เว็บลิ้งค์ชมรมต่างๆ

เว็บไซต์วัดเกจิดังในสยาม
วัดอัมพวัน จ. สิงห์บุรี
วัดหนองป่าพง จ. อุบลฯ
วัดเขาแหลม จ. สระแก้ว
หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
วัดหัวป่า อ. ระโนด จ. สงขลา
วัดแก้วโกรวาราม จ. กระบี่
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
หลวงสมชาย วัดเขาสุกิม
ป้อนหมายเลขสิ่งของ


***พิมพ์หมายเลขสิ่งของจำนวน 13 หลัก

รายละเอียดเพิ่มเติม

  หน้าหลัก  :  อดีตสู่ปัจจุบัน  :  เว็บบอร์ดชมรม  :  ตารางประกวดพระ  :  สาระน่ารู้  :  เล่าสู่กันฟัง  :  ติดต่อเรา
ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: พ่อท่านเจ้าฟ้า วัดท่าเรือ
ประวัติพ่อท่านเจ้าฟ้า วัดท่าเรือ
15-10-2009 Views: 17015

พระรูปหล่อปั๊ม พ่อท่านเจ้าฟ้า วัดท่าเรือ

      วัดท่าเรือ หรือวัดปัฏนาราม ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลท่าเรือ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นวัดเก่าแก่ จากหลักฐานคือใบเสมาหินทราย ซึ่งเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย และอิฐก้อนใหญ่ ซึ่งเป็นอิฐสมัยศรีวิชัย มีขนาดใหญ่กว่าปัจจุบันมาก กว้างประมาณ 15 ซม. หนาประมาณ 10 ซม. (ใหญ่) กว่านี้จะเป็นอิฐสมัยอยุธยา

     แต่ถ้ายึดใบเสมาสันนิษฐานว่าอายุการสร้างอย่างต่ำวัดนี้คงสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย

    ส่วนพระอุโบสถนั้นสร้างประมาณ ปี พ.ศ. 2510 กว่าๆ โดยหลังเดิมนั้นเป็นไม้ผุพังไปหมดแล้ว หลังใหม่ได้สร้างที่โบสถ์หลังเก่า สำหรับพระพุทธรูปในโบสถ์เป็นสมัยอยุธยาศิลปะภาคใต้

    ประวัติ พลวงพ่อท่านเจ้าฟ้านั้น ผมสืบหาก็ได้มาเพียงเล็กน้อย ทราบเพียงว่าหลวงพ่อได้ธุดงค์มาจากพัทลุง มาพร้อมกับหลวงพ่อวัดปลายราง

    หลวงพ่อวัดปลายรางนั้นเก่งทางนั่งแพบกคือ ผูกแพยนต์แล้วนั่งไปมา บนบกคล้ายกับในน้ำ โดยเป็น วิชาของสายเขาอ้อ ซึ่งหลวงพ่อนุ้ย วัดม่วง ท่าฉาง ก็ได้ไปร่ำเรียนจากเขาอ้อ แล้วก็ทำได้เช่นกัน

    หลวงพ่อท่านเจ้าฟ้า นั้นเก่งในด้านอาคมหลายชนิด โดยมีครั้งหนึ่ง ช้างของหลวงพ่อวัดปลายรางหลายเชือกหลุดออกมาจนถึงวัดท่าเรือท่านจึงเอา กะลาครอบช้างไว้คล้ายกับวิชาที่หลวงพ่อวัดมะขามเฒ่าและวิชาย่อของให้เล็กลงของหลวงพ่อนุ้ยเช่นกัน

    ทำให้มั่นใจว่า หลวงพ่อเจ้าฟ้านั้นต้องเป็นศิษย์เขาอ้อแน่นอนทั้งหมดนี้เป็นเรื่องเล่ากันเป็นเหตุการณ์ในสมัยรัตนโกสินทร์

    ที่มาของนามพ่อท่านเจ้าฟ้า

    มีเรื่องเล่ากันว่าเมื่อหลวงพ่อมาถึงบ้านท่าเรือในอดีตนั้น มีผู้คนที่นับศาสนาอื่นอยู่ ผู้ชายคนหนึ่งได้หัวเราะ และว่ากล่าวพระท่านจึงบอกว่า อย่าทำเช่นนั้นเลยมันบาปเดี๋ยวฟ้าจะผ่าเอา เพียงเท่านั้น ฟ้าก็ผ่าคนนั้นตายทันที ทำให้ผู้คนหันมานับถือท่านและเรียกนามท่าน “พ่อท่านเจ้าฟ้า” หลังจากนั้นท่านก็ให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือชาวรักษาชาวบ้านแม้มีโรคระบาด ท่านก็จะปัดเป่ารักษาให้เป็นที่พึ่งพิงของชาวบ้าน แม้ท่านจะมรภาพมานานแล้วแต่เรื่องรักษาโรคนี้ก็ยังเป็นที่กล่าวขานกันจนทุกวัดนี้ มีการบนบานต่อรูปบูชาท่านที่วัดก็มักจะหายจากโรค หากมีภัยใดๆ ก็จะเข้าทรงบอกกล่าวชาวบ้านให้เตรียมตัวระวังและรักษาโรคให้ นี่คือคำบอกเล่ากันมา

