เว็บลิ้งค์ชมรมต่างๆ

เว็บไซต์วัดเกจิดังในสยาม
วัดอัมพวัน จ. สิงห์บุรี
วัดหนองป่าพง จ. อุบลฯ
วัดเขาแหลม จ. สระแก้ว
หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
วัดหัวป่า อ. ระโนด จ. สงขลา
วัดแก้วโกรวาราม จ. กระบี่
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
หลวงสมชาย วัดเขาสุกิม
ป้อนหมายเลขสิ่งของ


***พิมพ์หมายเลขสิ่งของจำนวน 13 หลัก

รายละเอียดเพิ่มเติม

  หน้าหลัก  :  อดีตสู่ปัจจุบัน  :  เว็บบอร์ดชมรม  :  ตารางประกวดพระ  :  สาระน่ารู้  :  เล่าสู่กันฟัง  :  ติดต่อเรา
ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทราวาส
ประวัติเจ้าคุณนรฯ พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต ตอน 2
13-03-2010 Views: 6970

ชีวิตในเพศบรรพชิต

    พระยานรรัตนราชมานิต ได้อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ มีอายุครบ ๒๘ ปี ที่ วัดเทพศิรินทราวาส โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นอุปัชฌาย์ มีฉายาว่า ธมฺมวิตกโก หลังจากท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์) ธมฺมวิตกฺโก ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้ว ท่านก็ศึกษาปฏิบัติธรรมวินัยอย่าง เคร่งครัด ออกบิณฑบาตรโปรดสัตว์ไปตามท้องถนนเยี่ยงพระนวกะทั่วไป จนครบหนึ่งพรรษา

      ครั้นย่างเข้าพรรษา ๒ ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิตจึงงดบิณฑบาตร โปรดสัตว์แต่นั้นเป็นต้นมา และเริ่มฉันจังหันเพียงมื้อเดียวเท่านั้น โดยมี ญาติเป็นผู้นำปิ่นโตมาถวาย อาหารที่ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิตฉันนั้น ก็ล้วนเป็นอาหารเจทั้งสิ้นคือไม่มีเนื้อสัตว์ และสิ่งที่ขาดเสียมิได้ก็คือ มะขามเปียกกับกล้วยน้ำว้า

      ครั้นพรรษาต่อไปท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต จึงได้งดฉันจังหันในวันพระทุกวันพระอีกด้วย ซึ่งท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ปฏิบัติเรื่อยมาเป็นประจำจนกระทั่งได้มรณภาพลง กิจวัตรที่ท่านเจ้าคุณ นรรัตนฯ จะขาดเสียมิได้นั่นก็คือการลงอุโบสถทำวัตร เช้า-เย็นเป็นประจำ ท่านบอกกับภิกษุสงฆ์ในวัดเสมอว่า "ถ้าท่านขาดทำวัตรครั้งใด นั่นก็หมายความว่า ท่านต้องอาพาธหนัก หรือได้มรณภาพไปแล้ว" และก็มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ได้ขาดลงอุโบสถ เพราะท่านเดินมาลงโบสถ์และเหยียบ ถูกงูเห่า งูจึงกัดที่เท้าท่าน ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ก็ยังลงโบสถ์ทำวัตรต่อไป โดยมิยินดียินร้ายต่อเขี้ยว ของอสรพิษแต่อย่างใด ถ้าเป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ ก็จะต้องรีบเข้าสถานเสาวภา อย่างไม่มีปัญหา แต่ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ กลับเห็นเป็นเรื่องธรรมดา โดยมิต้องวิ่งไปหาหมอหรือหาหยูก หายามาฉันเลยแม้แต่อย่างเดียวท่านกระแสร์จิตอันแก่กล้า ของท่านเท่านั้นที่ดับพิษร้ายของงูเห่าไม่ให้ ทำอันตราย ต่อองค์ท่านได้ แต่ถึงกระนั้นก็เล่นเอาท่านแทบแย่เหมือนกัน เท้าข้างที่ถูกงูกัดบวมเต่งตึง จะนั่งลุกก็แสนจะลำบากเมื่อเวลาทำวัตรสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ทรงเห็นเข้าจึงได้ขอร้อ งให้ท่านเจ้าคุณ นรรัตนฯ งดลงทำวัตรจนกว่าเท้าจะหายบวมด้วยความเกรงใจและระลึกเคารพต่อผู้มีพระคุณฝังจิตใจ ของท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ อยู่นั้น ท่านเจ้าคุณจึงได้งดลงโบสถ์ ๑ วัน รุ่งขึ้นเท้าข้างที่บวมเต่งตึงก็อันตรธาน หายไปอย่างปลิดทิ้ง เกิดความมหัศจรรย์แก่ผู้ที่พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง เสียงโจษจรรเล่าลือจึงระบือไปทั่วว่า ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ มีกระแสร์จิตแก่กล้าสามารถระงับพิษให้เหือดหายไปเอง โดยไม่ต้องไปหามดหาหมอ และฉันยาแต่อย่างใดเลย และเคล็ดลับการปฏิวัติร่างกายให้แข็งแรง ต่อต้านโรคภัยไข้เจ็บนั้นก็ได้มีผู้ทราบ ว่าท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ เมื่อครั้งเป็นฆรวาสได้ปฏิบัติทางโยคะศาสตร์ จนสามารถระงับโรคภัยไข้เจ็บมิให้ เกิดขึ้นได้ ครั้นเจ้าคุณนรรัตนฯอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ผ่านไปเพียง ๑ พรรษาเท่านั้น ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ จึงได้เขียนหนังสือวิธีปฏิบัติทางโยคะศาสตร์ ถวายแด่อุปัชฌาย์ท่านเจ้าคุณพระสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๙ โดยมีใจความดังต่อไปนี้ ๒๕ มิถุน ๖๙ ขอประทานกราบเรียน พระคุณเกล้าฯ ขอประทานถวายวิธีบริหารร่างกายประจำวัน ซึ่งเกล้าฯ มั่นใจว่าถ้าไม่มีอดีตกรรมตามสนองแล้ว การบริหารร่างกายที่ถูกต้องตามกฏของธรรมดาโดยสม่ำเสมอ ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต จริงๆ จะช่วยส่งเสริมให้รูปขันธ์นี้เป็นเรือนอันแข็งแรงมั่นคง และทนทาน เป็นที่อาศัยของนามขันธ์ ได้อย่างวัฒนาถาวร ห่างจากโรคพยาธิ์มีโอกาสใช้ชีวิตช่วยยังประโยชน์ให้แก่โลกได้ยืดยาวจนสุดเขตชัย แห่งอายุ เกล้าฯ เป็นเด็กขี้โรคมาแต่เดิม โยมผู้หญิงผู้ชายขี้โรค ทั้งเกล้าฯ ได้เคยกรากกรำอดหลับอดนอน จนร่างกายทรุดโทรมมาครั้งหนึ่งแล้วในระหว่างรับราชการ ถึงกับเป็นโรคเส้นประสาทอ่อน (Neurasthenia) มีร่างกายผอมซีดสามวันดีสี่วันไข้ จนสมเด็จพระบรมบพิต พระราชสมภารเจ้ารัชกาลที่ ๖ ทรงออก พระโอษฐว่า "เกรงจะเป็นฝีในท้อง Consumption เสียแล้ว" เกล้าฯ ต้องถูกส่งไปรักษาที่โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ แต่การรักษาด้วยวิธีแลยาต่างๆ หลายอย่างหลายชนิดไม่เป็นผลเลย เกล้าฯ ได้พยาบาล บริหารร่างกายด้วยหันเข้าหากฏของธรรมดา ตามวิธีที่กราบเรียนถวายมานี้โดยสม่ำเสมออย่างที่เรียกว่า "เมื่อจะทำอะไรต้องทำกันจริงๆ" จนได้รับผลดี มีร่างกายสงบสบายเรื่อยมาจนบัดนี้ไม่ต้องใช้ยา ไม่ต้อง ไต่ถาม หรือปรึกษาหมอในเรื่องโรคภัยส่วนตัวอีกเลยฯ ในรูปพระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต ผู้บวชถวายราชกุศล ร.6 ถ่ายภาพร่วมกับ พระภิกษุพระยาสีหราชฤทธิไกร ผู้บวช ถวายพระราชกุศล ร.5 ณ วัดราชบพิตร เมื่อพ.ศ.2469 กำหนดบริหารร่างกายประจำวัน

