วัตถุมงคล: พระเครื่องเกจิอาจารย์ยอดนิยมภาคเหนือ
เหรียญพระอาจารย์เสนาะ วัดปงท่าข้าม อ.สูงเม่น จ.แพร่ รุ่นแรก ปี 36 เนื้อทองฝาบาตร มีจารย์ นิยม 02-09-2559 เข้าชม : 7562 ครั้ง |
| [ ชื่อพระ ] เหรียญพระอาจารย์เสนาะ วัดปงท่าข้าม อ.สูงเม่น จ.แพร่ รุ่นแรก ปี 36 เนื้อทองฝาบาตร มีจารย์ นิยม | [ รายละเอียด ] เหรียญพระอาจารย์เสนาะ วัดปงท่าข้าม อ.สูงเม่น แพร่ รุ่นแรก เนื้อทองฝาบาตร โค๊ด เลข " ๙" และมีจารย์ นิยม ลูกศิษย์สร้างถวาย ปี ๒๕๓๖ หายากมากนะ
ประวัติการก่อสร้างและประวัติเจ้าอาวาสวัดปงท่าข้าม
จากสมุดบันทึกประวัติและเหตุการณ์การสร้างวัดของพ่อมานพ นิลรวม หมอทำขวัญบ้านปงท่าข้าม ( ถึงแก่กรรมในปี ๒๕๕๕ ,อายุ ๗๘ ปี) ได้บันทึกความทรงจำไว้ว่า
.. หน้าที่ ๑ : เดิมก่อนสร้างวิหารหลังที่ ๒ มีตุ๊เจ้าชื่อว่า ธรรมจัย ง็อก ปฏิบัติอยู่ที่วัดนี้มา ท่านผู้นี้มีเมตตาแผ่กว้างไปแนะนำช่วยแผ้วถางป่าหวายขึ้นที่บ้านปงป่าหวายพร้อมกับด้วยศรัทธาชาวบ้านตั้งเป็นวัดขึ้นมาจนตลอดทุกวันนี้ ราวประมาณเมื่อ พ.ศ ๒๔๓๗ ซึ่งตรงกับผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่าวัดปงป่าหวายเป็นวัดลูกขึ้นของวัดปงท่าข้าม
แล้วต่อมาพระในวัดปงท่าข้ามนี้ขาดไปไม่มีใครปกครองอยู่พระครูจัยลังกาเป็นผู้มาริเริ่มพร้อมศรัทธาชาวพี่น้องบ้านปงท่าข้ามทุกคนได้ช่วยกันตัดไม้ตัดเสามาสร้างขึ้น ตัวท่านก็นำไปตัดเอามาพร้อมกับศรัทธาปงท่าข้ามอย่างไม่ทอดทิ้ง ( หน้าที่ ๒ ) วิหารก็สำเร็จขึ้นด้วยดีสร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ ๒๔๖๕ ในขณะนั้นกำนันพรม ดอกผึ้ง เป็นผู้ควบคุมดูแลอยู่ในตำบลนี้
แล้วมีพ่อใหญ่ตัน จำปี เป็นผู้ใหญ่บ้านอยู่ต่อจากนั้นมา ก็ได้สร้างกุฏิหลังหนึ่ง เป็นกระท่อมเล็ก ๆติดอยู่กับขอบรั้วด้านใต้หลังหนึ่งมีตุ๊เจ้าแก้ว ดอกผึ้งบวชขึ้นมาครอบครองอยู่แล้วต่อจากนั้นมีตุ๊เจ้าตา วัดหัวดงมาอยู่ต่อแล้วต่อจากนั้นก็มีตุ๊เจ้าพรม วัดพระหลวงมาอยู่ ต่อมาในเวลานั้นมีพ่อหนานธรรมทิ เป็นอาจารย์ เรียงต่อมาก็มีพ่อต๊ะ ศฤงคารเป็นอาจารย์อยู่มาไม่นานก็ได้อุปสมบท สามเณรต๋อ เวทย์มนต์ขึ้นเป็นพระสงฆ์ ตุ๊ลุงพรม ก็กลับคืนไปอยู่บ้านหลวงตามเคย ศรัทธาวัดพงท่าข้ามก็แต่งตั้งเอาตุ๊เจ้าต๋อ ปกครองต่อมา แล้วก็ได้สร้างกุฏิขึ้นหลังหนึ่ง เป็นกุฏิชั่วคราว แล้วอยู่ต่อมาจนได้แต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส แล้วได้สร้างกุฏิมาตรฐานขึ้นหลังหนึ่ง อยู่ต่อมาแล้วได้สร้างกำแพงวางผังก่อเป็นกำแพงไว้รอบสี่ด้าน แต่ไม่สำเร็จ แล้วได้ผูกพัทธสีมาขึ้นในครั้งนั้น โรงเรียนหลังแรกสร้างขึ้นหน้าวัดด้านตะวันออกเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๗๕ พ่อกำนันพรม พร้อมศรัทธาชาวบ้านปงได้สร้างขึ้น มีครูแสน บ้านสูงเม่น มาทำการสอนอยู่ประจำ รองลงมาก็มีครูนาค บ้านพระหลวงมาทำการสอน ต่อจากนั้นมีครูใหญ่เลิศ กล่าวแล้ว :ครูใหญ่คนที่ ๒ ปีพ.ศ. ๒๔๘๖ ๒๕๐๕ โรงเรียนบ้านปงท่าข้าม (จากสมุดหมายเหตุรายวัน โรงเรียนบ้านปงท่าข้าม หน้า ๓ ) สอนติดต่อมาเรื่อย ๆ
( บันทึกของพ่อมานพ นิลรวม, หน้าที่ ๓)
ข้อมูลตามสมุดบันทึกของพ่อบุญเรือง ดอกสนธ์ ไวยาวัจกรวัดปงท่าข้าม ปี ๒๕๑๕ อายุ ๘๔ ปี (บันทึกพ่อบุญเรือง ดอกสนธ์ , หน้า ๕๙) ได้บันทึกรายนามพระภิกษุและเจ้าอาวาสวัดพงท่าข้ามตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ไว้ดังนี้
๑. พระอนันต๊ะ บ้านดอนมูล พ.ศ. ๒๔๓๖
๒. ปพระมูล บ้านกวาง พ.ศ. ๒๔๔๐
๓. ครูบาไจยลังกา บ้านพระหลวง พ.ศ. ๒๔๔๔
๔. พระตา บ้านหัวดง พ.ศ. ๒๔๔๖
๕. พระผาบ บ้านโตนเหนือ พ.ศ.๒๔๕๐
๖. พระแก้ว บ้านแหง พ.ศ.๒๔๕๓
๗. พระผัด บ้านพระหลวง พ.ศ.๒๔๕๕
๘. พระปัน บ้านปง พ.ศ.๒๔๕๗
๙. พระอินทร์ บ้านปง พ.ศ.๒๔๖๐
๑๐.พระแก้วหู ดอกผึ้ง บ้านปง พ.ศ.๒๔๖๓
๑๑.พระพรหม บ้านพระหลวง พ.ศ. ๒๔๖๖
๑๒.พระแก้ว บ้านเจียงคำ พ.ศ.๒๔๖๗
๑๓ พระพรหม บ้านพระหลวง พ.ศ.๒๔๖๙ ( มาอยู่อีก)
๑๔.พระอธิการต๋อ เวทย์มนต์ บ้านปง พ.ศ. ๒๔๗๐ ( เป็นเจ้าอาวาส )
๑๕ พระเหรียญ กึกก้อง บ้านโตน พ.ศ. ๒๔๙๑
๑๖. พระแก้ว ขยายเสียง บ้านปง พ.ศ. ๒๔๙๒
๑๗. พระจำปี ฟุ้งเฟื่อง บ้านปง พ.ศ. ๒๔๙๕
๑๘. พระมานพ นิลรวม บ้านปง พ.ศ. ๒๔๙๗ ( ผู้บันทึกข้อมูลวัด)
๑๙. พระเวทย์ ศฤงคาร บ้านปง พ.ศ. ๒๕๐๑
๒๐.พระอธิการสุคำ ถาวโร บ้านปง พ.ศ.๒๕๐๗ (เจ้าอาวาส)
๒๑.พระมา โกษา บ้านปง พ.ศ.๒๕๑๒
๒๒.พระเชือ ขยายเสียง บ้านปง พ.ศ.๒๕๑๓
๒๓.พระประเสริฐ โชติปัญโญ บ้านปง พ.ศ.๒๕๑๖
๒๔. พระอธิการสมบูรณ์ ฉันทกโร บ้านปง พ.ศ.๒๕๑๗ (เจ้าอาวาส)
๒๕.พระอธิการบรรจง รัตนโชโต บ้านปง พ.ศ.๒๕๒๕ (เจ้าอาวาส)
๒๖.พระครูโกศลพิพัฒนคุณ (เสนาะ กตสาโร) พ.ศ.๒๕๓๓ ถึงปัจจุบัน
