มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคอีสาน มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ ตามเพิงผาตามถ้ำและบริเวณใกล้ริมแม่น้ำ เช่น แถบอำเภอบ้านผือจังหวัดอุดรธานี และตามหน้าผาตามริมแม่น้ำโขง เช่น ผาแต้มที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น ในการดำรงชีวิตชุมชนต่างๆ เหล่านี้อาศัยธรรมชาติเป็นสำคัญ เช่น การล่าสัตว์ จับปลา เก็บของป่าเป็นอาหาร บางท่านจึงเรียกสังคมในยุคแรกเริ่มนี้ว่าสังคมล่าสัตว์ (ไพฑูรย์ มีกุสล : 124-125 ) จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียงและแหล่งอื่น ๆ ในอีสานทำให้เราทราบว่า เมื่อประมาณ 5,600 ปี มาแล้ว ชุมชนในอีสานได้อพยพจากที่สูงตามเพิงผา ลงมาอยู่บริเวณที่ต่ำ เช่นที่บ้านเชียง บ้านนาดีในจังหวัดอุดรธานี และที่บ้านโนนนกทาบ้านโนนชัย จังหวัดขอนแก่นชุมชนเหล่านี้ได้พัฒนาตนเอง เป็นชุมชนแบบเกษตรกรรม มีการปลูกพืช เลี้งสัตว์ รู่จักการทำเครื่องปั้นดินเผา การหล่อสำริตและเหล็กตามลำดับซุ่งนับว่าเป็นหัวเหลียวหัวต่อของยุคประวัติศาสคร์ และเริ่มก่อรูปกายเป็นเมืองในเวลาต่อมาสังคมโบราณก่อนประวัติศาสคร์ มีความเป็นอยู่แต่ละกลุ่มแต่ละเผ่าเป็นอิสระ มีความเชื่อทางศาสนาเป็นของกลุ่มตน ไม่ยอมรับความเชื่อจาก คนเผ่าอื่นๆอย่างง่ายๆ ต่อมา ได้เกิดความจำเป็นในการคบค้าสมาคม เพื่อการรำดงชีววิตที่สะดวกและดีขึ้น จึงมีการแลกเปลี่ยนสิ่งของที่หายากระหว่างกลุ่ม บางกลุ่มมีการแก้ปัญหาโดยการแต่งงานกัน แต่ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์และศาสนา ยังเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่ม เมื่อหลายๆกลุ่มเกิดเป็นพันธมิตรกัน จึงทำให้ชุมชนดังกล่าวหันหน้ามาร่วมมือกันสร้างที่อยู่อาศัยให้กว้างขวางใหญ่โตและกายเป็นสังคมเมือง มีการยอมรับในผู้นำที่มีความสามารถ โดยมีศาสานาเป็นเครื่องมือสำคัญในการเมืองการปกครองการพัฒนาของชุมชนเกษตรกรรมมาเป็ฯชุมชนแบบเมืองในภาคอีสาน รวมทั้งเอเซียอาคเนย์นั้นเป็นที่ยอมรับกันว่า ได้เริ่มขึ้นในดินแดน แถบนี้ โดยได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมจากอินเดียและจีน โดยฉพาะอิทธิพลทางด้านศาสนาจากอินเดีย ยังผลให้ชุมชนในดินแดนต่างๆ ได้ก่อตั้งเป็นเมืองหรือเป็ฯรัฐเล็กๆ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา เช่น ฟูนัน จัมปา เจนละ เป็นต้น รัฐเหล่านี้ได้สถาปนาระบบกษัริต์ และพิธีกรรมต่างๆ ในราชสำนัก โดยมีพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธี การได้รับวัฒนธรรมจากอินเดีย จึงเป็ฯการพัฒนาตนเองให้เจริญตามลำดับทั้งในด้านจิตใจและวัตถุ ซึ่งเป็นการพัฒนาสู่ขั้นอารยธรรมสร้างปราสาทที่อยู่ของกษัริต์ เจ้าผ ู้ครองเมืองได้สร้างเมืองล้อมรอบด้วยคูน้ำและป้อมปราการสร้างปราสาทเป็นที่อยู่ของกษัริต์ พระราชวงค์ และพระเจ้า โดยมีพราหมณ์ปุโรหิตอาศัยอยู่อีกส่วนหนึ่ง ในหัวเมือง หรือนคร ชุมชนมนอีสานได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดีย โดยผ่านขึ้นมาตามลำน้ำโขง ( อาณาจักรเจนละ ) และจากภาคกลางของประเทศไทย ( อาณาจักรทวารวดี ) (ไพฑูรย์ มีกุสล 2529 : 127 ) ดังนั้น เมืองใดที่อยู่ริมฝั่งทะเลย่อมได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมได้เร็วกว่า ส่วนเมืองในบันดน ยุคแรกๆ ของอีสานซึ่งอยู่ลึก เข้าไปจะได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมช้ากว่า ดังปรากฏหลักฐานใหเห็นถึงภาพความเจริญรุ่งเรืองของเมืองโบราณ เช่น เมืองฟ้าแดดสูงยางและนครจัมปาศรี โดยเฉพาะเมือง นครจัมปาศรี อันเป็นที่ตั้งอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ในปัจจุบันได้ปรากฏหลักฐานที่เป็นโบราณสถาน โบราณวัคถุ ตลอดจนมีการขุดพบพระพิมพ์ดินเผ าและสถูปบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ อันแสดงให้เห็นถึงความเจริญทางด้านการเมือง และเจริญในทางพระพุทธศาสนาอย่างถึงที่สุด
นครจัมปาศรีมีประวัติอันยาวนานนับเป็นพันปี และได้ถูกเลือนหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ จะเนื่องจากวิกฤตการณ ์หรือเหตุผล ใดก็ ไม่อาจจะทราบได้ จะอย่างไรก็ตามก็ยังมีเค้าเงื่อนพอที่จะสอบค้นได้บ้างจากหลักฐานทางโบราณคดี เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ โดยเฉพาะอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นที่ตั้งนครจัมปาศรี มีโบราณสถานหลายแห่ง และมีโบราณวัตถุหลากหลายชนิด สามารถสอบค้นและเปรียบเทียบอายุสมัยลักษณะเผ่าพันธุ์ ตลอดจนการดำรงชีพ ขนบธรรมเนียมประเพณีของบรรพชนในถิ่นแถบนี้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นตำราเอกสารอื่นๆ พอที่จะอ้างอิงเทียบเคียงได้ด้วย จากข้อสันนิษฐานของ อาจารย์สมชาย ลำดวน ภาควิชาภาไทย และภาษาตะวันออก คณะมนุนยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒมหาสารคาม (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ) สันนิษฐานได้ว่า วัดนครจัมปาศรีมีความเจริญรุ่งเรืองมา 2 ยุค ด้วยกันคือ
1. ยุคทวารวดี ระหว่าง พ.ศ.1000-1200 2. ยุคลพบุรี ระหว่าง พ.ศ. 1600-1800