๑. ตอนตื่นลุกขึ้นจากที่นอน ดัดตน ๔ ท่าดังนี้

๑. ยืด (Srretch)

๒.แขม่วท้อง (Pumping)

๓.เตะขึ้น(Kick up)

๔.บดท้อง (Ehuming)

 ๒. ลุกขึ้นจากที่นอนแล้ว ไปยืนที่หน้าต่างที่เปิดตรงช่องลม หายใจยาวสุดอากาศสดๆ (Fresh Air) เข้าปอดให้เต็มที่ ๔ ท่าดังนี้

    ๑.อัดลม (Paching)

    ๒.หายใจยาวสูดลมเข้าปอดตอนบน (Upper Chcst Breathing)

    ๓.หายใจยาวอัดลมดันให้ท้องโป่งพอง (Abdominal Breathing)

    ๔.หายใจยาวสูดลมเข้าอกให้ซี่โครงกาง (Bostal Breathing) ในขณะที่ทำท่าเหล่านี้ควรหลับตา และตั้งใจเป็นสมาธิอยู่ในท่าที่กำลังกระทำอยู่นั้น เมื่อจบท่าแล้ว จึงลืมตา เวลาลืมตานั้นต้องลืมจริงๆ คือเพ่งมองไป แล้วค่อยๆ หลับกลอกไปกลอกมา ขึ้นข้างบน ลงข้างล่าง กลอกข้างซ้ายกลอกขวา และกลอกเป็นวงกลมนี่เป็นการบริหารลูกตาอีกส่วนหนึ่งฯ

    ๓. ดื่มน้ำ ๑ ถ้วยแก้วเต็มๆ น้ำที่จะใช้ดื่มนี้ สำหรับผู้ที่จะมีอายุล่วงเข้าเขตปัจฉิมวัยแล้วไม่ควรดื่มน้ำเย็น ในตอนตื่นตอนเช้าๆ ท้องว่างๆ ควรดื่มน้ำต้มเดือดแล้วอุ่นๆ ถ้าดื่มน้ำเปล่าๆ ไม่ได้ควรเลือกเจือชานิดหน่อย พอมีกลิ่นชวนให้ดื่มได้ แต่อย่าให้มากนักเพราะมีธาตุที่ให้โทษแก่ร่างกายอยู่บ้างไม่เหมาะสำหรับดื่ม ในเวลาท้องว่างตื่นนอนใหม่ๆ ตอนเช้า

   ๔. ไปถ่ายอุจจาระ ถ้าเราเกรงจะเสียเวลาช้าไป ควรเอาหนังสือติดมือไปอ่านด้วย ต่อไปนี้ลงมือทำงาน (Work) ได้ ๕ เมื่อหยุดงานแล้ว ก่อนรับประทานอาหารควรดัดตน ๓ ท่าดังนี้

       ๑. ยืนกางแขนบิดตัว เอามือแตะปลายเท้าทีละข้าง (Ticklc toe)

       ๒. เขย่าตัว (Pep hop)

       ๓. จ้องดาวและบิดคอ (Star Gazer และ Hen peck) แล้วดื่มน้ำ ๑ ถ้วยแก้วก่อนรับประทานอาหารสัก ๑๕ นาทีเมื่อรับประทานอาหารแล้วใหม่ๆ ไม่ควรอ่าน หนังสือหรือใช้สมองคิดเลย ควรคุยหรือเดิน หยิบโน่นหยิบนี่นิดๆ หน่อยๆ เป็นดี และไม่ควรดื่มน้ำรอไว้ จนกว่าอาหารย่อยเรียบร้อยจนเบาท้อง แล้วจึงดื่มน้ำให้มากๆ

     ๖. ก่อนจะอาบน้ำเข้านอนตอนกลางคืน ควรดัดตนอีกครั้งหนึ่ง ๗ ท่า ดังนี้

      ๑. ยืด (Stretch)

      ๒.แขม่วท้อง (Pumping)

      ๓.เตะขึ้น (Kick up)

      ๔.บดท้อง (Ehuming)

      ๕.ยืดกางแขนบิดตัวเอามือแตะปลายเท้าทีละข้าง (Tickle toe)

