือนฐานสิงห์หลวงปู่ศรี วัดป่ากุง รุ่นชนะมาร ปี 2553 เนื้อผงพุทธคุณ
เหรียญหลวงตาพวง วัดศรีธรรมาราม จ.ยโสธร รุ่นบารมีปลดหนี้ มั่งมี ศรีสุข ปี ๒๕๔๐ เนื้อทองแดง
เหรียญพระประธาน วัดป่ามุจลินท์ เรณูนคร จ.นครพนม เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม รุ่นแรก เนื้อทองแดงรมดำ ตอกโค๊ด
เหรียญหลวงปู่ปาน คุตตสติ วัดกุดไผท ปี 2537 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา เนื้อกะไหล่ทองลงยาสวยมาก
เหรียญกายทิพย์หลวงพ่อริม วัดอุทุมพร นิยม เนื้อทองแดง
สมเด็จวัดทุ่งโพธ์ จ.ฝั่งเม็ดพระธาตุ บุรีรัมย์
พระปิดตาหลวงปู่เหรียญ วัดอรัญบรรพต ปี 2539 รุ่นศรัทธาบารมี เนื้อผงพุทธคุณ
เหรียญพระองค์แสนหลังพระธาตุเรณู วัดมหาธาตุ จ. นครพนม
เหรียญหลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา ปี 2523 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่เสาร์ วัดกุดเวียน รุ่นครบรอบ 91 ปี ปี 2545 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงปู่มี กันตสีโล วัดป่าสันติธรรม รุ่น 3 อายุ 84 ปี พ.ศ. 26 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญพระธาตุพนม รุ่นพิเศษ ปี 2520 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่เครื่อง สุภัทโท วัดสระกำแพงใหญ่ ปี 2530 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญพุทธลีลา พุทธมหาจักรแก่นนคร พ.ศ.๒๕๑๕ เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ รุ่นแซยิด 6 รอบ 72 ปี พ.ศ. 2537 เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญหลวงพ่อโป่ง อัคคสาโร วัดขาม ปี 2520 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อหนูเพ็ญ ยโสธโร วัดบัวทอง รุ่นพิเศษ ปี 2526 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่เสาร์ วัดกุดเวียน รุ่นเสาร์ ๕ ปี 2539 เนื้อกะไหล่ทอง
เหรียญหลวงปู่เสาร์ วัดกุดเวียน รุ่นสรงน้ำ ปี 2545 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต ปี 2539 รุ่นถวายพระพร เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง มีโค๊ด
เหรียญหลวงพ่ออุปัชฌาย์บัว ปัญญาธโร วัดบ้านนาซาว รุ่นแรก ปี 2530 เนื้อทองแดงรมน้ำตาล
เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่เต็ม วัดบ้านตำแย รุ่นแรก พ.ศ.2533 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต ปี 2537 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ สุสานทุ่งมน หลังยันต์เกราะเพชร รุ่นเจริญพร เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญหลวงปู่พวง วัดป่าปูลู จ.อุดรธานี ฉลอง 6 รอบ ปี 2543 เนื้อทองแดง
พระผงรูปเหมือนหลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนทราราม ปี 2539
เหรียญหลวงพ่อกินรี วัดกัณตะศิลาวาส รุ่น 2 ปี 2520 เนื้อทองแดงรมดำ มีโค๊ด
เหรียญหลวงพ่อผาง รุ่นที่ระลึกในงานวางศิลาฤกษ์อุโบสถ วัดหนอกจิก ปี 2520 พิมพ์เล็ก เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญกลมหลวงปู่เครื่อง สุภัทโท วัดสระกำแพงใหญ่ ปี 2538 เนื้อทองแดง
สมเด็จหลังพระครูสิริรัตนวิมล วัดอำนวยศรี รุ่น ๑ อ.รัตนะ จ. สุรินทร์
เหรียญหลวงปู่ล่อน วัดกุดโบสถ์ ปี 2539 เนื้อทองแดง
เหรียญพระอาจารย์เลื่อน วัดบ้านเสลา รุ่นแรก เนื้อทองแดง
เหรียญพระครูมงคลรัตนชัย วัดชัยมงคล รุ่นแรก ปี 2523 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต รุ่นพิเศษ ออกวัดศรีแก้งคร้อ ปี 2519 เนื้อกะหลั่ยทองสวย
