เว็บลิ้งค์ชมรมต่างๆ

เว็บไซต์วัดเกจิดังในสยาม
วัดอัมพวัน จ. สิงห์บุรี
วัดหนองป่าพง จ. อุบลฯ
วัดเขาแหลม จ. สระแก้ว
หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
วัดหัวป่า อ. ระโนด จ. สงขลา
วัดแก้วโกรวาราม จ. กระบี่
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
หลวงสมชาย วัดเขาสุกิม
ป้อนหมายเลขสิ่งของ


***พิมพ์หมายเลขสิ่งของจำนวน 13 หลัก

รายละเอียดเพิ่มเติม

  หน้าหลัก  :  อดีตสู่ปัจจุบัน  :  เว็บบอร์ดชมรม  :  ตารางประกวดพระ  :  สาระน่ารู้  :  เล่าสู่กันฟัง  :  ติดต่อเรา
ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์
พระกิตติมงคลพิพัฒน์ (หลวงพ่อจ้อย ฐิตปุญโญ)
14-10-2009 Views: 13183
พระกิตติมงคลพิพัฒน์ (หลวงพ่อจ้อย ฐิตปุญโญ) (หลวงพ่อจ้อย ฐิตปุญโญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ และ อดีตเจ้าคณะอำเภอดอนสัก วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ ต.ดอนสัก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี ท่านเจ้าคุณ พระกิตติมงคลพิพัฒน์ ท่านมีนามเดิมว่า จ้อย นามสกุล พันธุ์อุดม ต่อมาท่าน พระครูวอน (ไม่ทราบฉายา) ผู้เป็นอา ได้เปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น ไกรวงศ์ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2448 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง ณ บ้านหัวรอ ตำบลม่วงงาม อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นบุตร นายนวล - นางห้อง พันธุ์อุดม มีอาชีพกสิกรรม ท่านเป็นบุตรคนเดียวของพ่อแม่ การศึกษา ท่านได้รับการศึกษาที่ วัดมะขามคลาน ตำบลม่วงงาม อำเภอเมืองสงขลา มีท่านพระครูวอน พุทธสโร เป็นผู้สอน ท่านมีความสนใจใฝ่รู้เป็นอย่างมาก และท่านได้ศึกษาวิชาความรู้ต่าง ๆ เช่น วิชาภาษาไทย ภาษาบาลี อักษรขอม เวทมนตร์ คาถาอาคม โหราศาสตร์ และแพทย์แผนโบราณ ชีวิตในวัยหนุ่มของท่าน ท่านตกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี เนื่องจากพ่อไปมีภรรยาใหม่ และท่านได้หลงผิดไประยะหนึ่ง จนถึงกับได้กระทำกรรมที่ไม่ดี จนถึงกับทำให้พ่อแม่ญาติมิตรเดือดร้อนไปด้วย บิดาจึงส่งให้ไปอาศัยกับน้าสาวที่อำเภอดอนสัก ด้วยอำนาจบุญกุสลบารมีที่ท่านเคยสั่งสมไว้จึงทำให้ท่านได้พบกัลยาณมิตรแนะนำ จนกระทั่งเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านจึงได้กลับไปอุปสมบทที่จังหวัดสงขลา จนกระทั่งครบ 1 พรรษา ท่านจึงลาสิกขากลับมาอยู่ที่ดอนสักตามเดิม และต่อมาท่านได้แต่งงานกับ นางสาวพัว อยู่ครองชีวิตสร้างฐานะครอบครัวจนกระทั่งมีบุตรธิดาด้วยกัน 9 คน ท่านประกอบอาชีพทำนา ทำสวน และเผาถ่าน ต่อมาได้เป็นแพทย์ประจำตำบลดอนสัก ต่อมาได้รับการอุปสมบทเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการบวชแก้บน ที่วัดดอนยาง หมู่ที่ 7 ตำบลท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีพระอธิการเริ่ม ฐานิโย เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูประจักษ์วรคุณ เจ้าอาวาสวัดประสพ ตำบลท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์, พระอธิการวัด วัดนทีวัฒนาราม ตำบลชลคราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า จิตปุญฺโญ ท่านบวชเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2490 โดยท่านเล่าให้ศิษยานุศิษย์ฟังว่า ในระหว่างที่บวชอยู่นั้น ท่านคิดจะลาสิกขาถึง 2 ครั้ง แต่ในที่สุดท่านได้พิจารณาเห็นว่า เมื่อได้หลีกออกจากเครื่องพันธนาการในเพศคฤหัสถ์แล้ว ไม่สมควรที่จะวิ่งกลับเข้าไปหาเครื่องพันธนาการ คือกิเลสตัณหาอีก จึงได้ตัดสินใจอยู่ครองสมณเพศ บำเพ็ญประโยชน์ทั้งส่วนตน