หน้าร้าน  :  Gallery สินค้า  :  ข่าวสารจากร้านค้า  :  วิธีการชำระเงิน  :  ติดต่อร้าน  :  บทความ
ภูภู95พระเครื่อง
ลำดับที่เยี่ยมชม

Online: 26 คน
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ : ภูภู95พระเครื่อง

รายละเอียดร้านค้า

ชื่อร้านค้า ภูภู95พระเครื่อง
ชื่อเจ้าของ ภูดิศ นนทพิมลชัย (ภูภู 95)
รายละเอียด ศึกษาสะสมและแลกเปลี่ยนความรู้
เงื่อนไขการรับประกัน ศึกษาสะสมและแลกเปลี่ยนความรู้
ที่อยู่ เมืองนนทบุรี
เบอร์ที่ติดต่อ -
E-mail poopoo9595@hotmail.com
วันที่เปิดร้าน 12-02-2555 วันหมดอายุ 06-02-2569

ท่านสามารถชำระเงิน ผ่านทางธนาคาร อีแบงค์กิ้ง หรือ ตู้ ATM ตามบัญชี ด้านล่าง

โลโก้
ธนาคาร
สาขา
ชื่อบัญชี
เลขที่บัญชี
ประเภทบัญชี

วัตถุมงคล: พระกริ่งยอดนิยมโชว์
พระกริ่ง 7 รอบ วัดบวรฯ พ.ศ.2499 ในหลวงเททอง
26-03-2556 เข้าชม : 18928 ครั้ง

[ ชื่อพระ ] พระกริ่ง 7 รอบ วัดบวรฯ พ.ศ.2499 ในหลวงเททอง
[ รายละเอียด ] "พระพุทธชินสีห์" แปลตามความหมายว่า พระผู้ชนะพระยาราชสีห์ หรือพระผู้ชนะซึ่งงามสง่าประดุจพระยาราชสีห์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญพระองค์หนึ่งของหัวเมืองฝ่ายเหนือ สร้างขึ้นคราวเดียวกับพระพุทธชินราช และพระศาสดา ในปี พ.ศ.1500 โดยพระเจ้าศรีธรรม ไตรปิฎกมหาราช แห่งเมืองเชียงแสน ประดิษฐาน ณ พระวิหารด้านเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก

    จนถึงต้นสมัยรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ โปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่มุขหลังของพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ.2372

   
สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ครั้งเมื่อยังทรงผนวชและครองวัดบวรนิเวศวิหารอยู่ ทรงเคารพนับถือพระพุทธชินสีห์มาก พระองค์ทรงทูลขอพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เพื่ออัญเชิญ "พระพุทธชินสีห์" มาเป็นพระประธานในพระอุโบสถ และโปรดให้กะไหล่รัศมีองค์พระด้วยทองคำ ฝังพระเนตรฝังเพชรที่พระอุณาโลม แล้วปิดทองทั้งองค์พระ เมื่อปี พ.ศ.2393 และในปี พ.ศ.2397 โปรดให้หล่อฐานด้วยทองสำริด ปิดทองใหม่ทั้งองค์พระและฐาน แล้วให้จัดการสมโภช 5 วัน

    สำหรับ พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ หรือพระกริ่ง 7 รอบ วัดบวรฯ นี้ สร้างเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ปี พ.ศ.2499 เนื่องในโอกาส ฉลองพระชนมายุครบ 7 รอบ ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ( ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์ ) องค์พระราชอุปัชฌาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และในพิธีเททองหล่อพระกริ่งในครั้งนั้น ได้ทรงอาราธนาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา และทรงประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารทรงเป็นองค์ประธานเททองปฐมฤกษ์อันเป็นมหามงคลชัย ดังความที่ได้คัดลอกบางตอนจากตำนาน วัดบวรนิเวศวิหารดังนี้

    วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 เวลา 20.30 น. เสด็จฯ พระอุโบสถทรงจุดธูปเทียนถวายสักการะพระพุทธชินสีห์ ไวยาวัจกรวัดถวายเทียนชนวน ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงจุดมาแล้ว ทรงรับเทียนชนวนนั้นจุดเทียนชัย เวลา 20.36 น. ในพิธีหล่อพระพุทธชินสีห์จำลองแทนองค์สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งทรงประชวรไม่สามารถจะเสด็จมาได้ พระสงฆ์สวดพระคาถาจุดเทียนชัย

    วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 เวลา 07.30 น. เสด็จฯ ศาลาหน้าพระอุโบสถด้านทิศตะวันตก ไวยาวัชกรวัดทูลเกล้าฯ ถวายแผ่นทองคำเปลว 84 แผ่น ทรงวางแผ่นทองคำเปลวลงในเบ้าเวลา 07.41 น. ทรงถือสายสิญจน์ ซึ่งโยงจากเบ้าเททองหล่อพระพุทธชินสีห์จำลองแทนองค์สมเด็จพระสังฆราช พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา

    พระพุทธชินสีห์จำลองที่หล่อนี้มี 2 แบบคือ เป็นพระบูชาหน้าตัก 4 นิ้วครึ่งแบบหนึ่ง เป็นพระกริ่งหน้าตัก 1.7 ซ.ม.แบบหนึ่ง หล่อขึ้นสำหรับงานบำเพ็ญกุศลฉลองพระชนมายุครบ 84 พรรษาบริบูรณ์ของสมเด็จพระสังฆราชฯ พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯประกอบพิธีหล่อแทนองค์สมเด็จพระสังฆราช พระราชอุปัชฌาจารย์ จำนวนการสร้างตามตำราว่ากันว่าสร้างน้อยมากแค่ 500 องค์ เท่านั้น

    พระกริ่ง 7 รอบ นับเป็นพระกริ่งมหามงคลซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา และทรงประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารทรงเป็นองค์ประธานเททองปฐมฤกษ์อันเป็นมหามงคลชัย เป็นพระกริ่งยอดนิยมของวงการพระเครื่อง ถูกบรรจุอยู่ในรายการประกวดพระเครื่องทุกงาน

มีคุณวิเศษ 5 ประการ คือ
1.เป็นพระกริ่งรุ่นเดียวที่เททองโดยพระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัว
2.เป็นพระรุ่นเดียวที่เททองโดยพระภิกษุภูมิพโล (พระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัว ขณะทรงผนวช)
3.เป็นพระกริ่งที่สร้างโดยสมเด็จพระสังฆราชรูปที่ 13 ซึ่งเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ของในหลวง
4.เป็นพระกริ่งที่สร้างร่วมกันระหว่างประมุขแห่งศาสนจักรและประมุขแห่งอาณาจักร
5.เป็นพระกริ่งที่จำลองรูปพระพุทธชินสีห์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำวัดบวรนิเวศและเป็นพระกริ่งที่สวยงามที่สุดองค์หนึ่ง 

[ ราคา ] ฿1
[ สถานะ ] โชว์พระ
[ติดต่อเจ้าของร้านภูภู95พระเครื่อง] เบอร์โทรศัพท์ : -


วัตถุมงคล: พระกริ่งยอดนิยมโชว์
พระกริ่งเก้าแก้ว หลวงพ่อแก้ว วัดละหารไร่
พระกริ่ง หลวงพ่อเกษม
พระกริ่งอาจารย์พา วัดระฆัง
พระกริ่งพุทธอังคีรส วัดราชบพิธ ๒๔๘๑ เนื้อนวโลหะ
พระกริ่งสวนเต่าหลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม พิมพ์เล็ก ปี 2500
พระกริ่งอุบาเก็ง หลวงปู่ทิม วัดเอี่ยมวรนุช ๒๕๐๖
พระกริ่งหลัง ปิ วัดสุทัศน์ ปี 2506
พระกริ่ง 7 รอบ วัดบวรฯ พ.ศ.2499 ในหลวงเททอง

หน้าหลัก  ข่าวสารจากร้านค้า  วิธีการชำระเงิน  ติดต่อร้าน  บทความ  ผู้ดูแล
Copyright©2025 zoonphra.com/amulet
Powered by อ้น ระโนด