เล่าสู่กันฟัง
การทดลองยิงพระท่ากระดานกับเหรียญพ่อท่านซ้ง วัดวัวหลุง รุ่นที่2 เหตุผลการณ์แปลกประหลาดมหัศจรรย์ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น คนที่ทดลองยิงพระเครื่อง เมื่อกลับไปถึงบ้าน พอตกค่ำก็จับไข้และเป็นไข้อย่างนั้นอยู่สิบกว่าวันถึงจะหาย เมื่อข่าวการทดลองยิงพระเครื่องเมื่อครั้งนั้นแพร่กระจายออกไป จึงมีหลายคนออกเสาะแสวงหาพระท่ากระดานกับเหรียญพ่อท่านซัง วัดวัวหลุง รุ่นที่ 2 กันอย่างกว้างขวาง สำหรับพระท่ากระดานออกจะหายากอยู่สักหน่อย และราคาสูง สมัยนั้นก็เล่นหากันหลายหมื่นแล้วในองค์ที่สวยๆ แต่เหรียญพ่อท่านซัง วัดวัวหลุง รุ่น 2 ยังพอหาได้อยู่ในทางภาคใต้ และราคา ก็ไม่แพงเท่าไหร่ สมัยนั้นอยู่ในหลักแค่พันกว่าๆ ประมาณ 1500 บาท จึงมีคนจาก จ. ภูเก็ต แห่ไปเช่าเหรียญพ่อท่านซัง วัดวัวหลุง รุ่น2 ที่นครศรีธรรมราชกันมาก และหลายคนไปหาเจอะกันถึงพื้นที่ คือ อำเภอ ร่อนพิบูลย์ กันเลย จากราคาเหรียญละ1500บาท คนภูเก็ตขอเช่า2000 บาท บ้าง 2500บาท เป็นใครเป็นเจ้าของก็ต้องขาย เพราะได้ราคาที่สูงกว่าที่เคยขาย ซ้ำยังมีคนแย่งกันเช่าอีก แล้วก็มีคนแห่มาเช่ากันเรื่อยๆ จนราคาจากเดิม 1500 พุ่งขึ้นไปถึง3500-4000บาท ในระยะเวลาแค่ไม่กี่เดือน ทำเอานักเล่นพระแถวจังหวัดนครราชศรีธรรมราช แปลกใจว่าทำไมถึงมีคนแห่มาเช่าเหรียญพ่อท่านซัง วัดวัวหลุงรุ่น 2 กันมาก เช่ากันในราคาสูงกว่าท้องถิ่นเล่นกันหา ซ้ำยังแย่งกันเช่าเสียอีก แต่กว่าจะรู้ความจริงว่าเขาเอาไปทดลองยิงไม่ออกถึง 2 ครั้ง ก็เมื่อเหรียญราคาแพงสูงขึ้นไปมากแล้ว และก็พร่องไปจากท้องถิ่นก็มากเหมือนกันและปัจจุบันนี้ เหรียญพ่อท่านซังวัดวัวหลุง รุ่น2 ก็เล่นกันในหลักหมื่นต้นๆประมาณ 2-3 หมื่นเข้าไปแล้ว สวยๆ ก็อาจจะสูงขึ้นไปอีก ในบรรดาเหรียญพระเกจิอาจารย์ต่างๆ หากว่าเป็นเหรียญตายหรือเหรียญย้อน พ.ศ.วงการจะไม่ค่อยนิยมเล่นหากัน แต่เหรียญตายก็มีบ้างอยู่หลายเหรียญ ที่เล่นกันในราคาสูงๆในหลายๆ หมื่นและเป็นแสนอย่างเหรียญพ่อท่านซัง วัดวัวหลุง รุ่น1 พ.ศ. 2480 เหรียญพระครูบาศรีวิชัยวัดปาง รุ่น1 พ.ศ. 2482 หรือเหรียญกรมหลวงชุมพร เขตอุดมสักดิ์ รุ่น1 พ.ศ.2466 แต่สำหรับเหรียญย้อน พ.ศ. แล้วไม่มีเลยที่ลงการเล่นหากันสูงๆ แม้แต่หาเล่นกันธรรมดาๆเฉพาะลูกศิษย์ลูกหาในละแวกท้องถิ่นก็มีน้อย แต่เหรียญพ่อท่านซัง รุ่น2 ที่เป็นทั้งเหรียญตายเพราะสร้างหลังจากที่ท่านมรณภาพไปแล้ว และเป็นเหรียญย้อน พ.