      ๖.เขย่าตัว (Pep Hop)

      ๗.จ้องดาวและบิดคอ (Star gazer และ Heh Peck)

      ท่าดัดตนเหล่านี้ ถ้าทำให้มากเกินไปก็ให้โทษหรือไม่ให้คุณ ที่จะให้คุณจริงๆ คือพอควรอยู่ระหว่าง กลาง ไม่ไปทางที่สุดโด่งทั้งสองข้างควรมิควรประการใดสุดแล้วแต่จะโปรด เกล้าฯ ธมฺมวิตกฺโก เมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ได้รับจดหมายรายงานการปฏิบัติแบบโยคะศาสตร์ของท่าน เจ้าคุณนรรัตนฯ แล้วก็ได้นำไปปฏิบัติ เมื่อสงสัยในข้อหนึ่งข้อใดแล้วก็ทรงเรียกท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ เข้าไปสอบ ถามเป็นส่วนตัวและฝึกหัดตามท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ไปด้วย ผลที่สุดท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ก็เห็นผลปรากฏจากหลักวิธีโยคะศาสตร์ที่สามารถช่วยขจัดโรคภัยต่างๆ ได้จริงๆ ถ้าทำให้ถูกต้องและสม่ำเสมอ คุณผู้อ่านถ้าสนใจก็ไปทดลองฝึกดูก็ได้นะครับ ถือสันโดษ คราวนี้ข้าพเจ้าขอพาคุณผู้อ่านเข้าไปชมภายในกุฎิที่ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ พำนักซึ่งผิดแผกแตกต่าง กับภิกษุสงฆ์องค์อื่นๆ อย่างฟ้ากับดินทีเดียว ยากที่จะหาภิกษุรูปใดในปัจจุบันนี้เสมอเหมือนเยี่ยงท่าน เจ้าคุณนรรัตนฯหาได้ไม่ เพราะท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ท่านเป็นภิกษุสงฆ์ที่ถือสันโดษ ตัดกิเลสหมดทุกอย่าง แม้แต่เงินตราที่ใช้แลกเปลี่ยนตามกฏหมาย ในปัจจุบันนี้ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ก็มิเคยเห็นและแตะต้อง ด้วยซ้ำไป เครื่องตบแต่งเพื่อประดับบารมีภายในกุฏิก็หามีสิ่งมีค่ามาตั้งโชว์ให้รกหูรกตาแม้แต่ สิ่งเดียว สิ่งที่ประดับบารมีของท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ นั้นก็คือตำหรับตำราและหนังสือธรรมวินัยต่างๆ เป็นจำนวนมาก ส่วนที่จำวัดนั้นก็เป็นเฉพาะองค์ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ เท่านั้น โดยมีผ้าจีวรเก่าๆ ปูกับพื้นเพียง ๒-๓ ผืน และ มีมุ้งหลังเล็กๆ อยู่หลังเดียวเท่านั้น และสิ่งที่สดุดตาและเตือนใจแก่ผู้พบเห็นนั่นก็คือโครงกระดูกและหีบศพ ๑ หีบ หีบที่วางไว้ให้เป็นเครื่องขบคิดโครงกระดูกที่ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ นำเข้าไปไว้ในกุฏิของท่าน ก็เพื่อไว้นั่งพิจารณาและปลงอนิจจัง ว่าสังขารของมนุษย์เรานั้นมันไม่เที่ยงแท้ มี เกิด, แก่,เจ็บ, ตาย ผลที่สุดก็เหลือแต่โครงกระดูก แล้วก็กลายเป็นเถ้าถ่านไปในที่สุด ส่วนหีบศพนั้นเล่า ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ได้สั่งให้ญาติซื้อมาไว้เมื่อบวชได้พรรษา ๒ และท่านได้บอก กับญาติโยมให้ทราบว่า การที่สั่งให้ต่อหีบศพมาไว้นั้นก็เพื่อที่จะไว้ใส่ตัวท่านเอง เมื่อเวลาดับขัณฑ์ จะมิต้องทำความยุ่งยากลำบากให้แก่ผู้อยู่ข้างหลังและหีบศพใบนี้ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ก็เคยลงไปทำ วิปัสสนากรรมฐานบ่อยครั้งนัก นับเป็นสถานที่ที่สงบแห่งหนึ่งที่ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ปฏิบัติธรรม ในกุฏิของท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ จะหาไฟฟ้าใช้แม่แต่ดวงเดียวก็ไม่มี แม้แต่น้ำที่ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ใช้ดื่มฉันอยู่ทุกวันนี้ก็เป็นแต่น้ำฝนทั้งสิ้น และภาชนะที่ท่านใช้ก็เป็นกะลามะพร้าวขัด ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ท่านชี้แจงว่าของสิ่งนี้เป็นของสูง ไม่มีมลทินอะไรติดอยู่เลยแม้แต่นิดเดียว และท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ได้ให้ เหตุผลอย่างน่าฟังว่า "ธรรมชาติได้สร้างมนุษย์เราเป็นที่พอเพียงอยู่แล้วจะวุ่นวายกันไปทำไม ยิ่งเป็นภิกษุ สงฆ์ผู้ปฏิบัติอยู่ในธรรมวินัยก็ยิ่งลำบาก น้ำฝนเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ ดื่มฉันก็เกิดอาบัติน้อยมาก ยิ่งไฟฟ้าด้วย แล้วก็ถือว่าไม่เป็นสำคัญเลย เพราะดวงอาทิตย์ได้ให้แสงสว่างแก่โลกมุนษย์เราตั้งแต่ ๖ โมงเช้าถึง ๖ โมงเย็น เราจะทำอะไรก็ควรรีบๆ ทำเสียเมื่อพระอาทิตย์สิ้นแสงแล้วก็หมดเวลาที่เราจะทำอย่างอื่น นอกเสียจากทำสมาธิ เจริญวิปัสสนากรรมญานแต่เดียวเท่านั้น" ด้วยเหตุนี้เองกุฏิของท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ จึงปิดเงียบมืดมิดผิดกว่ากุฏิพระภิกษุสงฆ์องค์อื่นๆ และ ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯภิกษุผู้เคร่งครัดต่อธรรมวินัยรูปนี้เองได้มีประชาชนจำนวนมาก เลื่อมใส่ศรัทธา ใคร่อยากจะพบปะสนทนาด้วย ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ก็มิได้รังเกียจ เปิดโอกาสให้ญาติโยมพบปะสนทนา เป็นอย่างดี ตอนที่ท่านลงทำวัดเช้าและเย็นเสมอชั่วระยะเวลาหนึ่ง ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ จะไม่ยอม ให้ใครเข้าพบเป็นอันขาดที่กุฏิของท่าน ไม่ว่าจะเป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่หรือกระยาจนเข็นใจคนใดทั้งสิ้น อภินิหารย์มหัศจรรย์ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต หลังจากที่ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์) ธมฺมวิตกฺโก ได้ครองเพศบรรพชิตเรื่อยมา ด้วยการเคร่งครัดต่อธรรมวินัย และค้นคว้าศึกษาทางวิปัสสนากรรมฐานจนแตกฉานกระแสร์จิตแก่กล้า จนเป็น ที่ประจักษ์แก่สายตา ของพระภิกษุสงฆ์ และประชาชนมาแล้วเมื่อครั้งถูกอสรพิษกัด ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ก็สามารถใช้กระแสร์จิตรักษาพิษร้ายของอสรพิษให้เหือดหายไปเองได้ โดยมิต้องไปหาหมอและฉันยาเลย แม้แต่อย่างเดียว ต่อมาท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ก็ได้ถูกโรคร้ายที่ประชาชน และนายแพทย์กลัวนักกลัวหนาเข้าคุกคามได้ นั้นก็คือโรคมะเร็ง ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ได้เป็นโรคมะเร็งกามช้างจนเน่าเฟะแต่ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯก็มิได้ แสดงความเจ็บปวดรวดร้าว ให้ปรากฏแก่สายตาผู้ภิกษุสงฆ์ และประชาชนที่พบเห็นเลยแม้แต่น้อย ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯมีอาการเป็นปกติธรรมดาเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ก็ได้อุโบสถ ทำวัตรเช้า-เย็น เป็นประจำเสมอมิได้ขาดเลย แต่แล้วอยู่ๆ โรคร้ายที่เกาะกุมท่านเจ้าคุณนรรัตนฯจน เป็นที่สังเวรแก่ผู้พบเห็นก็อันตรธานหายไปเอง โดยท่านเจ้าคุณนรรัตนฯมิได้ไปหาแพทย์ให้รักษาหรือ ฉันหยูกยาแต่ประการใดเลย "โรคมันเกิดขึ้นมาเอง มันก็ต้องหายไปเองได้เช่นกัน" ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯพูดอยู่เสมอ แก่ผู้ที่ไต่ถามท่าน ยิ่งนับวันเสียงลือเสียงเล่าอ้างทางด้านอภินิหารต่างๆ ของท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิตก็แพร่สะพัด ไปทั่วทุกสารทิศว่า ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ เป็นพระภิกษุสงฆ์รูปเดียวในปัจจุบันนี้ที่สำเร็จอรหันต์แล้ว จึงมีประชาชนจำนวนมากใคร่อยากจะเข้าพบเพื่อนมัสการ แต่ก็หาเวลาพบท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ได้เพียง ๒ เวลาเท่านั้น คือตอนทำวัตรเช้าและเย็น ซึ่งก็มีเวลาสนทนากันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนมาก ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ จะคุยเรื่องธรรมะและอบรมสั่งสอนให้ประกอบและประพฤติในทางดีทั้งสิ้น ผู้ใด ได้เข้าพบปะสนทนากับเจ้าคุณนรรัตนฯแล้ว ผู้นั้นจะรู้สึกจิตใจสดชื่นเบิกบานแจ่มใสอย่างบอกไม่ถูก เสมือนกับได้เข้าพบกับพระอรหันต์ฉะนั้น เสียงลือเสียงเล่าอ้างอันนี้เองที่ล่วงรู้ถึงหูชาวจีนผู้หนึ่ง ซึ่งยากจนข้นแค้นอยากจะเข้าพบนมัสการ ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯบ้าง พยายามเพียรมาพบที่พระอุโบสถหลายครั้งแต่ก็เข้าไม่ถึงตัวท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ เลยสักครั้ง ท่านจีนผู้นั้นจึงได้ตัดสินใจมาดักพบที่กุฏิตอนเช้าก่อนที่ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯจะลงทำ วัตรเช้า เมื่อพบท่านเจ้าคุณนรรัตนฯชาวจีนผู้นั้นก็ก้มลงกราบที่หน้าประตูและกล่าวว่า "อยากจะมาขอพร เพราะ อยากจนเหลือเกิน ทำมาค้าขายก็มีแต่ขาดทุน" ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯได้ฟังชาวจีนพูดจบลงแล้ว ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ จึงเอากะลาขัดตักน้ำมาพรม ให้ชาวจีน และพูดว่า " ไปได้คราวนี้จะรวยใหญ่" และก็เป็นจริงอย่างที่ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯให้พรทุกประการ เพราะหลังจากนั้นเป็นต้นมาชาวจีนผู้นั้น ก็ทำมาค้าขายเจริญงอกงามขึ้นเป็นลำดับจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ดังได้กล่าวไว้แล้ว ผู้ที่เข้านมัสการท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ มักจะได้ฟังแต่เรื่องธรรมะและคำตักเตือน สั่งสอนให้ประกอบแต่ความดี ผู้นั้นจะมีความสุข ข้าพเจ้าจึงขอเอาข้อเขียนของคุณ "ภิญโญ เอกอธิคมกิจ" ซึ่งได้รับฟังคำจากท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ มาลงไว้ ณ ที่นี้เพื่อเป็นข้อยืนดังต่อไปนี้ เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๑ คุณ ภิญโญ เอกอธิคมกิจ ยังเป็นนิสิตปีสุดท้ายได้พาเพื่อนนักศึกษา ๓ คน เข้านมัสการท่านเจ้าคุณนรรัตนฯเมื่อตอนเย็นวันหนึ่งหลังจากท่านเจ้าคุณนรรัตนฯได้ทำว ัตรเย็น เสร็จเรียบร้อยแล้วและได้สนทนากันอยู่พักหนึ่งท่านเจ้าคุณนรรัตนฯได้ไต่ถามคุณภิญโญ และเพื่อนว่า มีอาชีพอะไรเมื่อท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ได้ทราบว่าทั้งสี่คนนั้นเป็นนิสิตปีสุดท้าย ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ก็เริ่มอธิบายธรรมให้ฟังทันทีโดยเริ่มว่า "ที่มาหาพระที่นี่น่ะ, ดีแล้ว เพราะพระแปลว่า ดี หรือประเสริฐ ฉะนั้นการมาหาพระ คุยกับพระก็ได้ของดีของประเสริฐกลับไป" เพื่อนคนหนึ่งของคุณภิญโญได้เรียนถามถึงเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ ของพระเครื่องท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ก็ได้อธิบายให้ฟังว่า "ความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นอยู่กับความศรัทธา อาศัยกำลังจิตเป็นสำคัญบางครั้งทหารที่ไปรบ เวียดนามเชื่อมั่นคุณพระที่ห้อยคอไป อาจทำให้เกิดนะจังงังก็ได้ข้าศึกมองไม่เห็นตัว หรือยิงไม่ถูก" แล้วท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ยังได้ยกอุทาหรณ์ให้ฟังต่อไปอีกว่า เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ พระพุทธเจ้าหลวง เคยเสด็จออกเยี่ยมพสกนิกรที่ชนบทแห่งหนึ่ง ได้ทอดพระเนตรเห็นบ้านชาวจีนคนหนึ่งนำปุ้งกี๋มาไว้บูชา บนหิ้ง จึงได้รับสั่งถามชาวจีนผู้นั้นว่า เอามาบูชาเพื่ออะไร ชาวจีนผู้นั้นได้ทูลถึงความเชื่อมั่นของตน ซึ่งเริ่มต้นมาจากปุ้งกี๋จนทำให้เขาร่ำรวยขึ้นมาได้ จึงนำมาไว้บูชาและเก็บไว้เป็นที่ระลึก พระพุทธเจ้าหลวง จึงได้ตรัสชมว่า "ดีแล้ว" นี่ก็แสดงว่า ความเชื่อมั่นเท่านั้นที่จะปรากฏผลให้เห็นเมื่อท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ได้อรรถาธิบายจบแล้ว เพื่อนอีกคนหนึ่งของคุณภิญโญจึงได้เรียกถามท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ต่อไปอีกว่า ตัวเขาทำไมจึงยากจนเหลือเกินไหนจะต้องหารายได้เพื่อมาเป็นทุนการศึกษา ไหนจะต้องหาเงินมา เลี้ยงแม่อีก จึงอยากจะมาขอพรจากท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ เพื่อจะได้ทุกสักก้อนหนึ่งสำหรับไว้ไปศึกษาต่อ ยังต่างประเทศ เมื่อจบการศึกษาในประเทศไทยแล้ว ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ จึงได้กล่าวสรรเสริญเพื่อนของคุณภิญโญว่าเป็นการกระทำที่ดีแล้ว พร้อมกับ อธิบายถึงความกตัญญูกตเวทิตาว่า "คนที่มีความกตัญญูกตเวทีแล้ว ไปไหนหรือจะทำอะไรย่อมไม่ตกต่ำและมักจะประสพ ความสำเร็จเสมอ เพราะคุณพระย่อมคุ้มครองคนมีที่คุณธรรมประจำใจ" ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ยังได้อธิบายต่อไปอีกว่า "คุณธรรมอันเป็นเครื่องนำไปสู่ความสำเร็จในกิจการทั้งปวง อันได้แก่ อิทธิบาทสี่ แปลว่า ทางที่นำไปสู่ความสำเร็จไม่ว่าจะทำอะไร อิทธิ ซึ่งหมายถึงหนทางที่จะไป มีอยู่ ๔ ประการ" คือ