เหรียญหลวงพ่อคำแหง วัดป่าสุวรรณนิเทศน์ รุ่นแรก ปี 2520 เนื้อทองแดง มีโค๊ด ค
เหรียญหลวงปู่มั่น วัดถ้ำสาริกา รุ่นแรก ปี 2519 เนื้อทองแดงรมน้ำตาล มีโค๊ด
เหรียญหลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ ปี 20 เนื้อทองแดง
พระสมเด็จหลังข้าวสารหิน วัดถ้ำข้าวสารหิน รุ่นแรก ปี 2544
เหรียญหลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา ปี 2537 เนื้อทองแดง ตอกโค๊ด
รูปเหมือนพระศรีธรรมภาณ หลวงพ่อพวง สุขินทริโย วัดป่าศระรรมาราม ปี 35 เนื้อผงพุทธคุณ
เหรียญหลวงตาพวง สุขินทริโย วัดศรีธรรมาราม จ.ยโสธร รุ่นถิ่นกำเนิด ปี 2539 เนื้อกะไหล่ทอง
เหรียญรูปไข่หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์  ปี 2522 ที่ระลึกฉลองพระเจดีย์ เนื้อทองแดง
พระผงรูปเหมือนหลวงปู่พรหมมา เขมจาโร วัดสวนหินผานางคอย เนื้อว่าน รุ่นสร้างอุโบสถ
พระผงรูปเหมือน หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง รุ่นรับทรัพย์  ปี 2550 จ.ร้อยเอ็ด เนื้อแดง
เหรียญหลวงปู่เจ็ก วัดสว่าง ร่น 2 ปี 37 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อเชย จนฺทสิริ วัดราษฎร์บำรุง รุ่นแรก เนื้อทองแดง เลี่ยมเดิม
เหรียญหลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ รุ่นแรก บล๊อกกลาก ปี 17 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญพระเจ้าใหญ่อินแปลง ญาท่านสวน วัดสำโรง ปี 2518 เนื้อทองแดงรมดำ
พระปิดตาหลวงปู่เหรียญ วัดอรัญบรรพต ปี 2539 รุ่นศรัทธาบารมี เนื้อผงใบลานฝังตะกรุด
เหรียญหลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ รุ่นพิเศษ  สร้างอุโบสถ วัดสีลาขันธ์ ปี 20
เหรียญหลวงปู่สังเวช ปภากโร วัดป่าวิเวกเวฬุวัน รุ่นแรก เนื้อทองแดง
หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ รุ่นทรัพย์ยังมา ปี 2512 ตัวหนังสือใหญ่ นิยม
เหรียญพระครูถาวร สมณวัตร วัดทุ่งสว่าง รุ่นที่ระลึกในการสร้างกุฎิ ปี 39 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญพระครูศรีธรรมรัตน์ วัดลิ้นฟ้า ศรีสะเกษ รุ่น ๑ นิยม เนื้อทองแดงรมดำ
สมเด็จหลวงปู่สาม วัดป่าไตรวิเวก ปี 33 รุ่นฉลองอายุ 91 ปี หลังตะไบทอง ปั๊มตราวัด 2 ครั้ง
เหรียญหลวงปู่โทน กันตสีโล วัดบูรพา รุ่นแรก ประคำ ุ6 เม็ด เนื้อทองแดง บล็อกนิยมสุด
พระสมเด็จหลังมงคลวิเศษ หลวงปู่ชอบ รุ่นพิเศษ เสาร์ 5 เนื้อว่าน ๑๐๘ ปี 36 ออกที่วัดภูตูมวนาราม
พระสมเด็จ 5 อังคาร หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต จ.หนองคาย
เหรียญบล็อคกษาปณ์ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน รุ่น ที่ระลึกอายุครบ 75 ปี พ.ศ 2539 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ออก วัดศรีสันตยาราม จ.เลย ปี 2518 ตอกโค๊ต
เหรียญหลวงปู่เคน วัดทุ่งสว่างโนนโพธิ์ รุ่น1 เนื้อทองฝาบาตร
เหรียญหลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย รุ่นบุญญาบารมี ปี 2537 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล ปี 18 เนื้อทองแดงรมน้ำตาล
เหรียญหลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์  ปี 2522 ที่ระลึกฉลองพระเจดีย์ เนื้อทองแดง
เหรียญบล็อคกษาปณ์ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน รุ่น ที่ระลึกอายุครบ 75 ปี เนื้ออัลปาก้า
เหรียญหลวงพ่อเที่ยง วัดพระพุทธบาทเขากระโดง รุ่นแรก ปี 31 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย รุ่นสร้างอุโบสถ วัดศรีโคตรคีรี ปี 2539 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญพระครูคัมภีรวุฒาจารย์(พระอาจารย์หนู) วัดทุ่งศรีวิไล ปี 18  เนื้อทองแดง รุ่นฉลองสมณศักดิ์
