หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  บทความ
เจ้าพระยาพระเครื่อง
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 72 คน
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ : เจ้าพระยาพระเครื่อง

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า เจ้าพระยาพระเครื่อง
ชื่อเจ้าของ Weerapong prommontree/วีรพงศ์ พรหมมนตรี(อ้น ระโนด)
รายละเอียด Sale thai amulet as well as share information and knowledge about Thai amulet to interesting persons particularly foriegners./ให้บูชาพระเครื่องและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องในเรื่องประวิติเกจิ
เงื่อนไขการรับประกัน เก๊คืนเต็มจำนวน หากคืนพระในสภาพเดิม ภายใน 7 วัน คืน 100 % ภายในสองสัปดาห์ คืน 75 % ภายใน 1 เดือน คืน 50 % / Refund schedule with in 7 days 100 % , with in 14 days 75 % , with in 30 days 50 %
ที่อยู่ Weerapong prommontree 165/91 Senbordee Pimolrach Bangboutong, Nontaburi 11110/วีรพงศ์ พรหมมนตรี 165/91 ซ 26 หมู่บ้านสินบดี ต. พิมลราช อ บางบัวทอง จ. นนทบุรี 11110
เบอร์ที่ติดต่อ 081-6414009,029243140 ( อ้น ระโนด ) line ID weerapong07
E-mail eon_werapong123@hotmail.com
วันที่เปิดร้าน 01-01-2554 วันหมดอายุ 01-01-2569

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี
กสิกรไทย สำเหร่
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
032-2-93420-3
ออมทรัพย์
กรุงไทย บางบัวทอง
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
121-0-28494-4
ออมทรัพย์
กรุงเทพฯ งามวงศ์วาน
นายวีรพงศ์ พรหมมนตรี
917-004262-7
ออมทรัพย์

วัตถุมงคล: พระเครื่องเกจิสายนนทบุรี,ปทุมธานี
พระปิดตาแร่บางไผ่ วัดนครอินทร์ อ. เมือง จ. นนทบุรี รุ่นแรก ปี ๒๕๓๗ พิมพ์กลาง พร้อมกล่องเดิม
28-04-2563 เข้าชม : 30666 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] พระปิดตาแร่บางไผ่ วัดนครอินทร์ อ. เมือง จ. นนทบุรี รุ่นแรก ปี ๒๕๓๗ พิมพ์กลาง พร้อมกล่องเดิม
[ รายละเอียด ] เป็นความเชื่อมายาวนานแล้วครับว่า “แร่บางไผ่” เป็นแร่ที่มีลักษณะเหมือนกับมีชีวิต กล่าวคือแร่บางไผ่สามารถกินอาหาร น้ำคาวปลา เศษเนื้อ ฯลฯ สามารถเลี้ยงไว้ได้และก็สามารถตายได้เช่นเดียวกัน
ว่ากันว่าถ้าเรานำแร่บางไผ่มาแช่น้ำไว้ จะทำให้แร่บางไผ่อยู่ในสภาพที่มีเนื้อแร่เหล็กอยู่ แต่ถ้านำแร่บางไผ่ขึ้นมาไว้บนบกและตากแดดไว้นานๆ แร่บางไผ่ก็จะตาย..
ลักษณะการตายของแร่บางไผ่คือเนื้อแร่เหล็กจะหายไปและกลายสภาพเป็นเหมือนก้อนอิฐก้อนหินธรรมดา
ดังนั้นการที่จะเลี้ยงก้อนแร่บางไผ่ให้มีแร่เหล็กอยู่ได้นั้นจึงจำเป็นที่จะต้องแช่น้ำไว้และเลี้ยงไว้ด้วยน้ำคาวปลา เศษเนื้อ เศษหมู แร่บางไผ่นั้นจึงจะมีชีวิตอยู่ได้.......
ที่สำคัญยิ่งคือแร่บางไผ่นี้มีอยู่แห่งเดียวในประเทศไทย คือใน”คลองบางคูลัด จังหวัดนนทบุรี”
มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า “หลวงปู่จัน” ท่านเป็นชาวเขมรโดยกำเนิด เมื่อท่านได้ออกบวชและธุดงค์จาริกแสวงบุญจากเขมรมายังเมืองไทย
สมัยที่หลวงปู่จันมาใหม่ๆนั้นได้มีเสียงร่ำลือจากชาวบ้านละแวกนั้นว่า มีพระเขมรสององค์ องค์หนึ่งเก่งทางด้าน”รักษาโรค” อีกองค์หนึ่งเก่งทางด้าน “เวทมนต์คาถา” ชื่อเสียงของพระทั้งสององค์นี้โด่งดังไปทั่วอำเภอบางบัวทอง
ในยุคสมัยนั้นการคมนาคมทางรถยนต์ยังไม่สะดวก ต้องใช้เรือเป็นพาหนะในการสัญจรไปมา การรักษาโรคภัยไข้เจ็บและการบรรเทาทุกข์ทางใจในเรื่องต่างๆของชาวบ้านจึงต้องอาศัยพระในการช่วยเหลือ
ต่อมาเมื่อวัดโมลีได้ขาดเจ้าอาวาส ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันนิมนต์พระเขมรองค์ที่มีความเก่งทางด้านวิชาอาคมคือ “พระภิกษุจัน” ขึ้นมาเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่สาม ของ”วัดโมลี” ตำบลบางรักใหญ่ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
หลวงปู่จัน เป็นพระที่มีวิชาอาคมกล้าแข็งสามารถล่องหนย่นระยะทางได้ ว่ากันว่าวิชาการสัก วิชาการลงกระหม่อมและอาบว่านยาที่ท่านได้ประสิทธิ์ประสาทให้แก่ลูกศิษย์สามารถสร้างความอยู่ยงคงกระพันได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ ชาวบ้านทั้งใกล้และไกลในท้องที่นนทบุรีต่างให้ความเคารพนับถือในตัวท่านมาก
โดยในแต่ละวันจะมีผู้คนเข้าไปขอความเมตตาจากท่านช่วยลงกระหม่อมให้ หรือบางคนก็ขอให้ท่านช่วยสักยันต์และที่น่าแปลกใจที่สุดสำหรับชาวบ้านคือการย่นระยะทางหรือการแบ่งภาคไปปรากฏกายตามสถานที่ต่างๆโดยที่ตัวท่านเองยังนั่งอยู่ที่วัด
โดยปกติท่านมักจะขึ้นล่องระหว่างวัดโมลีกับสถานที่แห่งหนึ่งเป็นประจำ การไปของท่านแต่ละครั้งท่านมักจะนำเอาก้อนแร่ชนิดหนึ่งติดเรือกลับมาด้วย สำหรับก้อนแร่นั้นได้มีผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคยเห็นได้เล่าไว้ว่า
“มีลักษณะเหมือนก้อนกรวด ตะปุ่มตะป่ำ สีแดงอมน้ำตาลคล้ายกับเหล็กเป็นสนิม...”
