เว็บลิ้งค์ชมรมต่างๆ

เว็บไซต์วัดเกจิดังในสยาม
วัดอัมพวัน จ. สิงห์บุรี
วัดหนองป่าพง จ. อุบลฯ
วัดเขาแหลม จ. สระแก้ว
หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
วัดหัวป่า อ. ระโนด จ. สงขลา
วัดแก้วโกรวาราม จ. กระบี่
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
หลวงสมชาย วัดเขาสุกิม
ป้อนหมายเลขสิ่งของ


***พิมพ์หมายเลขสิ่งของจำนวน 13 หลัก

รายละเอียดเพิ่มเติม

  หน้าหลัก  :  อดีตสู่ปัจจุบัน  :  เว็บบอร์ดชมรม  :  ตารางประกวดพระ  :  สาระน่ารู้  :  เล่าสู่กันฟัง  :  ติดต่อเรา
พระเครื่องเมืองใต้: ทำบุญไหว้พระ
วัดพระธาตุช่อแฮ
11-04-2010 Views: 7156

วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ เก่าแก่ คู่บ้าน คู่เมืองจังหวัดแพร่และเป็นวัดพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล

วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 11 ถนนช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ บนเนื้อที่ 175 ไร่ บุคคลใดที่มาเที่ยวจังหวัดแพร่แล้วจะต้องมานมัสการพระธาตุช่อแฮ เพื่อเป็นศิริมงคลกับตนเอง จนมีคำกล่าวว่า ถ้ามาเที่ยวจังหวัดแพร่ แต่ไม่ได้มานมัสการพระธาตุช่อแฮเหมือนไม่ได้มาจังหวัดแพร่แพร่ การเดินทางมาเที่ยววัดพระธาตุช่อแฮ ถนนสายหลัก คือ ถนนช่อแฮ เริ่มตั้งแต่สี่แยกบ้านทุ่ง อำเภอเมืองแพร่ ซึ่งเป็นสี่แยกใจกลางเมืองแพร่ เข้าสู่ถนนช่อแฮ และตรงไปตามถนนช่อแฮ ผ่านโรงพยาบาลแพร่ สนามบินจังหวัดแพร่ หมู่บ้านเหล่า หมู่บ้านนาจักร หมู่บ้านแต หมู่บ้านมุ้ง สถานที่ตั้งของวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง อยู่ในบริเวณเขตเทศบาลตำบลช่อแฮ ด้วยระยะทาง 9 กิโลเมตร จากตัวเมืองจังหวัดแพร่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดพระธาตุช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2549 โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับทั่วไป เล่ม 123 ตอนที่ 96 ง วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 (พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้มวลสารจากพระธาตุช่อแฮ ทำพระสมเด็จจิตรลดา

อาณาเขตวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง

ลักษณะสถาปัตยกรรม

วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง เป็นวัดที่ตั้งอยู่เนินเขาเตี้ย สูงประมาณ 28 เมตร องค์พระธาตุช่อแฮ เป็นเจดีย์พุกามรูปแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะแบบเชียงแสน บุด้วยทองดอกบวบสูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร ลักษณะองค์พระธาตุตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยม 1 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยม 3 ชั้นรองรับ ถัดไปเป็นฐานบัวคว่ำและชุดท้องไม้แปดเหลี่ยม ซ้อนลดชั้นกันขึ้นไป 7 ชั้น จากนั้นเป็นบัวระฆัง 1 ชั้น และหน้ากระดานหนึ่งชั้น จนถึงองค์ระฆังแปดเหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังค์ย่อมุมไม้สิบสองและปล้องไฉน ส่วนยอดฉัตรประดับตกแต่งด้วยเครื่องบนแบบล้านนา หุ้มด้วยทองจังโก้ตลอดทั้งองค์ มีรั้วเหล็กรอบองค์พระธาตุ 4 ทิศ มีประตูเข้าออก 4 ประตู แต่ละประตูได้สร้างซุ้มแบบปราสาทล้านนาไว้อย่างสวยงาม

