เว็บลิ้งค์ชมรมต่างๆ

เว็บไซต์วัดเกจิดังในสยาม
วัดอัมพวัน จ. สิงห์บุรี
วัดหนองป่าพง จ. อุบลฯ
วัดเขาแหลม จ. สระแก้ว
หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
วัดหัวป่า อ. ระโนด จ. สงขลา
วัดแก้วโกรวาราม จ. กระบี่
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
หลวงสมชาย วัดเขาสุกิม
ป้อนหมายเลขสิ่งของ


***พิมพ์หมายเลขสิ่งของจำนวน 13 หลัก

รายละเอียดเพิ่มเติม

  หน้าหลัก  :  อดีตสู่ปัจจุบัน  :  เว็บบอร์ดชมรม  :  ตารางประกวดพระ  :  สาระน่ารู้  :  เล่าสู่กันฟัง  :  ติดต่อเรา
ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง
ประวัติ หลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง
17-10-2009 Views: 11249

ชีวประวัติพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท)

ชาติภูมิ

    พระโพธิญาณเถร นามเดิม ชา ช่วงโชติ เกิดเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๑ ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ ๙ ต. ธาตุ อ. วารินชำราบ จ. อุบลราชธานี บิดาชื่อ นายมา มารดาชื่อ นางพิม ช่วงโชติมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๑๐ คน

    ปฐมศึกษา

    สมัยนั้นการศึกษายังไม่เจริญทั่วถึงหลวงพ่อจึงได้เข้าศึกษา ที่ ร.ร. บ้านก่อ ต. ธาตุ อ. วารินชำราบ จ. อุบลราชธานี เรียนจบ ชั้น ป. ๑ จึงได้ออกจากโรงเรียน เนื่องจากหลวงพ่อมีความสนใจ ทางศาสนา ตั้งใจจะบวชเป็นสามเณร จึงได้ขออนุญาตจากบิดามารดา เมื่อท่านเห็นดีด้วยท่านจึงนำไปฝากไว้ที่วัด

    ชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์

    ในขณะนั้นหลวงพ่อมีอายุ ๑๓ ปี เมื่อโยมบิดาได้นำไปฝากกับท่านเจ้าอาวาส และได้รับการฝึกหัดอบรมให้รู้ระเบียบการ บรรพชาดีแล้ว จึงอนุญาตให้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๗๔ โดยมีพระครูวิจิตรธรรมภาษี(พวง) อดีตเจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม เป็นพระอุปัชฌาย์

    เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ก็ได้ท่องทำวัตรสวดมนต์ เรียนหนังสือพื้นเมือง(ตัวธรรม) และได้ศึกษานักธรรมชั้นตรี อยู่ปฏิบัติครูบาอาจารย์เป็นเวลา ๓ พรรษา เนื่องจากมีความจำเป็นบางอย่างจึงได้ลาสิกขาออกไปทำงานช่วยบิดามารดาตามความสามารถของตน ตั้งอยู่ในโอวาทของบิดามารดามีความเคารพบูชาในพระคุณของท่าน พยายามประพฤติตนเป็นลูกที่ดีของท่านเสมอมา

    ครั้นอยู่ต่อมาอีกหลายปี ไม่ว่าจะทำงานอะไรอยู่ที่ไหนความสนใจในการอุปสมบทเพื่อศึกษาธรรม ดูเหมือนคอยเตือนให้มีความสำนึกอยู่เสมอ คิดอยากจะบวชเป็นพระ ได้ปรึกษากับบิดามารดา เมื่อตกลงกันดีแล้ว บิดาจึงนำไปฝากที่วัดบ้านก่อใน(ปัจจุบันเป็นที่ธรณีสงฆ์เพราะร้างมานาน แล้ว)และได้อุปสมบทที่พัทธสีมาวัดก่อในต.ธาตุอ.วารินชำราบจ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๒ เวลา ๑๓.๕๕ น. โดยมี

     ท่านพระครูอินทรสารคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์

     ท่านพระครูวิรุฬสุตการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

     พระอธิการสวน เป็นพระอนุสาวนาจารย์

     เมื่ออุปสมบทแล้ว พรรษาที่ ๑-๒ จำพรรษาอยู่ที่วัดก่อนอก ได้ศึกษาปริยัติธรรม และสอบนักธรรมชั้นตรีได้

     ออกศึกษาต่างถิ่น

     เมื่อสอบนักธรรมตรีได้แล้วเนื่องจากครูบาอาจารย์หายาก ที่มีอยู่ก็ไม่ค่อยชำนาญในการสอน จึงตั้งใจจะไปแสวงหาความรู้ต่างถิ่น เพราะยังจำภาษิตโบราณสอนไว้ว่า

     ออกจากบ้าน ฮู้ห่มทางเที่ยว เรียนวิชา ห่อนสิมีความฮู้ 

     ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ จึงได้ย้ายจากวัดก่อนอกไปศึกษาปริยัติธรรมที่วัดสวนสวรรค์ อ. พิบูลมังสาหาร จ. อุบลราชธานี และอยู่ที่นี่ ๑ พรรษา และได้พิจารณาเห็นว่า เรามาอยู่ที่นี่เพื่อศึกษาก็ดี พอสมควรแต่ยังไม่เป็นที่พอใจนัก ได้ทราบข่าวว่า ทางสำนัก ต่างอำเภอมีการสอนดีอยู่หลายแห่งซึ่งมีมากทั้งคุณภาพและ ปริมาณ จึงชวนเพื่อนลาท่านเจ้าอาวาสแจ้งความประสงค์ให้ท่าน ทราบ

     ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เดินทางจาก อ. พิบูลมังสาหาร มุ่งสู่สำนักเรียนวัดหนองหลัก ต. เหล่าบก อ.ม่วงสามสิบ จ. อุบลราชธานี ได้พักอาศัยอยู่กับท่านพระครูอรรคธรรมวิจารณ์ ได้ถามจากเพื่อนบรรพชิตก็ทราบว่า ท่านสอนดีมีครูสอนหลายรูปมีพระภิกษุ สามเณรมากรูปด้วยกันสระยะที่ไปอยู่เป็นฤดูแล้ง อาหารการฉัน รู้สึกจะอด เพื่อนที่ไปด้วยกันไม่ชอบจึงพูดรบเร้า อยากจะพาไปอยู่สำนักอื่น หลวงพ่อพูดว่า ทั้งๆที่เราก็ชอบอัธยาศัยของครูอาจารย์ที่วัดหนองหลักแต่ไม่อยากจะขัดใจเพื่อน จึงตกลงกันว่า ถ้าไปอยู่แล้วเกิดไม่พอใจหรือไม่ถูกใจแล้วจะกลับมาอยู่ที่หนองหลักอีก จึงได้เดินทางไปอยู่กับท่านมหาแจ้ง วัดเค็งใหญ่ ต. เค็งใหญ่ อ. อำนาจเจริญ จ. อุบลราชธานี ได้อยู่จำพรรษาศึกษานักธรรมชั้นโทและบาลีไวยากรณ์ แต่ตามความรู้สึกเท่าที่สังเกตเห็นว่าท่านมิได้ทำการสอนเต็มที่ ดูเหมือนจะถอยหลังไปด้วยซ้ำ ตั้งใจไว้ว่าเมื่อสอบนักธรรมเสร็จ ได้เวลาสมควรก็จะลาท่านมหาแจ้งกลับไปอยู่ที่วัดหนองหลักเมื่อสอบแล้ว และผลการสอบตอนปลายปีปรากฏว่าสอบนักธรรมชั้นโทได้

      ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ จึงย้ายจากวัดเค็งใหญ่ มาอยู่กับหลวงพ่อ พระครูอรรคธรรมวิจารณ์วัดหนองหลัก ต. เหล่าบก อ.ม่วงสามสิบ จ. อุบลราชธานี ตั้งใจศึกษาทั้งนักธรรมชั้นเอกและเรียนบาลีไวยากรณ์ซ้ำอีกทั้งพอใจในการสอนการเรียนในสำนักนี้มาก

     งดสอบเพื่อผู้บังเกิดเกล้า ทั้งๆที่ปีนี้ (๒๔๘๖) เป็นปีที่หลว+งพ่อเองเกิดความภูมิใจ สนใจในการศึกษา มุ่งหน้าบากบั่นขยันเรียนอย่างเต็มที่ และได้ตั้งความหวังไว้ว่า เมื่อผลการสอบตอนปลายปีออกมาจะพาให้ได้รับความดีใจ + หลังจากออกพรรษา ปวารณาและกาลกฐินผ่านไป...ก็ได้รับข่าวจากทางบ้านว่าโยมบิดาป่วยหนัก หลวงพ่อก็เกิดความ ลังเลใจ พะว้าพะวง ห่วงการศึกษาก็ห่วง ห่วงโยมบิดาก็ห่วง แต่ความห่วงผู้บังเกิดเกล้ามีน้ำหนักมากกว่าเพราะมาคิดได้ว่า โยมบิดาเป็นผู้มีพระคุณอย่างเหลือล้น เรามีชีวิตและเป็นอยู่ มาได้ก็เพราะท่าน สมควรที่เราจะแสดงความกตัญญูให้ปรากฏ เสียการศึกษายังมีเวลาเรียกกลับมาได้ แต่สิ้นบุญพ่อเราจะขอได้จากที่ไหน...ความกตัญญูมีพลังมารั้งจิตใจให้คิดกลับไปเยี่ยม โยมพ่อเพื่อพยาบาลรักษาท่าน...ทั้งๆที่วันสอบนักธรรมก็ใกล้ เข้ามาทุกที แต่ยอมเสียสละถ้าหากโยมพ่อยังไม่หายป่วย และ นึกถึงคำสอนของพระพุทธองค์ที่ทรงตรัสไว้ว่า ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี

     ด้วยความสำนึกดังกล่าว จึงได้เดินทางกลับบ้าน เมื่อถึงแล้วก็ได้เข้าเยี่ยมดูอาการป่วย ทั้งๆที่ได้ช่วยกันพยาบาลรักษาจนสุดความสามารถ อาการของโยมพ่อก็มีแต่ทรงกับทรุด คิดๆดูก็เหมือนตอไม้ที่ตายแล้ว แม้ใครจะให้น้ำให้ปุ๋ยถูกต้องตามหลัก วิชาการเกษตรสักเพียงใด ก็ไม่สามารถทำให้มันแตกหน่อเจริญ งอกงามขึ้นมาได้

    คำสั่งของพ่อ

    ตามปกตินั้นนับตั้งแต่หลวงพ่อได้อุปสมบทมา เมื่อมีโอกาสเข้าไปเยี่ยมโยมบิดามารดา หลังจากได้พูดคุยเรื่องอื่นมาพอสมควรแล้ว โยมพ่อมักจะวกเข้าหาเรื่องความเป็นอยู่ในเพศสมณะ ท่านมักจะปรารภด้วยความเป็นห่วงแกมขอร้องว่า อย่าลาสิกขานะ อยู่เป็นพระไปอย่างนี้แหละดี สึกออกมามันยุ่งยาก ลำบาก หาความสบายไม่ได้ ท่านได้ยินแล้วก็นิ่งมิได้ตอบ แต่ครั้งนี้ ซึ่งโยมพ่อกำลังป่วย ท่านก็ได้พูดเช่นนั้นอีกพร้อมกับมองหน้าคล้ายจะรอฟังคำตอบอยู่ ท่านจึงบอกโยมพ่อไปว่า ไม่สึกไม่เสิกหรอกจะสึกไปทำไมกัน รู้สึกว่าเป็นคำตอบที่ทำให้โยมพ่อพอใจ หลวงพ่อมาอยู่เฝ้าดูแลอาการป่วยของโยมพ่อนับเป็นเวลา ๑๓ วัน โยมพ่อจึงได้ถึงแก่กรรม

      ในระยะที่ได้เฝ้าดูอาการป่วยของโยมพ่ออยู่นั้น เมื่อโยมพ่อได้ทราบว่าอีก ๔-๕ วันจะถึงวันสอบนักธรรม ท่านจึงบอกว่าถึงเวลาสอบแล้วจะไปสอบก็ไปเสีย จะเสียการเรียน...แต่หลวงพ่อได้พิจารณาดูอาการป่วยของท่านแล้วตั้งใจว่าจะไม่ไป จะอยู่ให้ โยมพ่ออุ่นใจก่อนที่ท่านจะจากไป...อีกอย่างหนึ่งจะทำให้คนเขาตำหนิได้ว่า เป็นคนเห็นแก่ตัว ผู้บังเกิดเกล้ากำลังป่วยหนักยังทอดทิ้งไปได้ เลยจะกลายเป็นลูกอกตัญญูเท่านั้น

     หลวงพ่อเล่าว่า ในระหว่างเฝ้าดูอาการป่วยของโยมพ่อ จนกระทั่งท่านถึงแก่กรรม ทำให้ได้พิจารณาถึงธาตุกรรมฐาน พิจารณาดูอาการที่เกิดดับของสังขารทั้งมวล และเกิดความสังเวชใจว่าอันชีวิตย่อมสิ้นลงแค่นี้หรือ? จะยากดีมีจนก็พากันดิ้นรนไปหาความตาย อันเป็นจุดหมายปลายทาง อันความแก่ ความเจ็บ ความตายนั้น เป็นสมบัติสากลที่ทุกคนจะต้องได้รับ จะยอมรับหรือไม่ก็ไม่เห็นใครหนีพ้นสักราย...

      ปี พ.ศ.๒๔๘๗ เมื่อจัดการกับการฌาปนกิจโยมบิดาเรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อก็เดินทางกลับสำนักวัดหนองหลัก เพื่อตั้งใจศึกษาเล่าเรียนต่อไป แต่บางวันบางโอกาส ทำให้ท่านนึกถึงภาพของโยมพ่อที่นอนป่วย ร่างซูบผอมอ่อนเพลีย นึกถึงคำสั่งของโยมพ่อ และนึกถึงภาพที่ท่านมรณะไปต่อหน้า ยิ่งทำให้เกิดความลดใจสังเวชใจ ความรู้สึกเหล่านี้มันปรากฏเป็นระยะๆ

     ในระหว่างพรรษานี้ ขณะที่กำลังแปลหนังสือธรรมบทจบไปหลายเล่ม ได้ทราบพุทธประวัติสาวกประวัติจากหนังสือเล่มนั้นแล้วมาพิจารณาดู การที่เราเรียนอยู่นี้ครูก็พาแปลแต่สิ่งที่เรารู้ เราเห็นมาแล้ว เช่น เรื่องต้นไม้ ภูเขา ผู้หญิง ผู้ชาย และสัตว์ต่างๆ สัตว์มีปีกบ้าง ไม่มีปีกบ้าง สัตว์ มีเท้าบ้าง ซึ่งล้วนแต่เรา ได้พบเห็นมาแล้วเป็นส่วนมาก จิตใจก็รู้สึกเกิดความเบื่อหน่าย จึงคิดว่ามิใช่ทางพ้นทุกข์ พระพุทธองค์คงจะไม่มีพุทธประสงค์ให้บวชมาเพื่อเรียนอย่างเดียว และเราก็ได้เรียนมาบ้างแล้ว จึงอยากจะศึกษาทางปฏิบัติดูบ้าง เพื่อจะได้ทราบว่ามีความแตกต่างกันเพียงใด แต่ยังมองไม่เห็นครูบาอาจารย์ผู้พอจะเป็นที่พึ่งได้ จึงตัดสินใจจะกลับบ้าน

     พ.ศ.๒๔๘๘ ในระหว่างฤดูแล้ง จึงได้ปรึกษากับ พระถวัลย์(สา) ญาณจารี เข้ากราบลาหลวงพ่อพระครูอรรคธรรมวิจารณ์ เดินทางกลับมาพักอยู่วัดก่อนอกตามเดิม และในพรรษานั้นก็ได้เป็นครูช่วยสอนนักธรรมให้ท่านอาจารย์ที่วัด จึงได้เห็นภิกษุสามเณรที่เรียนโดยไม่ค่อยเคารพในการเรียน ไม่เอาใจใส่ เรียนพอเป็นพิธี บางรูปนอนน้ำลายไหล จึงทำให้เกิดความสังเวชใจมากขึ้นตั้งใจว่าออกพรรษาแล้วเราจะต้องแสวงหาครูบาอาจารย์ ด้านวิปัสนาให้ได้ เมื่อส่งนักเรียนเข้าสอบและหลวงพ่อก็เข้าสอบนักธรรมเอกด้วย (ผลการสอบปรากฏว่าสอบนักธรรมเอกได้)

