วัตถุมงคล: พระเครื่องเกจิอาจารย์สายภาคกลาง
พระพิมพ์ รูปเหมือนพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) วัดสระแก้วปทุมทอง จ.พิษณุโลก รุ่นจอมพล ปี ๒๕๑๕ 27-08-2564 เข้าชม : 6025 ครั้ง |
| [ ชื่อพระ ] พระพิมพ์ รูปเหมือนพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) วัดสระแก้วปทุมทอง จ.พิษณุโลก รุ่นจอมพล ปี ๒๕๑๕ | [ รายละเอียด ] พระพิมพ์ รูปเหมือนพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) วัดสระแก้วปทุมทอง จ.พิษณุโลก รุ่นจอมพล ปี ๒๕๑๕ พิมพ์ใหญ่หลังยันต์นะมหาคงคา (ประทับหลังพระวิษณุ) พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก" วันที่ ๑๙-๒๐ มกราคม ๒๕๑๕ ณ พระวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราชพิษณุโลก รูปเหมือนพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สัมปันโน) ทรงสี่เหลี่ยมใหญ่ เนื้อผงรุ่นรบร่องกล้าชนะ (พิมพ์ใหญ่) ผสมเกศาพระครูศีลสารสัมปัน เป็นรุ่นดังที่สุดเรียกกันว่า รุ่นจอมพล สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ แจกทหารที่ไปรบรองกล้า เป็นรุ่นที่ถูกตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์เดลิดิวส์ ครั้งยุทธการในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ภูหินรองกล้า บางคนเรียกว่า รุ่นปาฏิหาริย์ สุดยอดหายาก สุดยอดประสบการณ์ สุดยอดพระดีพิธีจักรพรรดิ์ปี ๒๕๑๕ ปัจจุบันแทบจะไม่พบเห็นก็ว่าได้ น่าเก็บน่าใช้อีกละคราฟ
**************************************************************************************************************************************
พระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สัมปันโน) อดีตเจ้าอาวาส วัดสระแก้วปทุมทอง จ.พิษณุโลก ท่านเป็นพระเกจิประเภท"ดังเงียบ " อีกท่าน ท่านมีบทบาทสำคัญในการสร้างพระเนื้อผงและดินผสมผงเก่าหลายพิมพ์ที่เข้าร่วมในพิธีจักรพรรดิ์ มหาพุทธาภิเษกวันที่ ๑๙-๒๐ มกราคม ๒๕๑๕ ณ พระวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราชพิษณุโลก
ประวัติการสร้างวัตถุมงคล
พระผงต้นตำรับ สูตรมหาจักรพรรดิ์ พ.ศ. ๒๕๐๐
1.รูปเหมือนพระครูศีลสารสัมบัน พิมพ์ไข่ไก่ รุ่นแรก เนื้อผงโบราณ (เก่า) สร้างไว้ ๑๐๐ องค์ ปิดทองจะหายาก
๒.พระพิมพ์พุทธชินราช พิมพ์อินโดจีน เนื้อผง หลังโค้ต ตราวัด สร้างไว้ ๒๐๐ องค์
พระผงพิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก ครั้งที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๕๑๕
๑.พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ เนื้อดินและผง เป็นรุ่นเดียวที่พุทธาภิเษก แบบไตรภาคี (ปลุกเสก ๓ วาระ ๓ สถานที่)
๒.พระพิมพ์พุทธชินราชใบเสมา เนื้อดินและผง
๓.รูปเหมือนพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สัมปันโน) พิมพ์สี่เหลี่ยมใหญ่
๔.รูปเหมือนพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สัมปันโน) พิมพ์สี่เหลี่ยมเล็ก
๕.รูปเหมือนพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สัมปันโน) พิมพ์จันทร์ลอย
****เหรียญรุ่นแรก พ.ศ. ๒๕๑๗
๑.เหรียญพระครูศีลสารสัมปัน (สำรวย สัมปันโน) ใบเสมา (เนื้อกะไหล่ทอง รมดำและทองแดง) สร้างไว้เพียง ๑๒๐ เหรียญ กะไหล่ทองจะหายาก
**** รุ่นสุดท้าย พ.ศ. ๒๕๒๖
๑.เหรียญพระครูศีลสารสัมปัน (สำรวย สัมปันโน) วงรี (เนื้อกะไหล่ทอง รมดำและทองแดง) สร้างไว้ ๕๐๐ องค์
