เว็บลิ้งค์ชมรมต่างๆ

เว็บไซต์วัดเกจิดังในสยาม
วัดอัมพวัน จ. สิงห์บุรี
วัดหนองป่าพง จ. อุบลฯ
วัดเขาแหลม จ. สระแก้ว
หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
วัดหัวป่า อ. ระโนด จ. สงขลา
วัดแก้วโกรวาราม จ. กระบี่
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
หลวงสมชาย วัดเขาสุกิม
ป้อนหมายเลขสิ่งของ


***พิมพ์หมายเลขสิ่งของจำนวน 13 หลัก

รายละเอียดเพิ่มเติม

  หน้าหลัก  :  อดีตสู่ปัจจุบัน  :  เว็บบอร์ดชมรม  :  ตารางประกวดพระ  :  สาระน่ารู้  :  เล่าสู่กันฟัง  :  ติดต่อเรา
ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: ไหว้พระ ลาวนครเวียงจันทร์
วัดองค์ตื้อมหาวิหาร นครหลวงเวียงจันทน์
04-08-2010 Views: 18198

 วัดองค์ตื้อมหาวิหาร เป็นหนึ่งในจำนวนหลาย ๆ วัดที่เก่าแก่ที่สุดในนครหลวงเวียงจันทน์และมีความหมายความสำคัญทางโบราณสถานและประวัติศาสตร์ เป็นวัดที่ทั้งประชาชนลาวและชาวต่างประเทศให้ความเคารพนับถือและให้ความสำคัญเป็นพิเศษ 

          ดั่งจะได้เห็นจากคำพูดที่ว่า "ผู้ใดเข้ามาในเวียงจันทน์ ไม่ได้ไปไหว้หลวงพ่อองค์ตื้อ ถือว่าไม่ได้มาถึงเวียงจันทน์" นอกจากนี้วัดองค์ตื้อยังเป็นที่ประกอบพิธีที่สำคัญต่าง ๆ ทางราชการในสมัยก่อน เช่น พิธีถือน้ำ (ดื่มน้ำสัตยาบรรณ)  อีกทั้งงานประเพณีบุญพระธาตุหลวงเสร็จสิ้นลง ยังต้องมาประกอบพิธีทำบุญอยู่วัดองค์ตื้อ - วัดอินแปงอีกจึงจะถือว่างานประเพณีบุญพระธาตุเสร็จสิ้นลงอย่างสมบูรณ์  วัดองค์ตื้อตั้งอยู่บนถนนพระไชยเชษฐา อยู่ห่างจากหอพระแก้วมาทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร ในสมัยก่อนวัดองค์ตื้อมีอาณาเขตติดกับวัดอินแปง วัดมีไชย และวัดหายโศก แต่ในปัจจุบันนี้ การพัฒนาของบ้านเมืองมีการขยายตัว มีการตัดถนนหนทางเพื่อความสวยงามและเป็นระเบียบเรียบร้อย ดังนั้นจึงทำให้วัดทั้ง 4 คือ วัดองค์ตื้อ วัดอินแปง วัดมีไชย วัดหายโศก ต้องแยกออกจากกันดังที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้  


 
 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช  หลวงพ่อองค์ตื้อ  ราวเทียนในสิม (สีมา)
 หน้าพระธาตุหลวง  Click เพื่อดูภาพใหญ่

 นาคราชงดงาม

           ในปัจจุบันนี้วัดองค์ตื้อ มีพระอุโบสถใหญ่อยู่ 1 หลัง กว้าง 16 เมตร 34 เซนติเมตร ยาว 40 เมตร สูงประมาณ 25 เมตร มีพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อเป็นพระประธาน หน้าตักกว้าง 3 เมตร 40 เซนติเมตร สูง 5 เมตร 80 เซนติเมตร สร้างโดย พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อปี พ.ศ.2109 พร้อมด้วย พระสุก พระใส พระเสริม เดิมวัดองค์ตื้อมีชื่อว่า "วัดสีภูมิ หรือ ไชยภูมิ ต่อมาถึงปี พ.ศ.2109 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้มาสร้างพระเจ้าองค์ตื้อขึ้นแล้วนำมาประดิษฐานไว้ในวัดสีภูมิแห่งนี้ จึงได้ตั้งชื่อวัดใหม่ว่า "วัดองค์ตื้อ" ตามชื่อของพระพุทธรูปใหญ่ (ตื้อ มาตราโบราณของชาวลาว) 

          พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชพระมหากษัตริย์ลาว พระองค์มีศรัทธาอย่างแรงกล้าปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้า (พุทธภูมิ)  จึงได้ตั้งความเพียรและการเสียสละอย่างสูงที่จะสร้างพระพุทธรูปทองหล่อให้ใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น (พ.ศ.2019) ได้มีการเตรียมพร้อมทุกอย่างจนเป็นที่เรียบร้อยทุกประการ เมื่อถึงเวลาอันเป็นมหาฤกษ์มหาชัยตามพิธีของโหราจารย์แล้ว  พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชก็ทรงมอบพระราชกรณียกิจทุกอย่างไว้กับพระมเหสี แล้วพระองค์ทรงนุ่งขาวห่มขาวไปสมาทานศีล 8 อยู่ในวังพิธีที่วัดอินแปง แต่ก่อนถึงเวลามหาฤกษ์มหาชัยนั้น  กษัตริย์ของพม่าได้ยกกองทัพมาถึงประตูเวียงแล้ว และได้ทำหนังสือยื่นคำขาดให้แม่ทัพทั้ง 4 ถือ เข้ามายื่นให้พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชอยู่ในวังพิธีหล่อนั้น ในคำขาดนั้นมีอยู่ 2 ข้อ
          1. ให้พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชยอมเป็นเมืองขึ้นของพม่า  
         
2. ถ้าไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นให้ออกมารบกัน และให้ตอบคำถามนี้ไปกับผู้ที่ถือหนังสือมามิให้ชักช้า

     
 
 สิม    
     

        
         หลังจากยื่นหนังสือให้แล้ว  แม่ทัพของพม่าทั้ง 4 ก็เดินดูช่างที่กำลังสูบเตาหลอมทองที่กำลังร้อนแดง ๆ อยู่นั้นพวกเขาได้แสดงอิทธิฤทธิ์โดย เอามือไปจับเบ้าหลอมพระที่กำลังแดง ๆ โดยไม่มีอาการร้อนเลย พระเจ้าไชยเชษฐาเห็นดังนั้นก็ตกพระทัย จึงได้เข้าไปในพระราชวังด้วยความรีบเร่ง พอพระมเหสีเห็นความผิดปรกติของพระองค์ก็ทรงถามว่า “ยังไม่ถึงเวลาทำพิธีเททองหล่อพระ ทำไมพระองค์จึงรีบกลับมา” พระองค์จึงเล่าเหตุการณ์ทุกอย่างให้พระมเหสีฟัง พระมเหสีจึงกล่าวให้สติว่า “พระองค์ไม่ต้องเสียพระทัย ที่พระองค์สร้างพระใหญ่คราวนี้ เพื่อปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้าในวันข้างหน้า ถ้าคำปรารถนานี้ไม่สำเร็จและจะพ่ายแพ้แก่พม่า ก็ขอให้มือของพระองค์กุด (ขาด) ไปกับเบ้าหล่อพระนั้นเสีย แต่ถ้าความปรารถนาของพระองค์จะสำเร็จและได้รับชัยชนะจากพม่านั้น ขอให้เบ้าทองที่จะหล่อพระมีอาการเย็นและไม่หนัก ให้มีอาการเหมือนจับหมวกใส่หัว”  

                   เมื่อพระองค์ได้สติจากพระมเหสีแล้ว พระองค์เข้าสู่ห้องไหว้พระ กล่าวสักการะเทวดาตั้งสัตยาธิษฐานอย่างหนักแน่นแล้วกลับสู่วังพิธีหล่อพระ พอดีได้เวลาพระองค์จึงให้คำตอบแก่แม่ทัพพม่าทั้ง 4 คนว่า “คำขาดของกษัตริย์พม่าทั้งสองข้อนั้นเรายินดีรับหมดทุกอย่าง แต่ว่าเวลานี้เรากำลังทำบุญ ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าขอเชิญพวกท่านมาทำบุญร่วมกันกอ่นแล้วจึงค่อยปฏิบัติตามคำขาดนั้นภายหลัง” ว่าแล้วพระองค์ก็เสด็จสู่หอที่เททองใส่เบ้าหล่อ และพระองค์จับพระขรรค์ด้วยมือเบื้องซ้าย เบื้องขวารับเอาเบ้าต้มทองที่กำลังแดงและร้อนที่ช่างยื่นให้พระองค์ โดยที่พระองค์ไม่มีความรู้สึกร้อนเลยจนทองหมด ส่วนที่เหลือก็หล่อพระพุทธรูปได้อีก 3 องค์ คือพระสุก พระใส และพระเสริม 

           เมื่อเสร็จพิธีแล้วแม่ทัพพม่าทั้ง 4 ก็เดินทางกลับไปพร้อมหนังสือคำตอบของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อกลับไปถึงก็เล่าเหตุการณ์ทุกอย่างให้กษัตริย์พม่าฟังตามความเป็นจริง แล้วก็พากันผ่อนพักหลับนอนตามเวลาอันสมควร และในคืนนั้นเองพระองค์ได้แอบไปหากษัตริย์พม่า แต่ก่อนที่จะไปพระองค์ได้กล่าวสักการะเทวดาและตั้งสัจจะอธิฐานว่า “๑.ถ้าข้าพเจ้าจะได้เป็นพระพุทธเจ้า ๒.ถ้าข้าพเจ้าจะได้รับชัยชนะกองทัพพม่าในครั้งนี้ ขอให้เทพเจ้าเทพาอารักษ์จงช่วยเป็นสักขีพยานบันดาล ให้กองทัพพม่าพร้อมทั้งช้าง ม้า จงพากันหลับไหล  และในเวลาที่ข้าพเจ้าไปหานั้น  ยามอย่าได้รู้สึกตัวเลย”  

  
 
 บานหน้าต่าง หน้าบรรณ พระอุโบสถ หลังคาพระอุโบสถ 
(อ่านออกไหม ?)    ถ้ายอดแหลมอย่างนี้ กษัตริย์สร้าง

               เมื่อพระองค์ตั้งพระทัยอย่างหนักแน่นดั่งกล่าว แล้วก็ออกเดินทาง โดยมีทหารคนสนิทเพียงคนเดียว เมื่อไปถึงปรากฎว่ากองทัพพม่าทั้งหมด คนและสัตว์พาหนะพากันนอนหลับหมดไม่มีใครรู้สึกตัวเลย เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเห็นสภาพดั่งนั้นก็มีความแน่ใจในคำอธิษฐานของตน ครั้งแรกพระองค์ถอดพระขรรค์ออกมาจะตัดคอกษัตริย์พม่าที่กำลังนอนหลับ 

           แต่แล้วพระองค์ก็นึกขึ้นได้ว่า ตนเองทำบุญปรารถนาพุทธภูมิ แล้วจะมาทำบาปฆ่าคนเช่นนี้ไม่ได้เด็ดขาด แล้วพระองค์ก็ได้ปรึกษากับทหารว่าจะทำอย่างไรดี ให้เขารู้ว่าเรามาหาพอดีทหารคนนั้นมองเห็นตลับปูนวางอยู่ข้าง ๆ ของกษัตริย์พม่า ก็แนะนำให้พระองค์ใช้ปูนผสมน้ำ แล้วเอาไปป้ายที่คอของกษัตริย์พม่าและแม่ทัพทั้ง 4 เป็นกากบาท หลังจากนั้นเดินทางกลับพระราชวัง 

            พอกษัตริย์พม่าตื่นขึ้นมา ทั้งกษัตริย์และแม่ทัพทั้ง 4 ต่างก็เห็นปูนป้ายคอของตัวเอง ซึ่งคนต่างปฏิเสธไม่มีใครทำ จึงสัณนิษฐานได้ว่าต้องเป็นพระเจ้าไชยเชษฐาแน่นอน จึงได้ปรึกษากับแม่ทัพทั้ง 4 ว่า ถ้าต้องทำศึกกับพระองค์ต้องปราชัยแน่นอน จึงเปลี่ยนแนวคิดจากศัตรูมาขอเป็นมิตร  

  
 
 ศาสดาผู้แบมือ  ปริศนาธรรม ภายในพระอุโบสถ ตีปริศนาธรรมออกบ้างไหม ? 
 สอนธรรมะให้โดยไม่เหลือ    

       ในขณะที่กษัตริย์พม่ากับแม่ทัพทั้ง 4 กำลังปรึกษากันอยู่นั้นก็มีทหารคนใช้ของพระองค์เข้ามาบอกว่า “เมื่อคืนนี้พระองค์มาหาพวกท่าน แต่เห็นพวกท่านกำลังหลับ ถ้าจะปลุกก็จะเป็นการรบกวนจึงกลับไป บัดนี้ตื่นขึ้นมาแล้ว ขอถือเป็นเกียรติทูลเชิญพระองค์ท่านไปสู่พระราชวังของเราเพื่อปรึกษาเวียกบ้านการเมือง” เมื่อกษัตริย์พม่าได้ยินดังนั้นก็รู้สึกดีใจ จึงได้เตรียมเครื่องบรรณาการจำนวนหนึ่งพร้อมแม่ทัพทั้ง 4 เข้าพบพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อมาถึงก็ได้รับการต้อนรับอย่างสมเกียรติทั้งสองกษัตริย์ก็ได้ให้คำมั่นสัญญา จะมีความซื่อสัตย์ให้แก่กันและกัน ถ้าฝ่ายหนึ่งผ่ายใดขาดเขินสิ่งใดให้ร้องขอต่อกันและช่วยกันจนเต็มความสามารถ 