ส่วนพระพุทธศาสนา ส่วนสังคมและท้องถิ่นอย่างสมบูรณ์ตลอดมา นับว่าเป็นการเจริญตามรอยบาทพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ในฐานะที่ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ในบวรพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ผลงานการพัฒนาท้องถิ่นของท่าน ท่านเจ้าคุณ "พระกิตติมงคลพิพัฒน์" ท่านได้ดำเนินการพัฒนาท้องถิ่นมีเป็นจำนวนมาก จนสามารถกล่าวได้อย่างสนิทใจ และภาคภูมิใจว่า ดอนสักทั้งดอนสัก เจริญรุ่งเรืองเป็นดอนสักได้นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผลงานที่หลวงพ่อจ้อยได้สร้างแทบทั้งสิ้น เพื่อให้เห็นประจักษ์แจ้ง จึงขอจำแนกเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. ถนน ได้ดำเนินการตัดถนนสายต่าง ๆ ในอำเภอดอนสักหลายสาย โดยท่านเป็นผู้อำนวยการในการตัดถนน และประสานงานกับเจ้าของที่ดิน โดยไม่ต้องมีการเวนคืน เช่น ถนนสายดอนสัก - ขนอม ถนนสายดอนสัก - บ้านใน ถนนสายสวนมะพร้าว - ท้องอ่าว ฯลฯ 2. การไฟฟ้า ท่านเป็นผู้ริเริ่มนำเครื่องปั่นไฟมาใช้ในบ้านดอนสัก และได้ประสานงานกับหน่วยงานและส่วนราชการต่าง ๆ จนในที่สุดมีไฟฟ้าใช้ทั่วทั้งสุขาภิบาลอำเภอดอนสัก 3. การประปา ท่านได้ติดต่อประสานงานกับหน่วยเจาะบาดาล กระทรวงมหาดไทย ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่ง ให้ดำเนินการเรื่องน้ำให้กับชาวดอนสัก จนทำให้ชาวดอนสักมีน้ำประปาใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ 4. สิ่งก่อสร้างภายในวัด ได้แก่ สร้างกุฏิ จำนวน 9 หลัง สร้างศาลาการเปรียญ จำนวน 1 หลัง สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม จำนวน 1 หลัง สร้างหอฉัน จำนวน 2 หลัง สร้างอุโบสถ จำนวน 1 หลัง สร้างเมรุ จำนวน 1 หลัง สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ สร้างอนุสาวรีย์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต การได้รับเลื่อนสมณศักดิ์ หลวงพ่อจ้อย ท่านได้สร้างคุณูปการทั้งแก่พระพุทธศาสนา ประเทศชาติ สังคม และประชาชนมากมาย จนชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านได้รับการเลื่องลือกล่าวสรรเสริญไปทั่วทุกสารทิศ จนถึงกับได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เพื่อเป็นเกียรติ บูชาคุณงามความดีของท่านตามลำดับ ดังนี้ 28 มีนาคม 2500 เป็นพระใบฎีกาจ้อย 1 มกราคม 2504 เป็นพระครูใบฎีกาจ้อย 5 ธันวาคม 2514 เป็นพระครูสุวรรณประดิษฐการ เจ้าคณะตำบลชั้นตรี ฝ่ายวิปัสสนาธุระ 5 ธันวาคม 2527 เป็นพระครูสุวรรณประดิษฐการ เจ้าคณะตำบลเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ 5 ธันวาคม 2530 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ "พระกิตติมงคลพิพัฒน์" พระเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งตามที่ปรากฏและท่านเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปขณะนั้นว่า ท่านเป็นพระเถระ ระดับเจ้าคณะอำเภอเพียงรูปเดียวเท่านั้นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นถึงชั้นพระราชาคณะ พ่อหลวงจ้อยกับราชวงศ์ ในช่วงระยะเวลา 46 ปีที่พระกิตติมงคลพิพัฒน์จำพรรษาอยู่ ณ วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ บารมีของท่านเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ได้เสด็จมาประกอบพิธีต่าง ๆ ดังนี้ 1. วันที่ 21 - 23 มีนาคม พ.