ยินดีต้อนรับ เข้าสู่
บทความ
รู้ไว้ใช่ว่า.ใส่บ่าแบกหาม
รายการพระเครื่อง
สาระน่ารู้ ดูที่ภาพ
ลำดับที่เยี่ยมชม
Online:
3
คน
ห้องสนทนา
พระเครื่องเมืองสงขลา
ประวัติเกจิอาจารย์ดัง
เกจิอาจารย์ยอดนิยม
พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน
หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ
หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ
หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
หลวงพ่อเกษม เขมโก
หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง
หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ
หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม
หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่
หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค
เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทราวาส
ไหว้พระ ลาวนครเวียงจันทร์
เกจิอาจารย์แห่งเมืองสงขลา
หลวงพ่อจันทร์ วัดแหลมวัง
หลวงพ่อคง วัดธรรมโฆษณ์
พ่อท่านเส้ง วัดแหลมทราย
อาจารย์มหาลอย วัดแหลมจาก
หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า
หลวงพ่อสงค์ วัดคงคาวดี
หลวงพ่อสีแก้ว วัดไทรใหญ่
หลวงพ่อเล็ก วัดจุ้มปะ
หลวงพ่อทอง วัดคลองแห
หลวงพ่อเรือง วัดหัววัง
หลวงพ่อปาน วัดโคกสมานคุณ
หลวงพ่อเดิม วัดเอก
เกจิอาจารย์แห่งเมืองพัทลุง
พระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ
พระอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา
พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
พระอาจารย์ปาน วัดเขาอ้อ
หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน
หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ
หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดงตะวันออก
หลวงพ่อเล็ก วัดประดู่เรียง
หลวงพ่อพลับ วัดชายคลอง
หลวงพ่อเจ็ค วัดเขาแดงตะวันตก
พระอาจารย์ศรีเงิน
หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ
เกจิอาจารย์แห่งเมืองนครศรีฯ
พ่อท่านนวล วัดไสหร้า
หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก
พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง
หลวงปู่เขียว วัดหรงบล
หลวงพ่อหนูจันทร์ วัดพัทธสีมา
หลวงพ่อกล่ำ วัดศาลาบางปู
อาจารย์เอียดดำ วัดในเขียว
เจ้าคุณม่วง วัดท่าโพธิ์
หลวงพ่อหีต วัดเผียน
หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ
พ่อท่านจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ
หลวงพ่อปลอด วัดนาเขลียง
เกจิอาจารย์แห่งเมืองสุราษฎร์
หลวงพ่อพัฒน์ นารโท
หลวงพ่อเพชร วัดวชิรประดิษฐ์
หลวงพ่อกล่อม วัดโพธาวาส
หลวงพ่อพริ้ง วัดแจ้ง
หลวงพ่อชม วัดท่าไทร
หลวงพ่อเชื่อม วัดปราการ
หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์
หลวงพ่อพัว วัดบางเดือน
หลวงพ่อแดง วัดวิหาร
หลวงพ่อเพชร วัดศรีเวียง
หลวงพ่อนุ้ย วัดม่วง
หลวงพ่อแดง วัดแหลมสอ
หลวงพ่อแดง วัดคุณาราม
พ่อท่านเจ้าฟ้า วัดท่าเรือ