            การเจรจาสิ้นสุดลงด้วยการดื่มน้ำสาบาน(น้ำสัตยาบรรณ) และกษัตริย์พม่าก็ได้ขอเรียนวิชา “ก่านปูน” วิชาป้ายปูนที่ลำคอ พระองค์จึงได้เล่าความจริงให้ฟังว่า “ก่านปูน” ไม่ใช่วิชาอาคมอะไร ตั้งแต่ได้รับคำถามจากกษัตริย์พม่าแล้ว ตนได้รับคำเตือนสติจากพระมเหสี จึงแค่เอาปูนไปป้ายที่คอของกษัตริย์พม่าและแม่ทัพทั้ง 4 เท่านั้น ด้วยสำนึกถึงบุญคุณของพระมเหสี กษัตริย็พม่าจึงขออนุญาตแกะสลัก(ควัด) รูปเหมือนพระอัครมเหสีเท่าองค์จริงด้วยหินไว้เป็นอนุสรณ์ จากนั้นพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงให้ช่างแกะสลักพระอัคระมเหสีของพม่าขึ้นอีกองค์หนึ่งไว้เป็นคู่กัน เพราะเป็นสัญญาสำคัญแห่งสัมพันธไมตรีในครั้งประวัติศาสตร์ พวกช่างก็แกะสลักรูปพระนางทั้งสองด้วยแผ่นหินและดิษฐานไว้ที่วัดอินแปงจนถึงทุกวันนี้

 
 ภิกษุ-สามเณร  คำไหว้หลวงพ่อองค์ตื้อ  ถ่ายทำสารคดี
 ปัดกวาดวิหารลานพระเจดีย์    กองทัพธรรม - ธรรมยาตรา


ตามประวัติศาสตร์ได้บันทึกการรุกของสงครามศักดินา ดังนี้

          ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2127 ในรัชกาลของพระสุรินทลือไชย(จัน) ศักดินาพม่าเขามาตีนครหลวงเวียงจันทน์ได้สำเร็จพร้อมทั้งเผาทำลายวัดวาอารามวัตถุมีค่า มูลเชื้อวัฒนธรรม รวมถึงวัดองค์ตื้อด้วย
          ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ.2322 ในรัชกาลพระเจ้าสิริบุยสาร ศักดินาสยามได้เข้ามารุกรานครั้งที่ 1
        ครั้งที่ 3 ปี พ.ศ.2370 ในรัชกาลเจ้าอนุวงศ์ ศักดินาสยามได้เข้ามารุกรานเป็นครั้งที่ 2 พร้อมกับทำลายเผาผลาญนครหลวงเวียงจันทน์ จนเป็นเถ้าถ่านไปทั้งเมืองและร้ายแรงที่สุดคือวัดองค์ตื้อ พร้อมพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ แต่ไม่สามารถทำอะไรได้
         ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ. 2416 โจรฮ้อ ได้เข้ามาปล้นสะดมขุดค้นเอาวัตถุมีค่าไปจนหมดในนั้น รวมพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อด้วย

เขียนโดย พระอาจารย์ผ่อง เจ้าอาวาสวัดองค์ตื้อ



ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: ไหว้พระ ลาวนครเวียงจันทร์
»วัดองค์ตื้อมหาวิหาร นครหลวงเวียงจันทน์
04-08-2010
»อนุสาวรีย์ประตูชัย + สภาพบ้านเมืองในเวียงจันทน์
04-08-2010
»มนต์เสน่ห์แห่งวังเวียง ฉายากุ้ยหลินของลาว
04-08-2010
»ตักบาตรข้าวเหนียวกับพระ 200 รูป +ชมตลาดสด+ ล่องน้ำโขงชมถ้ำติ่ง
04-08-2010
»ขึ้นบันใด 328 สู่พระธาตุภูษีบนภูสูง + ซื้อสินค้าพื้นเมือง
04-08-2010
»วัดเชียงทองวัดคู่เมืองหลวงพระบาง +วัดแสนสุข
04-08-2010
»ชมวัดพระธาตุหลวง สัญญลักษณ์ของลาวและวัดคู่บ้านคู่เมือง
04-08-2010
»วัดสีเมือง ของนครเวียงจันทร์
04-08-2010
 
------------------------
  หน้าหลัก  
  คำถามที่มีการถามบ่อย  
  เราเล่นพระทำไม ?  
  กฎหมายพระเครื่อง  
  เกร็ดเล็ก-เกร็ดน้อย  
  สมัครเปิดร้านค้า  
  การชำระเงินค่าร้านค้า  
  ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง  
  ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับร้านค้า  
 
หน้าหลัก  อดีตสู่ปัจจุบัน  เว็บบอร์ดชมรม  ตารางประกวดพระ  สาระน่ารู้  เล่าสู่กันฟัง  ติดต่อเรา
Copyright©2024 zoonphra.com
Powered by Tactical IT