เหรียญหลวงพ่อคำคณึง วัดถ้ำูหาสวรรค์ รุ่นแรก ปี 24 เนื้อทองแดงรมดำ สวยมาก
เหรียญหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต  รุ่นถวายพระพร ปี 2539 เนื้อทองแดงรมดำ มีโค๊ด
เหรียญหลวงปู่เขียว วัดโพธิ์ศรีธาตุ รุ่นทำบุญอายุครบ 6 รอบหรือฉลองพัดยศชั้นเอก ปี 26 กะไหล่ทอง
เหรียญหลวงปู่อ่อนสี จุลโทเถระ วัดรัตนมงคล จ.อุดรธานี ปี 2522 รุ่นแรก
เหรียญพระอาจารย์แว่น ธนปาโล ออกวัดสุทธาวาส จ.สกลนคร ปี ๒๕๒๑
เหรียญหลวงพ่อกินรี วัดกัณตะศิลาวาส รุ่น 3 ปี 2521 เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญหลวงพ่อพุฒทา วัดบ้านโนนยาง อุทุมพรพิสัย รุ่นแรก ปี 2523 เนื้อทองแดง
เหรียญสำเร็จพรหมา เขมจาโร วัดถ้ำผาโป่งช้าง ปี 29 เนื้อทองฝาบาตร
ปรกใบมะขามหลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา ปี 2541 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล รุ่นมหาราช ปี 21 เนื้อทองแดงผิวไฟ
ล็อคเก็ตหลวงปู่สรวง  บายติ๊กเจีย  เทวดาเดินดิน หลังจีวร ตะกรุด 3 ดอก  รุ่นเสาร์ 5  ปี 2540
เหรียญหลวงปู่บุญมี โชติปาโล วัดสระประสานสุข ปี 39 100 ปี กรมป่าไม้
เหรียญกลมหลวงปู่มั่น ทัตโต วัดบ้านโนนเจริญ รุ่น พระไตรปิฎก อายุ ๑๐๒ ปี เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่จันดา วัดสว่างคำเหมือดแก้ว รุ่น 1 ปี 2528 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่่คำแหง จนฺทสาโร วัดป่าสุวรรณนิเทศ  รุ่นแรก ปี ๒๕๒๐ เนื้อทองแดงรมน้ำต
เหรียญหลวงปู่ฤทธิ์ วัดชลประทานราชดำริ อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ ปี ๒๕๔๒ เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงปู่เหรียญ วัดอรัญบรรพต ปี 2539 รุ่นศรัทธาบารมี เนื้อทองแดง
พระผงสมเด็จนางพญางิ้วดำ วัดใหม่บ้านดอน ปี พ.ศ.2517 พิมพ์หญ่ยอดนิยม
รูปหล่อหลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน รุ่น 1  โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัยสร้าง ปี 2530
รูปหล่อหลวงพ่อคำดี วัดบูรพาบ้านผึ้ง รุ่นแรก ปี ๒๕๒๙ อุดกริ่ง เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อญาณวโร บวร วัดโพธิ์ชัย รุ่นสร้างโบสถ์ ปี 21 หลังจาร เนื้อทองแดงรมน้ำตาล
เหรียญหลวงปู่เสาร์ วัดกุดเวียน ปี 2544 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญกลมพิมพ์นั่งสมาธิเต็มองค์หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร วัดสวนหินผานางคอย ปี 2538 เนื้อทองแดงรมดำ
พระปิดตาหลวงปู่ศรี วัดป่ากุง รุ่นสมหวังดังใจ ปี 2553 เนื้อผงพุทธคุณ
พระปิดตาหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต ปี 2539 รุ่นประทานพรวรลาโภ เนื้อผงพุทธคุณ
เหรียญหลวงปู่จันทร์ วัดจานเขื่อง จ.อุบลราชธานี ปี ๒๕๑๙ รุ่นสอง เนื้อทองแดงผิวไฟ
พระสมเด็จหลวงปู่เหรียญ วัดอรัญบรรพต ปี 2539 รุ่นศรัทธาบารมี
พระสมเด็จนางพญางิ้วดำ วัดใหม่บ้านดอน รุ่นพิเศษเสาร์ห้า ปี พ.ศ.2523 พิมพ์ใหญ่
เหรียญเสมา 7 รอบหลวงปู่บุญหนา วัดป่าโสตถิผล  ปี 2558 เนื้อสัตตะ
เหรียญหลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนทราราม ปี 2555  เนื้อทองแดง
รูปหล่อหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ รุ่นปฐวีธาตุ ปี 36 เนื้อทองผสมรมดำ
เหรียญหลวงพ่อผาง วัดป่าสุวรรณไพโรจน์ ปี 2518 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต หลังพัดยศเครื่องอัฐบริขาร ปี 2536 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ ปี 2517 เนื้อทองแดง
