[ รายละเอียด ] เหรียญพระครูอดุล ธรรมประยุต วัดโคกกะเทียม เนื้อทองแดงลงยา เหรียญนี้ได้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ ๒๒ ม.ค. ๒๕๒๗ เพื่อแจกเป็นที่ระลึกสำหรับสาธุชนและลูกศิษลูกหาที่มีจิตศรัทธาในงานเลื่อนสมณศักดิ์ชั้นโทของพระครูอดุล วัดโคกกะเทียม อ.เมือง จ.ลพบุรี นับได้ว่าเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมและมีประสบการณ์มากรุ่นหนึ่ง
ประวัติการสร้างวัดเมื่อ พ.ศ. 2378 ชาวไทยพวนอพยพมาจากตำบลบางน้ำเชี่ยว อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี โดยการนำของพระภิกษุได้มาตั้งบ้านเรือนที่บริเวณวัดและบ้านโคกกะเทียมซึ่งเป็นบ้านเก่าเมืองร้างตั้งชื่อว่าบ้านโคกกะเทียม แยกกันอยู่เป็นกลุ่ม กลุ่มเล็กๆ 4 กลุ่ม ตั้งสำนักสงฆ์ 4 แห่ง ต่อมาได้อพยพย้ายภูมิลำเนาและหาพื้นที่ทำกินใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. 2403 2444 คงเหลือสำนักสงฆ์ ซึ่งต่อมาก็คือ วัดโคกกะเทียมแห่งเดียวกับการสร้างอุโบสถหลังแรก สันนิษฐานว่า สร้างเมื่อ พ.ศ. 2392 รุ่นเดียวกับอุโบสถวัดถนนแคและสิ่งที่เป็นโบราณสถานมีพระเจดีย์องค์หนึ่งสร้างขึ้นพร้อมกับอุโบสถหลังเดิมนัยว่าบรรจุกระดูกหรืออัฐิของ เจ้าอาวาสองค์แรก
นับตั้งแต่หลวงพ่อพระครูอดุลธรรมประยุตมาเป็นเจ้าอาวาสท่านได้ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถ หลังใหม่ ซ่อมแซม อุโบสถหลังเก่าจะ สร้างฌาปนสถานศาลาบำเพ็ญกุศลศพ 1 หลัง ศาลาการเปรียญ หลังใหม่ ซ่อมแซมศาลาการเปรียญหลังเก่า รวมทั้งหอสวดมนต์ หอระฆัง กุฏิสงฆ์ กุฏิแม่ชี วิหารและกุฏิเจ้าอาวาส รวมทั้งการปรับพื้นที่บริเวณวัด รั้วกำแพงจนเป็นวัดที่มีขนาดกว้างขวาง รองรับศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งในหมู่บ้านและต่างถิ่น
ลำดับเจ้าอาวาสวัดโคกกะเทียม
1. พระภิกษุเมฆ รตนปุตฺโต อายุ 53 ปี 7 พรรษา
2. พระภิกษุดำ ฐิติโร อายุ 67 ปี 11 พรรษา
3. พระภิกษุเจ๊ก จนฺทสาโร (คนจีน) อายุ 61 ปี 2 พรรษา
4. พระภิกษุเลี้ยง รตนปุตฺโต (น้อยพันธ์) อายุ 48 ปี 27 พรรษา และมีพระมหาบุญมา กัญญาเงินเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส
5. พระภิกษุละม้าย ธมฺมทีโป (พระครูอดุลธรรมประยุต) ตั้งแต่ พ.ศ. 2484 27 กรกฎาคม 2551
6. พระมหาสมบัติ อิสฺสรธมฺโม รักษาการเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ. 2551 ถึงปัจจุบัน
การก่อตั้งวัดโคกกระเทียม
การอพยพมาคราวนั้นจะมีพระสงฆ์หรือครูบาเป็นหัวหน้า เมื่ออพยพมาอยู่ใหม่ ๆ ได้ตั้งสำนักสงฆ์เพื่อเป็นศูนย์รวมและประกอบศาสนกิจ ถึง 4 สำนัก เมื่อครอบครัวแยกอพยพออกไป หลายครอบครัวแล้วจึงได้ยุบวัดลงคงเหลือวัดเดียว คือ วัดโคกกระเทียม ปัจจุบัน
วัดโคกกระเทียม เมื่อเริ่มสร้างครั้งแรกเป็นสำนักสงฆ์มีพื้นที่เพียง 5 ไร่เศษ ต่อมาสมัย พระครูอดุลธรรมปยุต มาเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 ได้มีผู้บริจาคที่ดินเพิ่มเติมให้กับ วัดซึ่งที่ดินที่บริจาคมีพื้นที่รอบบริเวณวัด จนถึงปัจจุบันมีพื้นที่วัด 22 ไร่เศษ
อนึ่งพระอุโบสถหลังเก่าชำรุดก้อนอิฐตกลงมากอง อาจารย์วัฒนะ น้อยพันธ์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านโคกกระเทียม ได้ไปจดทะเบียนกับกรมศิลปากรพิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดลพบุรี และนำอิฐไปให้ผู้ที่มีความรู้ภาษาไทยน้อยอ่านดูพอได้ใจความว่า
- สาวน้อย ซ่อยจับเฮียง - ฮ่างงาม สาวฮาม เฮย - เจ้าไว้ใก ห่อนเฮย (ส่วนใหญ่อิฐผุไม่สามารถอ่านข้อความได้ชัดเจน)
สันนิษฐานว่า การสร้างพระอุโบสถหลังนี้ คงปั้นอิฐเผาเอง มีหนุ่ม ๆ สาว ๆ เป็นกำลังสำคัญ ช่วยกันปั้นอิฐและก่อสร้าง ขีด เขียน ข้อความต่าง ๆ ลงบนก้อนอิฐเวลาก่อสร้าง มีหนุ่ม สาวมาช่วยขน อิฐเรียงกัน สายน้อย (คือสาววัยรุ่น) สาวฮาม (สาวใหญ่) เวลาก่อสร้าง ต่อมาราวปี พ.ศ. 2459 เฒ่าแก่สุก นางซุ้ม ทองตันไตรย์ ได้ทำการซ่อมแซมขึ้นครั้งหนึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าพระอุโบสถ วัดโคกกระเทียม วัดถนนแค และวัดบ้านทราย จะมีรูปทรงเดียวกัน และน่าจะสร้างขึ้นพร้อมกัน หรือเวลาใกล้เคียงกันประมาณปี พ.ศ. 2392 |