เว็บลิ้งค์ชมรมต่างๆ

เว็บไซต์วัดเกจิดังในสยาม
วัดอัมพวัน จ. สิงห์บุรี
วัดหนองป่าพง จ. อุบลฯ
วัดเขาแหลม จ. สระแก้ว
หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
วัดหัวป่า อ. ระโนด จ. สงขลา
วัดแก้วโกรวาราม จ. กระบี่
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
หลวงสมชาย วัดเขาสุกิม
ป้อนหมายเลขสิ่งของ


***พิมพ์หมายเลขสิ่งของจำนวน 13 หลัก

รายละเอียดเพิ่มเติม

  หน้าหลัก  :  อดีตสู่ปัจจุบัน  :  เว็บบอร์ดชมรม  :  ตารางประกวดพระ  :  สาระน่ารู้  :  เล่าสู่กันฟัง  :  ติดต่อเรา
ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: หลวงพ่อปาน วัดโคกสมานคุณ
ประวัติวัดโคกสมานคุณ อ.หาดใหญ่ จ. สงขลา
08-09-2009 Views: 16278
วัดโคกสมานคุณ เดิมเป็นวัดร้าง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เรียกกันว่า วัดโคกเสม็ดชุน ซึ่งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ประมาณ ๑ กิโลเมตรทางการได้จัดขึ้นทะเบียนผนวกไว้กับที่ดินราชพัสดุ ทราบจากผู้เฒ่าผู้แก่ว่า วัดนี้เป็นวัดร้างมาประมาณ ๓๐ปี เนื้อที่วัดมีรูปคล้ายกงฉากช่างไม้มีเนื้อที่ประมาณ ๒๗ ไร่เศษ ในสมัยที่ทางรถไฟย้ายจากสถานีชุมทางอู่ตะเภา มาตั้งที่สถานีชุมทางหาดใหญ่ในปัจจุบันนี้ พระอุปัชฌาย์ปาน วัดคลองเรียน ได้เห็นความลำบากของพระเณรที่เดินทางโดยสารรถไฟมาลงที่สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ ในเวลามืดค่ำแล้วไม่มีที่พักใกล้ ทำให้ต้องเดินทางไปพักที่วัดคลองเรียนบ้าง วัดคลองแหบ้าง หรือวัดท่าแซบ้าง จึงต้องการที่จะตั้งที่พักสงฆ์ในบริเวณที่วัดร้างเดิมเพราะ มีเสาไม้แก่นเป็นหลักสีมาปรากฏอยู่เสมือนที่ฝังลูกนิมิตของวัดทั่วไป แต่ทางการได้ขึ้นผนวกที่วัดร้างไว้กับที่ดินราชพัสดุจึงมีความขัดข้อง ท่านจึงเดินทางไปพบกับเจ้าคณะจังหวัดสงขลาเพื่อขอความกรุณาให้ช่วยเหลือ ทางเจ้าคณะจังหวัดสงขลาสมัยนั้นคือ ท่านเจ้าคุณพระราชเมธี (ภายหลังย้ายไปอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯเลื่อนเป็นพระรัตนธัช) ท่านเจ้าคุณรับรองว่าจะช่วย โดยถวายพระพร สมเด็จชาย (กรมหลวงลพบุรีราเมศ อุปราชมณฑลปักษ์ใต้ ในปลายปี พ.ศ. ๒๔๖๕) ปรากฏว่าได้ผล ทรงมีพระบัญชาให้หลวงทิพย์กำแหงสงคราม ที่เคยเป็นนายอำเภอมาตั้งแต่อำเภอยังมีชื่อว่า อำเภอเหนือและใต้ เป็นนายอำเภอคนแรกของอำเภอหาดใหญ่ เป็นผู้ประสานงานติดต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อแยกที่ดินวัดร้างออกมายกฐานะเป็นวัดมีพระสงฆ์ต่อไป (หลวงทิพย์สงคราม ต่อมาเลื่อนเป็นพระเสน่หามนตรี) พระอุปัชฌาย์ปาน(หรือหลวงพ่อปาน)ได้ชักชวนชาวบ้านใกล้เคียง มีชาวตำบลคลองแห ชาวตำบลบ้านพรุ ชาวตำบลควนลัง เป็นต้นนำทัพสัมภาระต่างๆมาเพื่อปราบที่และสร้างศาลาให้เสร็จในวันเดียวพออาศัยอยู่ได้ เพราะความพร้อมเพรียง ของชาวบ้าน ก็ทำได้สมความปรารถนา ในการกำหนดวัน