     ออกปฏิบัติธรรม

      หลังจากสอบนักธรรมเสร็จแล้วสระยะนั้นได้ทราบข่าวว่าท่านอาจารย์มั่น วัดปิหล่อ อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี เป็นผู้สอนทางวิปัสนาธุระ จึงได้มุ่งหน้าได้สู่วัดของท่านทันที และได้ฝากตัวเป็นศิษย์อยู่ปฏิบัติทดลองดูได้ ๑๐ วันมีความรู้สึกว่ายังไม่ใช่ทางตรงแท้ ยังไม่เป็นที่พอใจในวิธีนั้น จึงกราบลาท่านกลับมาพักอยู่วัดนอกอีก

      พ.ศ.๒๔๘๙ (พรรษาที่๘) ในระหว่างต้นปี ได้ชวน พระถวัลย์ออกเดินธุดงค์มุ่งไปสู่จังหวัดสระบุรีเป็นเพื่อนร่วมเดินทาง ได้พักอยู่ตามป่าตามเขาไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไปถึงเขตหมู่บ้านยางคู่ ต.ยางคู่จ.สระบุรีได้พักอยู่ที่นั่นนานพอสมควรพิจารณาเห็นว่าสถานที่ยังไม่เหมาะสมเท่าใดนัก ทั้งครูบาอาจารย์ก็ยังไม่ดี จึงเดินทางเข้าสู่เขตจังหวัดลพบุรีมุ่งสู่เขาวงกฏ อันเป็นสำนักของหลวงพ่อเภา แต่ก็น่าเสียดายที่หลวงพ่อเภาท่านมรณภาพเสียแล้ว เหลือแต่อาจารย์วรรณ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อเภาอยู่ดูแล สั่งสอนแทนท่านเท่านั้น แต่ก็ยังดีที่ได้อาศัยศึกษาระเบียบข้อปฏิบัติที่หลวงพ่อเภาท่านวางไว้ และได้อ่านคติพจน์ที่หลวงพ่อเขียนไว้ตามปากถ้ำและตามที่อยู่อาศัยเพื่อเตือนใจ ทั้งได้มีโอกาส ศึกษาพระวินัยจนเป็นที่เข้าใจยิ่งขึ้น เป็นเหตุให้มีการสังวรระวัง ไม่กล้าฝ่าฝืนแม้แต่สิกขาบทเล็กๆน้อยๆ การศึกษาวินัยนั้นศึกษาจากหนังสือบ้าง และได้รับคำแนะนำจากพระอาจารย์ผู้ชำนาญทั้งปริยัติและปฏิบัติบ้าง ซึ่งท่านมาจากประเทศกัมพูชา ท่านว่าเข้ามาสอบทานพระไตรปิฎกไทย ท่านเล่าให้ฟังว่า ที่แปลไว้ในหนังสือนวโกวาทนั้น บางตอนยังผิดพลาด ท่านอาจารย์รูปนั้นเก่งทางวินัยมาก จำหนังสือบุพสิกขาได้แม่นยำเหมือนกับเราจำปฏิสังขาโยฯ ท่านบอกว่าเมื่อเสร็จภารกิจในประเทศไทยแล้วท่านจะเดินทางไปประเทศพม่า เพื่อศึกษาต่อไป ท่านเป็นพระธุดงค์ชอบอยู่ตามป่า น่าสรรเสริญน้ำใจท่านอยู่อย่างหนึ่งคือ

     วันหนึ่งหลวงพ่อ ได้ศึกษาวินัยกับท่านอาจารย์รูปนั้นหลายข้อมีอยู่ข้อหนึ่งซึ่งท่านบอกคลาดเคลื่อนไป ตามปกติหลวงพ่อ เมื่อได้ศึกษาวินัยและทำกิจวัตรแล้ว ครั้นถึงกลางคืนท่านจะขึ้นไปพักเดินจงกรม นั่งสมาธิอยู่บนหลังเขา วันนั้นประมาณ ๔ ทุ่มกว่าๆ ขณะที่กำลังเดินจงกรมอยู่ได้ยินเสียงกิ่งไม้ใบไม้แห้งดังกรอบแกรบ ใกล้เข้ามาทุกทีท่านเข้าใจว่าคงจะเป็นงูหรือสัตว์ อย่างอื่นออกหากิน แต่พอเสียงนั้นดังใกล้ๆเข้ามา ท่านจึงมองเห็นอาจารย์เขมรรูปนั้น หลวงพ่อจึงถามว่า ท่านอาจารย์มีธุระอะไรจึงได้มาดึกๆดื่นๆ ท่านจึงตอบว่า ผมบอกวินัยท่านผิดข้อหนึ่ง หลวงพ่อ จึงเรียนว่า ไม่ควรลำบากถึงเพียงนี้เลย ไฟส่องทางก็ไม่มี เอาไว้พรุ่งนี้จึงบอกผมใหม่ก็ได้ ท่านตอบว่า ไม่ได้ๆ เมื่อผมบอกผิด ถ้าผมตายในคืนนี้ท่านจำไปสอนคนอื่นผิดๆอีกก็จะเป็นบาปเป็นกรรมเปล่าๆ เมื่อท่านบอกเรียบร้อยแล้วก็กลับลงไป ดูเถิดน้ำใจของท่านอาจารย์รูปนั้นช่างประเสริฐและมองเห็นประโยชน์จริงๆ แม้จะมีความผิดพลาดเล็กน้อยในการบอกสอนก็มิได้ประมาท ไม่รอให้ข้ามวันข้ามคืน รีบแก้ไขทันทีทันใด จึงเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เราทั้งหลาย และน่าสรรเสริญน้ำใจของท่านโดยแท้

     พูดถึงการปฏิบัติที่เขาวงกฏในขณะนั้นรู้สึกว่ายังไม่แยบคาย เท่าใดนัก หลวงพ่อจึงคิดจะหาอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญยิ่งกว่านี้เพื่อปฏิบัติและค้นคว้าต่อไป ท่านจึงนึกถึงตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณรอยู่ที่วัดก่อนอกเคยได้เห็นพระกรรมฐานมีลูกปัดแขวนคอสำหรับ ใช้ภาวนากันลืมท่านอยากจะได้มาภาวนาทดลองดูบ้างนึกหาอะไรไม่ได้จึงมองไปเห็นลูกตะแบก(ลูกเปือยภูเขา) กลมๆ อยู่ บนต้นครั้นจะไปเด็ดเอามาเองก็กลัวจะเป็นอาบัติวันหนึ่งมีพวกลิงพากันมาหักกิ่งไม้และรูดลูกตะแบกเหล่านั้นมาคิดว่า เขาร้อยเป็นพวงคล้องคอ แต่เราไม่มีอะไรจะร้อยจึงถือเอาว่าเวลา ภาวนาจบบทหนึ่งจึงค่อยๆ ปล่อยลูกตะแบกลงกระป๋องทีละลูกจนครบร้อยแปดลูก ทำอยู่อย่างนั้นสามคืนจึงเกิดความรู้สึกว่า ทำอย่างนี้ไม่ใช่ทางเพราะไม่ต่างอะไรกับเจ๊กนับลูกหมากขาย ในตลาด จึงได้หยุดนับลูกตะแบกเสีย

     เหตุการณ์แปลกๆ ในพรรษาที่ ๘ นี้ ขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาวงกฏ วันหนึ่งขณะที่ขึ้นไปอยู่บนหลังเขา หลังจากเดินจงกรมและนั่งสมาธิแล้ว ก็จะพักผ่อนตามปกติ ก่อนจำวัตรจะต้องสวดมนต์ไหว้พระ แต่วันนั้นเชื่อความบริสุทธิ์ของตนเอง จึงไม่ได้สวดอะไร ขณะที่กำลังเคลิ้มจะหลับ ปรากฏว่าเหมือน มีอะไรมารัดลำคอแน่นเข้าๆแทบหายใจไม่ออก ได้แต่นึกภาวนาพุทโธๆเรื่อยไป เป็นอยู่นานพอสมควรอาการรัดคอนั้นจึงค่อยๆ คลายออก พอลืมตาได้แต่ตัวยังกระดิกไม่ได้ จึงภาวนาต่อไป จนพอกระดิกตัวได้แต่ยังลุกไม่ได้ เอามือลูบตามลำตัวนึกว่ามิใช่ตัวของเรา ภาวนาจนลุกนั่งได้แล้ว พอนั่งได้จึงเกิดความรู้สึกว่า เรื่องการถือมงคลตื่นข่าวแบบสีลัพพตปรามา ไม่ใช่ ทางที่ถูกที่ควรการปฏิบัติธรรมต้องเริ่มต้นจากมีศีล บริสุทธิ์เป็นเหตุให้พิจารณาลงสู่ว่า...สัตว์ ทั้งหลายมีกรรม เป็นของๆ ตนแน่ชัดลงไปโดยมิต้องสงสัยนับตั้งแต่นั้นมา หลวงพ่อชามีความระวังสำรวมด้วยดี มิให้มีความบกพร่องเกิดขึ้น แม้กระทั่งสิ่งของที่ได้มาโดยไม่บริสุทธิ์ตามวินัย และปัจจัย(เงินทอง) ท่านก็ละหมด และปฏิญาณว่าจะไม่ยอมรับตั้งแต่วันนั้นมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

      ในระหว่างพรรษานั้นได้รับข่าวว่า ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เป็นผู้มีคุณธรรมสูง ทั้งชำนาญด้านวิปัสนาธุระมีประชาชนเคารพเลื่อมใมาก ท่านมีสำนักอยู่ที่วัดป่าหนองผือนาใน อ.พรรณานิคม จ.กลนครโดยมีโยมอินทร์มรรคทายก เขาวงกฏเล่าให้ฟังและแนะนำให้ไปหา เพราะโยมอินทร์เคยปฏิบัติรับใช้ท่านอาจารย์มั่นมาแล้ว

      พ.ศ.๒๔๙๐ เป็นพรรษาที่ ๙ จำพรรษาอยู่ที่วัดเขาวงกฏ เมื่อออกพรรษาแล้วจึงมาพิจารณาดูว่า เราเอาลูกเขามาตกระกำลำบาก ข้ามภู ข้ามเขามา พ่อแม่เขาจะว่าเราได้ (หมายถึง พระมหาถวัลย์ ญาณจารี ตั้งแต่ครั้งยังเป็นพระสามัญ) และเห็นเขาสนใจท่องหนังสือ ควรจะส่งเขาเข้าเรียนหนังสือในกรุงเทพฯ จึงได้ตกลงแยกทางกัน ให้พระถวัลย์เข้าไปเรียนปริยัติธรรมในกรุงเทพฯ ส่วนหลวงพ่อชาจะเดินทางไปหาท่านพระอาจารย์มั่น และมีพระมาด้วยกัน ๔ รูป เป็นพระชาวภาคกลาง ๒ รูป พากันเดินทางย้อนกลับมาที่จังหวัดอุบลฯ พักอยู่ที่วัดก่อนอกชั่วคราว จึงพากันเดินธุดงค์กรำแดดไปเรื่อยๆ จุดหมายปลายทางคือ สำนักท่านพระอาจารย์มั่น ออกเดินทางไปได้พอถึงคืนที่ ๑๐ จึงถึงพระธาตุพนม นมัสการพระธาตุพนมและพักอยู่ที่นั่นหนึ่งคืน แล้วออกเดินทางไปอำเภอนาแกไปแวะนมัสการท่านอาจารย์สอนที่ ภูค้อ เพื่อศึกษาข้อปฏิบัติ แต่เมื่อสังเกตพิจารณาดูแล้วยังไม่เป็นที่พอใจนักได้พักอยู่ที่ภูค้อสองคืนจึงเดินทางต่อไปแยกกันเดินทาง เป็น ๒ พวกตรงนั้น หลวงพ่อชามีความตั้งใจว่า ก่อนจะไปถึง ท่านพระอาจารย์มั่นควรจะแวะสนทนาธรรมและศึกษาข้อปฏิบัติจาก พระอาจารย์ต่างๆไปก่อนเพื่อจะได้เปรียบเทียบเทียบเคียงกันดู

     ดังนั้นเมื่อได้ทราบว่ามีพระอาจารย์ด้านวิปัสนาอยู่ทางทิศใดจึงไปนมัสการอยู่เสมอ การกลับจากภูค้อนี้คณะที่ไปด้วยกันได้รับความลำบากเหน็ดเหนื่อยมาก จึงมีสามเณร ๑ รูป กับอุบาสก ๒ คน เห็นว่าตนเองคงจะไปไม่ไหวจึงลากลับบ้านก่อน ยังมีเหลือแต่หลวงพ่อกับพระอีก ๒ รูป เดินทางต่อไปโดยไม่ยอมเลิกล้มความตั้งใจเดิมแม้จะลำบากสักปานใดก็ต้องอดทนหลายวันต่อมา จึงเดินทางถึงสำนักของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต สำนัก หนองผือนาในอ.พรรณานิคมจ.กลนคร วันแรกพอ ย่างเข้าสู่สำนักสมองดูลานวัดสะอาดสะอ้าน เห็นกิริยามารยาทของเพื่อนบรรพชิต ก็เป็นที่น่าเลื่อมใสและเกิดความพอใจมากกว่า ที่ใดๆที่เคยผ่านมา พอถึงตอนเย็นจึงได้เข้าไปกราบนมัสการพร้อมศิษย์ของท่านและฟังธรรมร่วมกัน ท่านพระอาจารย์ได้ ซักถามเรื่องราวต่างๆ เช่น เกี่ยวกับอายุ พรรษา และสำนักที่เคยปฏิบัติมาแล้ว หลวงพ่อชาได้กราบเรียนว่ามาจากสำนักอาจารย์เภา วัดเขาวงกฏ จ. ลพบุรี พร้อมกับเอาจดหมายที่โยมอินทร์ฝากมาถวาย ท่านพระอาจารย์มั่นได้พูดว่า ดี...ท่านอาจารย์เภาก็เป็นพระแท้องค์หนึ่งในประเทศไทย ต่อจากนั้น ท่านก็เทศน์ให้ฟังโดยปรารภ ถึงเรื่องนิกายว่า ไม่ต้องสงสัยในนิกายทั้งสอง ซึ่งเป็นเรื่องที่หลวงพ่อสงสัยมาก่อนนั้นแล้ว ต่อไปท่านก็เทศน์ เรื่องสีลนิเทส สมาธินิเทส ปัญญานิเทส ให้ฟังจนเป็นที่พอใจและหายสงสัย และท่านได้อธิบายเรื่อง พละ ๕อิทธิบาท ๔ ให้ฟัง ซึ่งขณะนั้น ศิษย์ทุกคนฟังด้วยความสนใจมีอาการอันสงบเสงี่ยม ทั้งๆที่หลวงพ่อและเพื่อนเดินทางมาด้วยความเหน็ดเหนื่อยตลอดวัน พอได้มาฟังเทศน์ท่านพระอาจารย์มั่นแล้ว รู้สึกว่าความเมื่อยล้าได้หายไป จิตใจลงสู่สมาธิธรรมด้วยความสงบมีความรู้สึกว่าตัวลอยอยู่บนอานะ นั่งฟังอยู่จนกระทั่งเที่ยงจึงเลิกประชุม

