[ รายละเอียด ] กริ่งหลวงพ่อแดง วัดปรกเจริญ ต.ตาหลวง อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี พระกริ่งได้สร้างขึ้นเมื่อปี 2518 ซึ่งเป็นพระกริ่งรุ่นแรก ก้นกลึงไม่อุดกริ่ง มีอาจารย์สมัยนั้นหลายท่านร่วมปลุกเสกหมู่ พิธีใหญ่
วิหารจัตุรมุข ติดกระจกวิจิตรยกฐานสูง ของวัดปรกเจริญ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ หลวงพ่อแดง มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศเดินทางมาสักการะในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก ที่บริเวณทางเดินรอบวิหารหลวงพ่อแดงติดกับคลอง มีระฆังทองเนื้อเหลืองผสม อายุเก่าแก่ แขวนไว้โดยรอบวิหาร เพื่อให้กับญาติโยมที่มานมัสการหลวงพ่อแดง ได้เดินตีระฆังรอบวิหาร จำนวน 129 ลูก
นั่งเรือไปตลาดน้ำบางน้อย วิถีชีวิตตลาดน้ำโบราณ มีพิพิธภัณฑ์ไหหลายร้อยปี และวัดไทร ซึ่งมีพิพิธภัณฑ์ของโบราณ โดย อบต.สนับสนุนการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวขึ้นเรือ (พาย) จากตลาดน้ำบางน้อยไปวัดไทร ฟรี ที่ท่าเรือศาลพ่อแดง วัดปรกเจริญ หลวงพ่อแดง วัดปรกเจริญ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ อายุประมาณ 800 ปี ปัจจุบันจดชื่อในทะเบียนกรมศิลปากรเรียบร้อยแล้ว ที่วัดปรกเจริญ ยังเป็นอุทยานมัจฉาประจำตำบลตาหลวงด้วย
หลังจากขอพรหลวงพ่อแดงแห่งวัดปรกเจริญแล้ว ทุกท่านอิ่มบุญเพิ่มได้โดยการให้อาหารปลาน้ำจืดตามธรรมชาตินานาชนิด คลองทองหลาง เป็นของขุดเก่าแก่ที่มีสายน้้ำไหลผ่านจากปากคลองดำเนินสะดวก ไหลลงสู่ปากคลองบางน้อย บริเวณลุ่มน้ำแม่กลอง ถือเป็นสายน้ำอันเก่าแก่เส้นหนึ่ง ที่ไม่ควรพลาดการสัญจร
หลวงพ่อแดง ศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธรูป (สามท่อน) แห่งวัดปรกเจริญ จ.ราชบุรี
หลวงพ่อแดง นามนี้มีอยู่ทั่วไปในทุกท้องที่ทั้งหลวงพ่อที่เป็นพระพุทธรูป และเป็นพระสงฆ์ที่เป็นพระพุทธรูปมักเรียกกันตามรูปลักษณะ และสีสันขององค์พระที่สร้างด้วยศิลาแลง หรืออิฐแดงตามแต่จะสร้างกัน ส่วนที่เป็นพระสงฆ์ก็จะเรียกกันตามนามของพระรูปนั้น หลวงพ่อแดงที่จะกล่าวถึงนี้เป็นพระพุทธรูปที่ชาวบ้านให้ความเคารพสักการะเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก ประดิษฐานอยู่วัดปรกเจริญ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี (ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับ อ. บางคนที จ.สมุทรสงคราม จึงทำให้บางคนเข้าใจผิด) สำหรับความเป็นมาของวัดปรกเจริญนั้น เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งสร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2381 ปลายรัชกาลที่ 3 เมื่อครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สถานที่ตั้งวัดปรกเจริญยังเป็นป่าละเมาะมีต้นไม้ใหญ่มากมาย สภาพอาณาบริเวณเป็นป่ารก มีหนองน้ำใหญ่อยู่กลางป่าธรรมชาติสงบร่มเย็น ห่างไกลจากบ้านเรือนราษฎร ด้วยเหตุนี้เองจึงมักมีพระภิกษุมาอยู่ปริวาสกรรมเป็นประจำ
ต่อมานางนวมได้เข้ามาจับจองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน แต่ก็ไม่ได้ทำอะไรกับที่ดินผืนนั้น ยังคงให้พระภิกษุมาอยู่ร่วมปริวาสกรรมและทำวิปัสสนากรรมฐานกัน มีการทำแผ่นหินไว้สำหรับพระภิกษุมานั่งปรกทำกรรมฐาน กาลเวลาผ่านไปมีพระภิกษุ วัดบางน้อย 2 รูป ชื่อ หลวงตาอิน กับ หลวงตามี อายุไล่ๆ กันราว 60 ปีเศษ เคยมาอยู่ปริวาสกรรมบริเวณของที่ดินนางนวมมาก่อน พึงพิจารณาเห็นว่าสถานที่นี้เหมาะแก่การสร้างวัด นางนวมก็เห็นดีด้วยจึงได้ขายที่ดินให้กับหลวงตาทั้งสองรูปให้สร้างเป็นวัดขึ้นมา พร้อมกับรับช่วยเหลือค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างอื่นๆ เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยชาวบ้านก็เรียกขานชื่อวัดว่า วัดปรก และเรียกหลวงตาอินว่า หลวงตาใหญ่ เรียกหลวงตามีว่า หลวงตาน้อย วัดปรกเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ ต่อมาเรียกขานคำว่า เจริญ ตามสภาพความเจริญรุ่งเรืองของวัดต่อท้ายนามวัดปรก เป็น วัดปรกเจริญ มาจนทุกวันนี้
