ยินดีต้อนรับ เข้าสู่
บทความ
รู้ไว้ใช่ว่า.ใส่บ่าแบกหาม
รายการพระเครื่อง
สาระน่ารู้ ดูที่ภาพ
ลำดับที่เยี่ยมชม
Online:
12
คน
ห้องสนทนา
พระเครื่องเมืองสงขลา
ประวัติเกจิอาจารย์ดัง
เกจิอาจารย์ยอดนิยม
พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน
หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ
หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ
หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
หลวงพ่อเกษม เขมโก
หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง
หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ
หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม
หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่
หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค
เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทราวาส
ไหว้พระ ลาวนครเวียงจันทร์
เกจิอาจารย์แห่งเมืองสงขลา
หลวงพ่อจันทร์ วัดแหลมวัง
หลวงพ่อคง วัดธรรมโฆษณ์
พ่อท่านเส้ง วัดแหลมทราย
อาจารย์มหาลอย วัดแหลมจาก
หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า
หลวงพ่อสงค์ วัดคงคาวดี
หลวงพ่อสีแก้ว วัดไทรใหญ่
หลวงพ่อเล็ก วัดจุ้มปะ
หลวงพ่อทอง วัดคลองแห
หลวงพ่อเรือง วัดหัววัง
หลวงพ่อปาน วัดโคกสมานคุณ
หลวงพ่อเดิม วัดเอก
เกจิอาจารย์แห่งเมืองพัทลุง
พระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ
พระอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา
พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
พระอาจารย์ปาน วัดเขาอ้อ
หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน
หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ
หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดงตะวันออก
หลวงพ่อเล็ก วัดประดู่เรียง
หลวงพ่อพลับ วัดชายคลอง
หลวงพ่อเจ็ค วัดเขาแดงตะวันตก
พระอาจารย์ศรีเงิน
หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ
เกจิอาจารย์แห่งเมืองนครศรีฯ
พ่อท่านนวล วัดไสหร้า
หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก
พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง
หลวงปู่เขียว วัดหรงบล
หลวงพ่อหนูจันทร์ วัดพัทธสีมา
หลวงพ่อกล่ำ วัดศาลาบางปู
อาจารย์เอียดดำ วัดในเขียว
เจ้าคุณม่วง วัดท่าโพธิ์
หลวงพ่อหีต วัดเผียน
หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ
พ่อท่านจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ
หลวงพ่อปลอด วัดนาเขลียง
เกจิอาจารย์แห่งเมืองสุราษฎร์
หลวงพ่อพัฒน์ นารโท
หลวงพ่อเพชร วัดวชิรประดิษฐ์