เหรียญพระราชทานเพลิงศพ อ.ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร ปี 2521
เหรียญพระครูมงคลสารวิสุทธิ์ วัดมงคลหลวง ปี 2516 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงปู่เหรียญ วัดอรัญบรรพต ปี 2540 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่พระครูวรพรต วัดจุมพล รุ่นเสาร์ห้า ปี 36 เนื้อทองแดง
เหรียญพระอาจารย์วัน อุตฺโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม รุ่น 50 ปี 2521 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงปู่สวน วัดนาอุดม รุ่น ญาติโยมสร้างถวาย เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่พระครูวรพรต วัดจุมพล ปี 39 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่น้อย วัดบ้านดอนกลอย ปี 2544 เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญหลวงพ่อบุญจันทร์ กมโล วัดบ้านหนองทุ่ม มหาสารคาม รุ่นแรก ปี 2540 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อกินรี วัดกัณตศิลาวาส ปี 2519 เนื้อทองแดงรมน้ำตาล ตอกโค๊ด นิยม
เหรียญท้าวสุรนารี รุ่นฉลองครบ 100 ปี ราชสีมาวิทยาลัย พ.ศ.2542 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ รุ่นมหาราช ปี 36 เนื้อทองแดงรมดำ มีโค๊ด
เหรียญอายุครบ 80 ปี หลวงปู่เหรียญ วัดอรัญญบรรพต ปี 35 เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญฉลองสมณศักดิ์ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต หลังพัดยศเครื่องอัฐบริขาร ปี 2536
พระสมเด็จ 5 อังคาร หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต เนื้อพิเศษ
เหรียญหลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก จ.สุรินทร์ รุ่นร่วมน้ำใจ ปี 28 เนื้อทองแดงรมดำ
พระสมเด็จหลวงปู่เหรียญ วัดอรัญญบรรพต ปี 2539 รุ่นประทานพรวรลาโภ
เหรียญหลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต ปี 19 หายาก
หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน พระพิมพ์หลวงปู่ทวด หลังพระพิฆเนศ ปางอิทธิฤทธิ์ ปี 2543 เนื้อแร่ผสมใบลาน
เหรียญหลวงพ่อผาง ออกวัดป่าธรรมวิเวก ปี 20 เนื้อกระไหล่ทอง
สมเด็จ เนื้อผงผสมอิฐพระธาตุ วัดพระธาตุพนม ปี 19 สีชมพู นิยม
เหรียญพระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด) พระราชพิธีบรรจุพระอุรังคธาตุ วัดพระธาตุพนม ปี 2522
เหรียญหลวงปู่พรหมา เขมจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำสวนหินแก้ว ผานางคอ  ปี .2537 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อจันทร์ วัดราษฏร์รังสรรค์ บุรีรัมย์ รุ่นแรก ปี ๒๕๑๔
พระผงสมเด็จนางพญางิ้วดำ วัดใหม่บ้านดอน ปี พ.ศ.2516 พิธีใหญ่  หายาก
เหรียญพระครูสุภัทรธรรมาภรณ์ วัดปลาเดิด รุ่นแรก เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อชื่น วัดตาอี บุรีรัมย์  รุ่นแรก ปี 43 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อห้อย วัดเจริญผล ปี 20 เนื้อทองแดง
พระสมเด็จนางพญางิ้วดำ วัดใหม่บ้านดอน รุ่นพิเศษ ปี พ.ศ.2519 พิมพ์เล็ก นิยม
เหรียญหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ปี 2536 รุ่นคูณค้ำคน กะไหล่ทอง
เหรียญพระครูสุธีธรรมจารย์ วัดเหนือแวงน่าง จ.มหาสารคาม ปี 21 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อพวง  ญาณทีโป วัดใต้บ้านยางขี้นก รุ่นแรก ปี 42