      ในคืนที่ ๒ ได้เข้านมัสการฟังเทศน์อีก ท่านพระอาจารย์มั่นได้แสดงปกิณกะธรรมต่างๆ จนจิตเราหายความสงสัยมีความรู้สึกซึ่งเป็นการยากที่จะบอกคนอื่นให้เข้าใจได้ + ในวันที่ ๓ เนื่องจากความจำเป็นบางอย่าง จึงได้กราบลาท่านพระอาจารย์มั่นเดินทางลงมาทางอำเภอนาแก และได้แยกทาง กับพระบุญมี(พระมหาบุญมี) คงเหลือแต่พระเลื่อมพอได้เป็นเพื่อนเดินทาง ไม่ว่าหลวงพ่อจะเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิอยู่ ณ ที่ใดๆก็ตาม ปรากฏว่าท่านพระอาจารย์มั่นคอยติดตามตักเตือนอยู่ตลอดเวลา พอเดินทางมาถึงวัดโปร่งครองซึ่งเป็นสำนักของพระอาจารย์คำดี เห็นพระท่านไปอยู่ป่าช้าเกิดความสนใจมาก เพราะมาคิดว่าเมื่อเป็นนักปฏิบัติจะต้องแสวงหาความสงบ เช่น ป่าช้า ซึ่งเราไม่เคยอยู่มาก่อนเลย ถ้าไม่อยู่คงไม่รู้ว่ามีความ เหมาะสมเพียงใดเมื่อคนอื่นเขาอยู่ได้เราก็ต้องอยู่ได้จึงตัดสินใจ จะไปอยู่ป่าช้า และชวนเอาพ่อขาวแก้วไปเป็นเพื่อนด้วย

     ปรากฏการณ์แปลกครั้งที่ ๒ ชีวิตครั้งแรกที่เข้าอยู่ป่าช้าดูเหมือนเป็นเหตุบังเอิญในวันนั้นมีเด็กตายในหมู่บ้านเขา จึงเอาฝังไว้โยมเลยเอาไม้ไผ่ที่หามเด็กมานั้นสับเป็นฟากยกร้าน เล็กๆ พอนั่งได้ใกล้ๆกับหลุมฝังศพ หลวงพ่อชาเล่าว่า ทั้งๆที่ตัวเองก็รู้สึกกลัวเหมือนกัน แต่ไล่ให้พ่อขาวแก้วไปปักกลดห่างกันประมาณ ๑ เส้น เพราะถ้าอยู่ใกล้กันมันจะถือเอาเป็นที่พึ่ง คืนแรก ขณะที่เดินจงกรมเกิดความกลัว เกิดความคิดว่า หยุดเถอะพอแล้ว เข้าไปในกลดเถอะ ทั้งๆที่ยังไม่ดึกเท่าใด แต่ก็เกิดความคิด ขึ้นใหม่ว่า ไม่หยุด เดินต่อไป เรามาแสวงหาของจริง ไม่ได้ มาเล่น ...ความคิดชวนหยุดเข้ากลดเพราะกลัว กับความคิด หักห้ามว่าไม่หยุด เดินต่อไป ยังไม่ดึกมันเกิดแย้งกันอยู่เรื่อยๆ ต้องฝืนความรู้สึก อดทน อดกลั้นข่มใจไว้อย่างนั้น...และในคืนแรกนี้ขณะเดินจงกรมอยู่จิตเริ่มสงบพอเดินไปถึงหลุมฝังศพปรากฏว่า เรามองลงไปในหลุมเห็นองค์กำเนิดของเด็กผู้ชายชัดเจน ทั้งๆที่เราไม่ทราบว่าเขาเอาเด็กผู้ชายหรือผู้หญิงมาฝังไว้ พอถึงตอนเช้าจึงได้ถามโยมว่าเอาเด็กผู้ชายหรือผู้หญิงไปฝัง เขาตอบว่าเด็กผู้ชาย คืนแรกผ่านไป ยังไม่มีเหตุการณ์อะไรมากนัก ความกลัวก็มีไม่มาก

     วันที่ ๒ ก็มีคนตายอีก คราวนี้เป็นผู้ใหญ่ เขาพามาเผาห่างจากที่ปักกลดประมาณ ๑๐ วาส คืนนี้แหละเป็นคืนสำคัญ หลังจากเดินจงกรมได้เวลาพอสมควร จึงเข้านั่งสมาธิภายในกลด ได้ยินเสียงดังกุกกักทางกองฟอน เรานึกว่าหมามาแย่งกินซากศพสักครู่หนึ่งเสียงดังแรงขึ้นและ ใกล้เข้ามาท่านคิดว่าหรือจะเป็นควายของชาวบ้านเชือกผูกขาดมาหากินใบไม้ในป่า จิตใจเริ่มกลัวเพราะเสียงนั้นใกล้เข้ามาทุกที...หลวงพ่อได้ตั้งใจแน่วแน่ว่าไม่ว่า จะมีอะไรเกิดขึ้น แม้ตัวจะตายก็ไม่ยอมลืมตาขึ้นมาดู และจะไม่ยอมออกจากกลด ถ้าจะมีอะไรมาทำลายก็ขอให้ตายภายในกลดนี้ พอเสียงนั้นใกล้เข้ามาๆก็ปรากฏเป็นเสียงคนเดิน เดินเข้ามาข้างๆกลดแล้วเดินอ้อมไปทางพ่อขาวแก้ว กะประมาณพอไปถึงได้ยินเสียงดังอึกอักๆ แล้วเสียงคนเดินนั้นก็เดินตรงแน่วมาที่หลวงพ่อชาอีก ใกล้เข้ามาๆมาหยุดอยู่ข้างหน้าประมาณ ๑ เมตร

      ตอนนี้แหละความกลัวทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกดูเหมือน จะมารวมกันอยู่ที่นั่นหมด ลืมนึกถึงบทสวดมนต์ที่จะป้องกัน ลืมหมดทุกสิ่งทุกอย่าง กลัวมากถึงขนาดนั่งอยู่ข้างๆบาตรก็นึกเอาบาตรเป็นเพื่อน แต่ความกลัวไม่ลดลงเลย ปรากฏว่าเขายัง ยืนอยู่ข้างหน้าเรา ดีหน่อยที่เขาไม่เปิดกลดเข้ามา ในชีวิตตั้งแต่เกิดมาไม่เคยมีความกลัวมากและนานเท่าครั้งนี้ เมื่อความกลัว มันมีมากแล้วมันก็มีที่สุดของความกลัว เลยเกิดปัญหาถามตัวเอง ว่า กลัวอะไร? คำตอบก็มีขึ้นว่า กลัวตาย ความตายมัน อยู่ที่ไหน? อยู่ที่ตัวเราเอง เมื่อรู้ว่าอยู่ที่ตัวเรา จะหนีพ้นมัน ไปได้ไหม? ไม่พ้น เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เวลาใด คนเดียวหรือหลายคน ในที่มืดหรือที่แจ้ง ก็ตายได้ทั้งนั้น หนีไม่พ้นเลย จะกลัวหรือไม่กลัวก็ไม่มีทางพ้น เมื่อรู้อย่างนี้ความกลัวไม่รู้ว่าหายไปไหน เลยหยุดกลัว ดูเหมือนคล้ายกับเราออกจากที่มืดที่สุดมาพบแสงสว่างนั้นแหละ เมื่อความกลัวหายไปผู้ที่เข้ามายืนอยู่หน้ากลดก็หายไปด้วย เมื่อความกลัวกับสิ่งที่กลัวหายไปได้สักครู่หนึ่งเกิดลมและฝนตกลงมาอย่างหนัก ผ้าจีวรเปียกหมด แม้จะนั่งอยู่ภายในกลดก็เหมือนนั่งอยู่กลางแจ้ง เลยเกิดความสงสารตัวเองว่า ตัวเรานี้เหมือนลูกไม่มีพ่อแม่ไม่มีที่อยู่อาศัยเวลาฝนตก หนักเพื่อนมนุษย์เขานอนอยู่ในบ้านอย่างสบาย แต่เราซิมานั่งตากฝนอยู่อย่างนี้ ผ้าผ่อนเปียกหมด คนอื่นๆเขาคงไม่รู้หรอกว่า เรากำลังตกอยู่ในภาพเช่นนี้ ความว้าเหว่เกิดขึ้นนานพอสมควร เมื่อนึกได้ก็ห้ามไว้ด้วยปัญญา พิจารณาอาการอย่างนั้นก็สงบลง พอดีได้เวลารุ่งอรุณ จึงลุกจากที่นั่งสมาธิ ในระยะที่เกิดความกลัวนั้นรู้สึกปวดปัสสาวะ แต่พอกลัวถึงขีดสุดอาการปวดปัสสาวะก็หายไป และเมื่อลุกจากที่จึงรู้สึกปวดปัสสาวะ และเวลาไปปัสสาวะมีเลือดออกมาเป็นแท่งๆก่อนแล้วจึงมีน้ำ ปัสสาวะออกมาทำให้รู้สึกตกใจนิดหนึ่งคิดว่าข้างในคงแตกหรือขาด จึงมีเลือดออกอย่างนี้แต่ก็นึกได้ว่าจะทำอย่างไรได้ในเมื่อเรามิได้ทำ มันเป็นของมันเองถ้าถึงคราวตายก็ให้มันตายไปเสียนึกสอนตัวเอง ได้อย่างนี้ก็สบายใจ ความกลัวตายหายไปตั้งแต่นั้นมา พอได้เวลาบิณฑบาตพ่อขาวแก้วก็มาถามว่าหลวงพ่อ...หลวงพ่อ...เมื่อคืนนี้มีอะไรเห็นอะไรไปหาบ้าง ?มันเดินมาจากทางอาจารย์อยู่นั่นแหละมันแสดงอาการที่น่ากลัวใส่ผม ผมต้องชักมีดออกมาขู่มันมันจึงเดินกลับไป หลวงพ่อชาจึงตอบว่า จะมีอะไรเล่า...หยุดพูดดีกว่า พ่อขาวแก้วก็เลยหยุดถาม หลวงพ่อคิดว่าถ้าขืนพูดไป ถ้าพ่อขาวแก้ว เกิดกลัวขึ้นมาเดี๋ยวก็อยู่ไม่ได้เท่านั้น

     เมื่ออยู่ป่าช้าใกล้วัดท่านอาจารย์คำดีได้ ๗ วัน ก็มีอาการเป็นไข้ เลยพักรักษาตัวอยู่กับอาจารย์คำดีประมาณ ๑๐ วัน จึง ย้ายลงมาทางบ้านต้อง พักอยู่ที่ป่าละเมาะบ้านต้องได้เวลานาน พอสมควร จึงได้เดินทางกลับไปหาท่านอาจารย์กินรีพักอยู่ ที่นั่นหลายวัน จึงได้กราบลาท่านอาจารย์กินรี ที่วัดป่าหนองฮี อ. ปลาปาก จ. นครพนม แล้วจึงเดินทางต่อไป...

     อัฏฐบริขารหมดอายุ

     ในพรรษาที่ ๙ นี้ ได้มาจำพรรษาอยู่กับท่านอาจารย์กินรีมาขอพึ่งบารมีปฏิบัติธรรมกับท่าน และได้รับความสงเคราะห์จากท่านอาจารย์เป็นอย่างดี ท่านอาจารย์เห็นไตรจีวรเก่าขาด จะใช้ ต่อไปไม่ได้ ท่านจึงได้กรุณาตัดผ้าฝ้ายพื้นเมืองให้จนครบไตรจีวร หลวงพ่อชาคิดว่า ผ้านี้จะมีเนื้อหยาบหรือละเอียดไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่ใช้ได้ทนทานก็เป็นพอ ในพรรษานี้หลวงพ่อได้มีความขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติอย่างมากไม่มีความย่อท้อแต่ประการใด

       คืนวันหนึ่ง หลังจากหลวงพ่อทำความเพียรแล้วคิดจะ พักผ่อนบนกุฏิเล็กๆ พอเอนกายลง ศีรษะถึงหมอนด้วยการกำหนด ติ พอเคลิ้มไปเกิดนิมิตขึ้นว่า ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้มาอยู่ใกล้ๆ นำลูกแก้วลูกหนึ่งมายื่นให้แล้วพูดว่า ชา...เราจะให้ลูกแก้วลูกนี้แก่ท่านมันมีรัศมีสว่างไสวมาก หลวงพ่อยื่นมือขวาไปรับลูกแก้วลูกนั้น รวบกับมือท่านพระอาจารย์มั่นแล้วลุกขึ้นนั่ง พอรู้สึกตัวก็เห็นตัวเองยังกำมือและอยู่ในท่านั่งตามปกติมีอาการคิดค้นธรรมะเพื่อความรู้เกี่ยวกับ

      การปฏิบัติมีติปลื้มใจตลอดพรรษา

      รบกับกิเลส

      ในพรรษาที่อยู่กับพระอาจารย์กินรีนั้น ขณะที่มีความเพียรปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด ในวาระหนึ่งได้เกิดการต่อสู้กับราคะธรรมอย่างแรง ไม่ว่าจะเดินจงกรมนั่งสมาธิหรืออยู่ในอิริยาบถใด ก็ตาม ปรากฏว่ามีโยนีของผู้หญิงชนิดต่างๆ ลอยปรากฏเต็มไปหมด เกิดราคะขึ้นจนทำความเพียรเกือบไม่ได้ ต้องทนต่อสู้กับความ รู้สึกและนิมิตเหล่านั้นอย่างลำบากยากเย็นจริงๆมีความรุนแรงพอๆกับความกลัวที่เกิดขึ้นในคราวที่ ไปอยู่ป่าช้านั่นแหละ เดิน จงกรมไม่ได้เพราะองค์กำเนิดถูกผ้าเข้าก็จะเกิดการไหวตัว ต้องให้ทำที่เดินจงกรมในป่าทึบและเดินได้เฉพาะในที่มืดๆ เวลาเดินต้องถลกบงขึ้นพันเอวไว้จึงจะเดินจงกรมต่อไปได้ การต่อสู้กับกิเลสเป็นไปอย่างทรหดอดทน ได้ทำความเพียรต่อสู้กันอยู่นานเป็นเวลา ๑๐ วัน ความรู้สึกและนิมิตเหล่านั้นจึงจะสงบลงและหายไป

     เมื่อถึงหน้าแล้ง (ปี ๒๔๙๐) หลวงพ่อจึงกราบลาท่านอาจารย์กินรี เพื่อแสวงหาวิเวกต่อไป ก่อนจากท่านอาจารย์กินรีได้ให้โอวาทว่า ท่านชา... อะไรๆก็พอสมควรแล้ว แต่ให้ท่านระวังการเทศน์นะ ต่อจากนั้นก็ได้เดินทางไปเรื่อยๆ แสวงหาที่วิเวกบำเพ็ญสมณธรรมต่อไป จนเดินธุดงค์ไปถึงบ้านโคกยาว จังหวัดนครพนม ไปพักอยู่ในวัดร้างแห่งหนึ่งห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๑๐ เส้น ในระยะนี้จิตสงบและเบาใจ อาการมุ่งจะเทศน์ก็เริ่มปรากฏขึ้นมา

     เหตุการณ์แปลกครั้งที่ ๓ เมื่อได้ปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดร้างแห่งนั้น วันหนึ่งเขามีงานในหมู่บ้านมีมหรสพ เปิดเครื่องขยายเสียงดังอื้ออึงมาก ขณะนั้นหลวงพ่อกำลังเดินจงกรมอยู่ เป็นเวลาประมาณ ๔ ทุ่มเดินได้นานพอสมควรจึงนั่งสมาธิบนกุฏิ ชั่วคราว ขณะที่นั่งอยู่นั้นจิตใจเข้าสู่ความสงบ จนมีความรู้สึกว่า เสียงเป็นเสียง จิตเป็นจิตไม่ปะปนกัน ไม่มีความกังวลอะไรทั้งสิ้น อาการเหล่านี้ปรากฏเป็นเวลานาน ถ้าจะอยู่ตลอดคืนก็ได้จนจิตเกิดความรู้สึกว่า เอาละพักผ่อนเสียที จึงมีการพักผ่อนตามภาพของสังขาร พอเอนกายลงศีรษะยังไม่ถึงหมอน ด้วยติเต็มเปี่ยม จิตมีการน้อมเข้าสู่มรณติเป็นครั้งแรก จนกระทั่งจิตดำเนินเข้าไปผ่านจุดอันหนึ่ง ได้ปรากฏว่าร่างกายระเบิดเป็นผุยผง อาการจิตนั้นทะลุเข้าสู่จุดแห่งความสงบใสสะอาดอีกต่อไป เมื่อเวลานาน พอสมควรแล้ว จึงมีอาการถอนออกมาเป็นปกติธรรมดาอีกพักหนึ่ง แล้วก็มีอาการดำเนินเข้าไปถึงจุดอย่างเก่า ร่างกายมีกำลังระเบิดรุนแรงละเอียดยิ่งกว่าครั้งแรกประมาณ ๓ เท่า แล้วก็ทะลุเข้าสู่จุดนานพอสมควร จึงมีอาการถอนออกมาถึงปกติจิตธรรมดา แล้วก็มีอาการน้อมเข้าไปผ่านจุดอย่างเก่ามีการระเบิดอย่างรุนแรงยิ่งกว่าครั้งที่สองตั้ง ๓ เท่า จนคล้ายๆกับโลกนี้แหลกละเอียดไม่มีอะไรเหลือ แล้วจึงทะลุเข้าสู่จุดมุ่งสงบใสสะอาด ทั้งละเอียดยิ่งขึ้นถึง ๓ เท่า แล้วมีการถอนออกมาอีกเช่นเคย จึงมีความวิตกเกิดขึ้นว่านี่คืออะไร? มีคำตอบเกิดขึ้นว่า สิ่งนี้ไม่ต้องสงสัย สิ่งนี้คือของเป็นเอง ต่อจากนั้นมาก็มีความเบาใจ...ยากแก่การที่จะพูดให้คนอื่นเข้าใจได้ ลักษณะที่กล่าวมานี้เราไม่ต้อง ปรุงแต่งเป็นพลังจิตที่เป็นเองของมัน หลังจากนั้นการปฏิบัติมีความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากทีเดียว เมื่อพัก