รูปตัวเมืองนครจัมปาศรี ที่อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
นครจัมปาศรีสมัยทวารวดีมีหลักฐานชี้นำให้เห็นเด่นชัดคือ |
1. หลักฐานจากพระพิมพ์ดินเผาที่ขุดพบจากกรุต่างๆ ในเขตพื้นที่นครจัมปาศรี ทางด้านมนุษยวิทยาทางกายภาพ จะเห็นว่าลักษณะพระพักต์และพระวรกายของพระพิมพ์ เป็นชนพื้นเมืองสยามโบราณฉะนั้นคนที่เราอาศัยอยู่ในนครจัมปาศรีจึงเป็นเชื้อชาติสยามพื้นเมืองดึกดำบรรพ์ นอกจากนั้นยังสังเกตุพระพุทธศิลป์ร่วมสมัยกับพระพิมพ์ แบบพระประถมทำขึ้นประมาณ พ.ศ. 950-1250 โดยจารึกอักษรคฤนต์ หรืออักษรขอมโบราณไว้ด้วยพระพิมพ์ดินเผานาดูนปางประทานพรหรือปางทรงแสดงธรรมบางองค์ที่ ขุดพบที่กรุพระธาตุก็มีอักษรคฤนถ์ทั้งขีดและเขียนด้วยสีแดงจารึกไว้บนแผ่นหลังของพระพิมพ์เหมือนกัน อาจารย์สทชาย ลำดวน ได้เรียนถาม ศจ.ดร.จิตร บัวบุศย์ ราชบัณฑิตสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตเพาะช่าง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) เกี่ยวกับอายุนครจัมปาศรี ว่ามีอายุเก่าแก่แค่ไหน ได้รับคำตอบว่า " อันนี้เราต้องเทียนจากศิลปะอินเดีย ก็เริ่มจากคุปตเริ่มแรก สำหรับที่นครจัมปาศรีจะมีอายุระหว่าง 900 ถึง 1800 "