เหรียญหลวงพ่อมาน วัดทุ่งสว่าง รุ่นแรก ปี 2519 เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญหลวงปู่แสง วัดหนองเขวา ปี 2548 เนื้อทองแดง มีโค๊ด รุ่น คงเกียรติอำนวย
เหรียญเจ้าพ่อพญาแล ปี 39/40 เนื้อทองแดง มีโค๊ด
เหรียญหลวงพ่อยอดแก้ว วัดยอดแก้วศรีวิชัย ปี 19 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงปู่สา เปสาโล วัดบ้านโพธิ์ เนื้อทองแดงรมน้ำตาล ปี 2540
เหรียญท้าวสุรนารี ที่ระลึกงานฉลองครบ 60 ปีอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี พ.ศ.2537 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อคำดี วัดบูรพา รุ่นครบรอบ 72 ปี ๒๕๔๕ เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล  วพ อุดรธานี รุ่น6 ปี 16
เหรียญหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตปี 37 เนื้อทองแดง ออกวัดป่าสาลวัน โค๊ต นะ
เหรียญหลวงปู่เจ๊ก วัดสว่าง ร่นแรก ปี 23 เนื้ออทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อผาง จิตตคุตโต ออกวัดใหม่บ้านดอน ปี 14 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก จ.สุรินทร์ ปี 2522 เนื้อทองแดง
พระสมเด็จหลวงปู่พรหมมา เขมจาโร รุ่น 5 แผ่นดิน ปี 37 เนื้อผงฝั่งพลอยแดง
หลวงปู่หยวม วัดสระธาตุ รุ่นแรก เนื้อทองแดงรมน้ำตาล
รูปหล่อหลวงตาพวง สุขินทริโย วัดศรีธรรมาราม จ.ยโสธร
หลวงพ่อละเมียด วัดสามัคคีราษฎร์บำรุง อ.นางรอง บุรีรัมย์ รุ่นแรก ปี 19 เนื้อทองแดง
เหรียญพระสมณโคดมหลังพระสมเด็จพุฒาจารย์โต ปี 14 เนื้อทองฝาบาตร
พระสมเด็จหลวงปู่สรวง วัดเลียบ ปี 39 หลังรูปเหมือนครึ่งองค์ลูกตาเบ๊าะ นื้อชานหมากสีแดง
เหรียญหลวงพ่อจอน หลังพระพรหม วัดบุญญฤทธิ์ เนื้อทองแดง ตอกโค๊ด
เหรียญหลวงพ่อผาง ออกวัดป่าศิลาเลย จ.อุบลราชธานี ปี 2519 เนื้อกะหลั่ยทองสวย
เหรียญหลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จังหวัดเลย รุ่น ครบรอบ 81 ปี 2526 เนื้อทองแดง มีโค้ด ช
เหรียญพระอาจารย์มหาสิน วัดถ้ำบาหลอด รุ่นแรก ปี 2518 เนื้อทองแดง จ.เลย
เหรียญพระครูอดุลสังฆกิจ วัดกุดเรือคำ สกลนคร ปี 2514 เนื้อกะไหล่ทองสวย
เหรียญหลวงพ่อคำดี วัดบูรพา รุ่นแรก ปี ๒๕๒๙ พิมพ์เล็กเนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญและตะกรุดคู่ 2 ดอกหลวงพ่อฤทธิ์ รตนโชโต วัดชลประทานราชดําริ บุรีรัมย์  รุ่นแรก
เหรียญหลวงปู่คำพอง ติสโส วัดถ้ำกกดู่ จ.อุดรธานี ปี 2540 เนื้อทองแดงรมน้ำตาล
เหรียญพระอาจารย์ผั่น ปาเรสโก วัดป่าหนองไคร้ จ.ยโสธร ปี 2535 รุ่นแรก เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ ปี 20 เนื้อทองแดงรมน้ำตาล พิมพ์ใหญ่
เหรียญหลวงพ่อองค์ตื้อ วัดศรีธาตุ รุ่น 1 เนื้อทองแดง
เหรียญเจ้าพ่อราชครูหลวงโพนสะเม็ก(ราชครูขี้หอม) พระราชพิธีบรรจุพระอุรังคธาตุ ปี 2522 วัดพระธาตุพนม
เหรียญหลวงพ่อสุข วัดนารายณ์บุรินทร์ สุรินทร์ ปี 2521  เนื้อทองแดงรมน้ำตาล
เหรียญพระมหาบุญมี เรวโต ปี 2515 เนื้องทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงปู่เครื่อง วัดสระกำแพงใหญ่ รุ่นรถไฟ ปี 2526 บล็อคแรก นิยม
เหรียญหลวงพ่อคำคนึง วัดถ้ำคูหาสวรรค์  รุ่นพูลทรัพย์ ปี 2537 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อคำดี วัดบูรพา รุ่นแรก ปี ๒๕๒๙ พิมพ์ใหญ่ เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญพระแก้วมรกต วัดอุมังคละบ้านนาเรียง ต.สามัคคี อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุิ์ ปี 2514 รุ่น ๒
เหรียญหลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จังหวัดเลย รุ่น เมตตา77 ปี 2520 เนื้อทองแดง ตอกโค๊ต
