|
 |
 |
 |
 |
หน้าหลัก : อดีตสู่ปัจจุบัน : เว็บบอร์ดชมรม : ตารางประกวดพระ : สาระน่ารู้ : เล่าสู่กันฟัง : ติดต่อเรา |
 |
พระเครื่องเมืองใต้: ทำบุญไหว้พระ
ตำนานพระธาตุขามแก่น วัดเจติยภูมิ ตำบลบ้ายขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น 13-04-2010 Views: 7818 |
|
|
พระธาตุขามแก่น เป็นเจดีย์ที่สำคัญและเก่าแก่ที่สุดองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ องค์พระธาตุขามแก่น ประดิษฐานอยู่ที่วัดเจติยภูมิ อำเภอน้ำพอง ห่างจากตัวจังหวัดขอนแก่นไปตามถนนขอนแก่น - ยางตลาด เลี้ยวซ้ายบริเวณบ้านพรหมนิมิตร อำเภอเมืองขอนแก่น ประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นเจดีย์ที่สำคัญที่รู้จักกันดีแห่งหนึ่งในภาคอีสาน เป็นจุดยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์คู่อีสานอีกแห่งหนึ่ง นอกเหนือจากพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม และพระธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร ไม่ปรากฏอายุการสร้างที่แน่นอน พระธาตุขามแก่น มีประวัติความเป็นมาเป็นเรื่องเล่าสืบขานกันมาช้านาน ว่าภายหลังจากที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพานในวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ที่กรุงกุสินารา เมื่อพระองค์ดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว พระมหาปัสสปเถระเจ้า พร้อมด้วยราชบริพาร ได้มานมัสการถวายพระเพลิง เมื่อถวายพระเพลิงแล้วก็ประกาศให้กษัตริย์ในชนบทต่างๆมารับแจกพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า กษัตริย์นครต่างๆ เมื่อได้รับแจกแล้วก็นำไปประดิษฐานไว้ในเมืองของตน เว้นแต่นครที่อยู่ในปัจจันตประเทศ (ประเทศที่อยู่ห่างไกลมัชฌิมประเทศ) จึงมิได้รับแจก ครั้งต่อมา โฆริยกษัตริย์ เจ้าผู้ครองเมืองโฆรีย์ ที่อยู่ในปัจจันตประเทศ อยู่ห่างไกลกรุงกุสินาราซึ่งได้นามเมืองว่าเมืองกัมพูชา (เขมรเดี๋ยวนี้) รับทราบข่าวมารับแจกพระสารีริกธาตุ (กระดูก)ไม่ทัน เพราะมีการแจกไปหมดแล้ว เหลือแต่พระอังคาร (เถ้าถ่านที่เผาศพ) จึงได้แต่พระอังคาร กษัตริย์โฆริยะจึงนำพระอังคารบรรจุไว้ในกระอูบทอง เพื่อจะนำกลับนครโฆรีย์ ไปสักการะบูชา ครั้นกาลเวลาล่วงเลยไป 3 ปี พระมหากัสสปเถระเจ้า ประสงค์ที่จะนำเอาพระอุรังคะธาตุของพระพุทธเจ้าไปประดิษฐานไว้ในภูกำพร้า (คือ พระธาตุพนมปัจจุบันี้) จึงได้จัดการก่อสร้างพระธาตุพนมขึ้น เมื่อกษัตริย์โฆริยะพร้อมด้วยพระอรหันต์ในเมืองโฆรีย์ทราบข่าว จึงมีศรัทธาที่จะนำพระอังคารของพระพุทธเจ้าที่ได้รับมา ไปบรรจุไว้ในพระธาตุพนมร่วมกับพระอุรังคะของพระพุทธเจ้า จึงได้อัญเชิญพระอังคารของพระพุทธเจ้ามุ่งหน้าไปพระธาตุพนม พร้อมด้วยพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ และยังมีพระยาหลังเขียว เจ้านครพร้อมด้วยราชบริพารอีก 90 คน ออกเดินทางไปยังภูกำพร้าสถานที่ประดิษฐานพระธาตุพนม การเดินทางได้พากันมุ่งหน้ามาทางทิศเหนือ แต่พอมาถึงดอนมะขามแห่งหนึ่ง (ที่ตั้งพระธาตุขามแก่นปัจจุบัน) เป็นเวลาค่ำพอดี ประกอบกับภูมิประเทศที่ราบเรียบ มีห้วยสามแยก น้ำไหลผ่านรอบๆดอน ภายในบริเวณนั้นมีต้นมะขามใหญ่ต้นหนึ่งตายล้มลงแล้ว เปลือกกะพี้กิ่งก้านสาขาไม่มี เหลือแต่แก่นข้างในเท่านั้น จึงได้ใช้เป็นที่เก็บรองรับพระอังคารของพระพุทธเจ้า ครั้นรุ่งเช้าก็ออกเดินทางต่อ แต่เมื่อไปถึงปรากฎว่าการก่อสร้างพระธาตุพนมได้เสร็จเรียบร้อยแล้วจะเอาอะไรเข้าบรรจุอีกไม่ได้ คณะจึงได้แต่เพียงพากันนมัสการพระธาตุพนม แล้วเดินทางกลับถิ่นเดิม แต่เมื่อเดินทางมาถึงดอนมะขาม ที่เคยพักแรมเดิม (ที่ตั้งองค์พระธาตุขามแก่นปัจจุบัน) เห็นต้นมะขามที่ตายล้มแล้วนั้น กลับลุกขึ้นผลิดอกออกผล แตกกิ่งก้าน สาขา มีใบเขียวชะอุ่มแลดูงามตายิ่งนัก จะเป็นด้วยนิมิตหรืออำนาจอภินิหารของพระอังคารพระพุทธเจ้าก็มิทราบได้ คณะพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์และพระยาหลังเขียว จึงได้ตกลงเห็นดีในการก่อสร้างพระธาตุครอบต้นมะขาม บรรจุพระอังคารของพระพุทธเจ้าไว้พร้อมด้วยเงินทอง แก้วแหวนแสนสารพัดนึก โดยทำเป็นพระพุทธรูปแทนพระองค์ เข้าบรรจุไว้ในพระธาตุนี้ เมื่อการก่อสร้างเสร็จ พระยาหลังเขียวก็จัดการสร้างบ้านสร้างเมืองขึ้น บริเวณใกล้ๆกับพระธาตุนั้น มีกำแพงทั้ง 4 ทิศ ( ซึ่งซากศิลากำแพงที่หักพังยังมีหลักฐานอยู่ห่างจากองค์พระธาตุประมาณ 25 เส้น ) ส่วนพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ ก็จัดการสร้างวัดวาอารามขึ้น คือ วิหารและพัทธสีมา เคียงคู่กับพระธาตุ เหตุการณ์เป็นดังนี้ จึงปรากฎนาม "พระธาตุขามแก่น" และเมื่อกาลเวลาล่วงเลยมา พระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ ได้ดับขันธ์ปรินิพพานในสถานที่นี้ทุกองค์ สรีระธาตุของท่านทั้ง 9 ก็ได้บรรจุไว้ในพระธาตุองค์เล็ก ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระธาตุใหญ่ ด้วยเหตุนี้ประชาชนจึงนิยมเรียกพระนามพระธาตุบ้านขามว่า "ครูบา ทั้ง 9 เจ้ามหาธาตุ" จนถึงปัจจุบัน
|
|
การบูรณะปฎิสังขรณ์ |
|
พระธาตุขามแก่น วัดเจติยภูมิ ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นปูชะนียสถานคู่บ้านคู่เมืองขอนแก่น เป็นที่เคารพบูชาของชาวจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน อยู่ห่างจากตัวเมืองขอนแก่น ประมาณ 26 กิโลเมตร การบูรณะซ่อมแซม มีการเรียบเรียงในคราสมโภชการตั้งฉัตร พ.ศ.2499 ว่า ครั้งแรกในสมัยพระครูแพง พุทธสโร เจ้าอาวาสวัดเจติยภูมิ ระหว่าง พ.