เว็บลิ้งค์ชมรมต่างๆ

เว็บไซต์วัดเกจิดังในสยาม
วัดอัมพวัน จ. สิงห์บุรี
วัดหนองป่าพง จ. อุบลฯ
วัดเขาแหลม จ. สระแก้ว
หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
วัดหัวป่า อ. ระโนด จ. สงขลา
วัดแก้วโกรวาราม จ. กระบี่
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
หลวงสมชาย วัดเขาสุกิม
ป้อนหมายเลขสิ่งของ


***พิมพ์หมายเลขสิ่งของจำนวน 13 หลัก

รายละเอียดเพิ่มเติม

  หน้าหลัก  :  อดีตสู่ปัจจุบัน  :  เว็บบอร์ดชมรม  :  ตารางประกวดพระ  :  สาระน่ารู้  :  เล่าสู่กันฟัง  :  ติดต่อเรา

อดีตสู่ปัจจุบัน
19-03-2015 Views: 34579

      เว็บศูนย์พระเครื่องดอทคอมเป็นศูนย์แห่งการรวบรวมชีวประวัตเกจิอาจารย์ดังและพระเครื่องเมืองไทยที่ใหญ่ที่สุด ได้ก่อกำเนิดเกิดขึ้นจากเด็กคนหนึ่งซึ่งพื้นแพเป็นคน ต. คลองแดน อ. ระโนด จ. สงขลา มาตั้งแต่บรรพบุรุษ ซึ่งเป็นคลองขนาดใหญ่ที่ประสานหรือเชื่อมโยงหรือที่ชาว กทม.ชอบเรียกว่าเส้นใยแมงมุม ระหว่างลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา กับลุ่มแม่น้ำปากพนัง และทะเลน้อยเข้าด้วยกัน สายใยสัมพันธ์กับถิ่น แม่น้ำตาปี ลุ่มน้ำพุมดวง ลุ่มน้ำฉวี ลุ่มน้ำหลังสวน ดังเช่นสายเลือดที่หล่อเลี้ยงมาตั้งแต่อดีต 40 กว่าปี ความมีมนต์ขลังเสน่ของลุ่มน้ำที่พ่อเฒ่าแม่เฒ่าและปู่ย่าตายายได้เล่าให้ฟัง ไม่เคยเจือจ่างล้มหายไปกับกาลเวลา ความศักสิทธ์ของพระเกจิอาจารย์ดังของบริเวณลุ่มน้ำถูกกล่าวขานกระเพื่อมขึ้นมาอีกครั้งในยุคของโลก "ไชเบอร์" มีชื่อวัดหลายๆ ชื่อที่ท่านเคยไปสัมผัสมาแต่ก็มีอีกหลายๆชื่อที่พ่อเฒ่าแม่เฒ่าได้เล่าให้ฟังแต่ก็มีอีกไม่น้อยที่ท่านไม่เคยเห็นภาพแม้แต่มโนภาพขึ้น เกี่ยวกับวัดพระเกิอาจารย์ดังบริเวณลุ่มน้ำ เช่น วัดปากแพรก วัดหรงบล วัดท่าเรือ วัดพัทธสีมา วัดรามแก้ว วัดคลองแดน วัดผาสุการาม วัดหัวป่า วัดหัววัง วัดระโนด วัดอ่าวบัว  วัดคูขุด วัดแหลมวัง วัดป่าขาด วัดธรรมโฆษณ์ วัดแหลมจาก วัดปากจ่า วัดปากพยูน วัดแหลมทราย  วัดเขาอ้อ วัดดอนศาลา ฯลฯ วัดทั้งหมดเหล่านี้ล้วนแต่เป็นวัดที่อยู่ใกล้ลุ่มน้ำทั้งสิ้น ท่านผู้อ่านที่เคารพกระผมคิดว่าเว็บศูนย์พระเครื่องแห่งนี้น่าจะมีประโยนช์อยู่บ้างไม่มากก็น้อยขึ้นอยู่กับแต่ละคน กระผมต้องขอขอบคุณทุกๆ ท่านที่ได้เข้ามาอ่าน

                                                      ขอบคุณครับ
                                                วีรพงศ์ พรหมมนตรี
                                                      อ้น ระโนด

