เว็บลิ้งค์ชมรมต่างๆ

เว็บไซต์วัดเกจิดังในสยาม
วัดอัมพวัน จ. สิงห์บุรี
วัดหนองป่าพง จ. อุบลฯ
วัดเขาแหลม จ. สระแก้ว
หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
วัดหัวป่า อ. ระโนด จ. สงขลา
วัดแก้วโกรวาราม จ. กระบี่
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
หลวงสมชาย วัดเขาสุกิม
ป้อนหมายเลขสิ่งของ


***พิมพ์หมายเลขสิ่งของจำนวน 13 หลัก

รายละเอียดเพิ่มเติม

  หน้าหลัก  :  อดีตสู่ปัจจุบัน  :  เว็บบอร์ดชมรม  :  ตารางประกวดพระ  :  สาระน่ารู้  :  เล่าสู่กันฟัง  :  ติดต่อเรา
ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: หลวงพ่อชม วัดท่าไทร
ประวัติของหลวงพ่อชม คุณาราโม
14-10-2009 Views: 13104

ประวัติของหลวงพ่อชม คุณาราโม

(พระครูดิตถารามคณาศัย )

อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าไทร และอดีตเจ้าคณะอำเภอกาญจนดิษฐ์ “ศูนย์รวมและที่พึ่งทางจิตใจชาวสุราษฎร์ธานี”

 วัดท่าไทร หมู่ที่ ๒ ตำบลท่าทองใหม่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ๘๔๒๙๐

สถานะเดิม

     ชื่อ ชม นามสกุล ทวดสิญจน์ เกิดเมื่อวันจันทร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๐ ปี ระกา ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๔๐ ที่ บ้านนาดอน (ใกล้บ้านหัวหมาก) หมู่ที่ ๔ ตำบลช้างขวา อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี บิดาชื่อ นายพุ่ม ทวดสิญจน์ มารดาชื่อ นางพัน ทวดสิญจน์ อาชีพบิดามารดา ทำนา-ทำสวน มีพี่น้องร่วมมารดาบิดา ๔ คนตามลำดับดังนี้.-

    ๑. นางเคลือบ ทวดสิญจน์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)

    ๒. พระครูดิตถารามคณาศัย (ชม คุณาราโม)

    ๓. นางแฉ้ เพชรกลับ (ถึงแก่กรรมแล้ว)

    ๔. นายขาบ ทวดสิญจน์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)

    บรรพชา (บวชเป็นสามเณร)

    บรรพชาเมื่ออายุได้ ๑๕ ปี ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีชวด ตรงกับวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๕๕ ที่ วัดท่าไทร ตำบลทุ่งกง (ตำบลในขณะนั้น ซึ่งปัจจุบันคือ ตำบลท่าทองใหม่) อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีพระอุปัชฌาย์ชื่อ พระครูวิฑูรธรรมศาสตร์ (หลวงพ่อกล่อม สุนนฺโท) วัดโพธาวาส ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง ฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

     อุปสมบท (บวชเป็นพระภิกษุ)

     อุปสมบทเมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ในวันจันทร์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๓ ปี ชวด ตรงกับวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๔๖๐ ที่ วัดสนธิ์ ตำบลกะแดะ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีอุปัชฌาย์ชื่อ พระครูประกาศิตธรรมคุณ (หลวงพ่อเพชร อินฺทโชติ) วัดวชิรประดิษฐ์ ตำบลตะเคียนทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพระกรรมวาจาจารย์ชื่อ พระปลัดล้อม (ไม่ทราบฉายา) นามสกุล บุญชู รองเจ้าอาวาสวัดท่าไทร ตำบลท่าทองใหม่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพระอนุสาวนาจารย์ชื่อ พระอธิการยิ้ม (ไม่ทราบฉายา และวัด)

     วิทยฐานะ/วุฒิทางการศึกษา

     การศึกษาสายสามัญ.-

     สอบไล่ได้ประถมศึกษาปีที่ ๔ (ป. ๔) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗

     การศึกษาพระปริยัติธรรม.-

     สอบไล่ได้ประโยคนักธรรมชั้นโท เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ จากสำนักศาสนศึกษาวัดวชิรประดิษฐ์ ตำบลตะเคียนทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

     ป้ายบอกปากทางเข้า บ้านนาดอน หมู่ ๑๓ ต.ช้างขวา อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี

     ซึ่งเป็นบ้านเกิดของหลวงพ่อชม

     ในภาพ พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล (ผู้เรียบเรียง) , นางละม้าย ทวดสิญจน์ และญาติของหลวงพ่อชม

    ถ่ายภาพในที่ดินตรงจุดที่ตั้งบ้านของหลวงพ่อชมเมื่อครั้งอดีต (ที่บ้านนาดอน)

   งานการปกครอง

    พ.ศ. ๒๔๗๑ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าไทร ตำบลทุ่งกง (ปัจจุบันคือ ตำบลท่าทองใหม่ ) อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

    พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าคณะตำบลทุ่งกง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

    พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะอำเภอกาญ จนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

    งานด้านการศึกษา

    พ.ศ. ๒๔๖๐ ท่านพระครูดิตถารามคณาศัย (ชม คุณาราโม) ได้เข้าทำการสอนนักเรียนในโรงเรียนโรงเรียนประชาบาลตำบลทุ่งกง ๒ (วัดท่าไทร) เป็นเวลา ๑ ปี ซึ่งท่านมีภารกิจมากมายจึงได้มอบให้ นายแจ้ง บุญชู มาทำการสอนแทนจนถึง พ.ศ. ๒๔๖๕

     พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมประจำสำนักศาสนศึกษาวัดท่าไทร

     พ.ศ. ๒๔๘๖ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ตรวจข้อสอบธรรมสนามหลวงประโยคนักรรมชั้นตรี ของคณะสงฆ์

     พ.ศ. ๒๔๘๗ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสงฆ์ ในหน้าที่องค์การศึกษาประจำอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

     พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นต้นมา ท่านได้ชักชวน ชักนำคณะศิษยานุศิษย์ดำเนินการจัดสร้าง และท่านรับเป็นผู้อุปการะโรงเรียนวัดท่าไทร ให้เจริญรุ่งเรืองกระทั่งเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่อย่างที่ปรากฏในปัจจุบัน จนกระทั่งทางราชการได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนดังกล่าวมาเป็น โรงเรียนวัดท่าไทร (ดิตถานุเคราะห์) ใน พ.ศ. ๒๔๙๗ โรงเรียนดังกล่าวได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนวัดท่าไทร (ดิตถานุเคราะห์)” เนื่องจากพระครูดิตถารามคณาศัย (ชม คุณาราโม) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าไทรในสมัยต่อมา ท่านได้เอาใจใส่ต่อการจัดการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนของชาติ ให้การอุปการะสถานที่ เร่งพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนเป็นอย่างดียิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านได้เป็นผู้ทำการสอนในเมื่อไม่มีครูสอนเพียงพอและท่านยังได้สร้างอาคารเรียนเพิ่มเติม ให้แก่โรงเรียนประชาบาลตำบลท่าทองใหม่ ๑ (วัดท่าไทร) จนเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างดีอีกด้วย พ.ศ.๒๔๘๗-๒๕๑๙ รวม ๓๕ ปี ท่านได้รวบรวมเงินครบจำนวน ๑๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท ตามที่กฏหมายกำหนดไว้ในขณะนั้นเพื่อขอจดทะเบียนจัดตั้งเป็น “มูลนิธิสิญจนอุทิศดิตถารามวัดท่าไทร” โดยมอบให้ “คุณครูรัตนา เฉลิมพิพัฒน์ ชาวท่าทองใหม่ เป็นผู้ยืนเรื่องราวขอจัดตั้งมูลนิธิฯ

     พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้เป็นประธานผู้เริ่มก่อตั้งมูลนิธิสิญจนอุทิศติดถารามวัดท่าไทรเพื่อบำรุงกิจการพระพุทธศาสนา และบำรุงการศึกษาพระภิกษุสามเณรวัดท่าไทรและเพื่อการกุศลสาธารณประโยชน์ โดยได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นมูลนิธิตามกฏหมาย เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๒๒ ทะเบียนลำดับที่ ๑๒๒๒) ซึ่งมูลนิธิฯ ดังกล่าวนั้น ยังคงอยู่และสืบสานอุดมการณ์ของท่านอยู่จนกระทั่งปัจจุบันนี้