หลวงพ่อกล่อม วัดโพธาวาส
หลวงพ่อพริ้ง วัดแจ้ง
หลวงพ่อชม วัดท่าไทร
หลวงพ่อเชื่อม วัดปราการ
หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์
หลวงพ่อพัว วัดบางเดือน
หลวงพ่อแดง วัดวิหาร
หลวงพ่อเพชร วัดศรีเวียง
หลวงพ่อนุ้ย วัดม่วง
หลวงพ่อแดง วัดแหลมสอ
หลวงพ่อแดง วัดคุณาราม
พ่อท่านเจ้าฟ้า วัดท่าเรือ
หลวงพ่อแต่ง วัดนันทาราม
หลวงพ่อเปี่ยม วัดทุ่งหลวง
เกจิอาจารย์แห่งเมืองชุมพร
หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย
หลวงพ่อเปียก วัดนาสร้าง
หลวงพ่อจอน วัดดอนรวบ
หลวงพ่อเลื่อน วัดสามแก้ว
หลวงพ่อจีด วัดถ้ำเขาพลู
พระธรรมจารี วัดขันเงิน
หลวงพ่อรุ่ง วัดบางแหวน
หลวงพ่อขำ วัดประสาทนิกร
หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
หลวงพ่อจร วัดท่ายาง
หลวงพ่อสินธิ์ ปทุมรัตน์ วัดคูขุด
หลวงพ่อมุม วัดนาสัก
หลวงพ่อดำ วัดท่าสุธาราม
หลวงพ่อใส วัดเทพเจริญ
เกจิอาจารย์ ฝั่งอันดามัน
หลวงพ่อบรรณ วัดด่านระนอง
พระอุปัชณาย์เทือก วัดโคกกลอย
หลวงพ่อกลับ วัดสำนักปรุ
หลวงพ่อวัดน้ำรอบ โคกกลอย
หลวงพ่อวัน วัดประสิทธิชัย
หลวงพ่อด่วน วัดบางนอน
เกจิอาจารย์ภาคใต้ตอนล่าง
หลวงพ่อดำ วัดตุยง
เกจิอาจารย์สายอีสาน
ประวัติพระวิปัสสนาจารย์
หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง
พระเครื่องเมืองใต้
หลวงปู่ทวด วัดช้างให้
พระเครื่องพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน
พระเครื่องหลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย
พระเครื่องหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง
พระเครื่องอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
พระเครื่องหลวงพ่อคง วัดธรรมโฆษณ์
พระเครื่องพ่อท่านเส้ง วัดแหลมทราย
พระเครื่องหลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า
พระเครื่องพ่อท่านซัง วัดวัวหลุง
พระเครื่องพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง
พระเครื่องสังข์ วัดดอนตรอ
พระเครื่องจังหวัดชุมพร
พระเครื่องจังหวัดระนอง
พระเครื่องจังหวัดพังงา
พระเครื่องจังหวัดภูเก็ต
พระเครื่องจังหวัดสุราษฎร์ธานี
พระเครื่องจังหวัดนครศรีธรรมราช
พระเครื่องจังหวัดกระบี่
พระเครื่องจังหวัดพัทลุง
พระเครื่องจังหวัดตรัง
พระเครื่องจังหวัดสตูล
พระเครื่องจังหวัดสงขลา
พระเครื่องจังหวัดปัตตานี
พระเครื่องจังหวัดยะลา
พระเครื่องจังหวัดนราธิวาส
ทำบุญไหว้พระ
ไหว้พระทองที่วัดคลองแดน
เที่ยววัดเกจิอาจารย์ดัง
เกจิดังเมืองสงขลา
หลวงพ่อคง วัดธรรมโฆษณ์
หลวงพ่อพลับ วัดระโนด
พ่อท่านยอด วัดอ่าวบัว
พ่อท่านปลอด วัดหัวป่า
พ่อท่านศรีแก้ว วัดไทรใหญ่
เกจิดังเมืองนครศรี
วัดพัทธสีมา อ. หัวไทร
หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก
วัดหรงบน อ. ปากพนัง
หลวงพ่อรุ่ง วัดรามแก้ว
หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง
หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง(ต่อ)
พ่อท่านซัง วัดวัวหลุง
พ่อท่านซัง วัดวัวหลุง(ต่อ)
หลวงพ่อขาว วัดปากแพรก
หลวงพ่อคง วัดคลองน้อย
หลวงพ่อเลื่อน วัดดอนผาสุก
หลวงพ่อเพิ่ม วัดสว่างอารมณ์
เกจิดังเมืองพัทลุง
พ่อท่านหมุน วัดเขาแดงตะวันออก
เกจิดังเมืองชุมพร
หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย
เว็บลิ้งค์ชมรมต่างๆ
ชมรมคนรักษ์พระเครื่องเมืองสงขลา
ชมรมคนรักษ์พระเครื่องเมืองนครฯ
ชมรมคนรักษ์พระเครื่องเมืองพัทลุง
ชมรมคนรักษ์พระเครื่องเมืองตรัง
ชมรมคนรักษ์ของสะสม
เว็บไซต์วัดเกจิดังในสยาม
วัดอัมพวัน จ. สิงห์บุรี
วัดหนองป่าพง จ. อุบลฯ
วัดเขาแหลม จ. สระแก้ว
หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
วัดหัวป่า อ. ระโนด จ. สงขลา
วัดแก้วโกรวาราม จ. กระบี่
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
หลวงสมชาย วัดเขาสุกิม
ป้อนหมายเลขสิ่งของ
***พิมพ์หมายเลขสิ่งของจำนวน 13 หลัก
รายละเอียดเพิ่มเติม
หน้าหลัก
:
อดีตสู่ปัจจุบัน
:
เว็บบอร์ดชมรม
:
ตารางประกวดพระ
:
สาระน่ารู้
:
เล่าสู่กันฟัง
:
ติดต่อเรา
พระเครื่องเมืองใต้: ทำบุญไหว้พระ
พระธาตุแช่แห้ง จ. น่าน
13-04-2010
Views: 6796
ประวัติวัดพระธาตุแช่แห้ง
แห้งตามพงศาวดารที่ได้มีการบันทึกมามีมากมายหลายกระแสทั้งบันทึกไว้ในฝ่ายวัดทั้งบันทึกไว้ในฝ่ายเมือง ข้อมูล
ประวัติวัดพระธาตุแช่แห้ง
ที่ได้เขียนในหนังสือเล่มนี้ อาจมีความแตกต่างจากบันทึกอื่นๆไปบ้าง ก็เพราะเป็นการประมวลจากบันทึกหลายสำนัก เพื่อให้ได้ใจความสำคัญพอสมควร แต่ก่อนที่จะเข้าถึงเนื้อหาของ
ประวัติวัดพระธาตุแช่แห้ง
ก็ต้องขอย้อนยุคไปในสมัยก่อนเริ่มสร้างเวียงภูเพียงแช่แห้ง เพื่อให้ท่านผู้อ่านทราบถึงความเป็นมาอันยาวนานของอาณาจักรแห่งนี้ก่อน
ในสมัยครั้ง พญาภูคา ทรงปกครองเมืองเล็กๆเมืองหนึ่ง คือ เมืองย่าง ที่ตั้งอยู่ภายใต้วงล้อมของป่า และภูเขาสูงใหญ่ ที่ขนานนามว่า ดอยภูคา พญาภูคา มีโอรส ๒ องค์ องค์พี่มีนามว่า เจ้าขุนนุ่น ส่วนองค์น้อง มีนามว่า เจ้าขุนฟอง เรื่องราวของสองพี่น้องนี้เป็นตำนานเล่ามาว่า