เมื่อท่านได้ก้อนแร่มาแล้ว ท่านก็จะรวบรวมเอาไว้เพื่อเลี้ยงให้เกิดการงอกตัวขึ้นในตุ่มพิเศษของท่าน และเมื่อมีเวลาว่างหลวงปู่จันท่านจะนำเทียนขี้ผึ้งมาปั้นเป็นหุ่นเทียนรูปทรงพระปิดตา โดยมีพระหัตถ์คู่หนึ่งยกปิดพระพักตร์ อีกคู่หนึ่งล้วงลงปิดทวารด้านล่าง
จากนั้นท่านจึงได้ปั้นเทียนออกเป็นเส้นเล็กๆ เหมือนเส้นขนมจีนแต่เล็กกว่า และบรรจงดัดโค้งให้เป็นอักขระต่างๆ แล้วประดับติดเข้าไปกับเนื้อพระจนกระทั่งเต็มครบสูตรตามความต้องการของท่าน
โดยปกติแล้วพระที่หลวงปู่จันได้สร้างเอาไว้ ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยอักขระเลขยันต์ “ธาตุทั้ง ๔” คือ นะ มะ พะ ธะ และยันต์ตัวใหญ่ซึ่งเป็นยันต์ “เฑาว์” ซึ่งจากลักษณะการวางอักขระดังกล่าว จึงเสมือนหนึ่งว่าเป็น “เอกลักษณ์” ของพระพิมพ์ต่างๆของหลวงปู่จันทีเดียว
สำหรับพุทธคุณของพระปิดตาแร่บางไผ่ของหลวงปู่จัน ท่านเน้นหนักไปทางด้านคงกระพันและมหาอุด มีความเชื่อว่าถ้านำพระแร่บางไผ่ไปแช่ไว้ในน้ำมันงาบริสุทธิ์จำนวนเจ็ดวันแล้ว....
ให้เอา ”น้ำมันงาที่แช่พระไว้ครบเจ็ดวัน”นั้นมาทาตัวก็จะเป็นคงกระพันกันเขี้ยวงาได้ดีอีกด้วยนอกเหนือไปจากนั้นน้ำมันงายังเป็นตัวช่วยให้พระแร่บางไผ่คงสภาพไม่กร่อนตัวไปกับสภาพอากาศ
ในส่วนข้อเสียของแร่บางไผ่คือการกร่อนตัวกับสภาพอากาศและหากเราใช้พระติดตัวหากถูกเหงื่อมักจะกร่อนและกินตัวอย่างน่าเสียดาย นี่คือข้อควรระวังสำหรับผู้ที่มีพระแร่บางไผ่ติดตัวครับ
คุณวิเศษอีกประการหนึ่งในเรื่องความมหัศจรรย์แห่งพระปิดตาแร่บางไผ่ของหลวงปู่จันก็คือท่านเคยสั่งว่า...
ครั้งหนึ่งในสมัยที่พระปรีชานนทโมลี ยังเป็นสามเณรอายุราว ๑๓ ปี ท่านได้เคยช่วย “หลวงตาเชื้อ” สูบเตาไฟถลุงแร่บางไผ่และท่านเองก็เคยได้ยินว่าแร่บางไผ่มีอยู่ที่ “คลองบางคูลัด” กับที่นา “มหาอัน” ซึ่งท่านเองก็ไม่รู้ว่าแร่นี้อยู่ที่ไหนเพราะตัวท่านไม่เคยไปขุด คงช่วยแต่สูบไฟถลุงแร่อยู่ที่วัดเท่านั้น
ด้วยข้อมูลอันน้อยนิด แต่เปรียบเสมือนประกายของเปลวไฟได้ประทุขึ้นจนกลายเป็นดวงไฟอันลุกโชน...
พระอาจารย์สมศักดิ์จึงได้เดินทางไปกับลูกศิษย์อีก ๕ คนเพื่อค้นหาแร่บางไผ่ตามที่ได้ยินมาจากพระปรีชานนทโมลี เรื่องค่อนข้างยาวครับ เอาเป็นขอสรุปรวบรัดการค้นหาในเบื้องต้นได้ว่า.....