       ฉะนั้นนับจากนี้เป็นต้นไปกระผมจะนำภาพเก่าๆในอดีตที่กล่าวมาทั้งหมดเข้าสู่โลกของ ไชเบอร์ โลกที่ไม่เคยหลับใหล และก็เป็นโลกที่ไม่มีขอบเขตหรือที่บางคนเรียกว่าโลกไร้พรหมแดน ได้นำพาท่านไปเที่ยวชมเสมือนกับได้สัมผัสจริงๆ จากคนในพื้นที่ด้วยวิถีชีวิตจริงโดยไม่ได้เติมแต่ง

จากอดีตสู่ปัจจุบัน

 ชีวิตได้ผ่านไปหลายสิบปี จากพื้นดินที่ต้องเดินด้วยเท้าเปล่าผ่านในมาบหญ้ารกบนหัวนาและไปดูหนังฉายกลางแปลงได้กินถั่วคั่วตอนพระจันทร์เต็มดวง เคยเห็นภาพที่พี่ป้าน้าอาขึ้นต้นตาลและได้เอยปากตะโกนขอน้ำตาลกินหวานชื่นใจ ภาพทีเคยเข้าไปกราบหาพ่อท่านวัดใกล้บ้านเพื่อขอลาทับน้ำผึ้งกิน จากภาพที่เคยนั่งเรือหางยาวจากตำบลเล็กๆสู่อำเภอและจากอำเภอนอนในเรือยนต์เพื่อจะเข้าในตัวจังหวัด ภาพเหล่านั้นเริ่มที่จะ เจือจ่างหายไปทีละนิดที่ละหน่อยจากความทรงจำ จากโลกของความจริงที่จับต้องได้ ชึ่งเต็มไปด้วยธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ข้าวในนาเขียวชะอุ้ม จากพื้นที่บริเวณกว้างขวางเต็มไปด้วยต้นไผ่กับต้นโตนด ทะเลทั้งสองฝั่งที่กว้างขวางมองไปสุดสายตาอันยาวไกล ด้านทิศตะวันออกก็เป็นทะเลอ่าวไทย ด้านทิศตะวันตกก็เป็นทะเลอันดามัน ส่วนบริเวณตรงกลางของสองฝั่งทะเลก็เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของไทย รอบๆทะเลสาบก็เป็นพื้นที่เชื่อมต่อของ 3 จังหวัด สงขลา พัทลุง นครศรีฯ ซึ่งมีเกจิอาจารย์ดังหลายๆท่านด้วยกัน เช่น หลวงพ่อเรือง วัดหัววัง หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า พระอาจารย์วัน วัดปากพยูน หลวงพ่อคง วัดธรรมโฆษณ์ หลวงพ่อยอด วัดอ่าวบัว หลวงพ่อเส้ง วัดแหลมทราย พ่อท่านจันทร์ วัดแหลมวัง อาจารย์มหาลอย วัดแหลมจาก ปากหรอ ส่วนจังหวัดนครศรีฯ ก็มี หลวงพ่อรุ่ง วัดรามแก้ว หลวงพ่อหนูจันทร์ วัดพัทธสีมา พ่อท่านขาว วัดปากแพรก หลวงปู่เขียว วัดหรงบล พระครูนนท์ วัดนันทาราม หลวงพ่อเพิ่มวัดท่าเรือ อีกด้านก็เป็นทะเลน้อย เต็มไปด้วยวัดเกจิดังสายเขาอ้อ ฯลฯ วัดเหล่านี้ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมในอดีตและเป็นเส้นทางที่ผมเดินทางด้วยเรือหางยาวจากตำบลคลองแดนซึ่งเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอระโนดที่เป็นลำคลองสายหลักกว้างใหญ่ในอดีตที่เชื่อมระหว่าง 3 ดินแดนแหล่งเกจิอาจารย์ดังของลุ่มแม่น้ำปากพนัง แล้วมาต่อเรือยนต์หรือที่เรียกว่าเรือนอนเพื่อเข้ามาเรียนหนังสือในตัวจังหวัดสงขลาจนจบมัธยมปลาย ซึ่งเรียนต่อปริญญาตรีและปริญญาโทในเวลาต่อมา ภาพเหล่านั้นกำลังจะเข้าสู่ของโลกเสมือนหรือที่หลายๆคนเรียกว่าโลก “ไชเบอร์”  ในปัจจุบัน 

                                        อ้น ระโนด

 