      อยู่ที่วัดร้างบ้านโคกยาวได้ครบ ๑๙ วัน จึงเดินธุดงค์ไปตามบ้านเล็กบ้านน้อยเรื่อยไป การแสดงธรรมและการแก้ปัญหาของตนเองและผู้อื่น รู้สึกว่ามีความคล่องแคล่วมาก ไม่มีความสะทกสะท้านอะไรเลย

     ชนะใจตนย่อมพ้นภัย

     ในระยะเดินธุดงค์ระยะนี้ นอกจากมีพระเลื่อมเป็นเพื่อนแล้วก็ยังมีเด็กเป็นลูกศิษย์อีก ๒ คน เดินตามไปด้วยแต่เป็น เด็กพิการ...คนหนึ่งหูหนวก อีกคนหนึ่งขาเป๋เขายังอุตส่าห์ร่วมเดินทาง ด้วยและทำให้ได้ข้อคิดอันเป็นธรรมะสอนใจอยู่หลายอย่าง คนหนึ่งนั้นขาดี ตาดี แต่หูพิการ อีกคนหูดี ตาดี แต่ขาพิการ เวลา เดินทางคนขาเป๋เดินไปบางครั้งขาข้างที่เป๋ก็ไปเกี่ยวข้างที่ดีทำให้หกล้มหกลุกบ่อยๆ คนที่หูหนวกนั้นเล่า เวลาเราจะพูดด้วยต้องใช้มือใช้ไม้ประกอบแต่พอมันหันหลังให้ก็อย่าเรียกให้เมื่อยปากเลย เพราะเขาไม่ได้ยิน เมื่อมีความพอใจ...ความพิการนั้นไม่เป็นอุปสรรค ขัดขวางในการเดินทาง...ความพิการ แม้ตัวเขาเองก็ไม่ต้องการ พ่อแม่ของเขาก็คงจะไม่ปรารถนาอยากให้ลูกพิการอย่างนั้น แต่ก็หนีกฎของกรรมไม่พ้น จริงดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่าสัตว์ ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตนมีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นแดนเกิดฯลฯ เมื่อพิจารณาความพิการของเด็กที่เป็นเพื่อนร่วมเดินทาง ยังกลับเอามาสอนตนเองว่า เด็กทั้งสองพิการกายเดินทางได้ จะเข้ารกเข้าป่าก็รู้ แต่เราพิการใจ (ใจมีกิเลส) จะพาเข้ารกเข้าป่าหรือเปล่า...คนพิการกายอย่างเด็กนี้มิได้เป็นพิษเป็นภัยแก่ใคร แต่ถ้าคนพิการใจมากๆ ย่อมสร้างความวุ่นวายยุ่งยากแก่มนุษย์และสัตว์ ให้ได้รับความเดือดร้อนมากทีเดียว

      ครั้นวันหนึ่งเดินทางไปถึงป่าใกล้หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดนครพนม เป็นเวลาค่ำแล้ว และได้ตกลงจะพักในป่าแห่งนั้น และได้มองไปเห็นทางเก่าซึ่งคนไม่ค่อยใช้เดินเป็นทางผ่านดงใหญ่เป็นลำดับไปถึงภูเขา พลันก็นึกถึงคำสอนของคนโบราณว่า เข้าป่าอย่านอนขวางทางเก่า จึงเกิดความสงสัยอยากจะพิสูจน์ดูว่าทำไมเขาจึงห้าม...จึงตกลงกับท่านเลื่อมให้หลีกจากทางเข้าไปกาง กลดในป่าส่วนหลวงพ่อท่านก็กางกลดตรงทางเก่านั่นแหละ ให้เด็กสองคนอยู่ที่กึ่งกลางระหว่างกลดสองหลัง ครั้นเวลาจำวัตรหลังจากนั่งสมาธิพอสมควรแล้ว ต่างคนต่างก็พัก แต่ท่าน(หลวงพ่อชา) คิดว่า ถ้าเด็กมองมาไม่เห็นใครเขาอาจจะกลัวจึงเลิกผ้ามุ้งขึ้นพาดไว้ที่หลังกลดแล้วก็นอนตะแคงขวางทางอยู่ ใต้กลดนั่นเอง หันหลังไปทางป่าหันหน้ามาทางบ้าน แต่พอกำลังเตรียมตัวกำหนดลมหายใจเพื่อจะหลับ ทันทีนั้นหูก็แว่วได้ยินเสียงใบไม้แห้งดังกรอบแกรบๆ ซึ่งเป็นอาการก้าวเดินอย่างช้าๆ เป็นจังหวะใกล้เข้ามา...ใกล้เข้ามาจนได้ยินเสียงหายใจ และวาระจิตก็บอกตัวเองว่า เสือมาแล้ว จะเป็นสัตว์ อื่นไปไม่ได้ เพราะอาการ ก้าวเดินและเสียงหายใจมันบ่งอยู่ชัดๆ เมื่อรู้ว่าเสือเดินมา...เราก็คิดห่วงชีวิตอยู่ระยะหนึ่ง และพลันจิตก็สอนตนเองว่า อย่าห่วงชีวิตเลย แม้เสือจะไม่ทำลาย เจ้าก็ต้องตายอยู่แล้ว การตายเพื่อรักษาสัจธรรมย่อมมีความหมายเราพร้อมแล้ว...ที่จะเป็นอาหารของมัน ถ้าหากเราเคยเป็นคู่กรรมคู่เวรกันมาก็จงได้ใช้หนี้กันเสีย แต่ถ้าหากเราไม่เคยเป็นคู่เวรกับมัน มันคงจะไม่ทำอะไรเราได้ พร้อมกับจิตน้อมระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง เมื่อเรายอมและพร้อมแล้วที่จะตาย จิตใจก็รู้สึกสบาย ไม่มีกังวล และปรากฏว่าเสียงเดินของมันเงียบไป ได้ยินแต่เสียงหายใจ... กะประมาณอยู่ห่างจากท่าน ๖ เมตร ท่านนอนรอฟังอยู่สักครู่ เข้าใจว่ามันคงจะยืนพิจารณาอยู่ว่า ใครเล่า...มานอนขวางทางข้าฯ แต่แล้วมันคิดอย่างไรไม่ทราบมันจึงหันหลังเดินกลับไป เสียงกรอบแกรบของใบไม้แห้งดังห่างออกไปๆ จนกระทั่งเงียบหายไปในป่า...

       หลวงพ่อเล่าว่าเมื่อเราทอดอาลัยในชีวิตวางมันเสีย ไม่เสียดาย ไม่กลัวตาย ก็ทำให้เราเกิดความสบายและเบาใจจริงๆ คืนนั้นก็ผ่านไปจนได้ เวลาตื่นขึ้นบำเพ็ญธรรม หลังจากบิณฑบาตมาฉันแล้วก็ออกเดินทางต่อไป...เพราะท่านได้รู้แล้วว่าทำไมคนโบราณจึงสอนไว้ว่า เข้าป่าอย่านอนขวางทางเก่า

      หลวงพ่อและคณะได้ออกเดินทางไปถึงแม่น้ำสงคราม อ.ศรีสงคราม จ.นครพนมจนกระทั่งถึงแม่น้ำโขงข้ามไป นมัสการพระพุทธบาทพลสันติ์ ฝั่งลาว แล้วจึงข้ามกลับมา ย้อนกลับมาทางอำเภอศรีสงคราม

      พักอยู่บ้านหนองกาในเวลานั้นบริขาร ไม่สมบูรณ์เนื่องจากห่างหมู่ญาติและขาดผู้มีศรัทธา บาตรที่ใช้อยู่นั้นรู้สึกว่าเล็กและมีรูรั่วหลายแห่ง เกือบใช้ไม่ได้ พระวัดหนองกาจึงถวายบาตรขนาดกลางมีช่องทะลุนิดหน่อย แต่ไม่มีฝาบาตร จะหาฝาที่ไหนก็ไม่ได้ ขณะเดินจงกรมอยู่ก็คิดได้ว่า จะเอาหวายถักเป็นฝาบาตร จึงให้โยมเขาไปหาหวายมาให้ เกิดกังวลในการหา บริขาร คืนวันหนึ่งขณะที่จุดไต้กำลังเอาหวายถักเป็นฝาบาตรอยู่ จนขี้ไต้หยดลงถูกแขนพองขึ้น รู้สึกเจ็บแสบ จึงเกิดความรู้สึก ขึ้นว่า เรามามัวกังวลในบริขารมากเกินไป จึงได้ปล่อยวางไว้ เริ่มทำกรรมฐานต่อไปได้เวลานานพอสมควรจึงหยุดเพื่อจะพักผ่อน แต่พอเคลิ้มไปจึงเกิดสุบินนิมิตว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาเตือนว่า พฺเพอิเมปริกฺขาราปญฺจกฺขนฺธานํ ปริวาราเยว บริขารทั้งปวงเป็นเพียงเครื่องประดับขันธ์ ๕ เท่านั้น พอจบพุทธภาษิตนี้เท่านั้นก็รู้สึกตัวพร้อมทั้งลุกขึ้นนั่ง ทันที เป็นเหตุให้พิจารณาได้ความว่า การไม่รู้จักประมาณในการ บริโภคบริขารมีความกังวลในการจัดหาย่อมเป็นการยุ่งยาก ขาดการปฏิบัติธรรมย่อมไม่ได้รับผลอันตนพึงปรารถนา

     พ.ศ. ๒๔๙๑ (พรรษาที่๑๐) ในระยะต้นปีนี้เองหลวงพ่อ จึงย้ายจากบ้านหนองกา เดินทางไปได้ระยะไกลพอสมควร จึงได้ข้อคิดว่า การคลุกคลีอยู่ร่วมกับผู้มีปฏิปทาไม่เสมอกัน ทำให้เกิดความลำบาก จึงได้ตกลงแยกทางกันกับพระเลื่อม ต่างคนต่างไปตามชอบใจ ท่านเลื่อมนำเด็กสองคนนั้นไปส่งบ้านเขา ส่วนหลวงพ่อก็ออกเดินทางไปคนเดียว จนกระทั่งเดินมาถึงวัดร้างในป่าใกล้บ้านข่าน้อย ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอศรีสงคราม นั่นเอง เห็นว่าเป็นที่วิเวกเหมาะแก่การบำเพ็ญธรรมจึงได้พักอยู่ที่วัดร้างนั้น บำเพ็ญเพียรได้เต็มที่มีการสำรวมอย่างดีเพื่อให้เกิดความรู้ มิได้มองหน้าผู้ใส่บาตร และผู้ถวายอาหารเลย เพียงแต่รับทราบว่าเป็นชายหรือหญิงเท่านั้น เดินจงกรมอยู่จนเท้าเกิดบวมเดินต่อไปไม่ได้ จึงพักจากการเดิน ได้แต่นั่งสมาธิอย่างเดียว ใช้ตบะธรรมระงับ อาพาธเป็นเวลา ๓ วัน เท้าจึงหายเจ็บ การเทศน์ก็ดี การรับแขกก็ดี ท่านก็งดไว้เพราะต้องการความสงบ สระยะที่ปฏิบัติอยู่นั้น ทั้งๆ ที่ได้แยกทางกับเพื่อนมาเพราะไม่อยากคลุกคลีแต่ก็เกิดความอยากจะได้เพื่อนที่ดีๆ อีกสักคน จึงเกิดคำถามขึ้นว่า คนดีน่ะ อยู่ที่ไหน? ก็มีคำตอบเกิดขึ้นว่า คนดีอยู่ที่เรานี่แหละ ถ้าเราไม่ดีแล้วเราจะอยู่ที่ไหนกับใครมันก็ไม่ดีทั้งนั้น จึงได้ถือเป็นคติสอนตนเองมาจนกระทั่งทุกวันนี้... เมื่ออยู่ที่นั่นได้ครบ ๑๕ วันแล้วจึงออกเดินทางต่อไปผ่านบ้านข่าใหญ่มาถึงกลางป่า พักผ่อนอยู่เกิดกระหายน้ำมาก บ่อน้ำก็ไม่มี จึงเดินต่อไป พอจวนจะถึงแอ่งน้ำที่แห้งแล้ง เกิดฝนตกลงมาอย่างแรง น้ำฝนปนดินไหลลงรวมในแอ่ง ด้วยความกระหายจึงล้วงเอาหม้อกรองน้ำเดินลงไป เอาหม้อกรองจุ่มลงไปในน้ำ แต่เพราะน้ำขุ่นมากจึงไม่ไหลเข้าในหม้อกรองเลยไม่ได้ฉันน้ำจึงอดทนต่อความกระหายเดินทาง ต่อไป...