มีนายพรานป่าผู้หนึ่งออกไปล่าสัตว์ในป่า ได้เดินตามรอยเนื้อหลงขึ้นไปบนยอดดอย และได้หยุดพักใต้ร่มไม้ต้นหนึ่ง ที่โคนต้นไม้นั้น เขาได้พบไข่ ๒ ลูก ใหญ่ขนาดลูกมะพร้าว นายพรานผู้นั้นจึงนำไปถวายพญาภูคา ท้าวพญาท่านได้เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ลูกหนึ่งได้เก็บไว้ในตะกร้านุ่น อีกลูกหนึ่งเก็บไว้ในตะกร้าฝ้าย ครั้นไม่นานนักไข่ที่เก็บไว้ในตะกร้านุ่นก็เกิดแตกก่อนออกมาเป็นเด็กชายมีผิวพรรณวรรณงามนัก ท้าวพญาก็ได้ให้ชื่อว่า เจ้าขุนนุ่น ต่อมาอีกไม่นานไข่ใบที่สองที่เก็บไว้ในตะกร้าฝ้ายก็แตกออกเป็นเด็กชายที่มีผิวพรรณวรรณงดงามไม่แพ้กันท้าวพญาจึงได้ให้ชื่อว่า เจ้าขุนฟองและเลี้ยงเด็กชายทั้งสองดั่งราชโอรสจนเติบใหญ่
ครั้นเจ้าขุนนุ่นอายุได้ ๑๘ ปีและเจ้าขุนฟองอายุได้ ๑๖ ปีได้กราบทูลขอพระราชบิดาออกมาสร้างบ้านสร้างเมืองเอง ท้าวพญาจึงได้ให้พระฤาษีเถรเจ้าหาที่สร้างบ้านสร้างเมืองให้ราชโอรสทั้งสอง พระฤาษีเถรเจ้าจึงได้พาเจ้าขุนนุ่นเดินทางไปยังทิศตะวันออกของเมือง พอไปถึงสถานที่หนึ่งมีชัยภูมิเหมาะแก่การสร้างเมืองพระฤาษีเถรเจ้าก็ให้เจ้า ขุนนุ่นตั้งเมืองอยู่ที่นั่น และตั้งชื่อเมืองว่า จันทบุรี เสร็จดังนั้นพระฤาษีเถรเจ้าก็ได้กลับมาพาเจ้าขุนฟองเดินทางไปยังทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือถึงใกล้แม่น้ำแห่งหนึ่ง(แม่น้ำน่านปัจจุบัน)พระฤาษีเจ้าก็ ได้ให้เจ้าขุนฟองตั้งเมืองอยู่ที่นั่นและให้ชื่อว่า วรนคร (ปัจจุบันคือท้องที่ อ.ปัว) เมืองวรนครนี่แหละคือต้นกำเนิดของเมืองน่าน
เจ้าขุนฟองเสวยราชสมบัติอยู่เมืองวรนครได้ไม่นาน ก็ได้ถึงแก่พิราลัยเหล่า เสนาอามาตย์ทั้งหลายก็สถาปนา เจ้าเก้าเกื่อน ผู้เป็นราชโอรสขึ้นครองราชย์แทน เจ้าเก้าเกื่อนเสวยราชย์เมืองวรนครระยะเวลาหนึ่ง พญาภูคาเจ้าเมืองย่างผู้เป็นปู่ซึ่งได้ชราภาพลงมากนักได้มีพระราชสารถึงเจ้าเก้าเกื่อนให้มาปกครองเมืองย่างแทน เมื่อนั้นเจ้าเก้าเกื่อนจึงได้ให้ นางพญาท้าวคำปินผู้เป็นมเหสีรักษาเมืองวรนครแทน อยู่ได้ไม่นานเท่าใดพญางำเมืองเจ้าผู้ครองพะเยา รู้ข่าวว่าเมืองวรนครขาดเจ้าผู้ปกครองเมืองจึงได้ยกทัพเข้ามาชิงเอาเมืองไป นางพญาท้าวคำปิงจึงหนีไปซ่อนตัวอยู่ในป่า และได้ประสูติราชโอรสภายในป่านั่นเอง ครั้นเวลาหนึ่งได้มีนายบ้านซึ่งเป็นพ่อครัวเก่าไปเจอเข้าก็ได้นำพระมเหสีและราชโอรสไปเลี้ยงจนเติบใหญ่ จนอายุได้ ๑๖ ปี นายบ้านก็ได้นำราชโอรสเข้าเฝ้าพญางำเมือง ท้าวพญาก็เห็นว่ามีฝีมือดีนัก จึงได้ตั้งชื่อให้ว่า เจ้าขุนไส่ ต่อมาได้มีความดีความชอบพญางำเมืองจึงได้ให้ไปปกครองเมืองปาด ให้ชื่อว่า เจ้าไส่ยศ
เมื่อนั้นพญางำเมืองจะเสด็จกลับเมืองพะเยาจึงได้ตั้งมเหสีที่ได้แต่เมืองวรนครชื่อ อั้วสิม และโอรสชื่อ เจ้าอามป้อม ปกครองเมืองแทน ครั้นถึงฤดูปีใหม่ นางอั้วสิม และเจ้าอามป้อมได้นำเครื่องบรรณาการไปถวายแด่พญางำเมืองที่เมืองพะเยา แต่ได้ถูกท้าวพญาตำหนิก็เก็บความแค้นไว้ในใจ เมื่อกลับมาถึงเมืองวรนคร นางจึงแต่งหนังสือถึง เจ้าไส่ยศ เจ้าเมืองปาดให้ยกทัพมายึดเมืองวรนครและตกแต่งกันเป็นผัวเมีย ครั้นพญางำเมืองทราบข่าวก็โกรธมากจึงยกทัพไพร่พลศึกเป็นอันมากมาตีเมืองวรนคร เมื่อนั้นเจ้าไส่ยศ จึงแต่งเจ้าอามป้อมเป็นทัพหน้าออกไปรบ พญางำเมืองเห็นดังนั้นก็มีใจรักลูกจึงได้ยกทัพกลับพะเยาดังเดิม