ที่วัดปรกเจริญแห่งนี้มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งนามว่า หลวงพ่อแดง เป็นพระพุทธรูปโบราณปางสมาธิ ไม่ทราบว่าสร้างขึ้นในสมัยใดรู้แต่เพียงว่า สกัดด้วยหินแดง เนื้อละเอียดอ่อนสลักเป็นรูปพระปฏิมากรมีอยู่ด้วยกัน 3 ท่อน คือ ท่อนที่1 ตั้งแต่พระบาทถึงพระอุทร ท่อนที่ 2 ตั้งแต่พระอุทรถึงพระศอ ท่อนที่ 3 ตั้งแต่พระศอถึงพระเศียร มีขนาดหน้าตักกว้าง 100 เซนติเมตร สูง 125 เซนติเมตร จากการสันนิษฐานของกรมศิลปากรว่ามีอายุประมาณเกือบ 800 ปี ต้นเหตุของการนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดปรกเจริญ เริ่มแรกเดิมที ราวพุทธศักราช 2472 ช่วงใกล้ๆ ออกพรรษาที่วัดคงคา ท่าดินแดง ซึ่งในระยะนั้นยังไม่มีใครจองกฐินเลย จนวันหนึ่งนายถม เฮงประเสริฐ ได้นำบุตรสาวของตนเองที่กำลังป่วยไปรักษาตัวอยู่ที่วัดคงคา ท่าดินแดง
เมื่อนายสอนและนายเฮาแอ เดินทางไปถึงวัดคงคา ท่าดินแดง จึงพากันไปพบเจ้าอาวาสและแสดงความประสงค์ในการที่จะนำกฐินมาทอดที่วัดคงคา ท่าดินแดงแห่งนี้ เมื่อการเจรจาลุล่วงลงด้วยดีนายสอนกับนายเฮาแอก็พากันเดินชมบริเวณรอบๆ วัด พอไปถึงพระอุโบสถก็พบเห็นชิ้นส่วนต่างๆ ของพระพุทธรูปที่สลักด้วยหินแดงมีจำนวนถึง 3 ท่อนวางระเกะระกะอยู่ นายสอนจึงปรึกษากับนายเฮาแอว่า อยาสกจะได้พระพุทธรูปแตกสามท่อนนี้เพื่อไปประดิษฐานที่วัดปรกเจริญ จึงได้พากันไปพบเจ้าอาวาสอีกครั้งเพื่อสอบถามเรื่องราวและขอพระพุทธรูปหักสามท่อนกับเจ้าอาวาส ซึ่งท่านเจ้าอาวาสก็ไม่ขัดข้องมอบพระพุทธรูปหักสามท่อนให้กับนายสอนทันที
ครั้นถึงกำหนดวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 พ.ศ. 2472 หลวงพ่อเจือกับนายสอนพร้อมด้วยชาวบ้านละแวกวัดปรกเจริญก็นำองค์กฐินไปทอด พอทอดเสร็จบรรดาชาวบ้านก็พร้อมใจกันจัดแข่งเรือพาย ส่วนผู้ที่ไม่ได้ร่วมดูการแข่งเรือก็จะช่วยกันขนพระพุทธรูปหักสามท่อนลงเรือมาด แล้วก็กระทำพิธีแห่แหนเป็นการอัญเชิญและต้อนรับพระพุทธรูปสู่วัดปรกเจริญ รุ่งขึ้นอีกวัน คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 พ.ศ. 2472 ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 คือวันลอยกระทง ทางวัดปรกเจริญพร้อมด้วยชาวบ้านต่างก็มาร่วมพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปหินแดงขึ้นประดิษฐาน ณ ศาลาท่าน้ำของวัดก่อนที่นำมาประกอบเข้าด้วยกัน ในวันเองชาวบ้านต่างพร้อมใจกันขนานนามพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาว่า หลวงพ่อแดง เหตุที่ขนานนามเช่นนี้ก็เพราะว่า ประการแรก ได้นำท่านมาจากวัดคงคา ท่าดินแดง กับประการที่สอง รูปองค์ของท่านแกะจากหินแดง จึงพากันเรียกว่า หลวงพ่อแดง ครั้นพอซ่อมองค์ท่านเรียบร้อยแล้วทางวัดก็สร้างโรงเรือนศาลาประดิษฐานองค์ท่าน ให้ผู้คนไปเคารพสักการะกัน ที่วัดปรกเจริญมีศิษย์วัดคนหนึ่งชื่อ นายยิ้ม อายุมากแล้วสติไม่ค่อยดีเท่าไหร่ คนทั่วไปชอบเรียกแกว่า หมอหยุด นายยิ้มหรือหมอหยุดคนนี้ จะนำเอาดอกไม้ธูปเทียนมาจุดถวายบูชาหลวงพ่อแดงเป็นประจำทุกวัน ตลอดเวลาวันๆ แกจะคอยดูแลหลวงพ่อแดงอยู่อย่างใกล้ชิดไม่ยอมไปไหนเลย บางครั้งแกก็หากระถางมาตั้งและเอาน้ำมาใส่ไว้ใกล้ๆ ใครถามว่าทำอะไรแกก็บอกว่าเป็นน้ำมนต์หลวงพ่อแดง นานๆ เข้าแกก็ตักน้ำเที่ยวแจกจ่ายชาวบ้านบอกว่าเป็นน้ำมนต์หลวงพ่อแดง ก็เป็นเรื่องแปลกและอัศจรรย์มากเพราะน้ำที่นายยิ้มตักไปแจกให้กับผู้คนทั่วไปนั้น ปรากฏว่าสามารถรักษาโรคภัยต่างๆ ได้นำไปประพรมของที่ขายอยู่ทำให้ขายดีมาก ในที่สุดชาวบ้านก็ยอมรับกันว่า หลวงพ่อแดง องค์นี้ศักดิ์สิทธิ์นัก |