ประวัติ

พระธาตุช่อแฮมีตำนานประวัติความเป็นมากล่าวไว้หลายทางด้วยกัน ดังนี้

[แก้] จากพระราชพงศาวดารว่าด้วยกรุงสุโขทัย

จากพระราชพงศาวดารว่าด้วยกรุงสุโขทัย หอสมุดแห่งชาติ กล่าวถึงวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวงว่า สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1879-1881 ในสมัยที่พระมหาธรรมราชา (ลิไท) ยังทรงเป็นพระมหาอุปราชซึ่งครองเมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) อยู่ในครั้งนั้น พระองค์แก่ประชาชนและทรงโปรดให้สร้างสถานที่ทางศาสนาที่ทางศาสนาตามที่ปรากฏในพุทธประวัติในที่ต่าง ๆ และเลือกยอดดอยโกสิยธชัคคะ เพื่อเป็นที่สร้างพระเจดีย์พระธาตุช่อแฮ

ตามตำนานกล่าวว่า พระมหาราชาลิไทพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุแก่ ขุนลัวะอ้ายก้อมให้นำมาบรรจุไว้ในฐานเจดีย์ เมื่อขุนลัวะอ้ายก้อมมาถึงบริเวณดอยโกสิยธชัคคะเห็นว่าทำเลดีจึงสร้างเจดีย์ขึ้น และนำผอบพระบรมสารีริกธาตุบรรจุบรรจุไว้ในสิงห์ทองคำสร้างแท่นที่ตั้งผอบด้วยเงินและทอง แล้วตั้งสิงห์ทองคำไว้ โดยโบกปูนทับอีกชั้นหนึ่ง หลังจากนั้นก็จัดงานบำเพ็ญกุศลเฉลิมฉลอง 7 วัน 7 คืน ภายหลังเมืองแพร่ถูกรวมเข้ากับอาณาจักรล้านนาไทยกษัตริย์ล้านนาก็ทรงได้ทะนุบำรุงพระธาตุช่อแฮตามลำดับ จนกระทั่งราชวงศ์นี้หมดอำนาจลง พระธาตุช่อแฮก็ทรุดโทรมเป็นอันมากจนล่วงมาถึง พ.ศ. 2467 พระครูบาศรีวิชัย (หรือตุ๊เจ้าวัดบ้านปางจังหวัดลำพูน) ได้เป็นประธานบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดแพร่ และมีพระมหาเมธังกร (พรหม พรหมเทโว) อดีตเจ้าคณะจังหวัดแพร่ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในการบูรณปฏิสังขรณ์ จนทำให้พระธาตุช่อแฮกลับมามีความงดงาม และเป็นแหล่งเชิดหน้าชูตาของจังหวัดแพร่ และเป็นแหล่งเชิดหน้าชูตาของจังหวัดแพร่

พระธาตุช่อแฮสร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าลิไท แห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ หัวหน้าชนชาวละว้าได้สร้างองค์พระธาตุสูง ๓๓ เมตร ฐานเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง กว้างด้านละสิบเมตร องค์พระธาตุ บุด้วยทองดอกบวบ เป็นศิลปแบบเชียงแสน ภายในบรรจุพระเกศธาตุ

[แก้] ตำนานการสร้างวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง

พระธาตุช่อแฮ มีตำนานประวัติความเป็นมา กล่าวไว้หลายทางดังนี้ 1.จากพระราชพงศาวดารว่าด้วยกรุงสุโขทัย หอสมุดแห่งชาติ กล่าวถึงวัดพระธาตุช่อแฮว่า สร้างขึ้นระหว่างจุลศักราช 586 - 588 (พ.ศ. 1879 - 1881) ในสมัยที่พระมหาธรรมราชาธิราช (ลิไท) ยังทรงเป็นพระมหาอุปราช พระราชบิดาโปรดพระราชทานให้ไปครองเมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) พระองค์มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงสั่งสอนศีลธรรมแก่ประชาชนและทรงวางแบบแผนคณะสงฆ์ตามลังกาทวีป โปรดจัดให้มีพระสงฆ์ 2 ฝ่าย คือ คามวาสี ศึกษาพระธรรมวินัย เพื่อสั่งสอนคน และอรัญญวาสี ศึกษาวิปัสสนา มุ่งความสงบแห่งจิตใจ