    ๑. ฉันทะ คือความพอใจในสิ่งที่เป็น วิลล์ออฟมาย หรือเป็นความตั้งอกตั้งใจที่จะทำจริง

    ๒. วิริยะ คือความเพียรพยายามโดยไม่ท้อถอย

    ๓. จิตตะ คือความเอาใจจดจ่อในสิ่งที่จะทำในกิจกรรมนั้นๆ โดยนึกอยู่เสมอ

    ๔. วิมัสสะ คือการพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุผล ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ได้ชี้แจงต่อไปอีกว่า ไม่ว่าเราจะทำอะไร หากมีธรรม ๔ ประการนี้แล้ว ย่อมพบกับความสำเร็จอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเรียนหนังสือหรือการทำมาหากิน และท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ยังย้ำต่อไปอีกว่า

"จะไปนิพพานก็ได้นะ"

     หลังจากได้สนทนาธรรมกับเจ้าคุณนรรัตนฯ เป็นที่พออกพอใจแล้ว ทุกคนต่างก็จะกราบลากลับ ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ จึงได้สั่งให้เพื่อของคุณภิญโญ ไปตักน้ำมนต์ในโอ่งหลังรูปปั้นสมเด็จพระพุทธ โฆษาจารย์ ๑ ถ้วย และรินใส่ถ้วยให้ดื่มทีละคนพร้อมกับให้ว่าคาถาตามท่านไปด้วย ดังนี้ สิทธะมัตถุ สิทธะมัตถุ สิทธะมัตถุ อิทัง พลัง เอตัสสะมิง ระตะนัตตะ ยัสสะมิง สัมประสาทะ นะเจตะโส เมื่อทุกคนได้รับประทานน้ำมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ของท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ เสร็จทั่วทุกคนแล้ว ท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ก็ได้กล่าวเป็นประโยชน์สุดท้ายว่า " จงประกอบแต่ความดีนะ จะได้มีความสุข" คาถาของท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ บทนี้ ผู้ใดใคร่จดจำไว้ ข้าพเจ้าคิดว่าคงเกิดประโยชน์ไม่น้อย ยิ่งผู้ที่มี เครื่องรางของขลังของท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ ไว้บูชาด้วยแล้วก็คงเกิดพลังอานุภาพศักดิ์สิทธิ์ให้ปรากฏขึ้น มาได้ ดังเช่นคาถาชินบัญชร ของสมเด็จพุฒจารย์โตดุจเดียวกัน ข้าพเจ้าได้นำเรื่องราวการสนทนาธรรมกับท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ มาแล้ว ก็ใคร่จะขอนำ "โอวาท" ของท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ มาลงไว้ ณ ที่นี้ด้วย เพื่อเตือนสติแก่ผู้ที่กำลังประพฤติชั่ว หรือกระทำชั่วไปแล้ว ให้หันกลับมาประกอบกรรมแต่ความดี ละทิ้งความชั่วที่ทำหรือกำลังที่จะกระทำนั้นเสีย และผู้ที่ประกอบ กรรมแต่ความดีก็ให้รักษาความดีนั้นไว้ หรือยิ่งประกอบกรรมดียิ่งๆ ขึ้นไป ดังต่อไปนี้ โอวาทของท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต

    ๑. "PERSONAL MAGNET" เรื่องที่มีคนเมตตากรุณา เห็นอกเห็นใจนั้น เป็นเพราะ คุณธรรมความดี ของตนเอง หลายประการ ด้วยกัน เป็นต้นว่า วิริยะ อุตสาหะ บากบั่น เข้มแข็ง แรงกล้า และจิตใจเมตตากรุณา ไม่เย่อหยิ่งจองหอง เป็นเหตุให้ผู้ที่แวดล้อมอยู่เกิดความเมตตากรุณารักใคร่เห็นอกเห็นใจ คิดที่จะช่วยเหลือคนซึ่งมี กิริยา มารยาทอ่อนโยน สุภาพนิ่มนวล ย่อมเป็นที่เสน่หารักใคร่ของคนที่ได้พบเห็นและพยายามที่จะช่วยเหลือ นี่เป็น Personal Magnet คือเสน่ห์ในตัวของตัวเอง เพราะฉะนั้น จงพยายามรักษาคุณสมบัติดังกล่าวนี้ไว้ จะเป็นเครื่องช่วยตัวเองให้บรรลุความสำเร็จสมประสงค์ทุกประการ ทุกกาลเวลา ทั้งปัจจุบันและอนาคต

     ๒. เมตตา อย่ากลัว จงรักษาตัวให้บริสุทธิ์ ไม่มีอะไรทำอันตรายได้จงจำไว้ว่า ถ้าปรารถนาความเมตตาและ ความเห็นอกเห็นใจจากผู้อื่น ก็ควรส่งกระแสใจที่ประกอบด้วยความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจ ไปยังท่านเหล่านั้น แล้วก็จะได้รับความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจจากท่านเหล่านั้นเช่นเดียวกัน นี่เป็นกฏของจิตตานุภาพแล้วความสำเร็จทั้งหลายที่ปรารถนา ก็จะบังเกิดแต่ตนสมประสงค์ทุกประเด็น แน่นอนไม่ต้องสงสัยเลย.

     ๓. สบายใจ คำว่า "ไม่สบายใจ" อย่าใช้ และอย่าให้มีขึ้นในใจต่อไป Let it go, and get ti out!" ก่อนมันจะเกิด ต้อง Let it go! ปล่อยให้มันผ่านไปอย่ารับเอาความไม่สบายใจไว้ ถ้าเผลอไปมันแอบเข้ามาอยู่ในใจได้ พอมีสติรู้สึกตัวว่าความไม่สบายใจเข้ามาแอบอยู่ในใจ ต้อง Get it out! ขับมันออกไปทันที อย่าเลี้ยงเอา ความไม่สาบายใจไว้ในใจมันจะเคยตัว ทีหลังจะเป็นคนอ่อนแอออดแอดทำอะไรผิดพลาดนิดๆ หน่อยๆ ก็ไม่สบายใจเคยตัว เพราะความไม่สบายใจนี้แหละเป็นศัตรู เป็นมาร ทำให้ใจไม่สงบประสาทสมองไม่ปกติ เป็นเหตุให้ร่างกายผิดปกติ พลอยไม่สงบไม่สบายใจไปด้วย ทำให้สมองทึบไม่ปลอดโปร่ง เป็น habit ความเคยชินที่ไม่ดี เป็นอุปสรรคกีดกั้นขัดขวางสติปัญญาไม่ให้ปลอดโปร่งแจ่มใส ต้องฝึกหัดแก้ไข ปรับปรุงจิตใจเสียใหม่ ทั้งก่อนที่จะทำอะไร หรือกำลังกระทำอยู่ และเมื่อเวลากระทำเสร็จแล้ว ต้องหัดให้ จิตใจแช่มชื่นรื่นเริงเกิดปิติปราโมทย์เป็นสุขสบายอยู่เสมอ เป็นเหตุให้เกิดกำลังกายกำลังใจ Enioy living มีชีวิตอยู่ด้วยความเบิกบาน สมองจึงจะเบิกบาน จะศึกษาเล่าเรียนก็เข้าใจจำได้ง่าย เหมือนดอกไม้ที่แย้ม เบิกบานต้อนรับหยาดน้ำค้าง และอากาศอันบริสุทธิ์ฉะนั้น พระพุทธเจ้าสอนว่า "นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ" สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี" หมายความว่า ความสุขอื่นมี เช่นความสุขในการดูละคร ดูหนัง ในการเข้าสังคม Soial ในการมีคู่รัก คู่ครอง หรือในการมีลาภยศได้รับความสุข สรรเสริญ และได้รับความสุขจากสิ่งเหล่านี้ ก็สุขจริง

    ๔. สันติสุข แต่ว่า สุขเหล่านี้มีทุกข์ซ้อนอยู่ทุกอย่าง ต้องคอยแก้ไขปรับปรุงกันอยู่เสมอไม่เหมือนกับความสุข ที่เกิดจากสันติความสงบ ซึ่งเป็นความสุขที่เยือกเย็นและไม่ซ้อนด้วยความทุกข์ และไม่ต้องแก้ไข ปรับปรุงตกแต่งมากเป็นความสุขที่ทำได้ง่ายๆ เกิดกับกายใจของเรานี่เอง อยู่ในที่เงียบๆ คนเดียวก็ทำได้ หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมสังคมก็ทำได้ ถ้าเรารู้จักแยก ใจ หาสันติสุข กายนี้เพียงสักแต่ว่าอยู่ในที่ระคน ด้วยความยุ่ง สิ่งแวดล้อมเหล่านั้นไม่ยุ่งมาถึงใจ แม้เวลาเจ็บหนัก มีทุกข์เวทนาปวดร้าวไปทั่วกาย แต่เรารู้จักทำใจ ให้เป็นสันติสุขได้ ความเจ็บนั้นก็ไม่สามารถจะทำให้ ใจ เดือดร้อนตามไปด้วย เมื่อ ใจ สงบแล้วกลับจะทำให้กายสงบ หายทุกขเวทนาได้ด้วยและประสบสันติสุข ซึ่งไม่มีสุขอื่น ยิ่งกว่าสันติสุขนั้น พระพุทธเจ้าสอนให้ฝึกเป็น ๓ ทาง คือ