      ผู้หมดความโกรธ

      เมื่อหลวงพ่อเดินทางมาจนกระทั่งถึงวัดป่าซึ่งตั้งอยู่ในเขต ป่าช้า (เป็นที่พักสงฆ์) อยู่ในเขตจังหวัดนครพนม เป็นเวลาจวนจะเข้าพรรษาอยู่แล้วหลวงพ่อจึงขอพักกับหัวหน้าสงฆ์ มีนามว่า หลวงตาปุ้ม ได้สนทนาธรรมกันนานพอสมควร ได้ยินหลวงตา รูปนั้นพูดว่า ท่านหมดความโกรธแล้ว จึงเป็นเหตุให้หลวงพ่อนึกแปลกใจ เพราะคำพูดเช่นนี้ท่านไม่เคยได้ยินใครพูดมาก่อน จึงคิดว่าพระองค์นี้จะดีแต่พูด หรือว่าดีเหมือนพูด เราจะต้องพิสูจน์ให้รู้ จึงตัดสินใจขออยู่เพื่อการศึกษาธรรมะ แต่เนื่องจากหลวงพ่อไปรูปเดียว ทั้งอัฏฐบริขารก็เก่าเต็มที เขาไม่รู้ต้นสายปลายเหตุเพราะไม่มีใครรับรอง ถึงแม้จะขอจำพรรษาอยู่ด้วย ท่านเหล่านั้นก็ไม่ยอมเลยตกลงกันว่า จะให้ไปอยู่ที่ป่าช้าคนจีนซึ่งอยู่นอกเขตวัดไม่ไกลนัก หลวงพ่อก็ยินดีจะไปอยู่ที่นั่นแต่พอถึงวันเข้า พรรษาหลวงตาปุ้มและคณะจึงอนุญาตให้จำพรรษาในวัดได้

      ตอนหลังๆ ได้ทราบว่าหลวงตาปุ้มเกิดความลังเลใจ ตัดสินใจไม่ได้ว่าจะให้จำพรรษาอยู่นอกวัดหรือในวัด จึงไปปรึกษาท่านอาจารย์บุญมา ได้ทราบว่าอาจารย์บุญมาได้แนะว่า พระที่มีอายุพรรษามาก มารูปเดียวอย่างนี้จะให้จำพรรษานอกวัดดูจะ ไม่เหมาะ บางทีท่านอาจจะมีดีของท่านอยู่ ควรให้จำพรรษาในวัดนั่นแหละ

      ดังนั้นหลวงตาปุ้มและคณะจึงอนุญาตให้อยู่จำพรรษา ในวัดได้ แต่ต้องทำตามข้อกติกาดังนี้

      ๑.ไม่ให้รับประเคนของจากโยม เป็นแต่เพียงคอยรับจากพระรูปอื่นที่ส่งให้

     ๒.ไม่ให้ร่วมสังฆกรรม (อุโบสถ) เป็นแต่เพียงให้บอกบริสุทธิ์

     ๓.เวลาเข้าที่ฉันให้นั่งท้ายแถวของพระต่อกับสามเณร

     หลวงพ่อยินดีทำตามทุกอย่าง แม้ท่านจะมีพรรษาได้ ๑๐ พรรษาก็ตาม ท่านกลับภูมิใจและเตือนตนเองว่า จะนั่งหัวแถวหรือหางแถวก็ไม่แปลก เหมือนเพชรนิลจินดา จะวางไว้ที่ไหนก็มีราคาเท่าเดิม และจะได้เป็นการลดทิฏฐิมานะให้น้อยลงด้วย เมื่อปลงตกเสียอย่างนี้ จึงอยู่ได้ด้วยความสงบสุข หลวงพ่อเล่าว่าเมื่อเราเป็นคนพูดน้อย คอยฟัง คนอื่นเขาพูดแล้วนำมาพิจารณาดู ไม่แสดงอาการที่ไม่เหมาะ ไม่ควร คอยสังเกตจริยาวัตรของท่านเหล่านั้นย่อมทำให้ได้ บทเรียนหลายๆอย่าง ภิกษุสามเณรเหล่านั้นก็คอยสังเกตความบกพร่องของหลวงพ่ออยู่ เขายังไม่ไว้ใจ เพราะเพิ่งมาอยู่ร่วมกันเป็นพรรษาแรก

      เมื่อการอยู่จำพรรษาได้ผ่านไปประมาณครึ่งเดือน ทั้งๆ ที่ท่านทราบว่า ภิกษุสามเณรยังระแวงสงสัยในตัวท่านอยู่ แต่หลวงพ่อก็วางเฉยเสีย มุ่งหน้าต่อการปฏิบัติธรรม ท่านนึกเสียว่าเขาช่วยระวังรักษาความบกพร่องให้เรานั้นดีแล้ว เปรียบเหมือนมีคนมาช่วยรักษาความสกปรกมิให้แปดเปื้อนจึงเป็นการดีเสียอีก...

     ตามปกติหลังจากฉันเช้าเสร็จแล้ว ท่านนำบริขารกลับกุฏิ เมื่อเก็บไว้เรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อมักจะหลบไปพักเพื่อพิจารณาค้นหาธรรมในเขตป่าช้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัด ตรงกลางป่าช้าเขาปลูกศาลาเล็กไว้หลังหนึ่ง เมื่อมองจากศาลาย่อมมองเห็นหลุมฝังศพและฝังเถ้าถ่านกระดูกของเพื่อนมนุษย์เป็นหย่อมๆ ทำให้นึกถึงข้อธรรมะที่เคยพิจารณาว่า อธุวัง เม ชีวิตัง ชีวิตของเราไม่ยั่งยืน, ธุวัง เมสมรณัง ความตายของเรายั่งยืน,สอนิยะตัง เม ชีวิตัง ชีวิตของเราไม่เที่ยง, นิยะตัง เมสมะระณัง ความตายของเราเที่ยง, สักวันหนึ่งเราก็จะต้องทับถมดินเหมือนคนเหล่านั้น เราเกิดมาเพื่อถมดินให้สูงขึ้นหรือ? หรือเกิดมาทำไม...

      อยู่ต่อมาวันหนึ่ง ขณะที่หลวงพ่อกำลังพิจารณาธรรมชาติของต้นไม้ใบไม้ เถาวัลย์ต่างๆ อยู่ที่ศาลาเล็กกำลังสบายอารมณ์ มีกาตัวหนึ่งบินมาจับกิ่งไม้ใกล้ๆศาลา ส่งเสียงร้อง กา...กา... ท่านไม่สนใจเพราะนึกว่าคงร้องไปตามประสาสัตว์ แต่ที่ไหนได้ พอมันรู้ว่าเราไม่สนใจมันจึงลื่นลงมาจับที่พื้นตรงหน้าเรา ห่างกันเพียงประมาณ ๒ เมตร ปากมันคาบหญ้าแห้งคาบแล้ววางๆ พลางร้องว่ากวาวๆ...เหมือนมันจะยื่นหญ้าแห้งให้พอเราสนใจมองดู และรับทราบในใจว่า อื้อ...เจ้ามาบอกอะไรเล่า...กาก็บินหนีไป อยู่ต่อมาประมาณ ๓ วันมีเด็กชายคนหนึ่งอายุประมาณ ๑๓-๑๔ ปี ป่วยเป็นไข้และตายไป เขาจึงนำมาเผาในป่าช้าไม่ไกลจากศาลา และหลังจากเขาสวดมนต์ทำบุญแล้วได้ ๓-๔ วัน ขณะที่หลวงพ่อกำลังนั่งพิจารณาธรรมอยู่ก็มีกาบินมาจับกิ่งไม้ข้างศาลาอีก เมื่อเราไม่สนใจมันก็บินลงมาจับดินและแสดงอาการเหมือนครั้งแรก พอหลวงพ่อมองดูมันและรับทราบ กาตัวนั้นก็บินหนีไป...อยู่ต่อมาอีกประมาณ ๓ วัน พี่ชายของเด็กที่ตายไปแล้วนั้น ซึ่งมีอายุประมาณ ๑๕-๑๖ ปีเกิดป่วยเป็นไข้กะทันหันและก็ตายอีกพวกญาตินำมา เผาในป่าช้านั้นอีก หลังจากทำบุญตักบาตรแล้วประมาณ ๓-๔ วัน ขณะที่หลวงพ่อนั่งพักอยู่ในศาลากลางป่าช้า ก็มีกาบินมาเกาะ กิ่งไม้ ส่งเสียงร้องเหมือนเก่า เมื่อไม่สนใจมันก็บินลงมาจับพื้น คาบหญ้าแห้งเหมือนจะยื่นให้ คาบวางๆพอรับทราบว่า อะไร กันเล่าจะมาบอกอะไรอีก...กาตัวนั้นก็บินหนีไป หลวงพ่อจึงคิดว่า ๒ ครั้งก่อนมันทำอย่างนี้มีคนตาย ๒ คน แต่คราวนี้มันมาทำอีก ทำไมจะมีคนตายอีกหรือ อยู่ต่อมาอีก ๓-๔ วัน พี่สาวของเด็กพวกนั้นซึ่งมีอายุประมาณ ๑๘-๑๙ ปี ป่วยเป็นไข้และก็ได้ตาย ลงอีกและได้นำมาเผาที่ป่าช้านั้นอีก ความทุกข์เป็นอันมากดูเหมือน จะมารวมแผดเผาพ่อแม่และญาติของเด็กพวกนั้นให้เกรียมไหม้ร้องไห้จนแทบจะไม่มีน้ำตาออกชั่วระยะ

      เพียงครึ่งเดือนเขาต้อง สูญเสียลูกไปตั้ง ๓ คน หลวงพ่อได้มาเห็นภาพของคนเหล่านั้นผู้ได้รับความทุกข์โศก ยิ่งทำให้เกิดธรรมะเตือนตนมิให้ประมาท ในการทำความเพียร ความทุกข์ความโศกย่อมเกิดจากของที่เรารักเราหวงแหน ซึ่งเป็นความจริงที่พระพุทธองค์ตรัสไว้นานแล้วและเป็นความจริงเสมอไป อาศัยศาลากลางป่าช้าและหลุมฝังศพเป็นที่มาแห่งธรรมะสอนใจมิให้ประมาทเป็นอย่างดี...

      ในพรรษาที่อยู่วัดป่าแห่งนี้ จิตใจรู้สึกมีความหนักแน่นและเข้มแข็งพอสมควร การทำความเพียรก็เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ และการเคารพต่อกฎกติกาที่ตั้งไว้ก็มิได้บกพร่องมีความสำรวม สระวังอยู่มิได้ประมาท พระพุทธองค์ตรัสว่า ศีลจะรู้ได้เพราะ อยู่ร่วมกันนานๆ ดังนั้นของสิ่งใดที่เห็นว่าไม่ถูกต้องตามพระวินัย หรือรับประเคนแต่ไม่ได้องค์แห่งการประเคน หลวงพ่อก็ไม่ฉัน จะพิจารณาฉันเฉพาะสิ่งที่เห็นว่าถูกต้องตามพระวินัยเท่านั้น

       ในพรรษานั้นหลวงพ่อทำความเพียรหนักยิ่งขึ้น แม้ฝน จะตกก็ยังเดินจงกรมอยู่ เพื่อค้นหาทางพ้นทุกข์มีเวลาจำวัดน้อย ที่สุด วันหนึ่งเกิดสุบินนิมิตว่า ได้ออกไปในที่แห่งหนึ่ง ไปพบคนแก่และป่วย ร้องครวญครางมีคนพยุงตัวให้ลุกขึ้นนั่ง หลวงพ่อพิจารณาดูแล้วก็เดินผ่านไป จึงไปพบคนเจ็บหนักจวนจะตาย มีร่างกายซูบผอม จะหายใจแต่ละครั้งทำให้มองเห็นกระดูกซี่โครงไล่กันเป็นแถวๆ ทำให้เกิดความสังเวชจึงเดินเลยไป จึงไปพบ คนตายนอนหงายอ้าปากยิ่งทำให้เกิดความลดใจมาก เมื่อ รู้สึกตัวก็ยังจำภาพในฝันนั้นได้ดีอยู่ จึงคิดหาทางพ้นทุกข์ รู้สึกเบื่อหน่ายต่อชีวิตคิดอยากจะปลีกตัวขึ้นไปอยู่บนยอดเขาประมาณ ๗ วัน ๑๕ วัน จึงจะลงมาบิณฑบาต แต่มีปัญหาเรื่องน้ำดื่มจะต้อง ดื่มทุกวัน จึงนึกถึงกบในฤดูแล้งมันอยู่ในรูอาศัยน้ำเยี่ยวมันเองมันก็มีชีวิตอยู่ได้ เมื่อคิดได้ดังนั้นจึงตกลงจะฉันน้ำปัสสาวะของ ตัวเอง จึงทำการทดลองดูก่อน วันนั้นหลังจากฉันอาหารแล้ว จึง ดื่มน้ำบริสุทธิ์จนอิ่ม อยู่ได้ประมาณ ๓ ชั่วโมง รู้สึกปวดปัสสาวะเวลาปัสสาวะออกมาจึงเอาแก้วมารอง ไว้เสร็จแล้วจึงเทหน้าฝาออก นิดหนึ่ง จึงยกขึ้นดื่มรู้สึกว่ามีรส เค็ม ทีนี้อยู่ได้ประมาณ ๒ ชั่วโมง ก็ปวดปัสสาวะอีก เวลาปัสสาวะออกก็เอาแก้วมารองเสร็จแล้วก็ดื่มเข้าไปอีก คราวนี้อยู่ได้ประมาณ ๑ ชั่วโมง ก็ปวดปัสสาวะอีก เวลาถ่ายปัสสาวะก็เอาแก้วมารองไว้เสร็จแล้วก็ดื่มเข้าไปอีก ได้ประมาณ ๒๐ นาทีก็ปวดปัสสาวะ และก็ทำอย่างเก่า ดื่มเข้าไปอีก คราวนี้อยู่ได้ ๑๕ นาทีก็ปวดอีกถ่ายออกมาแล้วดื่มเข้าไปอีกและอยู่ได้ประมาณ ๕ นาที ปวดปัสสาวะ และถ่ายออกมาหาอะไรรองแล้วดื่มเข้าไปคราวนี้กะว่าพอตกถึงกระเพาะก็ไหลออกเป็นปัสสาวะ เลยมีสีขาวๆ จึงได้เกิดความรู้สึกว่า น้ำปัสสาวะเป็นเศษของน้ำแล้ว จะอาศัยดื่มอีกไม่ได้ จึงทอดอาลัยในการที่จะหาน้ำดื่มเช่นวิธีนั้น

      นอกจากนั้นยังหัดปลงผมด้วยตนเอง เลยเป็นนิสัยมาจนทุกวันนี้ และเป็นแบบอย่างให้ศิษย์ทั้งหลายได้ทำตาม เมื่อคิดว่าไม่อาจไปอยู่บนยอดเขาได้ก็คิดหาวิธีใหม่ โดยทำการอดอาหารคือ ฉันวันเว้นวันลับกันไป ทำอยู่ประมาณ ๑๕ วัน และในระหว่างนี้ทำให้ร่างกายร้อนผิดปกติเหมือนถูกไฟเผามีอาการทุรนทุรายแทบจะทนไม่ไหว จิตใจก็ไม่สงบ จึงนึกได้ว่า มิใช่ทาง...ทำให้ นึกถึง อปัณณกปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติไม่ผิด ได้แก่ โภชะเนมัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการฉันอาหารพอสมควร ไม่มาก ไม่น้อย สำรวม อินทรีย์ตื่นขึ้นทำความเพียรไม่เกียจคร้าน และเมื่อนึกได้ จึงหยุดวิธีทรมานนั้นเสีย กลับฉันอาหารเป็นปกติวันละครั้งดั่งเดิมบำเพ็ญสมณธรรมได้จิตใจก็

      สงบดีเวลาเข้าสมาธิ สามารถถอดรูปร่างโดยมองเห็นรูปร่างของตนอีกร่างหนึ่งนั่งอยู่ข้างหน้าด้วยความชัดเจน มิได้ง่วงนอนปราศจากนิวรณ์ทุกอย่าง รู้สึกว่าการปฏิบัติก็สะดวกดีจิตใจสงบเย็น...เมื่อออกพรรษาแล้ว หลวงตาปุ้มชวนข้ามไปตั้งสำนักกรรมฐานอยู่ทางฝั่งประเทศลาว หลวงพ่อไม่เห็นดีด้วย จึงไม่ยอมไป พอจวนจะสิ้นปีหลวงตาจึง พาลูกวัดย้ายหนีไปจากวัดนั้นได้ประมาณ ๗ วัน หลวงพ่อก็ได้ย้ายจากที่นั่นไปเช่นกัน

      พ.ศ.๒๔๙๒ (พรรษาท ี่๑๑) เมื่อออกจากวัดป่าอำเภอศรีสงครามแล้ว หลวงพ่อก็เดินทาง ขึ้นสู่ภูลังกาซึ่งอยู่ในเขต อ.บ้านแพงจ.นครพนมได้ไปพักสนทนาธรรมกับอาจารย์วัน เป็นเวลา ๓ วัน จึงได้เดินธุดงค์ไปเรื่อยๆ นานพอสมควรจึงได้ลงจากภูลังกามากราบท่านอาจารย์กินรี วัดป่าหนองฮี อีกทีหนึ่ง ท่านอาจารย์กินรีได้เตือนติว่า ท่านชา...เอาล่ะการเที่ยวธุดงค์ก็พอสมควรแล้ว ควรจะหาที่อยู่เป็นหลักแหล่งที่ราบๆ หลวงพ่อจึงเรียนท่านว่า กระผมจะกลับบ้าน ท่านอาจารย์กินรีจึงพูดว่า จะกลับบ้าน คิดถึงใคร ถ้าคิดถึงผู้ใด ผู้นั้นจะให้โทษแก่เรานะ หลวงพ่อชาจึงได้กราบลาท่านอาจารย์กินรีเดินทางต่อมาเป็นเวลาหลายวัน จนกระทั่งได้มาถึงบ้านป่าตาว ต.คำเตย อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร (แต่สมัยนั้นขึ้นกับ จ.อุบลฯ) ได้พักอยู่ที่ป่าไม่ไกลจากบ้านเท่าใดนัก ได้มีโอกาส เทศน์สั่งสอนประชาชนแนะแนวทางแห่งการปฏิบัติธรรมแก่คนในถิ่นนั้นจนเกิดความเลื่อมใสพอสมควร และได้พักอยู่เป็นเวลา ๒ เดือน จึงได้ลาญาติโยมเดินทางลงมาทางใต้ก่อนจะจากมาโยมได้มอบเด็กคนหนึ่งเป็นศิษย์ เมื่อเดินทางมาอำเภอวารินฯ แล้วหลวงพ่อจึงให้เด็กชายทองดีผู้เป็นศิษย์ บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดวารินทราราม เมื่อหลวงพ่อเดินทางมาถึงบ้านเกิดแล้ว จึงได้ไปพักอยู่ที่ป่าช้าบ้านก่อ เป็นเวลา ๗ วัน มีโอกาส ได้เทศน์ให้ญาติโยมฟังพอรู้แนวทางบ้างเป็นบางคนแล้ว หลวงพ่อจึงได้ออกเดินทางไป อ. กันทรลักษ์ จ. ศรีสะเกษและได้ พักอยู่ในป่าใกล้บ้านสวนกล้วยและในพรรษาที่ ๑๑ นี้ก็ได้จำพรรษา อยู่ที่บ้านสวนกล้วย (ปัจจุบันสถานที่นั้นเขาสร้างเป็นวัดแล้ว) และในพรรษานี้ได้เกิดเหตุการณ์อันเป็นบุรพนิมิตดังต่อไปนี้...

