เว็บลิ้งค์ชมรมต่างๆ

เว็บไซต์วัดเกจิดังในสยาม
วัดอัมพวัน จ. สิงห์บุรี
วัดหนองป่าพง จ. อุบลฯ
วัดเขาแหลม จ. สระแก้ว
หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
วัดหัวป่า อ. ระโนด จ. สงขลา
วัดแก้วโกรวาราม จ. กระบี่
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
หลวงสมชาย วัดเขาสุกิม
ป้อนหมายเลขสิ่งของ


***พิมพ์หมายเลขสิ่งของจำนวน 13 หลัก

รายละเอียดเพิ่มเติม

  หน้าหลัก  :  อดีตสู่ปัจจุบัน  :  เว็บบอร์ดชมรม  :  ตารางประกวดพระ  :  สาระน่ารู้  :  เล่าสู่กันฟัง  :  ติดต่อเรา
ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: ประวัติพระวิปัสสนาจารย์
ประวัติพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
13-10-2009 Views: 18063
ประวัติพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นพระที่มีเมตตา จนได้รับการยกย่องเป็นเทพเจ้าแห่งอีสาน ไม่ว่าท่านจะไปอยู่ ณ ที่ใด ผู้คนพากันไปกราบไหว้ท่านด้วยความเคารพ และพระอาจารย์ฝั้น อาจาโรจะต้อนรับทุกคนอย่างเสมอหน้ากัน ไม่มีเด็กไม่มีผู้ใหญ่ ไม่มีคนจนคนรวย ไม่มีข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยทุกคนได้รับความเมตตาเอื้ออาทรเสมอหน้ากันทุกคน ท่านไม่เคยต้อนรับใครเป็นพิเศษ ท่านจึงเป็นพระของประชาชน พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เดิมชื่อฝั้น สุวรรณรงค์ เกิดวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ ที่ตำบลพรรณานิคม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร บิดาชื่อเจ้าไชยกุมาร (เม้า) สุวรรณรงค์ มารดาชื่อ นุ้ย สุวรรณรงค์ มีพี่น้อง ๘ คน พระอาจารย์ ฝั้น อาจาโรเป็นบุตรคนที่ ๔ ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดโพนทอง บ้านบะทอง ตำบลพรรณานิคม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร โดยประมาณปี พ.ศ. ๒๔๖๑ และในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ พระอาจารย์ ฝั้น อาจาโร มีอายุครบอุปสมบทเป็นพระในฝ่ายมหานิกาย มีพระครูป้อง (ป้อง นนทเสน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์นวล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สังข์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ที่วัดสุทธิบังคม ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ท่านได้จำพรรษาอยู่วัดสุทธิบังคม เมื่อออกพรรษาท่านมาอยู่ที่วัดโพนทอง บ้านบะทอง กับพระอาญาครูธรรม บ้านเกิดของท่านและได้ปฏิบัติฝึกกรรมฐานภาวนาครั้งแรกกับพระอาญาครูธรรม พระอาจารย์ฝั้นได้พบกับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ ที่วัดป่าภูไทสามัคคี พร้อมด้วยพระอาญาครูดี และภิกษุกู่ ธัมมทินโน พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พร้อมทั้งคณะถวายตัวเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ต่อมาพระอาจารย์ฝั้น อาจาโรและคณะได้พบกับ พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล ที่วัดโพธิ์ชัย บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณานิคม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ได้ศึกษาวิธีฝึกจิตภาวนาเบื้องต้น ต่อมาพระอาจารย์ดูลย์ อตุโล ได้นำพระอาจารย์ฝั้น อาจาโรและคณะไปพบกับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่บ้านตาลโกน ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ท่านได้ศึกษาอุบายวิธีการภาวนาจากพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตอย่างลึกซึ้งและได้ไปพบกับพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล แนวป่าที่บ้านหนองดินดำ ใกล้บ้านตาลโกน และไปพบพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ที่บ้านหนองหวาย ท่านได้ศึกษาปฏิบัติธรรมและต่อมาพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ออกจากสำนักของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตไปวิเวกที่พระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขามีความเงียบสงบ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้เปลี่ยนนิกายใหม่เป็นธรรมยุติกนิกาย เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ที่วัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ เป็นอุปัชฌาย์ พระอาจารย์รถ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มุก เป็นอนุสาวนาจารย์ ในพรรษาที่ ๑ ท่านได้เปลี่ยนนิกาย ญัตติเป็นธรรมยุต ได้อยู่กับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่วัดอรัญญวาสี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เมื่อออกพรรษาพระอาจารย์ฝั้น อาจาโรท่านได้เที่ยวบำเพ็ญเพียรแสวงหาความวิเวก ตามป่าช้า ป่าชัฏ ตามถ้ำ ภูเขา ป่า ไปตามจังหวัดอุดรธานี นครพนม อุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร ขอนแก่น นครราชสีมา กรุงเทพฯ เชียงใหม่ หนองคาย เมืองเชียงตุง เป็นต้น ท่านเป็นพระที่มีความเคารพอ่อนน้อมกับพระเถระผู้ใหญ่ที่เป็นครูบาอาจารย์มาก ถ้าท่านไปอยู่กับพระอาจารย์รูปใดหรือหมู่ใดจะไม่ได้รับความหนักใจ ท่านจะปฏิบัติด้วยความเคารพและเลื่อมใสในพระธรรมวินัย ด้วยความมั่นคงอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา พระอาจารย์ฝั้น อาจาโรเป็นพระที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดและใจดี เป็นที่รักของคนทั่วไป วาระสุดท้ายของพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบได้มาถึงในวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐ เวลา ๑๙.๕๐ น. พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้มรณภาพที่วัดป่าอุดมสมพร ตำบลพรรณานิคม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร รวมอายุได้ ๗๘ ปี ในสมัยที่พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร มีชีวิตอยู่ มักสอนศิษย์เสมอ ๆ ว่า ทุกคนจะต้องเข้ามหายุทธสงครามสักวันหนึ่ง คือการต่อสู้กับมัจจุราช เมื่อถึงวันนั้นแต่ละคนจะต้องสู้เพื่อตนเอง และสู้โดยลำพัง ผู้ที่สู้ได้ดีจะไปดี คือไปสุคติ ผู้ที่เพลี่ยงพล้ำจะไปร้ายคือไปสู่ทุคคติ อาวุธที่จะใช้ต่อสู้มีสิ่งเดียวคือสติ ซึ่งสร้างสมได้ด้วยจิตภาวนา คำสอนที่เป็นอมตะที่พระอาจารย์ฝั้นมักสอนอยู่เสมอ ๆ เกี่ยวกับเรื่องจิตเป็นหลัก


ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: ประวัติพระวิปัสสนาจารย์
»ประวัติพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
13-10-2009
»ประวัติ หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล วัดอนาลโยทิพยาราม
13-10-2009
»ประวัติ หลวงพ่อใช่ สุชีโว วัดปาลิไลยวัน
13-10-2009
»ประวัติ หลวงปู่จูม พนฺธุโล วัดโพธิสมภรณ์
13-10-2009
»ประวัติ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ วัดดอยธรรมเจดีย์
13-10-2009
»ประวัติ หลวงปู่อวน ปคุโณ วัดจันทิยาวาส
13-10-2009
»ประวัติ หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม วัดป่าสาลวัน
13-10-2009
»ประวัติ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล
13-10-2009
»ประวัติ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม
13-10-2009
»ประวัติ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต
13-10-2009
»ประวัติ หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง
13-10-2009
 
------------------------
  หน้าหลัก  
  คำถามที่มีการถามบ่อย  
  เราเล่นพระทำไม ?  
  กฎหมายพระเครื่อง  
  เกร็ดเล็ก-เกร็ดน้อย  
  สมัครเปิดร้านค้า  
  การชำระเงินค่าร้านค้า  
  ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง  
  ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับร้านค้า  
 
หน้าหลัก  อดีตสู่ปัจจุบัน  เว็บบอร์ดชมรม  ตารางประกวดพระ  สาระน่ารู้  เล่าสู่กันฟัง  ติดต่อเรา
Copyright©2024 zoonphra.com
Powered by Tactical IT