เว็บลิ้งค์ชมรมต่างๆ

เว็บไซต์วัดเกจิดังในสยาม
วัดอัมพวัน จ. สิงห์บุรี
วัดหนองป่าพง จ. อุบลฯ
วัดเขาแหลม จ. สระแก้ว
หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
วัดหัวป่า อ. ระโนด จ. สงขลา
วัดแก้วโกรวาราม จ. กระบี่
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
หลวงสมชาย วัดเขาสุกิม
ป้อนหมายเลขสิ่งของ


***พิมพ์หมายเลขสิ่งของจำนวน 13 หลัก

รายละเอียดเพิ่มเติม

  หน้าหลัก  :  อดีตสู่ปัจจุบัน  :  เว็บบอร์ดชมรม  :  ตารางประกวดพระ  :  สาระน่ารู้  :  เล่าสู่กันฟัง  :  ติดต่อเรา
พระเครื่องเมืองใต้: ทำบุญไหว้พระ

ประวัติพระธาตุดอยตุง
14-04-2010 Views: 15087
พระบรมธาตุดอยตุง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดของเชียงราย ประดิษฐานอยู่บนยอดดอยตุง ในเขตกิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง มีถนนแยกจากบ้านห้วยไคร้ขึ้นไปจนถึงองค์พระบรมธาตุ องค์พระธาตุบรมธาตุเจดีย์ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ ๒๐๐๐ เมตร ตามตำนานมีว่า เดิมสถานที่ตั้งพระบรมธาตุดอยตุง มีชื่อว่า ดอยดินแดง อยู่บน เขาสามเส้น ของพวกลาวจก ต่อมาสมัยพระเจ้าอุชุตะราช รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์สิงหนวัต ผู้ครองนครโยนกนาคนคร เมื่อปี พ.ศ. ๑๔๕๒ พระมหากัสสป ได้นำพระบรมสารีริกธาตุในส่วนของพระรากขวัญเบื้องซ้าย (ไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้ามาถวาย ซึ่งตรงตามคำทำนายของพระพุทธองค์ว่า "ที่ดอยดินแดงแห่งนี้ ต่อไปจะเป็นที่ประดิษฐานพระมหาสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในภายภาคหน้า" พระเจ้าอุชุตะราช มีพระราชศรัทธา ได้เรียกหัวหน้าลาวจกมาเฝ้า พระราชทานทองคำจำนวนแสนกษาปณ์ ให้เป็นค่าที่ดินบริเวณดอยดินแดงแก่พวกลาวจก แล้วทรงสร้างพระสถูปขึ้น โดยนำธงตะขาบยาว ๓,๐๐๐ วา ไปปักไว้บนดอย เมื่อหางธงปลิวไปไกลเพียงใด้ ให้กำหนดเป็นฐานพระสถูปเพียงนั้น ดอยดินแดงจึงได้ชื่อใหม่ว่า ดอยตุง (คำว่า ตุง แปลว่า ธง) เมื่อสร้างพระสถูปเสร็จ ก็ได้นำพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวบรรจุไว้ให้คนสักการะบูชา ต่อมาสมัยพระเจ้าเม็งรายมหาราช แห่งราชวงศ์ลาวจก พระมหาวชิระโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย จำนวน ๕๐ องค์ พระเจ้าเม็งรายจึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้นอีกองค์หนึ่ง เหมือนกับพระสถูปองค์เดิมทุกประการ ตั้งคู่กัน ดังปรากฎอยู่จนถึงทุกวันนี้ "ที่ดอยดินแดงแห่งนี้ ต่อไปจะเป็นที่ประดิษฐานพระมหาสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในภายภาคหน้า" พระเจ้าอุชุตะราช มีพระราชศรัทธา ได้เรียกหัวหน้าลาวจกมาเฝ้า พระราชทานทองคำจำนวนแสนกษาปณ์ ให้เป็นค่าที่ดินบริเวณดอยดินแดงแก่พวกลาวจก แล้วทรงสร้างพระสถูปขึ้น โดยนำธงตะขาบยาว ๓,๐๐๐ วา ไปปักไว้บนดอย เมื่อหางธงปลิวไปไกลเพียงใด้ ให้กำหนดเป็นฐานพระสถูปเพียงนั้น ดอยดินแดงจึงได้ชื่อใหม่ว่า