หลวงพ่อแต่ง วัดนันทาราม
หลวงพ่อเปี่ยม วัดทุ่งหลวง
เกจิอาจารย์แห่งเมืองชุมพร
หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย
หลวงพ่อเปียก วัดนาสร้าง
หลวงพ่อจอน วัดดอนรวบ
หลวงพ่อเลื่อน วัดสามแก้ว
หลวงพ่อจีด วัดถ้ำเขาพลู
พระธรรมจารี วัดขันเงิน
หลวงพ่อรุ่ง วัดบางแหวน
หลวงพ่อขำ วัดประสาทนิกร
หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
หลวงพ่อจร วัดท่ายาง
หลวงพ่อสินธิ์ ปทุมรัตน์ วัดคูขุด
หลวงพ่อมุม วัดนาสัก
หลวงพ่อดำ วัดท่าสุธาราม
หลวงพ่อใส วัดเทพเจริญ
เกจิอาจารย์ ฝั่งอันดามัน
หลวงพ่อบรรณ วัดด่านระนอง
พระอุปัชณาย์เทือก วัดโคกกลอย
หลวงพ่อกลับ วัดสำนักปรุ
หลวงพ่อวัดน้ำรอบ โคกกลอย
หลวงพ่อวัน วัดประสิทธิชัย
หลวงพ่อด่วน วัดบางนอน
เกจิอาจารย์ภาคใต้ตอนล่าง
หลวงพ่อดำ วัดตุยง
เกจิอาจารย์สายอีสาน
ประวัติพระวิปัสสนาจารย์
หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง
พระเครื่องเมืองใต้
หลวงปู่ทวด วัดช้างให้
พระเครื่องพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน
พระเครื่องหลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย
พระเครื่องหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง
พระเครื่องอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
พระเครื่องหลวงพ่อคง วัดธรรมโฆษณ์
พระเครื่องพ่อท่านเส้ง วัดแหลมทราย
พระเครื่องหลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า
พระเครื่องพ่อท่านซัง วัดวัวหลุง
พระเครื่องพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง
พระเครื่องสังข์ วัดดอนตรอ
พระเครื่องจังหวัดชุมพร
พระเครื่องจังหวัดระนอง
พระเครื่องจังหวัดพังงา
พระเครื่องจังหวัดภูเก็ต
พระเครื่องจังหวัดสุราษฎร์ธานี
พระเครื่องจังหวัดนครศรีธรรมราช
พระเครื่องจังหวัดกระบี่
พระเครื่องจังหวัดพัทลุง
พระเครื่องจังหวัดตรัง
พระเครื่องจังหวัดสตูล
พระเครื่องจังหวัดสงขลา
พระเครื่องจังหวัดปัตตานี
พระเครื่องจังหวัดยะลา
พระเครื่องจังหวัดนราธิวาส
ทำบุญไหว้พระ
ไหว้พระทองที่วัดคลองแดน
เที่ยววัดเกจิอาจารย์ดัง
เกจิดังเมืองสงขลา
หลวงพ่อคง วัดธรรมโฆษณ์
หลวงพ่อพลับ วัดระโนด
พ่อท่านยอด วัดอ่าวบัว
พ่อท่านปลอด วัดหัวป่า
พ่อท่านศรีแก้ว วัดไทรใหญ่
เกจิดังเมืองนครศรี
วัดพัทธสีมา อ. หัวไทร
หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก
วัดหรงบน อ. ปากพนัง
หลวงพ่อรุ่ง วัดรามแก้ว
หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง
หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง(ต่อ)
พ่อท่านซัง วัดวัวหลุง
พ่อท่านซัง วัดวัวหลุง(ต่อ)
หลวงพ่อขาว วัดปากแพรก
หลวงพ่อคง วัดคลองน้อย
หลวงพ่อเลื่อน วัดดอนผาสุก
หลวงพ่อเพิ่ม วัดสว่างอารมณ์
เกจิดังเมืองพัทลุง
พ่อท่านหมุน วัดเขาแดงตะวันออก
เกจิดังเมืองชุมพร
หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย
เว็บลิ้งค์ชมรมต่างๆ
ชมรมคนรักษ์พระเครื่องเมืองสงขลา
ชมรมคนรักษ์พระเครื่องเมืองนครฯ