นครจัมปาศรีเจริญรุ่งเรืองในสมัยลพบุรี ซึ่งมีหลักฐานยืนยัน ดังนี้ | 3. โบราณสถาน เช่น กู่สันตรัตน์ กู่น้อย และศาลานางขาวหลักศิลาจารึก ศิลปวัตถุ และโบราณสถานเหล่านี้ล้วนเป็นศิลปกรรมของขอมสมัยลพบุรีทั้งสิ้น เช่นกู่สันตรัตน์ กู่น้อย ซึ่งเป็นศิลปะแบบบายน(ศิลปแบบบายน พ.ศ. 1724-ราว พ.ศ. 1780) ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายของขอมข้อมูลและหลักฐานเหล่านี้ชี้ได้ชัดเจนว่า นครจัมปาศรีได้เจริญรุ่งเรืองมา 2 ยุค ดังที่กล่าวแล้ว
1. หลักศิลาจารึก 14 บรรทัดที่ขุดพบที่ศาลานางขาว ในเขตนครจัมปาศรี ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ขอนแก่น

ศิลาจารึกศาลานางขาว อักษรขอม ภาษาเขมร อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 ทำจากหินทราย สูง 21 ซม. กว้าง 9 ซม. เลขทะเบียน 364/2516 พบจากการขุดแต่งโบราณสถานศาลานางขาว อ. นาดูน จ. มหาสารคาม
2. ศิลปะวัตถุต่างๆ ทั้งสมบูรณ์และแตกหักที่ขุดพบและแตกกระจายในเขตนครจัมปาศรี เช่น พระวัชรธร พระอิศวร พระนารายณ์ เศียร พระกร และอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก

พระศิวะ หรือ ทวารบาล (นนทิเกศวร) ศิลปะลพบุรี แบบนครวัด พุทธศตวรรษที่ 17 ทำจากหินทราย สูง 175 ซม. เลขทะเบียน 444/2516 พบจากการขุดแต่งกู่น้อย อ. นาดูน จ. มหาสารคาม

กู่สันตรัตน์ อโรคยาศาล ณ ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
พระอริยานุวัตร เขมจารีเถระ ศูนย์วัมนธรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดมหาชัยจังหวัดมหาสารคาม ได้เขียนประวัตินครจัมปาศรีไว้ในหนังสือที่ระลึก เนื่องในงาน ทอดกฐินพระราชทานของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ( มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ) มีข้อความว่า" ในปี พ.ศ. 2492 ท่านเจ้าคุณได้เดินทางไปร่วมฉลองวัด หนองทุ่ม ตำบลนาดูน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ( ตำบลนาดูนเมื่อก่อนขึ้นกับอำเภอวาปีปทุม ปัจจุบันเป็นอำเภอนาดูน ) ได้มีโยมผู้เฒ่าบ้านสระบัว อายุประมาณ 80 ปี ได้ไปร่วมฉลองวัดหนองทุ่มด้วย และได้นำหนังสือก้อม ( หนังสือใบลานขนาดสั้น ) ประวัตินครจัมปาสรี กู่สันตรัตน์ ถวายท่านเจ้าคุณ เมื่อท่านเจ้าคุณได้อ่านหนังสือก้อมแล้ว จึงได้มอบถวายพระครูอนุรักษ์บุญเกต ( เสาโสรโต ) ซึ่งเป็นเจ้าคณะตำบลนาดูนและเป็นผู้สร้างวัดหนองทุ่ม ต่อมาพระครูอนุรักษ์บุญเขตได้มรณะภาพในปี พ.ศ. 2498 หนังสือก้อมดังกล่าวได้สูญหายไปไม่สามารถจะค้นพบได้จะอย่างไรก็ตาม ท่านเจ้าคุณก็ได้เขียนประวัตินครจัมปาศรีไว้ว่า

