ยินดีต้อนรับ เข้าสู่
บทความ
รู้ไว้ใช่ว่า.ใส่บ่าแบกหาม
รายการพระเครื่อง
สาระน่ารู้ ดูที่ภาพ
ลำดับที่เยี่ยมชม
Online:
4
คน
ห้องสนทนา
พระเครื่องเมืองสงขลา
ประวัติเกจิอาจารย์ดัง
เกจิอาจารย์ยอดนิยม
พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน
หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ
หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ
หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
หลวงพ่อเกษม เขมโก
หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง
หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ
หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม
หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่
หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค
เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทราวาส
ไหว้พระ ลาวนครเวียงจันทร์
เกจิอาจารย์แห่งเมืองสงขลา
หลวงพ่อจันทร์ วัดแหลมวัง
หลวงพ่อคง วัดธรรมโฆษณ์
พ่อท่านเส้ง วัดแหลมทราย
อาจารย์มหาลอย วัดแหลมจาก
หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า
หลวงพ่อสงค์ วัดคงคาวดี
หลวงพ่อสีแก้ว วัดไทรใหญ่
หลวงพ่อเล็ก วัดจุ้มปะ
หลวงพ่อทอง วัดคลองแห
หลวงพ่อเรือง วัดหัววัง
หลวงพ่อปาน วัดโคกสมานคุณ
หลวงพ่อเดิม วัดเอก
เกจิอาจารย์แห่งเมืองพัทลุง
พระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ
พระอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา
พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
พระอาจารย์ปาน วัดเขาอ้อ
หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน
หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ
หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดงตะวันออก
หลวงพ่อเล็ก วัดประดู่เรียง
หลวงพ่อพลับ วัดชายคลอง
หลวงพ่อเจ็ค วัดเขาแดงตะวันตก
พระอาจารย์ศรีเงิน
หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ
เกจิอาจารย์แห่งเมืองนครศรีฯ
พ่อท่านนวล วัดไสหร้า
หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก
พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง
หลวงปู่เขียว วัดหรงบล
หลวงพ่อหนูจันทร์ วัดพัทธสีมา
หลวงพ่อกล่ำ วัดศาลาบางปู
อาจารย์เอียดดำ วัดในเขียว
เจ้าคุณม่วง วัดท่าโพธิ์
หลวงพ่อหีต วัดเผียน
หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ
พ่อท่านจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ
หลวงพ่อปลอด วัดนาเขลียง
เกจิอาจารย์แห่งเมืองสุราษฎร์
หลวงพ่อพัฒน์ นารโท
หลวงพ่อเพชร วัดวชิรประดิษฐ์
หลวงพ่อกล่อม วัดโพธาวาส
หลวงพ่อพริ้ง วัดแจ้ง
หลวงพ่อชม วัดท่าไทร
หลวงพ่อเชื่อม วัดปราการ
หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์
หลวงพ่อพัว วัดบางเดือน
หลวงพ่อแดง วัดวิหาร
หลวงพ่อเพชร วัดศรีเวียง
หลวงพ่อนุ้ย วัดม่วง