ศ. เพราะสร้างเมื่อปี พศ.2514 แต่ในเหรียญเขียนบอกปี พ.ศ. 2580 กลับแหวกกฎเกณฑ์ของเหรียญตายและย้อนพ.ศ. ของหลายๆ เหรียญ ขึ้นไปเล่นอยู่หลักหมื่น และคงจะมีเพียงเหรียญเดียวเหรียญนี้เท่านั้นในเมืองไทย ขนาดเหรียญพระธรรมเสนาณี(แจ่ม) วัดโชติ จังหวัด ราชบุรี พ.ศ. ซึ่งก็เป็นเหรียญตาย วงการก็เล่นหากันไม่เท่าไร ซ้ำยังมาสร้างปีหลังๆ ย้อน พ.ศ. เป็น พ.ศ. 2466 อีกเรื่องค่านิยมก็เลิกคุยได้เลย
อภิญญาของอาจารย์ชุม ไชยคีรี
ในพิธีวัดถ้ำเขาเงิน อ.หลังสวน จ.ชุมพร สมัย 20 ปีก่อน ชื่อของอาจารย์ชุม ไชยคีรี ฆราวาสผู้เรืองเวทเป็นที่เลื่องลือกระฉ่อนไปทั่วประเทศ ไม่มีใครในวงการไสยศาสตร์ที่ไม่รู้จักท่าน อาจารย์ชุม ไชยคีรี เป็นศิษย์สำนักเขาอ้อสายตรง ท่านสนใจในวิชามายาศาสตร์มาแต่เยาว์วัย เมื่ออายุได้เพียง 5 ขวบ ก็สามารถภาวนาคาถาแค่สองคำ สะกดงูพิษทุกชนิดไม่ให้อ้าปากขบกัดได้เป็นที่น่าอัศจรรย์ แม้สุนัขก็เช่นกันเด็กชายชุมจึงเป็นหนูน้อยคนเดียวในหมู่บ้านที่ไม่เคยถูกสุนัขกัดเลย และเมื่ออายุได้ 7 ขวบ ก็เคยเอามือปิดปากกระบอกปืนของเพื่อนบิดาที่มาเยี่ยมบ้าน ท่องคาถาเพียง 11 ตัว ยังเป็นเหตุให้ปืนยาวเหล่านั้นถึงแตกระเบิดเมื่อนำไปยิง เกิดมาเพื่อ เป็น โดยแท้ อาจารย์ชุมมีความใฝ่รู้ในวิชาเวทมนต์คาถายิ่งนัก ครูบาอาจารย์ท่านใดในยุคเก่าก่อนที่ว่าเก่ง ท่านเป็นต้องไปขอเรียน ขอศึกษาเอาจนได้ และนำสรรพวิชาเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างดี โดยพื้นฐานของจริตนิสัยในแต่ละคน เมื่อจิตใจมีความเมตตาอยู่เป็นนิตย์ ก็มักทำของไปทางมหาเสน่ห์ได้ผลกว่าวิชาอื่นๆ หากจิตใจออกไปทางนักเลง กล้าสู้ กล้าลุย ของที่ทำออกมาจะหนักไปทางคงกระพันชาตรีเป็นส่วนมาก เรียกว่าถนัดอะไรก็เก่งไปอย่างหนึ่ง แต่ไม่ใช่อาจารย์ชุม ฆราวาสผู้แตกฉานท่านนี้ เมื่อต้องการให้เป็นทางคงกระพัน ท่านก็สามารถกำหนดจิตได้ทันที ขนาดทดสอบเชือดเนื้อ เถือหนัง พิสูจน์กันเห็นๆ ครั้นจะแสดงทางมหาอุด ก็สั่งศิษย์ลงนั่ง ให้ผู้มีอาวุธปืนทุกชนิด ทดลองยิงข้ามศีรษะได้เลย ไม่ออกสักกระบอกเดียว เมื่อจะแสดงวิชามหานิยม ก็เสกน้ำมันงา ทาหนูกับแมว แล้วปล่อยเข้ากรงเดียวกัน ถ้าเป็นลูกหนูกับแม่แมว ลูกหนูทั้งหมดก็จะคลานเข้าไปดูดกินนมแม่แมว หน้าตาเฉย และแม่แมวก็ยอมนอนให้กินแต่โดยดี จะทำกี่ตัวกี่ครั้งก็มีผลเช่นเดียวกันหมด เป็นสุดยอดของมหานิยมจริงๆ พิสูจน์ได้ทุกเวลาทุกสถานที่นี้เอง เป็นเหตุให้อาจารย์ชุมปรากฏชื่อลือชาไปทั่ว ได้รับเชิญไปงานพุทธาภิเษกและสาธิตวิชาต่างๆ ไม่ว่างเว้น แลท่านก็สามารถแสดงจิตตานุภาพให้เป็นที่ตื่นตะลึงมาแล้วหลายต่อหลายพิธี ดังเช่นที่ วัดถ้ำเขาเงิน ปี พ.