ศ.2459 - 2468 เนื่องจากยอดพระธาตุหักและแตกผุพัง การซ่อมแซมรักษารูปเดิมไว้มิเปลี่ยนแปลง ใช้เวลา 3 ปีสำเร็จ การบูรณะซ่อมแซมครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2498 - 2499 พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระสารธรรมมุณี เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น ใคร่รักษาไว้และปรับปรุงให้เป็นมรดกของบรรพบุรุษ สืบทอดเป็นมรดกทางศาสนามิเสื่อมสูญ จึงดำริจัดทำฉัตรพระธาตุขึ้น.. ในการตั้งฉัตรใหม่ครั้งนี้ได้มีการซ่อมแซมบูรณะยอดพระธาตุ และบูรณะองค์พระธาตุใหม่ด้วยโครงเหล็กและปูนซีเมนต์ และจัดงานตั้งฉัตรพระธาตุ ในวันอาทิตย์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีวอก ตรงกับวันที่ 11 มีนาคม 2499 ปี พ.ศ.2531 และปี พ.ศ.2534 - 2535 ดำเนินการบูรณะพระวิหาร อีกครั้งโดยงบประมาณจากกรมศิลปากร และ งบประมาณจากมูลนิธิพระธาตุขามแก่น และศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ควบคุมโดยหน่วยศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น มีการเสริมความมั่นคงแข็งแรงและความสวยงาม รวมทั้งเทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก และอาคาร สถานที่โดยรอบๆ การบูรณะปฎิสังขรณ์ครั้งใหญ่ คือเมื่อ พ.ศ.2544-2546 เป็นงานอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานพร้อมกับงานปรับปรุงภูมิทัศน์ จนมีความสวยงามดังเช่นปัจจุบัน สมัยนายเสริมศักดิ์ พงษ์พาณิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ.2548-2549) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นขณะนั้น กล่าวคือ การบูรณะปฎิสังขรณ์องค์พระธาตุขามแก่นด้วยวัสดุปูนหมักตามกรรมวิธีโบราณ งานลงรักปิดทอง งานซ่อมแซมฉัตร 5 ชั้น กำแพงแก้ว องค์พระธาตุอรหันต์ แนวกำแพง งานปรับปรุงภูมิทัศน์ ทำการรื้อถอนศาลารายทั้ง 4 ทิศที่เสื่อมสภาพ เพื่อก่อสร้างใหม่ และได้เปลี่ยนยอดฉัตรองค์พระธาตุขามแก่นจากโลหะที่ลงรักปิดทองมาเป็นยอดฉัตรทองคำ (น้ำหนักทอง 3,544.10 กรัม มูลค่า 1,536,731 บาท) พร้อมทั้งสร้างฉัตรประดับองค์พระองค์พระธาตุอรหันต์ เพื่อให้สวยงามกลมกลืนควบคู่กับองค์พระธาตุขามแก่น นอกจากนี้สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ทรงประทานพระบรมสารีกธาตุ 9 องค์ ให้มาบรรจุใว้ที่องค์พระธาตุขามแก่นด้วย วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม 2546 สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงบรรจุพระบรมสารีกธาตุ และทรงยกยอดฉัตรทองคำองค์พระธาตุขามแก่น ตรงกับสมัยนายเสริมศักดิ์ พงษ์พาณิช เป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย นายเจตน์ ธนวัฒน์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น |
|
| | |
|
พระเครื่องเมืองใต้: ทำบุญไหว้พระ |
| |
|
|
|
|  |
 |
 |
|
|
------------------------ |
|
|