เว็บลิ้งค์ชมรมต่างๆ

เว็บไซต์วัดเกจิดังในสยาม
วัดอัมพวัน จ. สิงห์บุรี
วัดหนองป่าพง จ. อุบลฯ
วัดเขาแหลม จ. สระแก้ว
หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
วัดหัวป่า อ. ระโนด จ. สงขลา
วัดแก้วโกรวาราม จ. กระบี่
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
หลวงสมชาย วัดเขาสุกิม
ป้อนหมายเลขสิ่งของ


***พิมพ์หมายเลขสิ่งของจำนวน 13 หลัก

รายละเอียดเพิ่มเติม

  หน้าหลัก  :  อดีตสู่ปัจจุบัน  :  เว็บบอร์ดชมรม  :  ตารางประกวดพระ  :  สาระน่ารู้  :  เล่าสู่กันฟัง  :  ติดต่อเรา
ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: อาจารย์มหาลอย วัดแหลมจาก

ประวัติท่านอาจารย์มหาลอย วัดแหลมจาก
19-04-2010 Views: 22599

ท่านอาจารย์มหาลอย วัดแหลมจาก

    วัดแหลมจาก ตั้งอยู่ที่บ้านปากรอ หมู่ที่ 6 ตำบลปากรอ อำเภอเมือง(ปัจจุบัน สิงหนคร) จังหวัดสงขลา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ วัดแหลมจากสร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2440 โดยมีพระมหาลอย จนทสโร เป็นผู้ริเริ่มสร้างวัดนี้ ชาวบ้านเรียกว่า “วัดแหลม” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสิมาประมาณ พ.ศ. 2442

     ท่านมหาลอย จนทสโร เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดแหลมจาก (พ.ศ. 2440 – พ.ศ. 2482) เกิดที่บ้านปากรอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เมื่อ พ.ศ. 2412 โยมบิดาชื่อ ฮิ้ว เป็นชาวพัทลุง เชื้อสายตระกูล ณ พัทลุง ส่วนโยมบิดาเป็นชาวสงขลาไม่ทราบชื่อ ท่านมีพี่น้องเดียวกัน 3 คน เป็นชายทั้งหมด ตังท่านเป็นคนกลาง มีพี่ชายชื่อ หนู ส่วนน้องชายชื่อ ชุม (ภายหลังเป็นพระสมุห์ชุม เจ้าอาวาสรูปที่ 2 ของวัดแหลมจาก) ท่านมหาลอยเป็นญาติใกล้ชิดผู้พี่ผู้น้องกับท่านพระครูปราการศีลประกฤต (ท่านพระอาจารย์จู้ลิ่ม) วัดบางทึง ส่วนใครเป็นผู้พี่ผู้น้องข้อมูลไม่ได้สืบค้นอย่างชัดเจน ท่านมหาลอยเกิดในตระกูล “ระตินัย” ซึ่งในขณะนั้นประกอบอาชีพทำนาทำสวน มีฐานะปานกลาง ท่านมีอุปนิสัยหัวแข็งไม่ยอมคน ไม่ลงให้ใครง่ายๆ แต่เป็นคนมีเหตุผลชอบความถูกต้อง และยุติธรรม โยมแม่ของท่านถึงแก่กรรมตั้งแต่ท่านยังเล็กอยู่ โยมพ่อจึงได้นำท่านไปฝากไว้กับตาและป้า ซึ่งมีบ้านพักอยู่ใกล้วัดไทรงาม อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ในระหว่างที่ท่านอยู่นั้นท่านมักจะติดตามตาของท่านเข้าไปวัดไทรงามด้วยเป็นประจำ จนกระทั้งสมภารวัด คือ พ่อท่านเพชร มีความรักใครในตัวท่านเป็นอย่างมาก คุณตาจึงได้ฝากให้เรียนหนังสือกับพ่อท่านเพชรจนกระทั่งอ่านออกเขียนได้ ทั้งภาษาไทย และภาษาขอมปริยัติ ท่านมหาลอยอุปสมบทเมื่ออายุครบที่วัดควนโส ตำบลควนโส อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา แต่ไม่ทราบนามพระอุปัชฌาย์ โดยได้นามฉายาว่า “จนทโร” หลังจากบวชแล้วท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดไทรงามระยะหนึ่ง แล้วจึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยลงเรือสำเภา ขณะนั้นค่าเรือ 9 บาท ใช้เวลาเดินทาง 8- 9 วัน ก็ถึงกรุเทพฯ แล้วก็สืบหาสำนักเรียนที่มีชื่อเสียง ก็ได้ทราบว่าที วัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นสำนักเรียนเก่าแก่ ที่มีชื่อเสียง ท่านจึงตรงไปสู่สำนักวัดสุทัศน์ฯ ซึ่งขณะนั้น สมเด็จพระวันรัต(แดง) เป็นเจ้าอาวาสอยู่ ท่านจึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ต่อสมเด็จวันรัต (แดง) แล้วท่านก็ได้อบรมสั่งสอนพระปริยัติธรรมจากสมเด็จสังฆราช(แพ) ซึ่งขณะนั้นยังเป็นราชาคณะอยู่ ยังไม่ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช การเรียนปริยัติธรรมของท่านมหาลอย ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เมื่อคราวเปิดสอบสนามหลวง ท่านก็สามารถสอบผ่านได้เป็นเปรียญ 4 ประโยค จึงได้มีคำนำหน้าว่า “มหา” แต่นั้นมา

