เว็บลิ้งค์ชมรมต่างๆ

เว็บไซต์วัดเกจิดังในสยาม
วัดอัมพวัน จ. สิงห์บุรี
วัดหนองป่าพง จ. อุบลฯ
วัดเขาแหลม จ. สระแก้ว
หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
วัดหัวป่า อ. ระโนด จ. สงขลา
วัดแก้วโกรวาราม จ. กระบี่
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
หลวงสมชาย วัดเขาสุกิม
ป้อนหมายเลขสิ่งของ


***พิมพ์หมายเลขสิ่งของจำนวน 13 หลัก

รายละเอียดเพิ่มเติม

  หน้าหลัก  :  อดีตสู่ปัจจุบัน  :  เว็บบอร์ดชมรม  :  ตารางประกวดพระ  :  สาระน่ารู้  :  เล่าสู่กันฟัง  :  ติดต่อเรา
ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: หลวงพ่อพลับ วัดชายคลอง
ประวัติ หลวงพ่อพลับ วัดชายคลอง
14-10-2009 Views: 12010

     พระครูพลับ สุวณโณ อายุ 104 ปี 81 พรรษา เป็นเจ้าอาวาศ วัดชายคลอง ได้รับราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ที่ พระครูการาม เมื่อวันเฉลิมพระชนพรรษา รัชกาลปัจจุบัน วันที่ 5 ธันวาคม 2529

     หลวงปู่พลับ ชื่อ พลับ เกตุอินทร์ เกิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พศ 2439 วันจันทร์ แรม 8 ค่ำ เดือน9 ปีวอก ที่บ้านหมู่ที่ 6 ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมือง จังหวัด พัทลุง โยมบิดา ชื่อ นายขาว เกตุ อินทร์ โยมมารดา ชื่อ นางทิม เกตุอินทร์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวสามคนคน

1.นางพริ้ม เกตุอินทร์

2. พระครูการาม

3. นายเชือน เกตุอินทร์

    ชีวิตตอนวัยเด็ก

    พระครูการาม ได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาไทย อักษรขอม จนอ่านออกเขียนได้กับพระในวัดและออกไปช่วยบิดามารดามารดาประกอบอาชัพทางเกษตรกรรม ปลูกข้าว พืชผักผลไม้ เลี้ยงครอบครัวเหมือนกับชาวนาทั่วไป นับย้อนหลังไปเมื่อพระครูการาม มีอายุได้ 17 ปีท่านอุทิศตนบรรพชาเป็นสามเณรในพระบวรพุธศาสนา ณ วัดชายคลอง เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2456 โดยมีพระครู ธรรมโฆษ วัดจินตาวาส(เจ็นออก)ตำบลตำนาน เป็นพระอุปัชฌา

    อุปสมบทเป็นพระภิกษุ

   เมื่อบรรชาเป็นสามเณรแล้ว พระครูการาม หรือในนามเดิมว่า สามเณรพลับ เกตุอินทร์ ก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัย สามเณรสิกขาข้อวัตรปฎิบัติต่างๆ พร้อมกับรับใช้ปฎิบัติพระอุปเย ครูอาจารยืด้วยความเคารพ จนกระทั่งอายุได้ 21 ปี ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในนามว่าพระพลับ สุวณโณ ณ วัชายคลอง เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2460 โดยมีพระครูรรมโฆษ เป็นพระอุปฌาย์เช่นเดิม

    ชีวิตสมณะ

    ครั้นอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านพระครูก็ได้ศึกษาพระรรมวินัยเพิ่มเติม จากการเรียนสมัยเป้นสามเณร โดยเดินทางไปศึกษาที่สำนักเรียนวัดพระมกาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช และสอบได้นักธรรมตรีในปี พศ 2461 แล้วเดินทางกลับที่วัชายคลองตามเดิมจากนั้นก็หันมาฝึกวิชาตามความนิยมของวัดวาอารามสมัยนั้น ประกอบด้วยพระครูการามท่านเป้นผู้มีความถนัดหรือมีพรสวรรรค์ เกี่ยวกับวิชาช่างอยู่แล้วท่านก็กลายเป็นช่างหลายสาขาเช่น ช่างไม่ ช่างกลึง ช่างเหล็ก และช่างฝีมืออื่นๆอีก ส่วนด้านข้อปฎิบัติ พระครูการาม ไม่เคยบกพร่องในพระธรรมวินัยเลย ข้อเสียหายต่างๆในชีวิตสมณะของท่านไม่เคยปรากฎเลย ท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่องตลอดมา โดยเฉพาะเพศที่เป็นข้าศึกต่อพรมจรรญ์นั้นถ้าไม่จำเป็นจริงๆ แล้วท่านไม่ค่อยยอมพูดด้วยเลย แม้แต่บุรุษพูดด้วยกับท่านพระครูพูดน้อยที่สุด