ดร.พระอริยานุวัตร (เขมจารีเถระ) อดีตเจ้าอาวาสวัดมหาชัย วัดพระอารามหลวงชันตรี
นครจัมปาศรีอยู่ในสมัยมที่ศาสนาพุทธและศษสนา พราหมณ์กำลังเจริญรุ่งเรืองในประเทศนี้ บันดาหัวเมืองน้อยใหญ่ในสมัยนั้นพร้อมกันมานพน้อมเป็นบริวารและต่างก้พร้อมใจกันมาทำค่ายคูเมือง เพื่อป้องกันข้าศึกศัตรู และเพื่อป้องกันบ้านเมืองให้ได้รับความผาสุข ในการใ ช้ตะพัง บึง หนอง ได้สะดวกและใช้เป็นตะพังชุบศรเมื่อเกิดศึกสงคราม
พระยศวรราชเจ้าผู้ครองนครจัมปาศรี อันมีพระนางยศรัศมีเป็นพระราชเทวา มีวงศ์ตระกูลมาจากกษัตริย์เจ้าจิตเสราชา บ้านเมืองขระนั้นมีความสงบสุขและศาสนาพุทธ เจริญรุ่งเรืองในช่วงนั้น มีศัตรูอยู่ทางทิศใต้คือ กษัตริย์วงศ์จะนาศะ แต่ก็ไม่สามารถเข้าทำลายได้เท่าใดนัก พระราชาผู้ครองนครจัมปาศรี ตั้งแต่พระเจ้ายศวราชมาโดยลำดับได้สร้างเทวาลัย ปางค์กู่ มีกู่สันตรัตน์ กุ่น้อย และศาลานางขาวเป็นต้น เพื่อเป็นสถานที่ศักการบูชา ในพิธีกรรมตามธรรมเนียมในศาสนาพรามณ์และศาสนาพุทธตามลำดับ นครจัมปาศรีอยู่ในยุคร่วมสมัยเดียวกับเมืองศรีโคตรบูร เมืองหนองหานหลวง เมืองหนองหานน้อย เมืองสาเกตุหรือร้อยเอ็ดประตูเมืองกุรุนทะนครหรืออโยธยา เมืองอินทปัฐนคร และเมืองจุลมณี ในพุทธศตวรรษที่ 6 ซึ่งตรงกับราชกาลของพระเจ้าสุมินทราชหรือสุมิตตธรรมวงศาธิราชแห่งอาณาจักรโคตระบอง (ศรโคตรบูล) ได้ขยาย อาณาเขตครอบคลุมหัวเมืองน้อยใหญ่จากหนังสือพระธาตุเจดีย์วัดสำคัยและพระครูยอดแก้วโพนสะเม็ด พิมพ์ไดยกระทรวงธรรมการของประเทศลาว เมื่อ พ.ศ. 2517 เรื่องประวัติพระธาตุสีโคตะบอง

ในหนังสืออุรังคธาตุได้กล่าวถึงแคว้นสำคัญไว้ 7 แคว้นด้วยกันคือ |
2. หลักฐานทางสถูปเจดีย์ ศจ.ดร.จิตร บัวบุศย์ กล่าวว่าเจดีย์ส่วนใหญ่ฐานนั้นจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมจัตุรัสนั้นมาจากฐานอุบลมณฑล ซึ่งเป็นต้นแบบนิยมสร้าง กัน ในสมัยคลื่นที่ 3 ของพระพุทธศาสนา ( รุ่งเรืองอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 ถึง 13 ) ที่เข้าสู่ประเทศสยามและนครจัมปาศรีก็ได้รับอิทธฺพลศิลปวัฒนธรรมในคลื่นนี้ด้วย
|