ชมรมคนรักษ์พระเครื่องเมืองพัทลุง
ชมรมคนรักษ์พระเครื่องเมืองตรัง
ชมรมคนรักษ์ของสะสม
เว็บไซต์วัดเกจิดังในสยาม
วัดอัมพวัน จ. สิงห์บุรี
วัดหนองป่าพง จ. อุบลฯ
วัดเขาแหลม จ. สระแก้ว
หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
วัดหัวป่า อ. ระโนด จ. สงขลา
วัดแก้วโกรวาราม จ. กระบี่
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
หลวงสมชาย วัดเขาสุกิม
ป้อนหมายเลขสิ่งของ
***พิมพ์หมายเลขสิ่งของจำนวน 13 หลัก
รายละเอียดเพิ่มเติม
หน้าหลัก
:
อดีตสู่ปัจจุบัน
:
เว็บบอร์ดชมรม
:
ตารางประกวดพระ
:
สาระน่ารู้
:
เล่าสู่กันฟัง
:
ติดต่อเรา
ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค
ประวัติการ สร้าง พระรูปเหมือน..หลวงพ่อพรหมเนื้อช๊าฟรถไฟ
09-03-2010
Views: 11496
ประวัติการ สร้าง พระรูปเหมือน..หลวงพ่อพรหมเนื้อช๊าฟรถไฟ จัดสร้างโดย คุณ วินัย อยู่เย็น อดีตพนักงานการรถไฟฯ สังกัดแขวงรถพ่วงปากน้ำโพ ฝ่าย การช่างกล ( ตำแหน่งที่ดำรงท้ายสุดคือ พนักงานขับรถไฟ ) ได้เกษียณอายุราชการไปแล้ว ( ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ ) ได้หารือร่วมกับ หลวงพ่อ ผิว ซึ่งเป็นพระลูกวัดช่องแค และเป็นพระลูกศิษย์ หลวงพ่อพรหมในขณะนั้น ว่าทางพนักงานการรถไฟฯ.อยากจะสร้างพระที่
เป็น รูปเหมือนหลวงพ่อพรหมขึ้น เพื่อที่จะแจกจ่ายให้กับพนักงานการรถไฟฯไว้ติดตัวเพื่อบูชา และมอบให้ทางวัดเพื่อแจกจ่ายให้ชาวบ้านทั่วไปบ้าง ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีชาวบ้าน และบุคคลทั่วไปต่างก็สร้างพระมาถวายให้ ลพ.พรหม ทำการปลุกเสกให้ด้วยความเคารพในตัว ลพ.พรหม หลายคณะหลายบุคคล ซึ่งคุณวินัยฯ.ได้หารือกับเพื่อนพนักงาน และผู้บังคับบัญชาแล้วเห็นว่า เศษเนื้อช๊าฟรถไฟ ที่ทางการไม่ใช้แล้ว และไม่สามารถนำกลับมาใช้งานอีกได้ ส่วนใหญ่จะถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ และเพื่อเป็นเอกลักษณ์เฉพาะประจำหน่วยงานของ การรถไฟฯ เศษเนื้อช๊าฟรถไฟ เป็นวัสดุที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว และเป็นวัสดุที่ บุคลภายนอกจะหารวบรวมให้เป็นจำนวนมากได้ยากมากเมื่อนำมาทำเป็นชิ้นงานออกมา แล้วจะยากแก่การปลอมแปลง จึงได้ทำการขออนุญาต หลวงพ่อพรหมจัดสร้างพระรูปเหมือนหลวงพ่อพรหมขึ้น
หลังจากที่ทางวัด ได้มีการจัดสร้างพระชุดหลวงพ่อพรหมรุ่นเสาร์ 5 ปี พศ.2512 แล้ว ทางคุณวินัย อยู่เย็นและคณะ จึงได้มีการขออนุญาตจัดสร้างพระขึ้นดังต่อไปนี้.
1. สร้าง รูปเหมือนหล่อโบราณโดยแกะแม่พิมพ์ขึ้นใหม่ ไม่ทราบชื่อผู้แกะแม่พิมพ์ ลักษณะไม่เหมือนรูปหล่อของหลวงพ่อในชุดใด เมื่อหล่อไปจะแก้ไขพิมพ์ไปทำให้บุคลที่ได้ครอบครองในภายหลังเกิดความสับสน ลักษณะเนื้อโลหะที่ใช้ ทราบจากผู้ที่มีส่วนร่วมในการหล่อพระบอกว่ามีส่วนผสมของเนื้อเงิน ผสมกับ เนื้อช๊าฟรถไฟ จำนวนการสร้างประมาณ 100 องค์
หลังจากที่สร้างพระรูปเหมือนดังที่กล่าวในข้อ 1. แล้วพระที่ได้มีรูปแบบ ที่ไม่น่าพอใจจึงได้มีการขออนุญาต ทำพระขึ้นมาใหม่ดังนี้.