หลวงพ่อแดง วัดแหลมสอ
หลวงพ่อแดง วัดคุณาราม
พ่อท่านเจ้าฟ้า วัดท่าเรือ
หลวงพ่อแต่ง วัดนันทาราม
หลวงพ่อเปี่ยม วัดทุ่งหลวง
เกจิอาจารย์แห่งเมืองชุมพร
หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย
หลวงพ่อเปียก วัดนาสร้าง
หลวงพ่อจอน วัดดอนรวบ
หลวงพ่อเลื่อน วัดสามแก้ว
หลวงพ่อจีด วัดถ้ำเขาพลู
พระธรรมจารี วัดขันเงิน
หลวงพ่อรุ่ง วัดบางแหวน
หลวงพ่อขำ วัดประสาทนิกร
หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
หลวงพ่อจร วัดท่ายาง
หลวงพ่อสินธิ์ ปทุมรัตน์ วัดคูขุด
หลวงพ่อมุม วัดนาสัก
หลวงพ่อดำ วัดท่าสุธาราม
หลวงพ่อใส วัดเทพเจริญ
เกจิอาจารย์ ฝั่งอันดามัน
หลวงพ่อบรรณ วัดด่านระนอง
พระอุปัชณาย์เทือก วัดโคกกลอย
หลวงพ่อกลับ วัดสำนักปรุ
หลวงพ่อวัดน้ำรอบ โคกกลอย
หลวงพ่อวัน วัดประสิทธิชัย
หลวงพ่อด่วน วัดบางนอน
เกจิอาจารย์ภาคใต้ตอนล่าง
หลวงพ่อดำ วัดตุยง
เกจิอาจารย์สายอีสาน
ประวัติพระวิปัสสนาจารย์
หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง
พระเครื่องเมืองใต้
หลวงปู่ทวด วัดช้างให้
พระเครื่องพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน
พระเครื่องหลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย
พระเครื่องหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง
พระเครื่องอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
พระเครื่องหลวงพ่อคง วัดธรรมโฆษณ์
พระเครื่องพ่อท่านเส้ง วัดแหลมทราย
พระเครื่องหลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า
พระเครื่องพ่อท่านซัง วัดวัวหลุง
พระเครื่องพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง
พระเครื่องสังข์ วัดดอนตรอ
พระเครื่องจังหวัดชุมพร
พระเครื่องจังหวัดระนอง
พระเครื่องจังหวัดพังงา
พระเครื่องจังหวัดภูเก็ต
พระเครื่องจังหวัดสุราษฎร์ธานี
พระเครื่องจังหวัดนครศรีธรรมราช
พระเครื่องจังหวัดกระบี่
พระเครื่องจังหวัดพัทลุง
พระเครื่องจังหวัดตรัง
พระเครื่องจังหวัดสตูล
พระเครื่องจังหวัดสงขลา
พระเครื่องจังหวัดปัตตานี
พระเครื่องจังหวัดยะลา
พระเครื่องจังหวัดนราธิวาส
ทำบุญไหว้พระ
ไหว้พระทองที่วัดคลองแดน
เที่ยววัดเกจิอาจารย์ดัง
เกจิดังเมืองสงขลา
หลวงพ่อคง วัดธรรมโฆษณ์
หลวงพ่อพลับ วัดระโนด
พ่อท่านยอด วัดอ่าวบัว
พ่อท่านปลอด วัดหัวป่า
พ่อท่านศรีแก้ว วัดไทรใหญ่
เกจิดังเมืองนครศรี
วัดพัทธสีมา อ. หัวไทร
หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก
วัดหรงบน อ. ปากพนัง
หลวงพ่อรุ่ง วัดรามแก้ว
หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง
หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง(ต่อ)
พ่อท่านซัง วัดวัวหลุง
พ่อท่านซัง วัดวัวหลุง(ต่อ)
หลวงพ่อขาว วัดปากแพรก
หลวงพ่อคง วัดคลองน้อย
หลวงพ่อเลื่อน วัดดอนผาสุก
หลวงพ่อเพิ่ม วัดสว่างอารมณ์
เกจิดังเมืองพัทลุง
พ่อท่านหมุน วัดเขาแดงตะวันออก
เกจิดังเมืองชุมพร
หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย
เว็บลิ้งค์ชมรมต่างๆ
ชมรมคนรักษ์พระเครื่องเมืองสงขลา
ชมรมคนรักษ์พระเครื่องเมืองนครฯ
ชมรมคนรักษ์พระเครื่องเมืองพัทลุง
ชมรมคนรักษ์พระเครื่องเมืองตรัง
ชมรมคนรักษ์ของสะสม
เว็บไซต์วัดเกจิดังในสยาม
วัดอัมพวัน จ. สิงห์บุรี
วัดหนองป่าพง จ. อุบลฯ
วัดเขาแหลม จ. สระแก้ว
หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
วัดหัวป่า อ. ระโนด จ. สงขลา
วัดแก้วโกรวาราม จ. กระบี่
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
หลวงสมชาย วัดเขาสุกิม
ป้อนหมายเลขสิ่งของ
***พิมพ์หมายเลขสิ่งของจำนวน 13 หลัก
รายละเอียดเพิ่มเติม
หน้าหลัก
:
อดีตสู่ปัจจุบัน
:
เว็บบอร์ดชมรม
:
ตารางประกวดพระ
:
สาระน่ารู้
:
เล่าสู่กันฟัง
:
ติดต่อเรา
ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: พระอาจารย์ศรีเงิน
ประวัติ พระครูสิริวัฒนการ (ศรีเงิน อาภาธโร)
14-10-2009
Views: 10751
ชาติภูมิ พระครูสิริวัฒนการ มีนามเดิมว่า ศรีเงิน นามสกุล ชูศรี เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๒ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ บ้านไผ่รอบ หมู่ที่ ๗ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โยมบิดาชื่อ นายสุด ชูศรี โยมมารดาชื่อ นางเฟือง ชูศรี มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกันรวม ๕ คน คือ ๑.นางแก้ว สมรสกับ นายปลอด แก้วสง ๒.นางสาวแหม้ว ชูศรี ๓.นายชู สมรมกับ นางเฮ้ง ชูศรี ๔.นางผึ้ง สมรสกับ นายบรรลือ หมุนหวาน ๕.พระครูสิริวัฒนการ การศึกษา จบชั้น ป.๔ จากโรงเรียนวัดดอนศาลา เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๔ การบรรพชาอุปสมบท บรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ณ วัดดอนศาลา โดยมีพระพุทธิธรรมธาดา เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "อาภาธโร" การศึกษาพระธรรมวินัย พ.ศ.๒๕๐๑ สอบไล่ได้นักธรรมเอก สำนักเรียนวัดดอนศาลา ตำแหน่งทางสงฆ์ เป็นรองเจ้าอาวาสวัดดอนศาลา ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูสิริวัฒนการ (จรร.) ในวัยเด็กท่านใช้ชีวิตเหมือนกับเด็กชายในชนบททั่วไป อาศัยอยู่กับพ่อแม่และพี่ ๆ แต่เมื่อท่านอายุได้ ๗ ขวบ มาดาก็ถึงแก่กรรม ท่านจึงอยู่ภายใต้การอุปการะของบิดาและพี่ ๆ บิดาของท่านได้จัดการให้ท่าน ได้ศึกษาเล่าเรียนขั้นเบื้องต้นที่โรงเรียนใกล้บ้าน คือ โรงเรียนวัดดอนศาลา เด็กชายศรีเงินเรียนอยู่ที่นั้นจนกระทั่งจบชั้นสูงสุดของโรงเรียน คือ ชั้นประถมปีที่สี่ และถือเป็นการจบขั้นบังคับ ภายหลังจากจบการศึกษาชั้นประถมต้นแล้ว พระอาจารย์ศรีเงินไม่ได้ศึกษาต่อที่ใหน ออกไปช่วยการงานที่บ้าน ภายหลังจากที่ท่านจบชั้นประถมได้เพียงไม่กี่ปีบิดาก็ถีงแก่กรรมไปอีกคน คราวนี้ท่านและพี่ ๆ ต้องกำพร้าพ่อและแม่ แต่โชคดีหน่อยที่ตอนนั้นท่านมีอายุพอที่จะช่วยตัวเองได้แล้ว คือมีอายุได้ ๑๗ ปี ส่วนพี่ ๆ นั้นก็ต่างโตกันหมดแล้ว