พระอาจารย์สมศักดิ์ได้เดินทางไปจนพบที่นา “มหาอัน” และได้เก็บเศษแร่เล็กๆ ซึ่งท่านคาดว่าน่าจะเป็นแร่บางไผ่กลับมาศึกษาดูที่วัด
บนเส้นทางแห่งการแสวงหาขุมทรัพย์แร่บางไผ่ หลายครั้งที่ทุกคนท้อแท้เกือบจะหมดหวังและหลายเวลาที่ท้อแท้กลับมีสิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้น เรื่องราวที่เสมือนจะเป็นตำนานก็กลายมาเป็นเรื่องจริง...
“คุณดิเรก ถึงฝั่ง ปลัดจังหวัดนนทบุรี”(ตำแหน่งขณะนั้น) ได้บันทึกเรื่องราวการค้นหาไว้ค่อนข้างละเอียดครับ
ผมมองดูกองดินที่กลางนาพร้อมกับนึกในใจว่า ทำไมเจ้าของเขาไม่ไถกองดินนี้ออก เขาเก็บเอาไว้กลางนาอย่างนั้นทำไม...
บนโคกนั้น ผมพบก้อนอิฐที่มีลักษณะป่นถูกไฟเผาดำเกลือนกลาดไปหมด แสดงว่าบริเวณโคกนี้คงจะเป็นที่เผาก้อนอิฐหรือเตาเผาอะไรสักอย่างหนึ่ง
ผมเดินสำรวจจากโคกลงไปตามคันนาที่มีน้ำขังอยู่ พบแร่บางไผ่เม็ดเล็กๆจำนวนหลายเม็ด พวกเราเดินจากโคกนั้นไปอีกประมาณ ๑๐๐ เมตร เห็นคลองบางคูลัดทอดลำตัวยาว คดเคี้ยวอยู่เบื้องหน้า ริมคลองมีบ้านอยู่หนึ่งหลัง.......”
พระอาจารย์สมศักดิ์ได้สอบถาม ‘คุณยายจรูญ เดชขจร’ เจ้าของบ้านที่มีอายุ ๘๐ ปี ว่า...
“ประวัติที่มาของกองดินคล้ายเจดีย์กลางทุ่งนาและโคกร้างนั้นมีมาอย่างไร....”
คุณยายเล่าให้ฟังว่า.....
“ฉันเกิดมาจำความได้ก็เห็นอย่างนี้ พ่อแม่เล่าว่า โคกร้างและกองดินกลางนานั้นเป็นของ ‘หลวงปู่จัน’ เป็นของศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีใครกล้าเข้าไปยุ่งหรือไถทิ้งหรอก...”
“ที่กองดินกลางทุ่งนานั้น วันดีคืนดีก็มีแสงไฟพุ่งขึ้นมา และที่โคกร้างนั้นก็เช่นเดียวกัน ไม่มีใครกล้าขึ้นไปเล่น เจ้าที่แรง เด็กขึ้นไปเล่นก็ชักอยู่บนนั้น บางทีเห็นแมวตัวโตวิ่งขึ้นไปและไม่รู้หายไปไหน หาเท่าไรก็ไม่เจอ ชาวบ้านบางคนไปหากบหาปลา เจอกบตัวใหญ่ผิดปกติ เกิดความกลัว ไม่กล้าเข้าไปบริเวณนั้นอีก...”
จากคำเล่าของคุณยายจรูญ เดชขจร ทำให้คุณดิเรก นึกไปถึงตำนานของหลวงปู่จัน แห่งวัดโมลีขึ้นมาได้...
“หลวงปู่จัน ท่านพายเรือมาร่อนแร่ และเก็บแร่ที่คลองบางคูลัด และได้เข้ามาจอดเรือในที่แห่งหนึ่ง เพื่อมาหาแร่ทั้งในคลองและในทุ่งนา แร่ที่หามาได้ก็นำมาถลุงที่ริมคลองและนั่นก็คือบริเวณที่ดินแห่งนี้นั่นเอง.....”
นอกจากความดีใจที่ได้ค้นพบสถานที่ตามตำนานแล้ว “คุณดิเรก ถึงฝั่ง” ยังได้เขียนถึงเหตุการณ์มหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นระหว่างการงมหาแร่อีกว่า....
“ท่านอาจารย์สมศักดิ์ ฐิตสกโข ได้สั่งให้คณะที่ติดตามมารออยู่ที่ริมคลอง ส่วนท่านและผมได้เดินมาที่โคกร้างแห่งนี้....
ท่านอาจารย์สมศักดิ์ ได้จุดธูปเทียนบูชาเจ้าที่เจ้าทางและลงนั่งสมาธิ ขออำนาจบารมีแห่งหลวงปู่จันและเจ้าที่เจ้าทางให้คณะของเราได้ค้นพบแร่บางไผ่ เพื่อนำไปสร้างเป็นพระเครื่องในโอกาสต่อไป....
ด้วยสมาธิที่แน่วแน่ของพระอาจารย์สมศักดิ์ สักครู่ฝนก็ตกลงมาเป็นละอองเล็กๆ นับเป็นมิ่งมงคลอย่างยิ่ง...”
“หนึ่งชัวโมงให้หลัง พระอาจารย์สมศักดิ์ได้บอกพวกเราว่า ให้เริ่มงมหาแร่ได้แล้ว โดยแบ่งคนกระจายกันงมทั้งในคลองบางคูลัดในทุ่งนาที่อยู่ติดกับคลองรอบๆ บริเวณพื้นดินที่เป็นรูปเจดีย์ พวกเราช่วยกันงมแร่ทั้งในคลองและในนาอยู่หลายชั่วโมง ได้แร่บางไผ่มาเป็นจำนวนมาก ที่น่าแปลกก็คือ.....
