[ รายละเอียด ] "วัดสร้อยทอง" ตั้งอยู่ริมถนนประชาราษฎร์สาย 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ มีพื้นที่ทั้งหมด 15 ไร่ 3 งาน 78 ตารางวา เดิมชื่อ วัดซ่อนทอง สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.2394 ไม่ทราบนามและประวัติของผู้สร้าง สันนิษฐานว่าคงเป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจาก เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) ในสมัยรัชกาลที่ 4
ต่อมาในปี พ.ศ.2484 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 วัดประสบภัยทางอากาศได้รับความเสียหายอย่างหนัก
ภายในวัดมีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ พระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลือง นามว่า หลวงพ่อเหลือ สร้างจากโลหะที่เหลือจากการหล่อพระประธาน ในปี พ.ศ.2445
ภายในเกศของหลวงพ่อบรรจุพระธาตุของพระอรหันต์ 5 พระองค์ ต่อมาในปี พ.ศ.2484 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 บริเวณที่ตั้งวัดอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ เป็นผลให้หลายส่วนของวัดได้รับความเสียหายจากแรงระเบิด แต่ปรากฏว่า หลวงพ่อเหลือ กลับไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด จึงได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากชาวบ้านมาโดยตลอด
ปลายปี พ.ศ.2488 ประชาชนได้ช่วยกันบูรณะวัด และก่อสร้างอาคารเสนาสนะขึ้นใหม่
วัดสร้อยทอง ได้รับการยกฐานะจากวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2545
วัดสร้อยทอง มีปูชนียวัตถุมากมาย บริเวณโดยรอบวัด เป็นชุมชนที่มีชาวบ้านอาศัยอยู่หลายพันหลังคาเรือน บรรยากาศจึงมีความคึกคักจอแจไปบ้าง
สำหรับความร่มรื่นของต้นไม้ใหญ่ภายในวัด มีไม่ค่อยเห็นมากนัก ด้วยพื้นที่วัดมีค่อนข้างจำกัด
บริเวณพุทธาวาส และตามกุฏิพระภิกษุสงฆ์ มีความสะอาดสะอ้านร่มรื่น เยื้องมาด้านหน้าติดกับสำนักงานกลางวัดสร้อยทอง มีการดูแลปัดกวาดเป็นอย่างดี
บริเวณด้านในวัด เป็นที่ตั้งของพระอุโบสถ มีความสวยงามและสะอาดสะอ้าน แสดงให้เห็นถึงการจัดระบบการทำความสะอาดเป็นอย่างดี
ประวัติหลวงพ่อเหลือ
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำวัด
หลวงพ่อเหลือเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์มีการเททองหล่อในสมัยหลวงปู่เบี้ยวเป็นเจ้าอาวาสในปี พ.ศ.๒๔๕๔ หล่อจากทองเหลืองที่เหลือจากการหล่อพระประธานพร้อมกับพระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ จึงได้ชื่อว่า หลวงพ่อเหลือ ภายในเกศขององค์หลวงพ่อเหลือแต่เดิมสามารถเปิดออกได้ มีการบรรจุพระธาตุของพระอรหันตสาวก ๕ พระองค์ คือ ๑.พระธาตุของพระสารีบุตรเถระ ๒.พระธาตุของพระโมคคัลลานเถระ ๓.พระธาตุของพระสีวลีเถระ ๔.พระธาตุของพระองคุลีมาลเถระ ๕.พระธาตุของพระภิกษุณีพิมพาเถรี คาถาบูชาหลวงพ่อเหลือ (สวด 3 จบ) นะ โม พุท ธา ยะ นะ เหลือ ดี โม เหลือยิ่ง พุท เหลือใช้ ธา เหลือล้น ยะ เหลือรวย