ศ.2513 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต เสด็จมาเยี่ยมราษฎร ณ วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ เป็นครั้งแรก 2. วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2513 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงยกช่อฟ้าพระอุโบสถ 3. วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้ง 2 พระองค์ เสด็จมาทรงเปิดประปา และทรงพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน 4. วันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2526 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาทรงวางศิลาฤกษ์ และยกฉัตรทองคำพระเจดีย์จตุรมุขบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 5. วันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2528 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ มาประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและยกช่อฟ้า นอกจากนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จเป็นการส่วนพระองค์ มาทรงเยี่ยมพระกิตติมงคลพิพัฒน์ 6. วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2540 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนิน อย่างเป็นทางการมาเป็นองค์ประธานในการบรรจุศพ และเททองหล่อรูปเหมือนพระกิตติมงคลพิพัฒน์ (พ่อหลวงจ้อย) ท่านเจ้าคุณ " พระ กิตติมงคลพิพัฒน์" ได้มรณภาพลงด้วยอาการอันสงบ ซึ่งเป็นธรรมชาติของสังขาร เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2536 อายุ 89 ปี พรรษา 46 ซึ่งคณะศิษยานุศิษย์ทุกระดับชั้น ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ได้จัดบำพ็ญบุญกุศลถวายท่านอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความกตัญูกตเวที ความสำนึกมั่นในอุปการคุณและคุณูปการที่ท่านมอบไว้ให้เป็นมรดกแก่อนุชนรุ่น หลังอย่างมากมายเหลือที่จะพรรณนาให้หมดได้ ต่อมา คณะศิษยานุศิษย์ทั่วทุกสาระทิศ ได้ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมทุนกันจัดสร้าง "มณฑปหลวงพ่อจ้อย" ไว้เป็นอนุสรณ์สถาน เพื่อให้ทุกท่านได้สักการะบูชาที่ "วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์" ต.ดอนสัก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในอันที่จะสรรค์สร้างคุณงามความดี เจริญรอยตามจริยาอันดีงามของท่าน ซึ่งปัจจุบันมีศิษญานุศิษย์ ข้าราชการ พ่อค้า และประชนหลั่งไหลมาจากทั่วทุกสาระทิศมาสักการะบูชาอยู่ทุกวัน จนแทบจะกล่าวได้ว่า "กลิ่นธูป แสงเทียน ไม่เคยขาดหายไปจากมณฑปหลวงพ่อจ้อย" อย่างแท้จริง ปัจจุบันนี้ ถึงแม้ว่าร่างกายของท่านเจ้าคุณพระกิตติมงคลพิพัฒน์ (จ้อย ฐิตปุญฺโญ มหาเภระ) จะได้มรณภาพไปแล้วตามธรรมชาติของสังขาร แต่คุณงามความดี บารมีธรรม ผลงานที่ท่านได้สร้างไว้ให้เป็นมรดกของชาวดอนสัก ชาวสุราษฎร์ธานี ของชาวพุทธทั่วทั้งโลกทั้งหมดนั้น ล้วนแล้วแต่ยังคงจารึกมั่นอยู่ในความทรงจำ ในจิตใจ ของประชาชนชาวสุราษฎร์ธานี และของชาวพุทธทั้งโลกอย่างไม่มีวันเสื่อมคลาย รวบรวมและเรียบเรียงโดย พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล(ไชยฤทธิ์) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดท่าไทร พระเปรียญและพระบัณฑิตอาสพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี เลขานุการเจ้าคณะภาค ๑๖


 
------------------------
  หน้าหลัก  
  คำถามที่มีการถามบ่อย  
  เราเล่นพระทำไม ?  
  กฎหมายพระเครื่อง  
  เกร็ดเล็ก-เกร็ดน้อย  
  สมัครเปิดร้านค้า  
  การชำระเงินค่าร้านค้า  
  ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง  
  ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับร้านค้า  
 
หน้าหลัก  อดีตสู่ปัจจุบัน  เว็บบอร์ดชมรม  ตารางประกวดพระ  สาระน่ารู้  เล่าสู่กันฟัง  ติดต่อเรา
Copyright©2024 zoonphra.com
Powered by Tactical IT