ศ. 2511 หลวงพ่อคล้อย ฐานธัมโม เจ้าอาวาสวัดถ้ำเขาเงินในขณะนั้น มีดำริที่จะสร้างพระเครื่องรูป หลวงพ่อแดง พุทโธ ปฐมเจ้าอาวาสของวัดถ้ำเขาเงิน ท่านจึงได้ออกปากขอความร่วมมือจากศิษย์ในสายเขาอ้อด้วยกัน มีอาจารย์ชุมเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญ พระเครื่องที่สร้างในครั้งนั้น ส่วนใหญ่จะทำจากผงว่านหลายร้อยชนิด ซึ่งอาจารย์ชุมเป็นผู้ชำนาญในเรื่องว่านยายิ่งนัก และยังประกอบด้วยผงเกสรดอกไม้ 108, ผงพุทธคุณ 108, ผงพระกรุต่างๆ ทั่วประเทศ นำมาประชุมกันเป็นองค์พระขึ้น แยกพิมพ์ได้ดังนี้
1. พระผงว่าน พิมพ์ พระกำแพงนิ้ว
2. พระผงว่าน พิมพ์ พระปิดตานอโม
3. พระผงว่าน พิมพ์ พระสิวลี
4. พระผงว่านรูปเหมือน หลวงพ่อแดง พุทโธ
5. พระผงเกสรรูปเหมือน
พระปิดตานอโม หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน จ.พัทลุง
วัดบ้านสวนเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่มีพระอาจารย์ผู้มีความรู้ความสามารถ ศึกษาวิชาสายสำนักวัดเขาอ้อสืบต่อกันมา เคียงคู่มากับวัดดอนศาลาแต่ภายหลังต่างเด่นกันคนละทาง ในสายวัดดอนศาลานั้นโดนเด่นในทางไสยเวท มีการอาบว่านแชยา ทำพิธีกรรมต่างๆส่วนวัดบ้านสวนเด่นในทางการรักษาโรค ทราบว่าคณาจารย์วัดนี้ได้สืบทอดวิชาการรักษาโรคต่อกันมาเรื่อยๆ จนกระทั่งมาถึงยุคของพ่อท่านคง หรือ พระครูพิพัฒน์สิริธร นั้นท่านเป็นศิษย์ของพระอาจารย์เอียด วัดดอนศาลาตามประวัติของท่านที่ทางวัดบันทึกไว้และพิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ในพิธีผูกพัทธสีมา วัดบ้านสวน เมื่อ วันที่ 4-5 เมษายน2530ได้กล่าวถึงประวัติของพ่อท่านคงไว้ว่าพระครูพิพัฒน์สิริธร นามเดิมว่า คง นามสกุล มากหนู ได้ถือกำเนิด เมื่อวันพุธ ขึ้น10 ค่ำ เดือนยี่ ปีขาล ตรงกัยวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2445 จ.ศ.1264 ร.ศ.121 ณ บ้านทุ่งสำโรง หมู่ที่ 8 ตำบลนาขยาด อ.