เหรียญหลวงพ่อดำหริ วัดนิคมเขต สุรินทร์ รุ่น 1 ปี 2537 เนื้อทองแดงรมดำ
หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย ปี 2518 เนื้อทองแดงกะไหล่เงินสวย
เหรียญหลวงพ่อสมัย วัดตาลเดี่ยว ชัยภูมิ เนื้อทองฝาบาตร
เหรียญหลวงพ่อจันทร์ สุภทฺโท วัดโคกยาว มหาสารคาม รุ่น 2 ปี 21
เหรียญหลวงพ่อเสียบ วัดบ้านเกาะ อ.เมือง จ.นครราชสีมา รุ่นแรก ปี 2519
เหรียญหลวงปู่อ่อน วัดประชานิยม จ.กาฬสินธุ์ รุ่นแรก ปี 2518 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน รุ่น 1  โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัยจัดสร้าง ปี 2530
เหรียญหลวงพ่อทองสุก วัดหัวบึงทุ่ง อ. ธาตุพนม จ.นครพนม รุ่นแรก ปี  2520 มีโค๊ด นิยม
เหรียญหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน รุ่นเจดีย์มหามงคล ร้อยเอ็ด ปี 2549
หลวงพ่อน้อย วัดป่านิมิตรมงคล สุรินทร์ (ศิษย์อาจารย์มั่น)สวยๆ ๆ
เหรียญหลวงพ่อพระเจ้าทองแสน วัดท่าคกเรือ รุ่นแรก ปี ๒๕๒๓ เนื้อทองแดงผิวไฟ
หลวงพ่อสา วัดโพธิวราราม จ. อุดรธานี รุ่นแรก ปี 2518 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงปู่พรม ขฺนติธมฺโม วัดศรีบุญเรือง รุ่นแรก ปี 29
เหรียญหลวงพ่อสิงห์ วัดหนองหิน จ. ร้อยเอ็ด รุ่นแรก  สวยมาก
เหรียญพระครูอินทรีโสภิต วัดศรีสุนทร จังหวัดชัยภูมิ รุ่นแรก ปี 2518 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงปู่ปุ๊ก  วัดพุดซา เนื้ออัลปาก้า ไม่ใช่ยันต์เล็กและบ่อยันต์ใหญ่
เหรียญหลวงพ่อเพ็ง วัดพรมเทพ สุรินทร์ ปี 2538 รุ่นอายุครบ ๘0 ปี เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อคำดี วัดบูรพา รุ่นแรก ปี ๒๕๒๙ พิมพ์เล็กเนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่เสาร์ วัดกุดเวียน ปี 2547  เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญพระครูอินทรีโสภิต วัดศรีสุนทร จังหวัดชัยภูมิ รุ่นแรก ปี 2518 เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญหลวงพ่อทองสุก วัดหัวบึงทุ่ง จ.นครพนม รุ่น 109 ปี พ.ศ. 2521 เนื้อทองแดง
เหรียญพระอาจารย์จันดี เขมปัญโญ วัดศรีสะอาด อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร รุ่นแรก
เหรียญหลวงพ่อคูณ ที่ระลึกงานผูกพัทธสีมา วัดม่วงสระน้อย ปี2539
พระผงซุ้มเรือนแก้ว หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโณ วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี ปี 53
เหรียญพระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร  ปี 2521 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อคำมี วัดเขื่องกลาง จ.อุบลราชธานี ปี 22 เนื้อทองแดง
พระผงชานหมากหลังโต๊ะหมู่ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน 60 ปีบรรลุธรรม ระลึกงานเปิดโลกธาตุ ปี 53
เหรียญหลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา ปี 2536 เนื้อทองแดง
เหรียญฉลองสมณศักดิ์ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา ปี 28
เหรียญพระอาจารย์แสง วัดมหาชัย หนองบัวลำภู รุ่น 2 เนื้อทองแดง
หลวงปู่คำคนิง จุลมณี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จังหวัดอุบลราชธานี
เหรียญหลวงพ่อก้อน วัดอัมพวัน จังหวัดนครราชสีมา หลังยันต์นกคุ้ม
เหรียญขวัญถุงหลวงปู่โทน วัดบูรพา เนื้อทองแดงรมดำ นิยม
เหรียญหลวงปู่โทน กันตสีโล วัดบูรพา รุ่นแรก ประคำ 7 เม็ด เนื้อทองแดง