พระอุปัชฌาย์ปานได้เลือกเอาวันอาทิตย์ที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๖ ตรงกับแรม ๘ ค่ำ เดือน ๕ โดยถือตำราโหราศาสตร์ ว่าเป็นวันดีทางจันทรคติ (อาทิตย์แปดค่ำ จันทร์ สามค่ำ เป็นต้น) เป็นวันที่จะเข้ามาอยู่ที่วัด ซึ่งในพรรษาแรกมีพระภิกษุ ๕ รูป สามเณร ๓ รูป รวมเป็น ๘ รูป สามเณรรูปหนึ่งในสามคือ สามเณรกลิ่น ศรนรินทร์ (ภายหลังได้เลื่อนเป็นพระเทพมุนี เจ้าอาวาสวัดโคกสมานคุณ พระอารามหลวง) พระครูสมานคุณารักษ์ เจ้าอาวาสวัดต่อจากพระอุปัชฌาย์ปานได้สร้างอุโบสถหลังแรกในความอุปถัมภ์ของ พระเสน่หามนตรี และคุณนายเกษร สุคนธหงส์ (เสน่หามนตรี) ได้ทำการผูกพัทธสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ และได้เปลี่ยนชื่อจากวัดโคกเสม็ดชุน เป็นวัดโคกสมานคุณ ต่อมาในปีพ.ศ.๒๕๑๖ อุโบสถหลังเก่าได้ชำรุดต้องรื้อหลังคาออกหมดและได้สร้างและเปลี่ยนแปลงแบบหลังคาตามแบบของ กรมศิลปากร จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ พ.ศ. ๒๕๒๐ได้ถวายพระพรทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธอทั้ง สองพระองค์ เสด็จมาทรงยกช่อฟ้า ผ่านทางสำนักพระราชวัง และได้แจ้งหมายกำหนดการว่าจะเสด็จพระราชดำเนินมาในวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๐ ทางวัดก็ได้จัดเตรียมการต่างๆไว้อย่างพร้อมเพรียง และทางจังหวัดได้เพิ่มการพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน ณ สนามกีฬากลาง อำเภอหาดใหญ่ หลังจากที่ทรงยกช่อฟ้าอุโบสถแล้ว แต่ปรากฏว่าสนามกีฬากลางกำหนดการแข่งขันกีฬาเขตไว้ก่อนแล้วไม่สามารถเลื่อนได้จึงแจ้งไปทางสำนักราชวังว่าไม่พร้อม ทางวัดซึ่งได้เตรียมการไว้แล้วก็พลอยติดร่างแหไม่พร้อมไปด้วย เวลาล่วงมาจนถึงวันที่ ๕ กันยายนพ.ศ.๒๕๒๐ ทางการไม่ได้แจ้งให้ทางวัดทราบ มาทราบจากนายตำรวจที่จะมาอารักขาคุยกับพระที่นาทวีว่าไม่ต้องไปถวายอารักขาที่วัดโคกสมานคุณแล้วเพราะเลื่อนไปไม่มีกำหนด พระที่ทราบจึงแจ้งให้ทางวัดทราบ ทางวัดเมื่อทราบดังนั้นและได้เตรียมการทุกอย่างไว้พร้อมแล้ว หากมีการเลื่อนทางวัดจะเสียหายมาก จึงได้เดินทางไปสำนักราชเลขาที่ทักษิณนิเวศน์ ทางเจ้าหน้าที่ได้ยกแฟ้มเรื่องเสด็จพระราชดำเนินมาให้ดู มีบันทึกใจความว่า “ ทรงมีราชภาระมากต้องเสด็จไปรอบหน้า” (หมายถึงปีหน้า เพราะในคำทูลเชิญ ระหว่างที่แปรพระราชฐานมาประทับทักษิณราชนิเวศน์) จึงได้เล่าให้ทางเจ้าหน้าที่ฟังว่าได้เตรียมการไว้มากแล้วหากไม่เสด็จมาในคราวนี้ทางวัดจะเสียหายมาก ทางราชเลขาจึงแนะนำให้เขียนคำถวายพระพรใหม่จะนำไปถวายในหลวง พอได้รับคำแนะนำอย่างนั้นก็รู้สึกตกใจ ประหม่า เพราะที่แล้วมานั้น แจ้งแก่ทางสำนักราชวังเพื่อให้ทูลเชิญ ครั้งต้องทูลเชิญเอง จิตใจจึงหวั่นไหว เมื่อได้สำรวมและทบทวนแล้ว พระราชรัตนดิลก เจ้าอาวาสวัดโคกสมานคุณ (พระเทพมุนี ในขณะนั้น) ได้เขียนคำถวายพระพร ว่า “ ขอถวายพระพรมหาบบิตร