เมื่อได้ศึกาจากข้อมูลของพ่อมานพ นิลรวมและพ่อบุญเรือง ดอกสนธ์ พบว่า มีข้อมูลที่ตรงกันดังนี้ ครูบาไจยลังกา จากวัดพระหลวงมาเป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างวัดปงท่าข้ามโดยรวบรวมศรัทธาชาวบ้านปง ท่าข้าม ช่วยกันแผ้วถางป่า สร้างวัดขึ้นในสมัยของท่าน ( ปี ๒๔๔๔) จนสำเร็จในปี ๒๔๖๕ รวมเป็นเวลาสร้างวัด รวม ๒๑ ปี ก่อนที่ตุ๊เจ้าพรหม จากวัดพระหลวงมาอยู่ในปี ๒๔๔๖ (เพียงพิณ ปลอดโปร่ง,2555)
พระพุทธรูปสำคัญ
องค์ที่ ๑ พระพุทธเจดีย์สริโกศัย ของวัดปงท่าข้าม
ตามจารึกใต้ฐานพระพุทธรูปด้านหน้าที่จารึกเป็นอักษรล้านนา มี ๒ บรรทัด ดังนี้
บรรทัดที่ ๑ จารึกว่า พระพุทธเจติย์สรีโกไสยย์เมืองแพร่
บรรทัดที่ ๒ จารึกว่า หล่อที่วัดพระหลวงพุทธส
..๒๔๗๓ ปีกดสง้า
พระพุทธรูปองค์นี้สร้างโดยพระครูบาไจยลังการ์ เจ้าอาวาสวัดพระหลวง เป็นศิลปะเชียงแสนสิงห์ ๓ ผสมสุโขทัย
จากบันทึกของพ่อบุญเรือง ดอกสนธ์ ( หน้า ๓๓ ) ได้เล่าถึงเหตุการณ์ ขณะที่มีการอัญเชิญ พระพุทธเจติย์สรีโกไสยย์เมืองแพร่ แห่มาไว้ ณ วัดปงท่าข้ามในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ไว้โดยละเอียดดังนี้
พระพุทธโกศัยองค์นี้ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ( ตรงกับจารึกใต้ฐานพระ: ผู้เขียน) ตุ๊ลุงใจลังกา วัดพระหลวงหล่อ แต่แห่มาปีฉลองพระวิหารวัดบ้านปงท่าข้าม ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เอาใส่ล้อแก๋น ๙ มา ล้อแก๋น ๙ ก๊ด ( แกนคด :ผู้เขียน) แห่มาพอเอาขึ้นฝั่งยมแล้ว เอาเข้ารูปผีขน ( น่าจะเป็นผีตาโขน :ผู้เขียน)
พอขึ้นถึงบนตะหลิ่ง แล้วเกิดตีกันชุลมุน ตำรวจป้อหน้อยสีลา บ้านท่ามดเป็นตำรวจ เอากระบี่ฟันกัน บ้านพระหลวงมีป้อคำ ตึ๊ต๊ะ ป้อไฝ ศิริ ป้อหมื่นปี้ ป้อสิงห์คออ่อน ป้อผาบ หลายจำบ่ได้ จำได้แต่คนดุ แป๋งคอกไว้ที่กาดน้อย ตำรวจจับขังไว้หลายคน พอเอาพระพุทธรูปเข้ามาวัดแล้ว ปล่อยคนที่ขังออกมา
จากหลักฐานการบันทึกเหตุการณ์และจารึกใต้ฐานองค์พระ พระพุทธเจติย์สรีโกไสยย์เมืองแพร่ และตามประวัติที่เล่าสืบต่อกันมาว่า พระพุทธรูปนี้สร้างขึ้นเพียง ๒ องค์เท่านั้น องค์ที่หนึ่งได้ประดิษฐานไว้ที่วัดพระหลวง อ. สูงเม่น จ.แพร่ ซึ่งพระครูบาไจยลังการ์ เป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น อีกองค์หนึ่งได้นำมาประดิษฐานไว้ที่วัดปงท่าข้าม เหตุผลที่ พระพุทธเจติย์สรีโกไสยย์เมืองแพร่ ได้มาประดิษฐานที่วัดบ้านปงท่าข้าม เนื่องด้วย หลวงพ่อครูบาไจยลังการ์ ท่านเป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างวัดปงท่าข้ามเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ ตามเอกสารประวัติการสร้างวัดปงท่าข้าม เมื่อมีการจัดสร้างองค์พระประธานที่วัดพระหลวง ท่านจึงจัดสร้างเพิ่มอีก ๑ องค์ มอบให้วัดปงท่าข้าม ซึ่งเสมือนหนึ่งเป็นวัดของท่าน เพื่อนำมาประดิษฐานเป็นพระประธาน ดังกล่าว ( เพียงพิณ ปลอดโปร่ง, ผู้เขียน)