1.1 แบบพิมพ์ก้นระฆัง เนื้อช๊าฟรถไฟ ตอกโค๊ตใต้ฐาน เป็นตัว พ อยู่ในใบโพธิ์ โดยถอดแบบมาจาก พระรูปเหมือนพิมพ์ก้นระฆัง ปี 2512 ของพระอาจารย์ (ลพ.พรหม) แต่เพื่อมิให้สับสนและปนกับพระที่พระอาจารย์สร้างไว้ก่อนหน้าคือ ปี 2512 แล้ว นั้น จึงแกะแม่พิมพ์ ตัว ผ เพิ่มไว้ที่ด้านหน้า ตรงสังฆาฏิ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ จัดสร้างในกรณีพิเศษ เพื่อแจกให้กับลูกศิษย์สายพนักงานรถไฟ ฝ่ายการช่างกล โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานบนหัวรถจักร (พนักงานขับรถไฟ) ที่ลงพักค้างคืน ที่สถานีรถไฟช่องแค ซึ่งในอดีตสถานีรถไฟ ช่องแค เป็นศูนย์รวมของพนักงานการรถไฟฯ.อยู่หลายฝ่าย เช่นการเดินรถ, ช่างกล,ฟืน,หิน และเอกชนที่รับเหมาช่วงงานอีกมาก ( พระที่สร้างเน้นมอบฝ่ายช่างกล ) และได้มอบพระส่วนหนึ่ง ประมาณ 100 องค์ ให้ที่โรงงานรถไฟมักกะสัน เนื่องจากได้มอบเศษ เนื้อช๊าฟรถไฟมาถวายเพื่อใช้เป็นวัสดุในการจัดสร้างพระในครั้งนั้น ซึ่งเป็นพระรุ่นแรกที่ใช้เศษเนื้อชาร์ปสร้าง.จำนวนพระ ประมาณ 500 องค์ ( พระที่สร้างได้จริงๆ 497 องค์ ข้อมูลจากผู้ที่ทำหน้าที่ตอกโค๊ดพระชุดนี้ คือ คุณ อัมพร ดวงทอง ปัจจุบันยังปฏิบัติงานอยู่ที่แขวงรถพ่วงปากน้ำโพ (ใกล้เกษียณอายุราชการแล้ว )
........ลักษณะเนื้อพระ ใน พระชุดนี้เป็นพระที่เริ่มสร้างจากเศษเนื้อช๊าฟที่ได้มาจาก เศษช๊าฟละลายที่เกิดจากการใช้งานเนื่องจาก การขาดการหล่อลื่น เนื้อชาร์ปจะละลายตกลงในอ่างน้ำมันของหม้อเพลาล้อรถไฟ เนื้อช๊าฟส่วนใหญ่จะดำเป็นก้อน เมื่อหล่อพระออกมาแล้ว ผิวพระส่วนมากจะมีผิวสีออกดำเหมือนผิวตะกั่วเก่า ของปลอมจะทำได้ใกล้เคียงมาก โดยใช้ตะกั่วผสมเศษชาร์ปแต่จะมีเนื้อช๊าฟผสมเป็นส่วนน้อย เนื่องจากเนื้อช๊าฟ
หายาก โค๊ดที่ใช้ตอกใต้ฐาน เป็นตัว พ อยู่ในใบโพธิ์( เดิมผู้สร้างตั้งใจทำให้เป็นตัว พ ในดอกบัว ) พระอีกส่วนหนึ่งไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด แต่เป็นจำนวนที่น้อยมากจะไม่ตอกโค๊ดที่ใต้ฐานแต่จะมีจาร ตัว มะ อะ อุ แทน และยังมีพระอีกส่วนหนึ่งประมาณ 10 องค์ที่ คุณอัมพรฯ.ได้นำพระมาเจาะรูที่ใต้ฐาน และนำเกศา,จีวร,ผงพุทธคุณ ของหลวงพ่อมาบรรจุไว้ พระจำนวน 10 องค์ ดังกล่าวนี้ได้ถูกแจกจ่ายให้แก่ เพื่อนฝูง และเพื่อนร่วมสายงาน ที่หมวดศิลา ที่ปฏิบัติงานอยู่ที่สถานีรถไฟช่องแค และเพื่อนร่วมงานที่หมวดศิลานี้ยังได้ขอพระไว้ส่วนหนึ่ง เป็นแบบพิมพ์ก้นระฆังที่ใต้ฐานไม่ได้ตอกโค๊ตใดๆ แล้วนำไปตอกโค๊ตรูประฆัง ของทางวัดแทน