โปรดเสด็จยกช่อฟ้า ในระยะที่ทูลเชิญ ได้มีศุภนิมิตรมธุมักขิกา มาจับทำรวงรังอยู่ที่หน้าบัน ถึงสามรวงทั้งด้านหน้าและด้านหลัง” แล้วจึงเขียนเป็นคำร้อยกรองว่า มธุมกฺขิกา ที่หน้าบันผึ้งหลวงมาล่วงหน้า รอมหาบพิตรนฤศร ถึงสามรวงเสมือนหมายถวายพร โบราณวอนวรรณ์สรุปศุภมงคล พระทรงยกช่อฟ้ากรุณาโปรด ชูชุบโบสถ์เฉิดโฉมโพยมหน ขอพระบารมีเรื้องอยู่เบื้องบน ประชาชนรอกราบบาทบงสุ์ฯ ขอถวายพระพร พระราชรัตนดิลก เจ้าอาวาสวัดโคกสมานคุณ กันยายน ๒๕๒๐ ได้รับทราบภายหลังว่าเมื่อทรงอ่านแล้ว ทรงยิ้มมีพระราชดำรัสว่า “ เขาเชิญแผลงๆ แต่ซึ้งดี..ไป ” คำถวายพระพรได้เขียนที่ทักษิณราชนิเวศน์ ได้รับทราบว่าเสด็จตามหมายกำหนดการเดิม เมื่อ วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๐ และได้รับหมายกำหนดการในวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๐ และในวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับหมายกำหนดการด่วนที่สุดว่า โปรดให้เลื่อนการเสด็จพระราชดำเนินไปเป็นวันศุกร์ที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๐ เวลาตามหมายกำหนดการเดิม ในวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธอทั้ง สองพระองค์ เสด็จมาทรงยกช่อฟ้า มีประชาชนมาเฝ้ารอรับเสด็จอย่างมากมาย พระองค์ทรงปฏิสันถารอยู่ในพระอุโบสถเป็นเวลา ๔๕ นาที นับว่านานกว่าที่แห่งอื่นที่พระองค์ทรงยกช่อฟ้า และเมื่อพระองค์จะเสด็จออกจากอุโบสถ ได้ทรงถวายพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ๒๕,๐๐๐ บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน) เวลาทรงประเคนใบปวารณา ได้มีพระราชดำรัสว่า “บำรุงวัดหลวง ” เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่พระเถระฟังคำถวายรายงานได้พูดว่า ต่อไปนี้วัดนี้ได้เป็นวัดหลวง ยังไม่ทันผ่านชั่วโมง ได้เป็นวัดหลวงขึ้นมาอย่างปฏิหาริย์ …….. บัดนี้ศาลาการเปรียญเดิมของวัดโคกสมานคุณ พระอารามหลวง ซึ่งถูกใช้งานมานานได้ชำรุดทรุดโทรมลงมากจนไม่อาจใช้การได้อีก จึงขอเชิญชวนญาติโยมผู้มีจิตศรัทธา ร่วมสั่งสมบุญกิริยาวัตถุโดยการร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างศาลาการเปรียญ ซึ่งศาลาการเปรียญหลังใหม่นี้ จัดสร้างเป็นศาลา ๒ ชั้น ยาว ๓๑ เมตรโดยใช้งบประมาณในการก่อสร้าง ประมาณ ๑๒ ล้านบาท


 
------------------------
  หน้าหลัก  
  คำถามที่มีการถามบ่อย  
  เราเล่นพระทำไม ?  
  กฎหมายพระเครื่อง  
  เกร็ดเล็ก-เกร็ดน้อย  
  สมัครเปิดร้านค้า  
  การชำระเงินค่าร้านค้า  
  ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง  
  ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับร้านค้า  
 
หน้าหลัก  อดีตสู่ปัจจุบัน  เว็บบอร์ดชมรม  ตารางประกวดพระ  สาระน่ารู้  เล่าสู่กันฟัง  ติดต่อเรา
Copyright©2024 zoonphra.com
Powered by Tactical IT