หลวงพ่อเหลือปรากฏความศักดิ์สิทธิ์
หลวงพ่อเหลือ เป็นพระพุทธรูปองค์เดียวในวัดสร้อยทองที่รอดพ้นจากภัยระเบิดที่ตกมาใส่บริเวณวัดสร้อยทอง และไม่สามารถทราบได้ว่าเพราะเหตุใด เครื่องบินฝ่ายพันธมิตรจึงทิ้งระเบิดทำลายสะพานพระรามหกผิดพลาดจนทำให้ลูกระเบิด ๑๔ ลูก ตกมาถล่มใส่วัดสร้อยทองได้รับความเสียหายอย่างหนัก ที่ทราบว่าเป็นลูกระเบิด๑๔ลูกเพราะมีการนับหลุมระเบิดที่ปรากฏในบริเวณวัดภายหลังการทิ้งระเบิดสิ้นสุดอานุภาพของลูกระเบิดนั้น ทำให้คนที่อยู่สุดคลองบางซ่อนที่หลบภัยอยู่ในท้องร่องสวน เล่าถึงความสั่นสะเทือนของผิวน้ำในท้องร่องสวนที่ปรากฏอยู่ตรงหน้า ทั้งๆ ที่ห่างไกลจากวัดสร้อยทองถึง ๓ กิโลเมตรการรอดพ้นจากภัยของระเบิดที่ทิ้งลงมาแบบปูพรม ทำให้นามของหลวงพ่อเหลือ เป็นที่กล่าวถึงและมีประชาชนศรัทธาเลื่อมใสในความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ทราบได้อย่างไรว่า มีพระอรหันตสาวกธาตุบรรจุภายในหลวงพ่อเหลือ หลวงปู่เบี้ยว ได้บรรจุพระอรหันตสาวกธาตุ ๕ พระองค์ พร้อมผงพระพุทธคุณในเกศของหลวงพ่อเหลือ ความนี้มาทราบภายหลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ วัดสร้อยทองถูกระเบิด สิ่งเหลืออยู่คือ หอระฆัง, เจดีย์ และองค์หลวงพ่อเหลือองค์หลวงพ่อเหลือ ได้รับผลกระทบเล็กน้อยบริเวณปลายคางด้านขวาและที่มือ ต่อมา ร.อ.เจริญ สุภาพงษ์ ซึ่งพักอาศัยอยู่ในคลองบางซ่อนที่บ้านตระกูลภรรยา ได้ขอให้นายทหารช่างมาช่วยตกแต่งองค์หลวงพ่อเหลือ เมื่อมีการปัดฝุ่นองค์หลวงพ่อเหลือ พบว่าส่วนเกศของหลวงพ่อเหลือเปิดออกได้จึงเปิดดูพบผงทรายจึงได้ปิดไว้ตามเดิมคุณลุงแม้นสรรพานิชซึ่งอยู่ในเหตุการณ์เปิดดูใหม่ในภายหลังและคุ้ยผงทรายเหล่านั้น พบพระธาตุ ๕ พระองค์ จึงนำไปให้หลวงพ่อรวย เจ้าอาวาส คุณตาสวัสดิ์ แม้นชื้น ผู้ใหญ่บ้านแห่งคลองบางเขน ได้พบเห็นพระธาตุนั้นด้วย ท่านมีความรู้เรื่องพระธาตุ ได้บอกลักษณะพระธาตุนั้นทั้ง ๕ พระองค์ ว่าเป็นพระอรหันตสาวกธาตุ คือ พระอรหันต์สารีบุตรเถระ, พระอรหันต์โมคคัลลานเถระ, พระอรหันต์สีวลีเถระ, พระอรหันต์องคุลิมาลเถระ, พระอรหันต์พิมพาเถรี ต่อมาหลวงพ่อรวย ได้บรรจุพระอรหันตธาตุทั้งหมดไว้ที่เดิมคือภายในเกศของหลวงพ่อเหลือ โดยใส่ถ้วยผอบซึ่งมารดาของคุณตาเสงี่ยมครุฑนาคได้ถวายให้หลวงพ่อรวยไว้ หลวงพ่อรวยเคยเล่าให้คุณลุงแม้นฟังว่าท่านเคยเห็นดวงไฟวิ่งไปมาระหว่างองค์หลวงพ่อเหลือกับพระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ ซึ่งประดิษฐานไว้หน้าอุโบสถ (ปรากฏการณ์ลักษณะนี้ ตามความเชื่อของคนลาวเรียกว่าพระธาตุเสด็จเป็นสื่อกันและกัน) |