เว็บลิ้งค์ชมรมต่างๆ

เว็บไซต์วัดเกจิดังในสยาม
วัดอัมพวัน จ. สิงห์บุรี
วัดหนองป่าพง จ. อุบลฯ
วัดเขาแหลม จ. สระแก้ว
หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
วัดหัวป่า อ. ระโนด จ. สงขลา
วัดแก้วโกรวาราม จ. กระบี่
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
หลวงสมชาย วัดเขาสุกิม
ป้อนหมายเลขสิ่งของ


***พิมพ์หมายเลขสิ่งของจำนวน 13 หลัก

รายละเอียดเพิ่มเติม

  หน้าหลัก  :  อดีตสู่ปัจจุบัน  :  เว็บบอร์ดชมรม  :  ตารางประกวดพระ  :  สาระน่ารู้  :  เล่าสู่กันฟัง  :  ติดต่อเรา
ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน
พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) วัดบ้านสวน
20-10-2009 Views: 12918

     วัดบ้านสวนตั่งแต่เริ่มก่อสร้างมา มีพระอาจารย์ผู้มีความรู้ความสามารถ ศึกษาวิชาสายสำนักวัดเขาอ้อสืบต่อกันมา เคียงคู่มากับวัดดอนศาลา แต่ภายหลังต่างเด่นกันคนละทาง อาจจะเป็นการประนีประนอม ไม่ต้องการชิงดีชิงเด่นกัน ในสายวัดดอนศาลานั้นโดดเด่นในทางไสยเวท มีการอาบว่านแช่ยา ทำพิธีกรรมต่างๆ ส่วนวัดบ้านสวนเด่นในทางการรักษาโรคแทน ทราบว่าคณาจารย์วัดนี้ได้สืบทอดวิชาการรักษาโรคต่อกันมาเรื่อยๆจนกระทั่งมาถึงยุคของ พ่อท่านคง

      พ่อท่านคง หรือ พระครูพิพัฒน์สิริธร นั้น ท่านเป็นศิษย์ของพระอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา ตามประวัติของท่านที่ทางวัดบันทึกไว้และพิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ในพิธีผูกพัทธสีมา วัดบ้านสวน เมื่อวันที่ 4-5 เมษายน 2530 ได้กล่าวถึงประวัติของพ่อท่านคงไว้ว่า "พระครูพิพัฒน์สิริธร นามเดิมว่า คง นามสกุล มากหนู ได้ถือกำเนิดเมื่อวันพุธ ขึ้น 10 ค่ำ เดือนยี่ ปีขาล ตรงกับวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2445 จ.ศ.1264 ร.ศ.121 ณ บ้านทุ่งสำโรง หมู่ที่ 8 ตำบล นาขยาด อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เป็นบุตรของ นายสง มากหนู และ นางแย้ม มากหนู มีพี่น้องท้องเดียวกัน 4 คน คือ

     1. นายปลอด มากหนู

     2. นายกล่ำ มากหนู

     3. นายกราย มากหนู

     4. นายคง มากหนู หรือ พระครูพิพัฒน์สิริธร ในเวลาต่อมา

     ปฐมวัย

     บิดามารดาได้ถึงแก่กรรมเมื่อเด็กชายคงยังอยู่ในวัยเยาว์ จึงตกอยู่ในอุปการะของ นายชู และ นางแก้ว เกตุนุ้ย ผู้เป็นญาติ เมื่อม่อายุพอสมควรแล้ว นายชูได้นำไปฝากกับพระครูสิทธิยาภิรัตน์(เอียด ปทุมสโร) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนศาลา และเป็นเจ้าคณะตำบลมะกอกเหนืออยู่ในขณะนั้น เพื่อให้ศึกษาอักษรสมัย ในระยะแรกๆได้ศึกษาเล่าเรียนจากพระครูสิทธิยาภิรัตน์โดยตรง ต่อมาเมื่อทางวัดได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นแล้ว เด็กชายคงก็ได้เข้าศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนของวัดจนจบชั้นสูงสุดของการศึกษาสมัยนั้นเมื่อ พ.ศ.2462

     บรรพชาอุปสมบท

     เมื่อเด็กชายคงมีอายุได้ 20 ปี มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสุนทราวาส ต.ปันแต อ.ควนขนุน เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 8 ปี จอ ตรงกับวันที่ 3 กรกฎาคม 2464 โดยมี พระครูกาชาด(แก้ว)วัดพิกุลทอง ตำบลชะมวง อ.ควนขนุน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสิทธิยาภิรัตน์(เอียด ปทุมสโร)วัดดอนศาลา เป็น พระศีลาจารย์(ผู้ให้ศีล)

      เมื่อบรรพชาแล้วได้กลับไปอยู่วัดดอนศาลากับพระครูสิทธิยาภิรัตน์ ผู้เป็นอาจารย์ และ ในปีต่อมาก็ได้รับการอุปสมบท เมื่อ วันพฤหัสบดี ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 ปี กุน ตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน 2466 ณ วัดดอนศาลา โดยมีพระครูกาชาด(แก้ว) วัดพิกุลทอง ต.ชะมวง อ.ควนขนุน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการหนู วัดเกาะยาง ต.นาขยาด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการไชยแก้ว วัดป่าตอ ต.โตนดด้วน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "สิริมโต" และคงอยู่ที่วัดดอนศาลาตามเดิม