      ๑.คืนวันหนึ่งเมื่อหลวงพ่อเดินจงกรม นั่งสมาธิเป็นเวลา พอสมควรแล้วจึงพักผ่อนจำวัด ได้เกิดสุบินนิมิตไปว่า... มีคนเอาไข่มาถวายหนึ่งฟอง พอหลวงพ่อรับแล้วจึงโยนไปข้างหน้า ไข่ฟองนั้นแตกเกิดเป็นลูกไก่สองตัววิ่งเข้ามาหาจึงยื่นมือทั้งสอง ออกไปรับข้างละตัว พอถูกมือก็กลายเป็นเด็กชายสองคน พร้อมกับได้ยินเสียงบอกว่า คนอยู่ทางขวามือชื่อ บุญธรรม คนที่อยู่ทางซ้ายมือชื่อ บุญธง ปรากฏว่าหลวงพ่อได้เลี้ยงเด็กสองคนนั้นไว้กำลังเติบโตน่ารักวิ่งเล่นได้แล้ว ต่อมาเด็กชายบุญธงป่วยเป็นโรคบิด อย่างแรงพยายามรักษาจนสุดความสามารถ แต่ก็ไม่หายจนกระทั่ง เด็กนั้นได้ตายอยู่ในมือ และได้ยินเสียงบอกว่าบุญธงตายแล้ว เหลือแต่บุญธรรมคนเดียว จึงรู้สึกตัวตื่นขึ้น จึงเกิดคำถามว่า นี่คืออะไร? มีคำตอบปรากฏขึ้นว่า นี่คือสภาวธรรมที่เป็นเอง จึงได้หายความสงสัย

      ๒.ในคืนต่อมาก็มีอาการอย่างเดียวกัน พอเคลิ้มจะหลับไปก็เกิดสุบินว่า หลวงพ่อชาได้ตั้งครรภ์ รู้สึกว่าไปมาลำบากเหมือน คนมีครรภ์จริงๆแต่ก็มีความรู้สึกในสุบินนั้นว่าตัวเองก็ยังเป็นพระอยู่ เมื่อครรภ์แก่เต็มที่ครรภ์จะคลอดจึงมีคนมานิมนต์ไปบิณฑบาต พอไปถึงที่ที่เขานิมนต์มองไปรอบๆ บริเวณเห็นลำธาร กระท่อมไม้ไผ่ขัดแตะกลางทุ่งนาและเห็นพระอยู่บนเรือน ๓ รูป ไม่ทราบว่ามาจากไหน...โยมเขาพากันถวายอาหารบิณฑบาตพระ ๓ รูปนั้น ฉันอยู่ข้างบนแต่หลวงพ่อชาปรากฏว่าท้องแก่จวนจะคลอดเขาจึงให้ฉันอยู่ข้างล่างพอพวกพระฉันจังหัน

     ท่านหลวงพ่อชาก็คลอดเด็กพอดีและเป็นเด็กชาย มีขนนุ่มนิ่มบนฝ่ามือและฝ่าเท้า มีอาการ ยิ้มแย้มแจ่มใส ท้องปรากฏว่าแฟบลง นึกว่าตัวเองคลอดจริงๆ จึง เอามือคลำดูแต่ก็ไม่มีสิ่งเปรอะเปื้อนใดๆ ทำให้นึกถึงพระพุทธองค์ ที่ทรงประสูติจากครรภ์พระมารดา คงจะไม่เปรอะเปื้อนมลทินใดๆ เช่นกัน และเวลาฉันจังหันพวกโยมพิจารณากันว่า ท่านคลอดบุตรใหม่จะเอาอะไรให้ฉัน เขาจึงเอาปลาหมอปิ้ง ๓ ตัวให้ฉัน รู้สึกว่าเหนื่อยอ่อนไม่อยากฉัน แต่ก็อดใจฉันไปเพื่อฉลองศรัทธา เขา เพราะมันไม่มีรส ชาติอะไร ก่อนจะฉันจึงส่งเด็กให้โยมอุ้มไว้ พอฉันเสร็จเขาจึงส่งเด็กคืนมาให้ พอถึงมือรับไว้เด็กพลัดตกหล่นจากมือแล้วจึงรู้สึกตัวตื่นขึ้น เกิดคำถามว่า นี่คืออะไร? มีคำตอบว่า นี่คือภาวะที่เป็นเองทั้งนั้น เลยหมดความสงสัย

     ๓.คืนที่สามต่อมาก็อยู่ในอาการดังกล่าวนั่นแหละพอพักผ่อนเคลิ้มหลับไปก็เกิดสุบิน ว่าได้รับนิมนต์ให้ขึ้นไปยอดเขากับ สามเณรรูปหนึ่ง ทางขึ้นเขานั้นเป็นทางเวียนขึ้นไปเหมือนก้นหอย วันนั้นเป็นวันเพ็ญ และภูเขาก็สูงมากพอขึ้นไปถึงแล้วรู้สึกว่าเป็นที่ร่มรื่นดีมีม่านปูพื้นและกั้น

     เพดานสวยงามมากจน

     หาที่เปรียบไม่ได้ แต่เวลาจะฉันเขาก็นิมนต์ลงมาที่ถ้ำข้างภูเขามีโยมแม่ (แม่พิมโยมมารดา) และน้ามีพร้อมญาติโยมเป็นบริวารจำนวนมากไปถวาย อาหาร อาหารที่ถวายนั้นโยมแม่ได้แตงและผลไม้อื่นๆ ส่วนน้ามีได้ไก่ย่าง เป็ดย่างมาถวาย หลวงพ่อจึงทักขึ้นว่า โยมมีอยู่เห็นจะมีความสุขนะ ได้ไก่ย่างเป็ดย่างมาถวายพระ โยมมีก็ยิ้มแย้มแจ่มใสดี เมื่อฉันอาหารเสร็จแล้วได้เทศน์ให้เขาฟังนานพอสมควร เมื่อเทศน์จบจึงรู้สึกตัวตื่นขึ้น

     พ.ศ.๒๔๙๓ (พรรษาที่๑๒) ในระหว่างต้นปีได้รับจดหมายจากพระมหาบุญมี ซึ่งเคยเป็นเพื่อนปฏิบัติมาด้วยกัน แจ้งข่าวเรื่องการปฏิบัติธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญธนบุรี จึงได้เดินทางลงไป และได้พักอยู่กับพระมหาบุญมีที่วัดปากน้ำ ๗ วันได้มีโอกาส นมัสการหลวงพ่อเจ้าอาวาสได้สังเกตและพิจารณา ดูแล้วเห็นว่าเป็นไปเพื่อรักษาโรคภัยบางอย่าง ยังไม่ถูกนิสัย จึงได้เดินทางออกไปพักอยู่ที่วัดใหญ่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และได้ปฏิบัติธรรมอยู่ร่วมกับพระอาจารย์ฉลวย และหลวงตาแปลก และที่บริเวณใกล้ๆวัดมีสถานที่ลำธารและกระท่อมไม้ไผ่และสิ่งอื่นๆ เหมือนดังภาพที่ปรากฏในคราวฝันเห็นอยู่ที่บ้านสวนกล้วยจริงๆ ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนั้น ๒ พรรษา การปฏิบัติธรรมร่วมกันนั้นเป็นไปโดยความสะดวกและสามัคคีเป็นอย่างดี

      รักษาโรคด้วยธรรมโอสถครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ.๒๔๙๔ นั่นเอง หลวงพ่อป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับท้องมีอาการบวมขึ้นทางด้านซ้าย รู้สึกเจ็บปวดที่ท้องมาก และผมกับโรคหืดที่เคยเป็นอยู่แล้วก็ซ้ำเติมอีก หลวงพ่อชาพิจารณาว่า อันตัวเรานี้ก็อยู่ห่างไกล ญาติพี่น้อง ข้าวของเงินทองก็ไม่มี เมื่อป่วยขึ้นมาครั้นจะไปรักษาที่โรงพยาบาลก็ขาดเงินทอง จะเป็นการทำความยุ่งยากแก่คนอื่น อย่ากระนั้นเลยเราจะรักษาด้วยธรรมโอสถโดยยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่ง ถ้ามันจะหายก็หาย ถ้าหากมันทนไม่ได้ก็ให้มันตายไปเสีย...จึงทอดธุระในสังขารของตนโดยการอดอาหารไม่ยอมฉันจะดื่ม เพียงแต่น้ำนิดๆหน่อยๆ เท่านั้น...ทั้งไม่ยอมหลับนอน จึงได้แต่เดินจงกรมและนั่งสมาธิลับกันไป เวลารุ่งเช้าเพื่อนๆเขาไปบิณฑบาต หลวงพ่อก็เดินจงกรม พอเพื่อนกลับมาก็ขึ้นกุฏิ นั่งสมาธิต่อไปมีอาการอ่อนเพลียทางร่างกาย แต่กำลังใจดีมาก ไม่ย่อท้อต่อสิ่งทั้งปวง หลวงพ่อเคยพูดเตือนว่า การอดอาหารนั้นสระวังให้ดี...บางทีจะทำให้เราหลง เพราะจิตคิดไปมองดูเพื่อนๆ เขาฉันอาหารนั้นเป็นการยุ่งยากมีภาระมากจริงๆ เลยคิดว่าเป็น การลำบากแก่ตัวเองอาจจะไม่ยอมฉันอาหารเลย เป็นทางให้ ตายได้ง่ายๆเสียด้วย เมื่อหลวงพ่ออดอาหารมาได้ครบ ๘ วัน ท่านอาจารย์ฉลวยจึงขอร้องให้กลับฉันดังเดิม โรคในกายปรากฏว่า หายไป ทั้งโรคท้องและโรคหืดไม่เป็นอีก หลวงพ่อจึงกลับฉัน อาหารตามเดิมและได้ให้คำแนะนำไว้ว่าเมื่ออดอาหารหลายวัน เวลากลับฉัน สิ่งที่ควรระวังก็คือ อย่าเพิ่งฉันมากในวันแรก ถ้า ฉันมากอาจตายได้ ควรฉันวันละน้อยและเพิ่มขึ้นไปทุกวันจนเป็นปกติในระยะที่จำพรรษาอยู่ที่วัดใหญ่นั้นหลวงพ่อมิได้ แสดงธรรมต่อใครอื่นมีแต่อบรมตัวเองโดยการปฏิบัติและพิจารณาเตือนตนอยู่ตลอดเวลา เมื่อออกพรรษาแล้วได้เดินทางไปพักอยู่เกาะสีชัง เพื่อหาความสงบเป็นเวลาหนึ่งเดือน และถือคติเตือนตนเองว่า ชาวเกาะเขาได้อาศัยพื้นดินที่มีน้ำทะเลล้อมรอบ ที่ที่เขาอาศัย อยู่ได้ต้องพ้นน้ำจึงจะเป็นที่พึ่งได้ เกาะสีชังเป็นที่พึ่งทางนอก ของส่วนร่างกาย เรามาอาศัยอยู่ที่เกาะนี้คือที่พึ่งทางในซึ่งเป็นที่อันน้ำ คือกิเลสตัณหาท่วมไม่ถึง แม้เราจะอยู่บนเกาะสีชังแต่ก็ยังค้นหาเกาะภายในอีกต่อไป ผู้ที่ท่านได้พบ และอาศัยเกาะอยู่ได้นั้นท่านย่อมอยู่เป็นสุข ต่างจากคนที่ลอยคออยู่ในทะเล คือความทุกข์ซึ่งมีหวังจมน้ำตาย ทะเลภายนอกมีฉลามและสัตว์ ร้ายอื่นๆ แต่ทะเลภายในยิ่งร้ายกว่านั้นหลายเท่า เมื่อได้ธรรมะจากทะเล และเกาะสีชังพอสมควร ซึ่งเป็นเวลาหนึ่งเดือนแล้วจึงออกจากเกาะสีชังเดินทางกลับวัดใหญ่ จ.อยุธยา และพักอยู่ที่วัดใหญ่เป็นเวลานานพอสมควรจึงได้เดินทางกลับ มาบ้าน และได้มาพักที่ป่าช้าบ้านก่อตามเคยมีโอกาส เทศน์โปรดโยมแม่และพี่ชาย(ผู้ใหญ่ลา) และญาติพี่น้องหลายคน จนเป็นเหตุให้งดทำปาณาติบาต และเชื่อมั่นในพระรัตนตรัยยิ่งขึ้น พักอยู่ที่ป่าช้าบ้านก่อเป็นเวลา ๑๕ วัน จึงเดินทางต่อไป

      พ.ศ.๒๔๙๕ (เป็นพรรษาที่๑๔) ในระหว่างต้นปีนี้ หลวงพ่อจึงได้เดินธุดงค์ขึ้นไปจนถึงบ้านป่าตาว อ. เลิงนกทา จ.ยโสธร ซึ่งเป็นสถานที่เคยอยู่มาก่อน คราวนี้ไม่ไปอยู่ที่เก่า ไปอยู่จำพรรษาในป่าห่างจากหมู่บ้าน ๒ กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบัน เป็นที่พักสงฆ์บำเพ็ญธรรม หลวงพ่อได้มีโอกาส เทศน์สั่งสอนประชาชนจนเต็มความสามารถ ทำให้เขาเข้าใจในหลักคำสอน ในศาสนาดียิ่งขึ้น และเกิดความเลื่อมใสการรับแขกและการพบปะสนทนาธรรมมีมากและบ่อยครั้งยิ่งขึ้น

      สถานที่พักแห่งนั้นเรียกว่า วัดถ้ำหินแตก เป็นลานหินดาด ทางด้านทิศเหนือของที่พักนั้นเป็นแอ่งน้ำมีปลาชุมทางทิศตะวันออก ของแอ่งน้ำเป็นคันหินสูงนิดหน่อย ต่อจากคันหินไปทางด้านทิศตะวันตกเป็นที่ลาดลงไปเวลาน้ำล้นแอ่งก็ไหลไปตามที่ลาดลงสู่เบื้องล่างโดยมาก มีพวกปลาดุกพยายามตะเกียกตะกายขึ้นมาตามน้ำ บางตัวก็ข้ามคันหินไปถึงแอ่งน้ำ บางตัวก็ข้ามไปไม่รอดจึงนอนอยู่บนคันหิน หลวงพ่อเคยสังเกตเห็นตอนเช้าๆท่านจะเดินไปดู เมื่อเห็นปลานอนอยู่บนคันดินจึงจับมันปล่อยลงไปในแอ่งน้ำ แล้วจึงกลับมาเอาบาตรไปบิณฑบาต