นอกจากนั้นยังทรงทะนุบำรุงพระพุทธศานาโดยโปรดให้สร้างสถานที่ทางศาสนาตามที่ปรากฏในพุทธประวัติในที่ต่างๆและทางเลือกสถานที่ยอดดอยโกสิยธชัคคะจึงโปรดให้สร้างพระเจดีย์ 1 องค์ และขนานนามตามความหมายของยอดดอยว่า "พระธาตุช่อแฮ" ตำนานเมืองสุโขทัยกล่าวถึงความตอนนี้ว่า พระมหาธรรมราชาลิไท พระราชทาน พระบรมสารีริกธาตุแก่ขุนลัวะอ้ายก้อม นำไปบรรจุไว้ในฐานเจดีย์ที่สร้างให้คนทั้งหลายกราบไหว้แทนพระพุทธองค์ ฝ่ายขุนลัวะอ้ายก้อมได้ชักชวนหัวเมืองต่างๆได้มาร่วมกันสร้างพระเจดีย์ โดยช่วยกันสำรวจสถานที่ที่จะสร้าง เมื่อขุนลัวะอ้ายก้อมมาถึงบริเวณดอยโกสิยธชัคคะเห็นเป็นทำเลดีเหมาะสมจึงให้สร้างพระเจดีย์ขึ้น ขุนลัวะอ้ายก้อมเอาผอบพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ในสิงห์ทองคำสร้างแท่นที่ตั้งผอบด้วยเงินและทองแล้วตั้งสิงห์ทองคำไว้ ให้โบกปูนทับอีกชั้นหนึ่ง หลังจากนั้นก็จัดงานบำเพ็ญกุศลเฉลิมฉลอง 7 วัน 7 คืน ในเวลาต่อมาเมืองแพร่ได้เข้ามารวมอยู่ในอาณาจักรลานนาไทยเมื่อ พ.ศ. 1986 กษัตริย์ลานนาก็ได้ทรงทะนุบำรุงเสริมสร้างพระธาตุช่อแฮมาโดยลำดับ

จนกระทั่งราชวงศ์นี้หมดอำนาจลง มิได้เป็นใหญ่ในล้านนาแล้ว พระธาตุช่อแฮก็ทรุดโทรมปรักหักพังลงเป็นอันมาก ล่วงมาจนถึง พ.ศ. 2467 ครูบาศรีวิชัย (หรือตุ๊เจ้าวัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน) นักบุญแห่งลานนาได้มาเป็นประธานบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุ ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดแพร่ ประชาชนชาวจังหวัดแพร่ ซึ่งมี พระมหาเมธังกร (พรหม พฺรหฺมเทโว) อดีตเจ้าคณะจังหวัดแพร่ โดยรื้อเอาทองจังโกออกแล้วเสริมสร้างองค์พระเจดีย์ให้มีขนาดกว้างและสูงขึ้น โดยกว้าง 11 เมตร สูง 33 เมตร โดยรอบองค์พระธาตุมีลำเวียง หรือรั้วเหล็กล้อมรอบหนาแน่น มีประตูเข้า ออก 4 ประตู อยู่ทิศละประตูแต่ละประตูมีซุ้มสลักลวดลายอย่างงดงาม

