เว็บลิ้งค์ชมรมต่างๆ

เว็บไซต์วัดเกจิดังในสยาม
วัดอัมพวัน จ. สิงห์บุรี
วัดหนองป่าพง จ. อุบลฯ
วัดเขาแหลม จ. สระแก้ว
หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
วัดหัวป่า อ. ระโนด จ. สงขลา
วัดแก้วโกรวาราม จ. กระบี่
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
หลวงสมชาย วัดเขาสุกิม
ป้อนหมายเลขสิ่งของ


***พิมพ์หมายเลขสิ่งของจำนวน 13 หลัก

รายละเอียดเพิ่มเติม

  หน้าหลัก  :  อดีตสู่ปัจจุบัน  :  เว็บบอร์ดชมรม  :  ตารางประกวดพระ  :  สาระน่ารู้  :  เล่าสู่กันฟัง  :  ติดต่อเรา
ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
03-11-2009 Views: 51692

    หลวงพ่อเงินบางคลาน พิจิตร เพชรน้ำเอกแห่งโพธิ์ทะเล วัดวังตะโกและวัดท้ายน้ำ

                                     โดย..จ.ส.อ.เอนก เจกะโพธิ์

    ความเป็นมา ก่อนที่ท่านจะพบกับประวัติของหลวงพ่อเงินบางคลานผมผู้เขียนขอแนะนำ ให้ท่านได้พบกับประวัติสังเขปของเมืองพิจิตรเสียก่อน ในอดีตพิจิตรมิได้ตั้งอยู่ในที่ตั้งปัจจุบัน ได้เปลี่ยนแปลงโยกย้ายมาหลายครั้งหลายหน จนหลักฐานทางประวัติพอจะยืนยันได้แน่ชัดว่า ครั้งแรกเลยนั้นพิจิตรตั้งอยู่ในเขตอำเภอโพธิ์ทะเล ใกล้กับบึงไชยบวรซึ่งอยู่ในเขตตำบลบ้านน้อย และตำบลบางคลานปัจจุบัน ชื่อเมืองครั้งแรกนั้นมีชื่อว่า “นครไชยบวร” ต่อมามีผู้สืบเชื้อสายของผู้ครองนครคือ “พระเจ้ากาญจนกุมาร” ได้ไปสร้างเมืองใหม่ที่บ้านสระหลวง ให้ชื่อเมืองใหม่ว่า “เมืองสระหลวง” คือเมืองเก่าในปัจจุบันนั้นเอง

     ในสมัยสุโขทัยเมืองพิจิตรได้ตกมาเป็นของไทยราว พ.ศ. 1800 และต่อมาสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง พิจิตรก็ตกอยู่ในครอบครองของกรุงศรีอยุธยา เมื่ออยุธยาเสียแก่พม่า พิจิตรก็ได้เข้าร่วมกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ร่วมกันตีเมืองพิษณุโลกได้ในปี 2313 พิจิตรจึงขึ้นอยู่กับอาณาจักรธนบุรี และเมืองกรุงธนบุรีถูกเปลี่ยนไป พิจิตรก็รวมอยู่กับกรุงรัตนโกสินทร์จนกระทั่งตราบเท่าทุกวันนี้

    และในปีพุทธศักราช 2410 พิจิตรได้ย้านที่ตั้งเมืองอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากลำนํ้าน่านเปลี่ยนทางเดิน หลวงธรเนนทร์ เจ้าเมืองพิจิตรในขณะนั้นได้ย้ายที่ตั้งเมืองใหม่ ที่ตำบลปากทาง และได้ย้ายที่ตั้งอีกครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. 2473 พระชาติตระการผู้ว่าราชการจังหวัดได้ย้ายที่ตั้งศาลากลางจังหวัดไปตั้งขึ้นใหม่ในเขตเทศบาลเมืองพิจิตร ซึ่งเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดในปัจจุบันนี้

     พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวพิจิตรที่เคารพสักการะได้แก่ “หลวงพ่อเพชร” เป็นพระที่สร้างด้วยสำริด ปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร ศิลปะสมัยเชียงแสนรุ่นแรก ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอก 1 คืบ 6 นิ้ว ส่วนสูง 3 ศอก 3 นิ้ว ประทับนั่งบนอาสนะฐานบัวควํ่า - บัวหงาย รองรับ ประดิษฐานอยู่ ณ พระอุโบสถ์