เมื่อนั้นเสนาอามาตย์ทั้งหลายมีเจ้าอาป้อมเป็นต้น ก็ได้อุสาราชาภิเษกเจ้าขุนไส่ยศ เจ้าเมืองปาด ให้เสวยราชย์ปกครองเมืองวรนคร ในปีพุทธศักราช ๑๘๖๒ นั่นเอง และทรงใช้พระราชทินนามว่า เจ้าพญาผานอง ( เหตุว่าตอนประสูติในป่านั้นไม่มีน้ำกินน้ำใช้ภายหลังฝนตกลงมาเกิดน้ำนองพัดหินผามากองเป็นจำนวนมาก) ทรงปกครองบ้านเมืองมายาวนานได้ ๓๐ ปี มีพระราชโอรสทั้งหมด ๖ พระองค์ องค์ที่ ๑ ชื่อเจ้าการเมือง องค์ที่ ๒ ชื่อ เจ้าเล่า องค์ที่ ๓ ชื่อ เจ้ารื่น องค์ที่ ๔ ชื่อ เจ้าบาจาย องค์ที่ ๕ ชื่อ เจ้าควายตม องค์ที่ ๖ ชื่อเจ้าไส ครั้นเมื่อพญาผานองสวรรคต เหล่าเสนาอามาตย์ก็สถาปนา เจ้าขุนไส ราชโอรสองค์ที่ ๖ ขึ้นเสวยราชย์แทน เจ้าขุนไสเสวยราชย์ได้ ๓ ปี ก็สวรรคต
ในปีพุทธศักราช ๑๘๙๖ นั่นเอง เหล่าเสนาอามาตย์ทั้งหลายก็จึงได้สถาปนาราชาภิเษก เจ้าพญาการเมือง ขึ้นเสวยราชย์ปกครองเมืองวรนครสืบมา และเรื่องราวพระธาตุแช่แห้งได้เริ่มต้นขึ้นในสมัย พญาการเมืองนี่เอง กล่าวว่า
เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๙๖ ในขณะที่ พญาการเมืองเจ้าผู้ครองเมืองวรนคร ได้รับเชิญจาก พระยาโสปัตตกันทิ (พระเจ้าไสลือไท) กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย ให้ไปร่วมพระราชกุศล สร้างพระอารามหลวงในกรุงสุโขทัย เมื่อทรงสร้างพระอารามหลวงเสร็จแล้ว พระเจ้ากรุงสุโขทัย ทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอันมาก ที่เจ้าผู้ครองนครน่านได้มาร่วมพระราชกุศลสร้างพระอารามหลวงจนเป็นผลสำเร็จ จึงได้โปรดพระราชทาน พระบรมสารีริกธาตุให้รวม ๗ องค์ รูปพรรณสัณฐานเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีวรรณะต่างกัน และพระพิมพ์ทองคำ ๒๐ องค์ พระพิมพ์เงิน ๒๐ องค์ ให้แก่ พญาการเมือง
พญาการเมือง มีความยินดีอย่างมาก จึงได้อาราธนาพระบรมสารีริกธาตุกลับมายังเมือง วรนคร แล้วพระองค์ได้ปรึกษา พระมหาเถรธรรมบาล พระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ว่า สมควรจะอาราธนาพระบรมสารีริกธาตุนี้ไปประจุไว้ ณ ที่ใดจึงจะสมควร
พระมหาเถรธรรมบาล ได้พิจารณาแล้วให้คำแนะนำว่า ที่ดอยภูเพียงแช่แห้งเป็นชัยภูมิดีสมควรอาราธนาพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานไว้ ณ ที่นั้น พญาการเมืองเห็นชอบด้วย จึงได้อันเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมด้วยพระพิมพ์ทองคำ พระพิมพ์เงิน ไปยังดอยภูเพียงแช่แห้ง ประจุลงในเต้าปูนทองสำริด แล้วพอกด้วยสะตาย (ปูนขาวผสมยางไม้) กลมเหมือนก้อนศิลา แล้วขุดหลุมลึก ๑ วา อาราธนาพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ในหลุมนั้น กลบดินแล้วก่อเจดีย์สูง ๑ วา ทับไว้อีกชั้น