ดอยตุง (คำว่า ตุง แปลว่า ธง) เมื่อสร้างพระสถูปเสร็จ ก็ได้นำพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวบรรจุไว้ให้คนสักการะบูชา ต่อมาสมัยพระเจ้าเม็งรายมหาราช แห่งราชวงศ์ลาวจก พระมหาวชิระโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย จำนวน ๕๐ องค์ พระเจ้าเม็งรายจึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้นอีกองค์หนึ่ง เหมือนกับพระสถูปองค์เดิมทุกประการ ตั้งคู่กัน ดังปรากฎอยู่จนถึงทุกวันนี้ ประวัติพระธาตุดอยตุง หลวงพ่อท่านเล่าให้ฟังและมีในหนังสือเรื่องฤๅษีทัศนาจรภาคเหนือ ท่านบอกมีผู้มาบอกท่าน (ผู้ที่ตายแล้ว) ว่าสมัยพระเจ้ามังรายมหาราชเสวยราชสมบัติได้ 37 ปี คือตั้งแต่ พ.ศ.100 ถึง พ.ศ.137 จึงสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ 89 พรรษา แล้วมีการสืบสันตติวงศ์ต่อมาจนถึงสมัยพระเจ้าพังคราชผู้เป็นพระราชบิดาของพระเจ้าพรหมมหาราชโดยนับตั้งแต่พระเจ้าสิงหนวัติผู้เป็นต้นวงศ์ มาจนถึงพระเจ้าพังคราชรวมทั้งสิ้น 37 รัชกาล ในเวลานั้นมีพระอรหันต์มาก พระราชาทุกพระองค์เป็นผู้ทรงธรรมไหว้พระสวดมนต์กันตลอดเวลา ท่านเล่าไว้สมัยที่ไปบวงสรวงที่พระธาตุดอยตุงเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2521 ผู้ที่ได้มโนมยิทธิแล้วท่านให้ดูด้วย ตอนนั้นท่านสอนมโนมยิทธิครึ่งกำลังเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2521 ท่านให้ดูและบันทึกให้ท่านด้วย ข้าพเจ้ามีเรื่องยาวจึงอัดเทปถวายท่าน เคยลงในหนังสือธัมมวิโมกข์เล่มไหนลืมแล้ว ครั้งนั้นพวกเราได้มโนมยิทธิใหม่ ๆ จึงอยากรู้อยากเห็นมาก รู้แล้วบางอย่างก็ดีใจ บางอย่างก็เศร้าใจน้ำตาไหล หลวงพ่อท่านก็ว่า "ลูกบางคนน้ำตาไหล บางคนมีการสะอื้น บางคนซึม" พ่อคิดว่าความรู้สึกของลูกเวลานั้น คงจะพบกับสภาพความเป็นจริงที่เรามีส่วนร่วมในการบูชาพระบรมสารีริกธาตุบนดอยตุง ซึ่งพระเจ้าอชุตราชและพระเจ้ามังรายมหาราชนำมาบรรจุไว้ในเจดีย์ที่ลูกเห็นอยู่เวลานี้เป็นเจดีย์ที่เขาสร้างขึ้นภายหลัง __สำหรับเจดีย์องค์เดิมอยู่ภายในเป็นทองคำทั้ง 2 องค์ และในเจดีย์ทองนั้นบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่กษัตราธิราชเจ้าทั้ง 2 พระองค์คือพระเจ้าอชุตราชพระราชบิดา กับพระเจ้ามังรายมหาราช ราชโอรส นำมาบรรจุที่นี่ การบูชาคราวนั้นเป็นงานยิ่งใหญ่มาก ขณะนี้ลูกบางคนมีอำนาจธรรมปีติที่เห็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายท่านไปอยู่นิพพานมีความสุข ฉะนั้นอารมณ์ของลูกทั้งหลายจงอย่าให้มีอารมณ์เป็นทุกข์ มีอย่างเดียวคือ "ธรรมสังเวช" ธรรมสังเวชตอนที่เราเลวเกินไป จะว่าเลวเกินไปก็ไม่ถูกเพราะการบรรลุธรรมต้องอาศัยความดีพอสมดวร เขามีกำหนดเวลา เช่นสาวกภูมิต้องบำเพ็ญบารมีมาแล้ว 1 อสงไขยกำไรแสนกัป เป็นต้น แต่พวกเราย่องมาถึง 16 อสงไขยกับแสนกัปแล้ว ก็แสดงว่าเราดีบ้างทำถูกบ้าง ทำผิดบ้างเป็นของธรรมดา การผิดในกาลก่อนถือว่าเป็นครู ในสมัยนี้ชาตินี้อย่าให้ผิดต่อไป __หลวงพ่อท่านและหลวงปู่วงศ์ได้ทำพิธียกฉัตรเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2520 หลวงปู่วงศ์เป็นผู้จัดหาฉัตรมาสวมยอดพระเจดีย์ ท่านได้บรรจุพระธาตุข้าวไว้ในนั้นด้วย มีพวกเรา 10 กว่าคนเท่าที่จำได้ มีพี่ชอ คุณเนียร คุณแอ๊ยุพดี จักษุรักษ์ ข้าพเจ้า พี่เหม่เลิศลักษณ์ ศรีสิงหสงคราม เอ๊าะอายุธ นาครทรรพ เด็กหนุ่ม นั่งรถตู้ไปรับหลวงปู่ที่วัดจามเทวี ลำพูนนอนที่กองพันสัตว์ต่างเชียงใหม่ 1 วัน รุ่งขึ้นเช้าไปเชียงรายนอนที่วัดเม็งราย ถึงวัดเม็งรายเย็นแล้วฝนตกอีกด้วยจึงทำอะไรไม่ได้ รุ่งขึ้นอีกวันคือวันที่ 4 พ.ค. 2520 จึงทานข้าวแต่เช้านำฉัตรและบายศรีเครื่องบวงสรวงขึ้นดอยตุง โดยเปลี่ยนรถเป็นรถ 2 แถวเจ้าถิ่นนำขึ้นไป เพราะรู้และชำนาญทาง ทางยังขรุขระฝุ่นตลบไปหมด ทางแคบด้วยขึ้นลงชันมากกว่านี้เวลารถลงเขาเขาจะขับเร็วมากเพื่อจะได้มีกำลังส่งเมื่อรถขึ้นเขา ดีว่าข้าพเจ้านั่งรถคันเดียวกับหลวงปู่วงศ์จึงไม่กลัวเท่าไร ถึงวัดเชิงดอยตุงหลวงปู่วงศ์นั่งไหว้ตั้งนาน แล้วหาพะองคือบันไดที่เป็นไม้ไผ่ยาว ๆ ต้นเดียวแล้วเจาะรูเอาไม้เสียบเล็ก ๆ พอเหยียบขึ้นไปได้ หาและทำที่นั่นแหละ แล้วเอาขึ้นรถไปถึงยอดดอย ใกล้ ๆ จะถึงสูงชันคนต้องเดินรถพาขึ้นไม่หมด ถึงเจดีย์แล้วหลวงปู่ก็ขึ้นบันไดเองถึงยอดเจดีย์ เป็นว่ายอดตันไม่มีรูให้เอาฉัตรเสียบได้ ผู้ชายจัดการทางเจดีย์ ผู้หญิงข้าพเจ้า พี่ชอ คุณเนียร ประกอบบายศรีทำด้วยกระดาษทองข้าพเจ้าทำเองที่บ้านใส่ปี๊ปไป กระทงก็ระดาษทองหมด ดอกไม้ก็ใช้ดอกไม้แห้งประดับตัวบายศรี ส่วนกระทงเอาดอกไม้สด จัดไม่ทันเสร็จดีพวกผู้ชายบอกลงไปก่อน ฉัตรใส่ไม่ได้ ต้องไปหาช่างทำเป็นหมวกสวมเอา ถึงเชียงรายมืดแล้ว ช่างเหล็กก็แน่ทำทั้งคืน เช้ามืดคณะล่วงหน้าไปก่อนตื่นแต่เช้ามืดไปรับหมวกที่เขาทำฉัตรติดไว้ขึ้นดอยตุง จัดการไม่ทันเสร็จคณะหลวงพ่อท่านก็ไปถึง จึงช่วยกันใหญ่ หลวงปู่มหาอำพัน บุญ-หลง วัดเทพศิรินทร์ไปพร้อมหลวงพ่อท่าน ได้เอาทองคำเปลวไปติดฉัตรและแบ่งให้ข้าพเจ้า พี่ชอได้ติดด้วย ขณะที่พวกผู้ชายเอาฉัตรปีนขึ้นไปติดบนยอดเจดีย์ อากาศเป็นใจคือลมพัดเอาก้อนเมฆมาบังวิวข้างล่างไม่ให้เห็นความสูงจากยอดเจดีย์ลงไปที่เชิงเขา ไม่ต้องกลัวความสูง สวมฉัตรและห่มผ้าเจดีย์ 2 องค์เรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อท่านทำพิธีบวงสรวงแล้วนำเดินเวียนเทียนรอบเจดีย์ด้วย คณะหลวงพ่อท่านเสร็จแล้วกลับเลย คณะล่วงหน้าไปก่อนกลับทีหลัง คือนอนที่วัดเม็งรายอีก 1 คืน รุ่งขึ้นไปส่งหลวงปู่ชัยวงศ์ที่วัดท่าน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน หลวงปู่เอาบายศรีกระดาษทองไว้บูชาที่วัดท่าน นอนที่นั่นอีก 1 คืนจึงได้กลับกรุงเทพฯ ด้วยความเป็นปลื้มสุดขีด เห็นรูปเจดีย์พระธาตุดอยตุงมีฉัตรสวยงามที่ไหนก็นึกปลื้มใจมากทุกครั้ง ว่าเราได้ร่วมทำด้วย หลวงพ่อท่านบอกว่าการยกฉัตรพระธาตุดอยตุงกับพระธาตุจอมกิตินั้นเพื่อแก้เคล็ดหรือป้องกันไม่ให้คอมมูนิสต์หรือต่างชาติยึดครองแผ่นดินของเราได้ จึงรอดปลอดภัยเป็นไทยจนทุกวันนี้