     วัดท่าหลวง อ.เมือง จ.พิจิตร เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และมีความสง่างามทีเดียว ในอดีตวัดท่าหลวงมีการแข่งเรือยาวเป็นประเพณี ปัจจุบันก็ยังมีการแข่งเรือ สืบสานประเพณีเหมือนเช่นเดิม มีผู้กล่าวกันว่า เมืองพิจิตรมีชาละวันชุกชุม จรเข้ยักษ์ในแม่นํ้าน่านถึงคราน่านํ้าจะปรากฏว่ามีจรเข้มากมายหลายขนาด และมีมากกว่าเมืองอื่น ๆ จึงมีเรื่องเล่ากันว่าเป็นเมืองนิยายปรัมปราประจำเมืองดังเหมือนดังสัญลักษณ์ของเมืองนี้เป็นรูปจรเข้ตัวโต ๆ ประจำเมือง

    ผู้เขียนได้นำท่านมาพบกับความเป็นมาของจังหวัดพิจิตรพอสมควร ในโอกาสนี้ก็ขอเชิญท่านพบกับประวัติและความเป็นมาของหลวงพ่อเงินบางคลาน สิ่งซึ่งพระสงฆ์ผู้ทรงศีล มีชื่อเสียงโด่งดัง ดี...เด่น ด้วยวัตถุมงคลเป็นอันมาก เป็นที่ยอมรับของชาวพิจิตรและคนทั่วไป ทั่วทั้งประเทศวัตถุมงคลของท่านนั้นมีชื่อเสียงดีที่สุด ยอดเยี่ยมที่สุด ราคาแพง ที่สุด และหายากที่สุด

    ขอเชิญท่านพบกับประวัติความเป็นมาของพระคุณท่าน ดังต่อไปนี้ ประวัติหลวงพ่อโดยสังเขป ชาติกาล หลวงพ่อเงินเดิมท่านชื่อ เงิน เมื่อสมัยก่อนยังไม่ได้ใช้นามสกุล ท่านเกิดวันศุกร์ ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2363 ตรงกับเดือน 11 ปีฉลู แต่หลักฐาน บางแห่งบอกว่าท่านเกิดปี พ.ศ. 2360 และหลักฐานบางแห่งก็บอกว่าท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2351 เดือน 10 ปีมะโรง อ่านและฟังดูแล้วช่างไม่ ตรงกันเสียเลย และยังหาข้อยุติไม่ได้แน่ ๆ บิดาของท่านชื่อว่า อู๋ เป็นชาวบางคลาน หมู่1 มารดาของท่านชื่อ พัก เป็นชาวแสนตก ปัจจุบันเป็นอำเภอขานุวรลักษณ์บุรี จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3) มีพี่น้องร่วมบิดา - มารดาเดียวกันคือ:-

    คนที่ 1 ชื่อพรหม เป็นชาย

    คนที่ 2 ชื่อทับ เป็นหญิง

    คนที่ 3 ชื่อทอง (ขุนภุมรา) เป็นชาย

    คนที่ 4 ชื่อเงิน (หลวงพ่อเงิน) เป็นชาย

    คนที่ 5 ชื่อหรํ่า เป็นชาย

    คนที่ 6 ชื่อรอด เป็นหญิง

    เมื่อปี พ.ศ. 2356 หลวงพ่อเงินอายุได้ 5 ขวบ นายช่างซึ่งเป็นลุงของท่านมาที่วัดกลางนา ได้พาหลวงพ่อเงินไปอยู่กรุงเทพ จนกระทั่งหลวงพ่อเงินเติบโตเข้าศึกษา เล่าเรียนได้ จึงได้นำหลวงพ่อเงินมาฝากไว้ที่วัดกลางนา วัดชนะสงคราม เพื่อให้เล่าเรียน