[แก้] ตำนานพระธาตุช่อแฮอีกทางหนึ่ง

ตำนานพระธาตุช่อแฮอีกทางหนึ่ง กล่าวถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ได้เสด็จมาถึงเมืองพล (เมืองแพร่) ประทับ ณ ดอยโกสิยธชัคคะบรรต ขณะนั้นเจ้าลาวนามว่า ขุนลั๊วะอ้ายก้อม ได้มากราบไหว้พระพุทธเจ้าที่ดอยนี้ พระพุทธเจ้าได้แสดงปาฏิหารย์ให้ขุนลั๊วะอ้ายก้อมเห็นและประทานพระบรมสารีริกธาตุ (พระเกศาธาตุ) เป็นที่ระลึก โดยเอาเส้นผมพระเกศาเส้นหนึ่งให้แก่ขุนลั๊วะอ้ายก้อมแล้วรับสั่งให้เอาไปไว้ในถ้ำที่อยู่ใกล้ ๆ และรับสั่งอีกว่าเมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพานไปแล้ว ให้เอาพระบรมสารีริกธาตุพระข้อศอกข้างซ้าย มาบรรจุไว้ ณ สถานที่นี้ และเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพานไปแล้ว 218 ปี สมเด็จพระเจ้าอโศกมหาราชและพระอรหันต์ทั้งปวงได้ร่วมอธิษฐาน อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุในโกศที่เตรียมไว้นั้น ให้ไปสถิตย์อยู่ในสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงตั้งไว้ เมื่อสิ้นคำอธิษฐานพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายก็เสด็จออกจากโกศโดยทางอากาศไปตั้งอยู่ที่แห่งนั้น ๆ ทุกแห่ง ส่วนพระบรมสารีริกธาตุที่เหลืออยู่ พระอรหันต์ทั้งปวงก็อัญเชิญไปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่เหลืออยู่ พระอรหันต์ทั้งปวงก็อัญเชิญไปบรรจุในเจดีย์ 84,000 องค์นั้น แล้วประกาศแก่เทวดาทั้งหลายให้พิทักษ์รักษาตลอดไป จนกว่าหมดอายุแห่งพระพุทธศาสนา 5,000 พระวัสสา

[แก้] ตำนานพระธาตุช่อแฮอีกจากข้อมูลประชาสัมพันธ์ของทางวัดพระธาตุช่อแฮ

ตำนานพระธาตุช่อแฮอีกทางหนึ่ง กล่าวถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าได้เสด็จมาถึงเมืองพล (เมืองแพร่) ประทับ ณ ดอยโกสัยธชัคคะบรรพต ขณะนั้นมีเจ้าลาวนามว่าขุนลั๊วะอ้ายค้อม (อ่านว่า "ก้อม" ) ได้มากราบไหว้พระพุทธเจ้าที่บนดอยนี้ พระพุทธเจ้าได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้ขุนลั๊วะอ้ายค้อมเห็น เนื่องจากสถานที่นี้เป็นที่ร่มรื่น เหมาะสมที่จะตั้งเป็นสถานที่ไว้ในพระพุทธศาสนา พระองค์ได้ประทานพระบรมสารีริกธาตุที่ระลึก

โดยเอาเส้นพระเกศาเส้นหนึ่งให้แก่ขุนลั๊วะอ้ายก้อมไว้ มีรับสั่งให้เอาเส้นพระเกศานี้ไปไว้ในถ้ำที่อยู่ใกล้บริเวณนี้ พระองค์ทรงรับสั่งอีกว่าเมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ให้เอาพระบรมสารีริกธาตุพระศอกข้างซ้ายมาบรรจุไว้ ณ สถานที่นี้ และต่อไปภายหน้าจะได้ชื่อว่าเมืองแพร่ โดยเป็นเมืองใหญ่ซึ่งพระองค์เคยเสด็จประทับนั่ง ณ ใต้ต้นหมากนี้ เมื่อทรงทำนายแล้วก็เสด็จจาริกไปยังเมืองต่าง ๆ ที่ทรงเห็นว่าควรจะเป็นที่ตั้งพระธาตุได้ จากนั้นจึงเสด็จกลับไปยังพระเชตวันอารามและหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว 218 ปี ตรงกับสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช พระเจ้าอโศกมหาราชและพระอรหันต์ทั้งปวงได้ร่วมกันอธิษฐานว่าเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่นั้น เคยเสด็จไปยังถิ่นฐานบ้านเมืองหลายแห่ง แล้วทรงหมายสถานที่ที่ควรจะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้

จึงขออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่ได้บรรจุในโกศที่เตรียมไว้นั้นไปสถิตอยู่ในสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงหมายไว้นั้นเถิด เมื่ออธิษฐานแล้วพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายก็เสด็จออกจากโกศโดยทางอากาศไปตั้งอยู่ที่แห่งนั้น ๆ ทุกแห่ง ส่วนพระบรมสารีริกธาตุเหลืออยู่ พระอรหันต์ทั้งปวงก็อัญเชิญไปบรรจุในพระเจดีย์ 84,000 องค์นั้น แล้วประกาศแก่เทวดาทั้งหลายให้พิทักษ์รักษาตลอดไป จนกว่าจะหมดอายุแห่พระพุทธศาสนา 5,000 พระวัสสา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนพระธาตุช่อแฮ เป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 และได้ประกาศกำหนดขอบเขตโบราณสถาน เล่มที่ 97 ตอนที่ 159 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2523

พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุพระศอกซ้ายของพระพุทธเจ้า

พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะเชียงแสน สูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร สร้างด้วยอิฐโบกปูนหุ้มด้วยแผ่นทองเหลืองลงรักปิดทอง สำหรับชื่อพระธาตุช่อแฮนั้น บ้างว่าได้มาจากชื่อผ้าแพรชั้นดีซึ่งทอจากสิบสองปันนา และชาวบ้านนำมาผูกบูชาพระธาตุ บ้างก็ว่ามาจากผ้าแพรที่ขุนลัวะอ้ายก๊อมนำมาถวาย ทุกปีจะมีงานนมัสการพระธาตุในวันขึ้น 9 ค่ำ- ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 (ประมาณเดือนมีนาคม)

[แก้] สิ่งสำคัญภายในวัด

  • พระธาตุช่อแฮ พระธาตุประจำปีเกิดขาล

พระธาตุช่อแฮ พระธาตุประจำปีเกิดปีเสือ (ปีขาล) พระธาตุช่อแฮ เป็นพระธาตุ1 ใน12 ราศี คือ เป็นพระธาตุประจำปีเกิดสำหรับคนที่เกิดปีเสือ (ปีขาล) หากนำผ้าแพรสามสีไปถวายจะทำให้ชีวิตมีพลังคุ้มครองป้องกันศัตรูได้ การสวดและไหว้ ให้เริ่มต้นนะโม 3 จบ แล้วสวดตามด้วยคาถาบูชาพระธาตุ 5 จบ พลังบารมีจะดลบันดาลให้มีชีวิตที่ดีขึ้น พระธาตุช่อแฮ หมายถึง เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระศอกซ้ายและพระเกศาธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและประดับบูชาด้วยผ้าแพรอย่างดี

  • คำไหว้พระธาตุช่อแฮ

บทสวด คำแปล
โกเสยยะธะชัคคะปัพพะเต สัตตะมะโนรัมเม พุทธะเกสาธาตุ ปะติฏฐิตา อะหัง วันทามิ สัมพะทา อะหัง วันทามิ ธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส ข้าพเจ้าขอไหว้พระเกศาธาตุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งประดิษฐานอยู่บนธชัคคบรรพตแห่งเมืองโกศัย อันเป็นที่รื่นรมย์ใจของชนทั้งหลาย โดยประการทั้งปวงในกาลทุกเมื่อแล

ลักษณะองค์พระธาตุ เป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสองศิลปะแบบเชียงแสนสูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 11 เมตร สร้างด้วยอิฐโบกปูน หุ้มด้วยแผ่นทองเหลืองลงรักปิดทอง