พระเครื่องเมืองใต้: ทำบุญไหว้พระ
»พระมหาเจดีย์ชัยมงคล จังหวัดร้อยเอ็ด
23-04-2010
»พระธาตุเชิงชุม
14-04-2010
»พระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน
14-04-2010
»พระธาตุไชยา
14-04-2010
»พระบรมธาตุดอยสุเทพ
14-04-2010
»พระธาตุบังพวน
14-04-2010
»พระธาตุนารายณ์เจงเวง
14-04-2010
»ประวัติพระธาตุดอยตุง
14-04-2010
»วัดพระธาตุลําปางหลวง
14-04-2010
»พระธาตุแช่แห้ง จ. น่าน
13-04-2010
»วัดพระธาตุช่อแฮ
11-04-2010
»ตำนานพระธาตุขามแก่น วัดเจติยภูมิ ตำบลบ้ายขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
13-04-2010
»ประวัติ หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย
21-03-2010
»เบิ่งนครพนมไหว้พระธาตุประจำวันเกิด
14-03-2010
»นมัสการพระธาตุศรีคุณ พระธาตุประจำวันเกิดของคนเกิดวันอังคาร
14-03-2010
»พระบรมธาตุนครชุม
12-03-2010
»ประวัติพระบรมธาตุ และ วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช
11-03-2010
»พระธาตุนาดูน
11-03-2010
»พระธาตุศรีสองรัก
11-03-2010
»ไหว้พระธาตุเรณู
13-03-2010
»ล่องใต้ ไปแล ‘เมืองลิกอร์’ ณ นครศรีธรรมราช
11-03-2010
»รับขวัญปีใหม่ ไหว้พระงามเมืองบางกอก
11-03-2010
»สืบสานศาสนา นมัสการองค์พระธาตุพนม
14-03-2010
»หลงเสน่ห์ "เมืองแปดริ้ว"
11-03-2010
»ขอพรความรัก จากเทพตรีมูรติ
11-03-2010
»พาเที่ยว ขอพร 9 วัด
11-03-2010
»วันเข้าพรรษา
11-03-2010
»ภาพความงดงามของวัดร่องขุ่น
11-03-2010
»ไหว้พระ ทำบุญ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ “9 มหามงคลมรดกโลก”
11-03-2010
»ไหว้พระ 15 วัดทั่วกรุง
11-03-2010
 
------------------------
  หน้าหลัก  
  คำถามที่มีการถามบ่อย  
  เราเล่นพระทำไม ?  
  กฎหมายพระเครื่อง  
  เกร็ดเล็ก-เกร็ดน้อย  
  สมัครเปิดร้านค้า  
  การชำระเงินค่าร้านค้า  
  ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง  
  ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับร้านค้า  
 
หน้าหลัก  อดีตสู่ปัจจุบัน  เว็บบอร์ดชมรม  ตารางประกวดพระ  สาระน่ารู้  เล่าสู่กันฟัง  ติดต่อเรา
Copyright©2024 zoonphra.com
Powered by Tactical IT