    ๑. สอนให้สงบกาย วาจา ด้วย ศีล ไม่ทำโทษทุจริตอย่างหยาบที่เกิดทาง กาย วาจา เป็นเหตุให้เกิดสันติสุขทางกาย วาจา เป็นประการต้น

    ๒. สอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางใจด้วย สมาธิ หัดใจไม่ให้คิดถึงเรื่องความกำหนัด ความโกรธ ความโลภ ความหลง ความกลัว ความฟุ้งซ่านรำคาญ ความลังเลใจ ทำให้ใจไม่เด็ดเดี่ยว ไม่เด็ดขาด เมื่อละสิ่งเหล่านี้ได้ เป็นเหตุให้ใจสงบ เป็นสันติสุขทางจิตใจ อีกประการหนึ่ง

     ๓. ทรงสอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางทิฏฐิ ความเห็นด้วย ปัญญา พิจารณาให้เห็นว่าสรรพสิ่ง ทั้งหลายไม่แน่นอน เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้ ต้องเสื่อมสิ้นแปรปรวน ดับไป เรียกว่าเป็น ทุกข์ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา อ้อนวอน ขอร้อง เร่งรัด ให้เป็นไปตามความประสงค์ ท่านเรียกว่า อนัตตา เมื่อเรารู้เห็นความเป็นจริงเช่นนี้ จะทำให้จิตใจของเราเข้มแข็ง มั่นคง เด็ดเดี่ยวไม่หวั่นไหวไปตาม เหตุการณ์ทั้งหลาย เพราะรู้เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาว่าสิ่งเหล่านั้นมันไม่แน่นอนมันคงอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลง เสื่อมสิ้นดับไปไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาฝ่าฝืนของเราอย่าไปเร่งรัดให้เสียกำลังใจ คงรักษาใจให้เป็นอิสระมั่นคงอยู่เสมอไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์เหล่านั้นเป็นเหตุให้ ใจตั้งอยู่ในสันติสุข เป็นอิสระเกิดอำนาจทางจิต Mind Power ที่จะใช้ทำกรณียะอันเป็นหน้าที่ของตนได้สำเร็จสมประสงค์ "นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี" It meeds a Peaceful Mind to support a Peaceful Body, and itneeds a Peaceful Body to support a Peaceful Mind, and, st it needs Both Pescaful Body and Mind to attain all succes that wbich you wish. ๕. ทำอะไรไม่ผิดเลย ก็คือคนไม่ทำอะไรเลย "DO NO WRONG IS DO NOTHING" จงระลึกถึงคติพจน์ ว่า "Do no wrong is do nothing!" "ทำอะไรไม่ผิดเลย ก็คือไม่ทำอะไรเลย!" ความผิดนี้แหละ เป็นครูอย่างดี ควรจะรู้สึกบุญคุณของตัวเองที่ทำอะไรผิดพลาด และควรสบายใจที่ได้พบ กับอาจารย์ผู้วิเศษ คือความผิด จะได้ตรงกับคำว่า "เจ็บแล้วต้องจำ!" ตัวทำเองผิดเอง นี้แหละเป็นอาจารย์ ผู้วิเศษ เป็น Good example ตัวอย่างที่ดี เพื่อจะได้จดจำไว้สังวรระวังไม่ให้ผิดต่อไป แล้วตั้งต้นใหม่ ด้วยความไม่เลินเล่อเผลอประมาท อดีตที่ผ่านไปแล้วก็ผ่านพ้นล่วงไปแล้ว แต่อาจารย์ผู้วิเศษยังคงอยู่ คอยกระซิบเตือนใจเสมอทุกขณะว่า "ระวัง! อย่าประมาทนะ! อย่าให้ผิดพลาดเช่นนั้นอีกนะ!" ผิดหนึ่งพึงจดไว้ ในสมอง เร่งระวังผิดสอง ภายหน้า สามผิดเร่งคิดตรอง จงหนัก เพื่อนเอย ถึงสี่อีกทีห้า หกซ้ำอภัยไฉน! จงสังเกตพิจารณาดูให้ดีเถิด จะเห็นได้ว่า นักค้นคว้าวิทยาศาสตร์ทางโลกก็ดีและทางผู้วิเศษที่เป็น ศาสดาจารย์ในทางธรรมทั้งหลายก็ดีล้วนแต่ผ่านพ้นอุปสรรคความผิดพลาดนับครั้งไม่ถ้วนมา แล้วด้วยกัน ทุกท่าน

     ๖. สติสัมปชัญญะ (ความระลึกได้ และความรู้ตัว) ที่จะทำอะไรไม่ผิดนั้น ข้อสำคัญอยู่ที่สติ ถ้ามีสติคุ้มครองกายวาจาใจอยู่ทุกขณะจำทำอะไร ไม่ผิดพลาดเลย ที่ผิดพลาดเพราะขาดสติ คือ เผลอ เหม่อ เลินเล่อ ประมาท ระเริง หลงลืม จึงผิดพลาด จงนึกถึงคติพจน์ว่า " กุมสติต่างโล่ห์ป้อง อาจแกล้วกลางสนาม" ธรรมดาชีวิตทุกชนิด ทั้งมนุษย์และสัตว์ ตลอดทั้งพืชพันธุ์ พฤษาชาติ เป็นอยู่ได้ด้วยการต่อสู้ ตรงกับคำว่า "Life id fighting" "ชีวิตคือการต่อสู้" เมื่อต่อสู้ไม่ไหวขณะใจก็ต้องถึงที่สุดแห่งชีวิต คือ death ความตาย เพราะฉะนั้นยังมีสติอยู่ตราบใด ถึงตายก็ตายแต่กาย เช่นกับชีวิตพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ท่านมีสติไพบูลย์อยู่ทุกขณะจิต ท่านจึงทำอะไรไม่ผิดและถึงซึ่งอมตธรรม คือธรรมที่ไม่ตาย ตรงกับคำว่า immortal จึงเรียกว่า ปรินิพาน คือนามรูปสังขารร่างกายที่เรียกว่าเบญจขันธ์ ขันธ์ ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แตกดับไปเท่านั้น เพราะฉะนั้น ความฝึกฝนสติ (ความระลึกรู้ก่อนทำ ก่อนพูด ก่อนคิด) สัมปชัญญะ (รู้ตัวทุกขณะที่กำลังทำอยู่ พูดอยู่ คิดอยู่) เมื่อทำเสร็จแล้ว ก็มีสติตรวจตาพิจารณาดูว่าบกพร่องอย่างไร หรือเรียบร้อยบริบูรณ์ดี ถ้าบกพร่องก็รีบแก้ไขเพื่อให้สมบูรณ์ต่อไป ถ้าเรียบร้อยดีอยู่แล้ว ก็พยายามให้ เรียบร้อยดียิ่งๆ ขึ้นไปจนถึงที่สุด