องค์ที่ ๒. พระประธานวัดปงท่าข้าม
พระประธานในพระอุโบสถวัดปงท่าข้าม ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าที่ยังมีชีวิตอยู่ เล่าว่าสล่า ( ช่างปั้นพระ ) เป็นชาวไทใหญ่ หรือเงี้ยว คือส่างอ่องและส่างมน เป็นผู้ปั้นองค์พระประธาน ดังนั้น รูปหน้าขององค์พระพุทธรูปจะมีลักษณะกลมแป้นคล้ายศิลปะไทใหญ่ มากกว่าจะเป็นพุทธศิลปะทางล้านนาหรือเชียงแสน ปัจจุบันนี้ พระประธานองค์นี้ประดิษฐานในพระวิหารวัดปงท่าข้าม
องค์ที่ ๓. พระพุทธชินราช
เป็นพระพุทธรูปหน้าตักกว้าง ๒ เมตร สูง ๓ เมตร คณะศรัทธาจากกรุงเทพ พิจิตรและชาวแพร่สร้างถวาย เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๔๑ ตรงกับวันพุธ เดือน ๘ เหนือ ขึ้น ๑๑ ค่ำ พระครูโกศล-พิพัฒนคุณ ( พระเสนาะ กตสาโร) เจ้าอาวาสวัดปงท่าข้าม เจ้าคณะตำบลบ้านปง สบสาย ในขณะนั้นพร้อมด้วยคณะศรัทธาทำพิธีเบิกเนตร ในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๑ ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ วันวิสาขปุณณมี ปัจจุบันประดิษฐานในศาลาเฉลิมพระเกียรติฯ วัดปงท่าข้าม
๔. นามเดิมวัดม่วงค้ำศรีหรือวัดปงท่าข้าม
จากการสัมภาษณ์พ่อใหญ่หล้า บุญญารัตนานุสรณ์ ( อดีตกำนันตำบลบ้านปง , ปัจจุบันอายุ ๘๗ ปี) เล่าว่าได้รับการบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่สืบทอดต่อ ๆ กันมาว่า เมื่อมีชุมชนก่อตั้งขึ้นบริเวณลุ่มน้ำยม การคมนาคมติดต่อชุมชนอื่นในฤดูน้ำหลากได้รับความลำบากมากเพราะแม่น้ำยมขวางกั้น ชาวบ้านจึงแผ้วถางป่าใกล้แม่น้ำยม รวมศรัทธาชาวบ้านแล้วก่อตั้งเป็นวัดขึ้น เมื่อก่อสร้างวัดเรียบร้อยแล้วได้ปลูกต้นโพธิ์ขึ้นในวัด ต้นโพธิ์ที่ปลูกบริเวณกำแพงด้านทิศเหนือนั้น ต่อมามีต้นมะม่วงงอกขึ้นในต้นโพธิ์ ชาวบ้านล้านนามักจะเรียกต้นโพธิ์ว่า ต้นศรี หรือสะหลี เมื่อต้นมะม่วงโตขึ้นลำต้นก็ค้ำยันกิ่งต้นศรี ชาวบ้านในสมัยนั้นจึงเรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดม่วงค้ำศรี หมายถึง ต้นมะม่วงค้ำกิ่งต้นศรีนั่นเอง แต่ต่อมาชื่อวัดม่วงค้ำศรี