   ภาพแสดงสำนักงานงานมูลนิธิสิญจน์อุทิศดิตถาราม

ซึ่งตั้งอยู่ในที่ใกล้เคียงกับมณฑปหลวงพ่อชม(ทิศตะวันออกของมณฑป)

    งานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

     ๑. พ.ศ.๒๔๘๒ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการเทศนาสั่งสอนประชาชน

     ๒.จัดให้มีกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแผ่ศีลธรรม และปฏิบัติธรรมเนื่องในวันมาฆบูชาเป็นประจำทุกปี ผู้มาร่วมประชุมทำพิธี คือ พระภิกษุสามเณร ๒๕ รูป ประชาชน ๓๐๐ - ๓๕๐ คน

    ๓.จัดให้มีกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแผ่ศีลธรรมและปฏิบัติธรรม เนื่องในวันวิสาขบูชา เป็นประจำทุกปี ผู้มาร่วมประชุมทำพิธีคือ พระภิกษุสามเณร ๓๐ รูป ประชาชนประมาณ ๓๐๐ - ๓๕๐ คน

     ๔.จัดให้มีกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแผ่ศีลธรรมและปฏิบัติธรรม เนื่องในวันอัฏฐมีบูชาเป็นประจำทุกปี ผู้มาร่วมประชุมทำพิธีคือ พระภิกษุ สามเณร ๓๐ รูป ประชาชนประมาณ ๓๐๐ - ๓๕๐ คน

     ๕.จัดให้มีกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแผ่ศีลธรรมและปฏิบัติธรรมเนื่องในวันอาสาฬหบูชาเป็นประจำทุกปี ผู้มาร่วมประชุมทำพิธี พระภิกษุสามเณร ๓๐ รูป ประชาชนประมาณ ๓๐๐ - ๓๕๐ คน

      ๖.มีการอบรมพระภิกษุสามเณร หลังจากทำวัตรสวดมนต์เช้า-เย็น เป็นประจำตลอดปี โดยอบรมเกี่ยวกับเรื่องพระธรรมวินัย และ การวางตนต่อภิกษุสามเณรด้วยกันและประชาชน

      ๗. มีการอบรมศีลธรรม ไหว้พระสวดมนต์และอบรมจรรยามารยาทแก่เด็ก เยาวชน และ พุทธบริษัททั่วไปเป็นประจำเสมอมา เช่น ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันธรรมสวนะ วันศารท วันนัก ขัตตฤกษ์ เป็นต้น

      ๘.มีผู้มาฟังธรรมเป็นประจำทุกวันธรรมสวนะ ประมาณ ๗๐-๘๐ คน ตลอดปี

       ๙.มีการอบรม ปาฐกถาธรรม แก่ประชาชน นักเรียน โดยแนะนำเรื่องการทำมาหากิน การไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ให้มีความเมตตากรุณาต่อกัน รู้จักมัธยัสถ์ รู้จักแบ่งทรัพย์ที่หามาได้ให้เป็นส่วน ๆ รู้จักการจับจ่ายใช้สอยแต่พอดี ไม่ฟุ่มเฟือยจนเกินตัว และรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เป็นต้น

      ๑๐.ร่วมมือกับคณะสงฆ์และทางราชการ นการเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาให้แก่ประชาชน ในเขตรับผิดชอบเป็นประจำทุก ๆ ปี

      ๑๑.ให้คำปรึกษาหารือและความอบอุ่นทางจิตใจแก่ผู้ที่ประสบปัญหาเดือดร้อน ผู้มาขอคำปรึกษา ผู้มาบำเพ็ญกุศล และผู้มาพบปะสนทนาธรรมที่วัดประมาณวันละ ๒๐-๓๐ คน เป็นประจำตลอดปี

      งานด้านสาธารณูปการ

      ๑.ให้อุปการะและได้สร้างอาคารเรียนให้แก่โรงเรียนประชาบาลตำบลท่าทองใหม่ ๑ (วัดท่าไทร) เพื่อให้เป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนของเด็กและเยาวชนในบ้านท่าทอง ซึ่งต่อมาในปีพ.ศ.๒๔๙๘ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนวัดท่าไทร(ดิตถานุเคราะห์)

      ๒.เป็นผู้ชักนำประชาชนพุทธบริษัทและจัดหางบประมาณสร้างซุ้มประตูและกำแพงรอบวัดท่าไทร

      ๓.เป็นผู้ชักนำประชาชนพุทธบริษัทและจัดหางบประมาณสร้างเมรุเผาศพ พร้อมศาลาบำเพ็ญกุศลศพ (ศาลาประชาคณาศัย) ที่วัดท่าไทร

     ๔.เป็นผู้ชักนำประชาชนพุทธบริษัทจัดสร้างถนนสาย สะพานดิน - ทับท้อน เป็นระยะทางยาวประมาณ ๕ กิโลเมตร

     ๕. จัดให้มีการสร้างถังน้ำประปาขึ้นใช้ภายในวัดท่าไทร

      ๖. พ.ศ.๒๔๙๕ ได้หล่อพระพุทธรูปขนาดเท่าตัวจริงหลวง พ่อชม จำ นวน๑ องค์ ,พระประจำวัน ๘ องค์ และขณะเดียวกันคณะศิษยานุศิษย์ได้หล่อรูปเหมือนหลวงพ่อชมขนาดเท่าองค์จริง ๑ องค์ด้วย สมณะศักดิ์ครั้งหลังสุด

      พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษที่ พระครูดิตถารามคณาศัย ภาพถ่ายซึ่งศิษยานุศิษย์ขออนุญาตถ่ายเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสต้อนรับสัญญาบัตรพัดยศ

      พระครูเจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ ในราชทินนาม “พระครูดิตถารามคณาศัย)

      ตำแหน่งครั้งหลังสุด

      พ.ศ. ๒๔๗๑-๒๕๒๒ ดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดท่าไทร พ.ศ. ๒๔๙๕-๒๕๒๒ ดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าคณะอำเภอกาญจนดิษฐ์

      มรณภาพ

      พระครูดิตถารามคณาศัย (ชม คุณาราโม) ได้มรณภาพลงด้วยอาการอันสงบที่ วัดท่าไทร เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๒ เวลาประมาณ ๐๙.๐๐ น. ในขณะที่ท่านมีอายุได้ ๘๒ ปี ๖๒ พรรษา

       ประชาชนและพุทธบริษัทวัดท่าไทร และวัดใกล้เคียง รวมทั้งพ่อค้าประชาชนทั่วไป ได้ร่วมกันจัดให้มีการบำเพ็ญกุศลศพท่านเป็นเวลา ๑๕ วัน ๑๕ คืน ทำบุญ ๕๐ วัน, และทำบุญ ๑๐๐ วัน แล้วจึงได้เก็บศพไว้บำเพ็ญ กุศลสวดพระอภิธรรมศพเป็นประจำทุกวันธรรมสวนะ(วันพระ)และได้จัดให้มีการพระราชทานเพลิงศพอย่างสมเกียรติ(เผาจำลอง) ในวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๒๓ เสร็จแล้วได้สร้าง“มณฑป”ไว้เป็นที่เก็บบรรจุศพของท่านและเก็บอัฐิและรูปเหมือนของอดีตเจ้าอาวาสวัดท่าไทร เพื่อสักการะบูชาของประชาชนพุทธบริษัทสืบต่อมาจนกระทั่งทุกวันนี้

      ภาพมณฑปเป็นที่บรรจุศพของหลวงพ่อชม,เก็บอัฐิและรูปเหมือนของอดีตเจ้าอาวาสวัดท่าไทร

     ซึ่งผู้มีจิตศรัทธามาสักการะอยู่เป็นประจำไม่เคยขาด

      รูปเหมือนเท่าขนาดองค์จริงของหลวงพ่อชม ซึ่งประดิษฐานไว้ในมณฑป เพื่อสาธุชนทั่วไปได้สักการะบูชาให้เกิดสิริมงคล

      คุณธรรมที่ควรสรรเสริญและถือเป็นเยี่ยงอย่างแก่อนุชนรุ่นหลัง

      พระครูดิตถารามคณาศัย (ชม คุณาราโม) ท่านเป็นพระเถระ ที่มั่นคงในสัมมาปฏิบัติตาม พระธรรมวินัย เพรียบพร้อมด้วยสีลาจารวัตร และพรหมวิหารธรรม มีจิตใจโอบอ้อมอารี มีเมตตาแก่ศิษยานุศิษย์และคนทั่วไป ชอบบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ และชอบช่วยเหลือประชาชนทั่วไป โดยไม่เลือกชนชั้นวรรณะ และไม่เลือกศาสนาอีกด้วย ท่านเป็นผู้ที่พูดจริงทำจริง จึงทำให้เป็นที่เคารพ นับถือของประชาชนทั่วไปทั้งพุทธ คริสต์ และอิสลาม ได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่สถาบันพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่วัดท่าไทรให้มีสภาพดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็เกิดขึ้นด้วยสติปัญญา บารมีและความสามารถของท่านหลวงพ่อชม ของพวกเรานี่เอง

     อนึ่งหลวงพ่อชมท่านเป็นผู้ที่เอาใจใส่ต่อการศึกษาและส่งเสริมให้ศิษยานุศิษย์ให้ได้รับการศึกษา เป็นอย่างดีโดยท่านได้ส่งศิษย์ที่ท่านเห็นว่าขยันศึกษาเล่าเรียนจริง ๆ ให้ได้รับการศึกษาในระดับชั้นที่สูงขึ้นไปตามความสามารถจนกระทั่งเรียนจบมีชื่อเสียงในสังคมมากมาย เช่น พระมหาสนอง วิโรจโน ป.ธ.๙, นายปรีดา กนกนาค เป็นต้น+ ท่านได้อบรม แนะนำ สั่งสอน ให้ผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครองและประชาชนทั่วไปให้เป็นคนที่ดี มีความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ซึ่งท่านได้ถือปฏิบัติเป็นหน้าที่สำคัญและปฏิบัติมาตลอดชีวิต จนเป็นที่เคารพ ศรัทธาสักการะนับถือของคนทั่วไปทั้งที่ใกล้และที่ไกล จนสามารถกล่าวได้อย่างสนิทใจว่า คนชาวกาญจนดิษฐ์ ดอนสัก ล้วนแล้วแต่เป็นศิษย์ของหลวงพ่อชม

    ปัจจุบันนี้ถึงแม้ว่าร่างกายของหลวงพ่อชมจะได้สิ้นสลายไปตามกาลเวลานานแล้วก็ตาม แต่คุณงามความดีและจริยาวัตรแนวการปฏิบัติของท่าน ก็ยังคงปรากฏติดตา ตรึงใจและเป็นที่ยกย่อง สรรเสริญ สักการะบูชาของคณะศิษยานุศิษย์ อุบาสก อุบาสิกา และ ประชาชนทั่วไปอยู่มิเสื่อมคลาย จนถึงกับได้จัดให้มีงานสรงน้ำรูปเหมือนของท่านในวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๕ (วันจบปีจบเดือน) ของทุก ๆ ปี โดยเรียกงานนี้ว่า “งานวันกตัญญู” ตราบจนกระทั่งทุกวันนี้     



 
------------------------
  หน้าหลัก  
  คำถามที่มีการถามบ่อย  
  เราเล่นพระทำไม ?  
  กฎหมายพระเครื่อง  
  เกร็ดเล็ก-เกร็ดน้อย  
  สมัครเปิดร้านค้า  
  การชำระเงินค่าร้านค้า  
  ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง  
  ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับร้านค้า  
 
หน้าหลัก  อดีตสู่ปัจจุบัน  เว็บบอร์ดชมรม  ตารางประกวดพระ  สาระน่ารู้  เล่าสู่กันฟัง  ติดต่อเรา
Copyright©2024 zoonphra.com
Powered by Tactical IT