     ๗. อานุภาพของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ด้วยอนุภาพของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้แล จึงชนะข้าศึก คือ กิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียดได้! ๑. ชนะความหยาบคาย ซึ่งเกิดกิเลสอย่างหยาบที่ล่วงทางกายวาจาได้ ด้วยศีลชนะความยินดียินร้าย หลงรัก หลงชัง ซึ่งเป็นกิเลสอย่างกลางที่เกิดในใจได้ด้วยสมาธิ ๒. ผู้ใดศึกษาและปฏิบัติตามไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญานี้ โดยพร้อมมูล บริบูรณ์สมบูรณ์แล้ว ผู้นั้นจึงเป็นผู้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ เป็นแน่นอน ไม่ต้องสงสัยเลย! เพราะฉะนั้น จึงความสนใจ เอาใจใส่ ตั้งใจศึกษา และปฏิบัติตามไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ทุกเมื่อเทอญ.

     ๘. ดอกมะลิ ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่ถูกรับรองแล้วว่าเป็นดอกไม้ที่หอมเย็นชื่นใจที่สุดและขาวบริสุท ธิ์ที่สุด ในบรรดาดอกไม้ทั้งหลายชีวิตมนุษย์ที่เป็นอยู่เช่นเดียวกับการเล่นละคร ขอให้เป็นตัวเอกที่มีชื่อเสียงที่สุด เช่นเดียวหรือลักษณะเดียวกับดอกมะลิ อย่าเป็นตัวผู้ร้ายที่เลวที่สุด และให้เห็นว่าดอกมะลินี้จะบานเต็มที่ เพียง ๒-๓ ก็จะเหี่ยวเฉาไป ฉะนั้นขอให้ทำตัวให้ดีที่สุด เมื่อยังมีชีวิตอยู่ให้หอมที่สุดเหมือนดอกมะลิ ที่เริ่มแย้มบานฉะนั้น."จงเลือกทำแต่กรรมที่ดีๆ" 

     ๙. ทำดี ดีกว่าขอพร "จงเลือกทำแต่กรรมที่ดีๆ นะ!เตือนให้เตรียมตัวไว้ดำเนินชีวิตต่อไปเป็นคำแทนคำอวยพรอย่างสูงสุด ประกอบด้วยเหตุผล เมื่อทำกรรมดีแล้ว ไม่ให้พรก็ต้องดี เมื่อทำชั่วแล้วจะมาเสกสรรปั้นแต่งอวยพร อย่างไรก็ดีไม่ได้ ทำชั่วเหมือนโยนหินลงน้ำหินจะต้องจมทันที ไม่มีผู้วิเศษใดๆ จะมาเสกเป่าอวยพร อ้อนวอนขอร้องให้หินลอยขึ้นมาได้ ทำกรรมชั่วจะต้องเล่นจมป่นปี้เสียราศีเกียรติคุณชื่อเสียงเหมือน ก้อนหินหนักจมลงไปอยู่กับโคลนใต้น้ำ ทำดีเหมือนน้ำมันเบาเมื่อเทลงน้ำย่อมลอยเป็นประกายมันปลาบ อยู่เหนือน้ำ ทำกรรมดี อย่อมมีสง่าราศี มีเกียรติคุณชื่อเสียง มีแต่คนเคารพนนับถือยกย่องบูชา เฟื่องฟุ้งฟู ลอยน้ำเหมือนน้ำมันลอยถึงจะมีศัตรูหมู่ร้ายจงใจเกลียดชังมุ่งร้ายอิจฉาริษยาแช่งด่าใ ห้จมก็ไม่สามารถ จะเป็นไปได้ กลับจะแพ้เป็นภัยแก่ตัวเอง ขอให้จงตั้งใจกล้าหาญพยายามทำแต่กรรมดีๆ โดยไม่มี ความเกรงกลัวหวั่นไหวต่ออุปสรรคใดๆทั้งสิ้น ผู้ที่มีความเลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัย ผู้ที่มีโชคดี ผู้ที่มีความสุขและผู้ที่มีความเจริญประสงค์ใดสำเร็จสมประสงค์ ก็คือผู้ที่ประกอบกรรม ทำแต่ความดี อย่างเดียวนั่นเอง



ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทราวาส
»เครื่องรางของขลังท่านเจ้าคุณนรรัตนฯ
14-03-2010
»ประวัติเจ้าคุณนรฯ พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต ตอน 3
14-03-2010
»ประวัติเจ้าคุณนรฯ พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต ตอน 2
13-03-2010
»ประวัติเจ้าคุณนรฯ พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต ตอน 1
13-03-2010
 
------------------------
  หน้าหลัก  
  คำถามที่มีการถามบ่อย  
  เราเล่นพระทำไม ?  
  กฎหมายพระเครื่อง  
  เกร็ดเล็ก-เกร็ดน้อย  
  สมัครเปิดร้านค้า  
  การชำระเงินค่าร้านค้า  
  ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง  
  ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับร้านค้า  
 
หน้าหลัก  อดีตสู่ปัจจุบัน  เว็บบอร์ดชมรม  ตารางประกวดพระ  สาระน่ารู้  เล่าสู่กันฟัง  ติดต่อเรา
Copyright©2024 zoonphra.com
Powered by Tactical IT