ท่านจึงอาศัยอยู่กับยายและพี่ ๆ นายศรีเงินหรือพระครูสิริวัฒนการในปัจจุบันอาศัยอยู่กับยายและพี่ ๆ จนครบบวชพระ ญาติ ๆ เห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้บวชเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับพ่อแม่ที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่อจะได้ใกล้ชิดพระศาสนาในฐานะพุทธบุตร นายศรีเงินไม่ขัดข้อง ท่านจึงได้เริ่มเข้าสู่ร่มพระศาสนาตั้งแต่บัดนั้น พระครูศิริวัฒนการได้เริ่มเข้าสู่พระศาสนาในฐานะพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๔ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ ตรงกับวันอังคาร แรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีขาล สำเร็จเป็นพระภิกขุ ภาวะภายในพัทธสีมาของวัดดอนศาลานั่นเอง โดยมีพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพุทธิธรรมธาดา อดีตรองเจ้าคณะจังหวัดพัทลุง และเจ้าอาวาสวัดสุวรรณวิชัย อ. ควนขนุน เป็นพระอุปัชฌาย์ให้ มีพระกรุณานุรักษ์ เจ้าคณะอำเภอควนขนุน และเจ้าอาวาสวัดสุวรรณวิชัย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระครูกาชาด (บุญทอง) เจ้าอาวาสวัดดอนศาลารูปปัจจุบันเป็นพระอนุสาสนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้มคธนามหรือตั้งฉายาทางพระให้ว่า "อาภาธโร" อยู่ที่วัดดอนศาลานั้นเอง และภายหลังจากอุปสมบทท่านได้พิจารณาทบทวนถึงชีวิตของตัวเองพบความไม่เที่ยงแท้ในชีวิต ระลึกถึงความทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพรากและการสูญเสียของรักของหวง โดยเริ่มแต่สูญเสียมารดาตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ และมาสูญเสียบิดาเมื่ออายุได้ ๑๗ ปี ท่านได้เห็นความไม่เที่ยงแท้ของชีวิต และได้พบว่าชีวิตบรรพชิตสุขสงบกว่า น่าอยู่มากกว่าชีวิตฆราวาส ท่านก็เลยเกิดความคิดที่จะใช้ชีวิตในเพศบรรพชิตต่อไป เมื่อตัดสินใจได้แล้ว พระภิกษุศรีเงินก็คิดต่อไปแล้วว่าหากจะอยู่ในเพศบรรพชิตก็ควรจะอยู่อย่างมีค่า อย่างน้อยควรจะมีความรู้ทางศาสนาบ้างท่านจึงได้เข้าศึกษาทางด้านปริยัติที่วัดดอนศาลา ศึกษาตั้งแต่นักธรรมชั้นตรีโท จนกระทั่งสอบได้ชั้นสูงสุดคือนักธรรมชั้นเอก พร้อมกันนั้นก็ได้ศึกษาทางด้านวิปัสสนาจากครูบาอาจารย์ภายในวัดดอนศาลา ซึ่งวัดดอนศาลานั้น อย่างที่ทราบกันคือ เป็นสถานที่วิทยาการด้านไสยเวทเจริญรุ่งเรืองมานาน วิชาวิปัสสนานั้นเป็นหลักสูตรขั้นพื้นฐานของไสยเวท ฉะนั้นในวัดจึงมีครูบาอาจารย์ที่เก่งในเรื่องนี้อยู่ไม่ขาด เมื่อได้ศึกษาวิปัสสนา พระอาจารย์ศรีเงินก็เกิดสนใจในวิชาไสยเวทขึ้นมา จะว่าไปแล้วสิ่งแวดล้อมก็มีส่วนช่วยในการผลักดันท่านให้มาสนใจในเรื่องนี้อยู่มาก หล่าวคือ ตั้งแต่ท่านเด็ก ๆ มาแล้ว ในบริเวณควนขนุน พระอาจารย์ที่เก่งในทางไสยเวทมีมากรูป และแต่ละรูปล้วนได้รับความเคารพนับถือและได้สร้างประโยชน์เกื้อกูลพระศาสนามากมาย พระอาจารย์สรีเงินท่านเล็งเห็นว่าควรจะเจริญรอยตามอย่างครูบาอาจารย์ที่ท่านเคยทำไว้ ศึกษาให้ถ่องแท้ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่พระศาสนาได้มากมาย ขณะที่พระอาจารย์ศรีเงินเกิดความสนใจจะศึกษาไสยเวทนั้น ศิษย์เอกของสำนักเขาอ้อที่เชี่ยวชาญในวิชาของเขาอ้อยังมีชีวิตอยู่หลายคน ทั้งฝ่ายบรรพชิตและฆราวาส ฝ่ายบรรพชิตนั้น เจ้าสำนักรูปสุดท้ายของสำนักเขาอ้อ คือ พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม ยังมีชีวิตแต่ก็เริ่มชราภาพแล้ว นอกจากนั้นก็ยังมีศิษย์เอกของพระอาจารย์เอียด อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนศาลาอีกรูปหนึ่งคือพระครูพิพัฒน์สิริธร หรือ พระอาจารย์คง สิริมโต เจ้าอาวาสวัดบ้านสวน ทางฝ่ายฆราวาสก็มี อาจารย์นำ แก้วจันทร์ อาจารย์เปรม นาคสิทธิ์ เป็นต้น เมื่อท่านอาจารย์ศรีเงินคิดจะศึกษาค้นคว้าวิชาไสยเวทของสำนักเขาอ้ออย่างจริงจัง ท่านก็คิดถึงเจ้าสำนักเขาอ้อเป็นอันดับแรก คือ พระอาจารย์ปาล ซึ่งกำลังมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในพัทลุงขณะนั้น ท่านก็เลยไปฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์ปาลที่วัดเขาอ้อ พร้อมกันนั้นก็ได้เริ่มทำคุณประโยชน์แก่พระศาสนา โดยการสอนพระปริยัติแก่พระภิกษุและสามเณรที่วัดเขาอ้อ ระหว่างนั้นพระอาจารย์ศรีเงินจึงต้องเทียวมาเทียวไป ระหว่างวัดดอนศาลาที่อยู่ประจำกับวัดเขาอ้อที่ไปเรียน และสอนหนังสือ การเดินทางไปวัดเขาอ้อแต่ละครั้ง พระอาจารย์ศรีเงินทำให้เกิดประโยชน์ทั้งแก่ตัวท่าน และแก่พระศาสนา คือ ไปเรียนวิชากับพระอาจารย์ปาลอันเป็นประโยชน์แก่ตัวเอง และสอนหนังสือแก่พระภิกษุสามเณรอันเป็นประโยชน์แก่พระศาสนา พระอาจารย์ศรีเงินได้รับถ่ายทอดวิชาต่างๆ มาจากพระอาจารย์ปาลมาก จนมีผู้กล่าวว่าท่านอาจารย์ปาลได้มอบวิชาต่างๆ ให้กับพระอาจารย์ศรีเงินมากที่สุด ขนาดเท่ากับผู้ที่จะขึ้นมาสืบทอดตำแหน่งเจ้าสำนักเขาอ้อรุ่นต่อไปได้ มีผู้วิเคราะห์ต่อไปว่า พระอาจารย์ศรีเงินอาจจะเป็นผู้ที่พระอาจารย์ปาล ได้คัดเลือกให้ทำหน้าที่เจ้าสำนักเขาอ้อรูปต่อไปสืบต่อจากท่าน แต่การคณะสงฆ์เปลี่ยนแปลง พระอาจารย์ปาลก็ทราบความเป็นไปในอนาคตดี จึงไม่ได้หวังอะไรในเรื่องการสืบทอดตำแหน่ง หวังเพียงให้สืบทอดวิชาเพื่อไม่ให้วิชาสายเขาอ้อสูยหาย และจะได้นำไปสร้างคุณประโยชน์แก่พระศาสนาและประเทศชาติต่อไป เหมือนกับที่บุรพาจารย์เคยทำมา จึงพูดได้ว่าพระอาจารย์ศรีเงินเป็นศิษย์เอกของพระอาจารย์ปาล นอกจากจะได้ไปศึกษากับพระอาจารย์ปาลอย่างเป็นทางการแล้ว พระอาจารย์ศรีเงินท่านก็ได้ศึกษากับพระอาจารย์คง วัดบ้านสวน เพิ่มเติมด้วยเสริมในส่วนที่พระอาจารย์คงเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะเรื่องการแพทย์แผนโบราณ และคาถาอาคมเกี่ยวกับการแพทย์ นอกจากนั้นแล้วในส่วนของฆราวาส พระอาจารย์ศรีเงินท่านได้รับถวายความรู้ จากศิษย์ฆราวาสคนสำคัญของวัดเขาอ้อท่านหนึ่ง คือ อาจารย์เปรม นาคสิทธิ์ พระอาจารย์ศรีเงินเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติต่างๆ ตามที่ทางวัดเขาอ้อกำหนดไว้ คุณสมบัติเด่นๆ ที่เห็นชัดก็คือการยึดพรหมวิหาร ๔ และสังคหวัตถุธรรม ซึ่งท่านได้นำมายึดเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ด้วยเหตุนี้ พระอาจารย์ปาลจึงได้คัดเลือกท่าน จะเห็นได้ว่าพระอาจารย์ปาลเลือกไม่ผิดคน ท่านรูปนี้มีคุณสมบัติต่างๆ เหมาะสมที่จะทำหน้าที่สืบทอดวิชาของสำนักเขาอ้อจริง ต่อมาเมื่อท่านได้มีโอกาสนำวิชาต่างๆ มาใช้ ก็ใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ท่านจึงได้สร้างคุณประโยชน์แก่พระศาสนาและสังคมมากมาย ไม่ว่าจะทางตรงและทางอ้อม ในส่วนของความผูกพันฉันศิษย์อาจารย์กับพระอาจารย์ปาลท่านก็ได้ปฏิบัติตัวในฐานะศิษย์อย่างสมบูรณ์ เมื่อพระอาจารย์ปาลชราภาพมากเข้า ช่วยตัวเองไม่สะดวก จะอยู่ที่วัดเขาอ้อก็ไม่มีคนดูแลอย่างเป็นกิจจะลักษณะ พระอาจารย์ศรีเงินเองก็อยู่ไกล เกรงว่าจะดูแลปรนนิบัติรับใช้อาจารย์ไม่เต็มที่ ท่านจึงได้รับพระอาจารย์ปาล มาอยู่เสียที่วัดดอนศาลา ท่านทำหน้าที่ดูแลปรนนิบัติอย่างใกล้ชิดอยู่เป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งพระอาจารย์ปาลต้องการจะกลับไปมรณภาพที่วัดเดิม คือ วัดเขาอ้อ ซึ่งท่านกลับไปได้เพียงประมาณ ๓ เดือนก็มรณภาพ เมื่อพระอาจารย์ปาลมรณภาพ พระอาจารย์ศรีเงินก็เป็นแม่งานใหญ่ในการจัดการศพของท่าน เรียกว่าพระอาจารย์ศรีเงินทำหน้าที่ของศิษย์ได้สมบูรณ์ทุกประการ เรื่องความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์นั้น พระอาจารย์ศรีเงิน ท่านยังได้แสดงออกอย่างน่าชื่นชมกับอาจารย์ทุกรูป เป็นต้นว่าพระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ เมื่อพระอาจารย์นำมาอุปสมบทอยู่ที่วัดดอนศาลาในวัยชรา ก็ได้พระอาจารย์ศรีเงินคอยดูแลปรนนิบัติ และกล่าวกันว่าระหว่างนั้นพระอาจารย์ศรีเงินได้รับถ่ายทอดวิชาสำคัญ ๆ อีกหลายอย่างจากพระอาจารย์นำ เรียกว่า พระอาจารย์นำมีวิชาเท่าไหร่ ท่านก็ถ่ายทอดให้หมดในวัยใกล้วาระสุดท้าย พระอาจารย์ศรีเงินเองก็ดูแลปรนนิบัติรับใช้ท่านอย่างดี แม้ว่าจะโดยพรรษา พระอาจารย์ศรีเงินอาวุโสมากกว่าพระอาจารย์นำมาก แต่ท่านก็เคารพในฐานะอาจารย์ ปฏิบัติต่อท่านอย่างศิษย์พึงปฏิบัติต่ออาจารย์ พูดได้ว่าพระศรีเงินเป็นศิษย์สายเขาอ้อรูปหนึ่งที่ได้รวบรวมวิชาดีทั้งหลายไว้มากมาย พระอาจารย์ศรีเงิน มรณะภาพ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๓ รวมสิริอายุได้ ๗๒ ปี ๕๑ พรรษา
------------------------
หน้าหลัก
คำถามที่มีการถามบ่อย
เราเล่นพระทำไม ?
กฎหมายพระเครื่อง
เกร็ดเล็ก-เกร็ดน้อย
สมัครเปิดร้านค้า
การชำระเงินค่าร้านค้า
ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง
ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับร้านค้า
หน้าหลัก
อดีตสู่ปัจจุบัน
เว็บบอร์ดชมรม
ตารางประกวดพระ
สาระน่ารู้
เล่าสู่กันฟัง
ติดต่อเรา
Copyright©2024 zoonphra.com
Powered by Tactical IT