  หนังสือที่วัดชนะสงคราม เรียนหนังสือกับ พระครูสิทธิเดช (แสง) คนมอญเมืองปทุมธานี วัดกลางนา ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อวัดตองปุ และอยู่ที่วัดชนะสงคราม จนถึงปี พ.ศ. 2363 หลวงพ่อเงินอายุได้ 12 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ครบบวช ท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่จังหวัดพิจิตร พระอุปัชฌาย์ไม่ปรากฏ หลักฐานแน่ชัด ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “พุทธโชติ” แล้วได้กลับมาอยู่ยังวัดตองปุ (วัดชนะสงคราม) เพื่อปฏิบัติธรรมวินัยและเรียนทางวิปัสสนากรรมฐาน อยู่ได้ 3 พรรษา ต่อมาพี่ชายของท่านส่งข่าวว่า โยมป่วยหนัก หลวงพ่อเงินจึงย้ายไป จำพรรษาอยู่ที่วัดคงคาราม วัดบางคลานใต้บ้านบางคลาน อำเภอบางคลาน จ.พิจิตร บ้านเดิมของท่านก่อนที่จะกลับไปอยู่จังหวัดพิจิตร ท่านได้เดินทางจาก วัดชนะสงครามไปยังบ้านช่างหล่อ คือ บ้านยายวัน แจ้งดี เมื่อหลวงพ่อเงินเดินทางมาถึงบ้านยายวัน ยายวันก็เอ่ยปากถามขึ้นว่า ท่านมาจากวัดไหน หลวงพ่อเงิน ก็พูดว่าอาตมามาจากวัดชนะสงคราม ยายวันสงสัยก็ถามอีกว่า ท่านเป็น คนมอญรึ หลวงพ่อเงินก็ตอบไปว่า อาตมาเป็นคนกำแพงเพชร ยายวันถามอีกว่าท่านมีธุระอะไรจึงมาที่นี่ หลวงพ่อเงินก็ตอบว่า จะมาจ้างหล่อรูปไปแจกลูกศิษย์ ยายวันจ้องมองหน้าจึงตอบตกลงหล่อให้กับหลวงพ่อเงินเป็นครั้งแรก

     จึงนับว่ายายวัน แจ้งดี เป็นช่างหล่อคนแรกในประเทศไทยก็ว่าได้ การหล่อครั้งนั้นเป็นการหล่อรูปเหมือนองค์ท่านจำนวนน้อย (ไม่ใช่จำนวนพัน) จึงผิดกับในปัจจุบันมากพบหน้าใคร ๆ มักจะเห็นแต่รูปหล่อหลวงพ่อเงินทั้งสิ้น เรื่องหลวงพ่อเงินเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน มีผู้เขียนหลายคนหาข้อมูลมาไม่เหมือนกัน ทำให้ผู้อ่านเรื่องหลวงพ่อเงินเกิดความไขว้เขวไปก็มี ก็ขอให้ท่านทั้งหลายพิจารณาให้ดี ถ้าดูไม่เป็น ไม่ออก ไม่รู้ อย่าริอ่านเล่น เช่าพระหลวงพ่อเงินใหม่ ๆ ที่ออกจากวัดจะดีเสียกว่า มีพุทธคุณดีและสนนราคาก็พอสมควร เราศรัทธา หลวงพ่อเงินจริงหรือเปล่า ? ราคาของแท้ที่ยายจันสร้าง ราคา 2 - 3 แสน ไม่ตํ่ากว่านี้

    การดูพระหลวงพ่อเงินให้ดูดังต่อไปนี้:-

    1. ให้ดูที่ขนาด นํ้าหนัก รูปลักษณะ พิมพ์ทรงเป็นอย่างไร ดูลายละเอียดของลายเส้น ดูความชัดเจนของลายเส้นตลอดจนกระทั่งเนื้อทองในองค์พระสีเหลืองแบบลายประแจจีน

   2. ให้ดูตรงสังฆาฏิ จะมีความใหญ่ ความหนา มองดูคล้ายสังฆาฏิจะคล้ายตั้งฉาก ดูส่วนล่างกับส่วนบน ถ้าเราแบ่งออกเป็น 2 ส่วน จะเห็นว่า ส่วนที่สังฆาฏิจะโอนไปยังไหล่นั้นมีส่วนสัดเท่ากับส่วนล่าง

   3. ดูที่เนื้อทองเหลือง โดยมากจะแห้งสนิท คล้ายทองฝาบาตร หรือรอยประแจจีนเก่าๆ ส่วนเนื้อทองใหม่ ๆ มีความสดช่างใหม่ทำได้