    ท่านพระครูการาม แม้ท่านไม่ค่อยพูดค่อนจากับใครนัก แต่ท่านก็มิใช่เป้นพระเคร่งขรึมอารมเครียด ตรงกันข้ามท่านเป้นพระที่มีอารมดี ร่าเริงใบหน้ายิ้มแย้มอยู่เสมอ สายตามีแววประกอบด้วยเมตตาธรรมอย่างสูงส่ง และคงเป็นเพราะเหตนี้ ท่านเป็นผู้โชคดีไม่มีโรคภัยเบียดเบียน แม้ว่าชนษาของท่านจะร่วมร้อยกว่าปีแล้ว สุขภาพของท่านแข้งแร ไม่งอแง ยังเดินคล่องแคล่วแม้เวลามการประชุมพระสังฆาธิการแต่ละครั้ง ท่านไม่เคยขาดประชุมเลยและไม่เคยอ้างว่า ผมแก่แล้ว ไม่ต้องเข้าประชุม อีกประการหยึ่งพระครูการาม แม้ท่านจะเป็นคนรุ่นเก่า รุ่นดบราณ แต่มีความคิดความอ่านและความเห็นของท่านไม่ได้เก่าหรือโบราณ ชนิดลายครามแตอย่างได ตรงกันข้ามท่านเป็นคนเข้าถึงสัจธรรม ทันดลกทันเหตุการณ์ ไม่งมงาย ไม่เชื่อไสยศาตร ความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ ท้งปวง ท่านมีความคิดเป็นวิและพุธศาสตร์ผสมกัน ฉะนั้นท่านจึงเป็นพระมหาเถระที่ควรเคารพ กราบไหว้อย่างยิ่ง คุรณงามความดีของท่านสุดจะพรรณด้วยหน้ากระดาษอันจำกัด

    งานปกครอง

     พระครูการามได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาศ ปกครองพระภิกษุสามเณร ศิษ วัดชายครอง เมื่ออายุ 31 ปี พรรษา 10 คือเมื่อปี พศ 2470 เรื่อยมาจนกระทั่งมรณะภาพ โดยให้ความอนุเคราะสงเคราะ อบรมสั่งสอนพระภิกษุสามเณรศิษวัด และประชาชนด้วยความเมตตาพรหมวิหารธรรมตลอดมา

     งานการศึกษา

     พระครูการาม ให้ความสนใจในด้านการศึกษามาก ท่านพยายามส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณร ศิษวัดและเยาวชนให้ได้รับการศึกษาเป็นอย่างดี แม้ว่าวัดของท่านจะไม่เป็นสำนักเรียน แต่ท่านส่งพระภิกษุสามเณรไปเรียนที่วัดคูหาสวรรค์เป็นประจำ แม้แต่พระนวกะ ท่านก็ส่งไปศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดคูหาสวรรค์ เป็นพิเศาตลอดพรรษา ด้านเยาวชนท่านก็ส่งเสริมด้วยการให้ทุนการศึกษาและอื่นๆอีกมากมาย

     งานเผยแพร่

     ในการเผยแผ่นั้น พระครูการาม แม้ท่านจะไม่เป็นนักเทศ นักเผยแผ่โดยตรง แต่ท่านก็สามารถแสงธรรม ให้อุบาสกอุบาสิกาในวัดของท่านฟังตลอดมาพร้อมกับให้การสนับสนุนงานเผยแผ่เป็นอย่างดี

    งานสาธารณูปการ

    ตามปกติพระครูการามท่านเป็นพระช่างอยู่แล้ว ฉะนั้น ท่านได้ดำเนินการสร้างสิ่งก่อสร้างมากมาย เช่น ศาลาการเปรียญ อุโบสถ ศาลาบำเพ็ญกุศล หอฉัณ กุฎิน้อยใหญ่ และดำเนินการสร้างอาคารเรียน โรงเรียนวัดชายคลอง

    คาถาอายุยืนของพระอาจารย์ เมื่อประมาณ 20 กว่าปีที่ผ่านมา พระครูประภัทรธรรมโกศล (พระมหาผ่อง ปถสสโร) วัดไทรห้อย อำเภอเมือง ได้เรียนถาม พระครูการาม ว่าเหตุไดพระเดชพระคุณมีอายุยืนมากแล้ว แต่ดูไม่แก่แข็งแรง ไม่มีโรคเบียดเบียน พระครูท่านตอบว่า เวลาตื่นนอนตอนเช้า เอาน้ำล้างหน้า เสกด้วยพระคาถา อายุฑฒโก โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเสกน้ำล้างหน้าด้วยพระคาถา อายุวฑฒโก ธนวฑฒโก สิริวฑฒโก ยสวฑฒโก พลวฑฒโก วณณวฑฒโก สุขวฑฒโก โหตุสพพทา โสตถิ ภวนตุ เม



 
------------------------
  หน้าหลัก  
  คำถามที่มีการถามบ่อย  
  เราเล่นพระทำไม ?  
  กฎหมายพระเครื่อง  
  เกร็ดเล็ก-เกร็ดน้อย  
  สมัครเปิดร้านค้า  
  การชำระเงินค่าร้านค้า  
  ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง  
  ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับร้านค้า  
 
หน้าหลัก  อดีตสู่ปัจจุบัน  เว็บบอร์ดชมรม  ตารางประกวดพระ  สาระน่ารู้  เล่าสู่กันฟัง  ติดต่อเรา
Copyright©2024 zoonphra.com
Powered by Tactical IT