พระผงรูปเหมือน หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง รุ่นรับทรัพย์  ปี 2550 จ.ร้อยเอ็ด เนื้อแดงปัดทอง
เหรียญหลวงพ่อหล้า วัดหนองบัวรอง  รุ่นแรก ปี 2518 เนื้อทองแดงรมดำ มีโค๊ด
กริ่งเล็กหลวงพ่อพระใส จ.หนองคาย ปี 33 ก้นกลึง กะไหล่ทอง รุ่นประสบการณ์
หลวงพ่อพระใส  วัดโพธิ์ชัย เนื้อกระเบื้องหลังคาโบสถ์ รุ่นแรก  ปี ๒๕๔๑ จ.หนองคาย
เหรียญหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล ปี 2520  อายุครบรอบ 90 ปี จ.อุดรธานี
เหรียญเจ้าพ่อพญาแล  ปี 2530 เนื้อทองแดง จ.ชัยภูมิ
สมเด็จงิ้วดำ วัดใหม่บ้านดอน รุ่นพิเศษเสาร์ 5 พิมพ์มหานิยม ปิดทอง ปี 2519
เหรียญหลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ ปี 18 หลังลายเซ็น เนื้อทองแดงรมน้ำตาล
เหรียญหลวงปู่พรหมมา วัดบุปผาวัน รุ่นแรก เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงปู่ศรี วัดป่านาหลัก รุ่นสร้างศาลา เนื้อทองแดงกะหลั่ยทอง แจกกรรมการ
เหรียญหลวงปู่พ่วง สุจิณโณ วัดลำบ้านใหม่ รุ่น 1 ปี 2537 เนื้อทองแดง
พระขุนแผนอุ้มไก่ หลวงปู่สรวง บ้านละลม เนื้อดินดำปราสาทขอมพันปี แช่น้ำมนต์ ปลุกเสกปี ๑๙
เหรียญหลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ ปี 20 เนื้อทองแดงรมน้ำตาล
พระขุนแผนอุ้มนาง หลวงปู่สรวง บ้านละลม เนื้อดินแดง ดินปราสาทขอม แช่น้ำมนต์ ปลุกเสกปี ๑๙
พะสมเด็จ หลวงปู่สรวง บ้านละลม เนื้อดินดำ ดินปราสาทขอม แช่น้ำมนต์ ปลุกเสกปี ๑๙
พระขุนแผนพิมพ์อกใหญ่  หลวงปู่สรวง บ้านละลม เนื้อดินแดง ดินปราสาทขอม แช่น้ำมนต์ ปลุกเสกปี ๑๙
พระขุนแผนอุ้มไก่ หลวงปู่สรวง บ้านละลม เนื้อดินแดง ดินปราสาทขอม แช่น้ำมนต์ ปลุกเสกปี ๑๙
เหรียญหลวงพ่อคง วัดตะกร้อ รุ่นมหานิยม เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่อินทร์ วัดตลาดประดู่ รุ่นแรก เนื้อทองแดง
พระกริ่ง 7 รอบ หลวงพ่อเสาร์ วัดกุดเวียน ปี 2539
ฤาษีหลวงปู่พรหมมา  เขมจาโร ปี 2537 รุ่นฉลองอายุ 96 ปี ใต้ฐานอุดผงพุทธคุณและตอกโค๊ด
เหรียญหลวงปู่สิม พุทธาจาโร ออกวัดป่าสันติสังฆาราม จ.สกลนคร ปี 2522
เหรียญหลวงปู่มั่น วัดถ้ำสาริกา ปี 2519 เนื้อทองแดงรมน้ำตาล
เหรียญหลวงปู่ฤทธิ์ วัดชลประทานราชดำริ อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ รุ่นแรก ปี ๒๕๓๗ พิมพ์ใหญ่
พระครูวิมลสีลาภรณ์ (เนย สมจิตฺโต) วัดโนนแสนคำ รุ่นมหาลาภ ๖๑ ปี 41
เหรียญหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต ปี 2536 พิมพ์พัดยศครึ่งองค์ เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญหลวงปู่พระครูวรพรตวิธาน วัดจุมพล ปี 2540 รุ่นพิเศษ เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อรอด วัดสว่างสำราญ รุ่นแรก เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงปู่ปทุมญาณมุนี วัดบัวใหญ่ ปี 13 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่นิล วัดป่าคุ้มจัดสรร รุ่นแรก เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน  ครบ 5 รอบ ปี 2524  เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่บัว สิริปุณโณ วัดป่าหนองแซง รุ่นแรก ปี ๒๕๑๑ เนื้ออัลปาก้า ห้าห่วงนิยม
เหรียญพระครูสิริกันทรลักษณ์ วัดศรีขุนหาญ จ. ศรีสะเกษ ปี 2521  รุ่นแรก
เหรียญปรกใบมะขาม หลวงปู่ชอบ ฐานสโม รุ่นแรก ปี ๓๓ เนื้อทองแดง
เหรียญพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลัง พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุลเถระ )วัดโพธิสมภรณ์  จ.อุดรธานี ปี 25
เหรียญพระสุธรรมคณาจารย์(แดง) วัดป่าสามัคคีธรรม จ.กาฬสินธุ์ รุ่นแรก ปี 2521 มีโค๊ดนิยม