      ยอมอดเพื่อให้ชีวิตสัตว์

      เช้าวันหนึ่งก่อนจะออกบิณฑบาต หลวงพ่อจึงเดินไปดูปลาเพื่อช่วยชีวิตมันทุกเช้า แต่วันนั้นไม่ทราบใครเอาเบ็ดมาตกไว้ตามริมแอ่งน้ำ เห็นเบ็ดทุกคันมีปลาติดอยู่ หลวงพ่อจึงรำพึงว่า เพราะมันกินเหยื่อเข้าไป เหยื่อนั้นมีเบ็ดด้วยปลาจึงติดเบ็ดสมองดูปลาติดเบ็ดสงสารก็สงสาร แต่ช่วยมันไม่ได้ เพราะเบ็ดมีเจ้าของ ท่านจึงมองเห็นด้วยความลดใจ เพราะความหิวแท้ๆเจ้าจึงหลงกินเหยื่อที่เขาล่อไว้ ดิ้นเท่าไรๆก็ไม่หลุด เป็นกรรมของเจ้าเองเพราะความไม่พิจารณาเป็นเหตุให้เตือนตนว่า ฉันอาหารไม่พิจารณาจะเป็นเหมือนปลากินเหยื่อย่อมติดเบ็ด...ได้เวลาจึงกลับออกไปเที่ยวภิกขาจาร ครั้นกลับจากบิณฑบาตเห็นอาหารพิเศษสมองดูเห็นต้มปลาดุกตัวโตๆทั้งนั้น หลวงพ่อนึกรู้ทันทีว่าต้องเป็นปลาติดเบ็ดที่เราเห็นนั้นแน่ๆ บางทีอาจจะเป็นพวกที่เราเคยช่วยชีวิตเอามันลงน้ำก็ได้ ความจริงก็อยู่ใกล้ๆแอ่งน้ำนี้เท่านั้น...และโดยปกติแล้วอาหารจะฉันก็ไม่ค่อยจะมีอยู่แล้ว แต่หลวงพ่อเกิดความรังเกียจขึ้นมาถึงเขาจะเอามาประเคนก็รับวางไว้ตรงหน้าไม่ยอมฉัน ถึงแม้จะอดอาหารมานานก็ตาม เพราะท่านคิดว่าถ้าเราฉันของเขาในวันนี้ วันต่อๆไปปลาในแอ่งน้ำนั้นก็จะถูกฆ่าหมด เพราะเขาจะทำเป็นอาหารนำมาถวายเรา ปลาตัวใดที่อุตส่าห์ตะเกียกตะกายขึ้นมาพบแอ่งน้ำแล้วก็ยังจะต้องพากันมาตายกลายเป็นอาหารของเราไปหมด ดังนั้นหลวงพ่อจึงไม่ยอมฉัน จึงส่งให้พระทองดีซึ่งนั่งอยู่ข้างๆ พระทองดีเห็นหลวงพ่อไม่ฉัน ก็ไม่ยอมฉันเหมือนกันมีอะไรที่ไปบิณฑบาตได้มาก็แบ่งกันฉันตามมีตามได้ ส่วนโยมที่เขาต้มปลามาถวายนั่งสังเกตอยู่ตั้งนานเมื่อเห็นพระไม่ฉันจึงเรียนถามว่า ท่านอาจารย์ไม่ฉันต้มปลาหรือครับ ...หลวงพ่อจึงตอบว่าสงสารมัน เท่านี้เอง ทำเอาโยมผู้นำมาถวายถึงกับนิ่งอึ้ง...แล้วจึงพูดว่า ถ้าเป็นผมหิวอย่างนี้คงอดไม่ได้แน่ๆ ตั้งแต่นั้นมาปลาในแอ่งน้ำนั้นจึงไม่ถูกรบกวนพวกโยมก็พากัน เข้าใจว่าปลาของวัด...

     ท่านทั้งหลายลองนึกดูเถิดว่า หลวงพ่อมีจิตประกอบด้วยเมตตามากแค่ไหน ถ้าเป็นเราแล้วจะทนความหิวได้หรือเปล่ายังไม่แน่... ส่วนหลวงพ่อท่านทนหิวเพื่อเห็นแก่ชีวิตเพื่อนร่วมวัดถ้านึกรังเกียจหรือรู้ว่าเขาฆ่ามาเฉพาะ (อุททิสะมังสะ) แบบนี้ท่านจะไม่ยอมฉันเลย... ถ้าเป็นเราๆท่านๆปลาทั้งหลายในแอ่งน้ำ นั้นอาจจะสูญพันธุ์ในระยะอันนั้นก็อาจเป็นได้

     ดังนั้นเมื่อหลวงพ่อมาอยู่วัดหนองป่าพงนี้ ท่านจึงห้าม ไม่ให้นำสัตว์ มีชีวิตมาทำปาณาติบาตในวัดเป็นเด็ดขาด ถึงแม้วัดเป็นสำนักสาขาของท่านก็ถือปฏิบัติแบบเดียวกัน + พ.ศ.๒๔๙๖ ซึ่งนับเป็นปีที่ ๒ ที่หลวงพ่อได้อยู่ป่าใกล้บ้านป่าตาวมีพระภิกษุสามเณรอยู่ ๙ รูป เฉพาะศิษย์ที่เป็นคน ทางอำเภอวารินชำราบมีพระเที่ยง (อาจารย์เที่ยงวัดเก่าน้อย) กับ พระหนู (หนู ขวัญนู) ได้อยู่ปฏิบัติธรรมร่วมพระเณรอื่นๆ

     เมื่อมีพระเณรอยู่ด้วยกันหลายรูปหลวงพ่อจึงคิดว่าควร จะปลีกตัวไปอยู่แต่ลำพังคนเดียว เพื่อให้ได้รับความสงบยิ่งขึ้น จึงตกลงให้พระเณรอยู่จำพรรษาที่วัดถ้ำหินแตก ส่วนหลวงพ่อเองขึ้นไปจำพรรษาอยู่ภูกอย ซึ่งบริเวณนั้นหลังจากหลวงพ่อได้จาก ภูกอยไปหลายปี จึงมีผู้ค้นพบรอยพระพุทธบาทและเป็นที่ สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนอยู่เดี๋ยวนี้ ภูกอยนี้อยู่ห่างจาก ถ้ำหินแตกประมาณ ๓ กิโลเมตร ทำให้ได้รับความสุขมาก พอถึงวันอุโบสถสวดพระปาฏิโมกข์ หลวงพ่อก็ลงมาร่วมทำสังฆกรรม ที่วัดถ้ำหินแตก และได้ให้โอวาทเตือนติพระภิกษุสามเณรมิได้ขาด บางโอกาส ได้เทศน์ให้โยมฟังพอสมควรแล้ว กลับไปที่พักภูกอยตามเดิม

     รักษาโรคด้วยธรรมโอสถครั้งที่ ๓ ในระหว่างพรรษานี้หลวงพ่อป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับฟันเหงือกบวมทั้งข้างบนและข้างล่าง รู้สึกบวมมาก โรคปวดฟันนี้มีรส ชาติเป็นอย่างไรนั้นใครเคยเป็นแล้วไม่อยากเป็นอีก แต่ก็หนีไม่พ้นจึงต้องจำยอม...ขนาดพวกเราปวดซี่เดียวสองซี่ ก็ยังทรมานไม่น้อยเลย หลวงพ่อท่านหายา มารักษาตามมีตามได้ โดยใช้ตบะธรรมและขันติธรรมเป็นที่ตั้ง พร้อมทั้งพิจารณาว่า พยาธิง ธัมโมมหิ พยาธิง อะนะ ตีโต เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา หนีความเจ็บไข้ไปไม่พ้น รู้เท่าทันสภาวธรรมนั้นๆมีความอดทนอดกลั้น แยกโรคทางกายกับโรค ทางใจออกเป็นคนละส่วน เมื่อกายป่วยก็ป่วยไปไม่ยอมให้ใจ ป่วยด้วย แต่ถ้ายอมให้ใจป่วยด้วยก็เลยกลายเป็นป่วยด้วยโรค สองชั้น ความทุกข์เป็นสองชั้นเช่นเดียวกัน โรคปวดฟันมันทรมานหลวงพ่อมาก กว่าจะสงบลงได้ต้องใช้เวลาถึง ๗ วัน

     หลวงพ่อได้เล่าให้ฟังว่า พูดถึงการสังวรระวังเรื่องศีลแล้ว เมื่อคราวออกปฏิบัติไปคนเดียวอยู่รูปเดียว ยิ่งมีความหวาดกลัว ต่ออาบัติมาก ออกปฏิบัติครั้งแรกมีเข็มเล่มเดียวทั้งคดๆเสียด้วย ต้องคอยระวังรักษากลัวมันจะหัก เพราะถ้าหักแล้วไม่รู้จะไปขอใคร ญาติพี่น้องก็ไม่มี ด้ายสำหรับเย็บก็เอาเส้นไหมสำหรับจูงผี ขวั้นเป็นเส้นแล้วห่อรวมกันไว้กับเข็ม เมื่อผ้าเก่าขาดไปบ้างก็ไม่ยอมขอ เวลาเดินธุดงค์ผ่านวัดต่างๆตามชนบท ไม่มีผ้าสำหรับปะ จึงไปชักบังสุกุลเอาผ้าเช็ดเท้าตามศาลาวัด ปะบงจีวรที่ขาดเสร็จแล้ว ก็เดินธุดงค์ต่อไป และได้เตือนตนเองว่า ถ้าไม่มีใครเขาถวายด้วยศรัทธา เธอก็อย่าได้ขอเขา เป็นพระธุดงค์นี่ให้มันเปลือยกายดูซิ เธอเกิดมาครั้งแรกก็มิได้นุ่งอะไรมิใช่หรือเป็นเหตุให้พอใจในบริขาร ที่มีและเป็นการห้ามความทะเยอทะยานอยากในบริขารใหม่ได้ดีมาก พูดถึงอาหารบิณฑบาตนับว่ามีหลายๆ ครั้ง เวลาออกบิณฑบาตได้แต่ข้าวเปล่าๆ ท่านก็สอนตนเองว่าดีแล้ว...ได้ข้าวฉันเปล่าๆ ก็ยังดีกว่ามิได้ฉัน ดูแต่สุนัขนั่นซิมันกินข้าวเปล่าๆมันยังอ้วนและแข็งแรงดีแกลองเกิดเป็นหมาสักชาติดูซิทำให้ฉันข้าวเปล่าๆ ด้วยความพอใจและมีกำลังปฏิบัติธรรมต่อไป...

     พูดถึงเรื่องอาพาธแล้ว หลวงพ่อเล่าว่า ได้เคยผ่านความลำบากมามากครั้งหนึ่งเมื่ออยู่ในเขต สกลนคร นครพนม ป่วยเป็น ไข้มาหลายวัน อยู่คนเดียวกลางภูเขาอาการหนักพอดู ลุกไม่ขึ้นตลอดวันด้วยความอ่อนเพลียจึงม่อยหลับไป พอรู้สึกตัวก็เป็นเวลาเย็นมากตะวันจวนจะตกดินกำลังนอนลืมตาอยู่ ได้ยินอีเก้งมันร้องจึงตั้งปัญหาถามตัวเองว่า พวกอีเก้งและสัตว์ ป่ามันป่วยเป็นไหม? คำตอบเกิดขึ้นว่า มันป่วยเป็นเหมือนกัน เพราะพวกมันเป็นสังขาร ที่ต้องปรุงแต่งเช่นเดียวกับเรานี่แหละมันมียากินหรือเปล่า? มันก็คงหากินยอดไม้ใบไม้ตามมีตามได้มีหมอฉีดยาให้มันไหม? เปล่า...ไม่มีเลย...แต่ก็ยังมีอีเก้ง และสัตว์ เหลืออยู่สืบพันธุ์กันเป็นจำนวนมากมิใช่หรือ? คำตอบเกิดขึ้นว่า ใช่แล้ว...ถูกแล้ว...พอได้ข้อคิดเท่านี้ทำให้มีกำลังใจดีขึ้นมาก จึงพยายามลุกนั่งจนได้ และได้พยายามทำความเพียรต่อไปจนกระทั่งไข้ได้ทุเลาลงเรื่อยๆ หลวงพ่อพูดให้ฟังว่า เป็นไข้หนักอยู่คนเดียวกลางภูเขาไม่ตายหรอก ถ้าไม่ถึงที่ตาย แม้จะไม่มีหมอรักษาก็ตามแต่ว่ามันหายนานหน่อยเท่านั้นเอง

      พ.ศ.๒๔๙๗ ในระหว่างปลายเดือน ๓ โยมมารดา (แม่พิม) ของหลวงพ่อพร้อมทั้งพี่ชาย(ผู้ใหญ่ล่า) และญาติโยมอีก ๕ คนได้เดินทางขึ้นไปพบหลวงพ่อ เพื่อนมัสการนิมนต์ให้กลับลงมาโปรดญาติโยมในถิ่นกำเนิด หลวงพ่อพิจารณาเห็นเป็นโอกาส อันเหมาะแล้วจึงรับนิมนต์ และตกลงให้โยมมารดาและคณะที่ไปนั้น ขึ้นรถโดยสารลงมาก่อน ส่วนหลวงพ่อพร้อมด้วยพระเชื้อ พระหนู พระเลื่อน สามเณรอ๊อด พร้อมด้วยพ่อกี พ่อไต บ้านป่าตาว เดินธุดงค์ลงมาเรื่อยๆ หยุดพักเป็นระยะๆ ตามทางเป็นเวลา ๕ คืน

     กำเนิดวัด

     วันนั้นเวลาตะวันบ่าย คณะของหลวงพ่อได้เดินทางมาถึงชายดงป่าพงแห่งนี้ซึ่งเป็นวันจันทร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ ๘มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๗ ซึ่งเป็นนิมิตเครื่องหมาย ครั้งสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงป่าที่น่ากลัวให้เป็นป่าที่น่าชม รื่นรมย์ไปด้วยรสแห่งสัทธรรม

     เช้าวันที่ ๙มีนาคม ๒๔๙๗ จึงได้พากันเข้าสำรวจ สถานที่พักในดงป่านี้ โยมได้ถากจอมปลวกถางต้นไม้เล็กๆออกจัดที่พักให้ใกล้ต้นมะม่วงใหญ่หลายต้นซึ่งอยู่ข้างโบสถ์ด้านทิศใต้ปัจจุบันนี้ ต่อมามีญาติโยมชาวบ้านก่อและบ้านกลางผู้เลื่อมใส จึงช่วยกันปลูกกุฏิเล็กๆให้อาศัยกันต่อไป

     บังเกิดนิมิต

     เมื่อหลวงพ่อและคณะได้เข้ามาอยู่ในดงป่าพงได้ ๑๐ วัน วันนั้นเป็นวันเพ็ญ เดือน ๔ เวลานั้นประมาณทุ่มกว่าๆ ญาติโยมมาฟังธรรมไม่มากเท่าใดนัก เกิดบุรพนิมิตมีแสงสว่างพุ่งปราด ไปข้างหน้าเป็นทางยาว แล้วหดตัวมาดับวูบลงที่มุมวัดด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้นั่นเอง ทำให้ญาติโยมที่เห็นด้วยตาเกิดอัศจรรย์ขนพองยองเกล้า ต่างก็พูดไม่ออก