1.2 พิมพ์หล่อโบราณแบบพิมพ์หลวงพ่อเดิม ที่ฐานด้านหลังระบุ ปี พศ. 2513 สร้างจำนวนประมาณ 200 องค์ ผู้ที่แกะแม่พิมพ์คือ คุณ ประสิทธิ์ ประภัทสร
1.3 พิมพ์หูกาง ด้านหลังตอกโค๊ดเลข ๕ สร้างจำนวนประมาณ 200 องค์
1.4 พิมพ์แบบแผ่นปั๊ม ( ถอดพิมพ์แผ่นปั๊ม ปี 2512 ลพ.พรหม ) สร้างครั้งแรก ปี 12จำนวน 12 องค์
เนื้อ พระในการสร้างครั้งต่อๆมาช่วงหลังจากที่ได้สร้างพระเนื้อช๊าฟครั้งแรก แล้ว จะเป็นเศษช๊าฟที่ได้จากการขูดผิวหน้ากาบเพลาชาร์ปให้เรียบ โรงซ่อมรถพ่วงปากน้ำโพ ทำให้เนื้อพระที่หล่อได้ มีความสวยขึ้นกว่าเดิม สีผิวพระจะมีหลายสีเช่น ผิวขาวแวววาวเหมือนผิวปรอทที่เกิดจากดีบุก ผิวปรอทเหลือบทองที่เกิดจากขั้นตอนขณะที่หลอมเนื้อช๊าฟให้ละลาย แล้วไฟแรงเกินไปจะมีลักษณะเหมือนไฟไหม้สีผิว พระที่ได้จึงมีสีออกเหลือบทองเนื้อพระชนิดเมื่อถูกจับต้อง โดนเหงื่อจากการนำไปใช้บูชาจะมีสีเหมือนสนิมแดงบนผิว เกิดจากสนิมของโลหะนิเกิลที่ผสมอยู่ในเนื้อช๊าฟและแทรกอยู่ตามซอกองค์พระ
ลักษณะ ผิวและเนื้อพระแบ่งออกได้เป็นสองแบบใหญ่ๆได้ดังนี้ คือ แบบที่เป็นเส้นเสี้ยนสั้นๆคล้ายฝอยขัดหม้อ และแบบเป็นเม็ดหรือเกล็ด แบบเกล็ดน้ำตาลทราย ซึ่งผิวพระทั้งสองแบบนี้เกิดจากขั้นตอนในการหล่อพระนั่นเอง โดยสังเกตุได้ คือ เนื้อพระที่เทหล่อ องค์ต้นๆส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาเป็นแบบเส้นเสี้ยนสั้นๆบ้างยาวบ้างคล้ายฝอยขัด หม้อ เส้นเสี้ยนจะมากหรือน้อยก็เกิดขิ้นจากขั้นตอนดังกล่าว และพระที่เทหล่อ องค์หลังๆจะมีเนื้อหาเป็นแบบเป็นเม็ดหรือเกล็ด แบบเกล็ดน้ำตาลทราย สืบเนื่องมาจากว่าเนื้อช๊าฟเหลือน้อย และมีความร้อนมากจนเริ่มไหม้ ผิวพระส่วนใหญ่จะมีผิวเงิน แวว วาว ปกคลุมอยู่บางๆและเมื่อถูกสัมผัสจับต้อง ผิวดังกล่าวจะกลับดำ