พระธาตุช่อแฮ เป็นพระธาตุ 1 ใน 12 ราศี คือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดสำหรับคนที่เกิดปีขาล หากนำผ้าแพรเนื้อดีไปถวายสักการะองค์พระธาตุช่อแฮ จะทำให้ชีวิตมีความผาสุข มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต หน้าที่การงาน และมีพลังคุ้มครองป้องกันศัตรูได้

  • หลวงพ่อช่อแฮ

เป็นพระประธานประดิษฐานในพระอุโบสถ ศิลปะล้านนา เชียงแสน สุโขทัย สันนิฐานว่า สร้างขึ้นหลังจากสร้างองค์พระธาตุช่อแฮแล้ว มีอายุหลายร้อยปี หน้าตักกว้าง 3.80 เมตร สูง 4.50 เมตร ก่อสร้างด้วยอิฐโบกปูน ลงรักปิดทอง


พระเจ้าทันใจหรือหลวงพ่อทันใจ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิปูนปั้น ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 30 นิ้ว สูงประมาณ 2 ศอก (กว้าง 80 ซม. สูง 1.20 ซม) เป็นพระพุทธรูปองค์ใหม่ที่สร้างขี้นเมื่อปี พ.ศ. 2465 ผู้สร้างคือ ชาวไทยใหญ่ (เงี้ยว) สร้างพระพุทธรูปองค์นี้แทนพระพุทธรูปองค์เดิมที่หล่อด้วยจืน (ตะกั่ว) ที่ถูกลักไป พระเจ้าทันใจหรือหลวงพ่อทันใจ (ทางเหนืออ่านว่า พระเจ้าตันใจ๋) เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีผู้นิยมมากราบไหว้ บนบานศาลกล่าวอยู่เสมอ เชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปที่ใครมาขอพรแล้ว จะได้สิ่งนั้นอย่างสมประสงค์ ด้านหลังซุ้มพระเจ้าทันใจประดิษฐานอยู่ มีไม้เสี่ยงทายทำด้วยไม้รวก หรือไม้สัก มีความยาวเกิน 1 วา คาดว่าใช้แทนไม้เซียมซี เมื่อผู้ใดต้องการเสี่ยงทายสิ่งใด ก็จะนำไม้ดังกล่าวมาทาบกับช่วงแขนที่กางเหยียดตรงไปจนสุดแขนทั้งสองข้าง ความยาวของวาอยู่ตรงจุดใดของไม้ก็จะ ทำเครื่องหมายไว้แล้วนำไม้มาอธิษฐานเบื้องหน้าพระเจ้าทันใจว่า สิ่งที่ตนประสงค์นั้นจะสำเร็จหรือไม่ หากสำเร็จก็ขอให้ความยาวของตนเลยจุดที่ทำเครื่องหมายไว้ออกไป เมื่ออธิฐานเสร็จแล้ว ก็นำไม้เสี่ยงทายขึ้นมาวาอีกครั้งหนึ่ง

  • คำไหว้หลวงพ่อทันใจหรือพระเจ้าทันใจ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า 3 จบ)

นะโม นะมะ สะขัง โกธะมัง ใจจะคุ (ว่า 3 จบ)


เป็นพระพุทธรูปปางพระนาคปรก ประดิษฐานอยู่ในวิหารศิลปะลานนาประยุกต์ ภายในมีภาพจิตกรรมฝาผนังอย่างสวยงาม สร้างขึ้นในปี 2534 โดยมีเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร ป.ธ.9) เป็นประธานเททองหล่อและเบิกพระเนตร องค์พระขนาดหน้าตักกว้าง 3.60 เมตร สูง 7 เมตร สร้างด้วยโลหะทองเหลือง ลงรักปิดทอง