ควนขนุน จ. พัทลุง เป็นบุตรของนายสง มากหนู และนางแย้ม มากหนู มีพี่น้องท้องเดียวกัน4คนโดยท่านเป็นคนสุดท้อง บิดามารดาได้ถึงแก่กรรมเมื่อเด็กชายคงยังอยู่ในวัยเยาว์ จึงตกอยู่ในการอุปการะของ นายชูและนางแก้ว เกตุนุ้ย ผู้เป็นญาติเมื่ออายุพอสมควรแล้ว นายชูได้นำไปฝากกัยพระครูสิทธิยาภิรัตน์(เอียด ปทุมสโร)ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนศาลา และเป็นเจ้าคณะตำบลมะกอกเหนืออยู่ในขณะนั้น เพื่อให้ศึกษาอักษรสมัย ในระยะแรกๆ ได้ศึกษาเล่าเรียนจากพระครูสิทธิยาภิรัตน์โดยตรง ต่อมาทางวัดได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นแล้ว เด็กชายคงก็ได้เข้าศึกษาเล่าเรียนของวัดจนจบชั้นสูงสุดของการศึกษาสมัยนั้นเมื่อ พ.ศ.2462 เมื่อเด็กชายคงมีอายุได้20ปี มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงด้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสุนทรวาส ต.ปันแต อ.ควนขนุน เมื่อวันจันทร์ ขึ้น10ค่ำเดือน 8 ปีจอ ตรงกับวันที่ 3 กรกฎาคม 2464 โดยมีพระครูกาชาด(แก้ว)วัดพิกุลทอง ตำบล ชะมวง อำเภอควนขนุน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสิทธิยาภิรัตน์(เอียด ปทุมสโร)วัดดอนศาลา เป็นพระศิลาจารย์(ผู้ให้ศีล)เมื่อบรรพชาแล้วได้กลับไปอยู่วัดดอนศาลากับพระครูสิทธิยาภิรัตน์ ผู้เป็นอาจารย์ และ ในปีต่อมาก็ได้อุปสมบท เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8ปี กุน ตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน 2466 ณ วัดดอนศาลา โดนมีพระครูกาชาด(แก้ว)วัดพิกุลทอง ตำบลชะมวง อ.ควนขนุน พระอุปัชฌาย์ พระอธิการหนู วัดเกาะยาง ต.นาขยาด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการไชยแก้ว วัดป่าตอง ต.โตนดด้วน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับฉายาว่าสิริมโต และคงอยู่ที่วัดดอนศาลาตามเดิม เมื่ออุปสมบทแล้ว พระคง สิริมโตได้ไปศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดพิกุลทอง จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในปีนั้น ท่านตั้งใจจะศึกษาให้จบหลักสูตรนักธรรม แคต่เนื่องจากท่านสุขภาพไม่ดี มักจะเจ็บป่วยอยู่เสมอ ประกอบกบในสมัยนั้นการหาครูสอนพระปริยัติธรรมไม่ง่ายนัก จึงอุปสรรคต่อการศึกษาของท่าน นอกจากท่านได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมแล้ว ท่านยังสนใจศึกษาวิชาด้านไสยศาสตร์อีกด้วย และท่านก็ได้ศึกษาจาก พระครูสิทธิยาภิรัตน์(เอียด)ผู้เป็นอาจารย์ของท่านเอง ท่านได้รักการถ่ายทอดวิชาแขนงนี้จากอาจารย์ของท่านจนมีความรู้แตกฉาน