หลัง จากที่มีการสร้างพระชุดนี้ออกมาแล้ว ทางพนักงานการรถไฟและบุคคลทั่วไป มีความต้องการที่จะได้พระไว้บูชาเป็นจำนวนมาก จึงมีการจัดหาวัสดุ ที่จะใช้สร้างพระคือเศษช๊าฟ รถไฟมามอบให้ทางคุณวินัยฯ.และคณะเพื่อรวบรวม และเพื่อขออนุญาต ลพ.พรหมสร้างพระขึ้นอีก วัสดุเศษช๊าฟที่ได้มามีที่มาดังนี้คือ เศษชาร์ปจากพนักงานโรงงานรถไฟที่มักกะสัน เศษช๊าฟจากพนักงานโรงงานที่อุตรดิตถ์ เศษช๊าฟจากพนักงานโรงซ่อมรถพ่วงปากน้ำโพ เศษช๊าฟจากพนักงานหน่วยซ่อมรถพ่วงที่แม่น้ำ และจากพนักงานหน่วยซ่อมรถพ่วงที่ช่องแคอีกด้วย ทางคุณวินัย และคณะ จึงขออนุญาต ลพ.พรหมสร้างพระขึ้นอีกครั้งการสร้างเริ่มตั้งแต่ปลายปี 2513 เป็น ต้นมา การสร้างไม่มีการกำหนดเวลาที่แน่นอน จะสร้างไปเรื่อยๆแล้วแต่วัสดุและเวลาจะอำนวย เพราะคุณวินัย และคณะผู้จัดสร้างล้วนแต่มีหน้าที่ประจำที่จะต้องปฏิบัติอยู่แล้ว ทางคณะผู้สร้างมีความตั้งใจที่จะสร้างพระให้ได้จำนวนถึง 20000 องค์ สืบเนื่องจากพนักงานการรถไฟขณะนั้นมีจำนวนประมาณ 40000 คนเศษ แต่จำนวนพระที่สร้างได้จริง นับตั้งแต่เริ่มสร้าง จนถึงประมาณปลายเดือน พฤศจิกายน ปี 2516 มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 10000 องค์เศษ
การหล่อพระเป็นการหล่อแบบการเรียงพิมพ์พระลงในกระบะดินหล่อ และติดชนวนโยงถึงกัน และจะเทเนื้อพระที่ละชุดเหมือนหยอดขนมครก
2. พระชุดหลังที่กล่าวมานี้ถือได้ว่าเป็นชุดที่2 ที่จัดสร้างตั้งแต่ปลายปี 2513 เป็นต้นมาและมีแบบพิมพ์ดังนี้
2.1 พิมพ์ก้นระฆังแบบที่1 สร้างประมาณ 4000 องค์แยกตามโค๊ดได้ 2 แบบ ๆละประมาณ 2000 องค์ ดังนี้
- แบบที่ 1 ใต้ฐานพระตอกโค๊ดเลข ๙๙๙ ตัวเลขไทยจะเป็น ตัวใหญ่
- แบบที่ 2 ใต้ฐานพระตอกโค๊ด ๙๙๙ ตัวเลขไทยจะเป็น ตัวเล็ก
2.2 พิมพ์ก้นระฆังแบบที่ 2 สร้างประมาณ 4000 องค์ แยกตามโค๊ดได้ 2 แบบ แบบละประมาณ 2000 องค์
- แบบที่ 1 ใต้ฐานพระตอกโค๊ดเลข ๙0 ตัวเลขไทยจะเป็น ตัวใหญ่
- แบบที่ 2 ใต้ฐานพระตอกโค๊ดเลข ๙0 ตัวเลขไทยจะเป็น ตัวเล็ก
แบบโค๊ดทั้ง 2 แบบ ตัวเลขไทยใหญ่ สำหรับแจกพนักงานตั้งแต่ระดับชั้น ตรี ขึ้นไป ส่วนตัวเลขไทยเล็ก สำหรับแจกพนักงานโดยทั่วไป
พระที่สร้างเมื่อถึงปี 2515 ได้มีการสร้างพระเพิ่มอีก 1 พิมพ์ โดยใช้แบบแม่พิมพ์ดียวพิมพ์หูกางที่ตอกโค๊ดเลข ๕ ไทยด้านหลัง แต่ตอกโค๊ดเลข ๑๕ ในวงกลมแทน และโค๊ดเลข ๑๕ นี้ยังได้ใช้ตอกลงในพิมพ์ก้นระฆังด้วย พิมพ์ก้นระฆังตอกเลข ๑๕ ในวงกลม สร้างประมาณ 500 องค์ พระที่ตอกโค๊ตเลข ๑๕ นี้ทางผู้สร้างเจตนามอบให้กับ พนักงานรถไฟ ในส่วนกลาง ในกรมรถไฟ (หัวลำโพง ,มักกะสัน, ยศเส, นพวงศ์)
ในปี 2515 นั้นทางคณะผู้สร้างเห็นว่าในปี 2516 จะเป็นปีที่จะมีการปลุกเสกพระในพีธีเสาร์ 5 จึงได้มีการสร้างพระสมเด็จหลังยันต์ 10 ขึ้น เมื่อสร้างพระไประยะหนึ่งแม่พิมพ์เกิดรอยแตกชำรุดขึ้นเรื่อยๆพระที่ได้โดย มากจะเป็นพิมพ์ปล๊อกแตกพระที่สมบูรณ์จริงๆ มีน้อย พระสมเด็จมีจำนวนการสร้างประมาณ 1000 องค์โค๊ดที่ ใช้ตอกเพื่อมิให้สับสนกับพิมพ์อื่นจึงใช็โค๊ดเลข ๑๕ อยู่ในวงกลมตอก บริเวณใหล่ขวาขององค์พระ( แม่พิมพ์แกะต่างหากไม่เหมือนของวัด )
ตาม ที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นพระที่สร้างจะทำการสร้างไปเรื่อยๆเมื่อคุณ วินัย ฯ ทำขบวนมาลงพักค้างคืนที่สถานีรถไฟช่องแค ก็จะนำพระที่หล่อเสร็จมามอบให้หลวงพ่ออธิฐานจิต หลวงพ่อจะอธิฐานจิตให้ตลอดคืนตอนเช้าเมื่อจะทำขบวนรถไฟกลับ จึงจะมารับพระคืนและก็ได้นำมาแจกต่อๆกันไป ดังนั้นพระชุดนี้บุคคลภายนอกจึงไม่ค่อยทราบประวัติ หรืออีกนัยหนี่งที่ทำเช่นนี้ก็เป็นเพราะต้องการหลีกเลี่ยงการมีปัญหากับทาง คณะกรรมการวัด พระที่สร้างเมื่อสร้างมาจนถึงประมาณเดือนพฤศจิกายนปี 2516 จึง หยุดสร้าง และมีพระที่เหลืออยู่กับคุณวินัยที่ยังไม่ได้แจกให้กับเพื่อนพนักงาน จำนวนมากพอสมควร คุณวินัยฯ.ได้นำมาเข้าพิธี ปลุกเสกครั้งสุดท้าย.เนื่องในโอกาส ฉลองครบรอบอายุ 90 ปี ของ ลพ.พรหม ในปีพศ.2517 โดย คุณวินัย ฯ.ได้นำพระจำนวนดังกล่าวมาเข้าร่วมในพิธีโดยการใส่มาในปี๊ปน้ำมันก๊าด จากที่ได้ทราบมาพระที่คุณ วินัยฯ.ได้สร้างมานี้ตั้งแต่ที่ได้เริ่มสร้าง ปีปี 2516 เมื่อทางวัดมีพีธี ปลุกเสกหากคุณวินัยฯ. มีพระเหลืออยู่ คุณ วินัย ฯ.จะนำเข้าร่วมพิธีปลุกเสกกับทางวัดทุกครั้ง
ขอ ขอบคุณ คุณ อัมพร ดวงทอง พนักงาน การรถไฟฯผู้ทำหน้าที่ตอกโค๊ดพระทั้งหมดที่ได้กล่าวข้างต้น ปัจจุบันยังปฏิบัติงานอยู่ที่แขวงรถพ่วงปากน้ำโพ (ใกล้ เกษียณอายุราชการแล้ว ) และอดีตพนักงานการรถไฟ ฝ่ายการช่างกล พนักงานการรถไฟฯ สังกัดงานสารวัตรรถจักรบางซื่อ พนักงานการรถไฟฯ สังกัดแขวงรถพ่วงปากน้ำโพ และอดีตนายสถานีรถไฟ ช่องแค ฯลฯ
***... เหตุ ที่มีพระออกมาหมุนเวียนในสนามมากพอสมควร เป็นเพราะทายาท บุตรหลาน ของผู้ที่มีพระอยู่ในครอบครอง โดยมากจะเป็นบุคลในการรถไฟฯ ที่ได้รับพระตกทอดกันมา แต่ไม่รู้ประวัติความเป็นมา แต่ภายหลังได้ทราบจากสื่อ หนังสือพระเครื่องต่างๆบ้าง หรือทราบจากการสืบเสาะหาจากทางบุคคลที่ต้องการบ้าง จึงรู้ว่าเป็นพระที่มีราคา จึงมีการนำออกมาแลกเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ผู้ที่มีส่วนร่วมในการสร้างปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่อีกหลายคน และที่ไม่สามารถจะอ้างถึงนามบุคลเหล่านั้นได้เพราะยังไม่ได้ขออนุญาตโดยตรง จากท่านเหล่านั้น
รวบรวมข้อมูลโดย
คุณ จรัญ ปั้นโฉม
ผู้ช่วยสารวัตรแขวงงานสารวัตรรถจักรบางซื่อ
คุณ วิชาญ ภาคพิชัย
พนักงานรถจักร ๖ งานสารวัตรรถจักรอุตรดิตถ์ฃ
คุณ สุภศักดิ์ แสนเย็น
พนักงานรถจักร ๖ งานรถพ่วงปากน้ำโพ
คุณ เศกสรร คงไพรสันต์
พนักงานรถจักร ๖ งานสารวัตรรถจักรบางซื่อ
....ช๊าฟคือ อะไร
.... ช๊าฟคือ ชิ้นส่วนประกอบส่วนหนึ่งที่ใช้ใน รถจักรไอน้ำ และ รถพ่วง ในรถยุคแรกๆ ของรถไฟ ทำหน้าที่เดียวกับ ..บูทลูกปืนล้อรถ ในปัจจุบันนี่แหละครับ (ในสมัยรถจักรไอน้ำ ยังไม่มี บูทลูกปืน ครับ) ..และปัจจุบันเลิกใช้ ช๊าฟมานานแล้วนะครับ โดยการเปลี่ยนมาใช้ บูทลูกปืน แทนครับ..
...เนื้อ ช๊าฟรถไฟ..ทำปลอมไม่ได้นะครับ..เพราะการรถไฟเลิกใช้ช๊าฟรถไฟ..มา นานแล้วครับ..และเนื้อช๊าฟรถไฟก็ไม่มีขายตาม ท้องตลาดทั่วไป ..เหมือน เนื้อเงิน เนื้อตะกั่ว เนื้อทองเหลือง ทองแดง นะครับ..
ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค
»
ประวัติ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์
09-03-2010
»
ประวัติการ สร้าง พระรูปเหมือน..หลวงพ่อพรหมเนื้อช๊าฟรถไฟ
09-03-2010
------------------------
หน้าหลัก
คำถามที่มีการถามบ่อย
เราเล่นพระทำไม ?
กฎหมายพระเครื่อง
เกร็ดเล็ก-เกร็ดน้อย
สมัครเปิดร้านค้า
การชำระเงินค่าร้านค้า
ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง
ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับร้านค้า
หน้าหลัก
อดีตสู่ปัจจุบัน
เว็บบอร์ดชมรม
ตารางประกวดพระ
สาระน่ารู้
เล่าสู่กันฟัง
ติดต่อเรา
Copyright©2024 zoonphra.com
Powered by Tactical IT