  • พระเจ้าไม้สัก

สร้างด้วยไม้สักทอง หน้าตักกว้าง 33 นิ้ว สูง 87 นิ้ว เป็นศิลปสมัยลานนา

  • พระเจ้านอน

เป็นพระพุทธรูปที่ชาวจังหวัดแพร่เคารพนับถือ ก่อนจะขึ้นไหว้องค์พระธาตุช่อแฮ ชาวบ้านมักจะแวะไหว้พระเจ้านอนก่อนเสมอ สร้าง เมื่อขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เหนือ พ.ศ. 2459 เป็นพระเจ้านอนศิลปะพม่า ขนาดยาว 3.70 เมตร สูง 1.35 เมตร ก่อสร้างด้วยอิฐโบกปูน ลงรักปิดทอง

  • ธรรมมาสน์โบราณ

ธรรมมาสน์โบราณ มีความสวยงามวิจิตรบรรจง ลวดลายไทยผสมศิลปะทางล้านนา ซึ่งมีนางแก้ว ทองถิ่น สร้างอุทิศให้ นายคลอง ทองถิ่น เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2492 ก่อสร้างด้วยไม้สักแกะสลัก ลงรักปิดทอง

  • กรุอัฐิครูบาศรีวิชัย

บรรจุอัฐิธาตุส่วนที่ 5 จากจำนวน 7 ส่วนของครูบาศรีวิชัย สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกบุญคุณที่ท่านได้ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา

  • บันไดนาคโบราณ

ภายในวัดพระธาตุช่อแฮมีบันไดนาค อยู่ 4 ด้าน และบันไดสิงห์ 1 ด้าน รวม 5 บันได ซึ่งล้วนมีความยาวและจำนวนขั้นไม่เท่ากัน

  • เจ้ากุมภัณฑ์

มีความเชื่อว่า นาคที่เฝ้าบันไดกุมภัณฑ์ ด้านทิศตะวันออกขององค์พระธาตุช่อแฮ ชอบหนีออกไปเล่นน้ำที่ลำน้ำแม่สาย หมู่บ้านในเป็นประจำ ชาวบ้านจึงสร้างเจ้ากุมภัณฑ์ นั่งทับขดหางนาคไว้ เพื่อมิให้หนีไปเล่นน้ำอีก

  • แผ่นศิลาจารึก

ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าพระเจ้าทันใจ จารึกเรื่องราวการสร้างบันไดด้านทิศตะวันตก

  • สวนรุกขชาติช่อแฮ

ตั้งอยู่ที่ดินของวัด มีพื้นที่ 52 ไร่ เหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจและศึกษาพันธุ์ไม้ มีต้นไม้นานาพันธุ์กว่า 1,000 ชนิด

[แก้] ที่มาของประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ

หลังจากพระยาลิไท ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดพระธาตุช่อแฮแล้ว ได้โปรดให้มีงานฉลองสมโภช 5 วัน 5 คืน ระหว่างวันขึ้น 11 ค่ำ ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เหนือ เดือน 4 ใต้ ซึ่งอยู่ระหว่างในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ต้นเดือนมีนาคมของทุกปี นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาเจ้าผู้ครองนครแพร่ทุกองค์จึงได้ยึดถือประเพณีไหว้พระธาตุประจำปี สืบมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