แต่ท่านก็ไม่พอใจอยู่แค่นั้น ได้พยายามศึกษาเพิ่มเติมจากตำหรับตำรำไสยศาสตร์ของท่านอาจารย์ผู้เฒ่า วัดเขาอ้อ ซึ่งเป็นสำนักที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในวิชาไสยศาสตร์สมัยนั้นท่านได้ศึกษาจนมีความรู้แตกฉานและทรงวิทยาคุณในวิชาแขนงนี้ จนในระยะหลังต่อมาท่านได้เป็นที่รู้จักและเคารพนับถือจากประชาชนทั่วไปทั้งในจังหวัดพัทลุงและจังหวัดอื่นๆมีลูกศิษย์ลุกหาอยู่ทั่วไป และต่างก็เรียกนามท่านว่า อาจารย์คง บ้าง หลวงพ่อคงบ้าง แม้สมัยหลังที่ท่านได้สมณศักดิ์เป็นพระครูพิพัฒน์สิรธรแล้วประชาชนทั่วไปรวมทั้งลูกศิษย์ลุกหาทั่วไป และต่างก็เรียกนามท่าว่า อาจารย์คงหรือหลวงพ่อคงอยู่เช่นเดิม แทบไม่ได้ยินเรียกจากปากของผู้ใดว่า ท่านพระพิพัฒน์สิริธรเลย ในระยะที่บ้านเมืองกำลังอยู่ในสภาพที่ไม่สงบสุขจากผู้ก่อการร้ายในภาคต่าง ๆ ของประเทศหลวงพ่อคง กับอาจารย์ชุม ไชยคีรี ได้ร่วมกันจัดสร้างพระเครื่องของวัดบ้านสวนขึ้นจำนวนหนึ่ง ประกอบพิธีทั้งพุทธาภิเษก และปลุกเสก ด้วยตัวท่านเองเมื่อเดือนเมษายน 2511โดยเนื้อหาของพระปิดตาประกอบไปด้วยผงวิเศษ ดินกรุ ชิ้นส่วนพระกรุเนื้อดินทางภาคใต้ ว่าน 108 ชนิด พิธีการปลุกเสกก็นับได้ว่าใหญ่รองลงมาจากการสร้างพระปิดตาตามหายันต์ และพระกลีบบัวมหาว่านของพระอาจารย์เอียด วัดดอนศาลาและมีวัดเขาอ้อ เมื่อปีพ.ศ.2483โดยพระภิกษุที่มาร่วมพิธีปลุกเสกพระที่วัดบ้านสวนในครั้งนี้ร่วนมีแต่พระเกจิฯมีที่ความแก่กล้าทั้งสิ้นอาทิเช่น พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา พระอาจารย์ปาล วัดเขาอ้อ พ่อท่านหมุน วัดเขาแดงตะวันออก รวมทั้งฆราวาส คือ อาจารย์ชุม ไชยคีรี แล้วนำแจกจ่ายบำรุงขวัญ ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และประชาชนผุ้ปฎิบติหน้าที่เสี่ยงอันตรายอยู่ในแดนที่มีผู้ก่อการทูลเกล้าฯถ วายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพระราชทานแก่ ทหาร ตำรวจหน่วยต่างๆ ตอนที่หลวงพ่อคง และอาจารย์ชุมได้นำพระเครื่องมาแจกทหารตามค่ายต่างนั้น ได้ทำการทดลองพุทธคุณของพระโดยให้ทหารนำพระกำไว้ในมือแล้วนำเอาดาบเชือกปรากฎว่าไม่เข้า เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของทุกคนในนั้น ปัจุจบันยังมีภาพถ่ายการทดลองในครั้งนั้นอยู่ที่วัด ปัจุจบันพระปิดตาของหลวงพ่อคง มีสนนราคาเล่นหากันอยู่ที่หลักร้อยกลางๆ จนถึงพันเท่านั้น นับว่าเป็นของดีราคาถูกที่มีประสบการณ์พิสูจน์ได้ สมควรที่จะลองหาไว้ขึ้นคอเป็นอย่างยิ่งรูปทรงอาจจะไม่สวยนักเพราะว่าเป้นการกดพิมพ์ด้วยมือ แต่ถ้าดูที่คุณภาพและเนื้อในนั้น บอกได้คำเดียวว่าสุดยอด ไม่เสียชื่อหน่อเนื้อเชื่อสายพระปิดตาสายเขาอ้ออย่างแน่นอน
เหรียญพ่อท่านเขียวรุ่นแรก ปี 13 พิมพ์นิยม
เหรียญพ่อท่านเขียวรุ่นแรก ปี 13 พิมพ์นิยม เป็นเหรียญหนึ่งที่ดังด้วยประสพการณ์อย่างแท้จริงสภาพสวยๆ กะไหล่เดิมๆ ราคา 3 - 5 หมื่น ก็ยังมีคนสู่ราคาแต่ก็หาของแท้ๆ ยากเสียเหลือเกิน เพื่อเป็นวิทยาทานแก่นักสะสมรุ่นหลังของแท้การแกะบล็อกแม่พิมพ์แกะได้คมชัดและสวยงามมากคำว่าพ่อท่านเขียวตัวให่ญปั้มขึ้นมาเป็นแท่งๆ ส่วนกะไหล่ทองจะเป็นสีเหลืองอมเขียวผิวจะตะปุ่บตะปับเป็นบางแห่งเกิดจากการยุบตัวของเนื้อเหรียญบางแห่งจะมีสนิมปูดขึ้นมาเกิดจากการทำปฏิกิริยาของเนื้อทองแดงมากน้อยขึ้นอยู่กับการเก็บตรง"น"ของคำว่าท่านจะมีขนแมวผ่ากลางจากบนตั้งฉากผ่าน "น" เลยลงมาจะคมชัดมาก ส่วนด้านหลังตั้งแต่และข้างในคำว่าวัดหรงมลจะมีเส้นวิ่งขวางซ้อนกันเป็นแพถี่ๆ ไปถึงตัวยันต์พยายามดูของจริงๆ ให้ได้จะช่วยได้มากว่าเป็นเส้นแบบไหน ตอนสมัยแรกๆ ที่ดังเข้ากรุงเทพฯ ใหม่ๆ มีการเอาบล็อกเก่าที่ทิ้งไว้สนิมกัดมาปั๊มใหม่แต่เหรียญมีขี้กลากสังเกตุเห็นได้ชัดมีคนโดนไปตามๆ กัน ฉะนั้นเริ่มมีคนหัวเสเอาเหรียญไปทำให้สภาพสึกๆ เพื่อหลอกขายฉะนั้นถ้าเจอเหรียญสึกๆ ต้องระวังอาจจะเป็นเหรียญเทียบ วงการเลยโฟกัสไปที่สภาพเดิมๆ กะไหล่ทองเดิม บอกเลยว่าของเก้เฉียบจริงๆ จะบอกให้ ของแท้สภาพสวยเดิมๆ กะไหล่ทองเดิม ไม่มีฟลุ๊ก ตอนนี้สภาพสวยๆ กะไหล่ทองเดิมๆ มุนเวียนตามศูนย์ใหญ่ๆ ไม่กี่เหรียญ สำหรับพิมพ์นิยมนั้นให้สังเกตว่า "จะมีจุดกลมเล็กหนึ่งจุดในขมวดยันต์ตัวกลางด้านบน"
รูปเหมือนพ่อท่านเขียวรุ่นแรก เนื้อทองแดง
รูปเหมือนพ่อท่านเขียวรุ่นแรก เนื้อทองแดง ราคาก็แพงและแรงขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ยังถูกกว่าเหรียญเรื่องประสบการณ์ก็เหมือนกันทุกอย่างครับ ส่วนรูปหล่อหลวงปู่เขียวให้ดูที่สังฆาฏิ เหนือตอนกลางสังฆฏิขึ้นไปเล็กน้อยค่อนไปขอบทางด้านซ้ายมือเราจะมีเส้นแพถี่ๆ เลื้อยเป็นตัว "S" อีกจุดหนึ่งดูตรงสระอีของคำว่า "เขียว" ข้างในสระอีมีไส้บางๆ ข้างใน จุดที่สามดูที่ตัวอักษรเนื่องจากเป็นของปั๊ม การยุบตัวของตัวอักษรจะยุบเป็นแอ่งเหลี่ยมขอบด้านบนคม |