เมื่อพญาการเมืองได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานไว้ ณ ดอยภูเพียงแช่แห้งแล้ว กาลต่อมาหลังจากเสวยราชสมบัติที่เมืองวรนครได้ ๖ ปี จึงย้ายจากเมืองวรนคร ( อำเภอปัวในปัจจุบัน ) มาสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่เชิงดอยภูเพียงแช่แห้ง ทรงขุดคลอง และสร้างกำแพงดินเป็นกำแพงเมืองมีประตูเข้าออกดีแล้ว ทรงขนานนามเมืองตามชื่อดอยว่า เวียงภูเพียงแช่แห้ง
พญาการเมือง ทรงปกครองเวียงภูเพียงแช่แห้งแห่งนี้ได้เพียง ๕ ปี ขุนอินตาเมืองใต้ ได้เอาผ้าชั้นดีเคลือบยาพิษมาถวายเป็นบรรณาการ พระองค์ทรงเอาพระหัตถ์ลูบจับผ้าดู ก็โดนยาพิษถึงแก่พิราลัยในปีพุทธศักราชที่ ๑๙๐๖ นั่นเอง พญาผากอง ผู้เป็นโอรส ได้ขึ้นครองเมืองสืบมาอีก ๖ ปี แม่น้ำเตี๋ยนและ แม่น้ำลิง(แม่น้ำน่านในปัจจุบัน)ได้เปลี่ยนกระแสน้ำทำให้เกิดความแห้งแล้งทุรกันดารหาน้ำกินน้ำดื่มไม่ได้ พญาผากองจึงพิจารณาว่าบริเวณบ้านห้วยไค้ เป็นชัยภูมิที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสมสำหรับสร้างเมืองใหม่
จึงในปี พุทธศักราช ๑๙๑๑ ปีมะเมีย เดือน ๑๒ ขึ้น ๖ ค่ำ พญาผากอง ก็อพยพไพร่พลประชาชน ข้ามลำน้ำลิง(แม่น้ำน่านในปัจจุบัน) มาตั้งเมืองใหม่อยู่ที่ บ้านห้วยไค้ และนี่เองก็คือที่ตั้งตัวเมืองน่านในปัจจุบันนี้ หลังจากนั้นปรากฎว่านครน่านปกครองตัวเองได้ไม่นาน ก็ถูกรุกรานจากนครรัฐต่างๆ และได้ตกเป็นเมืองขึ้นของ เมืองแพร่ เมืองสุโขทัย เมืองเชียงใหม่ และพม่า ผลัดเปลี่ยนหมุนวียนกันมาปกครองเรื่อยมาตามยุคสมัย และไม่ปรากฏว่ามีเจ้าผู้ครองนครองค์ใดได้สร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุแช่แห้ง ปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า ป่าไม้ปกคลุม องค์พระธาตุจึงได้ชำรุดทรุดโทรมปรักหักพังลงไปในที่สุด
นับแต่สิ้นพญาการเมืองกาลเวลาล่วงมาอีก ๑๑๓ ปี
ในปีพุทธศักราช ๑๙๙๓ นครน่าน ถูกปกครองโดยพระเจ้าติโลกราช เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งผู้แทนพระองค์สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาปกครองนครน่าน