จากใจผู้เขียน

     เป็นปกติวิสัยที่ชีวประวัติของพระมหาเถระหรือเกจิอาจารย์ดังทั่วไปของภาคใต้ จะมีหลายฉบับหลายที่มาเพราะคนสมัยก่อนไม่นิยมที่จะบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นไปได้ว่าในสมัยนั้นการหากระดาษมาบันทึกก็หายากเต็มที แม้แต่นักเรียนก็ยังต้องใช้กระดานชนวนขีดเขียนแทน ซึ่งเมื่อเขียนเต็มหน้ากระดานแล้วก็ต้องลบทิ้งจึงจะเขียนใหม่ได้ อีกอย่างหนึ่งคือเรื่องกำลังทรัพย์ในการซื้อหา พูดได้ว่าเด็กสมัยโน้นต้องรักษากระดานชนวนให้ดีอย่าเผลอทำตกเป็นอันขาด เพราะมันแตกง่ายแต่การจะได้มาใหม่สักอันมันยากซะเหลือเกิน บ้านที่มีฐานะดีเท่านั้นที่สามารถมีกระดานชนวนได้หลายๆแผ่น จึงไม่เป็นเรื่องแปลกที่พงศาวดารหรือเรื่องราวในอดีตทางภาคใต้ โดยส่วนมากจะเล่ากันต่อๆมา จากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูก รุ่นลูกสู่รุ่นหลาน แล้วจึงมีการจดบันทึกในภายหลัง ซึ่งก็เป็นที่แน่นอนว่าประวัติเรื่องราวอาจจะคลาดเคลื่อนได้ ขึ้นอยู่กับมากหรือน้อยเท่านั้น

       อย่างประวัติของเกจิอาจารย์ดังภาคใต้อีกหลายๆท่านก็เช่นเดียวกัน มีประวัติหลายฉบับที่คนรุ่นหลังได้จดบันทึกหรือเขียนขึ้น ซึ่งบางครั้งก็มีคลาดเคลื่อนไปบ้าง ทั้งนี้ทั้งนั้นสาเหตุก็คือแหล่งที่มาของข้อมูลนั่นเอง แม้กระทั่งผู้เขียนเองก็ได้ประวัติของเกจิอาจารย์ดังภาคใต้จากหลายแหล่งที่มา แต่เมื่อนำคำบอกเล่ามาผนวกกับข้อมูลหลักฐานที่วัดของเกจิอาจารย์ดังมีอยู่ จึงประวัติของเกจิอาจารย์ดังภาคใต้ครั้งนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่ให้เกิดความเข้าใจตรงกัน

      ผู้เขียนได้ศึกษาจากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ ซึ่งเป็นศิษย์ของเกจิอาจารย์ดังสมัยนั้น ซึ่งนับวันก็เหลือน้อยเต็มทีแล้ว บางท่านอายุเกินร้อยแล้วก็มี บางท่านมาอยู่ที่วัดตั้งแต่เด็กๆ บางท่านเป็นผู้ใกล้ชิดปรนนิบัติเกจิอาจารย์ บางท่านสมัยเป็นสามเณรได้เดินทางไปธุดงค์กับเกจิอาจารย์ บางท่านเป็นหลานเป็นเหลน

                                      อ้น ระโนด

 