   4. ให้ดูที่รอยประกบ หรือที่รอยแต่งตรงลอยประกบจะมีรอยตะไบ ขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ และละเอียด

   5. เหตุที่หลวงพ่อเงินรูปหล่อ มีช่างหลายคนได้ทำต่อ ๆ กันมาหลายช่าง หลายพิมพ์ทรงอาจไม่เหมือนกัน แต่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน บางช่างทำได้เฉียบขาด เช่นหลวงพ่อเงิน - หลวงพ่อเดิมมีการถกเถียงกันในงานประกวดก็มี บางคนบอกว่าองค์นี้ใช่ องค์นี้ไม่ใช่ ผลที่สุดเถียงกันไปเถียงกันมา ถึงกับจะวางมวยกันก็มี สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะกรรมการมีความเห็นไม่ตรงกัน

    ทั้ง 5 ข้อที่กล่าวมานี้ อาจจะไม่ตรงต่อนักนิยมก็เป็นได้ หลวงพ่อเงินเป็นศิษย์เอกของใคร หลวงพ่อเงินเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อโม วัดวังหมาเน่า จังหวัดพิจิตร หลวงพ่อโมท่านเป็นพระชาวมอญ เมืองปทุมธานี (เจ้าพ่อแห่งมอญ) พระครูอมรธาธิบดี (เจิ่ม โสภิต) เป็นชาวรามัญ วัดสนามนนทยรามัญ เจ้าคณะแขวงนนทบุรี และหลวงพ่อเงินก็เป็นศิษย์เอกของสมเด็จ พระวันรัตน์ทับ พุทธสิริ วัดโสมนัสวิหาร (นางเลิ้ง) ซึ่งเป็นปฐมเจ้าอาวาส ยายวันได้พาหลวงพ่อเงินเข้าพบหลังจากที่หลวงพ่อเงินว่าจ้างยายวันหล่อรูปเพื่อถวายตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อทับ (สมเด็จพระวันรัตน์) ทรงพบเข้าและยังชมว่าหน้าตาดี คงมีความมั่นคงในทางพุทธศาสนาอย่างแท้จริง จึงรับไว้และเอ่ยพระโอษฐ์ว่า ดี...ดี...ดี นี่คือวาจาของสมเด็จเมื่อพุทธศักราช 2434 ขณะนี้อายุของหลวงพ่อเงินก็คงในราว ๆ 70 ปีแล้ว การหล่อรูปหลวงพ่อเงินครั้งแรกโดยยายวัน แจ้งดี เศรษฐีพรานนก เป็นผู้ต้นกำเนิดหล่อรูปพิมพ์ขี้ตาและพิมพ์เบ้าทุบ (พิมพ์นิยม) ทั้งสองพิมพ์จะมี ข้อแตกต่างกันบ้างคือ พิมพ์ขี้ตาจะมีผิวขรุขระไม่เรียบ ส่วนพิมพ์เบ้าทุบจะมีความ เรียบร้อยสวยงามกว่าพิมพ์ขี้ตา ทางกรรมกาารวัดให้เช่าบูชาองค์ละ 1 บาทเท่านั้น

    เมื่อพิมพ์ขี้ตาและพิมพ์นิยมได้แจกจ่ายให้ผู้ที่มีนับถือและเคารพเลื่อมใส ได้รับความนิยมสูงสุดสำหรับเด็กหญิงและเด็กชายไม่ค่อยได้มีโอกาส ได้ใช้รูปหล่อทั้งสองชนิดดังกล่าวมาแล้ว ทางคณะกรรมการวัดจึงจัดสร้างเป็นครั้งที่ 2 เป็นเหรียญหล่อจอบไข่ปลาใหญ่ เรียกว่า จอบใหญ่ กับเหรียญจอบเล็กมีความนิยมสูงมากกว่ารูปลอยองค์ เพราะเหรียญสองชนิดนี้มีห่วงหูในตัว เมื่อเช่าหรือรับแจกแล้วคล้องคอได้เลย