      มูลเหตุการณ์สร้างรูปหล่อปั๊มพ่อท่านเจ้าฟ้า

      ประมาณปี 2505 บางท่านก็บอกหลังปี 05 ก็คงประมาณ 08 ก็คงไม่ยุติ หลวงพ่อท่านเจ้าฟ้าได้ประทับทรงให้สร้างขึ้นเพื่อให้ลูกหลาน ชาวพุทธได้ไว้ป้องกันตัวป้องกันภัยโรคต่างๆ โดยให้สร้างสร้างตามรูปปูนปั้นของท่านและบอกให้ไปดูด้านหลังจะมียันต์โดยให้ใช้ยันต์ตามที่ท่านให้นิมิตขึ้น (ทั้งๆ ที่รูปบูชาของท่านด้านหลังไม่มียันต์นะครับ)

      การสร้างให้สร้างขึ้นสองครั้งและละครั้งให้สร้างตามจำนวนที่พระอรหันต์ได้มาชุมนุมในวันอาสาฬหบูชาโดยมิได้นัดหมาย คือ 1250 รูป เพราะฉะนั้น รูปหล่อรุ่นแรกนี้คงจะสร้าง 1250 องค์ เพราะในการประทับทรงบอกว่าท่านสามารถแบ่งภาคให้ได้ ครั้งละเท่านั้น และให้สร้างสองครั้ง รวมกันสองครั้งก็ 2500 องค์

      พร้อมบอกว่าถ้าต้องการให้ช่วยเหลือก็ให้เอารูปหล่อนี้มาอธิษฐาน และเอ่ย พ่อท่านเจ้าฟ้า ท่าเรือ ก็จะช่วย

     แล้วจะดูอย่างไรว่าเป็นรุ่นหนึ่งหรือรุ่นสอง มีบางคนบอกว่ารุ่นแรกเก๊บ้างและก็มีอีกหลายคนว่ารุ่นสองเก๊ ไอ้แบบนี้เขาว่ารู้ไม่จริง แล้วจะพูดไปทำไหม ยุคนี้เป็นยุคข่าวสาร อำเภอบ้านนาเดิม เดี่ยวนี้ขับรถยังไม่ทันเหนื่อยก็ถึงแล้ว แต่ก็มีอีกไม่น้อย ยังสับสนระหว่างรุ่นแรกกับรุ่นสอง เพราะสร้างห่างกันไม่กี่ปีเนื้อก็เหมือนกัน ทว่าพอมีข้อแตกต่างกันบ้างคือ

      1. เศียรหลวงพ่อ รุ่นแรกจะเล็กใบหน้าจะดูยาว กว่ารุ่นสอง

      2. ด้านหลังขอบข้างจะมีตะเข็บจากการปั๊มมาก รุ่นสองแทบจะไม่มีตะเข็บรอยปลิ้นนี้

      3. เนื้อ รุ่นแรกจะมีรอยรานรอยแยกในเนื้อทุกองค์มากบ้างน้อยบ้างเป็นรอยปริตามแนวดิ่งทุกองค์ส่วนรุ่นสองจะไม่มีเลยเนื้อผิวจะเรียบตึงดี

      4. ฐานรุ่นแรก ฐานจะตั้งแล้วมักจะเอียงไปหลังแทบทุกองค์มากบ้างน้อยบ้าง ส่วนรุ่นสองตั้งแล้วจะตรง



 
------------------------
  หน้าหลัก  
  คำถามที่มีการถามบ่อย  
  เราเล่นพระทำไม ?  
  กฎหมายพระเครื่อง  
  เกร็ดเล็ก-เกร็ดน้อย  
  สมัครเปิดร้านค้า  
  การชำระเงินค่าร้านค้า  
  ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง  
  ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับร้านค้า  
 
หน้าหลัก  อดีตสู่ปัจจุบัน  เว็บบอร์ดชมรม  ตารางประกวดพระ  สาระน่ารู้  เล่าสู่กันฟัง  ติดต่อเรา
Copyright©2024 zoonphra.com
Powered by Tactical IT