จวบจนถึงในปีพุทธศักราช ๒๐๑๙ พระเจ้าติโลกราชได้ทรงให้เจ้าหลวงท้าวขาก่านเจ้าผู้ครองนครฝางมาปกครองนครน่าน ในบันทึกตามพงศาวดารได้บรรยายรูปร่างลักษณะเจ้าหลวงท้าวขาก่านไว้ว่า มีผิวกายสีดำแดง สักยันต์เป็นรูปนาคราชตั้งแต่ขาจนถึงน่อง ยามเดินว่องไว ปราดเปรียวนัก เจ้าหลวงปกครองนครน่านได้ระยะหนึ่ง จึงได้ใช้ให้หมื่นคำไปถวายเครื่องบรรณาการแด่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ หลังจากนั้นหมื่นคำได้ไปกราบนมัสการพระคุณเจ้ามหาเถรวชิรโพธิ์และได้สนทนาธรรมกับพระคุณเจ้า พระคุณเจ้าจึงได้ให้ตำนานพระธาตุแช่แห้งที่ได้มาจากเมืองลังกากับ หมื่น คำหมื่นคำได้ตำนานนั้นกลับมาถวายเจ้าหลวงท้าวขาก่าน เมื่อเจ้าหลวงได้ศึกษาอ่านตำนานที่ได้มาจึงได้รู้ว่าบริเวณบนดอยภูเพียงแช่ แห้งมีองค์พระธาตุประดิษฐานอยู่ก็มีจิตศรัทธาใคร่ทำนุบำรุงองค์พระธาตุแช่ แห้งสืบต่อ
เมื่อนั้นเจ้าหลวงท้าวขาก่านพร้อมด้วยสังฆเจ้าและ ชาวเมืองทั้งหลายได้พากันแผ้วถางบริเวณดอยภูเพียงแช่แห้งซึ่งขณะนั้นถูกปก คลุมด้วยป่าไผ่เครือเถาวัลย์ จนเจอจอมปลวกใหญ่ลูกหนึ่งก็พากันทำการสักการบูชา ครั้นถึงเวลากลางคืนบริเวณจอมปลวกก็ปรากฏดวงพระธาตุเจ้าแสดงปาฏิหาริย์เปล่งรัศมีรุ่งเรืองนัก จึงได้พากันขุดบริเวณจอมปลวกดูขุดได้ลึก ๑ วาก็เจอก้อนศิลากลมเกลี้ยงลูกหนึ่ง เมื่อทุบให้แตกก็พบ ผอูบทองคำมีฝาปิดสนิท เมื่อเปิดออกดูก็พบพระธาตุเจ้า ๗ องค์ พระพิมพ์คำ ๒๐ องค์ พระพิมพ์เงิน ๒๐ องค์ ที่พญาการเมืองได้มาจากเมืองสุโขทัยและนำมาประดิษฐานไว้ แล้วเจ้าหลวงท้าวขาก่านได้นำพระธาตุรวมทั้งพระพิมพ์เงิน พระพิมพ์คำที่ขุดได้ทั้งหมดมาเก็บไว้ที่หอคำและได้กราบบังคมทูลให้พระเจ้าติโลกราชทราบ พระเจ้าติโลกราชทรงมีกระแสรับว่าเมื่อขุดได้ที่ใดก็ให้เก็บไว้ยังที่นั้น เมื่อนั้นเจ้าหลวงท้าวขาก่านพร้อมด้วยสังฆเจ้าท้าวพระยาทั้งหลายก็พร้อมใจกันนำพระบรมสาริกธาตุเจ้าพร้อม พระพิมพ์เงินพระพิมพ์คำมาประดิษฐานไว้ ณ ที่เดิม และก่อเจดีย์ สูง ๖ วาคร่อมไว้ เจ้าหลวงท้าวขาก่านปกครองนครน่านได้ ๔ ปี มีความดีความชอบมาก จึงในปีพุทธศักราช ๒๐๒๓ พระเจ้าติโลกราชได้ปูนบำเหน็จให้เจ้าหลวงท้าวขาก่านไปปกครองนครเชียงรายสืบต่อ
ในปีพุทธศักราช ๒๐๒๔ พระเจ้านครเชียงใหม่ได้ให้ท้าวอ้ายยวมมาปกครองนครน่านสืบต่อจากเจ้าหลวงท้าวขาก่าน เมื่อนั้นท้าวอ้ายยวมก็ได้บูรณะองค์พระธาตุแช่แห้งให้สูงใหญ่กว่าเดิม กว้าง ๑๐ วา สูง ๑๗ วา ใช้เวลานาน ๔ ปี จึงเสร็จสิ้นบริบูรณ์ และท้าวอ้ายยวมก็ได้ถึงแก่พิราลัยในปีนั้นเอง พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้ส่งเจ้าผู้ครองนครต่างๆมาปกครองนครน่านสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันมา ตามพงศาวดารไม่ได้กล่าวถึงเกี่ยวกับพระธาตุแช่แห้ง จนถึงในปีพุทธศักราช ๒๐๖๒ สมัยพระยาคำยอดฟ้าปกครองนครน่าน ท่านเสวยเมืองได้ ๔ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๐๖๕ พระยาคำยอดฟ้าพร้อมด้วยสังฆเจ้า ครูบาวัดแช่แห้ง