เหตุใดแร่บางไผ่จึงมีอยู่เฉพาะบริเวณนี้และตัวแร่ก็กระจายอยู่ทั่วไปในลำคลองและบริเวณทุ่งนา บางก้อนก็หมกโคลนอยู่...
พวกเราช่วยกันงมช่วยกันเก็บอย่างสนุกสนาน ยิ่งเก็บแร่ก็ยิ่งวิ่งมาชนมือมากขึ้น เป็นที่ประหลาดนัก วันนี้งมแร่ได้ถึง ๑๐ ถัง เป็นที่ปราบปลื้มยิ่งนัก. ครับตามบันทึกของคุณดิเรก บอกให้ทราบอีกว่าการค้นหาแร่บางไผ่ได้มีการดำเนินอย่างต่อเนื่องออกไปอีกหลายวัน สมาชิกผู้รวมวีรกรรมการค้นหาครั้งนี้ประกอบไปด้วยพระและฆราวาส
โดยทุกครั้งก่อนที่จะออกเดินทางพวกเขาเหล่านั้นจะทำพิธีสวดมนต์นั่งสมาธิภาวนาแผ่เมตตาเพื่อทำให้ใจบริสุทธิ์...และสิ่งที่ทำให้พวกเขาประหลาดใจกันมากก็คือว่า...
เมื่อวานก็งมแร่แถวนี้จนหมดแล้ว แต่พอมางมในวันใหม่ตรงที่เดิมก็สามารถงมพบอีกเรื่อยๆ
จนวันหนึ่ง(๒๘ กันยายน ๒๕๓๖) ไม่ว่าจะงมอย่างไรก็ไม่สามารถค้นหาได้ เรียกว่างมจนอ่อนอกอ่อนใจไปตามๆกันแหละครับ ร้อนถึงพระอาจารย์สมศักดิ์ท่านต้องตัดสินใจนั่งสมาธิสวดมนต์ภาวนาขอบารมีของหลวงปู่จันและเจ้าที่เจ้าทาง
ทันใดนั้นก็เกิดพายุใหญ่ พัดกระโชก ฝนตกลงมาขนาดใหญ่อย่างกะทันหัน ทุกคนวิ่งหลบฝนกันจ้าละหวั่น แต่พระอาจารย์สมศักดิ์ท่านยังคงนั่งภาวนาตากฝนอยู่ตรงที่เดิม
หนึ่งชัวโมงผ่านไปฝนเริ่มหยุด พระอาจารย์สมศักดิ์ท่านจึงสั่งให้ทุกคนเริ่มลงมือค้นหาใหม่ คราวนี้แหละครับ งมตรงไหน จิ้มลงตรงจุดใด เป็นอันได้เจอแร่ทั้งหมดที่ค้นพบและอนุมานว่าใช่แร่บางไผ่นี้ ได้มีการตรวจสอบและทดสอบ ทั้งจากตำราโบราณ ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ และจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของแร่บางไผ่
ไม่ว่าจะใช้กรอบความคิดอันไหน ทฤษฏีอะไร ตรรกะแนวไหน ผลลัพธ์ที่ได้คือคำว่า “ใช่” โดยก้อนแร่รูปร่างประหลาดๆทั้งหมดนี้เขาเรียกกันว่า “แร่บางไผ่” และเป็นแร่ที่หลวงปู่จัน ท่านใช้สร้างพระแร่บางไผ่ อันเกรียงไกรในอดีต...
และด้วยเป้าประสงค์ให้ทุกคนมีความเข้าใจตรงกันไม่ไขว้เขว ตลอดจนไม่เป็นการลอกเลียนแบบครูบาอาจารย์ พระแร่บางไผ่ของวัดนครอินทร์ จึงได้มีการจัดสร้างโดยใช้แบบพิมพ์ใหม่โดยมีเอกลักษณ์สำคัญที่แตกต่างจากของหลวงปู่จัน
กล่าวคือยันต์ที่องค์พระของเดิมจะเป็นตัว “เฑาว์” แต่ของวัดนครอินทร์จะเป็นตัว “ส” พระอาจารย์สมศักดิ์ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า...
“คุณดิเรก เป็นคนออกแบบให้ ความหมายของตัว ส.เสือ คือชื่อย่อของอาตมาซึ่งเป็นผู้สร้างพระชุดนี้
อีกประการหนึ่งคือ ส.เสือ หมายถึง สุปฏิปันโน แปลว่าผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ลองสังเกตดูให้ดี ส.เสือ ตัวนี้ปลายหางจะเป็นอุณาโลมหางหยัก อันเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า
เราจึงแปลความหมายได้ว่า พระสงฆ์ผู้เทิดทูนพระพุทธเจ้า...”
ฟังแล้วยิ่งได้ใจครับ เห็นด้วยตามคำพูดของพระอาจารย์สมศักดิ์ จริงอยู่การทำงานอะไรสักอย่าง “วิธีการและเป้าหมาย” เป็นสิ่งที่เราควรจะนำมาคิดคำนวณกันอย่างถ้วนถี่ การที่เราจะมองเพียงเป้าหมายโดยไม่สนใจหรือละเลยวิธีการไปถึงเป้าหมาย...มันถูกต้องแล้วหรือ...