     พระอาจารย์และวัดที่จัดสร้างพระหลวงพ่อเงินพิมพ์ต่าง ๆ มีด้วยกัน 7 วัดคือ

   1. วัดวังตะโก หลวงพ่อเงินสร้างมีทุกพิมพ์ อาจารย์แจ๊ด พิมพ์ พระผงแบบจอบเล็ก

   2. วัดท้ายนํ้า หลวงพ่อเงินสร้างมีทุกพิมพ์ พระครูวัตฏะสัมบัญ (ฟุ้ง) สร้าง มีครบทุกพิมพ์ พระปลัดชุ่มสร้างเฉพาะพิมพ์นิยมกับตัว ช. เพียงพิมพ์ เดียวเท่านั้น

   3.วัดหลวง พระธรรมทัศสีมุนี (สุ่น) สร้างมีพิมพ์ต่าง ๆ ประเภทเนื้อดินล้วน มีพิมพ์สมเด็จพระเจ้าห้าพระองค์ พิมพ์ขี้ตา, พิมพ์นิยม, พิมพ์ซุ้มกอ, พิมพ์สังกัจจายน์

   4. วัดขวาง หลวงปู่ไข่ มีพิมพ์ขี้ตา, พิมพ์นิยม, พิมพ์สังกัจายน์ 

   5. วัดห้วยเขน พระครูล้อมสร้างพิมพ์ขี้ตา, พิมพ์นิยม, ไข่ปลา, จอบเล็กและเนื้อดินมีทั้งนั่ง นอน ยืน

   6. วัดบางมูลนาค พระครูพิทักษ์ศิลคุณ (น้อย) กัลหลวงพ่อพิธ สร้างพิมพ์ขี้ตา, พิมพ์นิยม, จอบใหญ่, ไข่ปลา, จอบเล็ก

   7. วัดคงคาราม หลวงพ่อน้อย (ตาบอด) สร้างพิมพ์ขี้ตา, พิมพ์นิยม โดย จ้างเจ๊กชัยหล่อ แล้วพิมพ์ขี้ตา, พิมพ์นิยมเนื้อดินด้วย หลวงพ่อเงินที่ชาวบ้านสร้างเอง

   นับตั้งแต่หลวงพ่อได้มรณภาพไปแล้ว ก็ยังมีผู้ต้องการไปเสาะแสวงหา พระพิมพ์ต่างๆ ของหลวงพ่อที่บ้านบางคลานตลอดเวลาจึงมีช่างที่บ้านบางคลานจัดสร้างขึ้นมาเอง ปลุกเสกเองออกจำหน่ายเอง เริ่มทำกันตั้งแต่ 2492 ได้แก่ นายช่างแม้นและ นายช่างกรุ่น ได้ลอกพิมพ์จากพระหลวงพ่อเงินแท้ ๆ ทุก ๆ พิมพ์ทรงมาสร้าง แล้วเทแบบ เบ้าทุบ หรือเทแบบเบ้ากระดูก คือเผาทีละองค์ อายุการสร้างจนถึงปัจจุบันมีอายุถึง 50 ปีแล้ว เนื้อหาสาระและผิวพรรณวรรณะก็แห้งสนิท ผู้มีไว้ครอบครองและนำไปคล้องคอ ต้องเชื่ออย่างสนิทใจว่าเป็นของแท้ แม้แต่เซียนพระใหญ่ทั่ว ๆ ไป โดนกันระนาว นับประสาอะไรแม้แต่ชื่อวัดหลวงพ่อเงินเอง ยังเขียนและเรียกกันไม่ถูกเป็นที่น่าสงสารจริง ๆ

    เรื่องหลวงพ่อเงิน ที่มีผู้เข้าใจว่าวัดบางคลานนั้น ความจริงแต่อดีตจน ถึงปัจจุบัน วัดบางคลานไม่มี คำว่าบางคลานหมายถึงตำบล อำเภอ ที่อยู่ของจังหวัด ปัจจุบันนี้วัดวังตะโก ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดหิรัญญาราม และอำเภอบางคลานก็ได้เปลี่ยนมาเป็น อำเภอโพทะเลแล้ว