คลองแดนบ้านเกิดของฉัน

      คลองแดนพื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำ ลำคลองเป็นสายหลักในการดำรงชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ โดยมีลำคลองขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเขตแดนธรรมชาติที่กั้นระหว่าง อ.ระโนด จ.สงขลา และ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ตำบลนี้จึงใช้ชื่อว่าตำบลคลองแดน มองย้อนกลับไปประมาณเมื่อปีทีผ่านมาของตำบลคลองแดน จากความทรงจำของกระผม สมัยยังเป็นเด็กนักเรียนที่ โรงเรียนวัดคลองแดน พร้อมอุปถัมภ์ คลองแดนเต็มไปด้วยเรือนไม้อายุตั้งแต่ 50-100 ปี มุงด้วยกระเบื้องดินเผาแผ่นบางเฉียบจากเกาะยอ และมีแต่สะพานไม้เคี่ยมทอดยาวตั้งแต่ตลาดทิศตะวันออกจนถึงตะวันตกยาวประมาณ 2 กิโลเมตร เด็กสมัยนั้นไม่ค่อยมีรองเท้าใส่กันนอกเสียจากจะไปในตัว อ. หัวไทร หรือ อ. ระโนด จึงจะใส่กัน เด็กส่วนมากจะเดินเท้าเปล่า สะพานไม้เคี่ยมจะมีเสี้ยนสีดำๆ ถ้าเดินไม่ระวังจะถูกเสี้ยนไม้แทง การเดินเท้าเปล่าบนสะพานตอนเช้ายังเดินแบบสบาย เพราะสะพานยังไม่ร้อน แต่พอช่วงกลางวันแดดจัดๆบนพื้นไม้สะพานร้อนมากจนอาจทำให้พองได้ จึงต้องเดินให้เร็วหรือวิ่งหรือไม่ก็ต้องหลบไป หรือเดินตรงบริเวณที่มีเงาบ้าน บ้านจะสร้างติดสะพาน ทอดยาวเชื่อมติดกันตลอด และมีแนวชายคาบ้านยื่นออกมาเกือบครึ่งสะพาน เมื่อถึงหน้าฝน คลองแดนจะเกิดน้ำท่วมหรือน้ำพะทุกปีทำให้กระดานไม้เคี่ยมหลุดลอยไปกับน้ำทำให้เกิดเป็นร่อง ถ้าเดินไม่ระวังก็ตกร่องหรือลอดร่องสะพาน ต้องเดินงมกันไปตลอดทาง กว่าจะถึงที่หมายก็ใช้เวลานานพอควร จำได้ว่านักเรียนคนไหนที่พลาดตกร่องเสื้อผ้าเปียกก็กลับบ้านไม่ต้องเรียนหนังสือในวันนั้น ก็ได้เล่นน้ำทั้งวันไป สมัยนั้นแต่ละบ้านส่วนมากจะมีเรือพายใช้กัน คลองแดนมีเรือหางยาวที่เป็นเอกลักษณ์ของคนคลองแดนเป็นเรือมาดที่ขุดจากต้นไม้ทั้งต้นตัวเรือจะเรียวสวยงามมาก เป็นเรือรับจ้างวิ่งรับผู้โดยสารจากตำบลต่างๆ และระหว่างอำเภอ ตลอดจนจังหวัดใกล้เคียง เช่น สงขลานครศรีธรรมราช พัทลุง ประมาณได้ว่าเกือบ 100 ลำ ผู้คนเดินเบียดเชียดประมาณได้ว่าน่าจะถึงพันคน ร้านทองเหลืองอร่ามสี่ถึงห้าร้าน โรงสีข้าวเรียงลายตามแนวชายคลองหกถึงเจ็ดโรง ร้านตัดผม ร้านน้ำชาอีกหลายสิบร้าน ร้านข้าวยำขนมจีน เถ้าคั่ว โรงมโนห์รา มีสนามชนโค สนามชนไก่ ที่มีความคึกคักทั้งวันทั้งคืน ท่าเรือและตลาดคลองแดนไม่เงียบเหงาเหมือนสมัยนี้ คลองแดนเป็นเมืองน้ำ ชาวคลองแดนจะต้องยอมรับความจริงในข้อนี้และเมื่อเป็นเมืองน้ำก็ต้องพยายามหาประโยชน์จากทางน้ำ จะขอกล่าวย้อนหลังไปเมื่อหลายสามสิบกว่าปีที่ผ่านมา เส้นทางการคมนาคมของชาวคลองแดนคือทางเรือ แต่เมื่อถนนสายหัวเขาแดงสร้างเสร็จความสำคัญทางเรือก็เริ่มลดน้อยลงไป ในสมัยก่อนมีเรือหางยาววิ่งจากคลองแดนไประโนด จากคลองแดนไปชะอวด จากคลองแดนไปหัวไทรและปาพนัง จากคลองแดนไปทะเลน้อย

อ้น ระโนด
วีรพงศ์ พรหมมนตรี


 
------------------------
  หน้าหลัก  
  คำถามที่มีการถามบ่อย  
  เราเล่นพระทำไม ?  
  กฎหมายพระเครื่อง  
  เกร็ดเล็ก-เกร็ดน้อย  
  สมัครเปิดร้านค้า  
  การชำระเงินค่าร้านค้า  
  ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง  
  ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับร้านค้า  
 
หน้าหลัก  อดีตสู่ปัจจุบัน  เว็บบอร์ดชมรม  ตารางประกวดพระ  สาระน่ารู้  เล่าสู่กันฟัง  ติดต่อเรา
Copyright©2025 zoonphra.com eon_werapong123@hotmail.com
Powered by Tactical IT