      เมื่ออุปสมบทแล้ว พระคง สิริมโต ได้ไปศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดพิกุลทอง จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในปีนั้น ท่านตั้งใจจะศึกษาให้จบหลักสูตรนักธรรม แต่เนื่องจากท่านสุขภาพไม่ดี มักจะเจ็บป่วยอยู่เสมอ ประกอบกับในสมัยนั้นการหาครูสอนพระปริยัติธรรมไม่ง่ายนัก จึงเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาของท่าน

      นอกจากท่านได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมแล้ว ท่านยังสนใจศึกษาวิชาทางด้านไสยศาสตร์อีกด้วย และท่านก็ได้ศึกษาจากพระครูสิทธิยาภิรัตน์(เอียด) ผู้เป็นอาจารย์ของท่านนั้นเอง

      ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาแขนงนี้จากอาจารย์ของท่านจนมีความรู้แตกฉาน แต่ท่านก็ไม่พอใจอยู่แค่นั้น ได้พยายามศึกษาเพิ่มเติมจากตำหรับตำราไสยศาสตร์ของท่านอาจารย์ผู้เฒ่า วัดเขาอ้อ ซึ่งเป็นสำนักที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในวิชาไสยศาสตร์สมัยนั้น ท่านได้ศึกษาจนมีความรู้แตกฉานและทรงวิทยาคุณในวิชาแขนงนี้ จนในระยะหลังต่อมาท่านได้เป็นที่รู้จักและเคารพนับถือจากประชาชนทั่วไปทั้งในจังหวัดพัทลุงและจังหวัดอื่นๆ มีลูกศิษย์ลุกหาอยู่ทั่วไป และต่างก็เรียกนามท่านว่า อาจารย์คง บ้าง หลวงพ่อคงบ้าง แม้ในสมัยหลังที่ท่านได้สมณศักดิ์เป็น พระครูพิพัฒน์สิริธร แล้ว ประชาชนทั่วไปรวมทั้งลูกศิษย์ของท่านก็ยังเรียกท่านว่าอาจารย์คงหรือหลวงพ่อคงอยู่เช่นเดิม แทบจะไม่ได้ยินเรียกจากปากของผู้ใดว่า ท่านพระครูพิพัฒน์สิริธรเลย+ ในระยะที่บ้านเมืองกำลังอยู่ในสภาพที่ไม่สงบสุขจากผู้ก่อการร้ายในภาคต่างๆของประเทศ ท่านกันอาจารย์ชุม ไชยคีรี ได้ร่วมกันจัดสร้างพระเครื่องของวัดบ้านสวนขึ้นจำนวนหนึ่ง ประกอบพิธีทั้งพุทธาภิเษก และปลุกเสก ด้วยตัวท่านเองเมื่อเดือนเมษายน 2511 แล้วนำแจกจ่ายบำรุงขวัญ ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และประชาชนผู้ปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงอันตราย อยู่ในแดนที่มีผู้ก่อการร้ายในจังหวัดภาคใต้ และภาคเหนือ โดยท่านอาจารย์ชุม ไชยคีรี เดินทางไปแจกจ่ายด้วยตัวเอง และพระเครื่องจำนวนหนึ่งได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพระราชทานแก่ ทหาร ตำรวจหน่วยต่างๆต่อไป

     หลวงพ่อคง ได้ชื่อว่า เป็นผู้ไฝ่ศึกษาและมีศัทธาตั้งมั่น เมื่อได้มาอยู่วัดบ้านสวน ด้วยความสำนึกว่าเป็นศิษย์สายเขาอ้อ และได้มาครองวัดบ้านสวน อันเป็นสมบัติส่วนหนึ่งของเขาอ้อ และเคยมีชื่อเสียงในไสยเวทและการรักษาโรค ท่านก็เลยสืบทอดเจตนาของบูรพาจารย์ โดยศึกษาการแพทย์แผนโบราณตามตำราของวัดเขาอ้อ แล้วนำวิชาความรู้สงเคราะห์คนเจ็บไข้ได้ป่วย

      หลวงพ่อคงท่านทำหน้าที่นั้นจนกระทั่งมรณภาพ แต่ก็ได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ไว้ให้กับศิษย์เอก คือ พระมหาพรหม หรือ พระครูขันตยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดบ้านสวนในปัจจุบัน



 
------------------------
  หน้าหลัก  
  คำถามที่มีการถามบ่อย  
  เราเล่นพระทำไม ?  
  กฎหมายพระเครื่อง  
  เกร็ดเล็ก-เกร็ดน้อย  
  สมัครเปิดร้านค้า  
  การชำระเงินค่าร้านค้า  
  ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง  
  ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับร้านค้า  
 
หน้าหลัก  อดีตสู่ปัจจุบัน  เว็บบอร์ดชมรม  ตารางประกวดพระ  สาระน่ารู้  เล่าสู่กันฟัง  ติดต่อเรา
Copyright©2024 zoonphra.com
Powered by Tactical IT