พระแร่บางไผ่ ที่ออกในนามของวัดนครอินทร์ครั้งแรกเป็นการสร้างในปี ๒๕๓๗ โดยมีหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่(ปลุกเสกเดี่ยว ณ.วัดบ้านไร่

    สำหรับพระปิดตา มหาอุด แร่บางไผ่ ที่หลวงปู่จัน แห่งวัดโมลี สร้างขึ้นนั้นเป็นพระปิดตาที่ได้รับความนิยมชมชอบจากนักสะสมพระเครื่องเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ด้วยท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ได้เสาะแสวงหา แร่บางไผ่ จากตำบลบางไผ่ มาสร้างพระปิดตาอันต่อมา หลวงพ่อเกิด ซึ่งติดตามท่านออกเสาะแสวงหา แร่บางไผ่ ด้วยกัน ได้สร้างพระปิดตาจาก แร่บางไผ่ ด้วยเช่นกัน
    แร่บางไผ่ อันเป็นแร่เหล็กชนิดหนึ่ง ซึ่งต่อมาได้หายสาบสูญไปจากวงการพระเครื่องเป็นเวลายาวนาน กระทั่งเมื่อพระอาจารย์สมศักดิ์ ฐิตสกฺโข แห่งวัดนครอินทร์ ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งพื้นเพ เป็นคนเมืองนนท์ ได้ยินได้ฟังถึงเรื่องราวของ แร่บางไผ่ มาแต่เยาว์วัย กระทั่งเมื่ออุปสมบทเป็น พระภิกษุ ตั้งจิตอธิษฐานถ้ามีวาสนาใหได้พบ แร่บางไผ่ เพื่อจะนำมาสร้างเป็นวัตถุมงคลขึ้นมา
    แร่บางไผ่ หนึ่งเดียว แห่งเมืองนนทบุรี ได้มีการค้นพบอีกครั้งหนึ่ง โดยพระอาจารย์สมศักดิ์ ฐิตสกฺโข เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2536 ที่คลองบางคูลัด จังหวัดนนทบุรี ซึ่งได้นำมาสร้าง พระปิดตา เป็นที่เกรียวกราวในขณะนั้นเป็นอย่างมาก 

พระปิดตาแร่บางไผ่ (รุ่นแรก) วัดนครอินทร์ จ.นนทบุรี พ.ศ.2537

    สร้างตามตำรา พระปิดตาแร่บางไผ่ ของ หลวงปู่จัน วัดโมลี ทุกประการ “โดยนำแร่บางไผ่มาบดให้ละเอียด แล้วถลุงให้เป็นโลหะเหลว เทลงในเบ้าพิมพ์ กดพิมพ์ออกมาเป็นองค์พระเครื่องทีละองค์ ทุกขั้นตอนพระเณรช่วยกันทำ ภายในวัดนครอินทร์ ด้วยความประณีตพิถีพิถันเป็นพิเศษ เพื่อให้ถูกต้องตามตำราอย่างสมบูรณ์ที่สุด.”
สำหรับแม่พิมพ์ ได้แกะสร้างขึ้นมาใหม่ โดยไม่ควรถอดแบบจากพระปิดตาที่หลวงปู่จัน ท่านสร้างไว้ ด้วยเหตุผลที่ว่า
1.) จะไม่ควรลอกเลียนแบบครูบาอาจารย์ อันเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นเป็นอันขาด
2.) เนื่องจากแร่บางไผ่ที่เก็บมาได้นั้นเป็นของจริง ถ้าสร้างให้เหมือนของครูอาจารย์แล้ว ในอนาคตจะแยกไม่ออกว่าเป็นของวัดไหน เป็นของเก่าหรือของใหม่ ทำให้ผู้เช่าต้องตกเป็นเหยื่อของเซียนบางคน ต้องเช่าบูชาพระแร่บางไผ่วัดนครอินทร์ในราคาเท่าของหลวงปู่จัน....
    พระชุดนี้ยังได้นำไปให้ ลพ.คูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา ปลุกเสกเดี่ยว....
    แล้วยังจัดพิธีพุทธาพิเษกใหญ่ ที่วัดนครอินทร์ จ.นนทบุรี โดยเกจิคณาจารย์ดังแห่งยุคอีกหลายรูป เมื่อวันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2537 โดยมีเกจิดังนี้
    1.พระราชปรีชานนทโมลี วัดโมลี 2.หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา 3.หลวงพ่อสร้อย วัดเลียบ 3.หลวงพ่อผัน วัดแปดอาร์ 4.หลวงพ่ออินทร์ วัดบ้านบัว 5.หลวงปู่เก๋ วัดปากน้ำ 6.หลวงพ่อทิม วัดพระขาว 7.และพระอาจารย์สมศักดิ์ ฐิตสกโข วัดนครอินทร์......
    ฝีมือแกะพิมพ์ โดยช่างเกษม มงคลเจริญ (ช่างฝีมือชั้นเยี่ยมในการแกะพิมพ์พระเครื่อง.)
    สำหรับองค์นี้เป็นพระปิดตาแร่บางไผ่ (รุ่นแรก) พิมพ์กลาง วัดนครอินทร์ จ.นนทบุรี พ.ศ.2537 (๑ ต.ค.) ขณะนี้หายากมากครับ สวยงามน่าสะสมบูชามากครับ ใส่ตลับสแตนเลสอย่างดี พร้อมขึ้นคอได้เลย
    ขนาดองค์พระโดยประมาณ สูง 2.2 ซม. ฐาน 1.7 ซม. ขนาดกำลังสวยไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไปครับ
สำหรับองค์นี้ สภาพสวย (ปรกติจะหาองค์ที่สวยๆค่อนข้างยาก เนื่องจากเนื้อแร่บางไผ่ พอหลอมแล้วหล่อออกมาจะไม่ค่อยติดพิมพ์สักเท่าไหร่.) จำนวนการสร้างจึงมีจำกัด ไม่มากนัก จัดเป็นของดีที่น่าใช้มาก มีประสพการณ์สูง ชาวจังหวัดนนทบุรีต่างทราบกันดี....
