เว็บลิ้งค์ชมรมต่างๆ

เว็บไซต์วัดเกจิดังในสยาม
วัดอัมพวัน จ. สิงห์บุรี
วัดหนองป่าพง จ. อุบลฯ
วัดเขาแหลม จ. สระแก้ว
หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
วัดหัวป่า อ. ระโนด จ. สงขลา
วัดแก้วโกรวาราม จ. กระบี่
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
หลวงสมชาย วัดเขาสุกิม
ป้อนหมายเลขสิ่งของ


***พิมพ์หมายเลขสิ่งของจำนวน 13 หลัก

รายละเอียดเพิ่มเติม

  หน้าหลัก  :  อดีตสู่ปัจจุบัน  :  เว็บบอร์ดชมรม  :  ตารางประกวดพระ  :  สาระน่ารู้  :  เล่าสู่กันฟัง  :  ติดต่อเรา
ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: หลวงพ่อดำ วัดตุยง
ประวัติหลวงพ่อดำ วัดมุจลินทวาปีวิหาร (วัดตุยง)
17-10-2009 Views: 15359

    พระราชพุทธิรังษี (หลวงพ่อดำ) เป็นพระสงฆ์ที่ชาวไทยพุทธเลื่อมใสศรัทธาว่าท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย และมีวาจาศักดิ์สิทธิ์

    ปัจจุบันทางวัดมุจลินทวาปีวิหาร (วัดตุยง) ได้สร้างศาลาประดิษฐานรูปปั้นหลวงพ่อดำเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้เคารพสักการะ

    หลวงพ่อดำ มีนามเดิมว่า ดำ นามสกุล จันทรักษ์ เกิดวันเสาร์ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๗ ที่ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา บิดามีนามว่า หลวงจรานุรักษ์เขตร (พลับ จันทรักษ์) มารดามีนามว่า นางพ่วนเหนี่ยว จันทรักษ์ เด็กชายดำ จันทรักษ์ เริ่มการศึกษาที่บ้าน โดยเรียนกับบิดาจนอ่านออกเขียนได้ จนถึงอายุได้ ๑๙ ปี จึงบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดนาทับ ได้ศึกษาหนังสือขอม ทั้งขอมไทยและขอมบาลีจนเชี่ยวชาญ ระหว่างที่เป็นสามเณรได้เกิดอาพาธจึงได้ลาสิกขาชั่วคราว เหตุผลเพราะยาโบราณต้องผสมสุรา

     เมื่อหายอาพาธแล้วจึงได้กลับมาอุปสมบทในขณะที่มีอายุ ๒๒ ปี ได้นามฉายาครั้งแรกว่า "นนฺทิยมาโน" ต่อมาได้เดินทางไปกรุงเทพฯ โดยได้ไปจำวัดที่วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภุชงค์) วัดราชบพิธ ได้ทรงเปลี่ยนนามฉายาให้ใหม่เป็น "นนฺทิโย" ซึ่งเป็นคำนาม แปลว่า "ผู้เป็นที่ตั้งแห่งความเพลิดเพลิน" แล้วทรงฝากให้ศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกสามัญและแผนกบาลีที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ โดยมิได้เข้าสอบสนามหลวง โดยท่านได้เดินทางกลับปัตตานีอีกครั้ง

      มาประจำอยู่ที่วัดมุจลินทวาปีวิหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี และได้เปิดสอนนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ขึ้นที่วัดมุจลินทวาปีวิหาร โดยท่านสามารถสอบนักธรรมชั้นตรีได้ ซึ่งข้อสอบทุกวิชาจะมีวิชาละ ๑๔ ข้อ (ต่อมา พ.ศ. ๒๔๘๐ เปลี่ยนข้อสอบเหลือเพียง ๗ ข้อเท่านั้น) ใครสอบผ่านได้จะต้องใช้ความเพียรและใข้สติปัญญาอย่างมาก หลวงพ่อดำ จำพรรษาที่วัดมุจลินทวาปีวิหารตลอดมา จนถึงวาระมรณภาพ โดยมีตำแหน่งและสมณศักดิ์ต่างๆ ดังนี้

     วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๔ เป็นฐานานุกรมของพระครูพิบูลย์สมณวัตร (หลวงพ่อชุม) เจ้าอาวาสวัดมุจลินทวาปีวิหารที่ "พระใบฎีกา"

    วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๖ พระเทพญาณโมลี เจ้าคณะจังหวัดปัตตานี ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง "เจ้าคณะหมวดตุยง"

    วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระเทพญาณโมลี เจ้าคณะจังหวัดปัตตานี ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง "ผู้ช่วยเจ้าคณะแขวงตุยง"

    วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สัญญาบัตรเป็นที่ "พระครูกนิตสมณวัตร"

    วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งสาธารณูปการจังหวัดปัตตานี

    วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สัญญาบัตรเป็นพระราชาคณะ (เจ้าคุณ) ชั้นสามัญที่ "พระมุจลินทโมลี"

    วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดปัตตานี

    วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สัญญาบัตรเป็นพระราชาคณะ ชั้นราชที่ "พระราชพุทธิรังษี"

     พระราชพุทธิรังษี หรือหลวงพ่อดำ ได้บริหารคณะสงฆ์และงานก่อสร้างสังฆเสนาสนะตลอดถึงงานทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยประหนึ่งปาฏิหาริย์ ทั้งนี้เป็นเพราะปาฏิหาริย์ประพฤติดีประพฤติชอบ โดยงานก่อสร้างแม้จะเต็มมือ แต่ก็ยังคงปฏิบัติสมณกิจอย่างสม่ำเสมอ และท่านยังได้เดินจงกรมตั้งแต่เวลา ๑๙.๐๐ - ๒๒.๐๐ น. เป็นประจำ อีกทั้งยังเข้าห้องนั่งสมาธิตลอดมาจนถึงวาระสุดท้าย ท่านได้มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ รวมอายุได้ ๙๐ ปี พุทธศาสนิกชนส่วนมากเรียกท่านว่า "หลวงพ่อดำ" ชาวพุทธจากที่ต่างๆ เมื่อเดินทางมาจังหวัดปัตตานี มักแวะมาเคารพสักการะรูปเหมือนหลวงพ่อดำที่วัดมุจลินทวาปีวิหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ด้วยความรู้สึกที่เลื่อมใสศรัทธาตลอดมา



 
------------------------
  หน้าหลัก  
  คำถามที่มีการถามบ่อย  
  เราเล่นพระทำไม ?  
  กฎหมายพระเครื่อง  
  เกร็ดเล็ก-เกร็ดน้อย  
  สมัครเปิดร้านค้า  
  การชำระเงินค่าร้านค้า  
  ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง  
  ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับร้านค้า  
 
หน้าหลัก  อดีตสู่ปัจจุบัน  เว็บบอร์ดชมรม  ตารางประกวดพระ  สาระน่ารู้  เล่าสู่กันฟัง  ติดต่อเรา
Copyright©2024 zoonphra.com
Powered by Tactical IT