๒.รูปหล่อพระครูศีลสารสัมปัน เนื้อทองผสม ใต้ฐานบรรจุผงพระที่เหลือจากการสร้าง มีเขียนยันต์ หน้าตัก ๕ นิ้ว สร้างไว้ ๑๐๐ องค์
พระผง รุ่นจอมพล " พิธีจักรพรรดิ์ ปี ๒๕๑๕ ลพ.มุ่ย ,ลพ.กวย ,ลป.ทิม ,ลพ.พรหม ,ลป.โต๊ะ ฯลฯ ปลุกเสก
เป็นพระเนื้อผง ผสมเกศา พระครูศีลสารสัมบัน ด้านหลัง พระยันต์เป็น นะ ประทับหลังพระวิษณุ
สร้างประมาณ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔
****พิธีพุทธาภิเษก ๒๐ มกราคม ๒๕๑๕
ครั้งแรก การพิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ ๑๙ ๒๐ มกราคม ๒๕๑๕ พระเถระที่เดินทางมาไกลได้พักค้างคืนที่วัดสระแก้วปทุมทอง
****พิธี พุทธาภิเษกเดี่ยว
พระครูศีลสารสัมบัน นิมนต์นั่งเจริญจิตภาวนาพุทธาภิเษกเดี่ยว ณ พระอุโบสถวัดสระแก้วปทุมทอง ต่ออีกวาระหนึ่ง อาทิเช่น
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม ,หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี ,หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี ,
หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ จ.ระยอง ,หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี , หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี ,
หลวงพ่อเกษม สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง , หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์ ,หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม ชัยนาท,
หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี , หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ ขอนแก่น เป็นต้น
และครั้งอื่นๆ เช่น
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่
หลวงพ่อทบ (พระครูวิชิตพัชราจารย์) วัดพระพุทธบาทชนแดน จ.เพชรบูรณ์ ,พลวงพ่อพันธ์ (พระครูประพันธ์ศีลคุณ) วัดบางสะพาน จ.พิษณุโลก ,พระครูวิจารณ์ศุภกิจ (อาจารย์ม้วน) วัดวังทองวราราม จ.พิษณุโลก เป็นต้น
หรือถ้าหากมีพระเถระสายวิปัสสนาธุระหรือพระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังในยุคนั้น เดินทางมาที่จังหวัดพิษณุโลก
ไม่ว่าจะมาเพื่อวัตถุประสงค์ใด ท่านพระครูศีลสารสัมบันก็จะนิมนต์เจริญจิตภาวนาพุทธาภิเษกอย่างนี้เรื่อยมา
**********************************************************************************************************************************************************************************************
๑.ยันต์เฑาว์พุทธะ ซึ่งในสมัยที่หลวงพ่อปานออกธุดงค์คือ
ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ท่านพบลายแทงฉบับหนึ่งบ่งบอกว่า มีขุมทรัพย์และพระคาถามหายันต์อันศักดิ์สิทธิ์บรรจุอยู่ภายในพระปรางค์ร้าง วัดพระศรีมหาธาตุ สุพรรณบุรี หลวงพ่อปาน มีความสนใจในพระคาถามหายันต์นั้นเป็นอย่างมาก ท่านจึงออกธุดงค์ดั้นด้นค้นหาพระปรางค์ร้างจนพบและทำ การขุดเจาะรงตำแหน่งลายแทง ก็พบทรัพย์สมบัติและพระพิมพ์ต่างๆ มากมายบรรจุอยู่ในพระปรางค์ แต่ท่านก็ไม่มีความสนใจในทรัพย์สมบัติอันล้ำค่าต่างๆ เหล่านั้นเลย นอกจากผอบทองคำใบหนึ่งซึ่งภายในมีแผ่นลานทอง จารึกพระคาถาและอุปเท่ห์วิธีใช้ที่พระฤๅษี ๑๐๘ ตน ร่วมกันชักยันต์ขึ้นมาเป็นพิเศษ เพื่อมอบแด่ผู้มีบุญต่อไปในภายภาคหน้า เมื่อ หลวงพ่อปาน ได้พระคาถามหายันต์ไปใช้แล้วก็นำมาท่องจนขึ้นใจสามารถชักยันต์ได้จนมีความ ชำนาญ จึงนำแผ่นลานทองเก็บไว้ในผอบทองคำตามเดิมแล้วนำมาบรรจุที่ใต้ฐานพระพุทธรูป องค์หนึ่ง จาก นั้นหลวงพ่อปานก็นำพระคาถามหายันต์นั้นมาใช้ได้บัง เกิดผลอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่น่าอัศจรรย์ ต่อมาเมื่อหลวงพ่อปานพิมพ์รูปของท่านออกแจก จึงประทับมหายันต์นั้นไว้บนศีรษะมหายันต์ดังกล่าวนั้นคือ "ยันต์เฑาว์พุทธะ"นั่นเอง ยันต์เฑาว์พุทธะนี้มีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์สูงส่งเพราะพระฤๅษีผู้ทรง อภิญญาร่วมกันชักยันต์ขึ้นถึง ๑๐๘ ตน นอกจากจะใช้ป้องกันภูตผีปีศาจแล้ว ยังใช้แก้โรคภัยไข้เจ็บทั้งภายในและภายนอกได้ดี โดยพิมพ์ยันต์ลงบนผ้า ปิดตามร่างกายที่ปวดเช่น ปวดศีรษะ ปวดบวมตามร่างกาย หรือจะสูญฝีก็ได้ให้ใช้นิ้วจุ่มน้ำลายใต้ลิ้น เขียนยันต์สูญรอบๆฝีหรือจะลงแก้มแก้คางทูมก็ได้ดียิ่งนัก ให้ระลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัย พระฤๅษี ๑๐๘ ตน และหลวงพ่อปานเท่านั้นก็หายสิ้นแล
๒.ยันต์นะมหาอุด หรือ นะซ่อนหาง ซึ่งหาก พิจารณา ผิวเผินแล้ว ยันต์ตัวนี้เขียนง่าย แต่การเรียก สูตรนั้นยาก ขึ้นอยู่กับเฉพาะตัวว่าพระเกจิอาจารย์รูปใด จะใช้คาถาใด ในการเรียกสูตรยันต์ บางรูปก็ใช้คาถาหัวใจอิติปิโส หรือหัวใจพระเจ้า ๑๖ พระองค์ คือ นะ มะ นะ อะ กอ กอ นะ กะ กอ ออ นอ อะ นะ อะ กะ อัง แต่ถ้าเรียกสูตร นะมหาอุด ตัวเดียวให้บริกรรม ระหว่างเขียนว่า นะ อุด ตะ รัง อุด ตะ รัง มิ จะ นะ อย่า อย่า นะ วิ หา รัง ปิด อุท ธัง อัท โธ ของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา
คาถามหาจักรพรรดิ์พุทธาภิเษก (หลวงปู่ดู่ วัดสะแก)
ยันต์นะ ประทับหลังพระวิษณุ ปรากฏในภาพพิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก ๒๕๑๕
นะโมพุทธายะ พระพุทธไตรรัตนญาณ มณีนพรัตน์ สีสะหัสสะ สุธรรมา พุทโธ ธัมโฒ สังโฆ ยะธาพุทโมนะ พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา อัคคีธานัง วะรังคันธัง สิวลี จะมหาเถรัง อะหัง วันทามิ ทูระโต อะหัง วันทามิ ธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ.
***********************
ส่วน นะ ประทับหลังพระวิษณุ คือการรวมกันระหว่าง ยันต์เฑาว์พุทธะ และ ยันต์นะมหาอุด หรือ นะซ่อนหาง ซึ่งปรากฏอยู่ด้านหลังพระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ และพระพิมพ์รูปเหมือนพระครูศีลสารสัมบัน ทุกองค์นั้น เป็นการนำเอาอานุภาพของยันต์ทั้งสองผสานด้วยกัน กล่าวคือ
นะ ประทับหลังพระวิษณุ เป็นยันต์หนึ่งใน ๑๐๘ ยันต์ที่ลงในผ้าประเจียด เป็นมงคลแคล้วคลาด และเป็นเมตตามหานิยม สารพัดจะใช้ได้ทุกประการ และเป็นหัวใจของยันต์พระเจ้าห้ามทุกข์ ป้องกันการถูกกระทำไสยศาสตร์ใส่มนต์ดำ และเป็นยอดยันต์ประทับหลัง ยันต์พิชัยสงคราม ต้องปลุกด้วย อิติปิโสรัตนมาลา จึงจะขลัง โบราณท่านว่ามีค่าควรเมือง สุดท้ายเป็นยอดยันต์ธงมหาอุด ปลุกเสกด้วยพระคาถาภควัม ๑๐๘ จบ จึงจะทรงกฤษดาอภินิหารยิ่ง
เหตุผลใดท่านพระครูศีลสารสัมบันจึงเลือกยันต์นี้ อาจจะเพราะพุทธคุณเหลือคณานับของยันต์ทั้งหมดหากรวมกันและกะทัดรัดพอที่จะลง หลังพระเครื่องสักองค์ ก็น่าจะเป็นยันต์ชนิดนี้ที่ดีที่สุด นี้คงเป็นเหตุผลของการเลือกยันต์ นะประทับหลังพระวิษณุ ไว้หลังรูปเหมือนท่า | [ ราคา ] ฿2500 [ สถานะ ] ขายแล้ว
[ติดต่อเจ้าของร้านเกจิน้อย พระเครื่องออนไลน์ ] เบอร์โทรศัพท์ : 081-4070684 | |
|