    นักเลงสมัยยุคก่อน ยังใช้แค่ก้อนแร่บางไผ่เลี่ยมพกติดตัว ยังเกิดประสพการณ์มากมายในด้านคงกระพันชาตรี โดยอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ในตัวเองของแร่บางไผ่....

[ ราคา ] ฿2500
[ สถานะ ] ขายแล้ว
[ติดต่อเจ้าของร้านเจ้าพระยาพระเครื่อง] เบอร์โทรศัพท์ : 081-6414009,029243140 ( อ้น ระโนด ) line ID weerapong07


วัตถุมงคล: พระเครื่องเกจิสายนนทบุรี,ปทุมธานี
เหรียญหลวงปู่ยิ้ม วัดปรก ปทุมธานี รุ่นแรก ปี 2522  เนื้อทองแดงกะหลั่ยทอง นิยมหลังลายผ้า
เหรียญหลวงพ่อไสวหลังหลวงพ่อช่วง วัดพืชอุดม ปี 10 เนื้อฝาบาตร
เหรียญหลวงพ่อปลัดทุ่งหลัง อ.จำเริญ  ปี 2516 จ.ปทุมธานี เนื้อทองแดงรมน้ำตาล สวยมาก
เหรียญหลวงปู่ยิ้ม วัดปรก ปทุมธานี รุ่นแรก ปี 2522  เนื้อทองแดงกะหลั่ยเงิน นิยมหลังลายผ้า
พระผานไถ รุ่นรวยพลิกแผ่นดิน พิมพ์ใหญ่
เหรียญหลวงพ่อสุโขทัย วัดลานนา อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ปี ๒๕๑๓ เนื้อทองแดง
พระปิดตาหลวงพ่อบัวขาว วัดคลองตาคล้าย นนทบุรี รุ่น 1 เนื้อผงพุทธคุณ
พระปิดตาจัมโบ้หลวงพ่อสิริ สิริวัฒโน วัดตาล จ.นนทบุรี รุ่นปลดหนี้ ติดจีวร
เหรียญผานไถ หลวงพ่อทองกลึง วัดเจดีย์หอย จ.ปทุมธานี ปี 2551พิมพ์เล็ก เนื้อผานไถ
เหรียญผานไถ หลวงพ่อทองกลึง วัดเจดีย์หอย จ.ปทุมธานี ปี 2551พิมพ์ใหญ่  เนื้อผานไถ
เหรียญหลวงพ่อธรรมคุต วัดอเนกดิษฐาราม ปี 16 เนื้อทองแดงกะหลั่ยทอง
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง รุ่น ปฐมนาม 200 ปี เนื้อทองทิพย์ บล็อควงเดือน เลี่ยมสแตน
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง รุ่น ปฐมนาม 200 ปี เนื้อทองแดงรมดำ เลี่ยมกันน้ำ
เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิงจำลอง วัดประชารังสรรค์ นนทบุรี ปี 2520
พระสมเด็จผงกระเบื้อง วัดอัมพุวราราม
เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิงจำลอง วัดประชารังสรรค์ นนทบุรี ปี 2520 เนื้อทองแดง
พระปิดตาแร่บางไผ่ วัดนครอินทร์ อ. เมือง จ. นนทบุรี รุ่นแรก ปี ๒๕๓๗ พิมพ์เล็ก พร้อมกล่องเดิม
เหรียญคางเคราหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง  เนื้อทองแดง 2 โค๊ด แบบนี้หายาก
พระสมเด็จ วัดชลอ รุ่นแรก เนื้อผงน้ำมัน
เหรียญหลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ ปทุมธานี ปี 22 เนื้อกะหลั่ยทอง
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง รุ่น ปฐมนาม 200 ปี เนื้ออัลปาก้า บล็อควงเดือน
เหรียญหลวงพ่อพระครูทองหล่อ วัดคลองเจ้า รุ่นแรก ปี ๒๕๑๕ กะไหล่ทอง
เหรียญหลวงพ่อธรรมคุต วัดอเนกดิษฐาราม ปี 16 เนื้อทองแดงรม
เหรียญหลวงพ่อไฝ วัดนพรัตนาราม หนองเสือ รุ่นแรก กะใหล่ทองสวยมาก
เหรียญหลวงปู่ยิ้ม วัดปรก ปทุมธานี รุ่นแรก ปี 2522  เนื้อทองแดงรมน้ำตาล นิยมหลังลายผ้า
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ปี 2557 เนื้อทองแดง ออกวัดใหญ่สว่างอารมณ์
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง รุ่น ปฐมนาม 200 ปี เนื้อทองทิพย์ บล็อควงเดือน
เหรียญพระแก้วมรกต วัดชลอ รุ่น ๑ ด้านหลังพระประจำวัน จ.นนทบุรี ปี ๒๕๑๕ เนื้อกะไหล่ทอง
เหรียญพระพุทธ วัดมงคลพุการาม ปี 2517 เนื้อทองฝาบาตร
พระปิดตาแร่บางไผ่ เนื้อผงคลุกรัก พิมพ์ใหญ่ วัดนครอินทร์ จ.นนทบุรี รุ่น 2 พ.ศ. 2539 พร้อมกล่องเดิม
เหรียญคางเคราหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง  เนื้อทองแดง 2 โค๊ด แบบนี้หายาก
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง รุ่น 200 ปีชาตกาล เนื้อทองฝาบาตร
เหรียญยืนหลวงปู่เผือก วัดสาลีโข ปี 2522 พิมพ์เล็ก ปัดทอง
เหรียญหลวงปู่เล็ก วัดนครอินทร์ ปี 37 เนื้อทองฝาบาตร
เหรียญหลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ อายุ 92 ปี หลังหลวงพ่อลมูล วัดเสด็จ อายุ 59 ปี เนื้อกะไหล่ทองสวยมาก
เหรียญมงคลลาภมหาศาล หลวงปู่แย้ม วัดตะเคียน นนทบุรี ปี ๒๕๓๘ เนื้อทองแดง
เหรียญล้อแม็กหลวงพ่อสำรวย วัดละหาร  รุ่น 2 ปี 40