เหรียญหลวงปู่ฤทธิ์ วัดชลประทานราชดำริ อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ รุ่นแรก ปี ๒๕๓๗ พิมพ์เล็ก
เหรียญพระครูคัมภีรวุฒาจารย์(พระอาจารย์หนู) วัดทุ่งศรีวิไล ปี 18  เนื้อทองแดง จ.อุบลราชธานี
เหรียญพระอาจารย์ผัน วัดบุราณเรือง สกลนคร รุ่นแรก เนื้อทองแดง
พระกริ่งหลวงพ่อนิยม วัดป่าหลักร้อย จ.นครราชสีมา เนื้อทองผสม
เหรียญหลวงปู่พระครูวรพรตวิธาน วัดจุมพล ปี 18 เนื้อทองแดง
พระผงสมเด็จนางพญางิ้วดำ วัดใหม่บ้านดอน ปี พ.ศ.2517 พิมพ์เล็กยอดนิยม
พระนิมิตมงคลชัยสีมา วัดใหม่บ้านดอน นครราชสีมา  ปี ๒๕๑๗ พิมพ์กลาง
เหรียญหลวงปู่เครื่อง สุภัทโท วัดสระกำแพงใหญ่ รุ่นมหาลาภเสาร์ห้า เนื้ออัลปาก้า
เหรียญพระอาจารย์ผัน วัดบุราณเรือง สกลนคร ปี 2521 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อออน อมโร รุ่นแรก ปี ๒๕๑๗ เนื้อทองแดง บล็อคธรรมดา หน้านิยมมีกลาก
เหรียญพระสิงห์หนึ่ง วัดยางประชาสามัคคี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
เหรียญ พระสังกัจจาย วัดศรีบุญเรือง ปี ๒๐ มุคดาหาร จ.นครพนม
เหรียญ 8 เหลี่ยม อาจารย์มั่น ภูริทัตโต ปี ๒๕๑๕ รุ่นพิพิธภัณฑ์
พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม
เหรียญพระอาจารย์นนท์ โกวิโท วัดป่านันทาสุทธาวาส นครพนม รุ่นแรก ปี 2519
เหรียญพระครูภาวนานุยุต วัดนาข่าศรีสุทธาวาส รุ่นพัดยศ
เหรียญหลวงปู่บัว เตมิโย วัดหลักศิลามงคล จ. นครพนม รุ่นแรก ปี 18
เหรียญหลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ ปี 18 หลังลายเซ็น เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญ พระพุทธ วัดสว่างโพธิ์ทอง ปี 2519 จ.ร้อยเอ็ด
เหรียญหลวงพ่อพวน วัดมงคลรัตน์ รุ่น ๑ เนื้อทองแดง จ.สุรินทร์
เหรียญหลวงพ่อออน อมโร รุ่นแรก ปี ๒๕๑๗ เนื้อทองแดงรมดำ บล็อคแตก นิยม
เหรียญหลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ รุ่นพิเศษ ปี ๑๗  เนื้อทองแดง
เหรียญร่วมพลังจิต หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ รุ่น อนุเคราะห์ ปี ๑๘
เหรียญหลวงปู่ผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต ออกวัดสะอาด ปี 24 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อผาง รุ่นศูนย์การแพทย์อนามัย ปี 2519 เนื้ออัลปาก้ากะหลั่ยทองแจกกรรมการ
เหรียญหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ รุ่นมหาเศรษฐีมีมากมาย ปี 41 เนื้ออัลปาก้า
เหรียญหลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย ปี 2518  เนื้อทองแดง
หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต วัดโพธิ์ทรายทอง
เหรียญหลวงพ่อสิงห์ วัดหนองหิน  จ. ร้อยเอ็ด รุ่นนแรก เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่ทองมา ถาวโร วัดสว่างท่าสี รุ่นฉลองอายุ ๗๕ ปี พ.ศ. 18
เหรียญหล่อหลวงปู่ดี วัดโคกหินช้าง พิมพ์ใหญ่  รุ่น ๑  ต.สาหร่าย อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา
เหรียญกลมหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกองเพล ปี 2511 บล็อกนิยม สระอี ซ้อน
กริ่งพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง วัดมหาวนาราม จ.อุบลราชธานี รุ่นเสาร์ห้า ปี ๒๕๓๙ เนื้อนวะโลหะ มีโค๊ด
เจ้าพ่อพญาแล ปี 21 เนื้อทองแดง มีโค๊ด บล็อคหลังนวะ

หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  บทความ  ผู้ดูแล
Copyright©2024 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด