ยินดีต้อนรับ เข้าสู่
บทความ
รู้ไว้ใช่ว่า.ใส่บ่าแบกหาม
รายการพระเครื่อง
สาระน่ารู้ ดูที่ภาพ
ลำดับที่เยี่ยมชม
Online:
3
คน
ห้องสนทนา
พระเครื่องเมืองสงขลา
ประวัติเกจิอาจารย์ดัง
เกจิอาจารย์ยอดนิยม
พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน
หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ
หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ
หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
หลวงพ่อเกษม เขมโก
หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง
หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ
หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม
หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่
หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค
เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทราวาส
ไหว้พระ ลาวนครเวียงจันทร์
เกจิอาจารย์แห่งเมืองสงขลา
หลวงพ่อจันทร์ วัดแหลมวัง
หลวงพ่อคง วัดธรรมโฆษณ์
พ่อท่านเส้ง วัดแหลมทราย
อาจารย์มหาลอย วัดแหลมจาก
หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า
หลวงพ่อสงค์ วัดคงคาวดี
หลวงพ่อสีแก้ว วัดไทรใหญ่
หลวงพ่อเล็ก วัดจุ้มปะ
หลวงพ่อทอง วัดคลองแห
หลวงพ่อเรือง วัดหัววัง
หลวงพ่อปาน วัดโคกสมานคุณ
หลวงพ่อเดิม วัดเอก
เกจิอาจารย์แห่งเมืองพัทลุง
พระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ
พระอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา
พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
พระอาจารย์ปาน วัดเขาอ้อ
หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน
หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ
หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดงตะวันออก
หลวงพ่อเล็ก วัดประดู่เรียง
หลวงพ่อพลับ วัดชายคลอง
หลวงพ่อเจ็ค วัดเขาแดงตะวันตก
พระอาจารย์ศรีเงิน
หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ
เกจิอาจารย์แห่งเมืองนครศรีฯ
พ่อท่านนวล วัดไสหร้า
หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก
พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง
หลวงปู่เขียว วัดหรงบล
หลวงพ่อหนูจันทร์ วัดพัทธสีมา
หลวงพ่อกล่ำ วัดศาลาบางปู
อาจารย์เอียดดำ วัดในเขียว
เจ้าคุณม่วง วัดท่าโพธิ์
หลวงพ่อหีต วัดเผียน
หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ
พ่อท่านจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ
หลวงพ่อปลอด วัดนาเขลียง
เกจิอาจารย์แห่งเมืองสุราษฎร์
หลวงพ่อพัฒน์ นารโท
หลวงพ่อเพชร วัดวชิรประดิษฐ์
หลวงพ่อกล่อม วัดโพธาวาส
หลวงพ่อพริ้ง วัดแจ้ง
หลวงพ่อชม วัดท่าไทร
หลวงพ่อเชื่อม วัดปราการ
หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์
หลวงพ่อพัว วัดบางเดือน
หลวงพ่อแดง วัดวิหาร
หลวงพ่อเพชร วัดศรีเวียง
หลวงพ่อนุ้ย วัดม่วง
หลวงพ่อแดง วัดแหลมสอ
หลวงพ่อแดง วัดคุณาราม
พ่อท่านเจ้าฟ้า วัดท่าเรือ
หลวงพ่อแต่ง วัดนันทาราม
หลวงพ่อเปี่ยม วัดทุ่งหลวง
เกจิอาจารย์แห่งเมืองชุมพร
หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย
หลวงพ่อเปียก วัดนาสร้าง
หลวงพ่อจอน วัดดอนรวบ
หลวงพ่อเลื่อน วัดสามแก้ว
หลวงพ่อจีด วัดถ้ำเขาพลู
พระธรรมจารี วัดขันเงิน
หลวงพ่อรุ่ง วัดบางแหวน
หลวงพ่อขำ วัดประสาทนิกร
หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
หลวงพ่อจร วัดท่ายาง
หลวงพ่อสินธิ์ ปทุมรัตน์ วัดคูขุด
หลวงพ่อมุม วัดนาสัก
หลวงพ่อดำ วัดท่าสุธาราม
หลวงพ่อใส วัดเทพเจริญ
เกจิอาจารย์ ฝั่งอันดามัน
หลวงพ่อบรรณ วัดด่านระนอง
พระอุปัชณาย์เทือก วัดโคกกลอย
หลวงพ่อกลับ วัดสำนักปรุ
หลวงพ่อวัดน้ำรอบ โคกกลอย
หลวงพ่อวัน วัดประสิทธิชัย
หลวงพ่อด่วน วัดบางนอน
เกจิอาจารย์ภาคใต้ตอนล่าง
หลวงพ่อดำ วัดตุยง
เกจิอาจารย์สายอีสาน
ประวัติพระวิปัสสนาจารย์
หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง
พระเครื่องเมืองใต้
หลวงปู่ทวด วัดช้างให้
พระเครื่องพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน
พระเครื่องหลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย
พระเครื่องหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง
พระเครื่องอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
พระเครื่องหลวงพ่อคง วัดธรรมโฆษณ์
พระเครื่องพ่อท่านเส้ง วัดแหลมทราย
พระเครื่องหลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า
พระเครื่องพ่อท่านซัง วัดวัวหลุง
พระเครื่องพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง
พระเครื่องสังข์ วัดดอนตรอ
พระเครื่องจังหวัดชุมพร
พระเครื่องจังหวัดระนอง
พระเครื่องจังหวัดพังงา
พระเครื่องจังหวัดภูเก็ต
พระเครื่องจังหวัดสุราษฎร์ธานี
พระเครื่องจังหวัดนครศรีธรรมราช
พระเครื่องจังหวัดกระบี่
พระเครื่องจังหวัดพัทลุง
พระเครื่องจังหวัดตรัง
พระเครื่องจังหวัดสตูล
พระเครื่องจังหวัดสงขลา
พระเครื่องจังหวัดปัตตานี
พระเครื่องจังหวัดยะลา
พระเครื่องจังหวัดนราธิวาส
ทำบุญไหว้พระ
ไหว้พระทองที่วัดคลองแดน
เที่ยววัดเกจิอาจารย์ดัง
เกจิดังเมืองสงขลา
หลวงพ่อคง วัดธรรมโฆษณ์
หลวงพ่อพลับ วัดระโนด
พ่อท่านยอด วัดอ่าวบัว
พ่อท่านปลอด วัดหัวป่า
พ่อท่านศรีแก้ว วัดไทรใหญ่
เกจิดังเมืองนครศรี
วัดพัทธสีมา อ. หัวไทร
หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก
วัดหรงบน อ. ปากพนัง
หลวงพ่อรุ่ง วัดรามแก้ว
หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง
หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง(ต่อ)
พ่อท่านซัง วัดวัวหลุง
พ่อท่านซัง วัดวัวหลุง(ต่อ)
หลวงพ่อขาว วัดปากแพรก
หลวงพ่อคง วัดคลองน้อย
หลวงพ่อเลื่อน วัดดอนผาสุก
หลวงพ่อเพิ่ม วัดสว่างอารมณ์
เกจิดังเมืองพัทลุง
พ่อท่านหมุน วัดเขาแดงตะวันออก
เกจิดังเมืองชุมพร
หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย
เว็บลิ้งค์ชมรมต่างๆ
ชมรมคนรักษ์พระเครื่องเมืองสงขลา
ชมรมคนรักษ์พระเครื่องเมืองนครฯ
ชมรมคนรักษ์พระเครื่องเมืองพัทลุง
ชมรมคนรักษ์พระเครื่องเมืองตรัง
ชมรมคนรักษ์ของสะสม
เว็บไซต์วัดเกจิดังในสยาม
วัดอัมพวัน จ. สิงห์บุรี
วัดหนองป่าพง จ. อุบลฯ
วัดเขาแหลม จ. สระแก้ว
หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
วัดหัวป่า อ. ระโนด จ. สงขลา
วัดแก้วโกรวาราม จ. กระบี่
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
หลวงสมชาย วัดเขาสุกิม
ป้อนหมายเลขสิ่งของ
***พิมพ์หมายเลขสิ่งของจำนวน 13 หลัก
รายละเอียดเพิ่มเติม
หน้าหลัก
:
อดีตสู่ปัจจุบัน
:
เว็บบอร์ดชมรม
:
ตารางประกวดพระ
:
สาระน่ารู้
:
เล่าสู่กันฟัง
:
ติดต่อเรา
ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทราวาส
ประวัติเจ้าคุณนรฯ พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต ตอน 1
13-03-2010
Views: 7118
ชีวิตเมื่อวัยเด็กจนกระทั่งรับราชการ
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรีกรุงรัตนโกสินทร์ของไทยสยาม ซึ่งเป็นกษัตริย์ไทย พระองค์หนึ่งของราชวงศ์จักรีที่มีบุญญาธิการแก่กล้า จนประชาชนชาวไทย ทั่วประเทศยกย่องพระองค์ท่านว่า "องค์พระปิยะมหาราช" ทรงเลิกทาสให้ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์อยู่ร่มเย็นเป็นสุขมาตราบเท่าทุกวันนี้
ครั้นต่อมาเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๐ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีระกา ซึ่งเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันมาฆะบูชา บุตรชายคนหัวปีของพระคุณนรนาฏภักดี นายอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีก็ได้คลอดมาจากครรภ์มารดาลืมตามองดูโลกอันโสภี ยังความโสมนัสให้แก่ผู้เป็นบิดามารดา และประดาญาติเป็นอย่างยิ่งท่านนายอำเภอบางปลาม้าได้ตั้งชื่อบุตรชาย คนหัวปีของท่านว่า "ตรึก" เมื่อทารกผู้ได้นามว่า "ตรึก" นี้เจริญวัยขึ้น ในฐานะเด็กน้อย เรือนร่างแบบบางผิวพรรณละเอียดอ่อนเปล่งปลั่งเป็นน้ำเป็นนวล อันเป็นลักษณะที่บ่งบอกว่าเป็นผู้มีบุญวาสนาสูง เมื่อวัยถึงขั้นสมควร เล่าเรียนหนังสือก็ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนในพระนคร ต่อมาจึงเข้าเรียน ที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนนี้จนสอบได้ชั้นสูงสุด นาย "ตรึก" มีความปรารถนาที่จะเรียนเป็นนายแพทย์ต่อไป เพื่ออนาคตข้างหน้าจะได้ช่วยเพื่อนมนุษย์ทางเจ็บไข้ได้ป่วยแต่ท่านบิดา ซึ่งเป็นนายอำเภอนักปกครองต้องการให้บุตรชายเป็นนักปกครอง เจริญรอยตามบิดา นาย "ตรึก" เป็นเด็กว่านอนสอนง่ายและมีจิตใจ สูงด้วยความเคารพต่อผู้มีอุปการคุณ จึงต้องทำตามความประสงค์ของบิดา นายตรึกจึงเข้าศึกษาต่อวิชารัฐศาสตร์ที่โรงเรียนกฏหมาย ซึ่งสมัยนี้ยังรวมอยู่กับจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย นายตรึกเป็นผู้มี สติปัญญาเฉลียวฉลาดสามารถเรียนสำเร็จรัฐศาสตร์เป็นรุ่นแรก ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับท่านเจ้าคุณสุนทรพิพิธ เมื่อนายตรึกได้เรียนสำเร็จรัฐศาสตร์แล้วก็หาได้ไปเป็นนายอำเภอและเจ้าเมืองสังกัดกระทรวงมหาดไทย ตามเจตนารมณ์ของท่านบิดา เพราะในระหว่างศึกษาวิชารัฐศาสตร์อยู่นั้น เป็นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้มีงานเลี้ยงเป็นพิธีในพระบรมมหาราชวัง เป็นงานใหญ่ที่จำนวนมหาดเล็กเด็กชายมีไม่พอ สำหรับตำแหน่งพนักงานเดินโต๊ะและรับใช้อื่นๆ นักเรียนรัฐศาสตร์ที่มีหน้าตาและหน่วยก้านดีจึงถูกเกณฑ์ไปช่วยในหน้าที่ดังกล่าว นักเรียนรัฐศาสตร์ที่ถูกเกณฑ์ไปในครั้งนี้ก็ได้มีนายตรึกรวมอยู่ด้วยผู้หนึ่ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ได้ทอด พระเนตรเห็นรูปร่างหน้าตา ผิวพรรณและหน่วยก้านของหนุ่มน้อยตรึกเข้าก็ทรงพอพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงรับสั่งให้เข้าเฝ้า แล้วทรงไต่ถามถึงเหล่ากองพงศ์พันธุ์เมื่อพระองค์ทราบจะแจ้งดีแล้วก็ดำรัสว่า "เมื่อเรียนจบแล้วมาอยู่กับข้า" โดยเหตุนี้เองเมื่อหนุ่มตรึกเรียนสำเร็จรัฐศาสตร์แล้วแทนที่จะได้เป็นข้าราชการกระทร วงมหาดไทย ตามวิชาที่เรียนสำเร็จ และเป็นไป ความประสงค์ของบิดาผู้เป็นนักปกครอง กับไพล่ไปเป็นข้าราชสำนัก สังกัดกระทรวงวัง ในตำแหน่งหน้าที่มหาดเล็กรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ก็ทรงโปรดปรานเป็นอย่างมาก และพระราชทานนามสกุลให้ว่า "จินตยานนท์" หนุ่มตรึกรับราชการอยู่ใต้เบื้องยุคบาทเพียงไม่ทันถึงปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ก็ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น "หลวงศักดิ์นายเวร" ต่อมาไม่ช้ามินานก็ได้เลื่อนขึ้นเป็น "เจ้าหมื่น ศรีสรรเพชร"พออายุ ๒๕ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์ ขึ้นเป็น พระยาพานทอง ราชทินนามว่า "นรรัตนราชมานิต" ซึ่งเป็นพระยาหนุ่มที่สุดในสมัยนั้น พร้อมกับที่พระราชทานบรรดาศักดิ์ชั้นพระยาพานทองให้นี้ได้พระราชทานที่ดิน เพื่อให้ปลูกบ้าน อยู่อาศัยแทนเช่าอยู่ ที่ดินที่พระราชทานให้นั้นมีจำนวนถึง ๔ ไร่ อยู่ตรงเชิงสะพานราชเทวี ตรงที่มีซอยชื่อ "ซอยนรรัตน" ปัจจุบันนี้ ในการพระราชทานที่ดินให้นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ได้พระราชทานให้พร้อมกัน ถึง ๔ คน อีก ๓ คนคือท่านเจ้าพระยารามราฆพ พระยาอนิรุธเทวา และอีกท่านหนึ่งข้าพเจ้าต้องขออภัย ที่ค้นคว้าหาชื่อไม่ได้ พระยานรรัตนราชมานิต ได้รับตำแหน่งเป็นต้นห้องพระบรรทมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ หน้าที่ของท่านคืออยู่รับใช้ใกล้ชิดพระองค์ในที่รโหฐานและเป็นผู้บังคับบัญชามหาดเล็ ก ห้องพระบรรทมคนอื่นๆ ซึ่งมีอยู่หลายคนด้วยกัน ขณะที่รับราชการอยู่ใต้ เบื้องยุคลบาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระยานรรัตน์ ราชมานิต ก็มิได้ปล่อยเวลาว่างจากรับหน้าที่ราชการค้นคว้าศึกษาวิชาต่างๆ อยู่เสมอ เช่นวิชาลักธิโยคี ทางดูลายมือและรูปร่างลักษณะบุคคล สั่งตำราจากอังกฤษ, อเมริกา มาค้นคว้าจนมีความชำนิชำนาญ ทางด้านดูลายมือและรูปลักษณะบุคคลและศึกษาภาษาฝรั่งเศส จากมองซิเออ.เอ.เค. จนกระทั่งแตกฉาน สามารถแปลตำราภาษาฝรั่งเศสได้อย่างแคล่วคล่อง
ส่วนทางด้านภาษาอังกฤษนั้น พระยานรรัตน ท่านมีความชำนิชำนาญเป็นพิเศษอยู่แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ จึงทรงโปรดปรานมาก และทรงชุบเลี้ยงเป็นอย่างดี พระองค์ทรงยื่นพระหัตถ์เอาเป็นธุระเรียกสถาปนิกฝีมือเยี่ยมจากอิตาเลียน ผู้หนึ่งมาออกแบบ เพื่อทรงสร้างที่อยู่ให้แก่พระยานรรัตนซึ่งปล่อยที่ดินที่พระราชทานให้รกร้างหญ้าพง ขึ้นเต็มที่ดิน มิเหมือนกับพระยาคนอื่นๆ พอได้รับพระราชทานที่ดินก็เริ่มก่อสร้างที่พักเสียจนหรูเพื่อ ประดับเกียรติ อย่างเช่นท่านพระยารามราฆพก็ได้สร้างคฤหาส์นอันโอ่อ่าด้วยหินอ่อนอิตาเลียน แล้วตั้งชื่อ คฤหาส์นหลังนั้นว่า "บ้านนรสิงห์" (ปัจจุบันเป็นทำเนียบของรัฐบาล) พระยาอนิรุธเทวาก็ได้สร้างขึ้นอย่าง โอฬารเหมือนกัน แล้วตั้งชื่อว่า "บ้านบรรทมสินธุ์" (ปัจจุบันเป็นบ้านสำหรับรองรับแขกเมืองของรัฐบาล) อีกท่านหนึ่งก็ได้สร้างขึ้นอย่างโอ่อ่าอีกหลังหนึ่งและให้ชื่อว่า "บ้านมนังคศิลา" มีแต่พระยานรรัตน์ฯ ผู้เดียว เท่านั้นที่มิได้ยินดียินร้ายต่อที่ดินที่พระองค์ท่านพระราชทานให้เลย พระองค์ท่านจึงยื่นพระหัตถ์เอาเป็นธุระ แต่พระยานรรัตนนฯ กลับปฏิเสธในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ โดยสิ้นเชิง ถึงแม้แต่พระองค์จะทรงกริ้วก็สุดแล้วแต่พระกรุณา จึงได้กราบบังคมทูลขอให้ยับยั้งพระราช ประสงค์ หากทรงสร้างคฤหาสน์ขึ้นบนที่ดินที่พระองค์ทรงพระราชทานให้ แม้จะเอาตัวท่านไปประหารชีวิต ท่านก็จะทูลเกล้าฯ ถวายคืนทั้งคฤหาสน์และที่ดินที่พระองค์ทรงพระราชทานให้ล้นเกล้าฯ จึงต้องตามใจ พระยานรรัตนฯ พระยานรรัตนราชมานิตได้รับใช้ใต้เบื้องยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลท ี่๖ ด้วยความจงรักภักดีเรื่อยมาจนกระทั่งล้นเกล้าฯ เสด็จสวรรคตลงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ก็ขึ้นเถลิงราชสมบัติสืบต่อมา ก็มีพระราชประสงค์อยากจะได้ตัวพระยานรรัตนมานิตไว้ใน ราชการ จึงรับสั่งให้เจ้าคุณไพชยนเทพ (ทองเจือ ทองใหญ่) ไปติดต่อเพื่อขอชุบเลี้ยงเยี่ยงรัชกาลที่ ๖ แต่พระยานรรัตนราชมานิตผู้ยึดมั่นในคติที่ว่า "ข้าสองเจ้าบ่าวสองนาย" นั้นไม่ดีแน่ จึงได้กราบบังคมทูล แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ไปว่า " ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงชุบเลี้ยงอย่างใดก็เท่ากับเอาทองคำไปลงยาฝังเพชรเท่านั้น" ถึงแม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ จะทรงให้ใครมาติดต่อกับพระยานรรัตนฯ หลายครั้ง หลายหน แต่พระยานรรัตนก็มิได้ตอบตกลงสักครั้งเดียว จนกระทั่งถึงวันถวายพระเพลิงพระมหาธีรราชเจ้า รัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ พระยาท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิตจึงได้สละทรัพย์สมบัติ มอบที่ดิน ๔ ไร่ และทรัพย์สินเงินทองทั้งหมดแก่วัดเทพศิริทราวาส ซึ่งเป็นวัดที่ท่านพระยานรรัตนฯ อุปสมบทแต่นั้นเป็นต้นมา เพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ผู้ทรงชุบเลี้ยงตน มาเป็นอย่างดีซึ่งยากจะหาบุคคลเยี่ยงพระยานรรัตนราชมานิตนี้อีกไม่ได้แล้วในยุคปัจจุ บันนี้
ส่วนในด้านความรักนั้นเล่า
พระยานรรัตนราชมานิตก็มิได้ผิดแปลกแตกต่างไปกว่าหนุ่มรุ่นเดียวกันไม่ พระยานรรัตนราชมานิตก็ได้ มีสาวคนรักไว้ปลุกปลอบใจด้วยเหมือนกัน และก็ได้ทำพิธิหมั้นากันเรียบร้อยแล้วเสียด้วย แต่เนื่องด้วย พระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๖ นั้นมากล้นเหลือคณา พระยานรรัตนราชมานิตสละได้เช่นกัน สาวคู่หมั้นของพระยานรรัตนราชมานิตผู้มีนามว่า ชุบ เมนะเศวต ปัจจุบันรับอาชีพเป็นแม่พิมพ์ของชาติอยู่ที่ โรงเรียนราษฎร์แถวสามย่าน พระนคร นี้เองและก็ได้มาฟังสวดพระอภิธรรมศพท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต อยู่เสมอ ซึ่งยังคงครอบเพศพรหมจรรย์ตลอดมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ เพราะเธอได้ยึดมั่นในอุดมคติที่ว่า "รักเดียวใจเดียว" ซึ่งก็ยากจะหาหญิงใดมาเปรียบเทียบเสมอได้เช่นกัน ส่วนในด้านการปฏิบัติงานของพระยานรรัตนราชมานิต ข้าพเจ้าได้รับการบอกเล่าจากพระภิกษุ กมฺพโล วัย ๗๘ แห่งวัดมหาชยราม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ผู้ได้เคยรับราชการใต้เบื้องยุคลบาทของ มหาธีราชเจ้ารัชกาลที่ ๖ พร้อมกับพระยานรรัตนราชมานิตมาแล้วได้บอกกับข้าพเจ้าว่า พระยานรรัตน- ราชมานิตเป็นผู้ที่เคร่งครัดต่อหน้าที่การงานยากที่ใครเสมอเหมือนได้ และเป็นผู้ทีค่ทำอะไรทำจริงไม่ถือตัว และแบ่งชั้นวรรณะแม้แต่เครื่องแต่งกายก็สวมใส่อย่างธรรมดาคือ เสื้อขาว กางเกงขาว มักจะชอบเดิน ไปไหนมาไหนเสมอ พระยานรรัตนราชมานิตให้ข้อคิดในการเดินว่า นั่นคือการออกเอ๊กเซอไซด์ไปในตัว บางครั้งพระยานรรัตนฯก็จะนั่งรถลาก หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "รถเจ๊ก" สมัยนั่นคนจีนมีอาชีพรับจ้าง ลากรถเป็นส่วนมาก และถ้าวันไหนเกิดอารมณ์ดีนึกครึ้มอกครึ้มใจขึ้นมา ขณะที่พระยานรรัตนฯ นั่งอยู่ บนรถลากมองเห็นคนจีนลากรถเหนื่อยหอบท่านเจ้าคุณก็จะลงมาสับเปลี่ยนกับคนจีนลากรถแทนค นจีน ลากรถเสียเอง ก็ยังมีความแปลกใจให้แก่เจ้านายชั้นผู้ใหญ่และผู้ที่พบเห็นทุกคน เลยกลายเป็นเสียง ซุบซิบเล่าสู่กันฟังจนหนาหู แต่พระยานรรัตนฯ ก็มิได้สนใจต่อข่าวลือที่เป็นมงคล และอัปมงคล แต่ประการใดเลย และในด้านโหราศาสตร์นั้นเล่า พระยานรรัตนราชมานิตก็เป็นผู้หนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญและทำนาย ทายทักได้อย่างแม่นยำมาก แต่เป็นที่น่าเสียดายต่อมาภายหลังพระยานนรรัตนฯ ได้เผาตำหรับตำรา โหราศาสตร์จนหมดเกลี้ยง พระภิษุกมฺพโล บอกกับข้าพเจ้าว่า เป็นเพราะไปทำนายทายทักอะไรผิดพลาด เพียงเล็กน้อยให้แก่ล้นเกล้าล้นกระหม่อมรัชกาลที่ ๖ เพียงครั้งเดียวเท่านั้น พระยานรรัตนราชมานิต จึงเลิกทำนายทายทักแต่นั้นเป็นต้นมา พระยานรรัตนราชมานิต
มีพี่น้องร่วมสายโลหิตเดียวกัน ๒ คน คนรองเป็นผู้หญิงชื่อ เลื่อน ปัทมะสุนทร คนสุดท้องเป็นชายชื่อ ตริ จินตยานนท์ น้องทั้งสองปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ ต่อไปนี้คือข้อความในหนังสือพระราชทานบรรดาศักดิ์ ของพระยานรรัตนราชมานิต ตามต้นฉบับเดิม
ฉบับที่ ๑
สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เจ้าหมื่นสรรเพชภักดีเป็นพระยานรรัตนราชมานิต จางวางมหาดเล็ก ถือศักดินา ๓๐๐๐ ทำราชการตามตำแหน่งตั้งแต่บัดนี้ไปจงเว้นการควรเว้น หมั่นประพฤติ การควรประพฤติ สมควร ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต แก่ตำแหน่งทุกประการ ตามอย่างธรรมเนียมข้าราชการ ทั้งปวง ขอให้มีสุขสวัสดิ์เจริญเทอญ. ตั้งแต่ ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๕ เป็นปีที่ ๑๓ ในรัชการปัตยุบันนี้
ฉบับที่ ๒
สมเด็จพระรามาธิบดีสินทรมหาวชิราวุธ เอกอัครมหาบุรุษบรมราธิราชพินิตประชานารถมหาสมมตวงษ์ อติศัยพงษ์วิมลรัตน์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ ปรเมนทรธรรมิกมหาราช ธิราชบรมนารถบพิตร์ พระมงกุฎเกล้าเจ้ากรุงสยาม ขอประกาศแก่ท่านทั้งหลายทั้งปวง ฤาผู้หนึ่งผู้ใดซึ่งจะได้พบอ่านคำประกาศนี้ให้ทราบว่า เราได้ตั้ง ให้หัวหมื่น พระยานรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์) ท.จ. จ.ม. บ.ช. ว.ม.ล. ว.ป.ร. ๓, เป็นที่รักใคร่ ไว้วางใจของเราเป็นองคมมนตรี รับปฤกษาราชการในตัวเรา เพิ่มศักดินาขึ้นอีก ๑๐๐๐ เพื่อจะได้ช่วยเรา คิดทำนุบำรุงแผ่นดินให้เป็นคุณ เป็นประโยชน์ มีความเจริญสมบูรณ์ แลราษฎรทั้งปวงให้มีความสุขความ เจริญขึ้นโดยชอบธรรมอันดี ขอจงตั้งอยู่ในสัตย์สุจริตกตัญญูตะเวที ประพฤติให้ต้องตามพระราชบัญญัติ แลข้อคำสาบาลทุกประการ ตำแหน่งยศที่ตั้งนี้ จงเป็นไปตลอดเวลาความประสงค์ของเราพระเจ้ากรุงสยาม ปัตยุบันนี้ และตามกฏหมายข้อพระราชบัญญัติซึ่งได้ตั้งไว้สำหรับองคมนตรีแลรัฐมนตรีทุกประการ ขอให้มีความเจริญสุขสวัสดิ์ทุกประการเทอญ. พระราชทานที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ณ วันที่ ๔ เมษายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ เป็นปีที่ ๑๕ ในรัชกาลปัตยุบันนี้
ฉบับที่ ๓
สมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก มหันตเดชนดิลกรามาธิบดีเทพยปรียมหาราชรวิวงศ์ อสัมภินพงศพรีกษัตร บุรุษรัตนราชนิกโรดม จตุรันตบรมมหาจักรพรรดราชสังกาศฯ ปรมินทรธรรม มิกมหาราชาธิราชบรมนาถบพิตร พระปกเกล้าเจ้ากรุงสยาม ขอประกาศแก่ท่านทั้งหลายทั้งปวง ฤาผู้หนึ่งผู้ใดซึ่งจะได้พบอ่านคำประกาศนี้ให้ทราบว่า เราได้ตั้งให้ จางวางตรี พระยานรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์) ป.ม. ท.จ. บ.ช. ว.ม.ล. ว.ป.ร. ๓ ซึ่งเป็นที่รักใคร่ ไว้วางใจของเราเป็นองคมนตรี รับปฤกษาราชการในตัวเราเพิ่มศักดินาขึ้นอีก ๑๐๐๐ เพื่อจะได้ช่วยเราคิด ทำนุบำรุงแผ่นดินให้เป็นคุณประโยชน์มีความเจริญสมบูรณ์ และราษฎรทั้งปวงให้มีความสุขความเจริญขึ้น โดยชอบธรรมอันดี ขอจงได้ตั้งอยู่ในสัตย์สุจริตกตัญญูกตะเวที ประพฤติให้ต้องตามพระราชบัญญัติ แลข้อคำสาบาลทุกประการ ตำแหน่งยศที่ตั้งนี้ จงเป็นไปตลอดเวลาความประสงค์ของเราพระเจ้ากรุงสยาม ปัตยุบันนี้ แลตามกฏหมายข้อพระราชบัญญิตซึ่งได้ตั้งไว้สำหรับองคมนตรีทุกประการ ขอให้มีความเจริญ สุขสวัสดิ์ทุกประการเทอญ.
พระราชทาน ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ณ วันที่ ๔ เมษายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๘ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัตยุบันนี้
ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทราวาส
»
เครื่องรางของขลังท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ
14-03-2010
»
ประวัติเจ้าคุณนรฯ พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต ตอน 3
14-03-2010
»
ประวัติเจ้าคุณนรฯ พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต ตอน 2
13-03-2010
»
ประวัติเจ้าคุณนรฯ พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต ตอน 1
13-03-2010
------------------------
หน้าหลัก
คำถามที่มีการถามบ่อย
เราเล่นพระทำไม ?
กฎหมายพระเครื่อง
เกร็ดเล็ก-เกร็ดน้อย
สมัครเปิดร้านค้า
การชำระเงินค่าร้านค้า
ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง
ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับร้านค้า
หน้าหลัก
อดีตสู่ปัจจุบัน
เว็บบอร์ดชมรม
ตารางประกวดพระ
สาระน่ารู้
เล่าสู่กันฟัง
ติดต่อเรา
Copyright©2025 zoonphra.com
Powered by Tactical IT