เหรียญเสมา หลวงปู่หลุย วัดท่าเกวียน  ปี 2512 เนื้อทองแดง
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ปี 2557 เนื้อนวะ ออกวัดใหญ่สว่างอารมณ์
เหรียญข้าวหลามตัดหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง เนื้ออัลปาก้า ออกวัดบางจาก ปี 2557 จ.นนทบุรี
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงพ่อดำ วัดวังยาง จ.ประจวบคีรีขันธ์ หลังหลวงปู่เอี่ยม เนื้อทองแดงผิวไฟ ปี 21
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม เสาร์ 5 ปี 53 เนื้อนทองแดง บล็อก ว ขีด วัดสะพานสูง เลี่ยมเงินกันน้ำ
พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง รุ่น ๑๑๒ ปี พิมพ์ชลูด เนื้อผงชุบรัก เดิมๆ
พระปิดตาแร่บางไผ่หลวงพ่อเกิด วัดมะเดื่อ รุ่นเทิดพระเกียรติ 72 พรรษา ปี 47
เหรียญหลวงพ่อป่าเลไลยก์หลังหลวงพ่อเปลี่ยน วัดละหาร ปี 2514 เนื้อทองแดงรมดำ บล็อกแรก
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม หลังยันต์มหาโสฬสมงคล รุ่นแรก เนื้อทองแดง
พระปิดตาแร่บางไผ่ วัดนครอินทร์ อ. เมือง จ. นนทบุรี รุ่นแรก ปี ๒๕๓๗ พิมพ์ใหญ่
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง รุ่น 200 ปีชาตกาล เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่ออำภา จนฺทภาโร วัดน้ำวน จ.ปทุมธานี ปี ๒๕๑๘ ร่นแรก เนื้อทองแดงรมดำ ปี 2518
เหรียญพระยันต์พระนเรศวรชนะศึก รุ่นผู้ชนะที่ 1 เนื้อทองแดง หลวงปู่วาส หลวงปู่จอม หลวงปู่เสนาะ เสก
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง รุ่น ปฐมนาม 200 ปี เนื้อทองแดงผิวไฟ บล็อควงเดือน
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง รุ่น ปฐมนาม 200 ปี เนื้อทองฝาบาตร บล็อควงเดือน
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง รุ่น ปฐมนาม 200 ปี เนื้อทองแดงรมดำ
พระสมเด็จแร่บางไผ่ ฝังตะกรุดสามกษัตริย์ วัดนครอินทร์ ปี 2541
พระผงรูปเหมือนหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง พิมพ์ธุดงค์
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ปี 2557 เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ออกวัดใหญ่สว่างอารมณ์
เหรียญคางเคราหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง เนื้อทองแดง เลี่ยมเงินกันน้ำ
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง รุ่น 200 ปีชาตกาล เนื้อทองฝาบาตร เลี่ยมกันน้ำ
เหรียญหลวงพ่อดิษฐ์ วัดอัมพวัน ปี 09 เนื้อทองฝาบาตร พิมพ์นิยม
เหรียญหลวงพ่อทองมาก วัดคลองเจ้า รุ่นแรก ปี 2515 เนื้อทองแดงผิวไฟ
เหรียญข้าวหลามตัดหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง รุ่นโรงเรียนเตรียมอุดมน้อมเกล้า ปี 2556 เนื้อทองแดงรมดำ น
พระผงหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ปากเกร็ด จ.นนทบุรี รุ่น 110 ปี เนื้อช็อกโกแล็กปัดทอง
เหรียญพระอาจารย์สำลี วัดโบสถ์ จ.ปทุมธานี ปี 19 เนื้อทองแดงรมดำ
หลวงพ่อดำ วัดบัวแก้วเกษร อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูน เสาร์ 5 ปี 53 เนื้อนวะ
เหรียญหลวงพ่อคล้อย วัดลำโพ รุ่นแรก พิมพ์หน้าแก่คอเอียง นิยม
พระผงรูปเหมือนสามเหลี่ยม หลวงพ่อสำรวย วัดละหาร ปี 39 โรยแร่เงิน
เหรียญหลวงพ่อคล้อย วัดลำโพ รุ่นแรก พิมพ์หน้าแก่คอเอียง เนื้อทองแดงสวยมาก
พระปิดตาแร่บางไผ่ เนื้อผงคลุกรัก พิมพ์กลาง วัดนครอินทร์ จ.นนทบุรี รุ่น 3 พ.ศ. 2541 เลี่ยมกันน้ำ
เหรียญหลวงพ่อพระอธิการเชย วัดเจริญบุญ รุ่นแรก ปี 2518 เนื้อทองฝาบาตร นิยม
เหรียญหลวงพ่อใหญ่ วัดใหม่กลางคลองสิบ ปทุมธานี เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญพระครูอุปัชฌาย์นนทสีลาภาณ์  วัดสาลีโขภิตาราม ปี 23  เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่บุญ วัดแจ้งศิริสัมพันธ์ รุ่น 2 เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง
พระปิดตาแร่บางไผ่ เนื้อผงคลุกรัก พิมพ์ใหญ่ วัดนครอินทร์ จ.นนทบุรี รุ่น 3 พ.ศ. 2541 พร้อมกล่องเดิม