    สำหรับหลวงพ่อเงิน วัดวังตะโกกับหลวงพ่อเงินวัดวังท้ายนํ้าบางพิมพ์เหมือนกัน แต่บางพิมพ์อาจจะไม่เหมือนกัน ที่ไม่เหมือนกันก็เพราะไม่ได้สร้าง ครั้งเดียวกัน เรียกว่าสร้างกันคนละหนคนละที หลวงพ่อเงินวัดท้ายนํ้าและวัดวังตะโกที่สร้างโดยพระครูวัดฏะสัมบัญ จัดสร้างขึ้นนั้น จะเป็นพิมพ์ใดก็ได้ มีอภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์เหมือนกันทุกประการ ข้อสำคัญให้เป็นของแท้

     หลวงพ่อเงินท่านเป็นพระเถระที่บริบูรณ์ไปด้วยศีล จารวัตร์ และมีสมาธิจิตอันเป็นมั่นคง โดยเฉพาะเสกมนต์คาถา และวิปัสสนาธุระ ท่านมีความเชี่ยวชาญและแก่กล้าเรื่องวิทยาคมรูปหนึ่งของจังหวัดพิจิตร และท่านได้เป็นพระอาจารย์ของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ด้วย กิติศัพท์ของท่านเลื่องลือ ขจรขจายไปทั่วทุกภาคจากเหนือจรดใต ้จากตะวันออกจรดตะวันตกมาเนิ่นนานแล้ว แต่อดีตมาถึงปัจจุบันถึงแม้หลวงพ่อเงินจะมรณภาพจากไปนานแล้วก็ตาม แต่ยังอยู่ในความทรงจำศรัทธา ปรารถนาที่จะได้ของหลวงพ่อทุก ๆ คนเสมอมา

    เพราะวัตถุมงคลของหลวงพ่อทุก ๆ อย่าง ถ้าผู้ใดมีไว้ครอบครองจะได้รับแต่ความรุ่งเรือง เป็นสิริมงคล และแคล้วคลาดจากภัยภิบัติทั้งหลายทั้งปวง แม้แต่ชื่อของท่านก็เป็นมงคลอยู่แล้ว

    โดยเฉพาะชาวพิจิตรและจังหวัดใกล้เคียงทุก ๆ คนจะเคารพบูชาหวงแหนวัตถุมงคลของหลวงพ่อเงินกันมาก เมื่อมีผู้มาขอเช่าในราคาแพงผู้ที่เป็นเจ้าของจะไม่ค่อยยอมปล่อย เพราะเป็นที่หายากยิ่ง เปรียบเสมือนหนึ่ง แก้วสาระพัด ฉันนั้น

    หลวงพ่อเงินได้มรณภาพ ด้วยโรคชราและริดสีดวงทวาร เมื่อวัน ศุกร์ เดือน 10 แรม 11 คํ่า ปีมะแม เวลา 05.00 น. ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2462 รวมอายุได้ 111 ปี พรรษา 90 นับตั้งแต่หลวงพ่อเงินได้มรณภาพจากไปจนถึงบัดนี้ รวม 90 ปีแล้ว

    การมรณภาพของหลวงพ่อเงิน นับว่าวัดวังตะโก - ท้ายนํ้า ชาวพิจิตรและศิษยานุศิษย์ตลอดจนสาธุชนทั่วไปที่เลื่อมใส ศรัทธาในตัวท่าน ได้รับความโศกเศร้าเสียใจอย่างสุดซึ้ง นับเป็นการสูญเสียพระอาจารย์ที่ยิ่งใหญ่ และพระเถระที่เป็นกำลังสำคัญของพระศาสนาอันมีความหมายยิ่ง รูปหนึ่ง รูปํ ชีรติ มจจานํ นามโคลตํ ชีรติ.



 
------------------------
  หน้าหลัก  
  คำถามที่มีการถามบ่อย  
  เราเล่นพระทำไม ?  
  กฎหมายพระเครื่อง  
  เกร็ดเล็ก-เกร็ดน้อย  
  สมัครเปิดร้านค้า  
  การชำระเงินค่าร้านค้า  
  ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง  
  ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับร้านค้า  
 
หน้าหลัก  อดีตสู่ปัจจุบัน  เว็บบอร์ดชมรม  ตารางประกวดพระ  สาระน่ารู้  เล่าสู่กันฟัง  ติดต่อเรา
Copyright©2024 zoonphra.com
Powered by Tactical IT