[แก้] ประเพณีไหว้พระธาตุ

ประเพณีการไหว้พระธาตุช่อแฮเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน เดิมจะจัด 5 วัน 5 คืน ในปี พ.ศ. 2536 ได้เปลี่ยนแปลงเป็น 7 วัน 7 คืน วันแรกของงาน จะเริ่มขึ้นในวันขึ้น 9 ค่ำเดือน 6 เหนือ เดือน 4 ไต้ของทุกปีซึ่งถือว่าการจัดงานไหว้พระธาตุช่อแฮ ยึดถือตามจันทรคติเป็นหลัก ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่ แห่ตุงหลวง ในการจัดงานมีขบวนแห่อันยิ่งใหญ่ประกอบไปด้วยริ้วขบวนของทุกอำเภอ การฟ้อนรำ ขบวนช้างเจ้าหลวง และเครื่องบรรณาการ ขบวนแห่ กังสดาล ขบวนแห่หมากเป็ง ขบวนต้นผึ้ง ขบวนแห่ผ้าห่มองค์พระธาตุ 12 ราศี ซึ่งประกอบด้วยขบวนตุง 12 ราศรี ขบวนข้าวตอกดอกไม้ ต้นหมาก ต้นผึ้ง ต้นดอก ขบวนแห่ผ้าห่มองค์พระธาตุ 12 ราศรี ขบวนกังสดาล ขบวนตุง ขบวนฟ้อนรำ มีการเทศน์และมีการเทศน์และฟังเทศน์มหาชาติ มหาเวสสันดรชาดก ทั้งกลางวันและกลางคืน สำหรับกลางคืนมีมหรสพสมโภชตลอดงาน



พระเครื่องเมืองใต้: ทำบุญไหว้พระ
»พระมหาเจดีย์ชัยมงคล จังหวัดร้อยเอ็ด
23-04-2010
»พระธาตุเชิงชุม
14-04-2010
»พระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน
14-04-2010
»พระธาตุไชยา
14-04-2010
»พระบรมธาตุดอยสุเทพ
14-04-2010
»พระธาตุบังพวน
14-04-2010
»พระธาตุนารายณ์เจงเวง
14-04-2010
»ประวัติพระธาตุดอยตุง
14-04-2010
»วัดพระธาตุลําปางหลวง
14-04-2010
»พระธาตุแช่แห้ง จ. น่าน
13-04-2010
»วัดพระธาตุช่อแฮ
11-04-2010
»ตำนานพระธาตุขามแก่น วัดเจติยภูมิ ตำบลบ้ายขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
13-04-2010
»ประวัติ หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย
21-03-2010
»เบิ่งนครพนมไหว้พระธาตุประจำวันเกิด
14-03-2010
»นมัสการพระธาตุศรีคุณ พระธาตุประจำวันเกิดของคนเกิดวันอังคาร
14-03-2010
»พระบรมธาตุนครชุม
12-03-2010
»ประวัติพระบรมธาตุ และ วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช
11-03-2010
»พระธาตุนาดูน
11-03-2010
»พระธาตุศรีสองรัก
11-03-2010
»ไหว้พระธาตุเรณู
13-03-2010
»ล่องใต้ ไปแล ‘เมืองลิกอร์’ ณ นครศรีธรรมราช
11-03-2010
»รับขวัญปีใหม่ ไหว้พระงามเมืองบางกอก
11-03-2010
»สืบสานศาสนา นมัสการองค์พระธาตุพนม
14-03-2010
»หลงเสน่ห์ "เมืองแปดริ้ว"
11-03-2010
»ขอพรความรัก จากเทพตรีมูรติ
11-03-2010
»พาเที่ยว ขอพร 9 วัด
11-03-2010
»วันเข้าพรรษา
11-03-2010
»ภาพความงดงามของวัดร่องขุ่น
11-03-2010
»ไหว้พระ ทำบุญ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ “9 มหามงคลมรดกโลก”
11-03-2010
»ไหว้พระ 15 วัดทั่วกรุง
11-03-2010
 
------------------------
  หน้าหลัก  
  คำถามที่มีการถามบ่อย  
  เราเล่นพระทำไม ?  
  กฎหมายพระเครื่อง  
  เกร็ดเล็ก-เกร็ดน้อย  
  สมัครเปิดร้านค้า  
  การชำระเงินค่าร้านค้า  
  ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง  
  ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับร้านค้า  
 
หน้าหลัก  อดีตสู่ปัจจุบัน  เว็บบอร์ดชมรม  ตารางประกวดพระ  สาระน่ารู้  เล่าสู่กันฟัง  ติดต่อเรา
Copyright©2024 zoonphra.com
Powered by Tactical IT