ขุนนางบ้านเมืองทั้งหลายก็ได้สร้างพระเจ้าล้านทอง และสร้างกำแพงแก้วล้อมองค์พระมหาธาตุเจ้าไว้ ทรงปกครองนครน่านได้ ๙ ปีก็ถึงแก่พิราลัย เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้ให้เจ้าพระยาพลเทพฦาไชย มาปกครองนครน่านแทน ทรงปกครองนครน่านได้ ๓๒ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๐๗๐ เจ้าฟ้าหงษามังตรายกทัพมาตีนครเชียงใหม่ได้ พระยาพลเทพฦาไชยได้หนีไปล้านช้าง นับแต่นั้นนครน่านก็อยู่ภายใต้การปกครองของพม่า
พระเครื่องเมืองใต้: ทำบุญไหว้พระ
»
พระมหาเจดีย์ชัยมงคล จังหวัดร้อยเอ็ด
23-04-2010
»
พระธาตุเชิงชุม
14-04-2010
»
พระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน
14-04-2010
»
พระธาตุไชยา
14-04-2010
»
พระบรมธาตุดอยสุเทพ
14-04-2010
»
พระธาตุบังพวน
14-04-2010
»
พระธาตุนารายณ์เจงเวง
14-04-2010
»
ประวัติพระธาตุดอยตุง
14-04-2010
»
วัดพระธาตุลําปางหลวง
14-04-2010
»
พระธาตุแช่แห้ง จ. น่าน
13-04-2010
»
วัดพระธาตุช่อแฮ
11-04-2010
»
ตำนานพระธาตุขามแก่น วัดเจติยภูมิ ตำบลบ้ายขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
13-04-2010
»
ประวัติ หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย
21-03-2010
»
เบิ่งนครพนมไหว้พระธาตุประจำวันเกิด
14-03-2010
»
นมัสการพระธาตุศรีคุณ พระธาตุประจำวันเกิดของคนเกิดวันอังคาร
14-03-2010
»
พระบรมธาตุนครชุม
12-03-2010
»
ประวัติพระบรมธาตุ และ วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช
11-03-2010
»
พระธาตุนาดูน
11-03-2010
»
พระธาตุศรีสองรัก
11-03-2010
»
ไหว้พระธาตุเรณู
13-03-2010
»
ล่องใต้ ไปแล เมืองลิกอร์ ณ นครศรีธรรมราช
11-03-2010
»
รับขวัญปีใหม่ ไหว้พระงามเมืองบางกอก
11-03-2010
»
สืบสานศาสนา นมัสการองค์พระธาตุพนม
14-03-2010
»
หลงเสน่ห์ "เมืองแปดริ้ว"
11-03-2010
»
ขอพรความรัก จากเทพตรีมูรติ
11-03-2010
»
พาเที่ยว ขอพร 9 วัด
11-03-2010
»
วันเข้าพรรษา
11-03-2010
»
ภาพความงดงามของวัดร่องขุ่น
11-03-2010
»
ไหว้พระ ทำบุญ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 9 มหามงคลมรดกโลก
11-03-2010
»
ไหว้พระ 15 วัดทั่วกรุง
11-03-2010
------------------------
หน้าหลัก
คำถามที่มีการถามบ่อย
เราเล่นพระทำไม ?
กฎหมายพระเครื่อง
เกร็ดเล็ก-เกร็ดน้อย
สมัครเปิดร้านค้า
การชำระเงินค่าร้านค้า
ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง
ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับร้านค้า
หน้าหลัก
อดีตสู่ปัจจุบัน
เว็บบอร์ดชมรม
ตารางประกวดพระ
สาระน่ารู้
เล่าสู่กันฟัง
ติดต่อเรา
Copyright©2024 zoonphra.com
Powered by Tactical IT