      เมื่อได้มาอยู่ที่ป่าพงแล้ว หลวงพ่อท่านถือหลักคำสอน ของพระพุทธองค์ที่ตรัสว่า ทำตนให้ตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อน แล้วจึงสอนคนอื่นทีหลัง จึงจักไม่เป็นบัณฑิตสกปรกดังนั้นไม่ว่ากิจวัตรใดๆเช่นกวาดวัดจัดที่ฉันล้างบาตร ตักน้ำ หามน้ำ ทำวัตร สวดมนต์ เดินจงกรม นั่งสมาธิ วันพระ ถือเนสัชชิกไม่นอนตลอดคืน หลวงพ่อชาลงมือทำเป็นตัวอย่าง ของศิษย์ โดยถือหลักที่ว่า สอนคนด้วยการทำให้ดู ทำเหมือนพูด พูดเหมือนทำ ดังนั้นจึงมีศิษย์และญาติโยมเกิดความเคารพยำเกรง และเลื่อมใสในปฏิปทาที่หลวงพ่อดำเนินอยู่ เมื่อเทศน์ก็ชี้แจงถึงหลักความจริงที่จะนำไปทำตามให้เกิดประโยชน์ได้ หลวงพ่อและศิษย์รุ่นแรกที่เข้ามาอยู่ต้องต่อสู้กับไข้ป่า ขณะนั้นยังชุกชุมมากเพราะเป็นป่าทึบ ยามพระเณรป่วยจะหายารักษาก็ยาก ต้องต้ม บอระเพ็ดให้ฉันก็พอทุเลาลงบ้าง เนื่องจากโยมผู้อุปัฏฐากยัง ไม่ค่อยเข้าใจในการอุปถัมภ์ ทั้งหลวงพ่อก็ไม่ยอมออกปากขอจากใครๆ แม้จะพูดเลียบเคียงก็ไม่ทำ ปล่อยให้ผู้มาพบเห็นด้วยตา พิจารณาแล้วเกิดความเลื่อมใสเอาเอง พูดถึงอาหารการฉันก็รู้สึกจะฝืดเคือง

     เมื่อหลวงพ่อได้มาอยู่ที่ป่าพงแล้ว เดือนแรกผ่านไป และในเดือนต่อมาคุณแม่พิม ช่วงโชติ โยมมารดาของหลวงพ่อ พร้อมด้วยโยมผู้หญิงอีก ๓ คน ได้มาบวชเป็นชี อยู่ประพฤติปฏิบัติธรรม พวกญาติโยมจึงปลูกกระท่อมให้อยู่อาศัย...โยม แม่พิมจึงเป็นชีคนแรกของวัดหนองป่าพง และมีแม่ชีอยู่ติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้เป็นจำนวนมาก

     ปี พ.ศ.๒๕๐๐ ซึ่งชาวพุทธถือว่าเป็นปีที่สำคัญมีการทำบุญทั้งส่วนวัตถุทาน และธรรมทานมีการบวชตนเองและบวชลูกหลานเป็นภิกษุสามเณร และบวชเป็นชีและตาปะขาวเป็นจำนวนมากมีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเป็นพิเศษ ทางวัดหนองป่าพงหลวงพ่อก็อนุญาตให้มีการบวชเช่นกันมีบวชเป็น สามเณร ๒ รูป บวชเป็นตาปะขาว ๗๐ บวชเป็นชี ๑๗๘ คน รวมเป็น ๒๕๐ คน

      ปี พ.ศ.๒๕๐๑ มีประชาชนสนใจการฟังเทศน์ฟังธรรม และการปฏิบัติธรรมมีจำนวนเพิ่มขึ้นมีญาติโยมชาวบ้านเก่าน้อย ต.ธาตุ ซึ่งเคยมาฟังธรรม ปฏิบัติธรรมที่หนองป่าพงมานิมนต์หลวงพ่อให้ไปพักอยู่ที่ป่าละเมาะใกล้กับป่าช้า และหลวงพ่อได้ไปพักอยู่สอบรมธรรมะแก่ผู้สนใจในถิ่นนั้นได้จำพรรษาอยู่ที่ป่าแห่งนั้น และนับว่าเป็นสาขาแรกของวัดหนองป่าพง และในปีต่อมาก็ได้จัดส่งลูกศิษย์ไปอยู่ประจำจนถึงทุกวันนี้

      และในปีต่อๆมา ก็มีญาติโยมผู้เลื่อมใสสนใจในการปฏิบัติมานิมนต์หลวงพ่อไปรับอาหารบิณฑบาตและอบรมธรรมะเพิ่มจำนวนมากขึ้นๆ เช่น นิมนต์ไปทางบ้านกลางใหญ่ อ.เขื่องในบ้าง นิมนต์ไปเยี่ยมทางชาวไร่ภูดินแดง อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษบ้าง นิมนต์ไปทางบ้านหนองเดิ่นหนองไฮบ้าง ซึ่งต่อมาก็ได้มีลูกศิษย์ของหลวงพ่อไปอยู่และเป็น สาขาที่ ๒-๓-๔ ของหนองป่าพง

      ประมาณเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๑ มีญาติโยมอำเภออำนาจเจริญมานิมนต์หลวงพ่อขึ้นไปฉันภัตตาหาร และอบรมธรรมะที่วัดต้นบกเตี้ย(ปากทางเข้าถ้ำแสงเพชร) โดยมีอาจารย์โสม พักอยู่ที่นั่นและเขานิมนต์หลวงพ่อเข้าไปดูถ้ำแสงเพชร (ถ้าภูขาม) ขอนิมนต์ให้ท่านพิจารณาจัดเป็นที่ปฏิบัติธรรม แต่หลวงพ่อก็ยังมิได้ตกลงใจ ยังเฉยๆอยู่

      ครั้นเมื่อออกพรรษา รับกฐินแล้ว เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๑๑ หลวงพ่อรับนิมนต์ของโยมชาวจังหวัดอุดรฯ เดินทางไปจังหวัดอุดรฯ พักที่วัดป่าหนองตุสระยะที่พักอยู่ที่นั่นหลวงพ่อ ได้พาไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มหาบัว วัดป่าบ้านตาด และท่านพระอาจารย์ขาววัดถ้ำกลองเพล และได้เดินทางไปเยี่ยมท่านเจ้าคุณเจ้าคณะจังหวัดหนองคาย ท่านเจ้าคุณพาไปเยี่ยม วัดโศรกป่าหลวง นครเวียงจันทน์ และไปเยี่ยมวัดเนินพระเนาว์ ซึ่งล้วนแต่เป็นสำนักปฏิบัติธรรมทั้งนั้น แล้วพักอยู่วัดศรีสะเกษ กับท่านเจ้าคณะจังหวัดแล้วเดินทางกลับมาถึงอุดร และแวะเยี่ยมภูเพ็ก แล้วเดินทางมาถึงบ้านต้องแวะกราบนมัสการท่านอาจารย์กินรี ที่วัดกันตศิลาวาส และกราบลาท่านอาจารย์กินรี ลงมาถึงอำเภออำนาจเจริญ หลวงพ่อพาแวะไปเยี่ยม อาจารย์โสมที่วัดต้นบกเตี้ย วันนั้นเป็นวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๑ พักอยู่หนึ่งคืน

      ฉะนั้นจึงพอถือได้ว่า วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๑ เป็น วันบุกเบิกเริ่มต้นแห่งการสร้างวัดถ้ำแสงเพชร และได้ไปพักอยู่ตรงถ้ำที่มีรูปพระพุทธองค์และปัญจวัคคีย์ (เขาเรียกกันว่า ถ้ำพระใหญ่ และเริ่มปรับปรุงตรงนั้นพอเป็นที่พักได้สะดวก)

      หลวงพ่อปรารภว่ามาอยู่ถ้ำแสงเพชรนี้สบายใจดีมาก สมองไปทางไหนจิตใจเบิกบานคล้ายกับ เป็นสถานที่เคยอยู่มาก่อน นั่งสมาธิสงบดี ถ้าไม่คิดอยากพักผ่อนจะนั่งสมาธิอยู่ตลอดคืนก็ได้ วัดนี้มีพื้นที่ ๑,๐๐๐ ไร่ เป็นสาขาที่ ๕ ของวัดหนองป่าพง

       พ.ศ.๒๕๑๒ ในระยะเดือนเมษายนของปีนี้ ญาติโยมบ้านสวนกล้วยได้มานิมนต์หลวงพ่อไปอบรมธรรมะและรับไทยทาน เขาได้จัดที่พักไว้ในป่าโดยปลูกกุฏิไว้ ๒ หลัง เมื่อได้ไปถึงแล้ว ญาติโยมจึงกราบเรียนขอให้หลวงพ่ออุปการะเป็นสาขาของท่าน (เป็นสาขาที่ ๖) ได้จัดส่งลูกศิษย์ไปอยู่ประจำ

      เมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๓ หลวงพ่อได้รับนิมนต์จากคุณแม่บุญโฮม ศิริขันธ์ และญาติโยมทางอำเภอม่วงฯ ให้ไปร่วมงานทำบุญร้อยวันถึงหลวงตาอุย (บิดาของแม่บุญโฮม) อาศัยที่ญาติโยมเคยมาฟังเทศน์และมาถือศีลปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงพ่อบ่อยๆ และเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว จึงพิจารณาสถานที่อันเหมาะสมพอจะจัดเป็นที่พักได้ จึงตกลงจัดที่พักให้ ณ ป่าบ้านร้าง ดงหมากพริกอยู่ห่างจากอำเภอม่วงสามสิบ ๒ กม. และหลวงพ่อชา กับผู้ติดตามได้ไปพักในดงแห่งนั้น และต่อมาก็ได้กลายเป็นวัดป่า วิเวกธรรมชาน์ สาขาที่ ๗ หลวงพ่อได้ส่งลูกศิษย์ไปอยู่เป็น ประจำ

     สาขาวนโพธิญาณ ในระยะเดียวกับที่ชาวอำเภอม่วงสามิบมีความประสงค์อยากให้หลวงพ่ออนุญาตให้ตั้งสาขาขึ้นในเขตอำเภอนั่นเอง ญาติโยมทางอำเภอพิบูลมังสาหาร เขื่อนโดมน้อยซึ่งมีพ่อใบ พ่อลา พ่อลือ ได้มาปรารภนิมนต์หลวงพ่อไปชมป่าหน้าเขื่อนเห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะดีแก่การปฏิบัติธรรม เป็นระหว่างที่นายปรีชา คชพลายุกต์ นายอำเภอพิบูลมังสาหารในสมัยนั้นได้ไปเยี่ยมหลวงพ่อที่วัดป่าพงบ่อยครั้ง บางครั้งก็ได้สนทนา กับหลวงพ่อทำให้เกิดความซาบซึ้งและเลื่อมใส เมื่อได้ทราบว่าหลวงพ่อไปเยี่ยมป่าทางด้านหน้าเขื่อน ก็ยินดีสนับสนุนในการ จัดปรับปรุงป่าให้เป็นที่บำเพ็ญธรรม นายอำเภอและคุณนายได้ละทรัพย์สร้างกุฏิถาวรไว้ ๑ หลัง และเป็นกำลังในการสร้าง ศาลาการเปรียญที่วัดเขื่อนแม้แต่นายวิเชียรสีมันตรผู้ว่าราชการ จังหวัดในสมัยนั้นก็ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ในระหว่างเดือนกรกฎาคม ๒๕๑๓ เมื่อหลวงพ่อไปเยี่ยมป่าหน้าเขื่อนอีก ญาติโยม ขอร้องหลวงพ่อว่า พระพุทธบาทที่หอพระบาท วัดถ้ำพระ อยู่ในระดับใต้พื้นน้ำถ้าน้ำท่วมจะเสียหายจมอยู่ในน้ำเสียดายปูชนียวัตถุสำคัญ ขอให้พาอัญเชิญรอยพระพุทธบาทขึ้นไปเก็บไว้ ณ ที่น้ำท่วม ไม่ถึง หลวงพ่อจึงพาญาติโยมอัญเชิญออกจากหอพระบาทเดิม ไปเก็บไว้บนหัวหิน (โขดหิน) ที่สูงกว่าระดับน้ำ และต่อมาชาวบ้าน และวัดหนองเม็ก โดยการนำของเจ้าคณะผู้ปกครองมาเอาไปรักษาไว้ที่วัดหนองเม็ก ต.ฝางคำ อ.พิบูลฯ จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ เมื่อออก พรรษาแล้วในวันแรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ หลวงพ่อจึงส่งท่านอาจารย์สี กับสามเณร ๓-๔ รูป ไปอยู่และต่อมาอีกประมาณ ๓ เดือนกว่า หลวงพ่อจึงส่งอาจารย์เรืองฤทธิ์ไปอยู่ด้วย และเมื่อออกพรรษา ปี ๒๕๑๔ ท่านอาจารย์สีกลับวัดป่าพง คงเหลืออาจารย์เรืองฤทธิ์ปกครองพระเณรอยู่เป็นประจำมาจนถึงปัจจุบันนี้ สาขาที่ ๘ นี้ครั้งแรกเรารู้กันในนามสำนักวนอุทยาน ครั้นเมื่อวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน หลวงพ่อได้รับพระราชทานเป็นพระราชาคณะนามว่า พระโพธิญาณเถร เลยเปลี่ยนชื่อสาขานี้ใหม่ว่า สำนักสงฆ์วนโพธิญาณรู้สึกว่าเป็น สาขาที่หลวงพ่อให้การสงเคราะห์เป็นพิเศษ และสาขานี้มีเนื้อที่ประมาณ ๒,๐๐๐ ไร่เศษ จึงเป็นอันได้ทราบกันว่าในปี พ.ศ.๒๕๑๓ นี้หลวงพ่อได้อนุญาตให้จัดตั้ง สาขาที่ ๗ คือ วัดป่าวิเวกธรรมชาน์ และสาขาที่ ๘ คือ วัดป่าวนโพธิญาณขึ้นในปีเดียวกัน...

     เมื่อหลวงพ่อได้มาอยู่เป็นที่พึ่งทางใจของศิษย์ และญาติโยมผู้ใคร่ต่อการปฏิบัติธรรมทั้งหลาย เริ่มแต่ปี ๒๔๙๗ เป็นต้นมาจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๓มีศิษย์และญาติโยมบางคนกราบเรียน เรื่องการขออนุญาตตั้ง (สร้าง) วัดเมื่อก่อนนั้นหลวงพ่อมักพูดว่า ไม่ต้องขอสร้างวัดเราก็สร้างก็ตั้งมานานแล้ว แต่เพื่อให้ถูกต้องตามกฎระเบียบ หลวงพ่อจึงอนุญาตให้มีการขอสร้างวัดขึ้น และเมื่อได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเรียบร้อยแล้ว จึงได้รับตราตั้งดังนี้

     ๑)เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๑๖

     ๒)ได้รับพระราชทานเป็น พระราชาคณะมีนามว่า พระโพธิญาณเถร เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๖

     ๓)เมื่อปลายเดือนมกราคม ปี๒๕๑๗ ได้รับหนังสือให้เข้าไปอบรมเป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับตราตั้งพระอุปัชฌาจารย์ เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗

     หลวงพ่อได้ใช้ขันติธรรมอดทนต่อสู้กับความลำบากมานานพอสมควร ได้ผ่านทั้งคนผู้หวังดีและหวังไม่ดีมามากต่อมาก แต่ด้วยน้ำใจที่มุ่งประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ และหวังเจริญรอยตามยุคลบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเรียนและปฏิบัติด้วยตนเอง แล้วจึงนำไปสอนคนอื่นต่อไป มิได้หวังเพียงเอาตัวรอดแต่ผู้เดียว ฉะนั้นหลวงพ่อจึงได้ยอมเสียละความสุขส่วนตนอุตส่าห์แนะนำสั่งสอนศิษย์และผู้ใคร่ในธรรมให้ได้รับความซาบซึ้งใจ ซึ่งท่าน ทั้งหลายผู้ที่ได้มากราบ และได้ฟังโอวาทของหลวงพ่อ ย่อมก่อให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสเสมอมา

     โยมมารดามรณะ

     หลังจากหลวงพ่อชาและคณะได้เข้ามาอยู่ที่ดงป่าพงนี้เดือนกว่า คุณแม่พิม ช่วงโชติ ซึ่งเป็นโยมมารดาของท่านก็ ได้เข้ามาบวชเป็นชีอยู่ปฏิบัติธรรมตามอย่างพระลูกชาย พร้อม



 
------------------------
  หน้าหลัก  
  คำถามที่มีการถามบ่อย  
  เราเล่นพระทำไม ?  
  กฎหมายพระเครื่อง  
  เกร็ดเล็ก-เกร็ดน้อย  
  สมัครเปิดร้านค้า  
  การชำระเงินค่าร้านค้า  
  ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง  
  ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับร้านค้า  
 
หน้าหลัก  อดีตสู่ปัจจุบัน  เว็บบอร์ดชมรม  ตารางประกวดพระ  สาระน่ารู้  เล่าสู่กันฟัง  ติดต่อเรา
Copyright©2024 zoonphra.com
Powered by Tactical IT