ก็ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นวัดพงท่าข้าม และได้ตั้งชื่อวัดส่งไปยังสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติอย่างเป็นทางการ เมื่อ ๕๐ ปีย้อนหลัง ต่อมาต้นโพธิ์ต้นนี้ก็ล้มตายลง ต้นโพธิ์ต้นที่สองอยู่ทางกำแพงด้านทิศตะวันออก จากคำสัมภาษณ์พ่อบุญเรือง ดอกสนธ์ ( ไวยาวัจกรวัดปงท่าข้าม , อายุ ๘๓ ปี) บอกเล่าว่า ต้นโพธิ์ต้นนี้ต้นใหญ่กว่าต้นที่อยู่ทิศตะวันตก ขณะท่านเป็นเด็กวิ่งเล่นในวัดก็เห็นมันยืนต้นกิ่งก้านสาขาใหญ่กว้างอยู่ก่อนแล้ว ต้นโพธิ์ต้นนี้ล้มตายลงเป็นต้นแรก ส่วนต้นโพธิ์ต้นที่สาม ปลูกทางด้านกำแพงทิศตะวันตกเฉียงใต้และต้นโพธิ์นี้เองที่ยังคงยืนต้นมีชีวิตยืนยาวอยู่จนถึงปัจจุบันนี้
ต้นศรีหรือต้นโพธิ์ คือสัญลักษณ์ของวัดปงท่าข้าม เพราะมีความเกี่ยวข้ององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเป็นนามวัด เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน ดังนั้นชาวตำบลบ้านปงโดยการสนับสนุนของพระครูโกศลพิพัฒนคุณ เจ้าอาวาสวัดปงท่าข้าม ส่งเสริมให้มีประเพณีแห่ไม้ค้ำศรี เป็นประจำทุกปีในวันที่ ๑๔ เมษายนหรือวันเนา เพื่อแสดงถึงความศรัทธาในพุทธศาสนาและเป็นการค้ำจุนพระพุทธศาสนาให้สืบต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด โดยชาวบ้านจะนำไม้ที่มีลำต้นตรง มีกิ่งก้านรูปทรงคล้ายไม้ค้ำยัน นำมาประดับตกแต่งสวยงามแล้วแห่เข้าวัดเป็นขบวนอย่างสวยงาม นำมาค้ำยันต้นโพธิ์เก่าแก่ในวัด นอกจากเป็นการศรัทธาในพระศาสนาแล้วยังก่อให้เกิดความสามัคคีของชาวบ้านในหมู่บ้านอีกด้วย ต้นสะหลี (ศรี) จึงเป็นที่มานามวัดดังกล่าว วัดพงท่าข้ามปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนนามวัดเป็นวัดปงท่าข้ามเมื่อปี พ.ศ ๒๕๕๔ พระครูโกศลพิพัฒนคุณ เจ้าคณะตำบลบ้านปง สบสาย ปัจจุบันตำแหน่ง รองเจ้าคณะอำเภอสูงเม่น ได้ริเริ่มการก่อสร้างพระเจดีย์ศรีม่วงค้ำได้วางศิลาฤกษ์เมื่อ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๔ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๒ เหนือ ขณะนี้อยู่ในช่วงระหว่างการก่อสร้าง
| [ ราคา ] ฿1500 [ สถานะ ] มาใหม่
[ติดต่อเจ้าของร้านเจ้าพระยาพระเครื่อง] เบอร์โทรศัพท์ : 081-6414009,029243140 ( อ้น ระโนด ) line ID weerapong07 | |
|
วัตถุมงคล: พระเครื่องเกจิอาจารย์ยอดนิยมภาคเหนือ |
| |
|