     ท่านมหาลอยได้พระราชพัดยศจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพิเศษสุด คือได้รับพระราชทานย่ามจารึก พระปรมาภิไธย จ.ป.ร. จากพระหัตถ์ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งนับว่าเป็นเกียรติอย่างสูงแก่ตัวท่าน และภิกษุชาวปักษ์ใต้ และได้โปรดรับสั่งให้เข้าไปทำการสอนบาลีในพระบรมมหาราชวัง นอกจากสอนบาลีแล้ว ก็ได้สอนหนังสือให้กับพระบรมวงศานุวงศ์อีกหลายพระองศ์ จนกระทั่งได้รับความสนิทสนมไว้วางพระหทัยจากกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ กรมหลวงสงขลานครินทร์ พระบรมวงศ์เธอพระองศ์เจ้าอาทิตย์ และล้นเกล้ารัชกาลที่ 7 การเข้าออกเขตพระราชฐาน หรือพระบรมมหาราชวังของท่านมหาลอยได้รับพระบรมราชานุญาติเป็นกรณีพิเศษ คือ เพียงคล้องย่ามพระราชทาน จ.ป.ร. เมื่อทหารรักษาพระบรมหาราชวังเห็นก็จะเปิดประตูให้และอำนวยความสะดวกให้ทุกอย่าง นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ที่มีต่อท่านมหาลอย เพราะทรงเลื่อมใสศรัทธาในความรู้และวัตรปฏิบัติของท่าน ท่านมหาลอยสอนหนังสือและบาลีอยู่ในพระบรมหมาราชวังเป็นเวลา 2 พรรษา ก็เกิดอาภารเป็นโรคเหน็บชา ทำให้ไม่สามารถไปสอนได้ จึงกราบบังคมทูลลาออก เพื่อเดินกลับจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของท่าน พระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงพระมหากรุณาให้แพทย์หลวงรักษาอาการป่วยของท่านจนเป็นปกติและได้พระราชทานพระบรมราชานุญาติให้ลาออกจากครูสอนบาลีได้ ท่านจึงเดินทางกลับมาพักจำพรรษาอยู่ที่วัดแจ้ง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา (พระอุปัชฌาย์ของท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดแจ้ง) และก็ยังทำหน้าที่เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมให้กับพระเณรที่บวชอยู่ทั้งใหม่และเก่า นับว่าท่านมีอัจจริยะ ภาพมาก ทั้งในการเรียนการสอน เมื่อชาวบ้านปากรอทราบว่าท่านได้กลับมาอยู่สงขลาแล้ว ก็ได้ไปมาหาสู่เป็นประจำ และก็ได้ร้องขอให้ท่านกลับไปอยู่ที่ปากรอ แล้วจะช่วยสร้างวัดให้จำพรรษา เมื่อมีชาวบ้านจำนวนมากพากันมารบเร้าท่านก็ได้รับปากจะไปอยู่ที่ปากรอ เพื่อต้องการไปอบรมสั่งสอนพระเณร และชาวบ้านปากรอบ้างด้วยถือว่าเป็นถิ่นกำเนิด จึงให้ชาวบ้านมาช่วยกันถางป่าต้นไม้จากบริเวณริมน้ำ แล้วจัดการสร้างเป็นเสนาสนะชั่วคราวพออยู่ได้ไปก่อน ด้วยความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านที่มีความศรัทธาในตัวท่าน ไม่ช้าป่าจากแห่งนั้นก็กลายสภาพเป็นที่พักสงฆ์ชั่วคราว และพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ โดยท่านมหาลอยเป็นผู้ลงมือก่อสร้างด้วยตนเอง ท่านเป็นพระที่มีศีลจารวัตรงดงามมากท่านเป็นพระที่เคร่งครัดก็จริง แต่วาจาอ่อนหวานไพเราะน่าฟังและน่ายำเกรงเป็นพระมหานิกายที่เคร่งต่อวัตรปฏิบัติ และมีปฏิปทาที่น่าเลี่ยมใส สำหรับความรู้ทางพระเวทย์หรือวิชาอาคม พ่อท่านลาวเล่าว่าเคยเห็นมหาลอยหยิบต้นคัมภีร์พระเวทย์และอาคมมาให้ดูและบอกว่าเป็นของโยมพ่อที่ตกทอดมาจากปู่ของท่านซึ่งได้รับตกทอดมาจากพระยาพัทลุง(ขุน ณ พัทลุง) อดีตเจ้าเมืองพัทลุง ที่ชาวพัทลุงรู้จักกันดีนามว่า “ขุนคางเหล็ก” ตามตำนานบอกว่า “ขุนคางเหล็ก” เป็นผู้มีวิชาอาคมแก่กล้ามาก รอบรู้ทางพระเวทย์อาคมขลัง เป็นศิษย์ศึกษาพุทธาคมจากสำนักวัดเขาอ้อ ซึ่งมีชื่อเสียงเกรียงไกรทางไสยศาสตร์มากและท่านมหาลอยเองก็ได้ติดต่อไปมาหาสู่สำนักวัดเขาอ้อเป็นประจำ วิชา ไสยศาสตร์คาถาอาคม วิชาโหราศาสตร์และวิชาแพทย์แผนโบราณท่านได้ศึกษาจากสำนักวัดเขาอ้อและจากตำราที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษซึ่งเป็นตำราของสำนักวัดเขาอ้อเช่นกัน นอกจากนี้ท่านยังมีความเชี่ยวชาญในงานด้านช่าง ท่านพัฒนาวัดแหลมจากให้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นที่ประจักษ์โดยท่านลงมือทำงานด้านช่างเอง บรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งใกล้ไกลเลื่อมใสศรัทธา ท่านเคยได้รับนิมนต์ไปประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์บ่อยครั้งและหลายครั้งที่ท่านได้แสดงอภินิหารเป็นประสบการณ์ให้ได้พบเห็นในยามคับขัน แม้ท่านไม่โอ้อวดแต่สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความเลื่อมใส่ศรัทธาเล่าขานกันอย่างไม่จบสิ้น และเมื่อต้นปี พ.ศ. 2482 ท่านก็เริ่มอาพาธ จนกระทั้งมรณภาพในปี พ.ศ. 2482 นั้นเอง สิริอายุ 70 ปี 50 พรรษา ท่านได้มรณภาพหลังพระท่านอาจารย์จู่ลิ่ม เพียงไม่กี่เดือน ซึ่งเป็นการสูญเสียพระเถระที่เคารพนับถือเลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านญาติโยมและบรรดาสานุศิษย์ในเวลาใกล้เคียงกันถึง 2 รูป นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ เพราะท่านทั้งสองเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีศิษย์มากมายและถือได้ว่าเป็นต้นตำรับของพระเกจิอาจารย์สายควนเนียงและรัตภูมิที่มีชื่อเสียงในเวลาต่อมาอีกหลายรูป

เหรียญท่านอาจารย์มหาลอย วัดแหลมจาก รุ่นแรก

   เหรียญท่านอาจารย์มหาลอย วัดแหลมจาก รุ่นแรก สุดยอดแห่งความหายากของดินแดนแห่งทะเลสาบ เป็นเหรียญหลักของเมืองสงขลาที่ชาวสงขลาอยากได้มาบูชานับวันจะหาดูสวย ๆ ยาก ราคานับวันจะแรงขึ้น เป็นเหรียญที่ดังด้วยประสบการณ์ ประวัติการสร้างเหรียญพ่อท่านมหาลอย การสร้างนั้นได้สร้างหลังจากการมรณภาพของท่านมหาลอย หลวงพ่อภัทร ภัทริโย แห่งวัดโคกสูง ซึ่งขณะนั้นได้จำพรรษาอยู่ที่วัดแจ้ง สงขลา ได้ขออนุญาตโดยผ่านทางการทรงที่พระนอนองค์ใหญ่ โดยมีคำสั่งว่าให้สร้างได้ 5,059 เหรียญ ต้องมีส่วนผสมของทอง เงิน นาก ตลอดจนเป็นแบบด้านหน้าของเหรียญกับยันต์ด้านหลังเหรียญ และต้องนำออกมาแจกจ่ายประชาชน หลวงพ่อภัทร เมื่อได้รับอนุญาตโดยผ่านการทรงหน้าพระนอนแล้ว จึงได้เดินทางไปติดต่อทำเหรียญที่กรุงเทพฯ เดิมทีคิดว่าจะแจกในวันทำพิธีศพของท่านมหาลอยแต่ไม่ทัน ก็เลยนำมาแจกจ่ายภายหลัง โดยมีการพุทธาภิเษกที่วัดโพธิ์ ท่าเตียน กรุงเทพฯ และได้นำมาปลุกเสกต่อที่วัดแจ้ง สงขลา จำนวนการสร้าง 5,000 เหรียญ โดยมีหลวงพ่อภัทรเป็นประธานปลุกเสก ร่วมกับพระสงฆ์ที่วัดแจ้งอีก 9 รูป เนื่องจากการสร้างเหรียญครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแจกจ่ายให้ลูกศิษย์ตลอดจนประชาชนทั่วไป เหรียญนี้สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 2483 ลักษณะเหรียญเป็นรูปสี่เหลี่ยม ด้านหน้าเป็นรูปท่านมหาลอยนั่งเท้าแขนอยู่บนเก้าอี้ รูปนี้ได้จากภาพถ่ายของท่านเองซึ่งไปถ่ายที่ประเทศมาเลเซีย     



 
------------------------
  หน้าหลัก  
  คำถามที่มีการถามบ่อย  
  เราเล่นพระทำไม ?  
  กฎหมายพระเครื่อง  
  เกร็ดเล็ก-เกร็ดน้อย  
  สมัครเปิดร้านค้า  
  การชำระเงินค่าร้านค้า  
  ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง  
  ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับร้านค้า  
 
หน้าหลัก  อดีตสู่ปัจจุบัน  เว็บบอร์ดชมรม  ตารางประกวดพระ  สาระน่ารู้  เล่าสู่กันฟัง  ติดต่อเรา
Copyright©2024 zoonphra.com
Powered by Tactical IT