พระผงรูปเหมือนหลวงพ่อสร้อย วัดเลียบราษฎร์บำรุง ที่ระลึกในงานผูกพัทธสีมา วักป่าเลไลยก์ ปี 41
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม เสาร์ 5 ปี 53 เนื้อทองแดง บล็อก ว ขีด วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง เนื้อทองแดง รุ่น 100 ปี 2539
เหรียญพระพุทธโสธร วัดทองสะอาด รุ่นแรก ปี ๒๕๑๓ เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง นนทบุรี  ปี 2520 รุ่นที่ระลึกฉลองศาลาการเปรียญ กะหลั่ยทอง ตอกโค๊ด
เหรียญพระครูนนทวรคุณ(เกิน) วัดบางค้อ รุ่น 4 ปี 2522 เนื้อทองแดงชุบนิเกิลเงิน
เหรียญหลวงพ่อคล้อย วัดลำโพ บางบัวทอง นนทบุรี รุ่นพัดยศ ปี 16 เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อบัวขวัญ วัดขุนศรีล่าง อ.ไทรน้อย ปี 2514 เนื้ออัลปาก้า
เหรียญพระครูนนทวรคุณ(เกิน) วัดบางค้อ รุ่น 3 เนื้อทองแดงกะหลั่ยเงินสวยมาก
เหรียญหยดน้ำหลวงปู่สาย วัดบางรักใหญ่ ปี 30 กะไหล่เงิน
เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง พิมพ์แป๊ะยิ้ม ปี 12 บล็อกแรก นิยม
เหรียญหลวงพ่อคล้อย วัดลำโพ พิมพ์หน้าหนุ่ม
เหรียญพระประธานหลังพระปิดตาแร่บางไผ่ วัดนครอินทร์ จ.นนทบุรี ปี 39 เนื้อทองฝาบาตร
เหรียญหลวงพ่อโสธร วัดทองสะอาด ปี 24 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อบัวขาว วัดคลองตาคล้าย รุ่น 2
พระสมเด็จทรงนิยมหลวงพ่อสำรวย วัดละหาร ปี 45
เหรียญหลวงพ่อบัวขาว วัดคลองตาคล้าย รุ่นแรก ปี 15  เนื้อทองแดง สภาพสวยมาก
เหรียญพระครูนนทวรคุณ(เกิน) วัดบางค้อ รุ่นที่ระลึกงานฝังลูกนิมิต ปี 2525 พิมพ์เล็ก
เหรียญพัดยศพระครูวิบูลนนทกิจ (แสวง)  วัดลาดปลาดุก ปี 34
เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง เนื้อทองแดงรมน้ำตาล
เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก หลวงตาวาส วัดสะพานสูง ปี 2531
เหรียญหลวงพ่อป่าเลไลยก์ หลังหลวงพ่อเปลี่ยน วัดละหาร รุ่นแรก ปี 15 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อเปลี่ยน วัดละหาร ปี 2507 เนื้อขาปิ่นโต สวยๆ
รูปหล่อหลวงพ่อเปลี่ยน วัดละหาร รุ่นแรก เนื้อทองผสมรมดำ
ตะกรุดตันแร่บางไผ่ รุ่นแรกของวัดนครอินทร์ ยาว 3.5 เซ็นติเมตร
พระปิดตาแร่บางไผ่ วัดนครอินทร์ อ. เมือง จ. นนทบุรี รุ่นแรก ปี ๒๕๓๗ พิมพ์กลาง พร้อมกล่องเดิม
เหรียญคางเคราหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง เนื้อทองฝาบาตรนิยม
เหรียญพระราชสุเมธาภรณ์ วัดบางหลวง รุ่นสันติสุข เหรียญทองแดงกะหลั่ยทอง ปทุมธานี ปี 2517
เหรียญหลวงปู่สาย วัดบางรักใหญ่ จ.นนทบุรี รุ่นพิเศษเกลียวเชือก
รูปหล่อหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง เนื้อทองสำริด รุ่น ๑๑๑ ปี ๒๕๔๙
เหรียญพระครูนนทวรคุณ(เกิน) วัดบางค้อ รุ่น 3 เนื้อทองแดงกะหลั่ยทอง นนทบุรี
เหรียญคางเคราหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง  เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง หลังพระปิดตา ปี 2520 พิมพ์ใหญ่
เหรียญหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ออกวัดอัยยิการาม  ปี 2513  เนื้อทองแดงรมดำ
เหรียญหลวงพ่อสนธิ์ วัดปราสาท จ. นนทบุรี  ปี 12 นิยม
พระปิดตา ทองบุญล้น หลวงพ่อสาย วัดบางรักใหญ่  นนทบุรี
รูปหล่อหลวงพ่อเหลือ วัดสร้อยทอง รุ่นสร้างเมรุ ปี 41
พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง รุ่น 100 ปี เนื้อผงชุบรัก
รูปหล่อหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง เนื้อเงิน รุ่น ๑๑๑ ปี ๒๕๔๙
รูปหล่อหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง เนื้อสตางค์แดง รุ่น ๑๑๑ ปี ๒๕๔๙
ตะกรุดโสฬส 3 กษัตริย์ หลวงปู่วาส วัดสะพานสูง
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง เนื้อทองแดง รุ่น 100 ปี 2539 นิยม

หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  บทความ  ผู้ดูแล
Copyright©2025 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด